ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
ตอนที่ ๔๘๕
สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย
พ.ศ. ๒๕๔๒
ท่านอาจารย์ นี้ไม่พูดโดยละเอียด ถ้าพูดโดยละเอียดก็สามารถจะรู้ปรมัตถธรรมได้ แต่เราเพียงให้เห็นความต่างกันของ ๖ ทวาร แล้วเราก็มาพิจารณาดูว่าขณะนั้นเป็นจิตอะไร อย่ามายึดว่าเป็นเรากำลังเคลิ้มอีกต่อไป แท้ที่จริงก็คือจิต ซึ่งขณะนั้นรู้อารมณ์อะไร
ผู้ฟัง แสดงว่าจิต ขณะนั้น ที่เกิดขึ้นขณะนั้น จะเกิดเพราะว่าร่างกาย
ท่านอาจารย์ ไม่ว่าอะไรทั้งนั้น จิตขณะนั้นรู้อารมณ์อะไร เป็นภวังคจิต หรือเปล่า นี่คือประโยชน์ ของการศึกษาที่จะเข้าใจว่าเป็นภวังคจิต หรือเปล่า ไม่เป็น เพราะฉะนั้น เป็นจิตอะไรก็ต้องหา ให้ได้ว่าเป็นจิตอะไร เพราะว่ามี ๖ ทาง
ผู้ฟัง แต่ไม่ใช่จิตของคนอื่น
ท่านอาจารย์ เกิดมานี่ เกิดคนเดียวหรือเปล่า
ผู้ฟัง เกิดคนเดียว
ท่านอาจารย์ ตายคนเดียวหรือเปล่า ตายคนเดียว ขณะเห็น มีคนอื่นมาร่วมเห็นด้วย หรือว่าจิตเห็นคนเดียว เห็นก็เห็นคนเดียว ได้ยินก็ได้ยินคนเดียว ได้กลิ่นคนเดียว ลิ้มรสคนเดียว รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสคนเดียว คิดนึกคนเดียว อยู่คนเดียวในโลกนี้ เมื่อจิตเกิด มีความเข้าใจว่าจิตนั่นแหละเป็นเรา แต่ความจริงก็คือจิตขณะหนึ่ง ซึ่งเกิดแล้วก็ดับ คือฟังธรรมแล้วก็ให้เข้าใจธรรม อย่าไปเอาเรื่องอื่นเข้ามาปน ถ้าเอาเรื่องอื่นเข้ามาปน ก็สงสัยไปตลอด แต่ถ้ารู้ว่าจิตคืออย่างไร มีลักษณะอย่างไร รู้อารมณ์อะไรทางไหน แล้วจริงๆ ต้องเข้าใจแม้ความหมายที่ว่า อนัตตาคือไม่ใช่เรา เพราะเป็นจิตที่เพียงเกิด รู้อารมณ์แล้วก็ดับ แล้วก็ความจริงก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีใครร่วมเกิดด้วย ไม่มีใครร่วมตายด้วย ไม่มีใครร่วมเห็นด้วย ไม่มีใครร่วมได้ยินด้วย คนเดียวจริงๆ กับความคิดนึก ขณะที่ว่า ผีอำ คิดนึกหรือเปล่า ถ้าไม่คิดจะมีผี มีอำไหม
ผู้ฟัง ที่ฟังจากเทปวิทยุ อาจารย์แสดงว่า นิวรณ์ ๕ เป็นเครื่องกั้นของสมถะ ทีนี้ถ้าเกิดว่าเราไม่รู้ว่ากามฉันทะ เกิดขึ้นขณะไหน ถ้าไม่รู้ตามสภาพธรรมตามความเป็นจริง ขณะนั้นก็ไม่เป็นสมถะ สมถะ คือความสงบ
ท่านอาจารย์ สงบคือ อะไร
ผู้ฟัง สงบจากอกุศล
ท่านอาจารย์ หมายความว่าขณะนั้นเป็นกุศล
ผู้ฟัง เป็นกุศล แต่เป็นกุศลขณะนั้น ถ้าเราไม่ได้รู้ตามสภาพธรรมก็ไม่ใช่สมถะ
ท่านอาจารย์ สงบที่กุศลจิตเกิด ไม่มีคน แต่เวลาที่เป็นสภาพ ที่เป็นกุศลจิตเกิด ขณะนั้นสงบจากอกุศล ให้เข้าใจความจริงว่าจิตขณะนั้น ไม่มีอกุศลใดๆ เกิดร่วมด้วย ชั่วขณะสั้นๆ สงบจากอกุศล เมื่อเป็นกุศล เพราะฉะนั้น ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นไม่ใช่นิวรณ์ ๕ ขณะใดที่เป็นอกุศล ขณะนั้นก็ไม่ใช่กุศล ก็ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง แต่สภาพธรรม ที่เกิดขณะนั้น หมายถึงสติปัฏฐานไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ สมถภาวนา ไม่ใช่วิปัสสนาภาวนา มีภาวนา คือการอบรม ๒ อย่าง สมถภาวนา อย่าง หนึ่ง แล้วก็วิปัสสนาภาวนาอีกอย่าง ๑ ถ้าสติปัฏฐาน ต้องมีปัญญาที่จะรู้ว่าขณะนี้ เป็นธรรมทั้งหมด สามารถที่จะมีปัจจัยให้ สติปัฏฐานเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด ในขณะนี้ที่กำลังปรากฏ มีลักษณะจริงๆ ให้รู้ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่างๆ แล้วก็เริ่มเห็นว่าเป็นธรรมแต่ละอย่างด้วย เมื่อเป็นธรรมแต่ละอย่าง ก็ไม่มีเรา ค่อยๆ อบรมความรู้ความเข้าใจ ไปเรื่อยๆ แม้แต่เพียงสั้นๆ นิดเดียว แต่นั่นคือประโยชน์ มหาศาล เพราะว่าเป็นความจริง เป็นสัมมาสติ เป็นสติที่เกิดเพราะมีปัจจัย จึงระลึก แล้วก็มีสภาพธรรม ให้ศึกษาให้เข้าใจถูก
ผู้ฟัง ขณะที่สติปัฏฐานเกิดก็ ต้องมีสมถะด้วย
ท่านอาจารย์ แน่นอน ขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นสงบ มรรคมีองค์ ๘ เป็นทั้ง สมถะ และวิปัสสนา เป็นทั้งปัญญา และสมถะ หรือสมาธิ
ผู้ฟัง ถ้าสมถะ เป็นอย่างเดียว ไม่มีวิปัสสนา ได้ไหม
ท่านอาจารย์ ได้ ไม่สามารถที่จะรู้ว่าขณะนี้ไม่ใช่เรา แต่ระลึกที่อารมณ์ ที่ทำให้จิตเป็นกุศลบ่อยๆ จนกระทั่งกุศลมั่นคง ขึ้นเป็นความสงบระดับต่างๆ ที่มีลักษณะของสมาธิปรากฏว่า ต่างจากขณะที่สงบไม่ถึงระดับนั้น
ผู้ฟัง ผีอำมีจริงไหม
ท่านอาจารย์ ผีอำคือ เห็นหรือเปล่า เห็นผีไหม
ผู้ฟัง ไม่เห็น
ท่านอาจารย์ ได้ยินเสียงไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ยิน
ท่านอาจารย์ ได้กลิ่นไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ลิ้มรสผีหรือเปล่า
ผู้ฟัง มีความรู้สึก
ท่านอาจารย์ รู้สึกทางไหน
ผู้ฟัง รู้สึกว่าเขามาทับเรา
ท่านอาจารย์ หมายความว่ามีสิ่งที่ปรากฏที่กาย กระทบกาย แล้วก็มีความคิดว่าเป็น
ผู้ฟัง ผีอำ
ท่านอาจารย์ นั้นคือความคิด ขณะที่กำลังเห็นคุณนุช มีสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็คิดว่าเห็นคุณนุช เหมือนกัน เวลาที่มีสิ่งกระทบกาย ก็มีสิ่งที่กระทบกาย แล้วก็คิดว่าเป็นผีอำ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าอะไรที่จะกระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย มีความคิดนึกถึงสิ่งนั้นโดยลักษณะต่างๆ กัน แทนที่จะคิดว่าเป็นคุณนุช อาจจะมีคนบอกว่า นี่ผีก็ได้ ใช่ไหม เห็นผีไปแล้วอย่างนี้ เขาคิดได้
ผู้ฟัง แล้วตอนนั้นเป็นจิตอะไร
ท่านอาจารย์ จิตคิด จิตคิดต่างๆ หลังจากที่เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้กลิ่นแล้ว ลิ้มรสแล้ว รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแล้ว จะคิดอะไรก็ได้ทั้งนั้น
ผู้ฟัง แต่นุช ไม่ได้คิดอะไร
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่คิดก็คือเห็น คือได้ยิน คือได้กลิ่น คือลิ้มรส คือรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส หรือไม่มีอะไรปรากฏเลย หลับสนิท
ผู้ฟัง มันยังไม่หลับสนิท
ท่านอาจารย์ เมื่อไม่หลบสนิท ต้องมีจิตที่รู้อารมณ์ ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทาง
ผู้ฟัง แต่จิต ทราบไปเอง
ท่านอาจารย์ คิด ถ้าไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสก็คือ คิด มีคนหนึ่ง เขาได้ข่าวที่ประเทศอิตาลี ที่โรงแรมที่เขาพัก ผีดุ ตอนนั้นเขาไม่รู้เรื่องเลย เขาก็นอนหลับ เตียงมันก็สั่น เขาก็คิดว่าแผ่นดินไหว แล้วเขาก็หลับต่อ ภายหลังจึงรู้ว่าที่โรงแรมนั้น ผีดุ แต่ว่าตอนนั้นเขาคิดว่าแผ่นดินไหวแล้วเขาก็หลับ เพราะฉะนั้น เวลาที่มีอะไรกระทบกาย แล้วแต่ความคิดนึก ใครจะคิด อะไรก็ได้ ถ้าคนที่ได้ยินข่าวมาว่าผีดุ ก็อาจจะคิดว่าผีกำลังสั่นเตียง แต่คนที่ไม่รู้เรื่องก็คิดว่าแผ่นดินไหว แล้วก็หลับต่อก็ได้ แล้วแต่จะคิด
ผู้ฟัง แต่บางที หนูจะมีความรู้สึกจริงๆ
ท่านอาจารย์ ก็ความรู้สึกก็จริง เป็นจิต สิ่งที่มีจริงคือจิต เจตสิก รูป มีจริงๆ แล้วก็มีทางที่จิตจะเกิดขึ้น รู้สิ่งที่ปรากฏทางตาก็คือกำลังเห็น เดี๋ยวนี้แหละ นี่คือจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ภวังค์ ไม่ใช่หลับสนิท เวลาที่ได้ยินก็เป็นจิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งก็ไม่ใช่ภวังค์ ไม่ใช่หลับสนิท เพราะฉะนั้น เราก็มีทาง ๖ ทางที่จะรู้อารมณ์อื่น ที่ไม่ใช่หลับสนิท ใครจะปฏิเสธ หรือใครจะคิดว่ามีทางอื่นเพิ่มขึ้นมาอีก โลกไหนก็เหมือนกัน ก็เป็นอย่างนี้
ผู้ฟัง สาเหตุอะไร
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปคิด ถึงสาเหตุ คิดถึงแต่เพียงว่าขณะนั้น เป็นจิต ไม่ใช่เรา มีการรู้อารมณ์ที่กระทบ แล้วก็คิดนึก แล้วก็หมดแล้ว เวลานี้ทำไมจะต้องย้อนกลับไปคิดถึงสาเหตุ กำลังอยู่ตรงนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็ไปคิดถึงสาเหตุอะไร
ผู้ฟัง เผื่อไว้จะได้ไม่ต้องคิดอีก
ท่านอาจารย์ ไม่มีทาง ตราบใดที่ยังไม่มีปัญญาที่สมบูรณ์ ยังกลัว คนที่ศึกษาปรมัตถธรรม กลัวผีมาก อาจจะบอกว่าไม่กลัว แต่เวลาที่มีอะไรแว่วๆ แต่ต้องเป็นคนที่มีความเห็นถูก แล้วก็มีปัญญาจริงๆ หวาดๆ ก็ได้ถ้าบอกว่าไม่กลัว อยู่ในห้องคนเดียวเสียงอะไร นึกถึงแล้ว นึกถึงอะไร นึกถึงผี ซึ่งความจริงขณะนั้น สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมเป็นที่พึ่ง เป็นเกราะ เป็นสรณะ ทำให้ปัญญาสามารถที่จะรู้ความจริงได้
ผู้ฟัง ในขณะที่เป็นภวังคจิต เป็นจิตที่รักษา และดำรงภพชาติ ผู้อื่นบอกว่าไม่ใช่เฉพาะ ภวังคจิตเท่านั้นที่รักษาดำรงภพชาติ จิตอื่นก็รักษาดำรงภพชาติด้วย เช่น วิถีจิตอะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ จิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ หรือว่าหลายขณะ
ผู้ฟัง ทีละหนึ่งขณะ
ท่านอาจารย์ จิตแต่ละขณะ มีหน้าที่เฉพาะของจิตนั้นๆ หรือเปล่า จิตขณะหนึ่งทำหน้าที่ ๒ อย่างได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ จิตเกิดขึ้น ขณะหนึ่ง ทำหน้าที่กี่หน้าที่
ผู้ฟัง ก็หน้าที่เดียว
ท่านอาจารย์ เฉพาะหน้าที่นั้นๆ ของจิตนั้นๆ จิตเห็นทำหน้าที่อะไร
ผู้ฟัง ทำหน้าที่เห็น
ท่านอาจารย์ ทำหน้าที่อื่นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ปฏิสนธิของชาตินี้ มีอารมณ์เดียวกับภวังคจิตของชาตินี้ มีอารมณ์เดียวกับจุติจิตของชาตินี้ แต่ว่ากรรมที่จะทำให้เกิดต่อไปในชาติหน้า เป็นปัจจัยที่จะทำให้ จิตก่อนจุติ เศร้าหมองหรือผ่องใส่ ตามอารมณ์ที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตก็มีอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จุติ ของชาติก่อน เข้าใจความหมาย ของคำว่า ปฏิสนธิ จุติๆ คือสิ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้โดยสิ้นเชิง จิตนี้เป็นจิตที่ทำกิจเคลื่อน พ้นสภาพความเป็นบุคคลนี้ เมื่อจุติจิตเกิดแล้วดับ จะกลับมาเป็นบุคคลนี้อีกไม่ได้เลย ด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ต้องเป็นบุคคลใหม่โดยกรรม ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด เป็นชนักกรรม เพราะฉะนั้น ก็มีอารมณ์เดียวกับใกล้จุติจิตของชาติก่อน เพราะว่ากรรมที่จะเป็ชนักกรรม จะทำให้อารมณ์ปรากฏ แล้วจิตของบุคคลนั้นจะเศร้าหมอง หรือผ่องใส ก็ตามกรรม ที่เราสะสมมา เป็นปัจจัยที่จะให้เป็นกุศล หรืออกุศล
ผู้ฟัง อันนี้หนูเข้าใจ ขอบคุณท่านอาจารย์ มาก
ผู้ฟัง คนที่ท่านถามเมื่อเช้านี้ก็ คือยังไม่สามารถที่จะไปถึงขั้นนั้นได้ ว่าเราจะเห็นทุกอย่างไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ บุคคล อาจจะเป็นช่วงแป็บเดียว หรืออะไรอย่างนี้ แต่โดยปกติ ก็ยังคิดว่าเป็นเราอยู่ อะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องกังวลเลยเรื่องนั้น ค่อยๆ อบรมเจริญปัญญา คือความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง คือว่าจะย้ำ คำอาจารย์ เสมอว่า ต้องหนักแน่น เพราะมีศรัทธาที่มั่นคง พยายามที่ศึกษาไป ตรงนี้
ท่านอาจารย์ มีสภาพธรรม เป็นเครื่องยืนยัน เพราะว่าขณะนี้ สภาพธรรมกำลังปรากฏ หนีไม่ได้เลย ถ้ามีความเข้าใจถูกว่าเป็น ธรรมแล้ว จะหนีจากธรรมไม่พ้น เพราะว่าเป็นธรรมที่มีปัจจัยเกิดแล้วปรากฏทั้งนั้น เมื่อเป็นสภาพธรรม ที่มีจริง ก็เป็นผู้ที่จะปลงว่า ความรู้ในลักษณะของสภาพธรรม นั้นแค่ไหน ถ้ายังไม่รู้ก็คือไม่รู้ แล้วจะจะอบรมให้รู้อย่างไร ก็มีหนทาง ก็ค่อยๆ อบรมไป เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง คำว่า สัปปายะ นี้หมายความว่า เป็นที่ที่เราน่าจะปฏิบัติธรรมได้สบาย ใช่ไหม หรืออย่างไร คำว่า สัปปายะ
ท่านอาจารย์ ธรรมเป็นเรื่องละเอียดจริงๆ ถ้าเราอ่านเผิน ทุกคนง่ายที่จะเข้าใจว่า สัปาายะ หมายความว่าสะดวก สบาย แล้วก็ยิ่งแสดงว่าสัปปายะ มีอะไรบ้าง อาหารสัปปายะ อุตุ หรืออะไรพวกนี้ ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่เหมือนกับว่า เราต้องการ แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าพิจารณาธรรมให้ละเอียด ให้ลึกซึ้งจริงๆ การทรงแสดงธรรมทั้งหมด เพื่อละ อันนี้ลืมไม่ได้ เลย พอเราเริ่มจะติด คือเริ่มจะหาสัปปายะ ความรู้ของเรามีพอหรือเปล่า หรือว่าพระธรรมที่ทรงแสดงทั้งหมด ทรงแสดง ความเป็นสัปปายะในตัว โดยเราไม่ต้องไปหา ไม่อย่างนั้น คนที่ไม่หาสัปปายะ อย่างคนที่กำลังป่วยเจ็บ สติก็เกิดไม่ได้ อาหารไม่ถูกปากก็เกิดไม่ได้ อะไรๆ ก็เกิดไม่ได้ทั้งนั้น แต่ไม่ได้ทรงแสดงไว้อย่างนั้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของทาน ในเรื่องของศีล ในทุกเรื่องแสดงถึงเหตุผล ว่าสิ่งใดเป็นเหตุที่จะให้ผลอย่างนั้นเกิด แต่ทีนี้ความเป็นเรามีมาก เพราะฉะนั้น ความเป็นเราต้องการ พอเห็นอะไรที่จะช่วยเกื้อกูลให้เราดีอย่างนั้น ให้เราดีอย่างนี้ ให้สติเราเกิดมากๆ ให้ปัญญาเรามากมาย เราก็เหมือนกับทำ หรือหาทันที แต่ไม่รู้ว่าขณะนั้นโลภะอยู่ตรงไหน แต่ว่าถ้าศึกษาพระธรรมโดยความไม่ประมาท และละเอียด ก็จะรู้ว่าพระธรรม เพื่อละ แม้ว่าสิ่งนี้จะเกิด เพราะสัปปายะอย่างนี้ก็ยังต้องละ เพื่อที่ว่าเวลาที่มีปัจจัยที่สภาพธรรมอื่นจะเกิดขึ้นปรากฏ ต้องไม่ใช่ เรา ต้องไม่มีความเห็นผิดว่าเป็นเราด้วย ใน สัปปายะสูตร แสดงเรื่องการเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรม เป็นสัปปายะ เราไม่ควรจะอ่านเพียงสูตรเดียว แต่ว่าจริง ที่ว่าทรงแสดงสัปปายะ ที่ว่าอาหารก็เป็นสัปปายะได้ บุคคลก็เป็นสัปปายะได้ ทุกอย่างเป็นสัปปายะได้ แต่ต้องด้วยการพิจารณา ว่าความจริงเป็นอย่างนั้นแต่ไม่ใช่ให้เราติด หรือต้องการอย่างนั้น เพียงให้เห็นความถูกต้องความจริงว่า ความจริง คืออย่างนั้นแต่ไม่ใช่ติด และแสวงหา ด้วยโลภะ เพราะว่าโลภะ จะเข้ามาทันที เราจะมองไม่เห็นโลภะ ซึ่งเป็นสมุหทัย ซึ่งจะต้องละ ไม่อย่างนั้นเราก็ไม่มีทางออกจาก สังสารวัฏฏ์เลย เพราะว่าเขาทำให้เราต้องการ ขณะใดที่ต้องการ ไม่ใช่เรื่องละ แต่เข้าใจได้
ผู้ฟัง ผมมีความ รู้สึกว่า คนที่ไปปฏิบัติธรรม คล้ายๆ ว่าต้องไปอยู่ในที่ๆ มันมีสัปปายะ คือที่มันสงบ ที่มันเงียบ ที่มันง่ายๆ ผมนึกว่าอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้นพระเจ้าสุทโธทนะ ก็ไม่มีโอกาส จะได้เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอรหันต์ ท่านไม่ได้ออกไปไหนเลย พระเจ้าสุทโธทนะไม่ได้ออกไปไหน คือต้องประกอบกันหมดทุกอย่าง แต่ข้อสำคัญที่สุด คือเพื่อละ มีอะไรที่เราจะติด เรารู้เลยว่าขณะนั้น ผิด หลงทาง เลยทันที ถูกโลภะครอบงำ โดยไม่รู้ตัวเลย เราอยู่ใต้อำนาจโลภะมานาน เขาครอบงำตลอดไม่ว่าจะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน คือมีเรา แล้วก็มีเราต้องการทุกอย่าง เพื่อเรา กลัวอบาย ก็เพราะเหตุว่ามีเรา ตัวเราไม่อยากจะเกิดในอบาย กลัวลำบากก็เพื่อเรา อยากมีปัญญา ก็เพื่อเรา ทุกอย่างเพื่อเราหมด แต่ว่าพระธรรมจริงๆ ละเอียด เพื่อละ เพราะฉะนั้น ถ้าจะติด อะไรให้รู้เลย นั่นไม่ใช่ คำสอนที่ถูกต้อง ทรงแสดง แต่ไม่ใช่ให้เราต้องการ เหมือนอย่างทานกุศล เป็นกุศล นำมาซึ่งผลที่ดี แต่ไม่ใช่ให้เราติดในผล หรือต้องการให้เรามีทานกุศล แต่กุศลเกิด เพราะมีเหตุปัจจัย เป็นเรื่องที่จะละคลายอกุศล
ผู้ฟัง ถ้าเผื่อเราอยู่ในสภาวะที่มันไม่สัปปายะ ไม่อนุโลมให้ สภาวะที่ต้องหาเลี้ยงชีพ สภาวะที่จะต้องทำมาหากิน ที่จะต้องดิ้นรนอยู่อย่างนี้ ถ้าเผื่อว่าไม่หนีออกไปจากสภาวะแบบนี้ ผมก็นึกว่าสัปปายะมันไม่อำนวย นี้คือความเข้าใจผม
ท่านอาจารย์ ใครหนี
ผู้ฟัง ตัวเราเอง
ท่านอาจารย์ หนีไปเพื่อใคร
ผู้ฟัง หนีไปเพื่อให้มันเหมาะสมที่จะประพฤติปฏิบัติธรรม
ท่านอาจารย์ ก็ไม่พ้นเราทั้งหมดเลย โดยวิธีนั้นไม่พ้นเราทั้งหมดเลย ไม่เห็นโลภะ เพราะฉะนั้น ก็ละสมุหทัยไม่ได้ เพราะไม่เห็น
ผู้ฟัง ก็การละไปเพื่อจะหาที่ๆ มันจะละได้ง่ายขึ้น ไม่ได้หรือ
ท่านอาจารย์ ด้วยความหวัง แต่ไม่ใช่โดยอัธยาศัย ถ้าโดยอัธยาศัย ต่างกับด้วยความหวัง เป็นอัธยาศัย แท้ๆ แต่ละคนที่เกิดมา ทุกขณะจิต ถ้าเข้าใจจริงๆ จะรู้ได้เลยว่าไม่มีใครสามารถที่จะทำให้จิต สักขณะหนึ่งเกิดขึ้นได้ เห็นความเป็นอนัตตาแท้ๆ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ทำไมมีพระสูตรที่ทรงแสดงว่า ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนทุกลมหายใจเข้าออก คือ ระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่ ไม่เลือกว่าจะต้องเป็นที่นั่น หรือตรงนี้ ถ้าอย่างนั้น ขณะนี้สติปัฏฐานก็ไม่เกิด ถ้าเราเข้าใจว่าเราต้องหนีไป ขณะที่กำลังรับประทานอาหารรสอร่อย ก็ต้องหนีไปอีก นี่ก็เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจจริงๆ ว่า ทุกขณะ เมื่อปัญญาเกิด ขณะนั้นจะไม่มีโลภะ แต่ถ้าขณะใดที่ไม่มีปัญญา ขณะนั้นก็เป็นไปด้วยโลภะ หลงทางอยู่อย่างนี้ในสังสารวัฏฏ์ ด้วยความเป็นเรา ด้วยความต้องการเพื่อตัวเรา แต่แทนที่เราจะคิดอย่างนั้น ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่าขณะนี้เป็นธรรม มีความมั่นคงที่จะรู้ว่า ผู้ที่อบรมเจริญปัญญาสามารถที่จะรู้ความจริง เพราะว่าขณะนี้ แป็น ธรรมจริงๆ เกิดจริงๆ ดับจริงๆ แต่ต้องอบรม ด้วยการละ ไม่ใช่ด้วยการต้องการ ถ้าด้วยความต้องการจะปิดบังหมดเลย ไม่มีทางเลยที่จะรู้สภาพธรรม
ผู้ฟัง คำว่า ละ ของผม หมายความว่า ละ ออกจากสุขทั้งหลายที่มีอยู่เดี๋ยวนี้ออกไป อย่างนี้เรียกว่า ละ ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ นั่นละด้วยความต้องการ เพื่อเรา เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ละ เพื่อตัวเราต่างหาก จะละได้อย่างไร แต่ขณะนี้ ถ้าสติเกิด สติเกิดได้ แน่นอน มีปัจจัยที่สติจะเกิดระลึก ขณะนั้นละความไม่รู้ ละความต้องการที่จะไป ไม่ต้องไปไหน ขณะนี้เป็นสภาพธรรม ถ้ารู้จริงๆ ว่าทุกขณะเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยจริงๆ เราจะรู้จักตัวเรา แต่ขณะนี้เราไม่รู้แต่มีโลภะที่ต้องการ ที่จะให้ตัวเราเป็นอย่างนี้ ต้องการให้ตัวเราเป็นอย่างนั้น ต้องการให้มีปัญญาอย่างโน้น ที่โน่น แต่ไม่ใช่ขณะที่สภาพธรรม กำลังเกิดดับอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้น เรื่องของปัญญา เรื่องของมรรคมีองค์ ๘ เรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง ที่จะต้องเห็นจริงๆ ว่าโลภะ ละโลภะ คือโลภะที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด ความเข้าใจผิด ในสภาพธรรม หรือในหนทางที่จะทำให้ปัญญาเจริญขึ้น อันนี้จะต้องละความเห็นผิด ถ้าไม่ละความเห็นผิด เราก็ไป ไปแล้วก็ทำ ทำแล้วก็เหนื่อยๆ แล้วก็ไม่ได้อะไรแล้วก็กลับมา แล้วก็หวังอีก ไปด้วยความหวังอีก ก็ไปนั่งทำจนเหนื่อย ก็ไม่ได้อะไรแล้วก็กลับมา ก็เหนื่อยไป เหนื่อยมาอยู่อย่างนี้
ผู้ฟัง ผมก็รู้สึกอย่างนั้น คือผมก็ไปแสวงหา มาหลายแห่ง แต่ว่า
ท่านอาจารย์ เวลาที่คุณเด่นพงษ์ เหนื่อย คุณเด่นพงษ์ไม่ทราบว่า เหนื่อยเพราะโลภะ เพราะความต้องการ
ผู้ฟัง มันยังไม่รู้สิ
ท่านอาจารย์ นั่นสิ เพราะฉะนั้น ต้องเห็นตัวนี้
ผู้ฟัง มันถึงได้ลำบาก มันยังไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ยังมีตัวกับโลภะที่ทำให้เหนื่อย เพราะหวังผล เมื่อไม่ได้ผลก็เหนื่อย มานั่งที่นี่ตั้งนาน ตั้งแต่เช้า เหนื่อยแล้ว ไม่ได้ผลอะไรเลย
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ผมก็ยังมีความรู้สึก ขัดแย้งกันอยู่ในใจว่า เรามาถึงขนาดนี้เราก็อยากเรียนอยากรู้ อยากให้รู้จักให้ซาบซึ้งให้สามารถที่จะพิจารณาธรรมได้ถูกต้อง ยิ่งขึ้น
ท่านอาจารย์ นี้คือความเป็นเรา
ผู้ฟัง ก็อีกหรือ
ท่านอาจารย์ แน่นอน ตัวตนทั้งนั้นเลย ตราบใดที่สติปัฏฐานยังไม่เกิด ยังไม่เกิด ยังไม่เจริญ ไม่มีหนทางที่จะละ ความเป็นตัวตน ให้ทราบว่าลึกขนาดไหน
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น ผมควรจะทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ สบายๆ เข้าใจธรรม
ผู้ฟัง สบายๆ เวลาฟังก็ตามเขาไม่ทัน เราก็ไม่สบาย
ท่านอาจารย์ ฟังให้เข้าใจ ใครจะไปไหน ไม่สนใจ ทุกข์ทั้งหลายมีโลภะเป็นเหตุ แม้แต่ความไม่สบายใจก็เพราะโลภะ แต่ถ้าเราเรียนเพื่อเข้าใจสบายมากเลย ใครจะไปไหนก็ไป เกิดคนเดียว เข้าใจคนเดียว ขณะนี้เริ่มเข้าใจขึ้น พอแล้ว เข้าใจอีก ขณะนั้นก็พอแล้ว เพราะว่าจะทำให้เข้าใจขณะต่อไปได้เพิ่มขึ้น เป็นหนทางเดียวที่จะละความเป็นตัวตน ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าไม่มีความเข้าใจ เราจะทำอย่างไร แม้แต่เราจะฟัง ก็ฟังด้วยความเหน็ดเหนื่อย หรือความหนัก เพราะว่าเรามีความต้องการ แล้วก็เวลาคนที่เขามีความต้องการ แล้วเขาไปจ้อง แล้วเขาคิดว่าเขาปฏิบัติ เขาจะไม่รู้เลยว่าหนักแค่ไหน ต่อเมื่อใด ไม่มีความต้องการ เป็นอิสระจากโลภะ เบา สบาย เมื่อนั้นสัมมาสติก็จะเกิดระลึก เป็นปกติตามธรรมชาติ แล้วก็ไม่หวัง เพราะเหตุว่า ถ้าปัญญาเกิด ไม่ใช่ลักษณะของโลภะ ตรงกันข้ามเลย โลภะติดข้องในทุกอย่างแม้แต่อยากมีปัญญา แต่สิ่งที่โลภะจะติดข้องไม่ได้ คือโลกุตตรธรรม
ผู้ฟัง อย่างเห็นหน้าต่างเป็นหน้าต่างอยู่ ก็พยายาม ที่จะดูไม่ให้มันเป็นหน้าต่าง
ท่านอาจารย์ นี่คือตัวตน ไม่ใช่เป็นการอบรมเจริญปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ นี้ต่างกันมาก การที่จะอบรมความรู้ความเข้าใจ ก็จะมีความเข้าใจถูก ความเห็นถูกเพิ่มขึ้น นี้คือจุดประสงค์ ภาษาบาลีใช้คำว่า ปัญญา แต่ภาษาไทยเราใช้คำว่าเข้าใจ ให้รู้จริงๆ ว่า ถ้าไม่เข้าใจแล้วจะเป็นปัญญาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะฟัง ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ถ้าเข้าใจแล้ว ความเข้าใจถูกจะพาไปถูกตลอดทาง แม้แต่สัมมาสติก็จะเกิด เพราะความเข้าใจถูก แต่ถ้าเรามุ่งจะทำ ไม่ได้มุ่งที่จะเข้าใจให้ถูกต้อง เราก็จะเข้าใจถูกไม่ได้เลย เพราะเรามัวจะไปทำ ต้องไม่ทำ ทุกอย่างเป็นธรรม ซึ่งเราจะต้องค่อยๆ เข้าใจลึกขึ้น ละเอียดขึ้น เช่น สักแต่ว่าเห็น เคยไหม ในวันหนึ่งๆ ทำไมจะไม่มี มี ใช่ไหม แต่ไม่ใช่ปัญญา
ผู้ฟัง แต่อันนั้นไม่ใช่ปัญญาแน่ ไม่ใช่สติปัฏฐานแน่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้ ถึงความต่างกันว่า แม้แต่พยัญชนะที่ว่าเห็นสักแต่ว่าเห็น แท้จริงคืออะไร ไม่ใช่ให้เราไปทำเหมือนที่บางครั้ง เราก็สักแต่ว่า แล้วก็ทำอย่างนั้นไปทั้งวัน ไม่ใช่แน่นอน นั่นไม่ใช่ปัญญาแน่นอน เพราะฉะนั้น สักแต่ว่าเห็นที่นี่ จะต้องมีความหมาย ว่าเป็นปัญญาที่สามารถจะรู้ความจริง แล้วมีความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่เห็นแล้วในสิ่งที่ปรากฏ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 500
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 502
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 504
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 507
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 510
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 511
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 513
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 514
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 516
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 517
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 518
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 519
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 520
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 521
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 523
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 524
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 525
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 526
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 527
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 528
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 529
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 530
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 532
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 533
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 534
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 536
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 538
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 539
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 540