ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
ตอนที่ ๕๑๕
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๒
ผู้ฟัง แล้วลักษณะ ปัญญาที่รู้ เป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ต้องอบรมก่อน
ผู้ฟัง ก็ต้องพูดตามกันไปเรื่อยๆ อย่างนี้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่พูดตาม การศึกษาธรรมไม่ได้ให้ใครพูดตามเลย ให้เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง
ผู้ฟัง ก็กำลังจะฟัง เข้าใจ
ท่านอาจารย์ พิจารณาให้เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง กรุณาพูดให้ได้เข้าใจ
ท่านอาจารย์ พูดเหมือนเดิม เปลี่ยนไม่ได้ เปลี่ยนธรรม เปลี่ยนไม่ได้ พูดเหมือนเดิมจริงๆ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของบุคคลนั้นเอง ที่จะอดทน ฟัง พิจารณา ฟัง พิจารณา เข้าใจนิดหนึ่ง ฟัง พิจารณา เข้าใจอีกหน่อยหนึ่ง ฟัง พิจารณาไปอีกเรื่อยๆ
ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าเผื่อ เราจะพูดสั้นๆ คือ ขณะที่เห็นนี้เป็นอนัตตา ก็พูดได้แค่นี้
ท่านอาจารย์ เป็น
ผู้ฟัง ทำไม่จึงเป็น อย่างไร
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร
ผู้ฟัง นั่นสิ อะไรบ้าง ที่จะทำให้เกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ต้องมีจักขุปสาท ต้องมีสิ่งที่ปรากฏ ต้องมีจิตด้วย
ผู้ฟัง หมายความว่าก็เหมือนกับเมื่อกี้นี้ว่า ไม่ใช่ตัวตน นั้นเอง
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง ที่ฟังมาเป็นความจริงทั้งหมด
ผู้ฟัง เป็นกิจของธรรม แต่ละประเภท อันนั้นจึงจะเรียกว่าเป็นอนัตตา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เราไม่ใช่ไปสรุป หรือไปตั้งข้อมูลอะไร แต่ฟังความหมายของอนัตตา ตรงกันข้ามกับอัตตา อัตตาก็คือเรา ตัวตนของเรา มีเราจริงๆ นั่นคือความเห็นผิดว่ามี แต่หาดูว่าตรงไหน อะไร ที่เป็นเรา เพราะว่าถ้ามีปัญญาก็จะรู้ว่าลักษณะนี้เป็น สภาพนามธรรม ลักษณะนั้นเป็นรูปธรรม ไม่ว่าอะไรทั้งหมด ถ้ามีสติที่จะระลึก มีการฟังเข้าใจ ก็สามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ใช้คำว่า ค่อยๆ เข้าใจ ใครจะไปเห็นก็ไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้อบรมเจริญปัญญาที่จะเห็น ก็เห็นไม่ได้ แต่ว่าค่อยๆ เข้าใจขึ้นจนกว่าจะเห็นได้
ผู้ฟัง ถ้าเผื่อ เราจะพูดตามในขณะนี้ก็คือว่า
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องพูดตาม ความเข้าใจ ความเข้าใจ
ผู้ฟัง เข้าใจตาม ไม่ได้พูดตาม
ท่านอาจารย์ เข้าใจว่า
ผู้ฟัง เข้าใจว่า ขณะเห็นก็เป็นเรื่องของจิต
ท่านอาจารย์ สภาพเห็นมี ขณะนี้มี ทุกคนยอมรับไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี จะเรียกอะไรไม่เรียกอะไรก็ไม่เป็นไรทั้งนั้น แต่เป็นของจริง ที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ก็มีสภาพที่กำลังเห็น จึงรู้ว่ามีสิ่งที่กำลังปรากฏอย่างนี้ ลักษณะที่รู้ในสภาพที่กำลังปรากฏอย่างนี้ นั่นคือสภาพของเห็น แม้แต่ฟัง ทั้งๆ ที่เห็นอยู่ตลอด ก็ยังจะต้องมาพยายามเข้าใจในสภาพที่ไม่ใช่ตัวตนซึ่งเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ธาตุชนิดนี้เกิดขึ้นต้องรู้ แล้วแต่ว่าจะรู้ทางตา ก็คือรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ถ้าเป็นรู้ทางหู ก็รู้ลักษณะของเสียง เสียงนี้ที่กำลังปรากฏ เพราะมีสภาพที่กำลังรู้ในเสียงที่ปรากฏ จึงรู้ว่าเป็นเสียงอย่างนี้ๆ นั่นคือสภาพรู้ ค่อยๆ ฟังไป อดทน
ผู้ฟัง ขณะเห็น ก็คือ สภาพขณะรู้ ซึ่งเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ตัวตน คือดิฉันจะเข้าถึงจุดที่ไม่ใช่ตัวตน มองไม่เห็น
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง คงจะไม่ต้องย้ำว่าเป็นตัวตนตามก็ได้ เพราะว่า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง คือไม่ใช่เรื่องพูดตามอะไรเลย แต่เป็นเรื่องเข้าใจสิ่งที่ได้ฟังเพิ่มขึ้น
คงจะมีหลายลัทธิเหมือนกัน ที่มีคำสวด หรือคำร้องเป็นเพลง ขณะที่ร้องคงเป็นโสมนัสพอใจ ในเสียงในคำสรรเสริญที่ประกอบด้วยความเห็นผิด หรือถึงแม้ว่าจะไม่มีการเปล่งวาจา แต่ใจในขณะนั้นก็ชื่นชมยินดีในความเห็นนั้นอย่างมาก เกิดขึ้นก็ได้ อย่างบางคนอาจจะมีความเลื่อมใสในคนที่คิดว่าสามารถจะบันดาลอะไรก็ได้ แก้วแหวนเงินทอง คว้ามาจากอากาศ ส่งให้ อะไรอย่างนี้ ถ้าเขาได้ เขาก็คงจะโสมนัส ที่ได้ แม้ว่าจะไม่เปล่งเสียงด้วยวาจา ร้องเป็นเพลง หรือราม หรืออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าขณะนั้น ความเบิกบานของจิต ก็มี ในความเห็นผิดว่า สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้เพราะบุคคลนั้น
ผู้ฟัง อย่างสมมติว่าพวกที่เรามาเรียน อาจารย์ก็พร่ำพูดอยู่ตลอดว่า เมื่อวาน พี่สงวนให้เทปที่เมืองอินเดียไป ๑๒ เทป คุณศุกลทำ ทุกอันอาจารย์จะบอก ไม่ใช่เรานะ ไม่ใช่เรานะ เราก็ใช่ เชื่อไม่ใช่เรา แต่คนอื่นที่เขาอยู่ในบ้าน ที่เขาไม่เคยมาเรียน เขาบอก เขาก็เป็นเขา อันนี้มันก็เรียกว่า ยังเหนียวแน่น เขายังมีทิฏฐิเหนียวแน่นอยู่ ยังมีความเชื่อแท้ๆ อยู่ แต่เราเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง ถ้าเผื่อสมมติว่า บางทีมันก็กลับไป เป็นเราอยู่ ไม่เชื่อลองถาม เราก็เป็นเราอยู่ เราหิวข้าว มันก็เป็นเราอยู่
ส . ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นจะไม่เป็นอกุศล
ผู้ฟัง ถึงได้บอกว่า ถ้าสติปัฏฐาน เกิดเมื่อไร ถึงจะมีความเชื่อเมื่อนั้น
ท่านอาจารย์ หรือขณะใดที่กุศลประเภทใดเกิดก็ตาม ขณะนั้นไม่มีทิฏฐิคตสัมปยุต ไม่มีความเห็นผิดเกิดขึ้น
ผู้ฟัง ถูกต้องๆ แต่ว่ามันเกิดน้อยนิด เหลือเกิน
ท่านอาจารย์ แล้วทีนี้ ตราบใดก็ตามในชีวิตประจำวัน ที่ไม่มีความเห็น แม้ขณะนั้นเป็นโลภะก็จริง แต่ทิฏฐิคตวิปปยุต เพราะเหตุว่าไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง วันหนึ่งๆ ขณะจิตเขาเปลี่ยนไปเรื่อย เพราะฉะนั้น จะบอกว่า ร้อยเปอร์เซนต์ เต็มไม่มีเลย คงไม่ได้ ทิฏฐิ
ท่านอาจารย์ มี ความเห็นอะไรบ้างในวันนี้ที่ผิด
ผู้ฟัง ทิฏฐิ ก็ยังเป็นเราอยู่ เราหิว เราต่างๆ
ท่านอาจารย์ เวลานี้ที่คุณสุรีย์นั่ง ต้องมีคำว่า เราหิวหรือเปล่า หรือว่าหิว เป็นสภาพธรรม ตามความเป็นจริงซึ่งละเอียด และตรง แล้วจะเห็นได้ว่าทิฏฐิ หรือความเห็นผิด หลากหลาย ความเห็นผิด ที่เราเห็นว่าผิดจริงๆ ทางกาย ทางวาจาก็มี ความเห็นผิด ซึ่งยังไม่เห็น แต่เมื่อปัญญาเกิด จะเห็น ว่ายังมีอยู่ แล้วก็เป็นสักกายะชนิดไหน เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าปกติธรรมดา เวลาที่เป็นกุศลจิตไม่มีความเห็นผิด แล้วก็เวลาที่เป็นชีวิตประจำวัน จริงๆ ที่ไม่มีความเห็น ก็เป็นโลภมูลจิตทิฏฐิคตวิปปยุต ต่อเมื่อใดที่มีความเห็น แม้บางเบา แต่ว่าขณะนั้นก็เป็นทิฏฐิ เป็นความเห็นผิด ซึ่งจะละเอียดขึ้น เพราะว่าการที่จะดับทิฏฐิทั้งหมด ผู้ที่ศึกษาพระธรรมก็คงจะฟังเข้าใจว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง ฟังแล้วไม่น่าที่จะเที่ยงเลยสักอย่างเดียว ยิ่งศึกษา ยิ่งเห็นความจริงที่ว่าจิต เจตสิก เกิดดับอย่างไร รูปเกิดดับอย่างไร แต่นั่นเป็นเพียงระดับขั้นศึกษาเข้าใจ ขณะนั้นเป็นความเห็นถูกขั้นฟังซึ่งไม่สามารถที่จะดับ หรือไม่ให้สักกายทิฏฐิความเห็นผิด เกิดอีกเลยได้ ต่อเมื่อใดที่เริ่มที่จะรู้ ลักษณะของสภาพธรรม จึงรู้ว่าทุกอย่างที่ทรงแสดงเป็นความจริง แม้แต่สักกายทิฏฐิ ๒๐ ก็จะเห็นความละเอียดขึ้น ซึ่งขณะที่ไม่ใช่ความละเอียด จะไม่เห็นสักกายทิฏฐิ ในลักษณะนั้น เพราะว่าการที่จะดับทิฏฐิเป็นสมุจเฉท ต้องด้วยปัญญาที่รู้จริง จึงสามารถจะดับได้จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นสักกายทิฏฐิอย่างบาง และละเอียดสักแค่ไหน ปัญญาก็จะต้องเห็น ตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง ผลของมิจฉาทิฏฐิ จะเป็นอะไร จะเป็นอะไรได้บ้าง เพราะว่าเมื่อกี้นี้คุยกับคุณจู เป็นถึงขนาดว่าลงไปอบายได้เลย ก็เลยสงสัยว่าปกติ ถ้าเป็นอกุศลกรรมบถครบองค์ ก็ทำให้ไปเกิดในที่ๆ ไม่ดีได้ ใช่ไหม แต่ว่าแค่เรามีความเห็นผิด ทำให้ถึงลงไปเกิดในนรกได้หรือเปล่า
วิทยากร. ความเห็นผิด ถ้าหากว่าเป็นความเห็นผิดที่แน่วแน่ ต้องไปสู่อบายอย่างเดียว คือไปในอบายภูมิ ๔ อย่างเดียวแน่นอน อาจจะไม่ถึง ๔ คือนรกอย่างเดียวก็ได้
ผู้ฟัง ถ้าเผื่อเขายังคิดอยู่ แต่ยังไม่ล่วงกรรมบถ มันจะลงหรือ
วิทยากร. ความเห็นผิดบางทีมันก็หนักแน่น ไม่หนักแน่น
ผู้ฟัง ก็ต้องล่วง เพราะหนัก ก็เกิดการกระทำแล้ว
วิทยากร. ถ้าหนักแน่น เราก็ต้องไปในนรกอย่างเดียว
ผู้ฟัง เพราะกระทำแล้วด้วย
วิทยากร. ถ้าหากว่าเบากว่านั้น ก็ไปในนรกที่เบากว่าก็ได้ ส่วนทิฏฐิสามัญธรรมดา ซึ่งเรายึดถือว่าเรามีอยู่ รูปเป็นเรา เราเป็นรูปอะไร ซึ่งเบาๆ เรียกว่า สามัญทิฏฐิ ก็สามารถเป็นปัจจัยให้กุศลเกิดอย่างที่ว่านั้นได้เหมือนกัน เพราะพวกเรายังไม่ได้ละทิฏฐิอันนั้น เรากระทำกุศลเพื่อตัวเรา ถ้าเรามีความคิดเห็นอย่างนี้ ก็เป็นปัจจัยได้ ทิฏฐิอย่างอ่อน
ผู้ฟัง คนที่เห็นผิด โอกาสที่เขาจะไปถึงอบาย จะมีมากกว่าคนไม่เห็นผิด เพราะว่าเขาจะกระทำ เมื่อไม่มีเหตุ ไม่มีผล บาปไม่มี บุญไม่มีอะไร ทำอะไรก็ได้ ชาติก่อนไม่มี ชาตินี้ไม่มี เพราะฉะนั้น เขาจะอิสระ เขาจะไม่มีความรู้สึก หิริโอตตัปปะ ในการที่ทำเลย ถ้าคนไม่เห็นผิด เออไม่เอานะ เออไม่ได้นะ ไอ้คนนั้นเออได้หมดเลย เพราะฉะนั้น โอกาสที่เขาจะไป จะมากกว่า คนไม่เห็นผิดนะ ดิฉันว่าอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ นี้ก็เป็นความต่างกัน ของเรื่องของกรรมซึ่งเกิดจากจิตที่ต่างกัน แม้ว่ากรรมนั้นจะเป็นการฆ่าสัตว์ ปาณาติบาต กระทำสำเร็จลงไป ก็ขึ้นอยู่กับว่าจิตนั้น ประกอบด้วยความเห็นผิด หรือไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เพราะฉะนั้น ก็ต้องยกแยกออกไป คือกรรมสำเร็จต้องเกิดผล เมื่อถึงกาล หรือปัจจัยที่จะทำให้ กรรมนั้นสุกงอม ที่จะให้ผล ผลก็ต้องเกิด แต่ความเห็นผิดที่มีอยู่ จะติดตามไปด้วย
ผู้ฟัง ทุกชาติ แล้วก็โอกาสที่เขาจะไปอบาย เขาจะมากกว่าคนอื่น ที่เห็นถูก เห็นถูก เขาจะมีหิริโอตตัปปะมากกว่า เอาอย่างนั้นแล้วกัน ถ้าเห็นผิดแล้วจะไม่มีอะไรเลย จะทำทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็น่ากลัว ทีนี้คนที่มีความเห็นผิด แต่ไม่ได้ทำอกุศลกรรมบถ ไม่ได้ฆ่าสัตว์ ไม่ได้ลักทรัพย์ ไม่ได้ทำอะไร แต่ไปทำหนทางปฏิบัติที่เขาคิดว่า เป็นทางที่จะทำให้รู้แจ้ง อิริยสัจธรรม ขณะนั้นเป็นความเห็นผิด แต่ไม่ได้ล่วง อกุศลกรรมบถ
ผู้ฟัง แต่ในขณะนั้น เขาก็จะเอาตัวไม่รอด คนที่เห็นถูกจะเอาตัวรอดมากกว่า
ท่านอาจารย์ ออกจากสังสารวัฏฏ์ ไม่ได้ ด้วยความเห็นผิด มีข้อความที่แสดงว่าความเห็นผิด มีโทษมาก เพราะเหตุว่าสำหรับโลภะ เป็นของที่ ถ้าเป็น สมะโลภะ คือ ความโลภธรรมดาๆ ที่ทุกคนมี ไม่ใช่เป็นความโลภถึงขั้นที่จะกระทำอกุศลกรรมบถ ก็เป็นชีวิตประจำวัน แต่ว่าถ้ามีความเห็นผิด ความเห็นผิดจะกั้นความเห็นถูก ซึ่งเรามีทางที่จะออก พ้นจากความเห็นผิดไม่ได้เลย ถ้าไม่มีการฟังอย่างละเอียด และก็ด้วยการเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ มิฉะนั้นแล้ว เราก็อาจจะเห็นว่า เราไม่ได้ไปทำความเดือดร้อนให้ใคร ก็ดูดี นั่งเฉยๆ ไม่เห็นไปทำความเดือดร้อนให้ใคร แต่ว่าขณะที่นั่ง มีความเห็นผิด หรือความเห็นถูก มีปัญญา หรือว่าไม่มีปัญญา แล้วถ้ายังคงเห็นว่าดีต่อไป จะมีการอบรมเจริญความเห็นถูก เพิ่มขึ้นไหม แล้วก็จะมีการละคลายความเห็นผิดได้ไหม ในเมื่อเห็นว่าไม่เป็นอะไร ไม่ได้ไปทำความเดือดร้อนให้ แต่ความจริงโทษมาก เพราะบุคคลใดที่ยังมีความเห็นผิดอยู่ แล้วก็ไม่ศึกษาให้เข้าใจจริงๆ ถ่องแท้ที่จะให้ละความเห็นผิดนั้นได้ ควาเห็นผิดนั้นก็จะคงอยู่ แล้วก็จะเจริญงอกงามมหาศาล แล้วก็สำหรับตัวเองก็ยากที่จะแก้
อย่างพวกเดียรถีย์ปริพาชก ในสมัยพี่พระผู้มีพระภาค ยังไมปรินิพพาน ไม่ไปเฝ้าเลย ทั้งๆ ที่รู้ว่ามีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ ที่นั้นๆ ก็ไม่ไปเฝ้า ไม่ฟังธรรม สำหรับเรา เราฟังพระธรรม หรือว่าเราคิดว่าไม่ฟัง เพราะว่ายาก อย่างอื่นง่ายกว่าดีกว่า คิดอย่างนี้บ้างหรือเปล่า ถ้าคิดอย่างนี้ มีโอกาสจะทราบไหมว่า พระธรรมแท้ๆ พระธรรมจริงๆ สอนเรื่องอะไร แล้วหนทางที่จะประพฤติปฏิบัติตาม ต้องค่อยๆ อบรมไปอย่างไร ไม่ว่าเราพอใจ ใครบอกให้เรา ทำอะไรเราก็ดีใจ เราทำได้ บอกให้นั่ง เราก็นั่งได้ บอกให้เดิน เราก็เดินได้ แล้วก็บอกว่า เราได้ขั้นนั้น ขั้นนี้ เราก็ได้ขั้นนั้น ขั้นนี้ อย่างนี้ไม่ใช่เป็นสิ่งซึ่งจะให้เรา เกิดความเห็นถูกได้ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ตรง แล้วก็เห็นโทษของความเห็นผิด ถ้ายังไม่เห็นโทษของความเห็นผิด ก็ถือว่าเป็นของธรรมดา หรือว่ายังคงเป็นสิ่งที่ดี แต่ว่าไม่มีทางเลยที่ว่าจะเกิดความเห็นถูกขึ้นได้ ถ้ายังคงมีความยึดมั่นในความเห็นผิดนั้น
ผู้ฟัง สมาธิ กับ วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร
ท่านอาจารย์ สมาธิได้แก่ เอกคัคตาเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ เวลาที่เอกคัคตาเจตสิกเกิด พร้อมจิต ดับพร้อมจิต ปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน ก็เปลี่ยนอารมณ์ ที่ปรากฏไปเรื่อยๆ ประเดี๋ยวก็ทางตา ประเดี๋ยวก็ทางใจ ประเดี๋ยวก็ทางหู ประเดี๋ยวก็ทางใจ เพราะฉะนั้น ลักษณะความตั้งมั่นในอารมณ์ ไม่ปรากฏลักษณะที่เรา ใช้คำว่า สมาธิ แต่ว่าขณะใดก็ตาม ที่จิตตั้งมั่นอยู่ที่อารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใดนานๆ อารมณ์เดียว ลักษณะการตั้งมั่นจะปรากฏ ที่เราใช้คำว่า สมาธิ และสมาธิ มี ๒ อย่าง คือมิจฉาสมาธิ กับ สัมมาสมาธิ สมาธิไม่ใช่มีแต่เฉพาะคำสอนในพระพุทธศาสนา หรือว่าศาสนาหนึ่งศาสนาใด ทั่วโลกนานมาแล้ว แล้วก็ยังมีอยู่ แล้วก็จะมีต่อไป
แต่ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ระดับขั้นของสมถภาวนา ผู้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะ ที่สามารถจะรู้สภาพของจิต ไม่ใช่เพียงคิดเดา อย่างเวลาที่เราเห็นอาหารอร่อย เราก็บอกว่าโลภะ พูดไปแล้วโลภะ แต่โลภะ เกิดดับไปแล้ว เมื่อไร อย่างไร ไม่รู้เลย แต่พูดได้ เดาได้ว่าขณะนั้น เป็นสภาพความติดข้อง ความยินดี ความพอใจ หรือขณะใดที่เกิดขุ่นใจ โกรธ เราก็บอกว่าโทสะ แต่โทสมูลจิต หรือจิตที่ประกอบด้วยโทสเจตสิกก็ดับไปแล้ว มีจิตเห็น มีจิตได้ยิน เกิดดับสลับตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เพียงแต่พูดชื่อ ตามที่ได้ยินได้ฟัง นั่นไม่ใช่ลักษณะของสติสัมปชัญญะ ถ้าเป็นสติสัมปชัญญะ สติเป็นสภาพที่เป็นโสภณธรรม เป็นไปในฝ่ายดีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์ แก่บุคคลอื่น
ในเรื่องการวิรัติทุจริต หรือว่าในเรื่องการศึกษา การเข้าใจธรรม ลักษณะของจิตที่สงบจากอกุศล คือ ขณะใดจิตเป็นกุศล ขณะนั้นสงบจากอกุศล เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สงบอย่างเราต้องการ ที่เราใช้คำ แม้คำว่า สงบ ก็เป็นที่ตั้งของโลภะ ความติดข้อง อยากสงบ ไม่รู้ว่าสงบเป็นอย่างไร แต่บอกว่าสงบ อยากสงบแล้ว ฟังดูดี คือว่า ไม่วุ่นวาย ไม่ทุรนทุราย ไม่เดือดร้อน คงจะดี โดยไม่ได้ศึกษาเลยว่า สงบจากอกุศล คือเมื่อไร ขณะใดก็ตามที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ สงบชั่วคราว เป็นขณิกสมาธิ มาจากคำว่า ขณะ คือ ขณะหนึ่ง ขณะหนึ่งสั้นๆ เช่น ในขณะที่กำลังฟัง พระธรรมเข้าใจ ขณะนี้จิตสงบจากโลภะ โทสะ โมหะ แต่ถ้าไม่ประกอบด้วย สติสัมปชัญญะ จะไม่รู้เลยว่ามีจิตอื่นด้วย ไม่ใช่จิตที่สงบขณะที่ฟังธรรม ถ้ามีเสียงดังนิดหนึ่ง หรือจิตแวบ ไปคิดเรื่องอื่นนิดหนึ่ง ด้วยโลภะ หรือด้วยโทสะ แล้วแต่ว่าสิ่งใดที่ข้องอยู่ ที่เป็นปัจจัยกระทบ ที่ทำให้จิตนึกถึงอารมณ์นั้น ขณะนั้นก็เป็นอกุศลประเภทต่างๆ
ผู้ที่จะอบรมเจริญ สมถภาวนา คือหมายความว่า กุศลจิตเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดอยู่ในวันหนึ่ง ไม่เท่ากับ อกุศลซึ่งเกิดในวันหนึ่ง เพราะฉะนั้น ผู้นั้นต้องเป็น ผู้ที่เห็นโทษ ของอกุศล แต่ไม่ใช่ เป็นผู้ที่อยากสงบ นี้ตรงกันข้ามแล้ว เรื่องของปัญญา คือ เห็นโทษของอกุศล เรื่องของกิเลส คืออยากสงบ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าพอได้ยินคำว่าสงบแล้ว โดยไม่ศึกษาก็จะปฏิบัติ หรือจะทำได้ แล้วก็ใช้คำนี้ ตามความพอใจ คือใครเขาบอกว่า สมถะ เราก็สมถะด้วย ใครเขาบอกว่าวิปัสสนา เราก็วิปัสสนาไปด้วย นั่นคือผู้ที่ไม่ใช่สาวก คือผู้ที่ไม่ได้ฟังพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ถ้าเป็นสาวก ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด เพราะว่าพระธรรมสอนสภาพธรรม ตามความเป็นจริง แม้ละเอียดก็จะต้องศึกษาให้รู้ให้เข้าใจว่า สติสัมปชัญญะคืออย่างไร เพราะว่าผู้ที่จะอบรมเจริญ สมถภาวนาได้ เมื่อเห็นกิเลสแต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ทำอย่างไรก็เจริญสมถภาวนาไม่ได้ ไม่ใช่เพียงไปนั่งนิ่งๆ แล้วก็บอกว่าสงบ หรือว่านี่เป็นสมถภาวนา แต่ว่าผู้ที่เห็นโทษของอกุศลแล้ว ยังต้องมีปัญญาที่จะรู้ว่า ขณะใดจิตเป็นกุศล ขณะใดจิตเป็นอกุศล ไม่ใช่เพียงนึกเรื่องราว แล้วก็บอก โทสะ โลภะ อะไรอย่างนั้น แต่ต้องสภาพธรรม ที่เป็นอกุศลเกิดขึ้น สติสัมปชัญญะ สามารถที่จะรู้ในอาการลักษณะที่เป็นอกุศล แล้วยังรู้หนทางว่าทำอย่างไร จิตจึงจะสงบจากอกุศลนั้น เพราะฉะนั้น ต้องมีปัญญา แล้วอย่างนี้จะไปให้เด็กทำสมาธิ หรือสมถภาวนาได้ไหม โดยไม่รู้อะไรเลย หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ ชักชวนกันไป มาทำสมถภาวนา แต่ไม่รู้อะไรเลย ก็เป็นไปไม่ได้ เป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจจริงๆ
สำหรับวิปัสสนาภาวนา เป็นการอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ในขณะนี้ คือเป็นปกติอยางนี้ ตามความเป็นจริง ถ้าเป็นปัญญาที่เข้าใจอย่างนี้ แล้วจะไปไหน หรือจะไปทำอะไรอย่างอื่นไหม จะต้องไปเดินไหม หรือจะต้องไปนั่งหรือเปล่า ในเมื่อสภาพธรรมขณะนี้ เกิดขึ้นแล้วเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับ กำลังเกิดดับอยู่ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฟังธรรมเข้าใจจริงๆ ตั้งแต่ต้น จะไม่มีการกระทำซึ่งขัดแย้งกับพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้
ผู้ฟัง หมายความว่า ผู้ที่จะเจริญสมาธิที่ถูกต้อง นอกจากจะรู้ว่า อกุศลเป็นอย่างไรแล้ว จะต้องมีปัญญด้วยว่า จะทำอย่างไร ถึงจะให้จิต ปราศจากอกุศล
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า ผู้ที่ หรือสภาพจิตที่จะอบรมสมถภาวนาได้ เป็นมหากุศลญาณสัมปยุต ต้องประกอบด้วยปัญญา กุศลที่เป็นญาณวิปปยุต เจริญสมถภาวนา หรือ วิปัสสนาภาวนาไม่ได้ ต้องเป็นจิตระดับที่เป็นกุศล แล้วยังต้องเป็นกุศลที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง พอฟังเรื่องศีล เรื่องที่อาจารย์สอน แล้วก็อดทนเอา แตกต่างกันอย่างไร คือว่า ตอนแรก มันต้องอดทน
ท่านอาจารย์ ไม่ ต้องการอะไร ต้องการจะอดทน ต้องการจะไม่โกรธ หรือต้องการอะไร
ผู้ฟัง ต้องการจะไม่โกรธ แล้วก็ต้องการ
ท่านอาจารย์ ยาก ต้องการไม่โกรธนี้ อย่าพูดเลยดีกว่า ไม่มีใครสามารถที่จะเป็นไปได้ ถ้าไม่เป็นพระอนาคามี เพราะฉะนั้น ต้องการจะไม่โกรธนี้ก็ผิดแล้ว อย่าต้องการจะไม่โกรธ เป็นไปไม่ได้
ผู้ฟัง เวลาโกรธ โกรธมากๆ มันจะไม่สบายใจ
ท่านอาจารย์ ตัวเราที่จะไม่สบายใจ เป็นเรื่องที่เรามาที่นี่เพื่อที่จะฟัง เพื่อที่จะให้เกิดปัญญา รู้สภาพธรรมที่เป็นอนัตตา แล้วก็รู้ตามความเป็นจริงว่า เรื่องการที่ไม่อยากโกรธนี้อย่าคิด ไม่อยากเสียใจ ไม่อยากเป็นทุกข์ นี้อย่าคิด ตราบใดที่ไม่มีปัญญา เลิกคิด เพราะฉะนั้น หนทางก็คือว่าทำอย่างไร เราจะมีความเข้าใจธรรมขึ้น ทั้งหมดเป็นเรื่องที่ว่า ไม่ใช่เพื่อตัวเราจะสบาย ไม่ใช่เพื่อตัวเราจะอดทน ไม่ใช่เพื่อตัวเราจะไม่โกรธ แต่เพื่อปัญญาจะรู้สภาพธรรม ต้องมีปัญญารู้สภาพธรรมก่อน เพราะว่ากิเลสมีมากมายมหาศาล ถ้าไม่มีปัญญาต้องโกรธ ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ต้องทุกอย่างไปเรื่อยๆ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 500
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 502
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 504
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 507
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 510
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 511
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 513
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 514
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 516
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 517
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 518
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 519
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 520
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 521
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 523
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 524
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 525
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 526
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 527
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 528
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 529
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 530
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 532
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 533
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 534
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 536
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 538
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 539
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 540