ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
ตอนที่ ๔๘๓
สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย
พ.ศ. ๒๕๔๓
ผู้ฟัง พูดถึงสติที่เกิดกับ ทาน กับ ศีล ขณะนั้นก็เป็นสติปัฏฐาน หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องห่วงเลย คำใดที่เรียนมาแล้วทั้งหมด ทุกอย่างเป็น ธรรม ประจักษ์แจ่มแจ้งหรือยัง ถ้ายังไม่แจ่มแจ้ง ก็คือศึกษาต่อไป แม้แต่จิต และเจตสิกโดยชื่อ เราสามารถที่จะบอกได้ ว่าจิตมีลักษณะอย่างใด เจตสิกแต่ละอย่างมีลักษณะอย่างไร แม้แต่บอกว่า จิต เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้ จิตไม่ใช่เจตสิกใดๆ ทั้งสิ้น เพราะว่าจิตไม่จำ จิตไม่ติดข้อง จิตไม่ขุ่นเคือง จิตไม่ไช่เป็นสภาพที่พากเพียร ลักษณะของจิตล้วนๆ เป็นเฉพาะสภาพที่สามารถที่จะรู้แจ้งในสิ่งที่กำลังปรากฏ เท่านั้น แต่นี้ไม่ใช่เป็นคำพูด เป็นสิ่งที่จริง ที่ปัญญาจะต้องประจักษ์แล้วรู้ลักษณะที่ต่างของจิต และเจตสิก มิฉะนั้นก็ไม่มี จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น ลักษณะของสภาพธรรมใดๆ ก็ตาม ที่เคยฟังแล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ปัญญาจะต้องอบรมจริงๆ รู้จริงๆ คำว่า รู้จริงๆ คือ ตรงอย่างที่ได้ศึกษามาแล้วทั้งหมด เพราะฉะนั้น ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกัน ถ้าใครศึกษาปริยัติ แล้วก็ไม่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไปจ้องอยู่ที่อ่อนแข็ง หรืออะไรอย่างนั้น ก็ไม่ใช่การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วลองคิดดูกว่าจะทั่ว ไม่ว่าจะเป็นธรรมใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของจิต หรือลักษณะของเจตสิกซึ่งปรากฏ ในขณะนั้น เพราะสติระลึก ปัญญารู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรมที่ไม่ใช่เรา จนกว่าจะเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ต้องทั่ว ต้องละเอียด ต้องแจ่มแจ้ง ต้องชัดเจน จึงจะละได้ แต่กว่าจะละ วิปัสสนาญาณก็ต้องเกิด ตามลำดับขั้น
ผู้ฟัง อาจารย์ส่วนใหญ่ที่ผ่านๆ มา ทางด้านปริยัติ อย่างเช่นว่า ทำบุญก็หวังอานิสงส์ อย่างนี้ มันแปลกแต่จริง
ท่านอาจารย์ ต้องทราบ โลภะ เป็นเครื่องเนิ่นช้า ต้องรู้ตัวเองเลย ขณะใดที่มีโลภะ สักนิดหนึ่ง กั้นทันที
ผู้ฟัง พอไปอยากไปได้ที่ผล พอพูดถึงเหตุ ปั๊บ อยากไปได้ที่ผล ทำอย่างนี้แล้วจะได้อะไร เรียนอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ตลอดทางของมรรคมีองค์ ๘ ก็คือเห็นโลภะ แล้วละโลภะ อย่างที่บอกไว้ ทุกคนจะเป็น ที่รู้จักกำลังของตัวเอง แล้วเข้าใจว่าสันโดษในธรรม ว่าเรามีสติปัญญาระดับไหน เรามีสติที่จะเข้าใจเรื่องนี้ พอสมควร อย่างเรื่องปัจจัย เราสามารถที่จะรู้ความเป็นปัจจัยเล็กๆ น้อยๆ เท่าที่รู้ได้ เพราะว่าขณะนั้นสภาพธรรมมี อย่างขณะนี้ เราจะรู้ ต้องมี อารัมมาณปัจจัย แน่นอน เพราะเหตุว่าจิตเป็นสภาพรู้ เมื่อจิตเป็นสภาพรู้ก็ต้องมีสิ่งที่จิตกำลังรู้ รูปนามใดๆ ก็ตามทั้งหมด ที่ไม่ใช่สิ่งที่จิตกำลังรู้ อันนั้นไม่ใช่อารมณ์ เกิดแล้วดับแล้วอย่างรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องเข้าใจ ลึกลงไป แม้ขณะนี้เอง สภาพธรรมที่เกิดต้องตามปัจจัย อย่างเวลาที่เสียงปรากฏ ใช้คำว่า เสียงปรากฏ แก่จิตที่ได้ยินเสียง แสดงว่าขณะนั้น จะเป็นจิตอื่นไม่ได้ ขณะนั้นต้องเป็นจิตที่ได้ยิน เสียงนั้นจึงปรากฏ ชั่วขณะสั้นๆ นี้คือขณะนี้สภาพธรรม จะเกิดดับเร็วสักแค่ไหน เพราะว่าไม่ใช่มีแต่ได้ยิน เห็นก็มี คิดนึกก็มี สิ่งที่กระทบสัมผัส อ่อนแข็งก็มี เพราะฉะนั้น เราก็เริ่มฟัง เข้าใจจริงๆ ว่าเราสามารถที่จะเข้าใจได้ ในระดับใดจริงๆ ตามกำลังของเรา เราก็อบรมเพื่อที่จะเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ให้เข้าใจจริงๆ ตามกำลังของเราที่จะเข้าใจได้ เราก็ไม่วุ่นวาย ไม่เหน็ดเหนื่อย ไม่เดือดร้อน
ผู้ฟัง ไม่ต้องไปแข่งกับใครด้วย
ท่านอาจารย์ ศึกษาธรรม ไม่ใช่เรื่องแข่งขัน ผู้ใดที่ศึกษาโดยแข่งขันผู้นั้นไม่ใช่ผู้ที่รักษาพระศาสนา
ผู้ฟัง เพราะตัวมานะ มันเกิดแน่นอน เครียด
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าในเมื่อมีความเป็นเรา ก็ต้องเป็นเราที่ถูก เราที่ดี เราที่เก่ง แต่พระธรรม ไม่ใช่ ที่ใครสามารถที่จะไปรู้ได้โดยตลอด นอกจากคนนั้น รู้ตรงนี้ คนนี้รู้ตรงนั้น มีความแจ่มแจ้งในปริยัติ แต่การรู้แจ้งอริยสัจธรรมต้องเหมือนกัน
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นสภาพธรรม ที่จะปรากฏ ก็ต้องปรากฏกับสติปัฏฐานเท่านั้น
ท่านอาจารย์ ขณะนี้สภาพธรรมปรากฏ
ผู้ฟัง แต่เราไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ แต่ไม่รู้ ว่าเป็น ธรรม ไม่รู้ว่า เป็นธรรม
ผู้ฟัง ถ้าเราจะทราบสภาพธรรม แต่ละชนิด แต่ละประเภท เช่น สติ หรือ อะไรสักอย่าง ในขณะนั้นก็ต้องเป็นสติปัฏฐาน ที่ว่า ไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่งอย่างใด
ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ว่าเป็น ธรรม ต้องเป็นสติปัฏฐาน แต่ถ้าไม่รู้ เป็นสมถะ ก็ได้
ผู้ฟัง ทีนี้เราศึกษามา เราศึกษาแล้วก็เราทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏ เป็นสภาพธรรม แต่มันยังไม่ถึงขั้นสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น รู้เรื่องราว จำเรื่องราว เข้าใจเรื่องราว แต่ไม่เข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ตราบใดที่สติปัฏฐาน ไม่เกิด
ผู้ฟัง จึงเป็นสติปัฏฐาน เท่านั้นที่ประจักษ์ในสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ไม่อย่างนั้น ไม่ตรัสไว้ว่ามีหนทางเดียว
ผู้ฟัง โลภะ เป็นเครื่องเนิ่นช้า มาพิจารณา ตัวเอง ได้ฟังคำอธิบายท่านอาจารย์ รู้สึก สิ่งที่เราไม่เคยคิดว่าเป็นโลภะ ก็เป็นโลภะ แล้วตัวเอง โลภะมากเลย ก็คือ พยายามจะละ เช่น ชอบอะไร ชอบน้ำหอม ชอบอะไรอย่างนี้ รู้สึกว่าโลภะ เมื่อก่อนไม่ได้คิด ทีนี้ก็รู้สึกว่าทำให้ชอบน้อยลง มันเป็นการละนิดหน่อยไหม
ท่านอาจารย์ ความจริง เป็นอย่างไร เป็นอย่างนั้น คงไม่ต้องถามใครเลย แต่ว่าไม่หมดเป็น สมุจเฉท ไม่มีทางจนกว่าจะเป็น พระอนาคามีบุคคล แต่เป็นการสะสมอุปนิสัยที่จะไม่ติดในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แต่ว่าดับไมได้จนกว่าจะเป็นพระอนาคามีบุคคล
ผู้ฟัง ดับไม่ได้ ดับอย่าง อย่างเช่นเห็นแหวนของตัวเอง แหวนอันนี้ชอบ ก็ลองคิดดู มันเป็นโลภะ ก็พยายามจะละ ลองคิดว่าถ้ามันหายไป ให้คิดไปเลยให้ถึงที่สุด มันหายไป แล้วเราอย่าไปรู้สึกว่าเสียดาย หรืออะไรอย่างนี้ เราจะทำได้ไหม
ท่านอาจารย์ นั่นคือเราคิด แต่ความจริงทรงแสดงไว้ว่า ผู้ที่จะละได้ คือพระอนาคามีบุคคล ทำไมเราไม่ฟังพระธรรมให้รู้ แล้วก็ผู้ที่จะดับ อกุศล ทั้งหมดไม่เหลือเลย คือพระอรหันต์ พระโสดาบัน ยังมีโลภะ มีโทสะ โมหะ แต่ไม่มีความเห็นผิด เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะคิดว่าเมื่อเรายังมีความเห็นผิด ก็ต้องละความเห็นผิด ไม่ใช่ไปละอย่างอื่น ถ้าจะเกิดการที่อยากจะสะสมน้อยลง ก็เป็นเรื่องของปัจจัยในขณะนั้น แต่ไม่ใช่ว่าดับหมด เป็นสมุจเฉทเราต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาท ถ้าเข้าใจธรรมแล้วศึกษาเพิ่มเติมด้วยตัวเอง พระไตรปิฎก กับอรรถกถามีครบถ้วน สบายมากเลย เดี๋ยวนี้ เป็นภาษาไทย เริ่มอ่านกันได้เลย จะกว้างขวางจะลึกซึ้งกว่านี้อีกมากมาย ถ้าไม่เข้าใจตอนไหน ก็มาสนทนาธรรมกัน
ผู้ฟัง จะเรียนถามท่านอาจารย์ว่า นอกจากการฟัง เข้าใจ การอ่านพระไตรปิฎก การอ่านจากหนังสือ ที่เกี่ยวข้องแล้วยังมีอีกอย่างหนึ่ง ที่หนูค่อนข้างจะพิจารณา ในเวลาที่ว่าง อันนี้ไม่ทราบว่าจะเป็นการคิดนึกมากเกินไปหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ อันนี้ก็เป็นอีกอัธยาศัยหนึ่ง ถ้าคุณสุนาน จะคิดมากเพราะคุณสุนานสะสมมาที่จะเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระธรรม จะทำให้เรารู้จักตัวเราตามความเป็นจริงว่า แต่ละคนหลากหลาย จะเหมือนกันไม่ได้เลย คนนั้นคิดมากเรื่องนี้ คนนี้คิดน้อยเรื่องนั้นก็แล้วแต่ จะบังคับให้เหมือนกัน ไม่ได้ แต่ว่าสภาพธรรม ใดก็ตามที่ปรากฏ หมายความว่าสภาพธรรมนั้นมีปัจจัยเช่นนั้น จึงเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น เราก็จะรู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะนั้นก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรมชั่วขณะหนึ่ง แต่กว่าจะเป็นขั่วขณะหนึ่ง ปัญญาต้องรู้จริงๆ ถึงจะละได้ เพราะฉะนั้น เราจะต้องอบรมไปจนกว่าจะถึงจุดนั้น คือจุดที่ละจริงๆ ธรรมทั้งหลาย คือชั่วขณะหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ว่าเยื่อใย ความเป็นเรา ความเป็นตัวตนยังมีมาก ตราบใดที่เรายังรู้ธรรมไม่ทั่ว เพราะฉะนั้น ที่จะละได้จริง จึงต้องทั่วจริงๆ ไม่จำกัดว่าต้องทั่ว
ผู้ฟัง ขณะที่มีจิต ขุ่นข้องหมองใจ อยู่อย่างนั้น ยังไม่ล่วงออกมาทางกาย หรือทางวาจา เพราะอะไร
ท่านอาจารย์ เพราะการสะสม อะไรก็ตามที่เกิด เกิดโดยที่ว่าไม่มีใครไปทำ ถ้าศึกษาเรื่องปัจจัย ยิ่งเห็นชัด ทุกขณะแม้แต่เพียงสั้นแค่ไหน เร็วแค่ไหน ก็ต้องมีปัจจัยให้เกิดเป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง ความจริงมันยังยืดเยื้อไปอีกหลายวัน บางเรื่องบางคราว
ท่านอาจารย์ ตามปัจจัยเหมือนกัน แล้วแต่เหตุปัจจัย ไม่มีใครทำอะไรได้
ผู้ฟัง ถ้าระลึกที่ว่าเป็นสติปัฏฐาน ก็ต้องเห็นเป็นธรรม
ท่านอาจารย์ หมายความว่าขณะนั้นต้องมีปัญญา อย่าลืมสัมมาทิฏฐิ เพราะเหตุว่ามรรคมีองค์ ๘ หรือสัมมาสติ จะไม่มีสัมมาทิฏฐิไม่ได้ เราศึกษามาแล้วเรื่อง นามธรรม และรูปธรรม สำหรับคนที่ไม่ได้ศึกษาเรื่อง นามธรรม และรูปธรรมเลย เขาจะมีสติขั้นที่เขาระลึกได้ว่าขณะนั้นไม่ดี เป็นสภาพที่ไม่ดี แต่เป็นเขา เพราะฉะนั้น ยังต้องมีความละเอียด ที่จะรู้ความต่างกันว่า ขณะนั้นเป็นสติระดับไหน ถ้าเป็นสติระดับที่เรารู้ว่าสิ่งไหนไม่ดี ความขุ่นข้องหมองใจ ไม่มีประโยชน์ แล้วก็ขณะนั้นมีความเมตตาเกิดขึ้น ขณะนั้นก็เป็นขั้น ระงับ คือขั้นสมถภาวนา แต่สภาพธรรม ก็คือสภาพธรรม ไม่เปลี่ยนขึ้นอยู่กับระดับของปัญญาว่าขณะนั้น เป็นระดับของปัญญาขั้นไหน เพราะสติขั้นไหน ถ้าขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน หมายความว่าขณะนั้นมีการที่จะศึกษา ลักษณะนั้นให้เข้าใจในลักษณะนั้นที่เป็นนามธรรม เพราะเราใช้คำว่า นามธรรม เหมือนกับเรารู้แล้ว เข้าใจแล้ว แต่ความจริงเป็นชื่อ แล้วเราก็เข้าใจความหมายว่า นามธรรม ไม่ใช่รูปธรรม ไม่มีรูปธรรมใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น เป็นเพียงธาตุรู้ หรืออาการรู้ซึ่งเกิดขึ้นแล้วรู้ ไม่มีรูปร่างใดๆ เลย เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าถึงความหมายอันนี้ ก็ต่อเมื่อเราศึกษาเข้าใจอย่างดี แล้วมีปัจจัยที่สติระลึกที่นามธรรมใดก็ศึกษา แล้วก็เริ่มที่จะเห็นว่า สภาพขณะนั้น เป็นนามธรรม เพราะฉะนั้น จะมีหลายระดับค่อยๆ ไป เพียงแต่ขั้นนึกได้ว่าเป็นธรรม ก็ยังเป็นเรื่องราว
ผู้ฟัง เกิดโทสะนิดๆ แล้วก็รู้สึกไม่ดี คือคล้ายๆ เป็นสติเกิด ท่านอาจารย์ว่า มันจะ
ท่านอาจารย์ ทำไมเราต้องไปใช้คำว่าสติด้วย
ผู้ฟัง คือระลึกรู้ ในสิ่งที่ดี ถามว่าอันนี้มันเป็นสิ่งไม่ดี โทสะอะไรอย่างนี้ เราก็รู้ทันอารมณ์ เราก็ พยายามห้ามเอาไว้ แต่ถ้าใช่สภาพธรรม คือ นามธรรมกับรูปธรรม สมมติจะใช้ในกรณีนี้ จะใช้อย่างไร
ท่านอาจารย์ นี่สิ ก็จะไปใช้ ก็ผิดแล้ว ประโยชน์ของการฟังธรรม คือรู้ว่าผิด อย่างไรจะได้ไม่ทำสิ่งที่ผิด ถ้าเราไม่รู้เราก็จะไปใช่อยู่นั่นแหละ แล้วเราก็ใช้ไม่ได้เลย เราก็ไม่มี ใช้ก็ไม่ได้ สภาพธรรมทุกอย่างเกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งหมด แล้วเราจะไปใช้อันไหน ไม่มีเรา อีกคนจะไปใช้อันไหนได้เลย ต้องฟังให้เข้าใจจริงๆ แล้วก็ จะไม่ใช้คำว่า ใช้ปัญญา ใช้สติ ใช้อะไร เพราะว่าใช้ไม่ได้
ผู้ฟัง ขณะสติเกิด สติระลึกอารมณ์ อย่างนั้นใช่ไหม ตามความเป็นจริงอย่างไร
ท่านอาจารย์ เวลาจิตเกิด ต้องมีอารมณ์ ขณะนี้ ก็เป็นอารมณ์ของจิตเห็น สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เสียงก็เป็นอารมณ์ของจิตได้ยิน เรื่องราวก็เป็นอารมณ์ของจิตคิดนึก เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่าอารมณ์ใดเป็นปรมัตถธรรม มีลักษณะจริงๆ เป็นสภาพธรรม แล้วสติก็ระลึก ไม่อย่างนั้น เราก็จะไม่ใช่คำว่า ปรมัตถธรรม แต่เพราะเหตุว่าธรรมมีลักษณะอย่างนั้นซึงใครก็จะไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นอภิธรรม ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจอย่างนี้จริงๆ ขณะนี้เราจะรู้ว่าอะไรเป็นบัญญัติ อะไรเป็นปรมัตถ แล้วเวลาที่สติจะระลึก สติจะระลึกสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม เพื่อเข้าใจความเป็นปรมัตถธรรม ไม่ใช่เพียงรู้จักคำว่าปรมัตถธรรม แต่จะเข้าใจในสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม ตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง อาจารย์ ช่วยอธิบายเรื่อง วิถีจิตหนึ่งขณะ มี ๗ ชวนะ ชวนะ ๗ ครั้ง แล้วมีตทาลัมพนะ
ท่านอาจารย์ ย่อมาจนถึง ตทาลัมพนะ ใช่ไหม เวลาที่กรรมจะให้ผล หมายความว่าเจตนาเจตสิกซึ่ง กระทำกรรมนั้นแม้ว่าดับไปแล้ว แต่ก็สะสมสืบต่อในจิตทุกๆ ขณะเป็นกัมมปัจจัย เพราะฉะนั้น ในจิตหนึ่ง ขณะ จะมีปัจจัย สะสมมาเนิ่นนานเลย กรรมก็ไม่ใช่มีกรรมเดียว กี่กรรม กรรมก็ยังคง มีพละหรือกำลังที่จะเป็นกัมมปัจจัยอยู่ จนถึงกาละที่จะให้ผล ถ้าทางตาในขณะนี้ที่กำลังเห็น จะเกิดเป็นวิบากจิตได้ ก็ต่อเมื่อมีรูปกระทบกับจักขุปสาท ซึ่งมีกรรมเป็นปัจจัย จักขุปสาทมีกรรมเป็นปัจจัย กระทบไปจนกระทั่งถึงชวนะ แต่รูปยังไม่ดับ เมื่อรูปยังไม่ดับก็เป็นปัจจัยให้วิบากจิต ซึ่งเป็นผลของกรรม เกิดรู้รูปนั้นต่อจากชวนะอีก ๒ ขณะ โดยกิจนั้น จึงชื่อว่า ตทาลัมพนะ เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ตทาลัมพนะ เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ เป็นวิบาก จิต เช่นเดียวกับ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ แต่สำหรับสัมปฏิฉันนะ กับ สันตีรณะ เกิดก่อน ชวนะ แต่ว่า ตทาลัมพนะ เป็นวิบากที่เกิดต่อจากชวนะ ปรมัตถธรรม คือรูปที่ยังไม่ดับเป็นอารมณ์
ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องวิบาก ขณะที่ปรากฏทางตา จักขุวิญญาณ ๑ ดวงเห็นครั้งหนึ่งจะเป็นกุศลวิบาก หรือ อกุศลวิบาก แต่ว่าในขณะที่ สิ่งที่ปรากฏทางตานั้นมีทั้งสิ่งที่ดีกับสิ่งที่ไม่ดี อันนั้นจะเป็นผลของกรรมใดกรรมหนึ่ง หรือว่าอาจจะเป็นผลของมากกว่าหนึ่งกรรม ที่ทำให้เกิดทั้งสิ่งที่ดี และสิ่งที่ไม่ดี ในสิ่งที่ปรากฏทางตาเห็นหนึ่งขณะ
ท่านอาจารย์ เวลาที่เราแสดงวิถีจิต หมายความถึงรูป รูปหนึ่งมีอายุเท่ากับจิต เกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นรูปเดียว ที่กำลังเป็นอารมณ์ ของปัญจทวาราวัชชนะ แล้วก็พวกทวิปัญจวิญญาณ สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ ชวนะ ตทาลัมพนะ
ผู้ฟัง เวลาบอกว่าดี หรือไม่ดี ไม่ได้อยู่ที่รูป
ท่านอาจารย์ รูปเองต้องมีลักษณะที่เป็นที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ
ผู้ฟัง แต่ว่ารูปเดียวนั้น ที่เห็นปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ รูปดีก็เป็นรูปดีตลอดรูปเดียว จะเปลี่ยนเป็นรูปไม่ดีไม่ได้ แต่รูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ แสดงว่ารูปดับเร็วแค่ไหน
ผู้ฟัง วิบาก ความเข้าใจว่าผลของกรรมเกิดแต่ชาติปางก่อน ตามความเข้าใจ
ท่านอาจารย์ ผลของกรรมที่สำเร็จแล้วชาติไหนก็ได้ ชาตินี้ก็ได้ ชาติก่อนก็ได้ ชาติก่อนๆ โน้นก็ได้ แสนโกฏิกัปป์มาแล้วก็ได้
ผู้ฟัง ทีนี้อย่างบางครั้ง อกุศล สิ่งที่เป็นอกุศลเกิดแก่เรา เราก็อ้างว่าเป็นวิบาก เพราะฉะนั้น สิ่งอะไรที่เราจะทำ เป็นวิบากมา
ท่านอาจารย์ เรายังไม่ได้แยกจิต เรายังไม่ได้แยกอารมณ์ เราก็เลยสับสนกันหมด เราต้องแยกเป็นจิตแต่ละขณะ แล้วก็แต่ละวาระ
ผู้ฟัง วิบากของปัจจุบัน และวิบากที่เกิดแต่
ท่านอาจารย์ วิบากหมายความถึงจิตชนิดหนึ่ง จิตมี ๔ ชาติ จิตที่เป็นกุศล และอกุศล เป็นเหตุ จะเป็นผลไม่ได้ แต่จิตที่เป็นกุศล และอกุศล ซึ่งเป็นเหตุที่จะทำให้เกิดจิตที่เป็นวิบาก
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นสิ่งไม่ดีที่เกิดกับเรา บางครั้งเราเรียกว่าผลของกรรม แต่เราไม่มีคำว่า วิบากเข้าไปยุ่งเลย ไม่เกี่ยวข้อง
ท่านอาจารย์ ต้องศึกษาถึงสภาพของจิตแต่ละขณะ ว่าจิตที่เกิดนั้นเป็น เหตุ คือเป็นกุศล หรืออกุศล หรือเป็นจิตที่เป็นผล คือเป็นวิบาก ตั้งแต่เกิดจนตายไล่เรียงมา เราจะรู้เลยว่า ขณะไหนเป็นผลของกรรม ปฏิสนธิจิตเป็นผลของกรรม เป็นวิบากจิต ถ้าเป็นผลของกรรมแล็ว ใช้คำว่าวิบาก ขณะนี้คุณแก้วมีวิบากจิตไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มีกุศลจิตไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มีอกุศลจิตไหม
ผู้ฟัง มีปะปนกันด้วย
ท่านอาจารย์ ปะปน
ผู้ฟัง คนละขณะกัน
ท่านอาจารย์ สลับกัน เพราะฉะนั้น กุศลไม่ใช่วิบาก กุศล และอกุศลเป็นเหตุ จะเป็นผลไม่ได้ ต้องเป็นเหตุ ถ้าเป็นเหตุ หมายความว่า เป็นผล คือวิบาก ต้องเข้าใจ
พอศึกษาธรรม คำจำกัดความ หรือว่าความหมายจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย กุศลเป็นเหตุก็ต้องเป็นเหตุ เกิดเมื่อไร ก็ต้องเป็นเหตุ กุศลชนิดไหนก็ต้องเป็นเหตุเปลี่ยนไม่ได้ แต่เป็นเหตุที่ดี ที่จะต้องให้ผลที่ดี พอเป็นอกุศล จิตเกิดขึ้นหนึ่งขณะเป็นอกุศล จะแก้ จะเปลี่ยนจิต ที่เป็นอกุศล นั้นให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้ ให้เป็นกุศลไม่ได้ ให้เป็นวิบากไม่ได้ ให้เป็นอย่างอื่นไม่ได้เลย เกิดเมื่อไรที่ไหน กับใคร กุศลจิตก็เป็นกุศลจิต คือเป็นเหตุที่จะให้เกิดผล คือกุศลวิบาก กุศลวิบากเป็นผลของกุศลกรรม และอกุศลจิต ซึ่งเป็นอกุศลกรรมก็จะเป็นเหตุที่จะให้เกิด อกุศลวิบาก
ผู้ฟัง สภาพธรรม นามธรรมหลายๆ อย่าง เราไม่สามารถที่จะระลึก ถ้าตรงสภาพยังไม่ได้ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ถ้าเรารู้สภาพของนามธรรม เราสามารถที่จะรู้ได้ไหมว่า อย่างวิตก หนูก็ไม่ชัดเจนเท่าไร ว่าลักษณะเป็นอย่างไร ในขณะที่วิตกเกิดแล้วเป็นนามธรรม อันนี้ไม่ทราบว่า ถ้าไม่ชัดเจนตรงนี้แล้วสามารถที่จะรู้ได้ไหมว่าเป็นนามธรรม
ท่านอาจารย์ เวลานี้อะไรปรากฏ
ผู้ฟัง คิดกันมาก คือสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็คือสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่วิตก ก็ต้องรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา คือขณะนี้สภาพธรรมใดปรากฏ ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจสภาพนั้นขึ้น ไม่ใช่ไปพยายามคิด พยายามนึก พยายามเข้าใจ สิ่งที่มีแล้วไม่เข้าใจ ตกไปแล้ว ผิดไปแล้ว เคลื่อนไปแล้ว จากการที่จะอบรมปัญญา
ผู้ฟัง อะไรที่ยังไม่ปรากฏแก่เรา ก็ไม่ต้อง ไม่ต้องเป็นห่วง
ท่านอาจารย์ สิ่งที่กำลังปรากฏให้รู้ ในความเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม ยังไม่ต้องไปถึงไหน เอาแค่เดี๋ยวนี้ ที่กำลังเห็น แล้วก็จะรู้เอง ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ รู้ ทั่วหรือยัง ถ้ายังไม่ทั่ว อะไรปรากฏทางไหนก็ค่อยๆ รู้อีก
ผู้ฟัง กัมมัสกตาญาณ กับการเจริญสติปัฏฐาน เหมือนกันแล้วก็เกี่ยวข้องกันอย่างไร รวมเข้ามาหากันได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ คือความจริง ธรรม ไม่ใช่ว่าเราจะไปศึกษาตอนหนึ่ง ตอนใดโดยเฉพาะ แต่ว่าเราจะต้องมีความเข้าใจ ตั้งแต่ต้น อย่างมั่นคง อย่างแน่นอนว่าขณะนี้เป็นสภาพธรรม เวลาที่เราศึกษาธรรม ไม่ใช่หมายความว่าเราศึกษา ตัวหนังสือแล้วไปหา ว่าธรรมอยู่ที่ไหน กรรมอยู่ที่ไหน วิบากอยู่ที่ไหน แต่ว่าในขณะนี้ ในชีวิตประจำวัน การศึกษาธรรมก็คือเพื่อให้เข้าใจธรรม ที่กำลังเป็นไป ตั้งแต่เกิดจนตาย ว่าทุกอย่างเป็นธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่จะได้ยินคำหนึ่ง คำใด ก็ทราบว่า ต้องไม่พ้นจากปรมัตถธรรม คือจิต เจตสิก รูป ก่อนอื่นไม่ว่าจะศึกษาเรื่องอะไร หรือว่าสนทนาเรื่องอะไร ก็ต้องมาที่ เป็นปรมัตถธรรมอะไร คือเป็นจิต หรือเป็นเจตสิก หรือเป็นรูป เพราะฉะนั้น ในเรื่องของกรรม ในเรื่องของวิบาก เราก็ทราบว่า กรรมได้แก่เจตนาเจตสิกซึ่งเกิดกับจิต ถ้าศึกษาโดยละเอียดก็ทราบว่าทุกขณะ แต่ว่านี้เป็นความละเอียดที่จะให้เห็นว่า เป็นอนัตตาทั้งหมดเลย แม้แต่เจตนาก็เกิดกับจิตทุกขณะ วิบากก็คือจิต และเจตสิกที่เป็นผลของกรรม คือเป็นผลของเจตนาที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ที่กระทำกรรมนั้นสำเร็จ นี่คือปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจปรมัตถธรรม เวลาที่สติเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมก็คือระลึกรู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ซึ่งเคยมีชื่อติด ตั้งแต่ก่อนที่เราจะได้ศึกษาธรรม เป็นชื่อต่างๆ เป็นคนต่างๆ ทำกรรมต่างๆ แต่เวลาที่สติปัฏฐานเกิด หมายความว่า มีความรู้ มีความเข้าใจเรื่อง นามธรรม เรื่องรูปธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่สติปัฏฐานเกิด จึงระลึกที่ลักษณะที่เป็นนามธรรมเป็นรูปธรรม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 500
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 502
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 504
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 507
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 510
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 511
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 513
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 514
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 516
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 517
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 518
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 519
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 520
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 521
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 523
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 524
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 525
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 526
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 527
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 528
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 529
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 530
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 532
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 533
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 534
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 536
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 538
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 539
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 540