ปกิณณกธรรม ตอนที่ 558


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๕๘

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๔


    ท่านอาจารย์ เพราะว่าถ้ามีปัจจัยที่สติปัฏฐานจะเกิด สติปัฏฐานก็เกิด เหมือนกับมีปัจจัยที่ได้ยินจะเกิด เดี๋ยวนี้ ใครจะให้ไม่ได้ยินก็ไม่ได้ เมื่อมีปัจจัยที่ได้ยินจะเกิด ได้ยินก็เกิด มีปัจจัยที่จะให้โลภะเกิด โลภะก็เกิด มีปัจจัยที่สติจะระลึก ยับยั้งไม่ได้เลย สติเกิดแล้ว เพราะปัจจัย คนนั้นก็จะเห็นความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม เป็นหนทางตรง ที่จะไปสู่การค่อยๆ อบรม ความรู้ความเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ โดยไม่ต้องไปคิดทำอย่างอื่น จะไปทำโน่นก่อน ไปทำนี่ก่อน ให้เป็นปัจจัยที่จะให้สติปัฏฐานเกิด แต่คนนั้นเอง จะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลง แม้ความคิด ความเมตตา การอภัยอย่างจริงใจ ไม่ใช่เป็นการไปพยายาม เพื่อตัวเองอีก เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ในการที่จะสละความเป็นเรา ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องจริงๆ ถ้าเข้าใจว่าเป็นธรรม นี่คือค่อยๆ สละหรือยัง เมื่อรู้ว่าเป็นธรรม แต่ถ้ายังเอาธรรมเป็นเราอยู่ ไม่ได้สละอะไรเลย แม้แต่ขั้นการฟัง ที่ว่า พินิจพิจารณาโดยแยบคาย คือ ให้เข้าใจให้ถูกต้อง

    ผู้ฟัง บางที่ฟัง อาจารย์ กลางคืนก็ดี เช้าก็ดี กว่ามันจะนึกได้ มันช้าเหลือเกิน

    ท่านอาจารย์ ด้วยความเป็นตัวตน ว่าช้า นั่นแหละด้วยความเป็นตัวตน

    ผู้ฟัง แล้วมันก็มานอนนึกว่า

    ท่านอาจารย์ นั่น ก็คือตัวตนทั้งหมดเลย

    ผู้ฟัง ยอมแพ้แล้ว

    ท่านอาจารย์ คุณเด่นพงษ์ ความอดทนที่เราพูดถึง ที่ทรงแสดงไว้ในโอวาทปาฏิโมกข์ ขันติ เป็น ตบะ อย่างยิ่ง ถ้าไม่รู้หนทางคือมรรคมีองค์ ๘ ไม่เข้าใจความหมายเลยว่า ความอดทนนั้นคือ อะไร ถ้าเราเลิก หรือเราคิดว่าไม่ไหวแล้ว นั่นคือไม่อดทน

    ผู้ฟัง อย่างไรๆ ก็แล้วแต่ ต้องมุ่งไปสู่วิปัสสนาภาวนา ไปสู่ปัญญา ถ้าทำอย่างนี้แล้ว เราจะไม่หยุดแค่ทาน เราไม่หยุดแค่ศีล ผมขอแค่นี้

    ท่านอาจารย์ คุณเด่นพงษ์ เป็นอย่างคุณชินวุธ หรือเปล่า เพราะฉะนั้น นานาจิตตัง พระธรรมจึงหลากหลาย จากข้อความที่เราได้ฟังจากคุณชินวุธ จะเห็นได้ว่า อย่างได้พยายามไปขีดเส้น อะไรจะมาก่อน อะไรจะมาหลัง อะไรจะเกื้อกูลอะไร แต่ให้ทราบว่า อัธยาศัยที่สะสมมาหลากหลาย

    เพราะฉะนั้น จากพระไตรปิฎก เราจะเห็นได้ว่า ท่านที่เป็น เอตทัคคะ ในทางให้ทาน อย่างท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ท่านเป็นพระโสดาบัน ดูทางของท่านก็แล้วกัน หรือว่าพวกที่ได้ฌานสมาบัติ ศีลของเขาก็ต้องมี ในระหว่าที่เขาเจริญความสงบของจิต แล้วก็กำลังของสมาธิ หมายความ ถึงกุศลจิต ตั้งมั่นคง สงบ ไม่ใช่ว่าสมาธิ แบบมิจฉาสมาธิ แล้วเข้าใจผิดว่าเป็นฌาน แต่พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ที่รู้ลักษณะที่ต่างกันของกุศลจิต กับ อกุศลจิต จิตของเขาสงบ จนถึงขั้นรูปฌาน อรูปฌาน นั่นก็คือ อัธยาศัยของเขา เขาก็คงจะเป็นในเรื่องของศีล สมาธิ แต่ปัญญาระดับที่เป็น แค่ในเรื่องความสงบของจิต ไม่ใช่ในเรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน

    เพราะฉะนั้น พระธรรมที่ทรงแสดงไว้หลากหลาย ธรรม ก็คือความจริง ธรรมที่เป็นโสภณ เป็นโสภณ สติเป็นโสภณ ปัญญาเป็นโสภณ แม้แต่ทานคือ อโลภะ อโทสะ พวกนี้ก็เป็นธรรมฝ่ายดี ซึ่งควรเจริญ แต่ไม่ได้ แต่ไม่ได้มีกฏข้อบังคับ คนที่ไปฟังธรรม พระพุทธเจ้า บอกว่า ให้ทานก่อน ไม่ใช่อย่างนั้น หรือไปรักษาศีลก่อนแล้วค่อยมาฟังธรรม ไม่มีเลย แล้วแต่ว่าการสะสมของท่านผู้นั้นมีอัธยาศัยอย่างไร จะให้ จะไม่ให้อย่างไร ศีลแล้วแต่ อย่าง ขุชชุตตรา เป็นผู้ที่ยักยอกค่าดอกไม้ ก่อนจะเป็นพระโสดาบัน นี่ก็แสดงให้เห็นว่า การสะสม ตราบใดที่ยังไม่ถึงปัญญาระดับที่ จะดับกิเลส เป็นสมุจเฉท มีเชื้อลึกๆ หรือจะให้ทานไปสักเท่าไร อย่างไร ไปหวังว่าทานนี้คงจะเกื้อกูลให้สติปัฏฐานเกิด ความหวังนั้นก็ลึกลงไปที่จะทำให้ยังคงกั้นอยู่ เพราะเหตุว่ามีความเป็นเรา

    เรื่องของธรรมเป็นเรื่องที่ว่า เมื่อฟังแล้วต้องเข้าใจจริงๆ ธรรม เป็นธรรม ต้องสละความเป็นเรา ซึ่งสละยากมาก ถ้าไม่ใช่ปัญญาที่ถึงระดับขั้นที่จะสละ ไม่มีทางเลย อย่างไรๆ ก็ด้วยความเป็นเรา แต่ว่าจะมากหรือจะน้อยเท่านั้นเอง แต่ถ้ายิ่งหวังเพิ่มเติมเข้าไปอีก ความเป็นเราก็ยิ่งเพิ่มเติมเข้าไปอีก เพราะฉะนั้น การฟังธรรม คือให้เข้าใจจนกว่า จะเป็นธรรมจริงๆ ที่จะสละความเป็นตัวตนได้ แต่ว่ากุศลทั้งหลายก็ต้องเป็นกุศล เป็นสิ่งที่ควรเจริญ

    ผู้ฟัง คำว่า ปัญญา ยิ่งใหญ่ไปมาก สำหรับผม แต่ว่ามันช่วยให้ผมเข้าใจขึ้นๆ

    ท่านอาจารย์ และความเข้าใจขึ้นๆ จะพาไปไหน ในที่สุด พาไปผิดหรือพาไปถูก

    ผู้ฟัง คงจะพาไปถูก

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นปัญญา พาไปผิดไม่ได้เลย ต้องพาไปถูก แต่ว่าถูกขึ้นทีละน้อยๆ จนกระทั่งว่า แม้ขณะนี้ คงจะไม่มีใครที่มีความมั่นคงเท่าคุณชินวุธ บางท่านก็อาจจะไม่ได้คิดว่าจะหวังที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมถึงพระนิพพาน แต่ลึกๆ ลงไปที่ทุกคนมา เพื่อมีความเข้าใจในธรรมเพิ่มขึ้นๆ โดยไม่รู้ตัวเลย คือแต่ละคนก็เป็นแต่ละคนจริงๆ แต่พฤติกรรม หรือการกระทำ ความคิดนึก แม้แต่การที่ต้องการ ความเข้าใจถูก ให้เห็นว่าถ้าเป็นผู้ที่ตรง คือผู้ที่จะต้องการเห็นถูกจริงๆ ในสภาพธรรม ผู้นั้นก็วันหนึ่ง ก็จะถึงระดับขั้นที่ปัญญา สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ ปัญญาไม่พาไปอื่น ถ้าเป็นปัญญาที่มีความเห็นถูกในสภาพธรรม ก็จะค่อยๆ มีความมั่นคง ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เวลาที่สติปัฏฐานเกิด จะบอกได้ว่า ไม่เอา ได้ไหม ในเมื่อมีปัจจัยที่จะทำให้สติปัฏฐาน เกิดระลึก แม้ว่ายังไม่รู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรม แต่ก็เห็นแล้ว ว่านี่ใครเป็นผู้แสดง ถ้าไม่มีการตรัสรู้ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้สติปัฏฐานสักขณะหนึ่งก็ไม่เกิด

    เพราะฉะนั้น คนนั้นก็จะเริ่มเห็นพระคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และรู้ว่าปัญญาที่เกิดจากการฟังพระธรรม จะทำให้เข้าใจสภาพธรรมขึ้นจนกระทั่งสามารถ ที่จะได้ดำเนินรอยตาม คืออบรมเจริญปัญญา ที่ถูกต้องจนกว่าจะรู้แจ้งอริยสัจธรรม เพราะฉะนั้น การกระทำที่เป็นอยู่ค่อยๆ เป็นไป ก็เหนือคำพูด เพราะว่าบางคนอาจจะคิด แต่ว่าไม่ได้มีความเข้าใจจริงๆ ในสิ่งที่คิด อย่างพวกที่ขอโดยที่ไม่มีความรู้ พอได้ยินคำว่านิพพานก็ขอถึงเลย นิพพานคืออะไร ไปทางไหนก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก็ไม่เหมือนกับพวกที่ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูก แล้วก็อบรมเจริญ ความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง หนูไม่ค่อยเข้าใจ เรื่องของ สมถภาวนา ว่าในขณะที่ความสงบที่เป็นสมาธิ ปัญญาขณะนั้นรู้อะไร เพราะว่าท่านอาจารย์ เคยบอกว่า ถ้าเป็นสัมมาสมาธิ ต้องมีปัญญาเกิดร่วมด้วย ถ้าเผื่อเป็นมิจฉาก็ไม่มีปัญญา หนูไม่ทราบว่า ๒ อันนี้แตกต่างกันอย่างไร ขณะที่เป็นสมถภาวนา ขณะที่จิตสงบ เป็นสมาธิที่เป็น สัมมาสมาธินั้น ปัญญารู้อะไร ถ้าเป็นสมถภาวนา

    ท่านอาจารย์ ปัญญาเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความเห็นถูกต้องในลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่าเวลาที่จะอบรมเจริญภาวนา ไม่ว่าจะเป็น สมถภาวนา หรือวิปัสสนาภาวนา ก็ตาม ต้องประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ สัมปชัญญะ ที่นี่เป็นปกติ หมายความว่า รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏต่างขั้น ถ้าเป็นสติปัฏฐาน วิปัสสนาภาวนา จะมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ เพราะว่า รู้ว่าไม่มีเรา แต่ว่ามีปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น สติก็จะระลึกลักษณะของปรมัตถธรรมหนึ่ง ที่กำลังปรากฏ ค่อยๆ ศึกษาค่อยๆ เข้าใจจนกระทั่ง รู้จริงๆ ว่าลักษณะนั้นเป็น นามธรรมหรือเป็น รูปธรรม นี้คือ วิปัสสนาภาวนา หรือสติปัฏฐาน

    แต่ถ้าเป็นสมถภาวนา แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ทรงประสูตร ไม่ทรงตรัสรู้ ไม่ทรงแสดงธรรม ก็มีผู้ที่เห็นโทษของกิเลส เพราะฉะนั้น สมถภาวนาไม่ใช่สมาธิ ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะเหตุว่า บางคนต้องการแต่เพียงให้จิตไม่วอกแวก ไปที่อื่น ต้องการที่จะให้จิตตั้งมั่นอยู่ที่เดียว เป็นลักษณะของความต้องการ เป็นโลภะ เป็นมิจฉาสมาธิ เพระาเหตุว่าขณะนั้น มีความต้องการอย่างหนึ่ง อย่างใดที่ทำกันอยู่

    แต่ว่าผู้ที่จะอบรมเจริญสมถภาวนา มีปัญญาเห็นโทษของกิเลส อันนี้ขาดไม่ได้เลย ต้องมีปัญญาที่เห็นโทษ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเห็นโทษของโทสะ ไม่ชอบโทสะ ไม่สบายใจ แต่บุคคลนั้น เห็นโทษของโลภะ เห็นโทษของราคะ เห็นโทษว่าทันทีที่เห็น ติดข้องแล้วในสิ่งที่ปรากฏ และในเห็น ทันทีที่ได้ยินเสียง ติดข้องโดยไม่รู้ตัวเลย เพราะเหตุว่าถ้าศึกษาโดยอภิธรรมจะเห็นได้ว่าพอปัญจทวาราวัชชนจิตดับ วิถีจิตแรก แล้วถ้าเป็นทางหู โสตวิญญาณก็เกิด ดับแล้ว สัมปฏิจฉันนะเกิดต่อ สันตีรณะเกิดต่อ โวฏฐัพพนะเกิดต่อ ชวนะขณะนั้น เป็นอกุศล ประเภทหนึ่ง ประเภทใด ถ้าไม่เป็นกุศล แล้วลองคิดดูว่า ใครกี่คน ทันทีที่เห็นแล้วเป็นกุศล หรือว่าได้ยินแล้วเป็นกุศล ได้กลิ่นแล้วเป็นกุศล ลิ้มรสแล้วเป็นกุศล รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสแล้วเป็นกุศล คิดนึกในเรื่องที่เป็นกุศล ก็ยาก

    เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงไว้ละเอียดมาก ว่าอกุศลมีระดับต่างกันตั้งแต่ขั้น อนุสัย ขั้นอาสวะ ขั้นนิวรณ สังโยชน์อะไรต่างๆ ที่ได้กล่าวถึง เพื่อให้รู้ตามความเป็นจริงว่า แม้ขณะที่เราอาจจะไม่รู้ตัวเลย ขณะนั้น อกุศลก็เกิดแล้ว คนที่จะอบรมเจริญสมถภาวนา แม้ว่าเขาจะไม่รู้ ความจริงของสภาพธรรม ที่เป็นจิต เจตสิก รูป แต่เขาก็สามารถจะรู้สภาพที่ต่างกันของกุศลจิต และอกุศลจิต เขามีปัญญาระดับที่รู้ว่า ถ้าจิตของเขาระลึก หรือตรึกถึง อารมณ์ที่ทำให้กุศลจิตเกิด บ่อยๆ เนืองๆ ขณะนั้นจิตของเขาก็จะไม่เป็นอกุศล เวลาที่กุศลจิตเกิด สงบจากโลภะ จากโทสะ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่กุศลจิต เกิดบ่อยขึ้น ความสงบของจิต มีมากขึ้น ลักษณะของสมาธิซึ่งเป็นความผ่องใสจากอกุศลก็ปรากฏ เป็นระดับขั้นของสมาธิขั้นต่างๆ

    ถ้าเขาไม่รู้ โกรธเขาทำไม โกรธคนที่ไม่รู้ มีประโยชน์อะไร คนรู้ไปโกรธคนไม่รู้ แล้วจะรู้ทำไม ในเมื่อความรู้ก็ไม่ได้ช่วยอะไร ถ้าขณะนั้น เขามีความเมตตาแทนโทสะ แม้สักเล็กน้อย หมอก็จะเห็นได้ว่า นี่ยังไม่ถึงอุปจาร ยังไม่ถึงอัปปนาสมาธิ เพราะฉะนั้น ถ้าคนที่มีเมตตาจริงๆ เขาก็ ไม่ว่าจะพบใคร รู้จักหรือไม่รู้จัก คุ้นเคยหรือไม่คุ้นเคย รูปร่างหน้าตาจะน่ากลัวอย่างไรก็ตามแต่ ไม่ใช่แต่เฉพาะคน สิ่งที่มีชีวิตทั้งหมด หมอคิดดูก็แล้วกัน ว่ากว่าจะถึงอุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ จิตใจจะต้องสงบระดับไหน นี่ก็เป็นสิ่งซึ่งเราจะห็นได้ว่า แม้กุศลจิตเกิดเพียงเล็กน้อยนิดหน่อย ความต่างกันของกุศลกับอกุศลก็มี

    ถ้ามีกุศลมากๆ ใจของเราก็จะค่อยคลายความขุ่นข้องในวันหนึ่งๆ ไม่เป็นผู้ที่อมทุกข์ อมโกรธ อมโรค อมทุกอย่างเอาไว้หมด ก็ค่อยๆ คลายออกไปได้ ก็จะเห็นความต่างกันได้ เพราะฉะนั้น คนที่มีปัญญาระดับที่สามารถจะรู้ ว่าเมื่อตรึกถึงอะไร แล้วจิตกุศล จะเกิดบ่อยๆ เขาก็ตรึกถึงสิ่งนั้นบ่อยๆ แล้วเขาก็รู้สภาพของจิต เวลาที่มีนิวรณธรรม ที่เราใช้คำว่า เครื่องกั้นความดี ไม่ว่าจะเป็นความยินดีในรูป เกิดขึ้น หรือว่าความโกรธ ความขุ่นเคืองใจเกิดขึ้น นิวรณธรรม ๕ ผู้นั้นก็รู้

    สมถภาวนา ละ อกุศลทั้งหลาย ซึ่งก็ได้แก่นิวรณธรรมนั่นเอง เพราะฉะนั้น ในขณะนั้น จิตของเขาก็เป็นกุศลที่เพิ่มขึ้น รูปภายในหรือภายนอกก็คือรูป คือไม่ใช่สภาพรู้ แล้วแต่กุศลจะตรึกนึกใน นัยไหนได้ทั้งหมด ที่เป็นกุศล ขณะนั้นสงบ หรือว่าขณะนั้นรู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถ ซึ่งหมอทราบดี ถ้าขณะนั้นไม่รู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถก็หมายความว่าเป็นไปในสมถภาวนา คือ เป็นเพียงความสงบของจิต ถ้าขณะไหนที่รู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม ขณะนั้นไม่ใช่ตัวหมอ แต่ว่ามีสัมมาสติเกิดระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม หมอก็รู้ว่าขณะนั้นเป็นนัยของสติปัฏฐาน แต่ไม่ใช่หมอจะเอาบรรพมาแล้วจะทำ บรรพนี้ จะทำบรรพนั้น ตอนนี้จะทำปฏิกูลมนสัญญา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อะไรอย่างนั้น ไม่ใช่

    แต่หมายความว่าชีวิตประจำวันจริงๆ จากการที่ฟังแล้วเข้าใจ เป็นปัจจัยให้ขณะจิตนั้นเป็นอย่างไร เป็นปัจจัยให้เกิดทานได้ ยังไม่ทันมีใครจะคิดให้ คนนั้นติดแล้ว เป็นปัจจัยให้ทานเกิดได้ หรือว่าเป็นปัจจัย ในเรื่องของศีลก็ได้ เป็นปัจจัยในความสงบของจิตก็ได้ เป็นปัจจัยในการที่สติจะระลึกรู้ก็ได้ เป็นอนัตตา

    ถ้าหมอเข้าใจอย่างนี้ หมอไม่เดือดร้อน แล้วก็ไม่ต้องเอากรอบมาวาง แล้วก็จะทำตามกรอบ เพราะว่าไม่มีกรอบ แล้วแต่สภาพธรรมใดเกิดขึ้นก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ไม่ต้องไปคิดเรื่องนั้นก่อน เรื่องนี้ก่อน

    ผู้ฟัง มีคำถาม ผู้ฟังใหม่ เรียนอาจารย์สุจินต์ ที่เคารพ เคยฟังบรรยายทางวิทยุ การกระทำ หรือ ความคิด ความรู้สึก ที่เราทำ เราคิด เรานึกนั้น ไม่ใช่ตัวเรา จะไม่ทำให้คนเรา ไม่ต้องรับผิดชอบ ต่อการกระทำ ความคิด ความนึก ที่แต่ละคนทำหรือ

    ท่านอาจารย์ ตั้งแต่เกิดมา เคยป่วย หรือเจ็บ บ้างไหม หรือไม่เคยเลย รับผิดชอบอะไรหรือเปล่า ต้องไปรับผิดชอบอะไรที่ไหน หรือเปล่า หรือว่าเมื่อเหตุมี ผลก็ต้องมี เพราะฉะนั้น การกระทำที่เป็นอกุศล เป็นอกุศลกรรม เป็นอกุศลเจตนามี ก็เป็นปัจจัยให้ทุกข์กายเกิด ก็เป็นเรื่องของเหตุ ของผล ไม่ใช่เรื่องเรา ตัวเรา มีเรา ที่จะไม่รับผิดชอบ หรือว่าจะรับผิดชอบ ไม่ใช่ความคิดนึกทั้งหมดเป็นเรา แต่ว่าเป็นสภาพจิตที่คิด จะคิดอย่างไรก็คิดได้ คิดถูกก็ได้ คิดผิดก็ได้ แต่ให้ทราบว่าทุกอย่างที่เกิดต้องเกิดเพราะเหตุปัจจัย

    ผู้ฟัง กราบเรียนอาจารย์ ช่วยอธิบาย คำว่า เรา

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีสภาพปรมัตถธรรม คือ ไม่มีจิต ไม่มีเจตสิก ไม่มีรูป ความคิดว่าเป็นเรา มีไหม

    ผู้ฟัง คำพวกนี้ยังไม่ค่อยเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ต้องตั้งต้นเรียนตั้งแต่แรกเลย ปรมัตถธรรม

    ผู้ฟัง ผมมองเห็นหน้าต่างแล้ว ทำอย่างไรมันถึงจะไม่เป็นหน้าต่าง

    ท่านอาจารย์ ถ้าจะเป็นทำอย่างไร นั้นคือไม่ถูก คุณเด่นพงษ์ พยายามคิดแต่ว่า ทำอย่างไร ไม่มีทางถูกเลย แต่จากการฟังเริ่มค่อยๆ เข้าใจทีละน้อย มีการระลึกได้ ว่านี่เป็นสิ่งที่ปรากฏ แค่เข้าใจอย่างนี้ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น จะให้ไม่เป็นใครเลยในที่นี้ เป็นไปได้ไหม ในเมื่อหลังจากเห็นแล้ว ต้องมีสัญญาความจำ ซึ่งต้องจำได้แน่นอน ว่าสิ่งนั้นเป็นอะไร แต่ปัญญาเป็นส่วนที่แทรก เข้ามารู้ว่า ขณะนั้น สิ่งที่ปรากฏทางตา ลักษณะแท้ๆ ก็คือเพียงปรากฏเมื่อลืมตาเท่านั้นเอง นี่คือความจริง

    เพราะฉะนั้น การที่เราเคยยึดมั่นไว้ ในสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วก็มีการทรงจำว่าเป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใด แน่นมาก แน่นจนไม่เปิดโอกาสให้ปัญญาได้เกิดความเห็น ที่ถูกต้องจากการฟัง ไม่อย่างนั้น ก็ไม่ทรงแสดง ในพระไตรปิฎก ถ้าคุณเด่นพงษ์ จะไปเปิด ไม่มีพ้นจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้น เมื่อในโลกนี้มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีใจ ก็จะพูดเรื่องอะไรแล้วควรจะเข้าใจอะไร ก็ต้องเข้าใจเรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ว่าความเข้าใจของเราถึงเป็นธรรม หรือเปล่า ความเป็นธรรมที่ไม่ใช่เรา แล้วธรรมนี้ก็หลากหลาย ธรรมที่เป็น นามธรรมก็มี ธรรมที่เป็นรูปธรรมก็มี เราฟังเพื่อที่จะให้เกิดปัญญา ไม่ใช่ฟังแล้วเบื่อว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มาอีกแล้ว บางคนเวลาอ่านพระไตรปิฎก ก็ข้ามเลย พอถึงตา ก็ไม่มีแล้ว ที่จะไปอ่าน หู จมูก ลิ้น กาย

    แต่ถ้าคิดถึง ครั้งหนึ่งที่พระผู้มีพระภาค ทรงงแสดงธรรม ขณะนั้น เขาที่ฟัง กำลังเห็นแล้วก็กำลังได้ยิน ทุกอย่างปรากฏในขณะนั้น แสดงให้เข้าใจความจริงของสภาพธรรม จนกระทั่งคนนั้นมีปัญญาที่ได้สะสมมาแล้วก็สามารถที่จะเข้าใจ ในความเป็นธรรม ของสิ่งที่เป็นธรรมจริงๆ เมื่อเป็นธรรมแล้วก็ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ของใคร แล้วก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับ เพราะฉะนั้น แทนที่จะเบื่อว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อีกแล้ว ก็เป็นการเตือนตัวเองว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อีกแล้ว แต่ไม่รู้สักที เพราะฉะนั้น ไม่รู้สักทีควรที่จะใส่ใจเข้าใจ เพื่อที่จะจะรู้ ไม่ใช่เมื่อไม่รู้สักที แล้วจะมีประโยชน์อะไร ก็พูดซ้ำไป ซ้ำมา เรื่องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่เตือนให้รู้ว่า ไม่รู้ เพราะไม่รู้ เพราะไม่รู้ว่าเป็นธรรม ก็ต้องฟัง ต้องอบรมปัญญา จนกว่าจะเป็นธรรม ด้วยปัญญาที่รู้จริงๆ

    ผู้ฟัง ผมพยายามลืม แล้วก็หลับตา แล้วก็ลืม แล้วก็หลับตา มันก็หน้าต่างๆ ๆ ๆ แล้วผมก็พยายามหลับตาต่อไปอีกว่า ต่อไปนี้จะไม่ให้มันเป็นหน้าต่าง มันก็เป็นอยู่

    ท่านอาจารย์ คุณเด่นพงษ์ นั่นไม่ใช่วิธี นี่ไม่มีในพระไตรปิฎก เพราะฉะนั้น ต้องทราบการที่เราไม่เคยฟังพระธรรมมาเลย ไม่มีช่องว่างสักนิดเดียว ที่จะทำให้มีความเห็นถูกเกิดขึ้น ระหว่างที่มีการเห็นแล้วก็มีการเข้าใจว่าเป็นสิ่งหนึ่ง สิ่งใด เพราะเหตุว่าเป็นของธรรมดา เมื่อทางตาเห็นแล้ว ทางใจจะต้องคิดนึกต่อ นี้เป็นปกติธรรมดา แต่ว่าเมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว ก็จะมีโอกาส กาลที่เกิดการระลึกได้ คือสติเกิด แล้วก็เริ่มที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่านี่เป็นสิ่งที่ปรากฏ แล้วจริงอย่างนั้นหรือเปล่า เป็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาจริงๆ หรือเปล่า ค่อยๆ เข้าใจไปทีละน้อย แต่ไม่ใช่ให้ไปเห็นว่าไม่ใช่หน้าต่าง นั่นผิด

    แต่ว่าความเข้าใจรู้ว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ค่อยๆ เพิ่มขึ้น คุณเด่นพงษ์ ยังไม่ได้รู้สึกเลยหรือว่า ตั้งแต่เราฟังพระธรรมมา มีเวลาที่เกิดระลึกขึ้นได้ ว่า นี่เป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น นี่คือการเริ่มของสติปัฏฐาน ที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย เพราะว่าสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ทางตาเวลานี้ ก็กำลังปรากฏ ไม่เปลี่ยนแปลงเลย รูปนี้ต้องปรากฏอย่างนี้ แสนโกฏิกัปป์มาแล้ว สิ่งที่ปรากกฏทางตาก็เป็นอย่างนี้แหละ จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ คือเป็นสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เป็นรูป รูปหนึ่ง เป็นรูปขันธ์

    เพราะฉะนั้น เวลาที่ได้ฟังพระธรรมแล้ว ต่อไปก็คงจะมีสักปัจจัยปรุงแต่ง ให้มีการระลึกขึ้นได้ว่านี่เป็นเพียง สิ่งนี้แหละที่เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้นเอง นี้คือจุดเริ่มเล็กๆ แล้วก็จะค่อยๆ นานๆ ครั้งนานๆ ครั้ง ไม่ต้องไปรีบเร่งรีบร้อน แต่หมายความว่าความเข้าใจของเราเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยที่จะทำให้สติ มีการระลึก แต่ไม่หวัง พอหวังแล้วก็อีกนาน ไปเลย สติปัฏฐานก็ไม่เกิดเพราะมัวแต่หวัง แต่ถ้าไม่หวังก็มีโอกาสที่สะสมปัญญาไป แล้วสติก็จะเกิดระลึกได้ ก็จะเป็นความเบาสบาย เวลาที่คุณเด่นพงษ์หวัง หนักมาก เมื่อไรๆ จะเห็นไม่เป็นหน้าต่าง ก็ต้องหนักๆ นานมากเลย ไม่ใช่เป็นความเบาบางสบาย แต่ขณะใดก็ตามที่เป็นกุศล ขณะนั้นต่างกับ อกุศล จะไม่มีความหนักอย่างนี้เลย เพราะเรารู้ว่าเร็วไม่ได้ เห็นอย่างนั้นไม่ได้ ไม่ใช่ให้เห็น แต่ให้เข้าใจให้ถูกว่าขณะนี้ สภาพที่ปรากฏทางตา อย่างนี้เอง ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567