ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
ตอนที่ ๕๓๕
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๓
ท่านอาจารย์ ถ้าสภาพธรรมไม่ปรากฏ แล้วจะรู้อะไร ปัญญาจะรู้อะไร จะไปรู้สิ่งที่ไม่ปรากฏได้หรือ อย่างนั้นจะเป็นปัญญาหรือ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่ไปติดอยู่ที่คำ แล้วก็คิดว่าไม่เห็นบอกว่า ให้รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วความหมาย ให้รู้อะไร ถ้าไม่รู้สิ่งที่ปรากฏแล้วจะรู้อะไร
ในวันนี้ก็จะขอต่อด้วยเรื่องของจิตที่เป็น อเหตุกจิต ฟังชื่อเป็นวิชาการ เพราะเหตุว่าได้ยินคำที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน อย่างจิต ก็เป็นคำที่ได้ยินได้ฟังแล้ว แต่จะมีคำว่า อะ-เห-ตุ-กะ ข้างหน้า ถ้าเราคุ้นเคยกับภาษไทย เราก็คงจะพอเข้าใจได้ว่า เหตุ ที่เราใช้ในภาษาไทย ก็คือคำนี้ที่มาจากภาษาบาลีว่า เห-ตุ อะ แปลว่า ไม่ เรากำลังจะพูดถึงจิตประเภทที่ไม่มีเหตุ ๖ คือ ไม่มีโลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ ไม่มีอโลภะ ไม่มีอโทสะ ไม่มีอโมหะ ซึ่งเป็นเหตุโดยตรง เป็นเจตสิก ๖ ดวงซึ่งเป็นเหตุ ฟังดูก็เริ่มจะเป็นวิชาการ แต่ความจริงก็ให้ทราบว่าในขณะนี้เอง เป็นอเหตุกจิต เริ่มใกล้เข้ามาที่สภาพธรรมที่ตัว มีจิตที่จะรู้ว่ามีจิตที่ยังไม่เป็นโลภะ ยังไม่เป็นโทสะ ยังไม่เป็นโมหะ ยังไม่เป็นกุศลด้วย อกุศลด้วย แต่จิตประเภทนี้มี เพราะฉะนั้น จิตประเภทนี้จะเป็นอะไร ในขณะนี้ ที่กำลังนั่งกันอยู่ทุกคน จิตประเภทนี้คือจิตที่เป็นผลของกรรม ทุกคนได้ยินคำว่า กรรม การกระทำซึ่งเป็นเหตุที่จะให้เกิดผล ซึ่งมีทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล เมื่อเหตุได้กระทำแล้วผลต้องมี
เพราะฉะนั้น ในชีวิตวันหนึ่งๆ เราอาจจะละเลย ไม่ทราบว่าขณะไหนเป็นผลของกรรม แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ถ้า เข้าใจเราจะรู้ได้เลยว่าที่เราพูดเรื่องผลของกรรม ผลของกรรม แท้ที่จริงคือในขณะไหนบ้าง ขณะที่มีจิตประเภทที่ยังไม่เป็น โลภะ โทสะ โมหะ หรือกุศล และอกุศลใดๆ เกิดขึ้นเช่นในขณะนี้ เพราะฉะนั้น ก็ให้ทราบว่า การที่เราจะได้ฟังเรื่องนี้ในวันนี้ คือจะได้ฟังเรื่อง ของจิตที่เป็นผลของกรรม แต่ว่าจิตที่เป็น อเหตุกจิต ก็ไม่ได้ มีแต่เฉพาะจิตที่เป็นผลของกรรมเท่านั้น ยังมีต่างออกไปอีก ซึ่งเป็นความละเอียด แต่เราจะค่อยๆ เริ่มศึกษาหรือว่ารับฟัง พิจารณาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏไปทีละเล็ก ทีละน้อย ไม่ใช่เพื่อเราจะได้ไปจบหรือว่ารู้เรื่องของ อเหตุก ในวันนี้ครบหมด ๑๘ ดวง ซึ่งจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าเป็นเพียงการจำชื่อได้ แต่ว่าจะเป็นประโยชน์มาก ถ้าแต่ก่อนนี้เราไม่เคยทราบว่า ผลของกรรมนั้นได้แก่ จิต เพราะว่าผู้กระทำกรรมก็คือ จิต และเจตสิก รูปทำกรรมไม่ได้เลย โต๊ะเก้าอี้ ทำกรรมอะไรไม่ได้ ต้องเป็น สภาพนามธรรม ที่เป็นจิต เจตสิก ซึ่งเป็นผู้กระทำกรรม แม้ดับไปแล้ว แต่ก็สะสมสืบต่อ ในจิตขณะต่อๆ ไป จนกระทั่งพร้อมด้วยเหตุปัจจัยที่จะให้จิตซึ่งเป็นผลของกรรมเกิดขึ้น จิตซึ่งเป็นผลของกรรมก็เกิด เป็นอเหตุกจิต ซึ่งความจริงผลของกรรมไม่ใช่มีแต่เฉพาะ อเหตุกจิต แต่ผลของกรรมที่เป็นอเหตุกะ มีทุกๆ วันในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราสามารถที่จะเข้าใจได้ ถ้าพูดถึงสติปัฏฐาน ทุกคนมีความหวังเกิดขึ้น เพราะว่าเป็นหนทางที่จะทำให้รู้แจ้งพระนิพพาน อยากจะออกจากสังสารวัฏฏ์กันโดยไม่รู้
การที่เราจะสามารถรู้ลักษณะของอริยสัจธรรมได้ ก็ต้องทราบก่อนว่า อริยสัจธรรม คือ ธรรมที่เป็นจริง มีจริงในขณะนี้ เพราะฉะนั้น ปัญญาจะต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนี้ก่อน ซึ่งขณะนี้เองไม่พ้นจาก อเหตุกจิตเลย เพราะฉะนั้น ก็ขอกล่าวนำนิดหน่อย คือ อเหตุกจิต ได้แก่ จิตที่กำลังเห็นในขณะนี้ มีไหม จิตนี้ กำลังเห็นอยู่ รูปไม่เห็น รูปเห็นอะไรไม่ได้ ขณะนี้ทุกคนกำลังมีจิตเห็น การฟังธรรมพิจารณาธรรมที่กำลังมีจริงๆ เพราะเหตุว่าปัญญาที่เกิดจากการฟัง ก็ฟังเรื่องสภาพธรรม ที่กำลังมีจริงในขณะนี้ ให้เข้าใจเสียก่อน แล้วก็สติปัฏฐาน จึงจะมีการระลึกถูกต้อง แล้วก็เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริงๆ ได้ถูกต้อง
ในขณะนี้จิตเห็น รูปไม่เห็น ขณะที่จิตเห็นเกิดขึ้น มีนามธรรม คือเจตสิกเกิดร่วมด้วย ที่กล่าวอย่างนี้เพื่อให้เห็นความไม่ใช่ตัวตน และไม่ใช่เรา เพราะว่าเราเห็นมานาน เห็นมาตลอดกี่แสนโกฏิกัปป์ กี่ชาติ แม้ในปัจจุบันชาตินี้ก็ต้องเห็น แล้วก็เห็นอีกแล้วก็เห็นต่อไป โดยไม่รู้ว่ากำลังเห็นขณะนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน
การศึกษาปริยัติ หรือการศึกษาเรื่องราวของสภาพธรรม ก็สอดคล้องกับการเจริญสติปัฏฐาน คือการอบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ซึ่งพระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ และทรงแสดงว่า เป็นอนัตตา คือไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน ทั้งๆ กำลังเห็นนี่ ก็ต้องฟังจนกระทั่งเข้าใจว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน เป็นธาตุ หรือ ธา-ตุ ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ และสิ่งที่กำลังปรากฏ โดยลักษณะจริงๆ ก็เป็นเพียงรูปชนิดหนึ่งที่ใช้คำว่ารูป เพราะเหตุว่าสภาพธรรมใดก็ตาม ที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย สภาพธรรมนั้นใครจะมองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตามแต่ สภาพที่ปรากฏให้รู้ โดยที่สภาพที่ปรากฏให้รู้นั้นไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย เป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังเห็น ขอให้ระลึกถึงความจริงว่า ทำไมมีสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าจิตไม่เกิดขึ้นรู้ แม้สิ่งที่กำลังปรากฏ นี้ก็มีอยู่แล้ว ข้างหลังก็มี ที่อื่นก็มี แต่ไม่ปรากฏกับจิตที่เกิดขึ้น และกำลังเห็น ที่กำลังเห็น ก็ยืนยันอยู่แล้ว
สิ่งที่ถูกเห็น เป็นสิ่งที่มีจริงๆ สิ่งที่มีจริงๆ มีลักษณะอย่างนี้ แค่นี้เอง คือเพียงปรากฏให้เห็นเท่านั้น นี่คือลักษณะที่แท้จริงของรูปธรรมที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น การศึกษามเรื่องเห็น ให้ทราบว่าขณะ ใดก็ตามที่มีการเห็นเป็นจิต เจตสิกเกิดขึ้นกำลังเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ ไม่ใช่เราไม่ใช่ตัวตน
ถ้ากล่าวโดยชาติ คือนามธรรมที่เกิด จิต เจตสิก ชา-ติ แปลว่าเกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด จะไม่เป็นไม่ได้ คือเป็นกุศล ก็เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ หรือเกิดขึ้นเป็น อกุศล ก็เปลี่ยนไม่ได้ ทั้งกุศล และอกุศลเป็นเหตุ แต่เมื่อเหตุมี จิตซึ่งเป็นวิบาก ต้องมี คือผลของกรรม หรือการกระทำ ต้องเป็นจิต และเจตสิกซึ่งเกิดเพราะจิตซึ่งเป็นกรรมที่ได้กระทำไว้ก่อนเป็นเหตุ
เพราะฉะนั้น ในขณะที่เห็น ขณะใด ให้ทราบเพิ่มเติมว่าเป็นวิบากจิต เป็นผลของกรรม ต่อไปนี้จะไม่มีการคิดว่าใครทำให้ อีกต่อไป กำลังเห็นเป็นวิบาก เป็นผลของกรรม กำลังได้ยินเป็นวิบากเป็นผลของกรรม กำลังได้กลิ่นเป็นวิบากเป็นผลของกรรม กำลังลิ้มรสเป็นวิบากเป็นผลของกรรม กำลังกระทบสัมผัสสิ่งหนึ่งสิ่งใดทางกายเป็นผลของกรรม
ใครทำให้เราเจ็บปวด หรือเปล่า ใครฆ่า ใครทำร้าย ใครเบียดเบียน ใครพูดคำไม่เพราะให้เราได้ยิน หรือให้เราโกรธ หรือเปล่า เป็นผลของกรรมของตนเองทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงควรที่จะได้ทราบว่า ไม่ใช่คนอื่นทำให้ แต่ว่าเป็นกรรมที่ได้กระทำแล้วนั่นเอง เป็นปัจจัยที่ทำให้จิตเห็นเกิดขึ้น ทำให้จิตได้ยินเกิดขึ้น ให้จิตได้กลิ่นเกิดขึ้น ให้จิตลิ้มรสเกิดขึ้น ให้จิตรู้สิ่งที่กระทบกายเกิดขึ้น ถ้าสิ่งที่เห็นเป็นสิ่งที่ดี เป็นผลของกุศลกรรม เพราะฉะนั้น จิตเห็นในขณะนั้นเป็นกุศลวิบาก ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดีก็เป็นอกุศลวิบาก ทางหูได้ยินเสียงไม่ดีเป็นอกุศลวิบาก ถ้าได้ยินเสียงที่ดีเป็นกุศลวิบาก รวมแล้ว ๕ ดวงแต่ว่ามี ๒ อย่าง คือกุศลวิบากอย่างหนึ่ง อกุศลวิบากอย่างหนึ่ง จึงรวมเป็น ๑๐ ดวง นี่คือ อเหตุกะ ซึ่งขณะนี้กำลังมี ถ้าปัญญาจะรู้ความจริงว่าไม่ใช่ เรา เป็นธรรม ก็คือ รู้ในขณะที่กำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น กำลังลิ้มรส กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสนั่นเอง
พระธรรมซึ่งเป็นปรมัตถธรรม จะมีความเข้าใจถูกต้องชัดเจนขึ้นว่า ปรมัตถธรรม ที่ทรงแสดง จากการตรัสรู้สภาพธรรม แต่ละหนึ่งอย่าง ตามความเป็นจริงไม่เปลี่ยน สภาพธรรมใดที่เป็นรูปธรรม ความหมายก็คือว่าสภาพธรรมนั้นเกิดขึ้น มีจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่สภาพที่รู้อะไรเลยทั้งสิ้น เช่น ลักษณะที่แข็ง ไม่สามารถที่จะเห็น ไม่สามารถที่จะคิด แข็งเป็นสิ่งที่มีจริง เป็นรูปชนิดหนึ่ง ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล แข็งมาก แข็งน้อย อ่อนนิ่มทุกอย่าง เป็นกุศลไม่ได้ เป็นอกุศลไม่ได้ เพราะเหตุว่ากุศล อกุศลต้องเป็นเหตุที่จะให้เกิดผล เช่น กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม ที่ได้กระทำ เป็นเหตุที่จะให้เกิดผล
เพราะฉะนั้น รูปต้องมีความเข้าใจอย่างถูกต้องจริงๆ ว่า สภาพธรรม ที่เป็นรูปธรรม เป็นสภาพธรรม ที่ไม่สามารถจะรู้อะไรเลย ในขณะนี้ที่กำลังเห็น หมายความว่ามีสิ่งที่ปรากฏให้เห็น แล้วเราไม่เคยพิจารณารู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏให้เห็นเลย ว่าสิ่งนี้กำลังปรากฏมีจริง เป็นธาตุ หรือเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปธรรม กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น เวลาที่เห็นสิ่งที่ปรากฏแล้ว เราไปนึกถึงรูปร่างสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ แล้วไปเข้าใจเอาว่าเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่เป็นสิ่งที่มีชีวิต แต่ความจริงสิ่งที่ปรกฏทางตาไม่มีชีวิต ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ เป็นเพียงสิ่งหนึ่ง ซึ่งสามารถกระทบกับจักขุปสาทแล้วปรากฏ เช่นในขณะนี้ เป็นสิ่งที่มีจริงๆ กำลังปรากฏ ถ้าไม่เข้าใจความจริง แค่นี้ ก็เจริญสติปัฏฐานไม่ได้ ไม่ใช่หนทางที่ว่าจะไปทำอะไร แล้วคิดว่า จะไปรู้อย่างอื่น แต่ว่าสติปัฏฐาน ต้องเป็นสติที่สามารถระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมจากการได้ยินได้ฟัง แล้วก็เข้าใจถูกต้อง ว่าสภาพที่กำลังปรากฏในขณะนี้ มีจริงๆ แล้วก็ปรากฏสั้นมาก
เพราะขณะนี้ เสียงปรากฏ ทันทีที่เสียงปรากฏกับจิตอีกหนึ่งขณะซึ่งไม่ใช่จิตเห็น นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา สั้นแค่ไหน เสียงที่ปรากฏทางหู สั้นแค่ไหน เพราะเหตุว่า จิตเป็นสภาพที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วก็เมื่อจิตเกิดต้องเป็น ธาตุรู้ หรือเป็นสภาพรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด เพราะฉะนั้น ตลอดชีวิตมาเขาใจว่าเห็นคนโน้น เห็นคนนี้ คิดเรื่องนั้น เรื่องนี้ กำลังเรียนที่โน่น ที่นี่ ทุกสิ่งทุกอย่างหมดเพราะจิตเกิด แล้วจิตก็จะรู้อารมณ์ คือสิ่งที่ถูกรู้ แล้วแต่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ สืบต่อกันจนไม่เห็น ว่าเป็น สภาพธรรม ที่เพียงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เช่น ทางตาในขณะนี้กำลังเกิดดับ แน่นอน จากการตรัสรู้ เพราะฉะนั้น ต้องฟังจนกว่าจะเข้าใจ ถ้ายังเห็นว่าเป็นคน เป็นหนังสือ เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่เกิดดับแน่เพราะว่าขณะนั้น ความเข้าใจว่าเป็นคน เกิดสืบต่อจิตเห็น แล้วจะเห็นการดับไปของจิตเห็นได้อย่างไร ในเมื่อมีการนึกคิดเรื่องราวสัณฐานของสิ่งที่ปรากฏ สืบต่อทันที ด้วยเหตุนี้เราจึงศึกษาพระธรรม ที่ทรงแสดงเรื่องของจิต เจตสิก รูป ปรมัตถธรรมที่มีจริงๆ จนกว่าจะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่เป็นสภาพธรรม แต่ละลักษณะ เช่น สิ่งที่ปรากฏทางตา ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็มี เห็นหรือไม่เห็น ใครจะนอนหลับ ในขณะนี้ สิ่งทางตาไม่ปรากฏ กับคนที่นอนหลับ แต่สีสันวัณณะที่ปรากฏ ทางตาก็มี ไม่ใช่ว่าไม่มี แต่ที่เห็น สิ่งที่ปรากฏ ทางตาว่า กำลังมี กำลังปรากฏในขณะนี้ เพราะมีจักขุปสาทรูป ซึ่งเป็นรูปพิเศษที่อยู่กลางตา ที่สามารถจะกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาในขณะนี้ แม้รูปนั้น ก็เป็นอนัตตา ทุกอย่างเป็นอนัตตา ในพระพุทธศาสนา จะไม่มีคำว่า อัตตาเลย รูปนั้นเกิดขึ้นเพราะกรรมเป็นปัจจัย ถ้ากรรมไม่ทำให้จักขุปสาทรูปเกิด ตาบอด ไม่สามารถจะเห็นสิ่งที่คนอื่นกำลังเห็นในขณะนี้ได้ เพราะฉะนั้น จะทราบได้จริงๆ การศึกษาเรื่องของกรรม และผลของกรรม เรื่องจิต เจตสิก รูป จะทำให้เห็นความเป็นอนัตตา และความละเอียดของปัจจัยที่ทำให้สภาพธรรม แต่ละขณะเกิดขึ้น ว่าสิ่งที่เราคิดว่าเป็นธรรมดาเกิดขึ้นมา เหมือนกับว่า ไม่มีเหตุปัจจัยอะไรเลย แต่แท้ที่จริง เพียงชั่วขณะสั้น แสนสั้นอย่างไร สภาพธรรม ทุกอย่างไม่เว้น คือจิต เจตสิก รูป ต้องมีปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้น ไม่มีสักอย่างเดียว ที่จะเกิดขึ้นได้ เองตามลำพัง ถ้าไม่รู้ก็คิดว่าเป็นอย่างนั้น แต่ถ้ารู้ก็จะเห็นว่า แม้เพียงขณะหนึ่ง ที่จิตเกิดขึ้นต้องมีจักขุปสาทรูป ซึ่งเกิดจากกรรมทำให้รูปนี้เกิดขึ้น ต้องมีสิ่งที่กระทบกับจิต ก่อนที่จะเห็น เพราะก่อนเห็น ก่อนจิตเห็นเกิด จิตเห็นไม่มี เพราะฉะนั้น ต้องกระทบกับจิตก่อนจิตเห็นสิ่งนั้น แล้วภายหลังจึงเป็นปัจจัยทำให้จิตเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วดับ ไม่ใช่ว่าจะมีจิตเห็น คอยอยู่ รออยู่ แต่ว่าทุกอย่าง รูปก็ตาม นามก็ตาม ต้องมีปัจจัยขณะนั้นปรุงแต่ง เกิดขึ้น เดี๋ยวนั้น แล้วก็ดับไป เช่น จิตได้ยิน มีโสตปสาท เสียงยังไม่ได้กระทบ จิตได้ยินก็เกิดไม่ได้ โสตปสาท เป็นสภาพที่สามารถกระทบกับเสียง โสตปสาทก็เป็นรูปที่มีกรรมเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เวลาที่เสียงกระทบกับจิต ก่อนจิตได้ยิน เพราะว่าจิตจะได้ยินทันทีไม่ได้ ต้องกระทบกับจิตก่อนได้ยิน เมื่อจิตก่อนได้ยินดับไป ก็ทำให้จิตได้ยินเกิดขึ้น ได้ยินเสียง ขณะนั้นเป็นผลของกรรม ที่กำลังได้ยิน แล้วดับ เสียงก็ดับ จิตก็ดับ สืบต่อกันรวดเร็วมาก จนกระทั่งไม่สามารถที่จะเห็นการเกิดดับ จนกว่าปัญญาที่เกิดจากการฟังแล้วเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่เพียงจำเรื่องราว แต่ต้องเข้าใจสภาพธรรม แต่ละอย่างมากขึ้น จนกระทั่งเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐาน สามารถที่จะระลึกลักษณะของสภาพของธรรมจนกระทั่งเข้าใจว่า ลักษณะนั้นเป็นธรรมอย่างหนึ่ง แต่ละอย่างจนกว่าจะทั่ว จนกว่าจะชิน จนกว่าจะคลายการที่เคยคิดยึดถือสภาพนั้นๆ ว่าเป็นตัวตน
ผู้ฟัง มีคำถามต่อเนื่องนิด คือ หมายความว่า สรุปแล้วที่เราเห็น เห็นแต่เพียง สี
ท่านอาจารย์ แน่นอน เป็น รูปธรรมด้วย
ผู้ฟัง จิตดับ รูปก็ดับ ทีนี้ความดับก่อน หรือหลัง รูปดับก่อนหรือว่าจิตดับก่อน
ท่านอาจารย์ เราไม่จำเป็นต้องคิด เพราะเราไม่สามารถที่จะรู้ว่ากำลังพูดถึงจิตอะไร ขณะนี้พูดถึงจิตเห็น หรือพูดถึงจิตก่อนจิตเห็น ที่ว่าก่อนรูป เพราะว่าก่อนที่รูปจะกระทบก็มีจิตเกิดดับอยู่แล้ว แล้วจะเอาจิตขณะไหนที่จะไปนับว่าก่อน นอกจากจะจงลงไปว่า จักขุวิญญาณจิตเห็น เกิดหลังจากที่รูปกระทบกับจักขุปสาท ถ้าเราฟังอย่างนี้เราก็เข้าใจได้ ไม่ต้องไปนั่งคิดอีกต่างหากว่า อะไรเกิดก่อน เพราะว่าจะต้องมีจิตที่เกิดก่อน รูปที่กระทบตา เป็นภวังค์อยู่ นี่เป็นเรื่องของความละเอียด ที่ต้องเข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้ว ปัญหานี้ไม่มี
ผู้ฟัง คนสวย เขาก็เป็นผลของกรรม หน้าตาสวย เป็นนางงาม ก็เป็นผลของกรรม อันนั้นถือว่าเป็น วิบากที่เป็นกัมมชรูป หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ถ้าพูดภาษาไทยเราใช้คำว่า วิบาก ใช้กันจนชิน แต่ถ้าเราจะตามภาษาบาลีซึ่งเป็นสากลของพระพุทธศาสนา ตัว บ. ใบไม้ไม่มี ใช่ไหม ต้องใช้ตัว ป. ปลา เพราะฉะนั้น ต้องเป็นคำว่า วิ-ปา-กะ แล้วต้องออกเสียง ข้างหลังด้วย เพราะเหตุว่าถ้าเราพูดกันเอง เราก็พูดภาษาไทย แบบบาลีง่ายๆ แต่ว่าความจริง ต้องเป็น วิ-ปา- กะ เพราะเหตุว่าขณะนี้ที่กำลังเห็น เป็นชีวิตปกติประจำวัน เราไม่มีทางที่จะรู้เลยว่า เห็นในขณะนี้เป็นผลของกรรมใด แสดงให้เห็นว่ามีกรรมมากมาย ให้ผลทางตาที่ทำให้จักขุวิญญาณจิตเกิดขึ้นเห็น ขณะที่ได้ยินเสียงก็เป็นผลของกรรมที่สุกงอม เพราะบางคนไม่น่าเลยที่จะได้ยินคำที่ไม่ไพเราะเลย กระด้าง หรือเป็นเสียงน่ารังเกียจ แต่ก็เกิดให้ได้ยินขึ้นมา คนนั้นก็ควรที่จะระลึกถึงกรรมในอดีต ที่ได้ทำแล้วว่าสุกงอมที่จะทำให้โสตวิญญาณจิตเกิด เพราะฉะนั้น แสดงว่าให้เห็นว่ากรรมในแสนโกฏิกัปป์ในสังสารวัฏฏ์มาก แต่กรรมใดที่สุกงอมเท่านั้น ที่เป็นปัจจัยทำให้วิบากจิตกำลังเกิดขึ้น ทางตาหรือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในขณะนี้ แล้วบางคนก็คิดว่า พอได้ลาภ หรือว่าเสื่อมลาภ หรือเกิดทุกข์ เจ็บไข้ได้ป่วย ก็มานั่ง คิดถึงเรื่องกรรม แต่ความจริงได้รับผลของกรรมตั้งแต่เกิด คือแม้ขณะแรกที่เกิดขึ้น ก็เป็นผลของกรรมหนึ่ง ซึ่งก็ต้องสุกงอมที่จะให้ผล มิฉะนั้นแล้วก็จะไม่ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น แสดงให้ทราบว่า วิปากจิต เจตสิกรวมอยู่ด้วย เวลาที่พูดถึงจิต ให้เข้าใจว่ารวมเจตสิกไว้ด้วย ต้องเป็นสภาพที่เป็นผลของกรรมที่สุกงอม แม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าชาติก่อน จะทำกรรมอะไรไว้ แต่ทุกขณะที่วิบากจิตเกิด เป็นการสุกงอมของกรรม ๑ ที่ให้ผล แล้วแต่ว่า จะเป็นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ต้องไปคิดเฉพาะเวลาที่เราเจ็บไข้ได้ป่วย หรือว่าได้ลาภเสื่อมลาภ แต่ให้ทราบว่า ไม่ว่าในขณะนี้เอง ก็เป็นผลของกรรมที่สุกงอม ที่ทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเห็น หรือทำให้โสตวิญญาณ จิตได้ยินขณะนี้เกิดขึ้น
ผู้ฟัง ขณะที่เราจะได้ฟังธรรมนี้ ก็แสดงว่าสุกงอมแล้ว
ท่านอาจารย์ ทุกขณะที่วิบากจิตเกิด แยกเป็นขณะๆ เลย เพราะว่าจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่งขณะ เราศึกษาธรรมที่เป็นอภิธรรม เราจะพูดรวมไม่ได้ ต้องแยกออกเป็นทีละหนึ่งขณะจิต เพราะฉะนั้น จิตจะต้องมีชาติ คือชา-ติ เกิดขึ้นเป็นวิบากแล้วก็ดับ แล้วหลังจากนั้นจะเป็นกุศล หรืออกุศลก็เป็นขณะที่ไม่รวมกับขณะที่เป็นวิบาก
ผู้ฟัง คำถามที่จะกราบเรียนท่านอาจารย์ ในส่วนของ อเหตุกจิต ที่เรากำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้ มองดูแล้วก็เป็นลักษณะของเป็นผลของ กรรมที่ได้ผ่านไปแล้ว ที่ไม่สามารถจะแก้ไขอะไรได้เลย ทำไมเราถึงจะสนใจที่จะต้องศึกษา อเหตุกจิต แทนที่เราจะสนใจทางเรื่องของกุศลจิต หรือ อกุศลจิตมากกว่า
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีการเห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึกเป็นกุศลอย่างเดียว หรือเป็นอกุศลเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น ก็ต้องทราบด้วย ธรรมไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย แม้แต่ที่จะเห็น หรือที่จะได้ยิน เมื่อคืนนี้ไม่ทราบใครนอนหลับ ดึกหรือเปล่า หรือบางคนก็อาจอยากจะหลับ แต่หลับไม่ได้ ตราบใดที่กรรมยังจะทำให้เห็น หรือจะทำให้ได้ยิน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 500
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 502
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 504
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 507
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 510
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 511
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 513
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 514
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 516
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 517
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 518
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 519
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 520
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 521
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 523
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 524
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 525
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 526
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 527
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 528
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 529
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 530
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 532
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 533
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 534
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 536
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 538
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 539
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 540