ปกิณณกธรรม ตอนที่ 550
ตอนที่ ๕๕๐
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๓
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จิตก็เหมือนกัน ถ้าเป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ มีอะไรบ้าง เราก็จะได้ทราบว่า เฉพาะ ๑๘ ดวงนี้เท่านั้น ที่เป็นจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ จิตอื่น นอกจากนี้ทั้งหมด ต้องมีเหตุหนึ่งเหตุใดเกิดร่วมด้วย ซึ่งปกติแล้วจะต้องมี ๒ เหตุ ถ้าเป็นฝ่ายอกุศล มีทั้ง ๑ เหตุ และ ๒ เหตุ แต่ไม่มี ๓ เหตุ ถ้าเป็นฝ่ายดีงาม ก็จะมี ๒ เหตุ หรือ ๓ เหตุ นี้เป็นความต่างกัน แต่เหตุทุกคนก็ชินหู โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอกุศลเหตุ ถ้าโสภณเหตุ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
แต่ขณะนี้กำลังเป็นเรื่อง อเหตุกจิต แล้วไม่เปลี่ยน เวลาที่จักขุวิญญาณกิดที่ไหน ในสวรรค์ หรือเป็นรูปพรหม จิตเห็น ก็เป็นจิตเห็นที่ไม่มีโลภะ โทสะ อโลภะ อโทสะ อะไรเกิดร่วมด้วย คือไม่มีเหตุทั้ง ๖ เกิดร่วมด้วย สภาพธรรม ที่เป็นจริงอย่างไร ทรงแสดงอย่างนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จิตเห็นเมื่อไร วันไหน ชาติไหน ที่ไหน ก็คือจิตเห็น ซึ่งมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพียง ๗ ดวง และไม่มีเจตสิกที่เป็นเหตุเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง สมมติว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เราต้องรู้ตั้งแต่ อตีต ใช่ไหมมา ๑, ๒, ๓ แล้วกิริยาจิต อันที่ปัญจ เราจะเริ่มรู้เริ่มเห็นก็คือ ตรงจุดนี้เป็นต้นไป ที่เราจะรับ
ท่านอาจารย์ หมายความว่า เราจะทราบว่า เวลาที่ชีวิตประจำวัน เป็นอย่างนี้ มีจิตอะไรเกิดบ้าง สืบต่อกันอย่างไรทางไหน ขณะไหนรู้อารมณ์ ขณะไหนไม่ได้รู้อารมณ์ ทางไหน อย่างภวังคจิต เหมือนขณะที่หลับสนิท คือไม่รู้อารมณ์ทางหนึ่ง ทางใดเลย
เพราะฉะนั้น ก่อนเห็นก็ต้องเป็นภวังค์ แต่ว่าจะเป็นภวังค์แล้วก็จะเป็นจิตเห็นทันทีไม่ได้ หลังจากที่ภวังคจิต ที่กระทบกับรูปารมณ์ ถ้าเป็นทางตา หรือเสียงทางหู ดับไปแล้ว ก็จะเป็นปัจจัยให้ ภวังคจลนะเริ่มไหว ที่จะรู้อารมณ์ใหม่ ที่อารมณ์เก่า แต่ว่าไม่มีอตีตภวังค์ ไม่มีภวังคจลนะ ไม่มีภวังคุปัจเฉทะ จะให้จิตเห็น เกิดขึ้นทันทีไม่ได้
ผู้ฟัง แล้วต้องเรียงตามลำดับๆ ด้วย
ท่านอาจารย์ ตามปัจจัย ตามอนันตรปัจจัย และสมนันตรปัจจัย
ผู้ฟัง พูดถึงความชัดคือ ขณะที่อารมณ์ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า ก็จะชัด แต่พอเดี๋ยวเราออกไปข้างนอกแล้ว จะนึกถึงข้างในห้องนี้ขึ้นมา มันไม่ชัดแล้ว นั่นคือทางมโนทวาร ไม่ชัดแล้ว
ท่านอาจารย์ ห่างกันไกลเหลือเกิน ลิบลับเลย ใช่ไหม เพราะเหตุว่าทันทีที่จักขุทวารวิถีดับ ภวังค์เกิดคั่น มโนทวารวิถีรับต่อ ขณะนี้เดี๋ยวนี้เป็นอย่างนั้น แล้วมีใครก็รู้สึกว่าไม่ชัดบ้าง ทางมโนทวารกับทางปัญจทวาร
เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่านั่นเป็นการนึกคิด ถึงเรื่องราว ถึงสิ่งที่เคยเห็น แต่ไม่ใช่ขณะที่กำลังสืบต่ออย่างนี้ ถ้าเป็นขณะที่สืบต่ออย่างนี้ ไม่มีทางที่จะ ใครไปเห็นความต่างได้
ชื่อพวกนี้จะมีในหนังสือ หรือปรมัตถธรรมสังเขป ถ้าสนใจก็อ่านทบทวนได้ เพราะว่าคำอธิบายเราก็เพิ่งมาถึง ทวิปัญจวิญญาณเท่านั้นเอง อยากรับผลของกรรมไหม ติดข้องในสิ่งที่ปรากฏ ต้องการเห็น ต้องการได้ยิน ต้องการได้กลิ่น ต้องการลิ้มรส ต้องการรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่ต้องการเฉพาะที่ดีๆ ต้องการเลือก แต่ลืมว่า กรรมที่ทำที่ดีๆ ทั้งหมดหรือเปล่า ขึ้นอยู่กับกรรม ขณะที่กำลังเห็น เฉพาะจิตเห็น จักขุวิญญาณเป็นกุศล หรือว่าเป็นอกุศล คุณวิเชียร ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่เป็นกุศล ไม่ใช่เป็นอกุศล แต่เป็นวิบาก
ท่านอาจารย์ นี่คือความถูกต้อง ที่เราจะต้องทราบเรื่องชาติของจิต ว่าจิตเกิดขึ้นจะต้องเป็นชาติหนึ่งชาติใดใน ๔ ชาติ และปนกันไม่ได้เลย ถ้าพูดถึงวิบากคือผลของกรรมที่เป็นอกุศลกรรม หรืออกุศลกรรม แต่ไม่ใช่ตัวกรรม เพราะฉะนั้น เราถึงจะรู้ได้ ขณะไหนที่เรากำลังเป็นวิบากจิตที่เป็นผลของกรรม กรรมทำให้จิตนี้เกิดขึ้น หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องเห็นเดี๋ยวนี้ ได้ยินเดี๋ยวนี้ เพราะเหตุว่ามีกรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นปัจจัย แต่ขณะที่เห็น ขณะที่ได้ยิน ไม่ใช่กรรม ไม่ใช่กุศลจิต ไม่ใช่อกุศลจิต เป็นจิตประเภทที่เป็นผลของกรรมที่ทำแล้ว เป็นปัจจัย ทำให้จิตขณะนี้ซึ่งเป็นวิบากเกิดขึ้น ถูกต้องไหม แล้วไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย เป็นอเหตุกจิต ๑๘ ดวง ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย แล้ว ๑๘ ดวงนี้ก็ทำหน้าที่ต่างๆ แล้วมี ๒ ชาติ คือ เป็นวิบากจิต ๑๕ ดวงแล้วก็เป็นกิริยาจิต ๓ ดวง ต้องแยกชาติของจิตด้วย ปนกันไม่ได้เลย
ขอถามคนใหม่ จักขุวิญญาณจิต มีกี่ดวง จิตเห็นมีกี่ดวง ตอนนี้ไม่มีคนแล้ว มีจิต จิตที่เห็น เราจะใช้คำว่าดวง แทนขณะ หรือประเภทก็ได้ เพราะว่าจิตมีมากมาย ถ้าเราไม่กล่าวโดยคุณนาม โดยที่ว่าลักษณะนาม เราก็ไม่สามารถที่จะแยกออกได้
เราจะใช้คำว่า ประเภท เราจะใช้คำว่า ขณะ เราจะใช้คำว่า ดวง หมายความถึงจิตหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้น สำหรับจิตเห็น เป็นจิตที่กำลังเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ที่ใช้คำว่า จักขุวิญญาณ มีกี่ดวง มี ๒ คือ กุศลวิบาก เห็นสิ่งที่ดีขณะใด เป็นประเภท ๑ ของจิต ซึ่งเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ดี เป็นกุศลวิบาก
ถ้าขณะใดเห็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นสิ่งอะไรก็ตาม ทางตาที่เห็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นอกุศลวิบาก เพราะกรรมมี ๒ อย่าง กุศลกรรม กับ อกุศลกรรม
กุศลกรรม เป็นปัจจัยให้เกิดกุศลวิบาก อกุศลกรรม เป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลวิบาก
จิตได้ยินมีเท่าไร โสตวิญญาณจิต มีกี่ดวง ๒ ดวง จิตได้กลิ่น ฆานวิญญาณ ๒ ดวง จิตลิ้มรส ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง จิตรู้สิ่งที่กระทบกาย กายวิญญาณ ๒ ดวง เพราะฉะนั้น ๑๐ แล้ว จากอเหตุกจิต ๑๘ สามารถที่จะเข้าใจได้ ๑๐ ดวงแล้ว เหลืออีกแค่ ๘ ดวง ถ้าเทวดาเห็น จิตเห็นนั้นมีเหตุ ๖ เกิดร่วมด้วยไหม จิตเห็นของเทวดา มี โลภะ โทสะ โมหะ มีอโลภะ อโทสะ อโมหะ เกิดร่วมด้วย ไหม ไม่มี ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้
รูปพรหมเห็น ก็ต้องเป็นจักขุวิญญาณ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยแค่ ๗ ดวง เท่านั้น แล้วก็มี ๒ อย่างคือกุศลวิบาก หรือ อกุศลวิบาก ขณะหนึ่งขณะใด พอที่จะทราบผลของกรรม ในวันหนึ่งวันได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ คนอื่นทำให้หรือเปล่า ใครบันดาลได้ไหม เจ้ากรรมนายเวร ได้ไหม ไม่มี ทุกคนมีกรรมเป็นผลของๆ ตน เข้าใจไหม ไม่ใช่ ๑๗
ผู้ฟัง แล้วอันที่ว่า เกิดรูปมาแล้ว จิต ๑๗ ขณะ ตอนไหน
ท่านอาจารย์ ๑๗ ขณะหมายความถึงอายุของรูป รูปหนึ่ง ซึ่งเราไม่สามารถจะเอาสิ่งอื่นวัดได้ ว่าเร็วขนาดไหน แสดงว่าเราเคยคิดว่ารูป ตั้งแต่เกิดจนตายเปลี่ยน แต่ความจริงว่าเร็วแสนเร็ว ยังไม่ต้องตาย แค่เห็น จากเห็น ยังไม่ต้องถึงได้ยินเลย รูปดับไปแล้ว ยังไม่ถึงได้ยินเลย เพียงแค่เห็น รูปดับแล้ว ๑๗ ขณะแล้ว เป็นการแสดงว่า อายุของรูปสั้นมาก ใครจะศึกษาวิชาการใดก็ตาม ทฤษฎีใดก็ตาม ต้องเป็นพระปัญญาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงประจักษ์สภาพธรรมอย่างไร ก็ทรงแสดงอย่างนั้น แสดงว่า ๑๗ ขณะจิตที่พูดกัน หมายความถึงอายุของรูป แล้วแต่ว่า ๑๗ จะเป็นจิต อะไรก็แล้วแต่ เป็นภวังค์ไป ๑๗ ขณะก็ได้
ผู้ฟัง มีท่านผู้ฟังเขียนมาถามว่า ให้อาจารย์ให้ความหมายเกี่ยวกับเรื่องของศีลว่า ศีลที่เหมือนกับผ้าขาดที่ชาย ศีลทะลุ ศีลด่าง แล้วก็ศีลพร้อย อาจารย์ให้ความหมาย
ท่านอาจารย์ ทรงอุปมาว่าเหมือน ผ้าที่ขาดตรงปลาย หรือว่าทะลุตรงกลาง หรือว่าด่างพร้อยไป ก็เพราะเหตุว่าบางคนก็อาจจะขาด ล่วงศีลข้อที่ ๑ หรือข้อสุดท้าย บางคนก็อาจจะล่วงศีลข้อกลางๆ ไม่ใช่ว่าเราจะต้องมานั่งดู คลี่ผ้า ตรงนี้ด่าง ตรงนั้นพร้อย ตรงนั้นขาด ตรงนี้ทะลุ แต่แสดงให้เห็นว่า เวลาที่ล่วงศีล ศีลมีมาก เพราะฉะนั้น เขาล่วงในลักษณะใด ข้อต้น ข้อท้าย ข้อกลาง คืออะไรเท่านั้น แต่นั้นไม่เป็นความสำคัญเลย เป็นแต่เพียงการแสดงอุปมาว่าเหมือนกับผ้าที่ขาด ที่ทะลุ ที่ด่าง ที่พร้อย
ขอกล่าวถึงเมื่อกี้นี้อีกนิดหนึ่ง เรื่องของ อิทธิบาท เราก็ทราบว่า อิทธิบาท บาทคือธรรมที่เป็น บาทให้เกิด อิทธิ คือ ความสำเร็จ แล้วแต่ว่าจะเป็นความสำเร็จในทางสมถะ หรือความสำเร็จในทางของปัญญาซึ่งเป็น การรู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะฉะนั้น การที่พระผู้มีพระภาค แต่ละพระองค์ เป็นธรรมนิยาม ที่จะปรินิพพาน ไม่เต็มอายุกัปของพระองค์ เพราะเหตุว่าได้ทรงทำประโยชน์แก่ชาวโลกแล้ว
เพราะฉะนั้น จะทรงอยู่ต่อไป ก็ไม่มีประโยชน์อะไร นอกจากว่าจะมีผู้ที่อาราธนา อย่างท่านพระอานนท์ที่ทรงแสดงไว้ว่า เพราะเหตุว่าท่าน พระอานนท์ไม่ได้อาราธนา ให้พระองค์มีอายุอยู่เต็มกัป แต่จริงๆ ก็ต้องพร้อมกันด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ประการแรก เป็นธรรมเนียมที่พระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ จะมีพระชนมายุ ไม่เต็มอายุกัป เพราะเหตุว่าได้ประดิษฐาน หรือว่าได้ทรงแสดงพระธรรมวินัยไว้ครบถ้วน แล้วก็ถ้าพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ยังไม่เฉียบแหลม ยังไม่คล่องแคล่วในธรรมวินัย ก็จะยังไม่ปรินิพพาน แต่เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วก็ถึงกาลที่จะปรินิพพาน แต่ว่าเรื่องของอิทธิบาท ต้องทราบว่าเป็นธรรมที่เป็นบาท ที่จะให้สำเร็จตามที่ตั้งใจ แต่แนวทางการที่จะให้พระชนมายุ อยู่จนครบอายุกัปก็ย่อมเป็นไปได้ ถ้าอิทธิบาทนั้นเป็นไปด้วย พระประสงค์ที่ต้องการจะมีอายุต่อไปอีก แต่เพราะเหตุว่าได้แสดงธรรมไว้ครบถ้วนก็ไม่เป็นอย่างนั้น ซึ่งก็เป็นไปตามธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
ขอถามคุณเด่นพงษ์ จุดประสงค์ในใจของคุณเด่นพงษ์ สำหรับชาตินี้ อะไรเป็นจุดสูงสุดที่ต้องการ ฟังดูทีแรกเหมือนกับพระโสดาบัน คือว่าอยากจะถึง
ผู้ฟัง ผมไม่อยากจะให้กลับไปเกิดเลวลงไปกว่าภูมินี้ เท่านั้นเอง
ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้น ก็ต้องเป็นพระโสาดบันแน่นอน เพราะเหตุว่า พระโสดาบันเท่านั้นที่จะไม่เกิดในอบายภูมิ เพราะฉะนั้น หวังลึกๆ หวังจริงๆ สำหรับชาตินี้แค่ไหน
ผู้ฟัง เข้าใจเป็นพื้นฐาน เกิดชาติหน้าผมจะได้ต่อยอดได้
ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนี้ก็เป็นความเบาสบาย ไม่ต้องเดือดร้อน ทำไมเรายังไม่รู้ ทำไมรู้น้อยเหลือเกิน หรือช้าเหลือเกิน ขณะต่อไปไม่มีใครทราบว่า อะไรจะเกิดขึ้น ทุกคน เย็นนี้ก็ไม่ทราบ อย่าว่าแต่ชาติหน้าเลย
เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ได้ฟังธรรม ประโยชน์ที่สุด คือ เข้าใจในสิ่งที่กำลังได้ฟัง แต่ละขณะๆ จะสะสมสืบต่อไป เป็นความเข้าใจที่เพิ่มขึ้น มิฉะนั้นแล้วเวลาที่เราฟัง เราไปคิดอื่น แล้วเราจะรู้ตรงนั้นหรือเปล่า หรือตรงนี้หมายความว่าอย่างไร ก็เลยไม่ได้เข้าใจสิ่งที่ กำลังได้ยินได้ฟังจริงๆ แต่ขณะที่ฟัง ให้ทราบว่าสิ่งนั้นคืออะไร แล้วก็เข้าใจให้ชัดเจน ให้ถูกต้องขึ้นค่อยๆ เป็นไปทีละเล็ก ทีละน้อย ก็เป็นการอบรมเจริญปัญญา ความรู้ต้องเพิ่มขึ้นแน่นอนในวันหนึ่ง ไม่มีใครที่จะสามารถไปทำลายความเข้าใจ ซึ่งสะสมสืบต่อไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งก็จะถึงระดับขั้นที่สามารถที่จะรู้ชัดเจนขึ้นได้
ในพระไตรปิฎก จะไม่มีคำว่า วิปัสสนาญาณ ในพระสูตรเลย ไม่จำเป็นเลย เพียงแค่รู้ชัด ความหมายของ รู้ชัดคืออะไร ก็ต้องเป็นวิปัสสนาญาณ แต่ว่าถ้าพูดวิปัสสนาญาณ ความรู้สึกคนพยายามหวัง บางคนอาจจะใช้คำว่า ตะเกียกตะกาย ที่จะให้ถึง โดยวิธีต่างๆ ทั้งๆ ที่ไม่ใช่การอบรมปัญญาความรู้เลย
ถ้าเราเข้าใจว่า พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของผู้ที่ตรัสรู้ เป็นศาสนาที่ทำให้คนฟัง เกิดปัญญาความเห็นที่ถูกต้อง แล้วเราก็พิจารณาได้ว่า เท่าที่ได้ฟังมา ความเห็นถูกเพิ่มขึ้นหรือเปล่า มีความเข้าใจอะไรๆ ถูกต้องตามความเป็นจริงไหมในขณะนี้ ถ้าเป็นอย่างนั้น ก็หมายความว่าเราสามารถที่จะมีความรู้ความเข้าใจ เพิ่มอีกเมื่อเรา สนใจ ศรัทธา เห็นประโยชน์ แล้วก็ฟังต่อไป เพราะว่าต้องถึงที่สุดของปัญญา ที่ได้อบรมแล้ว แต่ต้องอบรม
ผู้ฟัง ถ้าเผื่อว่าผมยังอยู่ในโลก โลกของสมมติ วันหนึ่งเรานั่งทบทวนสัก ๑๐ นาที ๒๐ นาทีอย่างนี้จะเรียกว่านั่งปฏิบัติอยู่ ไหม
ท่านอาจารย์ ขณะนั้น เป็นตัวคุณเด่นพงษ์ชัดๆ เลย ไม่ใช่เป็นสัมมาสติ เพราะว่าสัมมาสติกะเกณฑ์ได้ไหม ว่าตอนที่ไปออกกำลังมาแล้ว นอนสบายๆ พักผ่อน
ผู้ฟัง มันนึกไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก็ไม่มีปัจจัยที่จะเกิด คนตาบอด เขาก็ไปบอกว่า เมื่อไรเขาจะเห็นได้ ทั้งๆ ที่ตาเขายังไม่ดีเลย เขาต้องรักษาตาก่อน ใช่ไหม หรือว่าคนหูหนวกก็ไปนั่งคิดว่าเมื่อไรจะได้ยินเสียทีหนึ่ง แต่ถ้าหูยังหนวกอยู่ ก็ได้ยินไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีปัญญาที่เป็นปัจจัย เป็นสังขารขันธ์อย่าลืม ถ้าพูดถึงเรื่องขันธ์ ๕ เราลืมไปอีกแล้ว ทำไมเรียนธรรมแบบลืมโน่นลืมนี่ ถ้าธรรมก็คือธรรม อนัตตาก็คืออนัตตา สังขารขันธ์ก็ไม่ใช่เรา รูปก็เป็นรูปขันธ์ เวทนาก็เป็นเวทนาขันธ์ สัญญาความจำก็เป็น สัญญาขันธ์ เจตสิกอื่นทั้งหมด ทั้งสติก็เป็นสังขารขันธ์ ปรุงแต่งตั้งแต่ขณะฟัง เข้าใจ ไม่ใช่เราไปทำ หรืออยากจะทำ กะเกณฑ์ว่าตอนนี้สติจะเกิด ถ้าเป็นสัมมาสติมีปัจจัย จะเกิด คุณเด่นพงษ์เดาไม่ได้เลย ว่าขณะนั้นสติจะระลึกอะไร เพราะเหตุว่ามีปัจจัย ที่สติจะเกิดระลึก อะไรก็ตามที่สติระลึก ไม่ใช่ว่าเราจะระลึกที่กาย หรือเราจะไปดูใจ หรืออะไรอย่างนั้น ต้องเป็นเรื่องของสัมมาสติ เพราะฉะนั้น ก็จะเข้าใจความหมายของ อนัตตา ถูกต้องตรงกันกับที่เคยได้ยินได้ฟัง จะเข้าใจความหมายของสติ เป็นอนัตตา เป็นสภาพที่ระลึกไม่ใช่เรา ขณะนั้นเป็นสัมมาสติจริงๆ ไม่ใช่เราไปวางกฏเกณฑ์ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ยังมีเยื่อใย วางกฏเกณฑ์ ขณะนั้นก็คือ ตัวตนที่ไม่ใช่สัมมาสติ
ผู้ฟัง บางทีแปรงฟัน ผมก็พยายามคิดว่า เราไม่ได้แปรงฟัน อะไรอย่างนี้ เราก็ค่อยๆ คิด คือพยายามฝืนใจให้มันรู้สึก ตามที่อาจารย์สอนว่าให้มันเป็นอย่างนี้
ท่านอาจารย์ แล้วแต่สติจะเกิด กับหลงลืมสติ อย่าเดือดร้อน ต้องเข้าใจความเป็นอนัตตาโดยลึกซึ้งจริงๆ ว่า ถ้าไม่มีปัจจัย สติก็ไม่เกิด ก็ไม่เห็นเป็นไร สติไม่เกิดก็เพราะไม่มีปัจจัย แต่เมื่อสติเกิด ก็เป็นสติเท่านั้นที่เกิดไม่ใช่เรา
เรื่องของการอบรมปัญญาก็ เหมือนกับคนตาบอด เราต้องรู้ว่า ต้องมียาแน่ คือมีหนทางที่จะทำให้ตาหายบอด แต่หนทางนั้นคือทางเดียว คือ การอบรมปัญญา ถ้าไม่ใช่ปัญญาก็ละอะไรไม่ได้เลย เมื่อได้ปัญญาแล้วยังต้องอบรมให้เจริญให้มากขึ้นด้วยความอดทนด้วย แต่ว่าไม่ใช่ว่าตาบอดแล้วก็ไม่มียา แล้วก็เมื่อไรจะเห็น ก็นั่งรำพรรณว่าเมื่อไรจะหายบอด เมื่อไรจะมองเห็นเมื่อไรจะถึงอริยสัจธรรม เมื่อไรจะเป็นพระโสดาบัน
ผู้ฟัง ผู้ที่เจริญสติปัฏฐาน ยังสามารถมี สีลัพพตปรามาสได้ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน จนกว่าจะดับหมดด้วยโสดาปัตติมรรค
ผู้ฟัง รู้สึกว่าบางท่าน ถึงวิปัสสนาญาณที่ ๓ ที่ ๔ ยังมีวิปัสสนูปกิเลส เข้าใจว่าเป็นหนทาง อันนั้นจะเป็นสีลัพพตปรามาสด้วย หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ที่จริง ถ้าเป็นปัญญาที่เห็นถูก รู้ถูก เขารู้หนทางจนกระทั่งสามารถที่จะประจักษ์ การเกิดดับของสภาพธรรมที่เป็น อุทยัพพยญาณ เพราะฉะนั้น ความต่าง ของตรุณวิปัสสนาญาณ พลววิปัสสนา มากมายเหลือเกิน เพราะเหตุว่า นามรูปปริจเฉทญาณ สัมมสนญาณ ปัจจยปริคคหญาณ สัมมสนญาณ เป็นปัญญาระดับที่ยังไม่ทั่ว แต่สามารถที่จะประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมตรงตามนั้น
ผู้ฟัง แต่ก็ยังสามารถมีความเขาใจผิดได้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่มีสามารถเข้าใจผิด หมายความว่า เวลาที่สติปัฏฐานไม่เกิด หรือว่ามีความต้องการแม้เพียงเล็กน้อย ความต้องการนั้นไม่ใช่หนทาง ทุกคนก็รู้ ว่าหนทางที่ถูกต้อง คือ หนทางละ ไม่ใช่หนทางติด
แต่แม้กระนั้นก็ยังมีความต้องการ แล้วก็อาจจะมีความขวนขวาย ซึ่งขณะนั้นไม่ใช่ละ เพราะเหตุว่าถ้าละ ต้องเป็นภังคญาณ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า การที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้นด้วย ความละเอียดอย่างยิ่ง ด้วยการที่จะรู้ว่านี่ไม่ใช่ เพราะเหตุว่านั่นผิด นั่นคือสีลัพพตปรามาส เล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ
เพราะฉะนั้น ก็จะเข้าใจความละเอียด ว่าสีลัพพตปรามาส แม้ขณะที่กำลังอบรมเจริญอยู่มีความเห็นถูกต้อง แต่ว่าตราบใดที่ยังไม่ได้ประจักษ์แจ้ง ก็จะมีการที่จะแทรกเกิดขึ้น แม้เล็กนิดเดียว ชั่วขณะนั้น เพราะฉะนั้น ปัญญาก็จะต้องสามารถที่จะรู้ว่า ขณะนั้นเป็นอะไร ที่จะละ ผู้นั้นก็จะเข้าใจได้ว่า เพราะสีลัพพตปรามาส นี่แหละจึงทำให้มี สีลัพพตปรามาสใหญ่ๆ โตๆ ข้างหลัง เพราะว่าไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมได้ถูกต้อง ความเห็นผิดก็จะเพิ่ม ตามลักษณะของสีลัพพตปรามาสซึ่งยังมีหนาแน่น ก่อนที่ปัญญาระดับนั้นจะเกิด
ข้อความที่มีใน ปฐมขีรานสูตร ข้อ ๔๑๙ ซึ่งพระมหากัสสปะ กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าโพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคตโพชฌงค์ดีนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหากัสสปะ ปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านพระมหากัสสปะ หายจากอาพาธนั้นแล้ว และอาพาธนั้นอันท่านพระมหากัสสปะได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้
แสดงให้เห็นว่าความเข้าใจพระธรรม ของท่านพระมหากัสสปะ ทำให้ท่านกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าโพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่พระสุคตโพชฌงค์ดีนัก ถ้าเราได้ยินเพียงแค่โพชฌงค์ ๗ เราสามารถที่จะกล่าวคำนี้ได้ไหม ที่จะกราบทูลว่า ข้าแต่พระสุคตโพชฌงค์ดีนัก แสดงให้เห็นว่า ธรรม เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งมาก เพียงที่ได้ฟังเรื่องโพชฌงค์ ก็สามารถที่จะระลึกถึง พระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะว่าโพชฌงค์เป็นธรรม ที่เป็นเครื่องตรัสรู้ อริยสัจธรรม ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถที่จะรู้หนทางนี้ได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่เห็นความจริงว่า ถ้าไม่มีการบำเพ็ญพระบารมีของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์จะไม่ตรัสเรื่องโพชฌงค์ เพราะเหตุว่าโพชฌงค์ไม่ใช่สำหรับฟัง แต่ว่าสำหรับที่จะอบรม จนกระทั่งโพชฌงค์นั้นเกิดปรากฏ แก่ผู้ที่กำลังจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม
การศึกษาธรรม ต้องเป็นเรื่องที่ละเอียด แล้วก็พระธรรมที่ได้ฟังทั้งหมด แม้แต่ในเรื่องของโพชฌงค์ ก็สามารถที่จะทำให้เห็นพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ เพราะเหตุว่าถ้าไม่ใช่ได้ทรงตรัสรู้ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โพชฌงค์ ๗ ไม่มี ไม่มีสำหรับที่จะให้ใครได้รู้หนทางที่จะทำให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ เพราเหตุว่าโพชฌงค์เป็นโพธิปักขิยธรรม ๑ หมวด ในโพธิปักขิยธรรมทั้งหมด ๓๗ ประการ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 541
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 542
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 543
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 544
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 545
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 546
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 547
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 548
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 549
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 550
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 551
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 552
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 553
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 554
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 555
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 556
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 557
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 558
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 559
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 560
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 561
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 562
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 563
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 564
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 565
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 566
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 567
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 568
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 569
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 570
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 571
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 572
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 573
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 574
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 575
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 576
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 577
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 578
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 579
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 580
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 581
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 582
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 583
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 584
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 585
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 586
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 587
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 588
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 589
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 590
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 591
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 592
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 593
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 594
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 595
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 596
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 597
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 598
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 599
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 600