ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
ตอนที่ ๔๘๘
สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย
พ.ศ. ๒๕๔๓
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครสามารถจะบังคับบัญชาได้ ไม่มีใครสามารถที่จะให้เป็นไปอย่างที่ต้องการ เพราะฉะนั้น แม้แต่ปฏิสนธิจิต จะเกิดก็เลือกไม่ได้ เกิดมาเป็นคนนี้ รูปร่างอย่างนี้ ผิวพรรณอย่างนี้ ก่อนจะตาย จะมีลาภ มียศ มีสุข มีทุกข์อย่างไร ก็แล้วแต่ว่ากรรมใดจะให้ผล เพราะฉะนั้น นี่ก็แสดงการขยาย สิ่งที่เคยเข้าใจว่าเป็นคนทั้งคนออกมาเป็นสภาพธรรม ที่ละเอียดมาก แต่ละขณะซึ่งเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น เวลาที่ฟังธรรม อย่าเอาเรื่องอื่นเข้ามาปะปนว่าธรรมชาติ โต๊ะ ภูเขา อะไรๆ นั้น เรา รู้อยู่แล้ว ว่าเราใช้คำนี้ แต่เราไม่เคยเข้าใจว่า ความหมายของคำว่า ธรรม หมายความถึงสิ่งที่มีจริงๆ นี่คือความหมายหนึ่ง แต่ว่าความหมายนี้ ก็จะเพิ่มไปอีก เป็นคุณธรรม เป็นกุศลธรรม เป็นอกุศลธรรม หลากหลายไปอีก แต่ว่าเป็นคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าทรงสอนเรื่องความจริง ซึ่งเป็นธรรมทั้งหมด เราก็ใช้คำว่า ฟังพระธรรม หรือฟังธรรม
การศึกษาการเรียนต้องเข้าใจว่า ผู้ที่เริ่มสนใจในพระธรรมคือผู้ที่กำลังเริ่มที่จะเข้าใจพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้น ก็ต้องทราบจริงๆ ว่าปัญญาของเราระดับไหน เราสามารถจะเข้าใจทั่วไปหมดในพระไตรปิฎก หรือเปล่า หรือว่าปัญญาของเราระดับที่เพิ่งเริ่มจะฟัง เริ่มจะคิด เริ่มจะเข้าใจ เท่าที่จะเข้าใจได้ เพราะฉะนั้น เราก็จะไม่เสียเวลากับสิ่งซึ่งเราไม่สามารถจะเข้าใจได้ ในเมื่อสิ่งซึ่งสามารถจะเข้าใจได้ มี แล้วก็ปรากฏ แล้วก็ศึกษาได้ ค่อยๆ เพิ่มความรู้ความเข้าใจได้ เราก็จะตัดความคิด เรื่องอื่นที่มาแทรก เช่น เรื่องการดับของรูปตามหลักของวิทยาศาสตร์ หรือแสงสว่างหรืออะไรต่ออะไรก็ตามออกหมด เพราะว่าบุคคลเหล่านั้นไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาไม่สามารถจะบอกเราได้ ว่ารูป รูป หนึ่งซึ่งเกิดจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ อะไรดับเร็วกว่ากัน เห็นไหมว่าการฟังธรรม ไม่ใช่ฟังไปเรื่อยๆ ต้องคิด แล้วก็เป็นความรู้ความเข้าใจของคนที่คิดเอง ไม่มีประโยชน์เลย ถ้าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงแสดงธรรมด้วย ปัญญาของพระองค์ แต่ไม่ทำให้คนที่ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจอะไร แต่สิ่งที่เป็นมรดกก็คือ ทำให้ผู้ฟังสามารถที่จะเกิดปัญญาของตัวเอง จากการฟังพระธรรมแล้วก็ไตร่ตรอง เพราะฉะนั้น อย่าเพียงฟัง ต้องคิด แล้ว ก็ต้องถาม เพื่อที่จะรู้ว่าขณะที่ฟังเข้าใจตรงไหนอย่างไร อามรูปมีอายุ เท่ากับจิตเกิดดับกี่ขณะ
ผู้ฟัง ๑๗ ขณะ
ท่านอาจารย์ ๑๗ ขณะ รูปกับจิตอะไรเกิดดับเร็วกว่ากัน
ผู้ฟัง จิต
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะว่าจิต คิดแล้วก็ดับไป โกรธแล้วก็ดับไป
ท่านอาจารย์ เพราะว่าจิตดับไปถึง ๑๗ ขณะ รูปๆ หนึ่งจึงดับ ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากกฏทางตา แล้วก็มีจิตเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม
ผู้ฟัง เป็นสภาพไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นรูปธรรม มีภาวะลักษณะปรากฏ ใช่ไหม ขณะนี้กำลังเห็น มีอายุเท่าไร รูปนี้
ผู้ฟัง ๑๗ ขณะ
ท่านอาจารย์ ๑๗ ขณะของจิต ต้องบอกด้วย ๑๗ ขณะเฉยๆ ไม่ทราบ ๑๗ ขณะอะไร ต้อง ๑๗ ขณะของจิต การฟังธรรม ไม่ใช่ให้ประจักษ์ทันทีเลย ว่าขณะนี้รูปเกิดแล้วก็ดับ ๑๗ ขณะจิต ไม่ใช่ ฟังให้เข้าใจพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าที่ทรงพระนามว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะประจักษ์แจ้ง ความจริง ประจักษ์แจ้งความจริงอย่างไร ทรงแสดงอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ผู้อื่นสามารถที่จะศึกษาเข้าใจตาม ประจักษ์แจ้งตาม ได้ไหม ถ้าไม่ได้เป็นโมฆะ ไร้ประโยชน์ พระบารมี สี่อสงไขยแสนกัป ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้าคนฟังไม่สามารถที่จะรู้อย่างนั้นได้ แต่เพราะเหตุว่าเป็นธรรมที่มีจริง ที่รู้ ไม่ใช่คนหนึ่งคนใด แต่เป็นปัญญาที่อบรม จากการฟัง เข้าใจ เป็นพหูสูตร จนกว่าจะอบรมอีกระดับหนึ่ง คือรู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เพียงรู้เรื่องราวเท่านั้น แล้วเมื่ออบรมไปจนปัญญาคมกล้าขึ้น ก็สามารถจะประจักษ์จริงๆ ว่าคำใดที่ตรัสเป็นคำจริง เพราะแม้ขณะนี้ จิตเห็นก็ไม่ใช่จิตได้ยินแล้ว จะเป็นจิตประเภทเดียวกันขณะเดียวกันไม่ได้ การฟังธรรมค่อยๆ ฟังไป เข้าใจไหม ถ้าเข้าใจคือต้องจำหรือเปล่า ต้องท่องไหม ไม่ต้องไปท่อง เพราะขณะใดที่เจ้าใจ ขณะนั้นความจำประกอบด้วยความเข้าใจ แต่ต้องคิด ต้องเป็นปัญญาของเราเอง นี่ถึงจะเป็นประโยชน์ ใครก็ตามที่พูดไปพูดไป แล้วไม่ให้คนฟังเกิดปัญญาของตัวเอง ไม่มีประโยชน์เลย
ผู้ฟัง เมื่อกี้ได้ยินคำว่า จิตเห็น จิตได้ยิน ลิ้มรส สัมผัส จิตคิดนึก ตรงนี้ก็คือจิต ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ สภาพรู้ ต้องเข้าใจความหมาย ลักษณะรู้ อาการรู้ ขณะที่เห็น หมายความว่า รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏมีลักษณะอย่างนี้ รู้ที่นี่ หมายความว่า รู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ ขณะนี้ ลักษณะที่ปรากฏเป็นอย่างนี้เพราะมีสภาพรู้ คือเห็น ถ้ารู้ทางตา เราใช้คำว่า เห็น ขณะที่ได้ยินเสียง เสียงเกิดโดยไม่มีใครได้ยินเลยก็ได้ ถ้ามีปัจจัยที่จะให้เสียงเกิด แต่ขณะใดที่เสียงปรากฏ เสียงปรากฏกับสภาพที่กำลังรู้ลักษณะของเสียงนั้น รู้ว่าเสียงนั้นเป็นอย่างนั้น ลักษณะของเสียงนั้นเป็นอย่างนั้น นั่นคือจิต เพราะฉะนั้น ในนามธรรม ๒ อย่างซึ่งเกิดร่วมกัน จิตเป็นสภาพที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งลักษณะของสิ่งที่ปรากฏให้รู้ เวลาที่กลิ่นปรากฏ จิตสามารถที่จะรู้แจ้ง รู้ลักษณะของกลิ่น กลิ่นไม่ได้มีกลิ่นเดียวเลย กลิ่นทุเรียน กลิ่นแกง กลิ่นดอกกุหลาบ นานากลิ่น แต่ว่า ใครรู้ จิตเป็นสภาพที่สามารถจะรู้ เป็นธาตุรู้ หรืออาการรู้ กลิ่น ว่ากลิ่นเป็นอย่างนี้ ลักษณะของกลิ่นที่ปรากฏคืออย่างนี้ นั่นคือหน้าที่ของจิต ตั้งแต่เกิดจนตาย จิตจะไม่ทำหน้าที่อื่นเลยนอกจากมีลักษณะรู้แจ้ง รู้ลักษณะอาการต่างๆ ของสิ่งที่ปรากฏให้รู้ ส่วนเจตสิกที่เกิดกับจิต มี ๕๒ ชนิด ก็กระทำหน้าที่เฉพาะอย่างๆ ของเจตสิกนั้นๆ ไม่ก้าวก่ายกัน เพราะฉะนั้น เราอยู่ที่ไหน ถ้ารู้ก็คือไม่มีเรา แต่มีจิต เจตสิก รูป จิต เจตสิก รูป นี่เป็นปรมัตถธรรม เป็นธรรมที่มีจริงๆ มีลักษณะเฉพาะของสภาพธรรมนั้น เป็นอภิธรรมเพราะเหตุว่า ไม่มีใครสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงลักษณะของสภาพธรรมแม้แต่สักอย่างเดียวได้เลย เปลี่ยนแปลงลักษณะของจิตก็ไม่ได้ เปลี่ยนแปลงลักษณะของเจตสิกแต่ละอย่างก็ไม่ได้ นี่คือปรมัตถธรรม หรืออภิธรรม ไม่ต้องมีชื่อ ไม่ต้องมีใครรู้ ไม่ต้องมีใครเรียก สภาพธรรมนั้นก็เป็นอย่างนั้น แต่เมื่อใดคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า อันตรธานหมด ไม่มีใครสามารถจะรู้ ความจริงที่เป็นจิต เจตสิก รูปอีก เพราะฉะนั้น ลักษณะที่ต่างออกไป เช่น ความจำ จำในอะไร จำในสิ่งที่จิตเห็น จำในสิ่งที่จิตได้ยิน หรือจำในเสียง จำในกลิ่นพร้อม กับจิตที่เกิดที่รู้เสียง รู้กลิ่นในขณะนั้น สัญญาจะต้องเกิดกับจิต ความจำต้อง เกิดกับจิต เจตสิกต้องเกิดกับจิต จะรักจะชอบก็ต้องเกิดกับจิต เพราะสภาพธรรมอื่น นอกจากนั้นทั้งหมดเป็นเจตสิก เพราะฉะนั้น ก็ไม่ต้อง ใช่ไหม โกรธ เป็นจิตหรือเจตสิก
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ เกลียด
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ พยาบาท
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ อาฆาต
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ ริษยา
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ ชอบ
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ ชัง
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ ขยัน
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ ขี้เกียจ
ผู้ฟัง เจตสิก
ท่านอาจารย์ ทั้งหมด ต่างจากนั้นไปก็คือ เจตสิกหมด อย่างนี้ต้องท่องไหม
ผู้ฟัง ไม่ต้องท่องเลย
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าท่องจะเข้าใจไหม
ผู้ฟัง ก็ ถ้าท่องก็คือจำ
ท่านอาจารย์ ถ้าท่องก็คือจำ เพราะฉะนั้น จะท่องไหม ต่อไปนี้
ผู้ฟัง ไม่ท่องแล้ว
ท่านอาจารย์ แต่ว่าถ้าเราไตร่ตรองจริงๆ ค่อยๆ คิดไปคิดมา จนกระทั่งสามารถที่จะบอกได้ว่ามันคืออะไรอันนั้นจะเป็นปัญญาของเราเอง ที่ใช้คำว่า รู้แจ้ง ที่นี่หมายความว่า ลักษณะของอารมณ์หลากหลายที่ปรากฏ จิตสามารถที่จะรู้ แจ่มแจ้ง ในความหลากหลายนั้น อย่างฟ้ากับน้ำ ที่เราไปตามชายทะเล เราเห็นแล้วเรารู้ว่าเป็นน้ำ เป็นฟ้า ทั้งๆ ที่สีคล้ายกันมากเลย แต่จิตก็สามารถที่จะรู้ความต่าง คือ เห็นเท่านั้น จิตไม่จำ ไม่ทำอะไรเลย หน้าที่คือสามารถที่จะเห็น กระจ่างแจ้ง ได้ยินเสียงก็กระจ่างแจ้งในลักษณะของเสียงที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น แจ้งที่นี่ ไม่ใช่หมายความว่า รู้แจ้งอย่างปัญญา เป็นแต่เพียงว่าลักษณะนั้นเป็นอย่างไร จิตก็สามารถที่จะรู้ในลักษณะนั้น โลภะ เป็นสภาพที่พอใจ แต่ไม่ได้เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้แจ้งอารมณ์ ลักษณะของเขา พอใจในอารมณ์ที่ปรากฏ ที่จิตรู้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องแยกระหว่างจิต กับเจตสิกทั้งๆ ที่เกิดร่วมกัน ดับพร้อมกัน มีอารมณ์เดียวกัน แต่ลักษณะที่เพียงเห็น เห็นอย่างนี้ แจ้งในสิ่งที่ปรากฏ นั่นคือลักษณะของจิต ส่วนโลภะ เขาก็พอใจ ทุกอย่างที่มีจริงๆ มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่าง ที่ปรากฏให้รู้ได้ว่ามีจริงๆ เป็น ธรรมทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ขณะนี้อะไรเป็นธรรมบ้าง
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ เห็นเป็นธรรม กล่าวอย่างนี้ พูดอย่างนี้ แต่ไม่ได้ รู้จริงอย่างนี้ สามารถที่จะบอกโดยความเข้าใจ จากการฟังว่า เห็นมีจริงๆ เป็นธรรม แล้วก็สามารถที่จะตอบได้ด้วยว่าเห็น เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างสัณฐานแต่มีการเห็นเวลานี้เป็นธาตุชนิดหนึ่ง สภาพรู้เกิดขึ้นต้องเห็น เกิดชาติก่อนก็เห็น ชาตินี้ก็เห็น ชาติต่อๆ ไปก็เห็น มีจริงๆ แน่นอนเป็นธาตุชนิดหนึ่งด้วย เอารูปออกหมด แต่ก็ยังมีธาตุรู้สภาพรู้ แต่ธาตุรู้เขาจะเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ฟังเข้าใจว่าขณะนี้ มีนามธรรม และรูปธรรมในขณะที่กำลังเห็น แต่ว่าเป็นความรู้ขั้นฟัง เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สติปัฏฐาน เพราะว่าสติหมายความถึงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดกับโสภณจิต หรือจิตที่ดีทุกชนิด สติ เป็นจิต หรือ เป็นเจตสิก
ผู้ฟัง เป็นเจตสิก
ท่านอาจารย์ เป็นเจตสิก เกิดกับจิตชนิดไหน เจตสิกที่ดีเกิดกับจิตที่ดี เพราะฉะนั้น ถ้าเวลาที่ให้ทาน เป็นเรา หรือเปล่าที่ให้
ผู้ฟัง ดิฉันให้ทาน
ท่านอาจารย์ เราเรียนเรื่องธรรม เราไม่ได้เรียนเรื่องคนโน้น คนนี้ ให้ทาน แล้วธรรมที่มีจริงๆ เป็นปรมัตถธรรม มี ๔ อย่าง จิต๑ เจตสิก๑ รูป๑ นิพพาน๑ ซึ่งนิพพานเราไม่ต้องกล่าวถึงเลย เพราะฉะนั้น เราจะต้องเข้าใจเรื่องจิต เจตสิก รูปก่อน เมื่อเข้าใจว่าเป็นธรรม มันไม่ใช่เรา เป็นธาตุแต่ละอย่างซึ่งเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ขณะที่ให้ทาน เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็นธรรม
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นธรรมอะไร ที่ให้ทานโดยปรมัตถธรรม ในการที่ให้ เป็นกุศล เป็นฝ่ายดี ขณะนั้นมีสติเกิดร่วมด้วยหรือเปล่า มีสติเกิดร่วมด้วย แม้กระนั้นสตินั้นก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน การที่จะเข้าใจคำว่า สติปัฏฐาน ต้องรู้ ความหมายจริงๆ โดยศัพท์ สติเป็นสภาพธรรมที่ระลึกได้ทางฝ่ายดี ไม่ใช่ระลึกคิดไปในเรื่องอกุศลต่างๆ ไม่ใช่สติ ต้องระลึกเป็นไปในธรรมฝ่ายดีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นความสงบของจิต หรือขั้นฟังในขณะนี้ ขณะที่เข้าใจ ต้องเป็นธรรมฝ่ายดี คือเป็นจิตที่ดี มีศรัทธาในการฟัง แล้วก็มีการพิจารณาถูกต้อง ขณะนั้นก็มีปัญญา คือความเข้าใจถูก แล้วก็มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย ในขณะนั้น นี่แสดงให้เห็นว่า เรากำลงจะเข้าใจสภาพธรรม ซึ่งไม่มีเรา แต่เป็นธรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้น ขณะที่ฟัง เข้าใจ มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย แล้วต่อไปจะทราบว่าไม่ใช่แต่เฉพาะสติเจตสิกเท่านั้น เจตสิกฝ่ายดีอื่นๆ ก็เกิดร่วมด้วยในขณะนี้ มากกว่าเพียงสติอย่างเดียว แต่ให้ทราบว่า ขณะที่ให้ทาน แม้เป็นสติที่ระลึก เป็นไปในทาน คือการให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น เพราะว่าวันหนึ่งๆ เราระลึกเป็นไปอย่างนี้บ่อยไหม ที่จะให้ประโยชน์สุขแก่คนอื่น เพราะฉะนั้น ขณะใด เมื่อระลึก ต้องเป็นฝ่ายดี แต่ขณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐาน
ผู้ฟัง ไม่ใช่เแต่เป็นแค่สติเฉยๆ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เป็นสติขั้นทาน เป็นสติขั้นศีล เป็นสติขั้นระลึกเป็นไปในความสงบของจิต แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน ถ้าเป็นสติปัฏฐานหมายความว่า ปัฏ-ฐา-นะ คือธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังมีลักษณะที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ แล้วสติระลึกลักษณะนั้น ด้วยความรู้ความเข้าใจว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องที่บอกให้ใครทำ ไม่เป็นเรื่องที่เราจะหวังว่า เมื่อไรสติปัฏฐานจะเกิด แต่สติปัฏฐาน จะเกิดเมื่อมีความรู้ความเข้าใจธรรม เพิ่มขึ้น มั่นคงขึ้น ในความเป็นอนัตตา ในความไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงธรรมแต่ละอย่างๆ ๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เราจะคอยหวังว่าเมื่อไรสติปัฏฐานจะเกิด แต่เรารู้ว่าปัญญาอีกระดับหนึ่ง สามารถ ที่จะรู้ลักษณะจริงๆ ของธรรม แล้วก็มีความเข้าใจในลักษณะนั้นถูกต้อง ตามความเป็นจริง แม้ว่าสภาพธรรม จะเกิดดับเร็วมาก ปรากฏสั้นมาก ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏดับแล้ว แล้วก็ปรากฏแล้วก็ดับ แล้วก็ปรากฏ แล้วก็ดับ ถึงแม้ว่าจะเร็วอย่างนั้น สั้นอย่างนั้น แต่สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญา จนประจักษ์ความจริงอย่างนั้นได้ แต่ต้องเป็นสติที่ระลึกลักษณะของธรรม ไม่ใช่เรื่องราวของธรรม นั่นคือสติปัฏฐาน
ผู้ฟัง ถ้าเป็นลักษณะธรรม คือลักษณะของการให้ทาน
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ จิต หรือเจตสิก หรือรูป ถ้าไม่มีจิต เจตสิก รูป ไม่มีการให้ทาน ไม่มีอะไรทั้งหมด แต่เพราะมีจิต เจตสิก ซึ่งเป็นสภาพรู้ แล้วก็มีรูป ก็ทำให้มีการหลงยึดจิต เจตสิก รูปซึ่งเกิดรวมกันว่า เป็นเรา เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน ก็คือเมื่อเข้าใจว่าไม่มีเรา มีแต่ธรรมก็เป็นปัจจัยให้มีการระลึกที่ลักษณะ แต่ละลักษณะแล้วแต่ละสติจะระลึกลักษณะอะไร สติที่ระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ขณะนั้น รู้ความจริงว่าเป็นธรรม นั่นคือสติปัฏฐาน
ผู้ฟัง ที่ว่าระลึกรู้ ระลึกรู้อะไร ธรรม
ท่านอาจารย์ ระลึกรู้ ลักษณะที่มีจริงๆ ขณะนี้ ที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ระลึกรู้ลักษณะที่มีจริงๆ
ท่านอาจารย์ ระลึกลักษณะที่มีจริงๆ
ผู้ฟัง ลักษณะที่มีจริงตอนนี้ ก็คือเห็น ดอกไม้
ท่านอาจารย์ แล้วก็สามารถที่จะระลึกในสภาพเห็น ธาตุเห็นมี ที่เราพูดว่า ต้องมีนามธาตุ สีสันวัณณะจึงจะปรากฏได้ ต้องมีสภาพรู้คือเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา จึงถูกเห็น หรือปรากฏให้เห็นได้ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน เมื่อฟังเข้าใจว่าไม่มีเรา ก็จะมีการระลึกที่ลักษณะที่เห็น รู้ว่าขณะนั้นเป็นธาตุชนิดหนึ่ง เป็นธาตุรู้แล้วสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ค่อยๆ ชินกับการเป็นสภาพธรรมเท่านั้น อย่างหนึ่ง สภาพของเสียง รู้ได้ทางหู ฉันใด สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทางตาขณะนี้ ก็รู้ได้ทางตาฉันนั้น เหมือนกันกับสภาพธรรมอื่นๆ ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ปรากฏแต่ละทาง ก็เป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละอย่าง ค่อยๆ สะสมความรู้ถูก ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก จนกว่าจะประจักษ์ แจ้งก็เป็นวิปัสสนาญาณ ปัญญาที่ประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ตามลำดับขั้น
ผู้ฟัง ที่อาจารย์บอกว่ารู้เพื่อละ คือรู้ตรงนี้ รู้ตรงสภาวะตรงนี้
ท่านอาจารย์ ตั้งแต่ขั้นฟังไปเลย ฟังไม่ได้ไปหวังว่าจะให้สติปัฏฐานเกิด ไม่ให้ไปหวังว่าเราจะเป็นคนดี ไม่ให้ไปหวังผลของกุศล ผลของการฟัง ฟังเพื่อเข้าใจสภาพธรรม เพราะว่าไม่มีตัวเรา มีแต่เป็นกุศลจิต และ อกุศลจิต ที่เกิดดับ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการฟังธรรม เป็นเรื่องละเอียด ที่ต้องฟังด้วยความตั้งใจ ด้วยการพิจารณา ด้วยการฟังแล้วฟังอีกจนกว่าจะเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ฟังชื่อว่าสติปัฏฐาน กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วจะไม่รู้อะไรเลย
ผู้ฟัง ถ้าพูดมาถึงตรงนี้ ก็สงสัยขึ้นมาแล้ว เพราะว่า ก็ท่องมาได้ว่า ในสติปัฏฐานจะมี กาย มีเวทนา มีจิต มีธรรม แต่ไม่ทราบว่าแต่ละข้อตรงนี้ มันจะรู้ได้อย่างไร จะเข้าใจได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จะได้อย่างไร สภาพธรรมที่มีขณะนี้ มี ถ้าไม่มีการฟังจนเข้าใจจริงๆ ก่อน จะไประลึกอะไร จะไปรู้อะไร ในเมื่อแม้การฟังเรื่องนี้ก็ยังไม่ได้เข้าใจโดยตลอด เพราะฉะนั้น ก็ไม่ต้องไปคิดเรื่องสติปัฏฐาน
ผู้ฟัง ชินขอถามว่า เราเข้าใจว่า โลภะ คือสมุหทัย ทุกอย่างติดข้องตามโลภะ แต่ความเข้าใจนั้นๆ สามารถเข้าใจถึง ขณะไหนที่จะละได้
ท่านอาจารย์ พระโสดาบันบุคคล ละ โลภมูลจิต ๔ ดวงที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด ที่เหลือต้องถึงพระอรหันต์
ผู้ฟัง การเห็นถูก ความหมาย คือ จิตต้องสั่งสมมาด้วย เห็นถูกทุกขณะที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ความเห็นถูกก็คือปัญญา คือความเข้าใจถูก ซึ่งเกิดจากการฟังเข้าใจ แล้วก็เพียงการฟังเข้าใจ ไม่สามารถที่จะดับกิเลสได้ นอกจากจะรู้ความจริง คือลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมจนกระทั่งประจักษ์แจ้ง รู้แจ้งอริยสัจธรรม
ผู้ฟัง ปัจจุบันนี้ ที่เราไม่สามารถเห็นถูก ก็เพราะว่า อันดับแรก คือ เราเห็นผิด เราไม่มีหิริโอตตัปปะหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เราขาดการฟังพระธรรม ถ้าเราฟังพระธรรมเข้าใจ เราก็รู้ว่าขณะนี้ ไม่ใช่เรา เป็นสภาพธรรม แต่ละอย่าง
ผู้ฟัง ถ้าสมมติใครที่ไม่มีการสั่งสมว่า จะทำให้ความเข้าใจให้รู้ความเป็นจริง คือโอกาส คือไม่ต้องพูดกันแล้ว ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ก็คงได้ฟังเทปตอนเช้าไม่นาน ที่มีในอดีตชาติของท่านพระสารีบุตร ของท่านพระอานนท์ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และของคฤหัสถ์ ซึ่งในครั้งนั้นได้พบกัน แล้วก็ต่าง ก็สะสมปัจจัยที่จะทำให้เป็นพระสารีบุตรในปัจจุบันชาติ เป็นท่านพระอานนท์ แล้วก็เป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่คฤหัสถ์คนนั้นก็ยังคงเป็นคฤหัสถ์ ซึ่งไม่ได้เป็นพระอริยเจ้าเลย
ผู้ฟัง การสั่งสมของความเข้าใจว่า คืออยากเข้าใจความเป็นจริงนั้นๆ มันก็ไม่ใช่ตัว คือ อนัตตา แล้วทำอย่างไรดี คนที่สะสมมาโดยไม่มี ความสั่งสมนั้นคือโอกาสก็คือดับ
ท่านอาจารย์ ขณะที่คุณชินกำลังพูดอย่างนี้ เป็นโลก คือจิตของคุณชิน ที่กำลังคิดเรื่องราว เพราะฉะนั้น ตราบใดที่เรายังไม่รู้จักโลกนี้จริงๆ ก็จะมีเรื่องราว ซึ่งไม่สามารถที่จะให้ความจริงได้ เป็นคนนั้น คนนี้ ที่เขาไม่ได้สะสมปัญญามาเลย เขาจะออกจากสังสารวัฏฏ์ ได้อย่างไร จนกว่าขณะนี้เอง รู้ว่า ความจริงแท้ๆ ไม่ใช่คน โน้นคนนี้ ที่ไม่ได้ศึกษาธรรม แต่เป็นสภาพรู้ ที่กำลังคิดเรื่อง หรือคิดคำซึ่งต่างกับขณะที่เห็น เพราะฉะนั้น การเรียนเรื่องจิตโดยละเอียด การเกิดดับสืบต่อกันก็จะทำให้ทราบว่า ตลอดชีวิตหมด ของแต่ละคน ก็เป็นโลกของเขาแต่ละคนจริงๆ คือขณะที่เกิด ก็อย่างที่เคยบอก ก็เกิดคนเดียว ขณะที่เห็นก็เห็นคนเดียว ขณะที่คิดก็คิดคนเดียว ตายก็ตายคนเดียว ก็คือจิตซึ่งเกิดดับสืบต่อไป ทีละหนึ่งขณะ เป็นวิถีจิตบ้าง เป็นจิตที่ไม่ใช่วิถีจิตบ้าง แล้วก็เป็นวิถีจิต แล้วก็ไม่ใช่จิตที่เป็นวิถีจิต ตั้งแต่เกิดจนตายกี่ภพกี่ชาติ ก็คืออย่างนี้ เพราะฉะนั้น คำถามของคุณชิน ก็คือ ขณะที่กำลังคิดนึกเรื่องราวต่างๆ เป็นวิถีจิตทางมโนทวาร แล้วก็ไม่ใช่วิถีจิต แล้วก็เป็นวิถีจิต แล้วก็ไม่ใช่เป็นวิถีจิต เพราะฉะนั้น แทนที่เราจะไปติดอยู่ที่เรื่องราว เราก็จะรู้ความจริงว่าตราบใดที่ยังไม่รู้จักโลกนี้ ไม่มีทางออกจากโลกนี้ ไม่ว่ามคร
ผู้ฟัง ชินเข้าใจความหมายที่อาจารย์พูดว่า คือ ติดในความจริงที่เรื่องราว ไม่ใช่ คือ ความจริงนั้น คือความจริงๆ สัจจะของสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ สัจจะ คือ ขณะนี้เห็น คือขณะนี้คิด
ผู้ฟัง แต่นั่นคือไม่มีการสะสมของความสัจจะ ในทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังปรากฏ เขาก็ไม่มีสิทธิ
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดนี้เรา กำลังคิดเรื่อง แต่สภาพจิตจริงๆ จิตเป็นธาตุซึ่งเกิดเมื่อมีปัจจัยแล้วดับ แล้วก็ตัวจิต เป็น อนันตรปัจจัย ที่จะทำให้เมื่อจิตนี้ดับแล้ว ก็ทำให้จิตขณะต่อไปเกิด สะสมทุกอย่างสืบต่อ ทีละหนึ่งขณะ จะชื่ออะไรก็แล้วแต่ จะเป็นใครก็แล้วแต่ จะสะสมปัญญาหรือจะสะสมอกุศล กุศลอย่างไรก็แล้วแต่ ก็คืออย่างนี้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 481
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 482
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 483
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 484
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 485
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 486
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 487
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 488
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 490
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 491
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 492
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 493
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 494
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 495
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 496
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 497
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 498
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 499
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 500
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 501
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 502
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 503
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 504
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 505
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 506
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 507
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 508
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 509
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 510
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 511
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 512
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 513
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 514
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 515
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 516
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 517
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 518
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 519
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 520
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 521
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 522
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 523
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 524
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 525
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 526
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 527
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 528
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 529
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 530
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 531
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 532
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 533
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 534
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 535
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 536
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 537
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 538
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 539
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 540