ปกิณณกธรรม ตอนที่ 559
ตอนที่ ๕๕๙
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๔
ท่านอาจารย์ แต่ขณะใดก็ตามที่เป็นกุศล ขณะนั้นต่างกับอกุศล จะไม่มีความหนักอย่างนี้เลย เพราะเรารู้ว่าเร็วไม่ได้ เห็นอย่างนั้นไม่ได้ ไม่ใช่ให้เห็น แต่ให้เข้าใจให้ถูกว่าขณะนี้ สภาพที่ปรากฏทางตาอย่างนี้เอง ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ผู้ฟัง ถ้ามองในลักษณะเดียวกัน ขันธ์ ๕ ตาผมมองอย่างไรก็เป็นหน้าต่าง แต่เวลารู้สึกโกรธ รู้สึกเสียใจ รู้สึกน้อยใจ รู้สึกอะไร รู้สึกมันมองเห็นได้ realize ตระหนักได้ว่ามันจริง แต่เห็นนี้หน้าต่างทุกที
ท่านอาจารย์ แต่ผู้ที่จะเกิดอีกเพียง ๗ ชาติ เป็นอย่างมาก ต้องรู้ทั่ว เช้านี้เราพูดถึงจิตเกิดดับเร็วมาก แสนโกฏิ ขณะอะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เวลานี้ก็จะต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ได้เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น ขณะเล็กๆ ที่เกิดขึ้นมา ระลึกได้ว่า ขณะนี้ สิ่งที่ปรากฏทางตา ก็คืออย่างนี้แหละ ถ้าเราไม่ไปสนใจเรื่องรูปร่างหรือชื่อต่างๆ ก็คือใส่ใจในลักษณะที่กำลังปรากฏ ว่าลักษณะนี้คือสภาพธรรม อย่างหนึ่ง แล้วจะเห็นเป็นหน้าต่างก็เห็นเป็นหน้าต่าง ไม่มีใครไปไม่เห็นเป็นหน้าต่าง แต่ปัญญาของคนที่ระลึกได้ กับปัญญาของคนที่ไม่เคยระลึกเลย นี่คือความต่างกันแล้ว เพราะฉะนั้น เราจะรู้ได้ ว่าปัญญาเริ่ม ตรงไหนค่อยๆ เกิดอย่างไร อาศัยการฟัง จึงทำให้มีการระลึกได้ แล้วก็สภาพธรรมที่เกิดดับสืบต่อกัน ก็เหมือนเดิม แต่ว่าปัญญาจะค่อยๆ คมขึ้น จนถึงระดับขั้นที่ สามารถประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรมได้
ผู้ฟัง ถ้าจะช่วยผมสักนิดหนึ่ง ถ้าผมเห็นเป็นหน้าต่าง แล้วผมก็หลับตา แล้วผมคิดอีก
ท่านอาจารย์ ไม่ต้อง ไม่ต้องหลับตา
ผู้ฟัง แล้วมันก็ยังเป็นหน้าต่างอยู่
ท่านอาจารย์ เป็นหน้าต่างก็เป็นหน้าต่าง แต่คุณเด่นพงษ์ ระลึกได้บ้างไหมว่าขณะนี้ เป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่ง แค่นี้ นี่คือการที่จะเข้าใจ
ผู้ฟัง ผมอยากพยายามให้ตัวเห็น ว่านั้นมันแค่สี
ท่านอาจารย์ นั่นผิดๆ อันนั้นผิด ไม่ใช่ไปพยายามอย่างนั้นที่จะให้เป็นอย่างนั้น แต่อบรมความเข้าใจให้ถูกต้องขึ้น ทีละเล็ก ทีละน้อยว่า นี่คือสภาพธรรม จนในที่สุดเราค่อยๆ ชินกับลักษณะที่ปรากฏทางตา รู้ว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้นเอง แล้วต่อจากนั้นก็เป็นเรื่องราวเป็นนึกคิด โลกของความคิดนึกนี้ มหาศาล ต่อจากทางตา ต่อจากทางหู ต่อจากทางจมูก ต่อจากทางลิ้น ต่อจากทางกาย หมด
ผู้ฟัง แม้แต่ความโกรธก็เหมือนกัน ใช่ไหม ไม่ควรจะไปนั่งคิดต่อ ว่าทำไมเราถึงโกรธ เราไม่น่าจะโกรธ
ท่านอาจารย์ พูดได้ แต่ว่า สภาพธรรม แล้วแต่จะคิดหรือไม่คิด แต่ให้เข้าใจให้ถูกต้องว่าแม้คิด ขณะนั้นก็เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย จนกว่าจะทั่ว ก็ขอฝากให้คุณเด่นพงษ์ ลองพิจารณาดูว่า มีคำสอน ๒ อย่าง คือคำสอนหนึ่งก็บอกให้ทำ พยายามทำมากๆ ให้เพียรมากๆ ให้เห็นว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่คนไม่ใช่สัตว์ นี่คือคำสอนหนึ่ง แล้วอีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่า สภาพธรรม เป็นปกติในชีวิตประจำวันอย่างไร ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงได้ คือหลังจากเห็นแล้วก็จะต้องมีการรู้สิ่งที่เห็นนั้นเป็นอะไร ไม่อย่างนั้นเราก็มีชีวิตอยู่ไม่ได้เลย ถ้าคุณเด่นพงษ์ไม่เห็นว่าเป็นหน้าต่าง จะปิดหน้าต่าง เปิดหน้าต่างได้ไหม ก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น ก็เป็นชีวิตตามความเป็นจริงทุกอย่าง แต่คำสอนนั้นไม่ได้ไปสอนให้เปลี่ยนแปลง หรือพยายามทำให้เห็นเป็นอย่างอื่น แต่ให้พิจารณาให้เข้าใจความจริง ว่าแท้ที่จริงแล้ว ที่เราเคยเห็นว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ต้องเป็นสภาพธรรมที่ต่างกัน คือ ชั่วขณะที่เห็น ยังไม่ทันคิดนึกเลยก็ต้องมี แล้วหลังจากที่เห็นแล้ว ก็ต้องคิดนึกตามสิ่งที่เห็น จึงจะรู้ว่าสิ่งที่เห็น เป็นอะไร เพราะฉะนั้น ก่อนนี้ไม่เคยมีการเข้าใจธรรมเลย แต่ถ้าจะอบรมเจริญปัญญาก็คือ ขณะที่ระลึกได้ ฟังแล้วตั้งนาน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขณะนี้ก็กำลังเห็นด้วย เพราะฉะนั้น ขณะใดที่ระลึกได้ ว่า ขณะนี้เป็นเพียงสภาพธรรม อย่างหนึ่งที่ปรากฏตามปกติธรรมดา จะเห็นเป็นคนก็คือเห็นเป็นคน แต่ มีสภาพธรรมที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เพียงการคิดนึกเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ก็ค่อยๆ เห็นความจริงว่า แต่ละอย่างเป็นธรรมที่ละเอียดมาก คือสิ่งที่ปรากกทางตาก็เป็นอย่างนี้แหละ ชาติก่อน ชาติหน้า ชาติไหน ก็คือเห็นอย่างนี้แหละ ต้องเห็นอีก ตายแล้วเกิดใหม่ ก็เห็นอีก ชาติก่อนเห็นอะไรมา แล้วก็ไม่ทราบ ชาตินี้ก็มาเห็นอย่างนี้อีก เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นอย่างนี้ไปในสังสารวัฏฏ์ ไม่จบสิ้น นี้เป็นโลกของทางตา ซึ่งจะต้องเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ไม่ใช่มีแต่ธรรม ที่ปรากฏ ทางตาเท่านั้น ธรรมอื่นๆ อีก ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ก็ล้วนแต่เป็นธรรมที่เกิดดับสืบต่อ ที่ละเอียดมาก เพราะฉะนั้น ก็เริ่มระลึกบ้าง ตามเหตุ ตามปัจจัย แล้วไม่ต้องเป็นห่วงกังวล กระวนกระวาย เมื่อไรจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เลย แต่เป็นผู้ตรงที่จะรู้ว่าเมื่อระลึก จึงค่อยๆ จะรู้ ไม่ใช่รู้ทันที เป็นจิรกาลภาวนา
แต่ว่าถ้าเป็นผู้ใหม่จริงๆ จะมีคำใหม่มาก แม้แต่คำว่ารูปที่ถามเมื่อกี้นี้ ก็แสดงให้เห็นว่าคงจะมีหลายท่านทีเดียวซึ่งคงจะต้องกล่าวถึงทั้ง ๖ ทวาร คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะเหตุว่า ธรรมเป็นสิ่งที่จะต้องค่อยๆ เข้าใจให้ชัดเจนขึ้น แล้วก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในหนังสือ หรือว่าในตำราเท่านั้น ไม่ใช่ว่าเราเรียนแล้วเรารู้เรื่อง รู้คำ แต่ว่าต้องเข้าใจว่าธรรม คือ ขณะนี้ ปัจจุบันนี้ พระสูตรนี้ทั้งหมด ก็คือเรื่อง ชีวิตในขณะนี้ของแต่ละท่าน
ผู้ที่ยังไม่ได้ศึกษามาก่อน ก็คงจะยาก แต่ถ้าทราบว่า ธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ ขณะนี้ ที่สามารถจะปรากฏ ให้ศึกษาให้เข้าใจได้ เพราะว่าพระผู้มีพระภาค ตรัสตั้งแต่เรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเวลานี้ก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น ในพระสูตรนี้ มีใครที่สงสัยในคำว่า จักขุกับรูปไหม จักขุ คือ ตา รูปคือสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา จักขุวิญญาณคือสภาพรู้ หรือนามธรรมที่กำลังเห็น หรือว่ากำลังรู้ว่าขณะนี้ มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา
แม้แต่พระภิกษุซึ่งไปเฝ้า และกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค ก็ทรงแสดงธรรม เพื่อที่จะให้เข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังมี ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ อย่างที่ถามคำว่า รูป แล้วก็คิดว่ารูปได้แก่รูปทั้งหมด โดยจำนวนคือ ๒๘ รูป แต่พอถึง บอกว่า รูปารมณ์ ไม่สงสัย ความจริง รูป หมายความถึงสภาพซึ่งไม่รู้อะไรเลย และอารมณ์ หมายความถึงสิ่งที่จิต รู้ เพราะฉะนั้น รูปารมณ์ ก็คือรูป ที่เป็นอารมณ์ คำว่า รูป รวมกับคำว่า อารมณ์ ก็เป็น รูปารมณ์ ถ้าสงสัยว่าทำไมทางตา กล่าวว่ารูป แต่พอถึงกล่าวว่า รูปารมณ์ไม่สงสัย รูปารมณ์ก็ต้องรวมรูป ๒๘ ด้วย แต่เพราะเหตุว่าเคยฟังมาแล้ว รูปารมณ์ หมายเฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้เท่านั้น
ถ้าใครก็ตามศึกษาธรรม แล้วได้ยินคำว่า รูปารมณ์ หมายเฉพาะสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะเหตุว่า จะพบคำว่า รูป อีกหลายแห่ง โดยพยัญชนะต่างกัน โดยความหมายต่างกัน เช่น ปิยรูป สาตรูป ชื่อว่ารูป ปิยรูป สาตรูป แต่ไม่ใช่รูปเท่านั้น
การศึกษาต้องละเอียด และต้องเข้าใจว่าสำหรับทางตา ขณะนี้สิ่งที่ปรากฏ ถ้าจะศึกษาธรรมก็ให้เข้าใจว่า ใช้คำว่า รูปารมณ์ ซึ่งหมายความถึงสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ บางแห่งจะใช้คำแปลว่าสี มาจากคำว่า วัณณะ หรือ วัณโณ แต่ก็หมายความถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ซึ่งเป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งข้อความทั้งหมดนี้กล่าวถึงเรื่องของสิ่งที่ปรากฏทางตา รูปารมณ์ สิ่งที่ปรากฏทางหู คือ เสียง สัทธารมณ์ สิ่งที่ปรากฏทางจมูก คือ คันทารมณ์ สิ่งที่ปรากฏทางลิ้น คือ รสารมณ์ สิ่งที่ปรากฏทางกายโผฏฐัพพารมณ์ สิ่งที่ปรากฏทางใจ ธรรมารมณ์
ถ้าเราจะข้ามไป ดูเหมือนเข้าใจ แต่จริงๆ ต้องชัดเจนเพื่อว่า ต่อไปเราจะได้ไม่ลืม ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ฟัง ต้องเก็บความเข้าใจนั้นไว้ เพื่อที่จะได้ไม่สับสน สำหรับสิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้ ให้ทราบว่า นอกจากปรากฏทางตาแล้ว ทางใจก็ยังจำ หรือ ว่ารู้สิ่งที่ปรากฏทางตานี้ต่อด้วย ทางหู ขณะนี้มีเสียงปรากฏ ภาษาบาลีใช้คำว่า สัทธารมณ์ สัทธ แปลว่าเสียง เสียงใดที่เป็นอารมณ์เท่านั้น เสียงนั้นจึงจะเป็นสัทธารมณ์ ถ้าเสียงในป่าไม่มีใครได้ยิน เสียงนั้นเกิดขึ้น ต้องเป็นเสียง จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ภาษาบาลี ใช้คำว่า สัทธ แต่เสียงใดก็ตามที่จิตกำลังรู้ กำลังได้ยิน เสียงนั้นเป็น สัทธารมณ์ ถ้าใช้คำว่า สัทธารมณ์ หมายความว่า เป็นอารมณ์ที่จิตรู้ เสียงนั้น ทางจมูก ก็มีกลิ่นปรากฏ เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ สำหรับกลิ่น ภาษาบาลีใช้คำว่า คันธ หรือ คันโธ ใช่ไหม กลิ่นใดที่เป็นอารมณ์ กลิ่นนั้นก็เป็น คันธารมณ์ ขณะนี้ที่อื่นมีกลิ่นไหม ในครัวบ้านไหนก็มี ที่ไหนก็มี ในห้องอาหาร แต่กลิ่นนั้นไม่เป็นอารมณ์ของจิต ก็เกิด แล้วก็ดับไป โดยที่จิตไม่ได้รู้กลิ่นนั้น กลิ่นนั้นก็ไม่ได้เป็น คันธารมณ์ เป็นแต่ คันธ แต่กลิ่น ใดก็ตามที่ปรากฏกับจิต กลิ่นนั้นเป็นอารมณ์ของจิต เพราะฉะนั้น จึงเป็นคันธารมณ์
ขณะที่กำลังรับประทานอาหาร รสปรากฏ เวลาอาหารอยู่บนโต๊ะ หรือว่าอยู่ในจาน อยู่ในครัว รสไม่ได้ปรากฏเลย มีจิตเห็น แต่รสไม่ได้ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น เวลาที่มีจิตลิ้มรส สามารถที่จะรู้ว่ารสนั้นเป็นอย่างไร แม้ว่าจะไม่ใช้คำใดๆ ทั้งสิ้น ว่าหวาน ว่าเค็ม ว่าเผ็ด หรือเฝื่อน แต่จิตสามารถซึ่งจะลิ้มรส ซึ่งมีอยู่ในมหาภูติรูปได้ ขณะนั้น รส เป็น รสารมณ์ ของจิตที่ลิ้มรส
ทางกาย ใช้คำว่า โผฏฐัพพารมณ์ หมายความถึงรูปที่ปรากฏเมื่อกระทบกับกายปสาท แล้วจิต เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น รวมรูป ๓ รูป ได้แก่อ่อนหรือแข็ง ๑ รูป เย็นหรือร้อน ๑ รูป ตรึงหรือไหว ๑ รูป ๓ รูปนี้รวมเป็นโผฏฐัพพารมณ์ รูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ เพียง ๓ รูปรวมกัน ชื่อว่าโผฏฐัพพารมณ์ สำหรับอีกอารมณ์หนึ่ง ชื่อว่า ธรรมารมณ์ ซึ่งถ้าอ่านพระสูตรนี้จะทิ้ง ความเข้าใจในคำว่า ธรรมารมณ์ไม่ได้ เพราะเหตุว่า เราอาจจะข้ามไป แต่จริงๆ แล้วหมายความว่า อารมณ์ใดก็ตามที่รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น ไม่สามารถจะรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อารมณ์ใดๆ ทั้งหมดที่สามารถจะรู้ได้ทางใจ เป็นธรรมารมณ์
ผู้ฟัง ชินไม่เข้าใจความหมายของเขา ขอ กรรมฐาน
ท่านอาจารย์ คำว่า ขอกรรมฐาน คือ ขอความเข้าใจ เพราะฉะนั้น ความเข้าใจในอะไร ในรูปารมณ์ ในสัทธารมณ์ ในคันธารมณ์ ในรสารมณ์ ในโผฏฐัพพารมณ์ ในธรรมารมณ์ เพราะฉะนั้น เวลาที่สติเกิด ระลึก เพื่อที่จะอบรมเจริญปัญญา ก็รู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ คือ รูปารมณ์ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ และธรรมารมณ์ นั่นเอง นี่เป็นสิ่งที่เราจะต้องมีความเข้าใจพื้นฐานตั้งแต่ต้น ถ้าไม่อย่างนั้น เราก็ไม่ทราบว่าปัญญารู้อะไร
ขอกรรมฐาน กรรมฐานคืออะไร กรรม คือการกระทำทางใจ ไม่ใช่ทางกาย ไม่ใช่ให้ไปกวาดบ้าน ทำครัว แต่ว่าเป็นการอบรมเจริญปัญญาโดยที่ว่า ต้องมีการระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเหตุว่า ถ้าไม่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเป็นปัญญาไม่ได้เลย เราอาจจะใช้คำว่า ปัญญาทางโลก แต่ว่าปัญญาเจตสิก เป็นสภาพที่เห็นถูก เข้าใจถูกในสภาพที่กำลังมี กำลังปรากฏในขณะนี้
กรรมฐาน ก็ไม่พ้นไปจากการที่จะเข้าใจให้ถูกต้องในสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ต้องมีความเข้าใจให้ถูกต้อง รูปารมณ์ ไม่ใช่สัทธารมณ์ ไม่ใช่คันธารมณ์ ไม่ใช่รสารมณ์ ไม่ใช่โผฏฐัพพารมณ์ ไม่ใช่ธรรมารมณ์ เช่นเดียวกับ สัทธารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ก็ไม่ใช่ ธรรมารมณ์ แต่ธรรมารมณ์ หมายถึง อารมณ์ใดๆ ก็ตามซึ่งไม่สามารถจะรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ข้อความนี้ตลอดไปในพระไตรปิฎก เพราะว่าธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ และทรงแสดง เมื่อทรงแสดงโดยพยัญชนะใด ขอให้มีความเข้าใจชัดเจน ในพยัญชนะนั้น เพื่อจะได้ไม่สับสน ในภายหลัง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์มักจะแสดงในวิทยุเสมอว่า ผู้มีเพื่อน ๒ เพื่อน ๒ คืออะไร ผู้เดียวคืออะไร
ท่านอาจารย์ ที่จริง การศึกษาธรรม ต้องเข้าใจตลอดไปจนกระทั่งถึงที่สุด แต่ว่าต้องตั้งตั้งแต่ต้น คือถ้าไม่เข้าใจความหมายของผู้เดียวก็จะคัดค้านว่าขณะนี้เราก็เห็นตั้งหลายคนอยู่ด้วยกัน แต่ถ้าทราบว่า จิตหนึ่งขณะ เกิดขึ้น สิ่งหนึ่งสิ่งใดจึงจะปรากฏให้รู้ได้ ถ้าจิตไม่เกิด แม้ว่าจะมีสีสันวัณณะ ที่ไหนก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏ ถ้าจิตไม่เห็นสิ่งนั้น หรือว่าเสียง ถ้าไม่มีจิตเกิดขึ้น ได้ยินเสียง เสียงนั้นก็ไม่ปรากฏ
เพราะมีจิตเกิดขึ้น สิ่งต่างๆ จึงปรากฏได้ แต่ว่าปรากฏทีละอย่าง ขอให้ทุกคนคิดถึงตอนเกิด เวลาที่จิตเกิด เกิดคนเดียว จิตนั้นเกิด แต่ละคนก็คนเดียวทั้งนั้น เวลาที่เติบโตขึ้นมาแม้ในขณะนี้ ขณะเห็น ใครเห็นร่วมกับจิตของคนที่เห็นบ้าง จิตไหนเห็น จิตนั้นก็เห็น จิตไหนได้ยิน จิตนั้นก็ได้ยินเสียง เสียงปรากฏกับบุคคลนั้น ไม่มีใครมาร่วมด้วยขณะที่กำลังเห็น ว่า มาเห็นด้วยกันในจิตหนึ่งขณะ หรือว่ามาได้ยินด้วยกันในจิตหนึ่งขณะตามความเป็นจริงแล้วก็เป็นสภาพที่เป็นจริงอย่างนั้น คือว่าโลกปรากฏกับจิตทีละหนึ่งขณะ แล้วแต่ว่าขณะนั้นจะเห็นสิ่งที่ปรากฏ ก็ไม่มีใครเห็นด้วย มีจิตเกิดขึ้น หนึ่งขณะแล้วก็เห็น ถ้าขณะที่กำลังได้ยินเสียงก็ไม่มีใครร่วมได้ยินด้วย แต่จิตหนึ่งขณะนั้นเกิดขึ้นได้ยินเสียงแล้วก็ดับ ไป เพราะฉะนั้น ตามความเป็นจริง ถ้าคิดว่ามีตัวตน ก็คืออยู่คนเดียว แต่ว่าตามความเป็นจริงก็ยังหยาบ เพราะเหตุว่า ไม่มีตัวตน แต่ว่ามีจิต เจตสิก ซึ่งเกิดพร้อมกันรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่กำลังปรากฏสั้นมาก แล้วก็ดับไป แต่ก็เกิดดับสืบต่อจนปรากฏเสมือนว่า เป็นคนจริงๆ ที่กำลังห็น เป็นตัวเรา แล้วก็มีคนอื่นอีกมาก ที่กำลังปรากฏ ทางตา ในขณะนี้ให้เห็น แต่ว่าตามความจริงก็คือจิตเกิดขึ้น ทีละหนึ่งขณะ แต่ว่าเกิดดับสืบต่อเร็วมาก เพราะฉะนั้น ก็ทำให้เป็น เหมือนนายมายากล ซึ่งทำให้มีสิ่งต่างๆ ปรากฏเหมือนกับมีคนมากมาย แล้วก็มีเสียงได้ยินเรื่องต่างๆ ด้วย นี่ก็ต้องทราบว่า ถ้าแยกชีวิตออกไป ให้เหลือเพียงหนึ่ง ขณะจิต ความจริงก็คือ อยู่คนเดียว หรือว่าแท้ที่จริงก็ไม่ใช่คน แต่ว่าเป็นจิต เจตสิก ที่เกิดร่วมกัน รู้อารมณ์เพียงหนึ่งอย่าง แล้วแต่ว่าจะเป็นทางตา หรือทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ แล้วก็ดับไป สืบต่อ นี่คือความหมายของการอยู่ผู้เดียว แต่ว่าตามความเป็นจริง ก็คือว่า ต้องเป็นระดับของปัญญาที่สามารถจะประจักษ์ ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นจริงอย่างนี้ เมื่อได้เจริญอบรมแล้ว แต่ว่าถ้ายังไม่ได้อบรมเจริญปัญญา ตามที่พระผู้มีพระภาค ทรงบำเพ็ญพระบารมี ทรงประจักษ์ และทรงแสดง
คนที่ไม่ได้ฟังพระธรรมเลย ก็คิดว่ามีคนจริงๆ แล้วเห็นคนมากมายจริงๆ ขณะนั้นก็อยู่หลายคน ที่เป็นอย่างนี้ก็เป็นเพราะเหตุว่า เมื่อมีอวิชชา ความไม่รู้ และมีตัณหา เป็นเพื่อน ๒ ก็ทำให้คิดว่าเราอยู่ในโลก ซึ่งอยู่ด้วยกันหลายคนตลอดชีวิต
ผู้ฟัง ผู้มีเพื่อน ๒ นั้น คือในขณะนั้น จิตดวงนั้นมีโลภเจตสิกเกิดร่วมด้วย เจ้าโลภะ คือเป็น เพื่อน ๒ นั่นเอง ถ้าเผื่อเราอ่านต่อไป อันนี้จะขยายความที่ท่านอาจารย์อธิบาย ผู้เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด อันนี้หมายความว่าขณะที่อยู่คนเดียวนั้น คือ หลีกออกจากอกุศล ใช่หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ถ้าขณะนี้ มีผู้ที่ได้ ฟังพระธรรมมานานแสนนาน แล้วก็มีความเข้าใจทันทีที่ได้ฟัง สติเกิด ระลึกตาม สามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนั้น หลีกออกผู้เดียว เพราะว่าปัญญาในขณะนั้นเกิด จึงสามารถที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เพราะเหตุว่าปัญญาต้องรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่ที่ล่วงไปแล้วหรือว่าที่ยังไม่มาถึง เพราะเหตุว่าสิ่งที่ยังไม่มาถึง ไม่ปรากฏเลย จะรู้ได้อย่างไร สิ่งที่ดับไป ก็ดับไปแล้ว
ขณะใดที่ปัญญาเกิดขึ้น รู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นอยู่ผู้เดียว หลีกออกจากหมู่เร้นอยู่ ขณะนี้คนฟังเป็นใคร แล้วกำลังอยู่ที่ไหน แล้วสิ่งที่กำลังปรากฏ ปรากฏโดยความไม่รู้ตลอดไป คิดคอยว่าจะไปอยู่ป่า เหมือนท่านพระเถระ หรือเปล่า แต่ว่าสภาพธรรมตามความเป็นจริง ผู้ที่อบรมเจริญปัญญามาแล้วสามารถที่จะรู้ได้ ไม่ว่าที่ไหนในครัวก็ได้
ผู้ฟัง ไม่จำเป็นว่าจะต้องมาเอาอย่างท่าน
ท่านอาจารย์ อัธยาศัยของแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย ต้องทราบ
ผู้ฟัง ที่คุณสุรีย์พูดถึง ว่าอยู่ผู้เดียว มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่ประมาทอยู่ผู้เดียว แล้วไม่ประมาทด้วย เรามีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว คล้ายๆ ว่าจะเนรเทศตัวเองให้ไปอยู่ในที่ๆ ไม่มีใครทำนองนั้น ฟังอ่านๆ แล้วคล้ายๆ กับอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาธรรมไม่ตลอด ไม่ประกอบกันทั้งหมดทั้ง ๓ ปิฎก หรือเผิน ก็อาจจะเข้าใจเลย ว่าต้อง ปลีกตัวไปแต่เพียงผู้เดียว แต่ใน มหาสติปัฏฐานสูตร ว่าอย่างไร ไม่มีข้อความใดๆ ทั้งสิ้นที่ จะบอกว่าให้ออกไปหรือว่าให้อยู่ป่า แล้วขณะนั้นผู้ที่ได้ฟัง ธรรมก็สามารถที่จะรู้แจ้งสภาพธรรมได้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 541
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 542
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 543
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 544
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 545
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 546
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 547
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 548
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 549
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 550
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 551
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 552
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 553
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 554
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 555
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 556
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 557
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 558
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 559
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 560
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 561
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 562
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 563
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 564
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 565
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 566
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 567
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 568
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 569
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 570
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 571
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 572
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 573
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 574
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 575
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 576
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 577
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 578
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 579
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 580
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 581
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 582
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 583
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 584
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 585
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 586
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 587
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 588
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 589
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 590
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 591
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 592
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 593
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 594
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 595
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 596
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 597
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 598
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 599
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 600