ปกิณณกธรรม ตอนที่ 489


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๔๘๙

    สนทนาธรรม ที่ ซอยนวลน้อย ถ.เอกมัย

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ เมื่อจิตนี้ดับแล้ว ก็ทำให้จิตขณะต่อไปเกิด สะสมทุกอย่างสืบต่อ ทีละหนึ่งขณะ จะชื่ออะไรก็แล้วแต่ จะเป็นใครก็แล้วแต่ จะสะสมปัญญา หรือจะสะสมอกุศล กุศล อย่างไรก็แล้วแต่ ก็คืออย่างนี้ คือลักษณะของจิตที่เกิดแต่ละขณะดับ แล้วก็ทำให้ขณะต่อไปเกิด แล้วก็สะสมสืบต่อ จากขณะเมื่อกี้จนถึงเดี๋ยวนี้ไม่ทราบมากมายหลายขณะ

    ผู้ฟัง รู้จักความเป็นจริง คือรู้ว่า สภาพธรรมแค่ปรมัตถธรรม ๔

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง มีเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง ก็คือทุกสิ่งทุกอย่าง คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรมใดมีปัจจัยเกิด สภาพธรรมนั้นดับเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แต่ถ้าเป็นการที่รู้สภาพธรรม ยิ่งขึ้น จะรู้ว่าแม้ขณะนั้นที่คิด ก็ไม่ใช่เรา ก็ยืนยันความเข้าใจในความเป็น อนัตตา ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะศึกษาอย่างไร จะทำอย่างไรก็เพื่อที่จะให้ตรงจุดนี้ที่จะละ ความเป็นเรา แต่เราก็ไปติดในเรื่องราว จนบังสภาพธรรม ตามความเป็นจริง แล้วก็คิดไม่ออกในเมื่อเป็นเรื่องราว แต่ถ้าเป็นสภาพธรรม ก็จะรู้ได้ สำหรับคนที่ฟังธรรม ขณะนี้ มีความมั่นคงที่จะฟังต่อไป แต่ไม่ใช่หมายความว่า ๒๔ ชั่วโมง หรือว่าทุกวินาที ไม่ใช่อย่างนั้น แต่หมายความว่า ถึงเราจะรู้ว่า ขณะไหนเป็นโลภะ ขณะไหน เป็นโทสะ ตามเหตุตามปัจจัย ชีวิตประจำวันจริงๆ ทำให้เรามีความมั่นคงที่จะรู้ว่านั่น เป็นธรรมที่เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่เราอยาก ไม่มีโทสะเลย แล้วเราก็ดีใจ คิดว่าโทสะไม่มีแล้ว แต่เราไม่ได้เห็นถูก ตามความเป็นจริงว่า โทสะเป็นสภาพธรรม ที่มีลักษณะอย่างนี้ ใครไม่ชอบ โทสะก็ไม่ใช่ตามคนนั้นที่จะไม่เกิด แต่เมื่อมีปัจจัยที่โทสะ จะเกิด โทสะก็เกิด เพราะฉะนั้น ความมั่นคงก็คือว่า เห็นประโยชน์ และรู้ว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตที่มีค่ายิ่งกว่าอื่น ก็คือ พระธรรม เพราะฉะนั้น ขณะใดที่จิตเป็นอกุศลก็เป็นตามเหตุ ตามปัจจัย แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้เราทอดทิ้ง ละทิ้งการที่จะฟัง การที่จะพิจารณา การที่จะเห็นความเป็น อนัตตา ของสภาพธรรม แต่ทุกอย่างที่มี ก็แสดงถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมนั้นๆ ว่าบังคับบัญชาไม่ได้ แต่ที่จริงสิ่งที่เป็นประโยชน์ที่สุดก็คือว่า พยายามที่จะฟังธรรมให้เข้าใจ เพราะว่าคนที่ฟังในครั้งโน้น ในครั้งพุทธกาล ไม่ได้ฟังมากเลย แต่เข้าใจมาก สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ เพราะขณะนั้น รู้ว่าอะไร ที่ฟัง ขณะที่ทรงแสดง ได้แก่สภาพธรรมอะไร แต่ของเรามีความเป็นตัวตนกลบ ขณะที่กำลังฟัง ก็เป็นเรากำลังจะเข้าใจเรื่องนั้น แล้วเรื่องนี้ล่ะ แล้วเรื่องโน้นล่ะ ก็เป็นเรื่องของเราทั้งหมด ซึ่งแสดงให้เห็นจริงๆ ว่า เราไม่ได้เข้าถึง การที่ว่า แม้แต่การที่จะรู้ ที่จะละ ก็ยังไม่พอ ที่จะทำให้สติเกิด แล้วก็ นั่งตรึก นั่งคิด นั่งไตร่ตรอง ทำอย่างไร เมื่อไร อย่างไร สติไม่เกิด เพราะอย่างโน้น เพราะอย่างนี้ ก็พยายามหาเหตุไป แต่ว่าเป็นเรื่อง ไม่ใช่เป็นตัวธรรมซึ่งกำลังมีอยู่ตลอดเวลา แล้วก็รู้ ว่าขณะใดที่มีความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเพิ่มขึ้น นั่นเป็นหนทางที่จะละความเป็นตัวตน แต่ไม่ใช่ไปนั่งคิดไตร่ตรองแล้ว ก็คิดว่าขณะนั้น จะเป็นหนทาง

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์ พูดนั้น ความหมาย คือน้อมไป ดู สภาพธรรม ที่ปรากฏใน ๕ ทวาร

    ท่านอาจารย์ เรายังไม่ต้องคิดอะไรหมดเลย เราสนทนาธรรม เพื่อเข้าใจ แล้วก็สภาพธรรม เขาก็เป็นสังขารขันธ์ ที่จะปรุงแต่ง เวลาที่สติเกิด ก็เห็นความเป็นอนัตตา ไม่ใช่มีเราต้องการ หรือพยายามไปแอบ ไปคอยทำ ไปคอยลุ้น ไปคอยทำอะไรให้สติปัฏฐานเกิด ไม่ใช่อย่างนั้น เพียงแต่ว่าเข้าใจ ความเข้าใจนั้นก็ละความไม่เข้าใจ ละความไม่รู้ไปเรื่อยๆ แล้วก็ไม่เดือดร้อน อะไรจะเกิด ก็รู้แล้วไงว่าเป็นอนัตตา จะเดือดร้อนอะไร แล้วก็ รู้ว่าต้องฟังต่อไปนี้คือ ความมั่นคงเพราะเห็นประโยชน์จริงๆ

    ผู้ฟัง ฟังแล้วคือหมายความว่า เราฟังแล้วเข้าใจ ในขณะซึ่งเราเข้าใจก็ เป็นสติขั้นการเข้าใจ ก็อดที่จะเป็นเรื่องราวไม่ได้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แต่เราไม่ได้หวังอะไร นี่

    ผู้ฟัง ไม่หวัง แต่เราก็ยังเป็นติด ยังเป็นคิด นึกอยู่

    ท่านอาจารย์ เพื่อเข้าใจสภาพธรรม ถึงจะคิด ก็คิดเพื่อ เข้าใจสภาพธรรม จะไตร่ตรองก็ไตร่ตรองน้อมไปสู่ การเข้าใจลักษณะธรรม ไม่ใช่น้อมมาสู่ตัวเราที่เป็นเรื่องราว

    ผู้ฟัง แต่ว่าถ้าสมมติน้อมไปสู่ สภาพธรรม แต่มันก็ตัวเราที่กำลังน้อมไปอยู่

    ท่านอาจารย์ นี้ไง กำลังเป็นตัวเรา ที่คิด ก็จบกันตรงนี้ คือ อย่างไรๆ ก็เป็นเรา

    ผู้ฟัง ก็ยังมีตัวเราอยู่ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าฟัง ฟังให้เข้าใจ ขณะที่กำลังเข้าใจ เราไม่ได้ เห็นเกี่ยวกับเรื่องตัวเราเลย เพราะว่ามีความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจ ว่าเราเข้าใจมากแค่ไหน แล้วต่อไปจะรู้ด้วยว่า ละ แค่ไหน แต่ยังไม่ถึง ต้องมีความเข้าใจก่อน เพราะว่าการละ ไม่ได้ละที่แปลกประหลาดไปจากสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ต้องเป็นปัญญาระดับที่สามารถที่จะละหรือ สละ ความเป็นเรา ความเป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใด จากสิ่งที่ปรากฏทางตา จากทุกสิ่งทุกอย่างที่เคยเป็นเรา แต่ก็ต้องเป็นปัญญาที่ค่อยๆ อบรมไป

    ผู้ฟัง หมายความว่า แม้จะเป็นเรื่องราว ก็เป็นเรื่องราวใน นัยของว่า มันเป็นเพียงสภาพธรรม ไม่ใช่ เราคิด

    ท่านอาจารย์ เป็นเรื่องราวของธรรม ที่จะทำให้เข้าใจสภาพธรรมยิ่งขึ้น อย่างที่คุณสุกิจถาม คุณสุกิจไม่ได้ถามถึงอย่างอื่นนอกจาก อกุศล ๙ กอง พูดถึงตัวอกุศล ซึ่งแบ่ง หรือจำแนกออกเป็นประเภทๆ แล้วแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง เพื่อเข้าใจตัวสภาพธรรม เพราะฉะนั้น เวลาที่เราศึกษา ธรรม ก็คือเรา รู้ว่ามีประโยชน์ ที่จะเข้าใจตัว ธรรมไม่ใช่เอาตัวเราไปเป็นเรื่องนั้น เรื่องนี้ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง เอาตัวเราออก แต่ว่า พูดในนัยของสภาพธรรม ไม่ต้องบอกว่าเรามีความรู้สึกอย่างนั้น อย่างนี้ แต่พูดถึงว่าในสภาพธรรม

    ผู้ฟัง แต่ชิน เหมือนว่าเข้าใจ แต่จริงๆ ชินคิดว่าไม่เข้าใจ เพราะว่า มันตัวตน มัน มันซาบซึม

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว ตัวตนยังไม่ได้หมดไป สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระโสดาบัน แต่คนที่ยังคิดเรื่องตัวตนเพิ่มเข้าไปอีก ลองคิดดู ก็จะเพิ่ม ความห่วงใยในตัวตน เพิ่มขึ้น เมื่อกี้นี้ คุยกันหรือเปล่า เวลารับประทานอาหาร พอออกจากห้องนี้ ก็เป็นเรื่องเป็นราวทั้งนั้นเลย แล้วเวลาเข้ามาอยู่ที่นี่ยังจะตามมาอีกหรือ แล้วเวลาที่เรามีน้อยมาก ใช่ไหม แล้วเราจะเอาอะไร จะเอาเรื่องราวต่อไป

    ผู้ฟัง แต่ว่า คือปัญญา มันยังไม่ถึง ที่มาเข้าใจ ถึงว่ามันต้องมีเรื่องราวมา

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ถ้าคุณชินเข้าใจจิต เจตสิก รูปขึ้น คุณชินรู้เลยในขณะที่เรื่องราว กำลังเป็นอย่างนั้น ว่าสภาพจริงๆ อย่างนั้น คืออะไร

    ผู้ฟัง ถ้าใครที่ไม่มี หิริ โอตตัปปะ สมมติ

    ท่านอาจารย์ คนที่มี หิริ โอตตัปปะไม่มี แต่มีสภาพธรรม ที่เป็นกุศลเกิดขณะใด ก็มีเจตสิกซึ่งเป็นหิริโอตตัปปะเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ถึงต้องอยู่ตรงนี้ เพื่อจะพูดเรื่องนามธรรมกับรูปธรรม ให้เข้าใจขึ้น

    ผู้ฟัง เพราะว่าชิน มีความรู้สึกทุกคน ติดในรูปมาก จนลืมนามธรรมไป

    ท่านอาจารย์ นอกห้อง เชิญตามสบาย แต่ตรงนี้มีโอกาสที่จะเข้าใจสภาพธรรม แล้วเราไม่หาโอกาส หรือใช่โอกาสอันนั้นหรือ ที่จะเข้าใจขึ้น แต่ให้รู้ความจริง ว่าความจริง มีสิ่งที่มีจริงๆ ที่เป็นธรรม เอาชื่อออกหมด ตั้งต้นอีกที ธรรม คือนามธรรมกับรูปธรรม อันนี้ไม่ต้องอธิบายแล้ว เมื่อเช้าจบไปแล้ว สำหรับนามธรรมก็มี จิตกับเจตสิก เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรมแท้ๆ ที่ไม่รวมนิพพานก็คือจิต เจตสิก รูป

    จิต เจตสิก รูป ใน ๓ ปิฎก จะกล่าวโดยนัย หลากหลายอย่างไรก็ตาม เนื้อแท้ ตัวจริงคือจิต เจตสิก รูป จะกล่าวโดยนัยของขันธ์ ก็คือจิต เจตสิก รูป จะกล่าวโดยนัยของธาตุก็คือจิต เจตสิก รูป กล่าวโดยนัยของปฏิจจสมุปบาทก็คือจิต เจตสิก รูป คือไม่มีอะไรพ้นไปจากจิต เจตสิก รูปเลย ด้วยเหตุนี้เราถึงต้องศึกษาให้เข้าใจ ปรมัตถธรรม โดยนัยต่างๆ เพื่อให้เข้าใจ ถูกต้องว่าเป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน โดยนัยต่างๆ ทุกประการ จะไม่ใช่เราไม่ใช่ตัวตนเลย

    ผู้ฟัง ต่อไปขออนุญาต นิดหนึ่งว่า จากรูปธรรม และนามธรรม ขยายไปทางนัยอื่นๆ

    ท่านอาจารย์ ก็เป็น ความหลากหลาย

    ผู้ฟัง นอกจากจิต เจตสิก รูป เป็นความหลากหลาย

    ท่านอาจารย์ ไม่มีพ้นจากจิต เจตสิก รูป

    ผู้ฟัง ใช่ แต่ว่าจิต เจตสิก รูป มัน

    ท่านอาจารย์ กว่าเราจะเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นจิต ไม่ใช่เรา เป็นเจตสิก ไม่ใช่เรา เป็นรูป ไม่ใช่เรา ต้องทรงแสดงโดยนัยหลากหลาย

    ผู้ฟัง คือนัยอันนี้ มันใช่อยู่ แต่ฟังๆ นานๆ เข้า มันเกิดการเบื่อ ท้อ เพราะว่ามันเมื่อไรๆ ก็หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ท่านอาจารย์ ก็เลย แสดงให้หลากหลายไปกว่านั้นอีก อย่างโดยนัยของขันธ์ เบื่อไหม ขันธ์ เบื่อขันธ์หรือเบื่อเรา

    ผู้ฟัง เบื่อขันธ์

    ท่านอาจารย์ เบื่อขันธ์ไหน

    ผู้ฟัง เบื่อ ๕ ขันธ์

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ เบื่อขันธ์ไหน ไม่ใช่เบื่อก่อนนี้ หรือจะเบื่อข้างหน้า แต่เดี๋ยวนี้เบื่อ ขันธ์ไหน

    ผู้ฟัง เบื่อนามขันธ์

    ท่านอาจารย์ นามขันธ์อะไร นามขันธ์มี กี่ขันธ์

    ผู้ฟัง นามขันธ์มี ๔

    ท่านอาจารย์ คือ

    ผู้ฟัง สัญญา เวทนา

    ท่านอาจารย์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เบื่อขันธ์ไหน

    ผู้ฟัง เบื่อทุกขันธ์

    ท่านอาจารย์ เบื่อจริงๆ เลย หรือเบื่อคือตัวตนเบื่อไม่ใช่ปัญญา เพราะฉะนั้น เบื่ออย่างนี้ ต้องเบื่อไปอีกกี่ชาติก็ไม่ทราบ ไม่จบ เพราะไม่ใช่ปัญญา เบื่อแล้วก็เบื่ออีก ก็ยังต้องเบื่อต่อไปอีก ไม่พ้นจากความเบื่อ แต่มีหนทางที่จะพ้นจากความเบื่อ ก็เลยไปเบื่อปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง ไม่ใช่เบื่อปรมัตถธรรม หมายถึง เบื่อการสนทนา คุยกันซ้ำๆ ซากๆ

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้น จะเอาอะไรที่ไม่ใช่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

    ผู้ฟัง อย่างเช่นว่า จากรูปธรรม นามธรรม เราก็เอา จากรูปธรรม นามธรรม มา อีกนัยหนึ่งอย่าง ปฏิจจสมุปบาท หรือจะเป็นอริยสัจ เป็นต้น

    ท่านอาจารย์ คือจริงๆ แล้ว บางคนชอบเรื่องมากมาย แต่ไม่ได้รู้เรื่องนั้น เช่น ปฏิจจสมุปบาทแปลว่าอะไร ยังไม่รู้ อยากรู้แล้วไม่เบื่อที่จะฟัง แต่ยังไมรู้เลยว่าปฏิจจสมุปบาท คืออะไร เพราะฉะนั้น เราจะเห็นโลภะ ความติด เขาไม่เคยละเว้นเลย ถึงมาฟังธรรมก็ยังอยากโน่น อยากนี่ อยากนั่น แต่ขณะใด ที่โลภะเกิด ขณะนั้นไม่ใช่ปัญญา ไม่ใช่ความรู้ ไม่ใช่ความเข้าใจ คนละเรื่องเลย ตรงไหนที่มีปัญญา ตรงนั้นไม่มีโลภะ ตรงไหนที่ไม่มีปัญญา ตรงนั้นมีโลภะ เพราะฉะนั้น เราสามารถรู้ได้เลย ขณะใด ที่อยาก ขณะนั้นไม่ใช่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าเบื่อ หัวข้อนามรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตื่นเต้นกับชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท ชื่อก็ยาว ปฏิจจสมุปบาท ฟังไม่ออกยิ่งตื่นเต้น ยิ่งไม่รู้ความหมาย ถ้าฟังง่ายๆ ก็รู้แล้วๆ เพราะฉะนั้น คำนี้ อะไรนะ

    ผู้ฟัง การไปทำอะไรนิดหนึ่ง ก็บอกว่าผิด ไม่ถูก

    ท่านอาจารย์ ทำอะไรนิดหนึ่ง คือทำอย่างไร ผิดก็ต้องบอกว่าผิด ถ้าถูกก็ต้องบอกว่าถูก ถ้าผิด แล้วจะมาให้บอกว่าถูก บอกไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็อยากจะทราบว่าที่ไปทำอะไรนิดหนึ่ง ทำอะไร

    ผู้ฟัง อย่างเช่นว่า สวดมนต์ ยาวหน่อย สวดทำไม สวดเพื่ออะไร อย่างนี้เป็นต้น

    ท่านอาจารย์ แล้วรู้ไหมเล่า สวดเพื่ออะไร

    ผู้ฟัง สวดเพื่อให้ ระลึกถึง

    ท่านอาจารย์ ระลึกถึงอะไร

    ผู้ฟัง พระพุทธคุณ

    ท่านอาจารย์ พระพุทธคุณ อะไร

    ผู้ฟัง พระพุทธคุณ ในความหมายลึกๆ

    ท่านอาจารย์ นั่นสิ ความหมายลึกๆ คืออะไร นี่คือเราไม่รู้ มีแต่ความไม่รู้หรือเปล่า เพราะฉะนั้น เงื่อนต้น คือ อวิชชา เจอตัวจริงๆ หรือยัง อยู่ที่ไหน เราเรียนปฏิจจสมุปบาท แต่เรายังไม่รู้เลยว่า อวิชชา อยู่ที่ไหน ไม่เจอ เรียนแต่ชื่อ เพราะฉะนั้น เวลาที่เราไม่รู้นั้น คืออะไร สวดทำไมก็ไม่รู้ สวดอะไรก็ไม่รู้ เพื่ออะไรก็ไม่รู้ แล้วไง ก็คือเงื่อนต้น คือ อวิชชา เป็นปัจจัย เจอเงื่อนต้นแล้ว ว่าอยู่ตรงนี้

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ที่เรียนปรมัตถธรรม เรียนจริงๆ แล้ว สวดมนต์ก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ไม่ได้

    ผู้ฟัง นั่งสมาธิก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ คือ ทำสิ่งที่ผิดๆ ไม่ควรทำ เราเรียนเพื่อให้รู้ เพื่อให้เข้าใจถูก เมื่อเข้าใจถูก ก็คือเราจะไม่ทำสิ่งที่ผิดๆ ไม่ใช่ว่าเรียนให้เข้าใจ แล้วส่งเสริมให้ไปทำผิดๆ อย่างนั้นจะสอดคล้องกันไหมว่าเรียนให้เข้าใจ แล้วก็ให้ไปทำสิ่งผิดๆ แต่ว่าเรียนเมื่อเข้าใจแล้ว จะได้ทำให้ถูกต้อง ไม่ใช่ไม่ให้ทำ แต่ทำให้ถูก

    ผู้ฟัง เมื่อกี้นี้อาจารย์ บอกว่า ต้องรู้ แต่สุดท้าย เมื่อไม่รู้เรื่องราว แล้วจะรู้ได้อย่างไร คือทั้งหมดที่เราเรียนก็เรื่องราวไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ พระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มี หรือ เปล่า

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ จริงหรือเปล่า

    ผู้ฟัง จริง

    ท่านอาจารย์ เป็นปรมัตถธรรม หรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เรากำลังเรียนปรมัตถธรรม ให้รู้ ไง ว่าปัญญาคืออะไร ปัญญารู้อะไร ปัญญามีลักษณะอย่างไร ไม่ใช่ว่าพระพุทธเจ้า มีพระปัญญาคุณแต่อะไรไม่รู้ ถ้าอย่างนั้น จะเรียนทำไม เรียนก็ไม่รู้ ไม่รู้อะไรเลย แต่เรียน แล้วก็ไม่รู้ แต่เมื่อเรียนแล้วต้องรู้ ถูกต้อง ต้องเข้าใจถูกจริงๆ แล้วจะไม่เบื่อ ถ้าเข้าใจถูกจริงๆ ไม่เบื่อเลย

    ผู้ฟัง แล้วถ้าไม่มีเรื่องราว เราจะเข้าใจอรรถอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็มีสภาพธรรม เรื่องที่เราศึกษา เรามีคำ สำหรับอธิบายสภาพธรรม ให้เข้าใจขึ้น อย่างจิต เจตสิก ทำไมไม่รวมกันเป็น ชื่อเดียว ในเมื่อลักษณะมี ๒ อย่างก็ต้องมี ๒ ชื่อ

    ผู้ฟัง ในเมื่อ ถ้าเรารู้อย่างนั้น เหตุใดที่เราต้องรู้ปัจจัย

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรม เกิดขึ้นลอยๆ ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น คุณชิน จะเห็นความน่าอัศจรรย์ ว่าขณะจิตหนึ่ง ที่เกิดมีกี่ปัจจัย ไม่ใช่ปัจจัยเดียวเลย ความไม่รู้ก็ไม่รู้เลยว่าเกิดมา ก็เกิดมาเฉยๆ แล้วก็ผู้ที่ไม่รู้ก็คงไม่รู้ต่อไป แต่ผู้รู้ สามารถที่จะทรงแสดงว่าใน หนึ่งขณะจิตที่แสนสั้น มีปัจจัยอะไรที่ทำให้สภาพธรรม นั้นเกิด สั้นที่สุดแล้วก็ดับ เพียงสั้นๆ อย่างนั้น ยังต้องอาศัยปัจจัยมากมายเท่าไร

    ผู้ฟัง ถ้าเราไม่รู้ปัจจัย เราแค่ เรียนปรมัตถธรรม ๔ ให้เข้าใจนั้น มันก็จะเข้าใจไหม

    ท่านอาจารย์ แล้วสามารถที่จะรู้จริงๆ หรือเปล่าว่าเพราะปัจจัยอะไร จึงทำให้สภาพธรรม เกิดขึ้น

    ผู้ฟัง คือเรียนปัจจัย เพื่อให้ปรุงแต่งสังขารขันธ์

    ท่านอาจารย์ เพื่อให้รู้จริงๆ จนกระทั่ง สามารถที่จะรู้ว่า สภาพธรรมใดก็ตามที่เกิด ต้องมีปัจจัย แม้แต่ขณะเห็น ต้องมีสิ่งที่ปรากฏทางตาแน่นอน ขาดไม่ได้เลย นี้คือปัจจัยหนึ่ง แต่เป็นเรื่องการอบรมเจริญปัญญา เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจว่าปัญญารู้อะไร ปัญญาเข้าใจอะไร ปัญญามีกี่ขั้น ปัญญาจริงๆ ต้องรู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ได้ถูกต้อง ถ้าขณะนี้ไม่รู้ ก็ไม่ใช่ปัญญา เพราะเหตุว่าสิ่งที่มีแล้วไม่รู้ จะเป็นปัญญาได้อย่างไร แล้วถ้าเป็นปัญญาที่จะไปรู้สิ่งอื่นก็เป็นไปไม่ได้ ในเมื่อ สิ่งนี้กำลังปรากฏแล้วไม่รู้ แล้วไปรู้สิ่งอื่น จะรู้อะไรอื่น ในเมื่อไม่ได้ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเครื่องกำกับอยู่แล้ว ว่า ปัญญาต้องรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ ถูกต้องตามความเป็นจริง ตั้งแต่เริ่มฟังเข้าใจอย่างไร ก็จะต้อง ประจักษ์แจ้ง อย่างนั้น จึงจะชื่อว่าเป็นปัญญาที่สมบูรณ์ จุดสูงสุดก็คือหมดกิเลส ไม่ใช่เป็น แค่ปริยัติ คำสอนทำให้ดำเนินไปถึงหนทางที่จะประจักษ์แจ้งเป็นปฏิเวธด้วย

    ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้เป็นอกุศล ค่อยๆ เจริญเป็นกุศล ใช่ไหม ทุกขณะจิต ต้องเป็น โสภณเจตสิก

    ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ว่ามีกี่ชาติ ใครเปลี่ยนชาติของจิตได้ไหม ไม่ได้เลย ใช่ไหม นี่คือเรียนเรื่องความเป็นอนัตตา สภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม ซึ่งใครไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้

    ผู้ฟัง อย่างนั้น ความหมายคือ ค่อยๆ สะสมจากอกุศล เป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เคยฟังเลย จะไม่มีปัญญาที่รู้ความจริง

    ผู้ฟัง ก็คือต้องรู้ อกุศลก่อน ถึงจะรู้กุศล

    ท่านอาจารย์ รู้สภาพธรรม ที่เป็นปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เราเรียนเพื่อให้รู้ความจริงว่า เป็นธรรมจริงๆ เพราะฉะนั้น ธรรมจริงๆ เป็นอย่างไรก็คือปัญญารู้ตามความเป็นจริงอย่างนั้น

    ผู้ฟัง พูดง่ายแต่ว่า ทำยาก เพราะว่า ก็ยังมีตัวตนที่กลัวอกุศล

    ท่านอาจารย์ คุณชิน ไม่ได้ให้คุณชินทำอะไรอย่างที่บอกคุณสุกิจว่า คุณสุกิจไม่ต้องไปทำอะไร แต่คุณสุกิจอยากทำ คุณชินอยากทำหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็ยังกลัวอกุศล อยู่ เพราะว่า ถ้าอกุศลปรากฏ

    ท่านอาจารย์ คุณชินต้องเข้าใจว่า ทำอะไร ไม่มีใครทำอะไรได้เลย ทุกอย่างจะเกิด เพราะมีปัจจัยก็เกิด แค่นี้ ฟังให้เข้าใจจริงๆ

    ผู้ฟัง เพราะไม่อยากได้อกุศลด้วย

    ท่านอาจารย์ อกุศลมีปัจจัยก็เกิด เพราะฉะนั้น ต้องรู้ขณะนั้นเป็นธรรม ที่ไม่มีใครบังคับบัญชา บังคับบัญชาไม่ได้ แล้วก็ไม่ปนกุศล กับอกุศลด้วย

    ผู้ฟัง แล้วอย่างนี้เราสามารถเจริญกุศล ก่อนได้ไหม

    ส. เรา ไม่มีเลย มีจิต เจตสิก รูป ซึ่งเป็นสิ่งที่เราสามารถที่จะเรียน รู้ได้ ว่าจิตมีกี่ชนิด ขณะไหน เป็นจิตชนิดไหน เป็นชาติอะไร เป็นเหตุ หรือเป็นผล จิตนี้เป็นวิบาก เป็นผลของกุศล หรืออกุศล จิตนั้นเป็นเหตุคือเป็นกุศล หรืออกุศล หรือจิตนั้นเป็นกิริยา เพื่อให้เห็น ความเป็นอนัตตา ใครเปลี่ยนแปลง สภาพจิตไม่ได้ จิตขณะไหนเกิดแล้วดับไป จิตขณะไหนจะเกิดต่อก็บังคับไม่ได้ ต้องเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย

    ผู้ฟัง อย่างนี้ ความหมายคือ โสดาบัน ถ้ามีใครชกเขา เขาก็ รู้

    ท่านอาจารย์ เจ็บ เขาก็รู้ว่าเจ็บ

    ผู้ฟัง แค่นั้น เขายอมรับเลย

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เป็น พระโสดาบัน แต่รู้เรื่องกรรม รู้จริงๆ ว่าทุกอย่าง ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชา วิบากจิตทั้งหมด ต้องมีกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นเหตุที่จะให้เกิด เป็นปัจจัย คือ เป็น กัมมปัจจัย ถ้ารู้ อย่างนี้จริงๆ จะโกรธ หรือจะไม่โกรธ เพราะในเมื่อไม่เคยทำเกิดไว้ ผลนี้ไม่มี แน่นอน ใครก็เอาผลนี้มาให้ไม่ได้

    ผู้ฟัง เรารู้แล้วว่า มันทำผิด ก็อย่ามาแล้วกัน ถ้าอย่างนั้น ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ แล้วมาแล้ว เมื่อมีปัจจัยก็มา ได้ไหม ถามใคร ไม่มีทางไปขอร้องใครเลย เหมือน อยู่ในโลกของความฝัน แต่ถ้าอยู่ในโลกของความจริง จะเข้าใจเหตุ และปัจจัย เหตุผลจองสภาพธรรม ทุกอย่างตามความเป็นจริง เป็นผู้ตรงต่อธรรม อาจหาญ ร่าเริง

    ผู้ฟัง รับไปเลย อย่างนั้นใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เกิดแล้ว จะทำอย่างไรได้ จะไม่มีคำถามว่า ทำไมต้องเป็นเรา แต่จะเปลี่ยนเป็น เพราะต้องเป็นเรา

    ผู้ฟัง ถ้าสมมติ ความหมายอย่างนั้น ที่ธรรมเขาจะเจริญเอง ถ้าเป็นกุศล

    ท่านอาจารย์ เวลาคุณชินโกรธ ความโกรธ ก็ดับไปแล้ว แล้วก็เกิดอีก แล้วก็ดับไปอีก แล้วก็เกิดอีก อะไรเกิดบ่อย โลภะ หรือโทสะ หรือโมหะ หรือฝ่ายกุศล ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยไม่มีใครอยากจะมีอกุศล คุณชิน ได้ยินชื่อก็ไม่เอา ละ ขณะที่ว่า ไม่อยากๆ ขอไม่มี ขอไม่เป็นอย่างนั้น อย่างที่คุณชินบอก ไม่เอา แต่เมื่อมีปัจจัยก็เกิด แล้วก็เลือกไม่ได้ด้วย ทำไมคนเรานิสัยต่างกัน เราบังคับบัญชาเปลี่ยนได้ไหม แต่ถ้าเขามีปัญญา มีความเข้าใจถูกขึ้น ปัญญาต่างหากที่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่วอะไรควรจะแก้ไข แล้วจะค่อยๆ แก้ หรือจะไม่ค่อยแก้ หรือว่าแก้ยาก ทั้งๆ ที่รู้กว่าจะสำเร็จ ก็เนิ่นนาน เพราะเหตุว่าสะสมมามาก แต่คนที่เข้าใจธรรม ก็รู้ว่า ไม่มีคุณชิน ไม่มีใคร เป็นสภาพธรรมทั้งหมดเลย เพราะฉะนั้น ถ้าเกิดมีใครที่เป็นอกุศลอย่างมากๆ คนที่เข้าใจธรรมก็รู้ว่า ไม่ใช่ชื่อนั้น เรียกเอาเท่านั้นเอง ว่าเป็นชื่อคนนั้น แต่ความจริงคือธรรม คือ จิต เจตสิก ซึ่ง สะสมสืบต่อจนปรากฏเป็นอย่างนี้

    ผู้ฟัง อย่างนั้น ความหมายคือ ชินคิดว่าเป็นกุศล จริงๆ คือ ปัญญาจะเจริญเอง ถ้าปัจจัยให้พร้อม

    ท่านอาจารย์ ถ้ามีการฟัง มีการพิจารณา มีการอบรม ปัญญาก็เจริญ แต่ถ้าไม่ฟัง ไม่พิจารณาแยบคาย

    ผู้ฟัง แต่มันไม่ใช่ตัวเราที่กำลังเจริญ

    ท่านอาจารย์ ไม่มีเราเลย แม้แต่ปัญญาที่ประจักษ์ ลักษณะของสภาพธรรมก็ไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง มงคล ๓๘ การคบคนด้วย ใช่หรือไม่

    ท่านอาจารย์ คือถ้าเราฟังธรรม เราจะมีความรู้สึกว่า ขณะนั้น เหมือนฟังเรื่องราว ของคน ๒ คน คือคนที่ดีคนหนึ่งเป็นอย่างไร คือ กาย วาจาต่อหน้า ลับหลัง เรื่องความดี ความชั่วของตัวเอง ของคนอื่น ลักษณะของคนดีที่เป็น สัตบุรุษ เป็นอย่างไร แล้วลักษณะของคนที่ไม่ดี เป็นอสัตบุรุษ เป็นอย่างไร แต่ไม่พ้นจากปรมัตถธรรม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 101
    23 มี.ค. 2567