ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๒๒

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ แต่พระอรหันต์ไม่มีที่จะหัวเราะเสียงดังๆ ตัวโยกน้ำตาไหล แต่ว่าพียงแต่มีความเบิกบานโสมนัสเกิดขึ้นในขณะนั้น ซึ่งผู้นั้นเองเป็นผู้ทราบ เพราะว่าเวทนานี้ต่างกัน เวทนาที่เป็นอุเบกขาก็ธรรมดาๆ แต่พอมีอาการของโสมนัสแม้จะเล็กน้อยก็รู้ว่า ขณะนั้นเป็นโสมนัส แล้วโสมนัสของปุถุชน กับโสมนัสของพระอรหันต์ก็ต่างกันที่ว่า โสมนัสของพระอรหันต์ไม่ถึงกับทำให้ท่านมีอาการอย่างปุถุชน แต่ก็เป็นความเบิกบานเป็นโสมนัส ก็พอจะทราบได้ ใช่ไหม โสมนัสที่เกิดกับอกุศล กับโสมนัสที่เกิดกับกุศล แล้วในชีวิตประจำวัน โสมนัสที่เกิดกับอกุศลมาก

    ผู้ฟัง ทุกคนคงเคยช่วยเหลือคน แล้วทุกคนคงจะชื่นใจ ขออนุญาตใช้คำว่า ชื่นใจ ชื่นใจในผลที่เราช่วยเขา หรือชื่นใจในขณะซึ่งเราช่วย อันนั้น เบานะ อันนั้นเป็นกุศล แต่ถ้าเผื่อเราโสมนัส แล้วมันหนัก มะม่วงน้ำปลาหวานอร่อยจังเลย โสมนัสนัก พอหมดแล้ว เสียดายอยากกินอีก อะไรอย่างนี้ อันนั้นก็โสมนัสแบบอกุศลแล้ว

    ท่านอาจารย์ แต่ภาษาไทยนี้ก็ยาก อย่างใช้คำว่า ชื่นใจ ต้องคิดดีๆ นะ

    ผู้ฟัง ดิฉันก็ใช้ภาษาตามที่ดิฉันรู้สึก

    ท่านอาจารย์ ไม่ คิดดีๆ หมายความว่าต้องพิจารณา เราจะใช้คำอะไรก็ได้ แต่ว่าเราไม่ได้รู้สภาพจิตในขณะนั้น แต่ถ้าเรารู้สภาพจิตในขณะนั้น เราจะทราบว่าคำที่เราใช้ตรงหรือเปล่า เพราะเหตุว่าบางคนอาจจะคิดว่าช่วยเขาแล้ว ชื่นใจ เป็นโสมนัส ช่วยเขาชื่นใจเป็นโลภะก็ได้

    ผู้ฟัง เรื่องจริงในขณะซึ่งเราช่วยเขา แล้วเขาเกิดดี หมายความไปในทางดี ขณะนั้นเราจะโสมนัสแล้วจะเกิด ปิติ เอาใช้คำว่าปิติ ก็แล้วกัน

    ท่านอาจารย์ ถ้าคนหิวมากๆ แล้วเราก็ให้อาหารเขา ที่คุณสุรีย์พูด คงหมายความว่าพอเขารับประทานอิ่มหนำสำราญ คุณสุรีย์ก็ ชื่นใจ ดีใจ แต่ว่าอย่าลืมขณะจิต ว่าขณะที่ให้เป็นกุศลจริง อุเบกขาเวทน หรือโสมนัสเวทนาเฉพาะตอนนั้นตอนที่ให้ แล้วหลังจากนั้นแล้วก็ต้องมีความละเอียด พอเขาอิ่ม สบาย แข็งแรง คุณสุรีย์ก็ชื่นใจ เป็นโลภะ หรือว่าเป็นกุศล ขณะที่ให้เป็นกุศลแน่

    ผู้ฟัง แต่ก็เราจะดูใจของเราได้ว่า มันหนักหรือมันเบา อันนั้นแหละ

    ท่านอาจารย์ แต่ต้องละเอียดจริงๆ เพราะว่าทุกคนมีธรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจิตประเภทไหน กุศลจิตก็มี มีอกุศลจิตก็มี แต่ว่าไม่รู้ เป็นเราไปเสียทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้น ไม่ใช่การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถ แต่ถ้าเมื่อได้ศึกษาแล้วก็พอที่จะรู้ พอที่จะสังเกต พอที่จะรู้ขึ้น แต่ถ้าไม่ใช่ผู้ที่ละเอียด ช่วยเขาแล้วดีใจ ที่เราได้ช่วย เพราะฉะนั้น เราจะต้องเป็นผู้ที่ละเอียดว่า แต่ก่อนเราเคยมีอย่างนี้ไหม แล้วสภาพนั้นเกิดขึ้นกับเราหรือเปล่า มีความเป็นเราหรือเปล่า ถ้าเป็นเราเมื่อไร ก็เป็นความติดข้องในเราอยู่ขณะนั้น แม้ว่าจะเป็นโสมนัส

    เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีการอบรมเจริญสติปัฏฐานจริงๆ ไม่สามารถที่จะดับกิเลส ไม่ใช่ไปนั่งแล้วก็ประสบการณ์เกิดดับ แล้วก็ดับกิเลส ไม่ใช่เลย เมื่อมีการศึกษาแล้ว จะต้องมีการเข้าใจตามลำดับด้วย ว่าแม้แต่ขณะของจิตซึ่งต่างกัน ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าขณะนั้นเป็นกุศล หรือขณะนี้เป็นอกุศล แล้วจึงละอกุศล ถ้าไม่รู้ก็ไม่ละ อย่างบางคนก็อาจจะช่วยใครมากมายหมดเลย แต่ว่าเราทั้งนั้นเลย มีความสำคัญตนว่าเป็นเรา สามารถที่จะช่วยเขาได้ เราเก่ง เราดี เราทุกอย่าง ขณะที่กำลังเป็นเรา จะเป็นกุศลไม่ได้

    พระธรรมทั้งหมด ทรงแสดงสภาพธรรมตามความเป็นจริงว่า กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล ถึงแม้ว่าจะระลึกถึงสิ่งที่ดี ที่ได้ทำแล้ว แต่จิตที่ระลึก เป็นกุศล หรือเป็นอกุศลที่ระลึก ก็ต้องเป็นคนที่ละเอียด ขณะนี้มีคนที่กำลังอยู่ในห้องนี้ ไม่ว่าเราจะคิดถึงใคร จิตคิด ด้วยกุศลจิต หรือด้วยอกุศลจิต ด้วยความเมตตา ด้วยความเข้าใจ ด้วยความกรุณา หรือว่าด้วยความที่เป็นอกุศล แล้วแต่ว่าจะเป็นโลภะ ติดข้อง หรือว่าจะเป็นโทสะก็ตามแต่

    เรื่องทั้งหมดเป็นแต่เพียงสิ่งที่จิต หนึ่งเกิดขึ้น แล้วก็รู้เรื่องนั้น โดยที่ว่าถ้าไม่สามารถที่จะระลึกลักษณะของสภาพจิตที่คิด ไม่มีวันที่จะรู้ว่าคิดเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล แต่กุศลจิต หรืออกุศลจิตนั่นเองที่คิด แล้วส่วนใหญ่ลองคิดถึงเรื่องอดีตที่ผ่านมา จิตที่คิด เป็นอะไร ถ้าไม่ใช่ โลภะ โทสะ ถ้าคิดถึงเรื่องที่เราไม่ชอบใจเลย เกิดขึ้นมาแล้ว ๒๐, ๓๐ ปี เกิดขึ้นแล้วตั้ง ๒๐, ๓๐ ปี แต่เพียงคิด จิตเป็นอะไร

    พระธรรมจะเหมือนกับกระจกเงา ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ไม่ว่าเราจะคิดเรื่องอะไร สะท้อนให้เห็นสภาพจิตที่กำลังคิดเรื่องนั้น ถ้าสติเกิดจะรู้เลย ว่าเป็นอกุศล หรือเป็นกุศล ซึ่งส่วนใหญ่ลองคิดถึงเรื่องเก่าๆ ในอดีต ถ้าเป็นเรื่องดี จิตที่คิดเป็นอะไร ก็เป็นโลภะ ถ้าเป็นเรื่องที่ไม่ดีจิตที่คิดเป็นอะไร ก็เป็นโทสะ เพราะฉะนั้น ยากมากที่กุศลจิตจะเกิดในขณะที่คิด นอกจากคิดในสิ่งที่ดี คิดในเรื่องที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์คนอื่น คิดที่จะเมตตา แล้ววันหนึ่งเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง จิตนั้นเกิดดับ เกิดอีกแล้วก็ดับอีก เกิดอีกแล้วก็ดับอีก เกิดอีกแล้วก็ดับอีก

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จิตดวงเดียวกัน

    ผู้ฟัง ใช่ จิตดวงหนึ่งเป็นอนันตรปัจจัยให้จิตดวงต่อไปเกิดขึ้น ตั้งแต่เล็กจนโต ตั้งแต่ยังแบเบาะ ปฏิสนธิ เกิดขึ้นมาเป็นสัตว์ เป็นบุคคล มีขันธ์ ๕ อย่างนี้ รู้สึกว่าคิดได้ตั้งแต่เล็กจนโต ประทานโทษ ถามอย่างไม่รู้ว่า จิตนี้ไม่เหนื่อยบ้างหรือ

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน คำถามนี้ต้องกลับมาถึงคำแรกที่ได้ยิน คือ จิตเป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้เท่านั้น จะไม่ทำหน้าที่อื่นเลยทั้งสิ้น จะไม่จำ จะไม่เหนื่อย จะไม่ทุกข์ จะไม่โศกใดๆ ทั้งสิ้น จิตเป็นแต่เพียงนามธาตุ คือ ธาตุรู้ ซึ่งเมื่อไรก็ตาม ซึ่งมีปัจจัยจึงเกิด ไม่ใช่ว่าจิตไปรอคอยอยู่ที่ไหนแล้วมาเกิด แต่จิตทุกชนิด ทุกประเภทจะต้องมีปัจัจยเฉพาะจิตนั้นๆ จิตนั้นๆ จึงจะเกิดได้ อย่างจิตได้ยิน ไม่มี แล้วมี แล้วก็หามีไม่ คือ จากการที่ไม่เกิดได้ยิน ก็มีการเกิดได้ยินขึ้น เกิดได้ยินขึ้นแล้วก็หมดไป นี่คือสภาพของจิตซึ่งเป็นธาตุรู้

    ถ้าเข้าใจธรรมขอให้เข้าใจจริงๆ คำต้นที่ได้ยินได้ฟังตั้งแต่ครั้งแรก ไม่ลืม แล้วก็ไม่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่น จึงจะเป็นธรรมที่จากการตรัสรู้ที่ทรงแสดง เพราะฉะนั้น จิตเป็นธาตุรู้ สิ่งหนึ่ง สิ่งใดที่กำลังปรากฏ ขณะนี้พอที่จะเข้าใจได้ว่า ตั้งแต่เกิดจนตาย ทุกอย่างที่เรารู้ ที่เรียกว่าเป็นประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิชาการต่างๆ เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเพราะจิตรู้ สิ่งที่ปรากฏทางหนึ่ง ทางใดใน ๖ ทาง

    ผู้ฟัง จิตสะสมได้ จิตเก็บทุกอย่างได้อย่างไร ในเมื่อจิตเป็นสภาพธรรมที่รู้ เป็นธาตุรู้ รู้อารมณ์อย่างเดียวเท่านั้นเอง

    ท่านอาจารย์ จิตมีหน้าที่ มีลักษณะ แล้วมีอาการปรากฏ และมีเหตุใกล้ให้เกิดด้วย เพราะฉะนั้น ลักษณะของจิต เป็นสภาพที่รู้อารมณ์เท่านั้น ทำอย่างอื่นไม่ได้เลย กิจของจิตก็แล้วแต่ว่าจะเป็นประเภทไหนๆ แล้วก็อาการที่ปรากฏ คือ แม้ในขณะนี้ มองไม่เห็นจิต แต่ก็ยังสามารถจะรู้ได้ว่ามีจิต เพราะว่ามีการเกิดดับสืบต่อของจิต ไม่ใช่ว่าจิตขณะหนึ่งเกิดแล้วดับแล้ว หมดแล้วไม่มีอะไรเหลือ แต่ว่าเป็นเพราะเหตุว่าเมื่อจิตขณะหนึ่งดับไป เป็นอนันตรปัจจัย สภาพธรรมที่จะทำให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จิตขณะต่อไปก็มีทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนจิตก่อน แหว่งเว้าหายไปอย่างไรได้ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามที่สะสมมาแล้ว ปัญญาที่ได้ฟังครั้งที่ ๑ มีความเข้าใจเกิดขึ้น หายไปหมดหรืออย่างไร หรือว่าพอฟังอีกก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้นอีก เพราะว่าสืบต่อจากจิตขณะก่อนๆ นี่เป็นลักษณะของธาตุรู้ หรือสภาพรู้

    ผู้ฟัง ผมสงสัยพระพุทธพจนอยู่บทหนึ่ง ขออนุญาตเรียนถามเป็นประโยชน์เกื้อกูล พระศาสดาตรัสไว้ว่า ปภัสสรัง ภิกขเว มิทัง จิตตัง โดยธรรมชาติแห่งจิตนั้นประภัสสร อาคันตุเกหิ อุปกิเลเสหิ อุปกิเลสฐัง ซึ่งแปลเป็นความว่า แต่เป็นเพราะกิเลสเป็นอาคันตุกะ เข้ามาเป็นครั้งคราวที่ทำให้จิตนั้นเศร้าหมอง จะเรียนถามว่าที่กล่าวว่าประภัสสรจิต หมายถึง ภวังคจิตหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ มีความหมาย ๒ อย่าง ภวังคจิต กับโสภณจิต หรือกุศลจิต เพราะฉะนั้น การศึกษาพระธรรมจะทำให้ผู้ที่ไตร่ตรองพิจารณา แล้วก็ปัญญาจากการที่เคยฟัง แต่ละครั้งไม่หายไปเลย จะมีแต่ความที่สามารถจะพิจารณาเข้าใจเพิ่มขึ้น ในแต่ละภพ ในแต่ละชาติ สามารถที่จะเข้าใจจริงๆ ในความหมายของธรรมแล้วก็สามารถที่จะรู้ความต่างของผู้ที่ไม่เข้าใจ แต่หลงผิด หรือเข้าใจผิด เพราะฉะนั้น เวลาที่จะอบรมเจริญกุศล ผู้นั้นจะรู้ได้ว่า การอบรมเจริญกุศลมีต่างขั้นที่ว่า ถ้าเป็นขั้นศีล ขั้นทาน ไม่ต้องมีปัญญา แต่ใครก็ตามที่บอกว่าเขาทำฌาน หรือเขาทำสมาธิ เขามีปัญญาหรือไม่ ตรวจสอบได้ ไม่ใช่ตรวจสอบไม่ได้เลย พระธรรมแสดงไว้ทั้งหมด ว่าเขาเป็นมิจฉาสมาธิหรือสัมมาสมาธิ แม้แต่สติสัมปชัญญะ

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น สมาธิที่คนส่วนมากปฏิบัติอยู่ปัจจุบันนี้ ก็เป็นมิจฉา

    ท่านอาจารย์ ถ้าขณะใดที่ไม่ประกอบด้วยปัญญาไม่ว่าที่ไหน จุดไหน ธรรมเป็นธรรม ต้องเป็นมิจฉาสมาธิ ฟังดูไม่ชอบเลย ใช่ไหม ดูเหมือนจะดี สมาธิ แต่ทำไมมีในพระไตรปิฎก พระธรรมเกื้อกูลให้พ้นจากความเห็นผิด ถ้ามิฉะนั้นก็ไม่ทรงแสดงไว้เลย เรื่องมิจฉาสมาธิ เพราะคนไม่ชอบ แต่ใครจะชอบ หรือไม่ชอบชื่อนี้ ก็ไม่เป็นไร ความจริงเป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ จะเปลี่ยนให้เป็น สัมมาสมาธิ โดยเรียกชื่อเสียใหม่ ว่าเป็น สัมมาสมาธิ ก็ไม่ได้ เป็นมิจฉาสมาธิ ก็ต้องเป็นมิจฉาสมาธิ ต้องยอมรับความจริง

    ผู้ฟัง แสดงว่า มิจฉาสมาธินี้ ไม่มีทางที่จะได้ฌานเลย

    ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะอะไร เพราะเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง คำว่า ปัญญา ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น คำว่า ปัญญา มีผู้เข้าใจ ไหม

    ท่านอาจารย์ เหมือนทาน กับศีล ทานก็มีการให้แม้ว่าพระพุทธเจ้า จะอุบัติ หรือไม่อุบัติ ศีลก็มีการประพฤติอยู่ แม้ว่า พระพุทธเจ้า จะอุบัติ หรือไม่อุบัติ เพราะฉะนั้น ปัญญาระดับไหน ถ้าปัญญาที่จะรู้แจ้ง อริยสัจธรรม ไม่มี ก่อนการตรัสรู้ไม่มีแน่นอน แต่ปัญญาระดับ รูปาวจร อรูปาวจร มี

    ผู้ฟัง แสดงว่าท่าน อุทกดาบส กับ อาฬารดาบส ก็มีปัญญาขั้นรูปา กับ อรูปา

    ท่านอาจารย์ แน่นอน แต่อย่าเทียบท่านกับคนยุคนี้ สมัยนี้ หรือว่าสมัยใดก็ตาม ที่เป็นมิจฉาสมาธิ ต้องแยก

    ผู้ฟัง ทุกขาปฏิปทา คือหมายความว่า คนในยุคนี้ ต้องปฏิบัติลำบาก สำเร็จช้าด้วย

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วลำบากที่นี้ หมายถึง มีกิเลสมาก ทำให้เราลำบาก ไม่ใช่ว่าเราต้องไปทำ ทำลำบาก

    ผู้ฟัง อย่างนี้ก็เป็น สัททตัณหาได้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ อย่างไรก็ตามแต่ คือว่าดิฉันเอง คิดว่าแต่ละคนรู้จักตัวเองพอสมควรว่าเขาทำด้วยความผืน หรือว่าทำเพราะอัธยาศัยจริงๆ อย่างบางคน พอศึกษาแล้วเขาเห็น อกุศลของเขามีมาก แล้วเขาเห็นความน่ารังเกียจ เพราะฉะนั้น เขาฝืน ฝืนทำความดีทั้งๆ ที่ว่ายังไม่อยากจะทำเท่าไร แต่ว่าถ้าไม่ทำ ทีหลังเขาก็จะไม่คุ้นเคยกับการทำความดี ฝืนทำ กุศลของเขาไม่ใช่โสมนัส เพราะเหตุว่าฝืนอัธยาศัย แต่เขาค่อยๆ ผืนแต่เป็นตัวเขาที่รู้จักตัวเขาเองตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น เราไม่มีกฏเกณฑ์ ไม่ว่าคุณนันทวัฒน์จะตอบว่าอย่างนี้ หรือว่า สมมติว่าอีก พันปี ๒ พันปี ถอยหลังไป ถ้าจะเป็นเหตุการณ์ในครั้งโน้น อาจจะมีจารึกไว้ในพระไตรปิฎก ว่ามีคนทำอย่างนี้ แล้วคนที่ยุคนี้สมัยนี้มาอ่าน มาเจอก็คิดว่า เออดีนะ เขาทำอย่างนี้ เราทำบ้าง หรืออะไรอย่างนั้น แต่ว่าที่ท่านเหล่านั้นทำ แล้วก็ท่านบรรลุมรรคผลกันด้วยในครั้งโน้น ไม่ใช่ว่าเราทำอย่างท่านแล้วเราจะบรรลุ เพราะฉะนั้น แต่ละคนจะไม่เหมือนกันเลย ไม่มีกฏเกณฑ์จริงๆ ใครจะทำเราก็ห้ามไม่ได้ เขาจะทำ คนที่ไม่ทำ เราไปบอกให้เขาทำ เขาก็ทำไม่ได้ ทำอย่างคนนั้นไม่ได้แน่นอน

    ทางที่ดีที่สุดก็คือว่า ให้มีปัญญาก่อน ที่จะพิจารณา ให้เข้าใจสิ่งที่ได้ฟัง แล้วก็ค่อยๆ รู้จักสภาพธรรม ตามความเป็นจริง ไม่ใช่มุ่งฟัง เพื่อมุ่งหวัง เต็มไปด้วยความหวัง ในขณะที่ฟัง หวังว่าจะเข้าใจ หวังว่า จะได้ผล หวังว่าจะได้เป็นเครื่องปรุงแต่ง เป็นเรื่องความหวังทั้งหมด แต่ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ ปัญญาละความหวัง แล้วตัวจริงๆ จะปรากฏ แล้วก็เป็นเรื่องที่เบา เพราะเหตุว่าไม่ว่าอะไรจะปรากฏก็มีปัญญาที่รู้ว่านั้นเป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่ง ต่างกับเวลาที่ปัญญายังไม่เกิด แล้วก็ไม่รู้ว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง พออกุศลเกิดจะเดือดร้อน พอกุศลเกิดดีใจ ก็จะเป็นอย่างนี้ดีใจกับกุศล ไม่ดีใจกับอกุศล แล้วก็เข้าใจว่านั่นดี นั่นถูก

    แต่ว่าสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา คือ ปัญญา แล้วต้องมีความละเอียด ที่จะรู้ว่าปัญญาระดับไหน แล้วค่อยๆ เกิดอย่างไร แล้วก็สะสมอย่างไรด้วย ไม่ใช่เป็นผู้ที่ใจร้อน หรือเร่งร้อน ที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยที่ไม่รู้จักตัวเอง แต่ถ้าเป็นอัธยาศัยของเขาใครก็ผืนไม่ได้ แล้วเขาก็ศึกษาธรรมประกอบไปด้วย เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจ แต่ข้อสำคัญคือ ไม่ใช่ด้วยความหวัง เป็นเรื่องของอัธยาศัยจะดีกว่า ไม่ใช่เรื่องการตัดสิน ถูก ผิด

    ผู้ฟัง ท่านพระอานนท์เคยถามพระภัททิยะ ว่ายอดของการฟัง หรือยอดของการได้ยินคืออะไร ท่านพระภัททิยะก็ตอบสั้นๆ ว่า ยอดของการได้ยิน คือ การได้ยินเสียงพรหม เปล่งวาจาว่า สุขหนอสุขหนอ เป็นยอดการได้ยินได้ฟัง ท่านพระอานนท์ ท่านก็ปฏิเสธ บอกว่า การได้ยินอะไรก็ตามที่ทำให้อาสวะสิ้นได้ หมดกิเลสได้นั้น เป็นการได้ยินหรือการได้ฟัง อันยอดเยี่ยม เพราะฉะนั้น จึงมีความเห็นว่า ในเมื่อเรามีโสตปสาท แล้วเวลาเราก็เหลือน้อยเต็มทีแล้ว ชีวิตก็จะล่วงไปแล้ว สิ่งที่จะเป็นสาระที่สุด พระองค์ตรัสว่า เธอทั้งหลายจงอยู่อย่างเป็นผู้มีที่พึ่งเถิด อย่าอยู่อย่างเป็นผู้ไร้ที่พึ่งเลย ที่พึ่งก็คือ นาถกรณธรรม ทั้ง ๑๐ ซึ่งพหุสัจจะ เป็น ๑ ในนาถกรณธรรม ทั้ง ๑๐ เพราะฉะนั้น ผมไม่เห็นว่า สิ่งใดจะมีคุณค่ามากกว่าการได้ฟัง ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก

    ท่านอาจารย์ ที่คุณนันทวัฒน์ พูดไม่ผิด พหุสัจจะ หมายความถึงการฟังมาก แต่ไม่ใช่ หมายความว่า ไม่เข้าใจ นี่สำคัญที่สุด อย่าถือเพียงฟัง ฟังแล้วก็เข้าใจในสิ่งที่ได้ฟังเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ธรรมก็มีแค่ นามธรรมกับรูปธรรม จิต เจตสิก รูป ถ้าจะกางตำรา ก็คงไม่นานที่จะจบ ถ้าเป็นคนขยัน แต่ว่าการที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ เป็นเรื่องของ จิรกาลภาวนา ไม่มีใครบอกเลย ว่าการที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมได้เร็ว แม้แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสาวกทั้งหลาย ก็ได้อบรมปัญญามากทีเดียวกว่าจะได้รู้แจ้ง เพราะฉะนั้น การฟังอย่าถือจำนวน เวลา หรือวัน แต่ว่าให้มีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ฟังจริงๆ ค่อยๆ เพิ่มขึ้นจึงจะเป็นพหูสูตร ต้องมีความเข้าใจด้วย เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ว่า คำพูดนั้นไม่ผิด แต่ทำได้จริงๆ หรือเปล่า แล้วก็ตลอดเวลาทุกลมหายใจเข้าออกจริงๆ หรือเปล่า อย่าคิดว่าเมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้ เราเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องประเสริฐ แต่ว่าต้องเป็นผู้ที่ สะสมอัธยาศัย ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้อย่างนั้น เป็นผู้ที่ตรง

    ผู้ฟัง ขออนุญาต ยกตัวอย่างในชีวิตประจำวัน นี่กำลังจะใกล้เทศกาลบอลโลกผมยังหวั่นใจ กลัวอย่างเดียว สงสัยเราจะไม่ได้ฟังแน่ๆ เลยออกอุบาย ในขณะที่ดูไปด้วยก็เสียบหูฟัง (sound about) ฟังไปด้วย

    ท่านอาจารย์ คุณนันทวัฒน์ ดิฉันคิดว่า ถ้าเราทุกคนเข้าใจว่า ธรรมเป็นเรื่องเบาสบาย แต่ขณะใดที่คุณนันทวัฒน์ หวั่นใจฟุตบอลโลก ขณะนั้นไม่ใช่กุศล ระหว่างที่ตั้งใจฟังธรรม หวังอะไรหรือเปล่า จึงได้หวั่นไหว เพราะว่าถ้าเป็นตัวจริง โลภะ ก็คือโลภะ ไม่ได้ดับไปเลย ยังอยู่ยังมี เพราะฉะนั้น ถ้ามีปัจจัยที่โลภะจะเกิดเมื่อไร โลภะเกิดแน่ๆ แล้วโลภะที่มีในชีวิตประจำวันก็มี เพียงแต่ว่าปัญญา ยังไม่เห็นว่า ไม่ใช่เรา กุศลในวันหนึ่งๆ ก็มี แต่ปัญญาก็ยังไม่เกิดขึ้นเห็นว่า กุศลนั้นไม่ใช่เรา ถึงเป็นกุศล หรือเป็นอกุศลก็ยังคงเป็นตัวเราอยู่ เพราะฉะนั้น ไม่มีทางที่จะดับกิเลสได้ โดยคิดว่า ถ้ากุศลมากๆ อกุศลน้อยลง แล้วก็จะดับกิเลสได้ แต่ต้องเป็นปัญญาที่รู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ

    ถ้าเกิดมีอกุศลจิตที่จะดูฟุตบอลเป็นความจริงแล้ว เป็นตัวจริงแล้ว สะสมมาแล้วที่จะเห็นว่าโลภะยังมีอยู่ แต่ว่าถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจจริงๆ ในเรื่องธรรม ไม่หวั่นไหวเลย ถ้ามีเหตุปัจจัยที่สติปัฏฐานจะเกิด สติปัฏฐานเกิดแน่นอน เพราะไม่ว่าจะเห็น จะดูอะไร ก็คือเห็น ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง

    ผู้ฟัง แต่ไม่เกื้อกูลให้ปัญญาเกิด

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีปัญญา ท่านพระนาคสมาละ บรรลุธรรมที่ไหน ท่านสุนทรสมุทรเถระ บรรลุที่ไหน

    ผู้ฟัง ในขณะที่ผัสสะกำลังกระทบกับ

    ท่านอาจารย์ เรื่องจริงๆ คือ สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย บนปราสาทที่มีหญิงแพศยา กำลังกล่าวคำ เล้าโลม แล้วอย่างไร ถ้าไม่ได้สะสมปัญญามาจะทำอย่างไร กับผู้ที่สะสมปัญญามา เหตุการณ์ต้องต่างกัน เพราะฉะนั้น หน้าที่อย่างเดียวก็คืออบรมปัญญา คุณนันทวัฒน์จะต้องรู้จักตัวจริงว่า มีปัญญารู้อะไรแค่ไหนก่อน ก่อนที่จะไม่ให้โลภะเกิด หรือพยายามที่จะไม่ให้โลภะเกิด ถ้ามิฉะนั้นแล้ว ก็จะเป็นผู้ที่พยายามกั้นโลภะ แต่ไม่รู้ลักษณะของโลภะ

    ผู้ฟัง ผมอยากจะกล่าวสรุปสั้นๆ ผมเสียดายเวลา

    ท่านอาจารย์ เสียดาย เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล

    ผู้ฟัง ขึ้นอยู่กับพิจารณาขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ เสียดาย เป็นกุศล หรืออกุศล ตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง น่าจะเป็นอกุศล

    ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะฉะนั้น ก็ทราบได้เลยว่า เรามีอกุศลหลายประเภทเหลือเกิน มากมาย เดี๋ยวมาในรูปแบบนั้น เดี๋ยวมาในรูปแบบนี้ ก็ยังคงเป็นอกุศล เพราะ ยังมีความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น อันนี้ต้องออกก่อน ต้องมีปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมเพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ถ้าเกิดกล่าวว่าสิ่งที่ผมประพฤติอยู่ เป็น ธตาได้ไหม

    ท่านอาจารย์ เข้าใจได้แค่ไหน

    ผู้ฟัง อย่างยกตัวอย่าง เช่น เมตตา

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน คุณนันทวัฒน์จะเอาชื่อ หรือว่าเอาสภาพธรรม ที่จะถามว่า นี่เป็น ธตา หรือว่านี่เป็นสัญญา นี้เป็นเรื่องชื่อทั้งหมด แต่ทีนี้ถ้าเราเข้าใจ ความละเอียดของธรรมว่า ธรรมละเอียดจริงๆ แม้แต่สัญญาที่จำก็ยังหลากหลาย โดยพยัญชนะจึงต้องทรงแสดงไว้ ธตา เป็นความทรงจำในสิ่งที่ได้ฟังแล้วเข้าใจ เพราะฉะนั้น เราก็เทียบได้เลย เมื่อเราฟังแล้วเราเข้าใจ เราทรงจำสิ่งที่เราเข้าใจได้แค่ไหน บางทีฟังธรรม คำพูดนั้นดีมากเลย ผ่านหูไปแล้ว เมื่อกี้ว่าอย่างไร ประโยคนั้นทั้งประโยคเป็นอย่างไร ทั้งๆ ที่กำลังฟังอยู่ รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดี เป็นความเข้าใจที่ชัดเจนเพิ่มขึ้น แต่เป็นเพียงความจำ

    เพราะฉะนั้น ก็มีความต่างกันว่า ถ้าเป็นความเข้าใจจริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมเราจะมีคำ ที่สามารถที่จะแสดงถึงความเข้าใจสภาพธรรม แล้วจะรู้ว่าการที่ทรงแสดงพระธรรมเทศนามากมายหลากหลายทั้ง พระสูตร และพระอภิธรรม โดยพยัญชนะต่างๆ เพราะความต่างของสภาพธรรมนั่นเอง ถ้าสภาพธรรม ไม่มีความต่างอย่างนี้ ก็จะไม่มีสัญญา ไม่มีธตา ไม่มีอะไรอีกหลายศัพท์ แต่ว่าที่ทรงบัญญัติศัพท์ เพื่อให้เห็นความละเอียดของสภาพธรรม แล้วเราก็ค่อยๆ เข้าใจ ดีกว่าไปจำทั้งหมด เพราะว่าคนที่จำได้ อย่างที่จำพระอภิธรรมปิฏกทั้งปิฎก หรือว่าอาจจะมีคนที่ท่อง เมตตากรณียสูตร สติปัฏฐานสูตร ได้ทั้งหมด แต่เขาไม่เข้าใจเรื่องการอบรมเจริญปัญญา เราจะไม่ทำอย่างนั้น มีท่านผู้หนึ่ง ท่านมีฉันทะในการฟัง แต่ว่าท่านจะไม่ฟังคนอื่นเลย แม้แต่คำถามตัดออก คำถามไม่เอาเลย เสียงคนอื่นจะไม่มีเลย จะถามว่าอย่างไร แล้วก็มีแต่เสียงคำบรรยาย แล้วก็ให้ดิฉันมาฟัง ๖๐ ตลับ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 101
    24 มี.ค. 2567