ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
ตอนที่ ๔๘๖
สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย
พ.ศ. ๒๕๔๓
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สักแต่ว่าเห็นที่นี่ จะต้องมีความหมาย ว่าเป็นปัญญาที่สามารถจะรู้ความจริง แล้วมีความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่เห็นแล้วในสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น คำพูดๆ ได้เราจะพูดอย่างไรก็พูดได้ แต่ความรู้จริงๆ ระดับไหน อย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมว่าทุกอย่างเป็นอนัตตา คนสมัยโน้นก็พูด แต่ว่าระดับปัญญาของคนสมัยโน้น พระอรหันต์ก็มี พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบันก็มี แล้วคนสมัยนี้ก็จะพูดตามว่าเห็นสักแต่ว่าเห็น คำเดียวกันทุกอย่างแต่ปัญญาต่างกัน เพราะฉะนั้น แม้แต่คำเดียวเราก็ต้องรู้ เข้าใจให้ถูกต้องว่า ปัญญาแท้จริงรู้อะไร รู้แค่ไหน รู้อย่างไร ไม่ใช่พอบอกอย่างนี้ก็สอนให้ทุกคน สักแต่ว่าเห็น อย่างนั้นไม่ได้เลย
ผู้ฟัง ผมเห็นเด็กรุ่นใหม่นี้ เขาจะอ่านหนังสือสอบ เขาเปิดเพลงดังท่วมห้อง แต่เขาก็อ่านหนังสือได้ ไปสอบได้ ผมทำไม่ได้ เขาเรียกว่าสักแต่ว่าได้ยิน ทำไม่ได้ หรือเปล่า ไม่ทราบ แต่เด็กมันสักแต่ว่าได้ยินได้ แต่ว่ามันอ่านหนังสือ รู้เรื่อง
ท่านอาจารย์ ความจริง เขาได้ยินทั้ง ๒ อย่าง ไม่อย่างนั้นเขาไม่เปิด เพลง
ผู้ฟัง ได้ยิน แต่ว่าสักแต่ว่าได้ยิน
ท่านอาจารย์ บางที่เขาก็พอใจด้วย
ผู้ฟัง แต่ของผมฟังแล้ว ตามทุกทีเลย
ท่านอาจารย์ ของเขา ไม่มีเพลง เขาอาจจะอ่านหนังสือไม่ได้ เพราะฉะนั้น แสดงให้เห็นว่าการสะสมแต่ละอย่างต่างกัน แต่ความจริง ก็คือสภาพธรรม ซึ่งถ้ายิ่งเราศึกษามากเท่าไร ยิ่งเห็นความเป็นธรรมเป็น อนัตตา ไม่ต้องไปคิดเรื่องทำอีกต่อไป เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาไปเรื่อยๆ ไปเรื่อยๆ หมายความว่า เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้นจริงๆ ใครก็ยับยั้งไม่ให้สัมมาสติเกิดไม่ได้ เหมือนเวลานี้ ที่ได้ยินเสียง มีปัจจัยพร้อมที่จะได้ยินก็ได้ยิน เพราะฉะนั้น ถ้ามีปัจจัยพร้อมที่สัมมาสติจะเกิด สัมมาสติก็เกิด จะไม่ให้เกิดก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราก็อบรมมเจริญเหตุ คือสะสมความเข้าใจไปเรื่อยๆ ไม่มีเราที่จะทำ ถ้ามีเราที่จะทำ ก็คือหลงทาง ทุกอย่างเป็นไปตามเหตุ เพราะฉะนั้น การที่ทรงแสดงสัปปายะก็คือทรงแสดง เหตุที่เป็นสัปปายะที่สิ่งนั้น จะเกิดขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าให้ไปติด ด้วยความต้องการที่จะไปแสวงหาสัปปายะนั้น เพื่อเหตุนั้น แต่ทรงแสดงทุกอย่างแม้แต่เรื่อง ของทาน ก็ทรงแสดงไว้ว่าทานอย่างไรมีผลมาก ทานอย่างไรมีผลน้อย แต่ไม่ใช่ให้ไปติดที่ผลของทานมาก แล้วก็จะไม่ทำอื่น เช่น สังฆทาน ก็มีผลมาก เพราะอะไร เพราะจิตขณะนั้นผ่องใส ไม่ติดข้องว่าผู้รับจะเป็นใคร เป็นไปเพื่อประโยชน์โดยแท้จริง น้อมระลึกถึงคุณของพระอริยเจ้า ขณะนั้นโดยสภาพของความเป็นจริงก็คือจิตผ่องใส เพราะฉะนั้น ผลเป็นอย่างไร ทรงแสดงทุกอย่างตามเหตุตามผลแต่ไม่ให้ติด เพราะว่าธรรมทั้งหมด เพื่อละ ฉันใด เรื่องสัปปายะก็ฉันนั้น แสดงให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ขณะนี้ที่เรากำลังสนทนาธรรมเป็นสัปปายะของสติที่จะระลึกได้ ถ้ามีปัจจัยพอที่สติจะเกิด แต่ไม่ใช่ หมายความว่าเรามาเพื่อหวังจะสนทนา แล้วก็คอยให้สติปัฏฐาน เกิด ด้วยความต้องการ ด้วยความเป็นตัวตน เพราะฉะนั้น ต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้อง ถ้าไม่มีการพิจารณาว่า เพื่อละทุกอย่าง เราจะต้องเป็นทาสของโลภะ เพราะว่าเราไม่ได้เขาใจเลยว่าทรงแสดงตามความเป็นจริง เพื่อให้เห็นถูกเพื่อละ แล้วก็มีตัวอย่างมากมาย อย่างพระเจ้าสุทโธทนะก็ไม่ใช่ต้องไปหาสัปปายะที่ไหน เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า ทรงแสดงทุกอย่างตามความเป็นจริง ถ้าเราอยู่คนเดียว บางครั้งบางขณะสติจะเกิดมาก เราติดหรือเปล่า ต้องมาแล้ว ต้องรู้แล้ว มีความติดแม้เพียงเล็กน้อย นั่นคือโลภะแล้ว เราไม่มีทางที่จะไปรอด แต่ถ้ามีปัญญารู้ว่าขณะนั้น เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ขณะที่ดูโทรทัศน์ สติเกิดไหม ไม่เกิด ก็คือไม่เกิด ถ้าเกิดก็คือสามารถจะระลึกได้ เพราะว่าขณะนั้นก็คือเหมือนเดี๋ยวนี้ นี่คือโทรทัศน์จอใหญ่ ไปที่ไหนก็คือโทรทัศน์จอใหญ่ทั้งนั้น ไม่ใช่ไปจำกัดขอบเขตเฉพาะในจอสี่เหลี่ยมกว้างยาวแค่นั้นว่า เป็นโทรทัศน์ เพราะฉะนั้น ปัญญาจริงๆ สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรม ถูกต้อง ตามความเป็นจริงไม่ได้หมายความว่าทรงแสดงอย่างนี้เพื่อให้เราหวัง เพื่อให้เราติด เราเองก็เป็นผู้ที่พิจารณาแล้วเห็น โลภะ ด้วยปัญญา จึงสามารถที่จะละได้ เพราะว่าหนทางนี้เป็นหนทางละโดยตลอด ละตั้งแต่ขั้นเริ่มฟัง ละความไม่รู้ ละความเข้าใจผิด ละความต้องการ เพราะว่าจริงๆ แล้ว ศึกษาเพื่อเข้าใจสภาพธรรม นี่เป็นตัวปัญญา อย่างการมาที่นี่ ถ้าเข้าใจถูก ก็รู้ว่าเป็นสัปปายะ ไม่ใช่มาแสวงหาความต้องการ
ผู้ฟัง รู้สึกว่าที่มาที่นี่ก็แสดงว่ามาหาสัปปายะ ที่เหมาะสมกับการ
ท่านอาจารย์ นั้นคือหวัง หรือว่าเข้าใจ แล้วก็แล้วแต่ เราจะอยู่ที่ไหน เราก็สามารถจะเข้าใจได้ เป็นสัปปายะทั้งนั้น เพราะที่ไหนก็เกิดดับ แสดงไว้เลยใน สัปปายะสูตร ความไม่เที่ยง ความเกิดขึ้น และดับไปของสภาพธรรม เป็นสัปปายะ
ผู้ฟัง อย่างนั้น พวกที่เป็น อยู่ในพระไตรปิฎก ที่บอกว่า อยากออกบวช อยากโกนหัวออกไปอยู่ป่า อยู่วัด เขาก็แสวงหาสัปปายะเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ เป็นอัธยาศัยของบุคคลที่สะสมมา พุทธบริษัทมีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ท่านอาจารย์ อุบาสก อุบาสิกา อยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง อยู่บ้าน
ท่านอาจารย์ ทำไมไม่บวช ก็ทรงแสดงธรรมแล้ว
ผู้ฟัง คนที่อยากออกบวชนี้ ทำไมถึงตีโพยตีพายว่าต้องโกนหัว ต้องออกบวช จับให้แต่งานก็ไม่แต่ง ต้องออกป่า ออกอะไร ก็แสดงว่าเขาหาสัปปายะ
ท่านอาจารย์ ไม่ สะสมมารู้จักตัวเอง ตามความเป็นจริง คนที่ฟังธรรม เข้าใจธรรมแล้ว จะเริ่มรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง เห็นตัวเองตามความเป็นจริงว่าสะสมอะไรมา โลภะยังมีไหม
ผู้ฟัง ความรู้ของผมก็เหมือนกับว่า มา ไปฟังที่บ้านคุณหญิง ก็ต้องการให้สัปปายะมันเหมาะสม มาที่นี้ ไปที่วัดอะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ ความเป็นตัวตน ทั้งๆ ที่ศึกษาธรรม แต่ก็ยังประพฤติผิด ในตอนท้ายได้เพราะความแป็นตัวตน ไม่ใช่คนที่มีปัญญา ความเห็นถูกในเรื่องของสภาพธรรม แล้วจะไม่ผิด เพราะเหตุว่าเขาไม่ได้ตั้งจิตไว้ชอบ ไม่ใช่เพื่อละ ไม่ใช่เพื่อความเล็กลง ไม่ใช่เพื่อการรู้ว่าไม่มีอะไรเลยจริงๆ เพียงแค่แข็ง หมดแล้ว เพียงแค่เห็นหมดแล้ว ถ้ามีการที่จะเข้าใจสภาพธรรม ตามความเป็นจริงอย่างนั้น จะเป็นทางที่ถูกในการศึกษาธรรม แต่ถ้าศึกษาธรรมด้วยความเป็นเรา มีเรา แล้วก็เพื่อเรา ทุกอย่างเพื่อเราทั้งนั้น หรือเพื่อความสำคัญตน ในที่สุดก็ต้องผิดพลาด ไม่สามารถที่จะเห็นเลย ทนทางนี้คือหนทางละ เพราะว่ามีความเป็นเรา หรือว่ามีความเป็นตัวตน ที่เยียวยาไม่ได้ ถ้าเยียวยาได้ก็คือ ยังสามารถที่จะฟังธรรม แล้วพิจารณา เห็นว่าผิดไปจากธรรมก็ยังกลับมาทางที่ถูกได้ แต่ถ้าเยียวยาไม่ได้ก็คือไม่สามารถที่จะให้ธรรม เป็นสรณะได้
ผู้ฟัง แสดงว่าความเป็น เรา ของผมยังมี
ท่านอาจารย์ แน่นอน ใครรับรองว่าถูก หรือไม่กล้าที่จะบอกคุณเด่นพงษ์ว่าเป็นอย่างนี้ แต่ความหมายนี้คือความหมายของคำว่า ปุถุชน ซึ่งไม่ใช่พระอริยบุคคล เพราะฉะนั้น ความจริงคืออย่างไร คืออย่างนั้น แล้วไม่เฉพาะแต่คุณเด่นพงษ์ ปุถุชนทุกคนไม่ใช่พระอริยบุคคล แล้วความหมายของปุถุชน คือหนาด้วยกิเลส กิเลสอะไรบ้าง ก็แล้วแต่การสะสมของแต่ละบุคคล
ผู้ฟัง ทีนี้เราจะเริ่มต้นที่ไหน
ท่านอาจารย์ ฟัง สุตมยปัญญา เพราะเราคิดเองไม่ได้แน่นอน
ผู้ฟัง ฟังนี้มันต้องฟังอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ ฟังอีก ฟังพอหรือยัง
ผู้ฟัง มันก็ต้องฟังไปเรื่อย
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง ที่ไหนก็ตาม ในโลกนี้ นอกโลก จักรวาลทั้งหมด มีสภาพธรรม หมายความถึงสิ่งที่มีจริงๆ เราเรียกว่าธรรม เพราะว่าไม่มีเจ้าของ
ผู้ฟัง เราเรียกว่า ธรรมชาติก็ได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ หมายความว่าสิ่งนั้นมีจริง เป็นธาตุ ธา-ตุ เป็นสิ่งที่มีจริง มีลักษณะเฉพาะของแต่ละอย่าง ที่เรารู้ว่ามีเพราะว่าต้องมีลักษณะปรากฏให้รู้ ใช่ไหม ต้องมีลักษณะปรากฏให้รู้ เป็นสิ่งที่มีจริงๆ เราแบ่งเป็น ๒ ได้คือสภาพธรรม อย่างหนึ่งเกิด จึงได้ปรากฏ ถ้าไม่เกิดก็ไม่ปรากฏ เราก็ไม่เห็นไม่รู้ ไม่ได้ยิน แต่เมื่อสภาพนั้นมี เกิดปรากฏ เป็นสภาพที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น มีไหม มีจริง แต่ไม่สามารถจะรู้ ไม่สามารถจะเข้าใจ ไม่สามารถจะคิด ไม่สามารถจะหิว ไม่สามารถจะโกรธ เป็นแต่เพียงสิ่งที่มีจริง มีปัจจัยเกิดขึ้นปรากฏ ปรากฏแต่ละทางก็ไม่เหมือนกัน คือสิ่งที่มีจริง ปรากฏทางตานี้ อย่างหนึ่งปรากฏทางหู อีกอย่างหนึ่งแล้ว สิ่งที่มีจริงนั้นไม่ใช่สิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วปรากฏว่ามีทางจมูก เช่น กลิ่น แม้ว่าเรามองไม่ห็นเลย แต่กลิ่นมี กลิ่นต้องเกิดจึงได้ปรากฏ แล้วก็กลิ่น ก็มีลักษณะที่เป็นกลิ่น ที่กระทบกับจมูกจึงปรากฏได้ กระทบกับตา ไม่เห็นกลิ่น กระทบกับหูก็ไม่มีเสียงกลิ่น แน่นอน แต่ว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งมีจริงปรากฏ เมื่อกระทบกับจมูก หรือฆานะปสาท มีจริงๆ แบ่งเป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเป็นสภาพที่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น อีกอย่างหนึ่ง สามารถที่จะรู้ มี ๒ อย่าง ในโลกนี้ นอกโลกนี้ ที่ไหนที่ไหนก็ตาม ถูกต้องไหม หรือจะมีอย่างอื่นอีก
ผู้ฟัง รู้อะไร
ท่านอาจารย์ สภาพรู้ นี้ ไม่ได้หมายรู้อย่างปัญญา ที่จะเข้าใจไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ใช่ แต่หมายความว่าเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งมีจริงๆ เพราะว่าขณะนี้ มีเห็นไหม
ผู้ฟัง ก็ต้องเห็น
ท่านอาจารย์ ตกลงเห็นมี ใช่ไหม เห็นเป็นอะไร ถ้ามีแล้ว ต้องสามารถที่จะรู้ได้ คือ เริ่มที่จะมีความเข้าใจถูกว่า ๑ เห็นมี เห็นเป็นอย่างไร คืออะไรไม่ใช่รูปที่เป็นกลิ่น ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่รส แต่ว่าธาตุชนิดนี้เกิดมาเห็น ต่างกันแล้วกับรูป เพราะรูปไม่รู้ จักขุปสาทไม่รู้อะไร เห็นไม่ได้ ทั่วทั้งตัวตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า
ผู้ฟัง ที่ศึกษาที่อ่านมา มันก็ยังเข้าใจได้ไม่หมด จำก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ถ้าเรายังเข้าใจไม่หมด แล้วจำไม่ได้ คือไม่เข้าใจโดยถ่องแท้ เราก็ไม่ต้องต่ออะไร แต่หมายความว่า เราจะต้องเข้าใจจุดประสงค์จริงๆ ทุกคนที่ฟังธรรม คือต้องเข้าใจจุดประสงค์ เพื่อละ อย่าได้คิดว่าจะต้องการอะไร ถ้าต้องการอะไรก็ตรงข้ามกับความหมายของคำว่า อนัตตา หมายความว่าเราไม่เข้าใจความเป็นอนัตตาเลย เพราะว่ายังเป็นเรา ไม่ว่าจะต้องการศึกษาก็เพื่อเรา ต้องการที่จะให้เกิดกุศลก็เพื่อตัวเอง ต้องการที่จะให้กุศลนั้นให้ผลก็เพื่อตัวเอง ลึกลงไปก็จะไม่พ้นจากความเป็นตัวตน ซึ่งการศึกษาธรรมจะค่อยๆ ขัดเกลา ความเป็นตัวเราออก เพราะเหตุว่าไม่มีอะไรสักอย่างเดียวที่เป็นของเราจริงๆ เมื่อศึกษาแล้วก็จะเริ่มเข้าใจถูก เพราะฉะนั้น การศึกษาเป็นเรื่องละ ตั้งแต่ต้น จนตลอด จนกว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ก็คือเรื่องละ
ขณะใดที่มีความต้องการเกิดขึ้น ก็แสดงให้เห็นถึงลึกลงไปก็คือ ความเป็นตัวเรายังมากเหลือเกิน จริงๆ ก็คือว่า เราได้มีโอกาสได้ฟังพระธรรม ซึ่งอีกไม่นานจะสูญ ค่อยๆ สูญไปในที่สุดก็หมดเลย เพราะฉะนั้น ในช่วงชีวิตของเราซึ่งน้อยมาก สั้นมาก แต่ว่ามีโอกาสที่ยังจะได้ยินได้ฟังพระธรรมจากพระไตรปิฎก ให้เกิดความเข้าใจ พระไตรปิฎกยังอยู่ แต่ว่าความเข้าใจของเราจะตรงตามพระไตรปิฎก หรือไม่ เพราะว่าพระไตรปิฎก ไม่ใช่สำหรับอ่าน แต่ว่าสำหรับศึกษา ก็ต้องเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งในชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าเรื่องอื่น คือเรื่องอื่นเราอาจจะคิดว่าสำคัญมาก แต่ความจริงไม่มีอะไรสำคัญเท่าความรู้ ความเข้าใจถูกต้องในชาติหนึ่ง ชาติหนึ่ง ซึ่งมีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรมของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้องเข้าใจให้ถูกตั้งแต่ต้น เป็นเรื่องละ เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องละคือขณะนี้ ทุกคนไม่ได้คิดถึงอย่างอื่นเลย คนที่อยู่ในห้องขณะนี้ ไม่ได้คิดถึงอย่างอื่น แต่พร้อมที่จะฟังพระธรรมเพื่อพิจารณาให้มีความเห็นถูก ให้มีความเข้าใจถูก การฟังธรรมต้องมีการเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง โดยการพิจารณาด้วย ไม่ใช่ฟังเพียงผิวเผิน เพราะว่าบางคนอาจจะ เป็นคนที่ชอบฟัง ฟังมาก แต่ไม่ได้พิจารณาในสิ่งที่ได้ฟัง เพราะฉะนั้น เราจะไม่คิดถึงกาลข้างหน้า ว่าผลของการฟังธรรมของเราในวันนี้จะเกิดอะไรต่อไป จะทำให้เกิดกุศลวิบาก เพราะว่าการฟังธรรม เป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ต้องคำนึงถึงเลย ขอให้เข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง จึงมีการสนทนาธรรม เพราะเหตุว่าถ้าเป็นเพียงการบรรยาย คนที่ฟังก็ไม่มีโอกาสที่จะซักถามเลย แต่เมื่อเป็นการสนทนาธรรม เป็นโอกาสจริงๆ ที่ว่าขณะใดที่ฟังแล้วข้องใจ แล้วอยากเข้าใจมากขึ้น เราก็จะสนทนากันในเรื่องนั้น ก็ทำให้มีความเข้าใจพระธรรมแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ก็เป็นมงคลที่ทำให้ปัญญา ของเราเจริญขึ้น เพราะฉะนั้น ไม่ต้องห่วง จะอะไรต่อไป จะที่ไหนอย่างไร ไม่ว่าขณะที่ฟังธรรมที่ไหน ตรงไหน ขอให้เข้าใจ สิ่งที่กำลังได้ยิน ได้ฟัง ถ้าไม่เข้าใจถามเลย แต่ต้องเป็นธรรม เข้าใจไหม ที่ว่าต้องเป็นธรรม หมายความว่าอย่างไร ไม่เข้าใจหรือ พระไตรปิฎก มี ๓ พระวินัยปิฎกเกี่ยวกับเรื่องราวข้อประพฤติปฏิบัติ ของพระภิกษุ แล้วก็มีประวัติของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุนั้นๆ ด้วย แล้วก็พระสูตร ก็เป็นเรื่องราวที่ทรงแสดงธรรม กับบุคคลต่างๆ ที่ต่างๆ ยังเป็นเรื่องราวต่างๆ ด้วย แต่ก็เป็นธรรมด้วย พระอภิธรรม ไม่มีสัตว์บุคคลเลย จะไม่มีการกล่าวถึงเรื่องราวใดๆ เพราะว่าเรากำลังศึกษาธรรมเพื่อที่จะให้เข้าใจว่า ธรรม คืออะไร ธรรมอยู่ที่ไหน ธรรมมีลักษณะอย่างไร ซึ่งธรรม เมื่อใช้คำว่าธรรมก็คือ ไม่ใช่เราอยู่แล้ว เป็น อนัตตา เพราะว่าเป็นธาตุแต่ละอย่าง นี่ก็ต้องมีความเข้าใจตั้งแต่ต้นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังปรากฏเป็นธรรม ซึ่งไม่ต้องแสวงหา เพียงแต่ฟังเรื่องราวของสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ให้เข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรม ยังจะต้องมีว่าแล้วจะศึกษาอะไรต่อไป อีกไหม ในเมื่อสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้กำลังปรากฏ การฟังแต่ละครั้งเพื่อให้เข้าใจความจริง ของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏจริงๆ จนประจักษ์ แจ้งว่าเป็นธรรมตามที่ได้ยินได้ฟัง เรื่องราวอาจจะไม่ตามลำดับ แต่ความเข้าใจของเราต้องตามลำดับ พอได้ยินคำว่า ธรรม คำเดียว ต้องเข้าใจจริงๆ ว่าหมายความถึงอะไร คืออะไร เพื่อเราจะได้ต่อไปถึง ความหลากหลายของธรรมแต่ละอย่าง เพราะเราไปจำว่า เห็น เป็นนามธรรม แต่ไม่รู้ว่าเป็น ธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง ตรงนี้ไม่ใช่ธรรม หรือ
ท่านอาจารย์ อันนี้จะไม่ถูกต้อง เพราะก่อนอื่น เราต้องเข้าใจธรรมเสียก่อน ก่อนที่ไปเข้าใจนามธรรม ลองทบทวน ธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง แต่ใช่คำว่า ธรรม เพราะเหตุว่ามาจากคำว่า ธาตุ หรือ ธา-ตุ ซึ่งไม่มีใครเป็นเจ้าของเลย ถ้าพูดถึงธาตุก็หมายความถึงสภาพที่มีจริง ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของสภาพธรรมนั้นๆ ฟังดูเหมือนทุกคนกลับมาตั้งต้น แต่ขณะนี้เป็น ธรรม ข้อสำคัญก็คือว่ามีตัวจริงของธรรมให้เข้าใจด้วย เพราะฉะนั้น แม้แต่เพียงการฟัง อย่างนี้ เริ่มที่จะน้อม ที่จะระลึกได้ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่เข้าใจว่าเป็นธรรม สติระลึกไม่ได้เลย แต่พอรู้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วปัญญาเพียงแต่ฟังเรื่องราวของธรรมเท่านั้น ยังไม่ได้รู้ตัวจริงๆ ของธรรมเลย เพราะฉะนั้น เราก็ต้องย้ำว่า ธรรมมีตัวจริงๆ แต่ใช้คำนี้ เพื่อหมายความถึงสภาพนั้นที่มีจริง เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง แทนที่เราจะใช้คำว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่มีจริง เวลานี้เราเข้าใจว่า ถ้าเราใช้คำว่าธรรมคำเดียว เราเข้าใจได้ว่าหมายความว่าถึงอย่างนั้น ไม่ต้องพูดยาวอย่างนั้น แต่พูดคำว่า ธรรม คำเดียว
ผู้ฟัง ธรรม คือสิ่งที่มีจริง
ท่านอาจารย์ ทุกอย่างที่มีจริง
ผู้ฟัง ทุกอย่าง
ท่านอาจารย์ เพราะว่ามีลักษณะ มีสภาวะ มีสภาพที่สามารถที่จะบ่งบอกได้ว่ามีจริง เพราะฉะนั้น คำว่าธรรม กว้างแล้วก็รวมทุกอย่าง แต่ว่าเราสามารถที่จะรู้ความต่างกันว่า ธรรมแม้เป็นสิ่งที่มีจริง ก็มีลักษณะที่ต่างกันเป็น ๒ อย่าง คือสภาพธรรม ที่มีจริงอย่างหนึ่ง ไม่สามารถที่จะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น แล้วสภาพธรรม ที่มีจริงอีกอย่างหนึ่ง มีจริงเพราะเกิดขึ้น แล้วก็เป็นธาตุที่รู้ ลักษณะหนึ่ง ลักษณะใดที่ปรากฏให้รู้ หรือว่าจะรู้สิ่งหนึ่ง สิ่งใดที่ปรากฏให้รู้ได้
ผู้ฟัง ถ้าเห็น ตรงที่ว่าเห็นธรรม นี่ เห็นอย่างไร เห็น ที่ว่าเห็นเป็นปรมัตถหรือ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ว่าให้ไปเห็นผิดจากที่กำลังเห็น แต่ต่างกันที่ความไม่รู้กับความรู้ สภาพธรรม ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้เลย เด็กเห็น แมวเห็น คนเห็น เทวดาเห็น เห็นก็คือเห็น คือมีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทางตา แล้วจิต หรือนามธรรมที่เห็น ก็เป็นธาตุ หรือสภาพที่รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เห็นตรงนี้เป็นอย่างนี้ เห็นตรงอื่น เป็นอย่างไรก็แล้ว แต่ว่าลักษณะที่ปรากฏนั้นเป็นอย่างไร แต่หมายความว่า เห็น จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้ นอกจาก เพียงรู้ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏ ให้รู้ หรือให้เห็น ไม่มีเรา นี่เป็นธรรมดา ใช่ไหม ใครก็เกิดมาเห็น แต่ไม่มีปัญญารู้ความจริง กับขณะที่ค่อยๆ ฟัง รู้ว่าเห็นมีจริงๆ แต่ไม่ใช่เรา เริ่มรู้ว่าไม่ใช่เรา ซึ่งแต่ก่อนนี้เป็นเราตลอด ไม่ว่าจะเห็นเมื่อไร ครั้งไหนก็เป็นเราที่เห็น เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นความต่างกันของปัญญาที่สมบูรณ์ จนประจักษ์แจ้ง จริงๆ ว่าเห็น ไม่มีใครเป็นเจ้าของ มีปัจจัยเกิดขึ้น เห็น แล้วดับ ทุกอย่างที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดแล้วดับ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา สิ่งใดที่เกิดแล้ว จะไม่ดับไม่มี แต่นี้คือเข้าใจ แต่ต้องประจักษ์แจ้ง ถึงจะยืนยันว่าคำพูดนี้จริง ฟังเพื่อเข้าใจ สิ่งที่ได้ยินได้ฟังจริงๆ ธรรม นามธรรม รูปธรรม ขณะนี้ที่ว่าเห็น เคยเป็นเราเห็น ก็คือเป็นธรรมชนิดหนึ่ง เป็นสภาพรู้ สิ่งต่างๆ ขณะนี้กำลังปรากฏ กับสภาพเห็น ซึ่งเป็นนามธรรม อย่าลืมฟังให้เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ยินได้ฟัง ให้เข้าใจ แล้วความเข้าใจก็จะเพิ่มขึ้น เพราะทุกอย่างก็คือธรรมทุกวัน ฟังเมื่อไรก็คือธรรมทุกวัน เป็นชีวิตจริงๆ ทุกขณะ เป็นธรรมทั้งหมด ถ้าโกรธ กำลังโกรธเป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง โกรธ เป็น ธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นธรรม เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหนเลย ขณะใดที่โกรธ ขณะนั้น ก็เป็นธรรม ที่จะต้องรู้ว่าไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่ง
ผู้ฟัง ไม่ใช่เราก็ ดิฉันโกรธอยู่
ท่านอาจารย์ ถ้าโกรธไม่เกิด มีไหม ขณะนี้ โกรธ หรือเปล่า
ผู้ฟัง ตอนนี้ไม่ได้โกรธ
ท่านอาจารย์ ถ้าโกรธไม่เกิด จะมีโกรธไหม ไม่มี แต่พอโกรธเกิด กลาเยเป็นเราโกรธ เพราะความไม่รู้ว่าขณะนั้น เพราะมีปัจจัยทำให้ธาตุชนิดนี้ เกิด มีลักษณะอย่างนี้ แล้วก็ดับ ไม่เหมือนเห็น ไม่เหมือนได้ยิน ไม่เหมือนคิดนึก เพราะฉะนั้น ถึงได้กล่าวว่าทุกอย่างเป็นธรรมทุกๆ วันไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย เมื่อเข้าใจแล้วก็จะรู้ว่าเป็น ธรรม ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จนกว่าจะประจักษ์แจ้งจริงๆ ในลักษณะของธรรมแต่ละอย่าง
ผู้ฟัง ตอนที่โกรธ ก็อย่างจะมองว่ามีสติ ระลึกรู้ ที่โกรธ ตอนนั้นรู้ว่า โกรธ
ท่านอาจารย์ ใครรู้
ผู้ฟัง คือถ้าตอบตามนั้นก็คือ ตัวเรารู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ความรู้ ความเข้าใจจริงๆ
ผู้ฟัง ตอนที่ได้ยิน คือตอนที่เราอ่าน เราเห็น ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ความโกรธเกิดจากเห็นบ้าง เกิดจากได้ยินบ้าง เกิดจากได้กลิ่นบ้าง เกิดจากลิ้มรสบ้าง เกิดจากการกระทบสัมผัสบ้าง เกิดจากการคิดนึกบ้าง เหมือนกันทุกคน เพราะฉะนั้น เราจะไม่มีเรื่องราว เวลาที่เราศึกษาธรรม ที่เราจะเข้าใจธรรม เราตัดเรื่องราวออกหมด มิฉะนั้นก็เป็นเราที่เรียน เป็นเราที่รู้ เป็นเราที่ตอนนั้นเข้าใจธรรม ว่าโกรธเป็นอย่างนี้ โกรธเป็นอย่างนั้น จะไม่พ้นจากเราเลย แต่การที่เรารู้ความมุ่งหมาย การศึกษาธรรม เราไม่ลืมว่า ธรรมคืออะไร ธรรมคือสภาพที่จริงๆ จะเรียกชื่ออะไร หรือไม่เรียกชื่ออะไร ธรรมก็เป็นอย่างนั้น เปลี่ยนแปลงไม่ได้ อย่างความโกรธให้เปลี่ยนเป็นความเมตตาก็ไม่ได้ ความเมตตาก็คือเมตตา ความไม่รู้จะเป็นปัญญาก็ไม่ได้ ปัญญาก็เป็นปัญญา ความไม่รู้ก็เป็นความไม่รู้ เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมเพื่อให้เข้าใจธรรมอย่าลืม ไม่ใช่เข้าใจเรื่องราว แต่ให้เข้าใจธรรม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 500
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 502
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 504
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 507
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 510
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 511
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 513
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 514
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 516
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 517
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 518
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 519
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 520
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 521
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 523
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 524
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 525
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 526
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 527
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 528
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 529
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 530
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 532
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 533
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 534
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 536
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 538
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 539
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 540