ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
ตอนที่ ๕๐๖
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๑
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่กลับมาหาจิต โลกยุ่งที่สุด เพราะว่าเป็นโลกซึ่งเป็นตัวตน ใครก็บังคับไม่ได้ แต่พยายามจะไปบังคับ โดยการที่พยายาม จะเข้าใจว่า จิตแต่ละขณะซึ่งเกิด แล้วก็กำลังคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ในขณะนั้นเป็นกุศล หรือ อกุศล ถ้าเข้าใจจริงๆ ทุกคนก็จะรู้ได้เลย เป็นผู้ที่มีความมั่นคงยิ่งขึ้นในเรื่องของกรรม เพราะเหตุว่าไม่มีใครสามารถที่จะยับยั้ง การให้ผลของกรรมได้ ขณะนี้ ธรรมดาอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าต้องไปเกิดเหตุการณ์ที่น่าตกใจ หรือว่าน่าดีใจอะไร เพียงแค่เห็นก็เป็นผลของกรรม ธรรมดาอย่างนี้เอง ได้ยินก็เป็นผลของกรรม ได้กลิ่นเป็นผลของกรรม ลิ้มรสก็เป็นผลของกรรม กระทบสัมผัสก็เป็นผลของกรรม อย่างนี้แล้วยังไม่เชื่อกรรมได้อย่างไร ว่ายังไม่ต้องมีอะไรเลยแต่กรรมก็ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น แต่ว่าเวลาที่มีเหตุการณ์แรงๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางฝ่ายกุศล หรือทางฝ่ายอุกศลก็ตาม บางคนก็อาจจะนึกได้ว่า ถ้าไม่มีกรรมที่ได้กระทำมาแล้ว สภาพอย่างนั้นๆ ก็เกิดขึ้นไม่ได้ แต่ทุกคนก็ยังหวัง ที่จะได้รับสิ่งที่ดี ต้องการผลของกรรมที่ดี แต่กรรมก็ยุติธรรมยิ่งกว่าอื่น คือว่าไม่ใช่ให้ใครได้รับผลที่ดีตลอดไป ต้องมีผลของกรรมไม่ดีที่จะเกิดขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเข้าใจแม้แต่สภาพของ เหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องของจิต เจตสิก โดยพิจารณา ไม่ใช่ไปโดยนับว่า จิตนี้มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเท่าไร อย่างไร แต่ลืมหมดเวลาที่สภาพของจิตเกิดขึ้นไม่ได้ รู้ว่าเป็นอย่างที่ได้ศึกษามาแล้วเลย แต่ประโยชน์ ที่สุดคือไม่ใช่ศึกษาโดยไม่พิจารณาสภาพธรรม
การฟังก็จะต้องมีการพิจารณาสภาพธรรม ที่ได้ยินได้ฟังด้วย ซึ่งก็เป็นการที่จะทำให้เราเข้าใจ แล้วก็มีความมั่นคงในสภาพธรรมมากขึ้น มิฉะนั้นแล้วทุกอย่างก็อยู่ในตำรา แล้วก็บางคนก็ถึงกับหวังว่า หวังเกินเหตุ คือหวังให้มีสติมากๆ อยากจะเป็นนักปฏิบัติ ได้ยินคำว่านักปฏิบัติแล้วอยากปฏิบัติ แต่ว่าตามความจริงแล้ว ไม่มีนักปฏิบัติ เพราะเหตุว่าถ้าเป็นนักปฏิบัติ ลองคิดดูสิว่า หมายความว่า อะไร นักปฏิบัติ ถูกหรือผิดนักปฏิบัติ แม้แต่คำที่ใช้ ถ้าไม่พิจารณาเราก็อาจจะไม่ทราบว่า คำนั้นถูกหรือผิด แล้วโดยที่ว่า ไม่ทราบว่าถูหรือผิด เราก็ใช้ตามไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเห็นประโยชน์ ของการพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ฟัง ว่าความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น ควรจะเป็นอย่างไร แล้วก็เป็นจริงอย่างไร ไม่ใช่ว่าพอได้ยินก็ตามไป ปฏิบัติก็ปฏิบัติ นักปฏิบัติก็นักปฏิบัติ แต่ความจริงแม้แต่คำว่านักปฏิบัตินี่ผิด หรือถูก แล้วมีใครอยากจะเป็นนักปฏิบัติบางไหม เพราะว่าไม่ใช่เรื่องของคนปฏิบัติ แต่เป็นเรื่องของสภาพธรรม ปฏิบัติ คือสติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เป็นสติหรือมรรคมีองค์ ๘ ซึ่งปกติเป็นมรรคมีองค์ ๕ เพราะฉะนั้น แม้แต่ๆ ละคำขออย่าให้ผ่านไป เพราะว่าปัจจัยที่จะให้บรรลุคุณธรรมเป็นโสดาบัน คือ ได้พบสัตบุรุษ ได้ฟังธรรมของท่าน พิจารณาธรรมด้วย ไม่ใช่ฟังเผินๆ แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ซึ่งไม่ใช่หมายความว่าเป็นตัวเราที่จะทำ แต่หมายความว่าจากการได้พบ แล้วก็ได้ฟัง แล้วก็ได้พิจารณา ก็จะเป็นปัจจัยให้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม คือสติปัฏฐานเกิด แล้วพบสัตบุรุษ ทุกคนพบแล้วคือพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ได้ทรงแสดงแล้ว ไม่ใช่ว่าพบแล้วก็เฉย หรือว่าฟังก็ฟังเฉยๆ แต่ว่าฟังแล้วยังต้องพิจารณาว่า ธรรมจริงๆ คืออะไร กำลังปรากฏทุกขณะ ถ้าเข้าใจอย่างนี้จริงๆ การศึกษาก็จะรู้ว่า ทั้งหมดเพื่อให้เรา สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ถูกต้องตามความเป็นจริง เพียงได้ฟังว่าทุกอย่างที่กำลังปรากฏเป็นธรรม ถ้าเราไม่เผิน ก็ทำให้เข้าใจได้ว่า จุดประสงค์ คืออย่างนี้ เพราะฉะนั้น ก็จะทำให้มีการระลึกได้ ที่จะศึกษาให้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ นี้คือประโยชน์ ของการที่จะพิจารณาจริงๆ ก็ขอให้ทุกคนไมใช่เพียงแต่ฟังเฉยๆ ต้องพิจารณาด้วยแล้วก็ไม่ต้องอยากได้เหลือเกิน ที่จะให้สติเกิดบ่อยๆ เป็นสิ่งที่สุดเอื้อมอย่างที่คุณสุรีย์ ทราบแล้ว ใช่ไหม แต่ก่อนนี้เคยเอื้อมไหม
ผู้ฟัง ไม่คิดเอื้อม เพราะว่าเป็นของที่ยากสำหรับดิฉัน คือดิฉันเข้าใจว่าการปฏิบัติธรรม เป็นอย่างไร แต่เข้าใจตามที่อาจารย์สอน คือเข้าใจตาม พูดตาม พอเห็นตรงนั้น แล้วรู้สึกสุดเอื้อม สำหรับดิฉันจริงๆ แล้วก็ไม่รู้เมื่อไรจะถึงก็ยังไม่ทราบ เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ มีใครที่ไม่ได้คิดอย่างคุณสุรีย์ บ้าง
ผู้ฟัง เข้าใจว่า ถ้าเราฟังเข้าใจแล้ว ทุกคนจะถึงอยู่ตลอดเวลา แต่ถึงในระดับที่ เราเข้าใจ ถ้าเข้าใจถูกแล้วก็จะเป็นทางที่จะนำไปสู่ สิ่งที่เรามุ่งหวังในโอกาสต่อไป นี้เป็นความเข้าใจของผมซึ่งเพิ่งจะเริ่ม
ท่านอาจารย์ หมายความว่าต่างระดับ ไม่ใช่ว่าระดับสูงสุดที่หลายคนหวังเหลือเกินว่าชาตินี้จะรู้แจ้ง อริยสัจธรรม หรือว่าชาตินี้จะเป็นพระโสดาบัน ซึ่งถ้าเข้าใจจริงๆ ว่าการรู้แจ้งอริยสัจธรรม เป็นเรื่องละกิเลส หรือดับกิเลส จะรู้จริงๆ ว่ายากแค่ไหน ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใครไปนั่งปฏิบัติ แล้วก็หวังว่าจะได้เห็นสภาพธรรม แล้วก็จะสามารถหมดกิเลสไปได้ แต่ขณะที่กำลังเห็นธรรมดา กำลังได้ยินอย่างนี้ ปัญญาไม่เกิด แล้วจะละกิเลสอะไร เราจะต้องเข้าใจจริงๆ ว่าเรื่องของการละกิเลส ยาก จริงๆ แม้แต่คำว่า บารมี เราก็พอใจที่จะได้ฟังว่า ผู้ที่จะรู้แจ้ง อริยสัจธรรม ก็จะต้องสะสมบารมี แล้วเราก็ไปอ่านดูว่า บารมี มีอะไรบ้าง แต่ขณะเดียวกันในชีวิตของเราจริงๆ ขณะนี้ เรากำลังสะสมบารมีอะไรหรือเปล่า จริงๆ แล้วทุกคนดูจะพอใจกับคำว่า เมตตา รู้สึกว่าเป็นธรรมที่มีคุณประโยชน์มากไม่เป็นโทษ ไม่เป็นภัยกับใครเลยทั้งสิ้น เพราะเหตุว่ามีความเป็นมิตร มีความหวังดีจริงๆ พร้อมที่จะเกื้อกูลบุคคลอื่น ฟังดูก็เป็นสิ่งที่สวยงาม เป็นธรรมฝ่ายดี แต่ใจของตัวเราเอง มีเมตตาจริงๆ เพิ่มขึ้นหรือเปล่า เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของการปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่เป็นเรื่องพอใจที่จะรู้ว่า มีจำนวนเท่าไร แล้วก็คิดว่าจะพยายามบำเพ็ญ พยายามบำเพ็ญสักเท่าไร ก็ตามแต่ด้วยความเป็นตัวตน ก็ไม่สามารถที่จะละสังสารวัฏฏ์ไปได้ แต่เแม้กระนั้นโดยการที่เป็นผู้ที่ฟัง และศึกษาธรรมด้วย และพิจารณาตัวเองด้วย ข้อสำคัญที่สุดคือว่า ฟัง ศึกษา เข้าใจแล้ว พิจารณาสภาพจิตซึ่งมีทั้ง เจตสิก แล้วก็ยังมีรูป ที่จะให้พิจารณาให้รู้ ตรงตามที่ได้ศึกษาด้วย จึงจะเป็นประโยชน์ ที่แท้จริง แต่ถ้าใครก็ตามศึกษามา ๒๐, ๓๐ ปี ความชังบุคคลอื่น หรือความผูกโกรธบุคคลอื่น ยังคงอยู่เหมือนเดิม แล้วก็อ่านเรื่องของบารมี แล้วก็ชอบมาก แต่ว่าจริงๆ แล้ว ทุกๆ ขณะกำลังบำเพ็ญ หรือว่า เจริญบารมีข้อไหนบ้าง จึงต้องเป็นผู้ที่พิจารณาจริง ข้อสำคัญที่สุดคือ ขอให้เห็น กิเลส ตราบใดที่ยังไม่เห็นกิเลส ละกิเลสไม่ได้ เพราะฉะนั้น กิเลสของเรามากมายมหาศาล ซึ่งคนอื่นไม่อาจจะรู้ได้ แต่สติสัมปชัญญะ สามารถที่จะเกิด ระลึกรู้ตามลำดับขั้น คือแม้แต่เพียงขั้นพิจารณา แล้วเข้าใจ แล้วรู้ว่ามีมากก็เป็นประโยชน์ ที่เราจะรู้ว่า นิพพานนั้นต้องสุดเอื้อม หรือว่าการที่จะดับกิเลสหมดนั้นต้องสุดเอื้อม เพราะเหตุว่าเพียงระดับที่ฟังเข้าใจ แต่กิเลสจริงๆ ในขณะที่เกิดขึ้น ถ้ายังไม่สามารถที่จะรู้ได้ ก็เป็นแต่เพียงเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะได้พิจารณาจิต และเจตสิก และรูป ตามที่ได้ศึกษาจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่ฟังเป็นเรื่องราว เท่านั้น
ผู้ฟัง เมื่อคืนได้ยินคำว่า บังคับจิต ยังไม่แจ่มแจ้ง จะบังคับอย่างไร
ท่านอาจารย์ นี่เป็นการที่เราจะต้องศึกษา ทั้ง ๓ ปิฏก เพราะเหตุว่าถ้าอ่านพระสูตร อาจจะมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะเหตุว่าเรามีความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น เวลาฟัง หรืออ่านศึกษาจากพระไตรปิฎก เหมือนกับว่าจงละเว้น บาปทั้งปวง แล้วก็บำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม ชำระจิตให้บริสุทธิ์ เหมือนสั่ง หรือเหมือนทำ เหมือนกับให้ทุกคนเป็นอย่างนั้น แต่ความจริงแล้ว พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงธรรม ใช้คำว่า ธรรม และเหตุ และผลของธรรม เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่เป็นสิ่งที่ดี เหตุที่ดีก็ควรที่จะอบรมเจริญ แต่ไม่ใช่หมายความว่าให้เราไปพยายามทำสิ่งซึ่งเราบังคับไม่ได้ แต่ว่าสิ่งใดก็ตามซึ่งเมื่อพิจารณาเห็นเหตุผลแล้ว ก็สามารถที่จะเป็นปัจจัย ให้ธรรมฝ่ายดีเกิดขึ้นเพราะ การเห็น เหตุผล ถ้าขณะนี้เราไปบอกคนว่า ไม่ให้ฆ่าสัตว์ ไม่ให้ทำสิ่งทีไม่ดี ถ้าเขาไม่มีปัญญาที่จะพิจารณาเห็นโทษของอกุศลจิตอย่างนั้น เขาก็ไม่เลิก ก็ยังคงมีคนทำ อกุศลกรรมอยู่ แต่ว่าใครจะทำอกุศลประเภทใด ทางกาย หรือทางวาจา มากน้อยอย่างไร ก็ต้องแล้วแต่ว่าบุคคลนั้น มีความเข้าใจธรรมมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น ด้วยความเข้าใจนั้นก็ทำให้มีการที่จะละเว้นทุจริต แต่ว่าถ้าจะเพียงพยายามบังคับจิต เป็นสิ่งซึ่งถ้าศึกษาพระอภิธรรมปิฎกแล้ว จะเห็นได้ว่าต้องสอดคล้องกันกับปิฎกอื่นด้วย คือธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับจิตได้ ถ้าบังคับได้ให้มีสติมากๆ ให้มีปัญญามากๆ ให้รู้แจ้งอริยสัจธรรมวันนี้ ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
การฟังพระธรรมก็ต้องทราบด้วยว่า ต่างระดับขั้นของธรรม ผู้ที่มีความเข้าใจถูก ก็เข้าใจโดยตลอด ไม่ว่าจะทรงใช้พยัญชนะอะไร แต่ผู้ที่ไม่เข้าใจก็มีความเป็นตัวตน ทำทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งเขาเป็นเขาที่กำลังทำ ถึงแม้ว่าจะมีกุศลมากมายสักเท่าไร ก็ออกจากสังสารวัฏฏ์ไม่ได้ เพราะเหตุว่ายังเป็นตัวเขาที่ทำ เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่าชีวิตของเราทุกคน ก็จะเหลืออีกมากน้อย แค่ไหน เราไม่สามารถจะรู้ได้ สิ่งที่เป็นประโยชน์ ที่สุดก็คือว่า ละกิเลส หรือว่าทำความดี ชำระจิตให้บริสุทธิ์ก็ตาม แต่ก็จะต้องเห็นจริงๆ ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แล้วก็เป็นเรื่องที่จะต้องอาศัยการฟัง การพิจารณา แล้วจึงจะค่อยๆ ละคลายอกุศลได้ แต่ถ้าไม่เห็นกิเลส ไม่มีทาง
บังคับจิต ถ้าจะอาศัยตำราอื่น ของนักปรัชญา นักจิตวิทยาอื่น เขาคงจะแสดงหลายวิธี แต่ทั้งหมด ไม่สำเร็จ เพราะเหตุว่าจิตเป็นสภาพธรรม ซึ่งมีปัจจัยเกิดแล้วดับ เกิดขึ้นเพื่อจะทำกิจของจิตนั้น แล้วดับทันที ใครจะไปบังคับจิตนั้นไม่ให้เกิด ไม่ได้ เมื่อจิตนั้นเกิดแล้ว จะไม่ให้ทำกิจของจิตนั้นก็ไม่ได้ จะให้จิตนั้นไปทำกิจจิตอื่น ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็แสดงว่าจะบังคับจิตได้อย่างไร ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่าขณะนี้ จิตกำลังเกิดดับ
ผู้ฟัง มันเหมือนอย่างกับจะบังคับได้ อย่างใน คาถา มงคลสูตร ชื่อว่า อารตี วิรตีปาปา มชชปานา จ สัญญโม การงด การเว้น จากบาป การสำรวมในการดื่มน้ำเมา มันคล้ายๆ กับว่าเราจัดการกับมันได้ งดได้ เว้นได้จากบาปนี้
ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้ว พยัญชนะที่จะต้องพิจารณา คือ ไม่ได้บอกว่าผู้หนึ่ง ผู้ใด แต่บอกว่า การงด การเว้น เป็นหน้าที่ของเจตสิก ฝ่ายโสภณ
ผู้ฟัง หมายความว่าเจตสิก
ท่านอาจารย์ แน่นอนทั้งหมด ทั้ง ๓ ปิฎก ต้องเกื้อกูลกัน โดยเฉพาะพระอภิธรรมปิฎก ถ้าไม่ศึกษาพระอภิธรรม มีทางที่จะเข้าใจพระสูตรผิด เพราะว่าเป็นตัวเราตลอด ไม่ได้เข้าใจเลยว่าเป็นอนัตตา เป็นสภาพธรรม จริงๆ เพราะฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะทำกุศลไป สักเท่าไรก็ตาม แต่ถ้าไม่เข้าใจสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ก็ดับกิเลสไม่ได้ แม้กุศลที่เกิดก็เป็นเรา เป็นของเรา เราดี เรามีกุศล เราทำกุศล แล้วจะพ้นไปจากสังสารวัฏฏ์ ได้อย่างไร เพราะว่านั่นไม่ใช่ความเห็นที่ถูกต้อง ถ้าเป็นความเห็นถูกก็ต้องรู้ว่าเป็นสภาพธรรม แต่ละอย่าง
ผู้ฟัง อย่างที่ท่านอาจารย์ พูดว่า เราต้องรู้ว่าเรามีกิเลส เราต้องรู้ว่าเรามีกิเลส คล้ายๆ กับว่า มีเราที่จะต้อง รู้ว่ามีกิเลส
ท่านอาจารย์ ถ้ายังไม่ดับกิเลส ก็มีเราแน่ๆ เพราะฉะนั้น ต้องฟัง แล้วก็พิจารณา ขณะใด ขณะนั้นก็เป็นปัญญา ไม่ใช่เรา ระดับที่ไม่ใช่เรา ต้องเหมือนกับว่าฟังพระธรรม และพิจารณามากๆ เข้าใจจริงๆ แล้วสติปัฏฐาน เกิดระลึก รู้ลักษณะที่ไม่ใช่เรา จนกว่าจะไม่มีเรา โดยเด็ดขาด
ผู้ฟัง ที่ว่าเรามีกิเลส ก็ยังเป็นการที่ว่า
ท่านอาจารย์ ผู้ที่ยังมีกิเลส ก็มีกิเลส
ผู้ฟัง แต่รู้ว่าตัวเรามีกิเลส
ท่านอาจารย์ ดีกว่าไม่รู้แล้วก็เป็นทางที่จะละด้วย
ผู้ฟัง ก็ยังเป็นเราอยู่
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะดับกิเลส
ผู้ฟัง พูดถึงว่า งด หรือ เว้นจากการดื่มสรุา หรือสูบบุหรี่ หรือว่าจากการทำบาปด้วยประการทั้งปวง แม้คนทั่วไป ที่เขาไม่เคยเข้าใจ ไม่มีเรา เขาก็เว้นได้ แต่เขาเว้นได้เป็นเรื่องเป็นราวว่า เขาเห็นโทษ เขาเห็นโทษของการสูบบุหรี่ เห็นโทษของการดื่มสุรา เห็นโทษของการฆ่าสัตว เพราะฉะนั้น เขาก็เว้น ขณะนั้นจิตของเขาก็เป็นกุศลด้วย แต่เป็นอีกขั้น อีกระดับ ๑ แม้ว่า เขาจะรู้ว่า เป็นตัวเขาเว้น แต่ตัวเขาก็เห็นโทษ อันนี้ก็ถือว่า จิตก็เป็นกุศล เหมือนกัน ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ โดยมากถือ แล้วเป็นจริงๆ หรือเปล่า
ผู้ฟัง หมายความว่า พวกนี้จะคิดว่า ยังไม่เคยรู้จักพระอภิธรรมเลย ยังไม่เคยรู้จักจิต เจตสิกเลย ยังไม่เคยรู้จัก ความเป็นตัวเป็นตน ไม่เป็นตัวเป็นตนเลย เขาก็เว้นได้ ในกรณีที่ดิฉันพูด หมายความว่า เขาก็เว้นได้ เพราะ เขาเห็นโทษของสิ่งนั้นๆ เขาจึงเว้น แม้เขาไม่ได้เรียน จิตเขาก็เป็นกุศล นี้คือ คำถาม ใช่หรือปล่า
ท่านอาจารย์ กุศลจิต เกิดได้ แม้ไม่รู้ เช่นเดียวกับอกุศลก็เกิดขึ้นเป็นไป แม้โดยไม่มีใครรู้ว่าเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล กุศล อกุศล ก็เกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัย เวลาที่บอกว่ามีใครที่ งดเว้น จะเป็นบุหรี่เหล้า หรือว่าอกุศลใดๆ ก็ตามแต่ ขณะนั้นให้ทราบว่าจริงๆ แล้ว เพื่อประโยชน์ของตัวเอง ยังมีความเป็นตัวตน หรือว่างดเว้นด้วยปัญญาจริงๆ ที่เห็นว่าขณะนั้นเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก การที่เราจะวิเคราะห์ หรือว่าสามารถที่จะรู้ได้จริงๆ ไม่สามารถที่จะรู้ขณะจิตซึ่งเกิด และดับอย่างรวดเร็ว นอกจากขณะใดที่สติปัฏฐานเกิด ระลึก ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องซึ่งทุกคนฟัง ไตร่ตรองพิจารณาในเหตุในผลว่า เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ถ้าใครจะเห็นโทษของการงดเว้น อย่างสุรา เขาอาจจะเห็นว่า ให้โทษหลายอย่าง ทำให้ร่างกายไม่เแข็งแรง แล้วขณะนั้นจะเป็นกุศล หรือเปล่า ถ้าเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง แล้วถ้างดเว้นการดื่มสุรา เพราะฉะนั้น เพียงการไม่ดื่มสุรา ไม่ได้หมายความว่าเราไปรู้ใจ ของคนที่ไม่ดื่มว่า เป็นกุศล ไม่ใช่เลย เรื่องของจิต เป็นเรื่องที่ละเอียด เป็นเรื่องตรง เป็นเรื่องจริง แล้วเป็นเรื่องซึ่งต้องรู้สภาพธรรมจริงๆ ไม่ใช่เพียงแต่ดูภายนอก หรือว่าประมาณเอาว่าเป็น เพราะเหตุว่าคนนั้นเว้นการดื่มสุรา เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นตัวเอง ที่สามารถจะทราบได้ว่า ในขณะนั้น ๑ เป็นกุศล หรือเปล่า แล้วยังสามารถที่จะรู้ละเอียดด้วย ว่าแม้ขณะที่เป็นกุศล เป็นกุศลอย่างไร คือเป็นอัตตาธิปไตย หรือว่าเป็นโลกาธิปไตย หรือเป็นธรรมาธิปไตยแม้ว่าเป็นกุศล
ผู้ฟัง หมายความว่า จิตจะเป็นกุศลก็ได้ โดยเขาเห็นโทษ
ท่านอาจารย์ สุราเหล้า มีโทษมากเพียงเห็นโทษ จะเป็นกุศลได้ไหม
ผู้ฟัง ก็เป็นโลก คือเขารักตัวเอง
ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้น เป็นกุศลได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ หมายความว่า มันอาจจะเห็นโทษ ด้วยความที่จิตโลภ เห็น รักตัวเอง เห็นกับสุภาพของตัวเอง รักตัวเอง จึงงดเว้น ไม่ใช่เห็นโทษด้วยกุศลจิต แต่เป็นโลภมูลจิต
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ละเอียด ที่ดูเพียงผิวเผินภายนอกไม่ได้ ต้องเป็นแต่ละคนที่จะรู้ ตัวเอง
ผู้ฟัง ยังไม่เข้าใจ ที่ว่าเมื่อกี้ ที่ว่าบังคับจิต เรามีวัตถุประสงค์อะไรที่จะไปบังคับ เพราะว่าจิตเกิดดับ เป็นของธรรมดาอยู่แล้ว เราไม่ได้เกี่ยวอะไรเลย ถ้าบังคับได้จะหมายความว่าอย่างไร บังคับไม่ได้หมายความว่าอย่างไร
ท่านอาจารย์ บางคน เขามีทุกข์มาก แล้วเขาก็ไม่อยากจะมีทุกข์ เขาจะพยายามบังคับจิตเขาไม่ให้มีทุกข์ เขาก็คิดว่าเขาบังคับ หรือพยายามหาทางบังคับ ซึ่งเขาไม่รู้เลย ว่าความจริงบังคับไม่ได้
ผู้ฟัง แล้วจิตก็ไม่น่าเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดทุกข์ ใช่ไหม เกี่ยวไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีจิต ทุกข์ จะมีไหม
ผู้ฟัง ไม่มีจิต ก็ไม่เป็นคน เป็นมนุษย์ ก็อยู่ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ทุกข์ก็ไม่มี แต่ที่มีทุกข์เพราะมีจิต
ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าบังคับได้ หมายความว่าอย่างไร
ท่านอาจารย์ ไม่มี ถ้า ไม่มี บังคับไม่ได้ ถ้ารู้ความจริง แล้วก็รู้ว่าบังคับไม่ได้ ถ้าไม่รู้จึงคิดว่าบังคับได้ หรือพยายามจะบังคับ ข้อสำคัญที่สุดคือจิตอะไร ขณะนั้น ที่เคยเป็นจิตเรา ความจริงก็ไม่ใช่จิตเรา แต่เป็นธาตุชนิด หนึ่งซึ่งเป็น อกุศล เป็นนามธรรมที่เกิดขึ้น จึงคิดอย่างนั้น เพราะฉะนั้น การที่เราจะพ้นทุกข์จริงๆ แม้แต่จากความคิด ซึ่งเป็นทุกข์ ก็โดยปัญญาเกิดขึ้นเท่านั้น แล้วรู้ว่าแท้ที่จริงไม่มีอะไร ทุกอย่างต้องเกิดตามเหตุตามปัจจัย เท่านั้น
ผู้ฟัง ใช้คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาตัวนี้ ท่านอาจารย์จะช่วยกรุณาขยายสักนิด
ท่านอาจารย์ เป็นความเห็นถูก ความเข้าใจถูก
ผู้ฟัง ในเรื่องอะไร
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง แม้แต่ในขณะนี้
ท่านอาจารย์ ขณะที่จิตคิด ถ้าปัญญาไม่เกิดก็วุ่นวายกับความคิด เป็นทุกข์กับความคิด เดือดร้อนกับเรื่องราวของคนที่ ทำให้เราต้องคิดอย่างนั้น อย่างนี้ แต่ว่าถ้าปัญญาเกิดขึ้นทันที ไม่ได้พิจารณาเรื่องราว เพราะรู้ว่าไม่มี มีแต่จิตซึ่งกำลังคิด แล้วจิตที่คิดเป็นอกุศลแค่ไหน ไม่เห็นเลย เพราะฉะนั้น ถ้าเห็น ยังไม่ทันล่วงออกไปทางกาย ทางวาจา แต่สามารถจะเห็น สภาพของจิต ซึ่งเป็นอกุศล ในขณะนั้น แล้วจะไม่เห็นโทษของอกุศลจิต หรือ คนอื่นไม่เกี่ยวเลย แต่ว่าจิตของตนเองต่างหากที่ยังมีอกุศลอยู่มากมายเหลือเกิน ก็ทำให้คิดเรื่องราวต่างๆ เป็นอกุศลมากมาย เพราะฉะนั้น จะพ้นทุกข์ได้ก็ต่อเมื่อรู้ความจริงว่าขณะนั้นไม่มีใคร มีแต่จิตซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็คิด แล้วขณะที่คิดก็เป็นอกุศลด้วย ถ้าเราจะละอกุศล ตอนนี้ จะเห็นแล้ว ควรจะคิดด้วยเมตตา หรือว่าคิดด้วยอะไร
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 500
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 502
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 504
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 507
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 510
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 511
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 513
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 514
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 516
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 517
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 518
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 519
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 520
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 521
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 523
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 524
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 525
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 526
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 527
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 528
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 529
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 530
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 532
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 533
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 534
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 536
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 538
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 539
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 540