ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๐๙

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๑


    ท่านอาจารย์ เราไม่รู้เลย ว่ากว่าจะมาเป็นขณะนี้หนึ่งขณะ ซึ่งเกิด จิตถอยหลังไป เกิดดับสืบต่อจน ถึงขณะปฏิสนธิ สะสมอะไรมาแล้วบ้าง ในชาตินี้ก็ยากที่จะรู้ แต่ว่าตอนที่เราเป็นเด็ก เราก็รู้ ว่าเราเกิดมามีชอบ มีไม่ชอบ มีดีใจ มีเสียใจ มีเรื่องราวต่างๆ ที่สุขบ้าง ทุกข์บ้าง สนุกบ้าง แล้วก็จำไว้ แม้ขณะนี้ก็ยังมีเจตสิกซึ่ง สามารถที่จะตรึกหรือนึกถึง สิ่งซึ่งสัญญาเจตสิกจำไว้ได้ เฉพาะในชาตินี้ ชาติเดียว แต่ถ้าถอยกลับไปแสนโกฏิกัปป์ ไม่มีทางที่เราจะรู้เลยว่า จิตเพียงขณะหนึ่งซึ่งเกิด บรรจุ สะสมอะไรไว้ มากน้อยเท่าไร ถ้าเป็นอย่างพระโพธิสัตว์ แม้แต่การเห็น การตรึก หรือการคิดของท่านจะต่างกับคนธรรมดา คือท่านจะคิดในเรื่องของการที่จะรู้ ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะที่เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เห็นบ้างได้ยินบ้างสุขบ้างทุกข์บ้าง ก็ผ่านไปโดยไม่เคยคิดเลยที่จะความจริงของสภาพธรรม ถึงคิดก็คิดไม่ออก เพราะเหตุว่าไม่ได้สะสมปัญญามาถึงระดับขั้นที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงแต่ว่าเราสามารถที่จะมีการศึกษาให้เข้าใจได้ นี่ก็แสดงให้เห็นถึงนามธาตุ ซึ่งไม่มีรูปร่างลักษณะ แต่ว่าทันทีที่เกิดเพระเหตุปัจจัยแล้วดับไป ก็สะสมสืบต่อ จนกระทั่งถึงแต่ละขณะในขณะนี้

    อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายต้องตรงกัน ตั้งแต่คำต้นจนถึงคำท้าย ถ้าบอกว่าสภาพธรรมที่เกิด ต้องอาศัยเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น หมายความว่าขณะก่อน สภาพธรรม นี้ไม่มี แล้วอาศัยเหตุปัจจัยที่เหมาะสม แก่สภาพธรรมนี้ สภาพธรรมนี้จึงเกิดขึ้น ยกตัวอย่างอย่างเห็น เมื่อกี้นี้ได้ยิน ไม่ใช่เห็น แต่ชั่วขณะที่เห็น ต้องมีจักขุปสาทรูป ซึ่งเป็นรูปที่สามารถกระทบสี แล้วต้องมีสีสันวัณณะกระทบ แล้วก็ต้องมีจิตซึ่งเกิดก่อน ซึ่งไม่ใช่ภวังคจิต เป็นวิถีจิตแรกเกิด รำพึง หรือนึกถึงก็แล้ว แต่ สิ่งที่ปรากฏ แล้วจักขุวิญญาณจึงเกิดต่อได้ นี่แสดงให้เห็นว่า ไม่มีจิตเห็นแล้วกลับมาเกิดอีก แต่ว่าทุกขณะ เป็นขณะใหม่จริงๆ ซึ่งอาศัยเหตุปัจจัยคือ จักขุปสาทรูป ซึ่งยังไม่ดับ เกิดเพราะกรรม จักขุปสาทรูปเมื่อกี้นี้มีอายุ ๑๗ ขณะ เร็วมาก ดับแล้ว แต่ก็ยังมีจักขุปสาทรูปที่กรรมทำให้เกิดอีก การเห็นขณะนี้จึงมีได้ นี่ก็แสดงให้เห็นถึงเรื่องของธาตุ หรือสภาพธรรม เป็นธรรมจริงๆ ซึ่งปัญญาสามารถที่จะรู้ได้

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นหมายความว่าที่เราพยายามที่จะให้มีปัญญาที่เกิดจากการเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั้นก็เพื่อที่จะให้รู้ไปถึงตรงนี้ หรือ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าปัญญาของเราไม่ใช่เพียงฟัง เข้าใจ ถ้าเราฟังเข้าใจ คือเราเชื่อจากที่ฟังเท่านั้นเอง แต่ยังไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่าธรรมจริงๆ เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น การแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาค ไม่ใช่เพียงปริยัติ คือให้ฟังรู้เรื่อง แต่แสดงหนทางที่จะอบรมปัญญาที่จะให้ประจักษ์ ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเป็น มัชฌิมาปฏิปทา เป็นสติปัฏฐาน เป็นการอบรมเจริญมรรคมีองค์ ๘ เรื่องเดียวกันทั้งหมด แต่ต้องตรง คือขณะนี้เป็นธรรม ทุกคนไม่ปฏิเสธ คนที่สอนอภิธรรม หรือสอนธรรมก็จะกล่าวเหมือนกันหมด คือทุกอย่างเป็นธรรม เห็นเป็นธรรม ได้ยินเป็นธรรม แต่ต้องให้ตรงด้วย คือถ้าปัญญาจะรู้ก็ต้องรู้ ธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้โดยสติระลึก จึงเป็นสติปัฏฐาน เพราะว่าถ้าสติไม่ระลึกไม่มีทางที่จะรู้ ความจริงของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ แม้ว่าฟัง ก็เป็นสติขั้นฟัง แต่ว่าภาวนา คือ การอบรมเจริญให้เกิดมีขึ้น เพิ่มให้มากขึ้น เพราะฉะนั้น ในขณะที่ฟังเข้าใจ เพิ่มความเข้าใจขึ้น เพิ่มความเข้าใจขึ้น ขณะนี้คือการอบรม ทั้งสติ และปัญญาจนกว่าจะเป็นสังขารขันธ์ ที่ปรุงแต่งให้ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    เพราะฉะนั้น เราจึงได้พูดถึงเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งกำลังมีเดี๋ยวนี้ เพื่อว่าสติของใครจะระลึก ก็เกิดได้เมื่อมีปัจจัย แต่ไม่ใช่ทำอย่างไร ถ้าเป็นเรื่องทำแล้วผิดทั้งหมด ถ้าเป็นเรื่องการอบรม เจริญความรู้ความเข้าใจ ก็เพิ่มขึ้นได้ แล้วส่วนใหญ่ บางคนก็อาจจะคิดว่าต้องไปทำสมาธิก่อน แล้วก็หวัง มีคนถามว่า ถ้าเวลาที่จิตเป็นสมาธิ แล้วต่อไปปัญญาก็จะรู้ ใช่ไหม ปัญญาเอามาจากไหน ปัญญาต้องมีการเกิดขึ้นแล้วก็อบรมให้เจริญขึ้น ถ้าไม่มีปัญญาเกิดขึ้นเลย แล้วก็ไปนั่งแล้วเข้าใจว่าสงบ แล้วปัญญาที่จะเกิดนั้นมาจากไหน

    ผู้ฟัง ผมขอความกรุณา ถามอาจารย์ เกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติ เรื่องเจริญสติปัฏฐาน ตั้งแต่เริ่มต้นตอนเช้าขึ้นมา เมื่อเราเข้าห้องน้ำ ไปแปรงฟันก็ให้รู้สึก สภาพแข็ง ที่สัมผัสแปรงกับฟัน แล้วก็น้ำยา ยาสีฟันอาจจะเผ็ด ที่ปาก หรือจะย็น ให้รู้ ว่าเป็นเตโชธาตุ ลักษณะอย่างนั้นใช่ไหม ที่จะต้องให้ระลึกรู้

    ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่าสภาพธรรม ทุกอย่างมีลักษณะเฉพาะของตน ตั้งแต่เกิดจนตาย จิตเป็นสภาพที่รู้ เพราะฉะนั้น ที่มีสิ่งใดๆ ปรากฏในชีวิต แม้ขณะนี้เองก็เพราะมีจิต ซึ่งเป็นธาตุรู้ ทีนี้ทางตามีสิ่งที่ปรากฏ เป็นของจริง เราเคยเห็น เป็นสัตว์ เป็นบุคคลต่างๆ ไม่เคยรู้ว่าเป็นเพียงธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งกระทบตาจึงปรากฏ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา กระทบอย่างอื่นไม่ได้เลย ต้องกระทบจักขุปสาท จึงปรากฏ นี้คือความจริงของธาตุ หรือธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปธรรม ที่เป็นรูปธรรม เพราะ รูปไม่รู้อะไร ไม่รู้ว่าถูกเห็น เป็นแต่เพียงสิ่งที่สามารถกระทบจักขุ แล้วปรากฏ เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ใช่มีการบังคับ ไม่มีการวางกฏเกณฑ์ แต่ให้ทราบว่าทุกอย่างเป็นธรรม สัญญาความจำที่มั่นคง ไม่ใช่จำ เรื่องอื่น แต่เป็นความจำ พร้อมความเข้าใจ เวลาที่มีความเข้าใจในลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม จำด้วย เมื่อมีความเข้าใจก็มีความจำ ในสิ่งที่เข้าใจ แต่ถ้าไม่เข้าใจ เราไปเรียนเรื่องชื่อ เรื่องราวต่างๆ โดยไม่เข้าใจ เราจำชื่อ แต่ไม่ไช่หมายความว่าสัญญานั้นเกิด กับปัญญา แต่ขณะใดก็ตาม ที่มีความเข้าใจ สัญญาเจตสิกก็เกิด จำสิ่งที่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ ถ้าเข้าใจ สัญญา จำ แต่จะมั่นคงแค่ไหน

    ผู้ฟัง ขณะนี้พอมองอาจารย์ ก็เป็นอาจารย์ จะให้ระลึกรู้ว่าเป็นสภาพธรรม เพราะอาจารย์ก็เป็นรูป

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ให้ระลึกรู้ ค่อยๆ เข้าใจ จริงหรือเปล่า ที่ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ เมื่อกระทบกับจักขุปสาท จริงหรือเปล่า ก่อน

    ผู้ฟัง จริง

    ท่านอาจารย์ จริงนี้คือเข้าใจ แต่ยังไม่มั่นคง

    ผู้ฟัง ไม่มั่นคง หมายความว่า ผมยังไม่เชื่อมั่น ร้อยเปอร์เซนต์ อย่างนี้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าเดี๋ยวก็ ลืม

    ผู้ฟัง อ๋อ

    ท่านอาจารย์ ฟังแล้ว ฟังได้ เข้าใจในขณะที่ฟัง แล้วก็ลืม การลืมหรือการหลงลืม เพราะอวิชชา ซึ่งมีมาก มากกว่าสติ มากกว่าปัญญา มากมายมหาศาล ในสังสารวัฏฏ์ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเพียงแค่เราฟัง เราจะจดจำไว้ตลอด ต้องมีเหตุปัจจัยที่จะให้อกุศลจิตเกิด แล้วเวลาที่อกุศลจิตเกิด พวกนี้จะไม่มีทางที่จะขึ้นมาเลย จนกว่าจะฟังอีก เพราะฉะนั้น ในพระไตรปิฎก ฟังบ่อยๆ อานิสงส์ของการฟังแล้วสติปัฏฐาน ไม่ใช่ให้ตั้งใจระลึกนานๆ ระลึกเนืองๆ บ่อยๆ เพราะว่าไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา สติเกิดนิดเดียวหลงลืมสติอีกแล้ว แต่ผู้ที่เห็น สาตถกสัมปชัญญะ

    สัมปชัญญะมี ๔ สาตถกสัมปชัญญะ คือปัญญาที่เห็นประโยชน์ ของสติปัฏฐาน แม้เพียงนิดเดียว จะให้มากได้อย่างไร ในเมื่อเป็นผู้ที่ยังอ่อน ยังเยาว์วัย เหลือเกิน เพิ่งที่จะได้อบรม แล้วนานๆ สติปัฏฐาน ก็จะเกิดขึ้นสักครั้งหนึ่ง แต่ถ้ารู้ว่าขณะนั้นเป็นสติ ไม่ใช่หลงลืมสติ มีลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถ ที่เราเคยฟังเคยเข้าใจ จะรู้ความต่างกันของขณะที่สติเกิด กับขณะที่หลงลืมสติ แล้วไม่ใช่ไปรอ ไปหวังว่าเมื่อไร สติจะเกิดอีก เพราะว่าโลภะ จะแทรกเข้ามาตลอด แต่ว่าปัญญาเป็นสภาพธรรม ที่ตรงกันข้าม ถ้ามีความมั่นคงจริงๆ ก็จะรู้ว่าเป็นธรรมดา ใครก็ตามที่คิดว่าสติเกิดตั้งนาน ปกติหรือเปล่า ผิดปกติ ก็ไม่รู้ตัวว่าผิดปกติ และอาจจะชอบความผิดปกติ เพราะคิดว่าถูก แต่ตามความเป็นจริง ไม่ใช่ เป็นเรื่องที่ละความหวัง ละความต้องการ เพราะรู้ตามความเป็นจริงว่า แม้สติก็เกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับ ก็ต้องเป็นธรรมดาอย่าให้โลภะ เข้ามาชักจูงไปทำอย่างอื่น ถ้าโลภะ มาชักจูงทำอย่างอื่น คือสัญญาไม่มั่นคงไม่ใช่สัจจญาณ แล้วก็จะอดทนไหม คือข้อสำคัญที่สุด คือว่าจะอดทนไหม หรือว่าจะไม่อดทน เพราะว่าทำอย่างอื่นง่ายกว่ามากเลย จะให้ไปทำอะไร แสนง่าย แต่สภาพธรรม ขณะนี้กำลังปรากฏ ถ้าสติไม่เกิดก็ไม่เกิด เป็นของธรรมดา ถ้าเกิดก็ให้รู้ว่าเป็นของธรรมดาที่มีเหตุปัจจัยก็เกิด

    ผู้ฟัง เมื่อผมมองอาจารย์ ผมก็เห็น สภาพรูป แล้วก็มีเสียง ก็เกิดสภาพธรรม ๒ สภาพแล้ว แล้วพออาจารย์ ขยับตัว ก็เป็นอีกสภาพหนึ่ง แต่มันก็สลับกันไปสลับกันมา ลักษณะอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ธรรมดา

    ผู้ฟัง ดังนั้นจึงต้องระลึกรู้ว่า นั่นคือสภาพธรรมเท่านั้น ที่เกิดขึ้น แต่พอเข้าใจสภาพธรรม ที่ออกมาได้อย่างไร จากตัวอาจารย์ ที่อาจารย์ช่วยอนุเคราะห์ผมอยู่ตอนนี้ มันก็เลย

    ท่านอาจารย์ เวลานี้จริงๆ ไม่มีดิฉันเลย แล้วก็ไม่มีคุณกอบพงศ์ ไม่มีใครทั้งสิ้น ทุกคนอยู่ในโลกของตัวคนเดียว กับความคิดนึก เพราะอะไร เพราะว่าจิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะ ยังไม่เห็นยังไม่ได้ยินอะไรเลยทั้งสิ้น เป็นสภาพรู้ ถ้านับจากปฏิสนธิมา ก็เป็นจิตขณะแรก ซึ่งไม่รู้อารมณ์ของโลกนี้เลย ไม่เห็น ไม่ได้ยินทั้งสิ้น แต่มีสภาพรู้ หรือธาตรู้ เกิดแล้ว เมื่อปฏสินธิจิตดับ ภวังคจิต เกิด สืบต่อ โลกนี้ก็ไม่ปรากฏ เราคิดว่ามีโลก เพราะว่ามีจิต เกิดขึ้น โดยอาศัยตาเห็น ชั่วขณะแล้วดับ แล้วจำ แล้วคิด เพราะฉะนั้น ก็เป็นโลกที่ยั่งยืน ว่ามีสิ่งหนึ่ง สิ่งใดปรากฏ มีคนมาก มีอะไรมากมาย แต่ความจริงแล้วก็คือจิตหนึ่ง ขณะซึ่งเกิดขึ้น มิฉะนั้นเราจะเสียประโยชน์ ในการเรียนเรื่องวิถีจิต ว่าเราเรียนทำไม แต่เราเรียนเพื่อที่จะรู้ความจริงว่า ธาตุรู้ มี แต่ว่าถ้าไม่อาศัยตาก็ไม่มีการเห็น ไม่อาศัยหู ก็ไม่มีการได้ยิน แต่ธาตุรู้มี แม้ว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จะไม่ปรากฏธาตุรู้ก็มี แต่เมื่อมีสิ่งใด สิ่งหนึ่ง ปรากฏทางตา แล้วก็ดับ แล้วก็เกิดสลับกันอย่างรวดเร็ว ความทรงจำในรูปร่างสัณฐานก็ทำให้เกิดความยึดถึอว่าเป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใดเกิดขึ้น เราจึงเสมือนว่าอยู่ในโลกมีคนมากมาย มีเรื่องราวต่างๆ แต่ตามความเป็นจริง คือจิต เกิดขึ้นหนึ่งขณะ แล้วเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา ดับเร็วมาก เหมือนฟ้าแลบ แต่ใจจำเรื่องราวไว้หมด ทางหูก็อีก ฟ้าแลบชนิดหนึ่ง ก็จำไว้อีก ตกลงก็คือว่าประมวลไว้ที่ จิตทางมโนทวาร เพราะเหตุว่าทางตา ดับแล้ว หมดแล้ว ทางหู ดับแล้ว หมดแล้ว แต่ทางใจจำไว้หมด ก็เป็นโลกของแต่ละคน โลกแต่ละใบกับความทรงจำ จนกว่าจะรู้ความจริง

    ผู้ฟัง แล้วความจริงอันนี้ก็คือ

    ท่านอาจารย์ ความจริง อย่างนี้

    ผู้ฟัง คือสภาพธรรม ที่ไม่สามารถบังคับบัญชาได้

    ท่านอาจารย์ ที่กำลังกล่าวถึง คือว่าไม่มีใครเลย เป็นแต่เพียงธรรมแต่ละชนิด จะยอมอยู่คนเดียวไหม หรือจะอยู่กับหลายๆ คน แต่ตามความเป็นจริง อยู่กับความคิดนึกของเราเอง ลองสังเกตดู เวลาเราดูโทรทัศน์ เราอยู่กับใคร ในจอ ไม่มีอะไรเลย มีแต่สี เราก็เรียกว่าคนโน้น คนนี้กำลัง พูด กำลังแสดงบทบาทต่างๆ เพลินกับความคิดนึก ซึ่งไม่มีอะไร ฉันใด นี้ก็จอกว้าง กว้างเท่าที่ขอบเขตของสีสันวัณณะจะปรากฏ แล้วกับคิดนึก เหมือนกันเลย ไม่มีความต่างกัน เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน จะเห็นอะไร โลกทางตาก็คือเป็นโลกทางตาที่ปรากฏ แล้วก็ดับ แล้วก็ความคิดนึกก็เก็บ ทรงจำเรื่องราวต่างๆ โลกของสมมติสัจจะ มาเรื่อยๆ

    ผู้ฟัง การเห็น ครั้งหนึ่ง การได้ยินครั้งหนึ่ง ครั้งหนึ่ง มันเกิดดับรวดเร็วมาก ทีนี้ เราเห็นครั้งหนึ่ง หรือได้ยินครั้งหนึ่งแล้ว มันก็ดับไป นี่ก็แสดงว่าเป็นอดีตแล้ว

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ไม่ได้เป็นปัจจุบัน ทีนี้เมื่อเป็นอดีตแล้ว ตรงนี้ สิ่งใดที่เราว่าเห็นแล้ว ได้ยินแล้วก็คือเป็นอดีต อวิชชากับโทมนัสจะเข้าทันที หลีกเลี่ยงไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เราต้องเข้าใจ ความหมายของปัจจุบัน หลายขั้น ถ้าเป็นอดีตชาติ นั่นก็แสนไกล ถ้าเป็นอดีตเมื่อวานนี้ก็ไกล

    ผู้ฟัง เอาเดี๋ยวนี้ เราจะวางใจอย่างไร

    ท่านอาจารย์ วางใจไม่ได้ เรื่อง ทำ แล้วไม่ใช่เรื่องของการอบรมเจริญปัญญา เป็นเรื่องตัวตนที่จะทำ แต่เรื่องการอบรมเจริญปัญญา ต้องทราบว่าขณะนี้ ยังเห็นเป็นคน นี้คือความจริง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การเห็นทางตา แม้ว่าจะดับไปแล้ว ทางใจ จิตซึ่งเกิดสืบต่อรับสิ่งที่ปรากฏทางตา พร้อมกับความคิดนึก เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าถึงแม้เราไม่เห็น เราก็ยังคิดนึก ถึงคนโน้นคนนี้ก็ได้แม้ไม่เห็น หรือเหมือนกับเวลาได้ยินเสียง เวลาได้ยินเสียง มีเสียง แล้วก็มี คิดนึก ตามเสียงที่ได้ยิน แต่แม้ไม่มีเสียงเราก็ยังคิดนึก ถึงคำนั้นๆ ได้โดยเสียงไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้น การคิดนึกไม่ใช่การได้ยิน ต้องทราบ แต่เพราะเหตุว่าสภาพของจิต เกิดดับ เร็วมาก ถ้าเกิดดับช้ากว่านี้ เหมือนอย่างที่เรากำลังพูดอย่างนี้ ทุกคนก็ประจักษ์ ความเกิดดับของจิต แล้วก็ไม่ยึดถือ แต่เพราะเหตุว่าจิตเกิดดับเร็วแสนเร็ว เพราะฉะนั้น ปัญญาที่จะอบรม ต้องทราบว่าไม่ใช่เราไปรู้ขณะจิต เราไปแยก ขณะที่เป็น วาระ ที่เป็นอดีต กับวาระที่เป็นปัจจุบัน แต่สภาพธรรมในขณะนี้เป็นจริงอย่างไร ค่อยๆ เข้าใจถูกขึ้น นี่คือการอบรม เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เป็น เรื่องทำ ไม่ต้องไปอยู่ที่ไหน หรือว่าไม่ต้องทำอะไร เพราะเหตุว่าสภาพธรรม มีปัจจัยเกิดแล้วในขณะนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจลักษณะของสติ ว่าเป็นสภาพที่ระลึก ลักษณะที่เป็นปรมัตถ มิฉะนั้นเราจะเสียโอกาส ที่เราเรียนว่าอะไรเป็นปรมัตถธรรม แต่เมื่อเรียนแล้วรู้แล้ว ว่า ปรมัตถธรรม แต่ละอย่างก็ปรากฏแต่ละทาง อย่างทางตา สีสันวัณณะกำลังปรากฏ ทางหูเสียงปรากฏ นอกจากนั้นก็ยังมีการิคิดนึก สุขทุกข์ต่างๆ เมื่อสภาพธรรม ใดเกิดขึ้นปรากฏ ก่อนฟังพระธรรมไม่มีทางที่สติปัฏฐาน จะเกิด ไม่มีทางที่จะรู้ด้วยว่าไม่ใช่ตัวตน แต่เมื่อฟังพระธรรมแล้วก็ยังเป็นเรื่องของธรรมอยู่นั่นแหละ ทั้งๆ ที่ตัวจริงของธรรมกำลังเกิด กำลังทำหน้าที่ทุกอย่าง ตามที่เราศึกษา เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ความจริง มีทางเดียวที่ทรงแสดง คือ สติปัฏฐาน แล้วก็ในพระอภิธรรมก็แสดงไว้เลย ไม่ใช่ผัสสะปัฏฐาน ไม่ใช่เจตนาปัฏฐาน ไม่ใช่ธรรมอื่นปัฏฐานแต่ต้องเป็นสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น ถ้าสติปัฏฐาน ไม่เกิด ไม่รู้ลักษณะของสติ เพราะสติปัฏฐาน ยังไม่เกิด ต่อเมื่อใดสติปัฏฐาน เกิดเมื่อนั้นก็รู้ว่านี่ไม่ใช่สติขั้นฟัง ถ้ากำลังฟังในขณะนี้ ต้องมีสติ ต้องมีปัญญา แต่ลักษณะของสติ ก็ไม่ปรากฏ ลักษณะของปัญญาก็ไม่ปรากฏ แต่เป็นสังขารขันธ์ เป็นสภาพธรรม ที่กำลังอบรมภาวนาเจริญขึ้น จนกว่าสามารถจะเกิดระลึกลักษณะของปรมัตถธรรม ในขณะนี้ได้ นั่นจึงจะเป็นสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ส่วนที่จะบอกว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของเรานี่ จะอยู่ตรงส่วนที่ป็นสังขารขันธ์ตัวนี้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมด รูปตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าเป็นคุณบูรพาหรือเปล่า เวทนาความรู้สึกทั้งหมด สัญญาความจำ ปัญญาของเรา สติของเรา ทั้งหมด

    ผู้ฟัง ตรงนี้ เสร็จแล้ว มันจะตัดกันได้อย่างไร เพราะว่าเมื่อครู่นี้ อาจารย์พูดถึงตรงธาตุรู้ แล้วก็ มาถึงตรงจุดนี้ ผมยังเข้าใจว่า เริ่มจะรู้จักแล้วว่า ขั้นตอนลักษณะของการที่ธรรมชาติ อันนี้เกิดแล้ว จิตเข้าไปมีสภาวะอยู่ได้อย่างไร แต่พอมาถึงตรงจุดตรงนี้แล้ว รู้สึก หมายถึงว่า เมื่อไรที่มีปรากฏการณ์ของเจตสิกเกิดขึ้น ตรงนั้นเป็นเรื่องของตัวเราของเรา ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ มิได้ ถ้าไม่มีปัญญา เรายึดถือทั้งนามธรรม และรูปธรรมว่าเป็นเรา แขนของเรา ตาของเรา ทั้งๆ ที่แข็งเป็นธาตุชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้น เวลาที่เรากิดมา เราไม่มีความรู้เลย ทุกอย่างเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย เรารู้สึกเหมือนเราได้มาเอง เป็นเรา มาทั้งหมดตั้งแต่เกิดก็ได้มาเปล่าๆ เหมือนกับมีมาเลย แต่ความจริงสภาพธรรมทั้งหมดที่มี ขณะใด หมายความว่าเกิดขึ้นขณะนั้น อย่างเวลาที่กระทบสัมผัสแข็ง ในความรู้สึกเดิมเหมือนมีโต๊ะอยู่แล้ว มีสิ่งที่แข็งอยู่แล้ว แต่ว่าที่ทรงแสดงไว้ สภาพธรรมเกิดดับ ตามเหตุตามปัจจัย เพราะฉะนั้น แม้แข็งที่ปรากฏขณะที่กระทบ นี้ ก็ต้องมีเหตุปัจจัยให้แข็งนั้นเกิด นี้เป็นสิ่งที่เราไม่เคยคิด หรือไม่เคยรู้เลยว่า ที่ปรากฏ คือเกิด แล้วเวลาที่ปัญญา ประจักษ์ ประจักษ์การเกิดของแข็ง และการดับของแข็ง สภาพธรรมทุกอย่าง มีอายุที่สั้นมาก คือเกิดแล้วก็ดับ ทุกอย่างตั้งแต่รูปธรรม นามธรรม ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าซึ่งเป็น รูป และนามธรรมทั้งหมด ซึ่งดับเร็วกว่านั้นอีกก็เป็นสภาพธรรม ที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วก็ดับ ถ้าเข้าใจหรือประจักษ์จริงๆ ก็ไม่มีความเป็นเรา มีแต่ความเป็นธาตุหรือธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งตรงตามที่เรียนทุกอย่าง

    ผู้ฟัง ตามที่ท่านอาจารย์ได้อธิบายให้ ดร. บูรพาฟังเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า เป็นรูปธาตุ คือไม่มีสภาพรู้ นามธาตุเป็นสภาพที่รู้ ทีนี้ถ้าเราฟังอย่างนี้คล้อยตามท่านอาจารย์ไปว่าเป็นอย่างนี้จริงๆ แล้ว ก็จะไม่เห็นว่ามีตัวตน อันนี้หรือเปล่า ที่จะทำให้ เราต้องเข้าใจจุดนี้ก่อน จะน้อมนำเข้าไปถึงสภาพที่ไม่มีตัวตนได้

    ท่านอาจารย์ ขั้นเข้าใจ ความรู้มีหลายระดับ ขั้นเข้าใจ คือขั้นเข้าใจเท่านั้น ไม่ใช่ขั้นประจักษ์แจ้ง ขั้นฟังเข้าใจ

    ผู้ฟัง อย่างไรก็ตาม ตรงนี้จะต้องให้เข้าใจตรงนี้ก่อน

    ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะฉะนั้น การฟังธรรม ไม่ว่าจะฟังมาก ฟังน้อยเท่าไรก็ตาม เข้าใจสิ่งที่กำลังฟัง นี้สำคัญที่สุด เพราะฉะนั้น ไม่ข้าม เมื่อได้ยินคำอะไร ข้อให้รู้ว่า คืออะไร เหมือนอย่างที่เมื่อเช้าเป็นเรื่องของสติ จะไปใช้สติบ้าง หรือว่าจะไปตั้งสติบ้าง ไม่มีใครสามารถ ทำอะไรได้เลย นอกจากเข้าใจว่าสติเป็นสภาพธรรม ที่เป็นธรรมฝ่ายดี จะได้ไม่ปะปนกับความเข้าใจเดิมๆ ที่เราเอาภาษาบาลีมาใช้

    ผู้ฟัง ตอนนี้มันเข้าใจยากอยู่หน่อยก็คือว่า กายเป็นสภาพที่ไม่รู้อะไร แต่ว่าจิตมาเกิดที่กาย แล้วก็ระลึกรู้เรื่องอื่น มันก็เลยเหมือนว่ากายไปรู้ด้วย ท่านอาจารย์ จะแยกแยะอย่างไร ตรงนี้

    ท่านอาจารย์ นี้เป็นเหตุที่เราจะต้องฟังว่า ธรรมมี ๒ อย่าง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 101
    24 มี.ค. 2567