ปกิณณกธรรม ตอนที่ 542
ตอนที่ ๕๔๒
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕ ๔๓
ผู้ฟัง ก็หวังว่า เหมือนเราทำกับข้าว เราต้อง มีเครื่องปรุงให้ครบ แล้วถึงจะมาปรุง แต่นี้มันต้องมีช่วงระยะหนึ่งหรือเปล่า ที่ว่าถ้าเผื่อไม่มีช่วงนิดหนึ่ง ผมไม่ได้คิดหรอก หัวเราะก็หัวเราะไป ร้องไห้ก็ร้องไห้ไป ไม่รู้ว่ามันคือทุกขเวทนา หรือร้อนอ่อนแข็ง ไม่ได้คิด คือคิดเป็นบัญญัติไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ แต่ช่วงนั้นที่คุณเด่นว่า คือช่วงนิดหนึ่ง ไม่ใช่ช่วงที่คุณเด่นพงษ์ ตระเตรียมไว้ให้ เพราะว่าถ้าเป็นของจริง เขามีปัจจัยเขาเกิดเลย แทนที่คุณเด่นพงษ์ ยังไม่ทันจะคิดเลยว่าสติจะระลึก
ผู้ฟัง มันเป็นไปได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ แน่นอน นั่นคือ สัมมาสติ ไม่อย่างนั้นจะแสดงความเป็นอนัตตาไม่ได้เลย ต้องเป็นอัตตา คือเราพากเพียร แต่ความจริงแล้วทรงแสดงให้เห็นว่า เป็นอนัตตา
ผู้ฟัง บางทีผมอ่านหนังสืออาจารย์ อ่านแล้วไปก็งงๆ ทำไมถึงแปลว่าอย่างนี้ ทำไมถึงเขียนว่าอย่างนี้ ก็ต้องไปนั่งนึกๆ ๆ อันนั้นที่ผมคิดว่าปฏิบัติ ไปนั่งคิด นั่งพิจารณา อ๋อ ถึงได้รู้ แต่มันก็ไม่ใช่ของจริง
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ไม่ใช่ วันหนึ่งวันใดที่เกิด คุณเด่นจะรู้เลย เขามีปัจจัย เขาระลึก แทนที่คุณเด่นจะต้องไปหาเวลา หรือว่าไปคอยเขา เพราะฉะนั้น เรื่องของโลภะ เป็นเรื่องที่เห็นยากจริงๆ แล้วละยาก เพราะเหตุว่า เขาทำให้เราวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ เนิ่นนานมาแล้ว เพราะว่าความชาญฉลาดของโลภะ แทนที่เราจะไปหวังอย่างอื่น เขาทำให้เราหวังอย่างนี้ กั้นแล้ว กั้นทันที ขณะใดที่มีโลภะ มีทิฏฐิ มีมานะ นั่นเป็นเครื่องเนิ่นช้า
ถ้าเรามีเหตุ คือการฟังเข้าใจ เข้าใจเพิ่มขึ้นโดยที่เราไม่ได้ไปหวังอะไร แต่เหตุมี เมื่อเหตุมี เราจะเห็นความเป็นอนัตตา ตั้งแต่ต้นจนตลอด เพราะว่ามีเหตุปัจจัยสติก็ระลึกได้ แม้เพียงขณะสั้นๆ เล็กๆ น้อยๆ ที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ คนที่ยังไม่ได้ฟังเรื่องสติปัฏฐานเลย รู้ไหมว่าโลภะต่างกับโทสะ ดีใจกับเสียใจนี่ต่างกันรู้ไหม รู้
เวลาที่เราฟังเรื่องสติปัฏฐาน เรื่องธรรม เรารู้ว่าไม่ใช่เรา แต่ว่าจริงๆ แล้วเรายังไม่ได้รู้ว่าไม่ใช่เราจริงๆ เพียงแต่เข้าใจว่าเป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้น ในวันหนึ่งๆ ความรู้สึกดีใจก็มี เสียใจก็มี เฉยๆ ก็มี เวลาที่สติปัฏฐานเกิดระลึก เพื่อที่จะละความเป็นเรา แต่ว่าสภาพธรรมที่ดีใจก่อนสติปัฏฐานเกิด ก็มีลักษณะอย่างนั้น เวลาที่เริ่มเข้าใจว่าเป็นนามธรรม โดยที่สติปัฏฐานไม่เกิด ดีใจก็มีลักษณะอย่างนั้น เวลาที่ดีใจแล้วสติปัฏฐานเกิด ดีใจก็มีลักษณะอย่างนั้น แต่ความรู้เพิ่มว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพรู้สึกซึ่งเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยเป็นนามธรรม
เพราะฉะนั้น ความต่าง คือ ความรู้คือปัญญา เริ่มเข้าใจถูกต้องว่า นั่นเป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้ ชั่วขณะหนึ่ง ชั่วเวลาที่มีปัจจัยเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น ก็เป็นอย่างนั้นเท่านั้น แล้วก็ระลึกลักษณะของสภาพธรรมอื่น ซึ่งก็ต้องมีลักษณะที่เป็นดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เห็นบ้างได้ยินบ้าง เหมือนชีวิตประจำวันธรรมดา ซึ่งต่างกันอยู่แล้วในตัว แต่ความต่างพิเศษก็คือว่า แม้ว่าเป็นความต่างในตัวที่เราเรียกชื่อต่างกันได้ก็จริง แต่ปัญญาไม่ได้ถึงระดับที่รู้ว่าเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ต่อเมื่อใดสติระลึก เมื่อนั้นคำว่า นามธรรม ที่เราได้ยิน ไม่ใช่เพียงชื่อ แต่เริ่มจะค่อยไปเข้าถึงลักษณะแท้ๆ ของความเป็นธาตุ ซึ่งเป็นนาม นี่เป็นสิ่งที่ไม่ใช่เราจะต้องไปสนใจเรียกชื่อ เพราะว่าลักษณะต่างกันอยู่ในตัว
ผู้ฟัง อย่างท่านอาจารย์แสดงเสมอว่า ถ้าเกิดไม่รู้ความต่างกันของการมีสติ กับหลงลืมสติ อบรมปัญญาต่อไปไม่ได้
ท่านอาจารย์ เหมือนอย่างแข็ง มีใครบ้างที่ไม่รู้แข็ง รู้ กับเวลาที่สติเกิด ระลึกที่ไหน
ผู้ฟัง ที่แข็ง
ท่านอาจารย์ ที่แข็ง แข็งยังคงเป็นแข็ง แต่ความรู้ มีไหม ที่จะว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง นี่คือสิ่งที่จะต้องเจริญ ตรงนี้ เพราะแข็งก็คือแข็ง สติเกิดหรือไม่เกิด ก็คือแข็ง สภาพรู้แข็งก็คือรู้แข็ง สติเกิดหรือไม่เกิดก็รู้แข็ง ศึกษาเรื่องราวก็คือว่า รู้ว่าขณะนั้นเป็นกายวิญญาณ เป็นสภาพที่ต้องรู้แข็ง รู้อย่างอื่นไม่ได้ รู้เย็น รู้ร้อน รู้อ่อน รู้แข็ง รู้ตึง รู้ไหว เท่านั้นเองทางกาย แต่สติปัฏฐานไม่ใช่รู้ระดับฟัง แต่รู้เพราะศึกษา ลักษณะนั้นเป็นสภาพรู้จริงๆ ที่กำลังรู้แข็ง แล้วสภาพที่แข็ง ก็เป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลยจริงๆ เพื่อที่จะให้รู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม เพราะเหตุว่าขณะนี้ เรารู้จักนามธรรมโดยชื่อ แต่ธาตุรู้จริงๆ ถ้ายังไม่ปรากฏให้ปัญญารู้ชัดที่จะละความสงสัย ก็เป็นแต่เพียงเรารู้ว่ามี กำลังเห็นเป็นสภาพรู้หรือธาตุรู้ แต่ลักษณะของธาตุรู้ยังไม่ได้แยกออกจากสิ่งอื่น ให้ปรากฏลักษณะของความเป็นเพียงธาตุรู้อย่างเดียว แต่ถ้าเราอบรมจนกระทั่งสามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจในลักษณะที่เป็นสภาพรู้ขึ้น เมื่อนั้นถึงเวลาที่ปัญญาสมบูรณ์ สภาพธรรมที่เป็นธาตุรู้ ไม่มีอะไรจะปิดกั้นได้เลย เพราะเหตุว่าถึงกาลที่ปัญญาจะแทงตลอด ประจักษ์ในส่วนที่เป็นธาตุรู้ซึ่งแยกออกจากธาตุอื่นทั้งหมด เป็นแต่เพียงธาตุรู้เท่านั้นจริงๆ
ผู้ฟัง โลภมูลจิต เขาจะมีทุกอย่างเป็นอารมณ์ได้ เว้นนิพพาน อันนี้ใช่ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เว้นโลกุตตรธรรม ๙
ผู้ฟัง เว้นโลกุตตรธรรม ไม่ใช่นิพพานอย่างเดียว โลกุตตรธรรม ๙ โลภมูลจิตนี้มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์ได้
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง แต่นี้ถามต่อไปอีก แต่เข้าไม่รู้ปรมัตถธรรม เพราะว่า เขาเป็นอกุศล ต้องเป็นปัญญาเท่านั้น
ท่านอาจารย์ ไม่รู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม ไม่รู้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ผู้ฟัง หมายความว่า โลภมูลจิต ตั้งต้นใหม่ เขาจะมีทุกอย่างเป็นอารมณ์ เว้นโลกุตตรธรรมเป็นอารมณ์ แต่เขาไม่รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม
ท่านอาจารย์ อย่างคุณสุรีย์ เห็นไมโครโฟนนี้ เห็นใช่ไหม ถ้ามันมีไมโครโฟน หลายรูปแบบ หรือมีโทรศัพท์หลายรูป คุณสุรีย์ก็เลือกว่าจะเอาโทรศัพท์ชนิดไหน
ผู้ฟัง อันนั้นเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ ทั้งๆ ที่เพียงแต่ เห็นสี แต่อย่างนั้นคุณสุรีย์ ก็ยังมีความชอบในสิ่งที่ปรากฏ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า แม้เป็นปรมัตถ์ก็ยังมีโลภะในปรมัตถธรรมได้ แต่ไม่รู้เลยว่า แท้ที่จริงแล้วก็ไม่ใช่โทรศัพท์ ไม่ใช่อะไรเลย เป็นแต่เพียงสภาพธรรมที่ปรากฏได้ทางตาเท่านั้น
ผู้ฟัง ถ้าหากว่าปัญญาไม่เกิดแล้ว เราจะไม่รู้เลยว่าเมื่อไรมีสติ เมื่อไรหลงลืมสติ ที่อาจารย์ถาม ก็คิดตาม เข้าใจตามว่าใช่ ถ้าเผื่อมันเป็นโลภมูลจิตแล้ว มันจะรู้ได้แค่เป็นอารมณ์ แต่ไม่รู้ลักษณะ
ท่านอาจารย์ เป็นหน้าที่ของวิญญาณ คือรู้แจ้งในสิ่งที่ปรากฏให้รู้ ทางตาคือ เห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ทางหูคือได้ยินเสียงที่ปรากฏให้ได้ยิน นั่นคือหน้าที่ของวิญญาณ ไม่ใช่หน้าที่ของปัญญา ถ้าหน้าที่ของปัญญา หมายความว่าสามารถที่จะรู้ถูก เข้าใจถูกในลักษณะนั้น ตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้น
เพลงที่ว่าเพราะ ลองวิจัยดู เดี๋ยวก็ดังมาก เดี๋ยวก็เบา แล้วลองคิดดู ขณะนั้น ตอนไหนที่ ถ้าสมมติว่า เราเป็นคนละเอียด เราจะรู้ว่า เราไม่ได้เกิดโลภะตลอดในเพลงเดียว ถ้าเราไม่ละเอียด เราอาจจะคิดว่าเราชอบเพลงนี้ มีหลายจังหวะ มีทั้งเบา มีทั้งดัง หลายอย่าง แต่ถ้าสติปัฏฐานเกิด รู้ตามความเป็นจริงว่า ขณะที่ดัง ชอบหรือเปล่า ช่วงนั้น ขณะนั้น จริงๆ ที่เสียงดังๆ กำลังปรากฏ กับช่วงอื่นที่ไม่ได้ดังอย่างนั้น โลภะเกิด กับโทสะเกิดนี่ต่างกัน แล้วเราก็ไม่รู้ เป็นเสียงอะไรก็ได้ แต่ว่าเสียงกระทบหูแล้ว ความชอบไม่ชอบก็เกิดได้ ตามลักษณะของเสียงนั้น
ผู้ฟัง ตรงนี้ผมว่า ยังเป็นสมมติบัญญัติ
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องสมมติ
ผู้ฟัง มันไม่มีปรมัตถ์
ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้เรียกอะไรเลย ไม่มีปรมัตถ์ไม่ได้ ขณะนี้เป็นปรมัตถ์ แต่ไม่รู้ว่าเป็นปรมัตถ์ สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริง จึงใช้คำว่า ปรมัตถ์ เพราะเหตุว่า มีลักษณะปรากฏ ไม่ใช่เสียง สิ่งที่ปรากฏทางตานี้ ต่างกับเสียง นี่คือเราไม่รู้ว่าขณะนี้เป็นปรมัตถ์ แต่เราจะต้องรู้จนได้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นเพียงธาตุชนิดหนึ่ง กระทบกับส่วนที่เล็กที่สุดกลางตาแล้วก็ปรากฏ กำลังปรากฏในขณะนี้ เป็นของจริงชั่วขณะที่เห็น ถ้าขณะนั้นไม่มีคุณเริงชัย ไม่มีอะไรเลย ไม่มีความคิดใดๆ แต่ก็มีเห็น กับ สิ่งที่ปรากฏ ขณะนั้นจึงจะรู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นปกติในชีวิตประจำวัน เพราะต้องเห็นก่อน แล้วถึงจะคิดนึกว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร
ผู้ฟัง อย่างนี้โลภะ ก็ไม่มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ มี ก็นี่ไง ที่บอกว่าเดี๋ยวนี้ ได้ยินเสียงดังๆ ตกใจไหม
ผู้ฟัง ดังๆ นั่นบัญญัติแล้ว
ท่านอาจารย์ ดังไม่ได้เป็นบัญญัติ เสียงดังเป็นบัญญัติได้อย่างไร
ผู้ฟัง เพราะอาจารย์บอกว่าตกใจ นี่
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จำเป็นต้องตกใจ เมื่อรู้ว่าเป็นอะไร แค่เสียงดังกระทบหู ดังมากๆ เลย ตกใจไหม
ผู้ฟัง ตกใจ
ท่านอาจารย์ ยังไม่รู้เลยว่าเสียงอะไร เสียงระเบิด หรือว่าเสียงสะพานถล่ม หรือภูเขา อะไรก็ไม่รู้ทั้งนั้น แต่ว่าตกใจแล้ว เมื่อมีปรมัตถธรรมที่ไม่น่าพอใจเกิด สิ่งที่มีจริง เราใช้คำว่า ปรมัตถธรรม ไม่ได้ไปคิดปรุงแต่ง ฝันเพ้ออะไร แต่ว่าสิ่งนี้ เมื่อกระทบกับจักขุปสาท ก็ปรากฏ แล้วก็กำลังปรากฏ แล้วจะว่าไม่จริงได้อย่างไร แล้วคำว่าจริงที่นี่ เราก็ใช้คำว่า ปรมัตถธรรม แปลเป็นภาษไทยง่ายๆ สิ่งที่มีจริง เป็นสภาพที่ปรากฏให้รู้ว่ามีจริงๆ เพียงแต่เราไม่เคยรู้ว่านี่เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะเราเคยไปจำไว้ว่าเรา เห็นคน นั้นเป็นเรื่องของการคิดนึก จากสิ่งที่ปรากฏทางตา
ผู้ฟัง ผมพิจารณาตรงนี้ว่า สติปัฏฐาน เขาก็มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ แล้วเข้าใจถูก ไม่ใช่มีเฉยๆ
ผู้ฟัง โลภะก็มีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ แต่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่านั่นเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แต่ติดแล้ว ชอบแล้ว ต้องการแล้ว
ผู้ฟัง แตกต่างกันตรงที่ว่า ไม่ได้รู้สภาพธรรม
ท่านอาจารย์ โลภะกับปัญญาเป็นสภาพธรรมที่ตรงกันข้ามกัน โลภะติดข้อง ปัญญาละ
ผู้ฟัง โลภะเขารู้สภาพธรรม ปรมัตถ์ก็คือสภาพธรรม หมายถึง โลภะรู้ปรมัตถ์ หมายถึง รู้สภาพธรรม หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง รู้ เพราะว่ารู้โดยลักษณะของวิญญาณ ไม่ใช่รู้โดยลักษณะของปัญญา อย่างเห็นอย่างนี้ ใครก็เป็น นกก็เห็น ปลาก็เห็น คนก็เห็น ไม่ใช่ปัญญา แต่เป็นวิญญาณจิตที่รู้ได้ทางตา เป็นจักขุวิญญาณ เป็นจิตที่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น คือเห็น ใช้คำว่า เห็นก็ได้ เห็นมีแล้วเห็น อะไร ถ้าไม่เห็นปรมัตถ์
ผู้ฟัง มองเห็นเป็นสัตว์ บุคคล
ท่านอาจารย์ แต่ก่อนสัตว์บุคคล มีสิ่งที่ปรากฏให้เห็นหรือเปล่า นี่เรากำลังพูดถึงสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏทางตา ในขณะนี้ ที่จะต้องเข้าใจให้ถูกต้อง
ผู้ฟัง สติในที่นี้ จะหมายเฉพาะเจาะจงเฉพาะสัมมาสติหรือเปล่า ที่เป็นการระลึกถูก แล้วก็ระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ โดยไม่เลือกเวลา สถานที่ และอารมณ์
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นสติปัฏฐาน ต้องเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่สติขั้นทาน ขั้นศีล ภวังคจิต จริงๆ แล้วละไว้มากมายเลย หมายความว่า เราไม่สามารถจะนับขณะได้ ภวังคจิต คือจิตที่เกิดต่อจากปฏิสนธิ ยังไม่เป็นวิถีจิต เพราะว่ายังไม่ได้อาศัยทวารหนึ่งทวารใดเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใดเลย ซึ่งทุกคนก็เห็นว่า ภวังคจิตต้องมีจริงในขณะที่นอนหลับสนิท จะเห็นได้เลยว่า ไม่มีอารมณ์อะไรปรากฏเลยทั้งสิ้น ในขณะที่แม้ไม่ฝัน เวลาที่ไม่ฝัน ก็ไม่มีอารมณ์อะไรที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น เวลาที่เราจะพูดถึงทวารคือทางที่จิตจะเกิดขึ้นรู้อารมณ์ เช่น สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องอาศัยตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วหลังจากนั้นแล้ว มโนทวารวิถีทันทีที่ทางปัญจทวารวิถีดับไป เป็นทวารแล้ว มโนทวารวิถีจะเกิดขึ้นสืบต่อทันทีแล้วก็รู้อารมณ์เดียวกับปัญจทวารวิถี
อ. สมพร จักขุทวาราวัชชนจิต ถ้าเรารู้ความหมายอาจจะเข้าใจดี หมายความว่า รำพึงถึงอารมณ์ที่มากระทบทางทวารตา คราวนี้มันเจาะจงเลย ไม่ต้องมากบอกว่าปัญจะๆ ต้อง ๕ อย่าง ทีนี้เอาอย่างเดียว ทางตา เฉพาะทางตาเลย รำพึงถึงอารมณ์ที่มากระทบทางทวารตา เอาเฉพาะตา เขาพูดย่ออย่างที่ท่านอาจารย์ ว่า เพราะมันง่าย ก็เอาทั้ง ๕ ทวารเลย ปัญจทวารเลย ถ้าทางตาทางเดียวก็ว่าจักขุทวาร ต่อกับ อาวัชชนะ อาวัชชนะ คือ รำพึง คือนึกถึงอารมณ์ที่มากระทบทางทวารตา มันก็ง่ายขึ้น ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อเหตุกะ ทั้งหมดมี ๑๘ จริงๆ แล้วครบ เพราะว่าในชวนะ ๗ ก็มีหสิตุปปาทที่เป็นอเหตุกกิริยาด้วย ก็ครบ ๑๘ แต่ว่าครบ ๑๘ โดยชื่อ แล้วเราก็ติดตรงไหน เราก็ค่อยพิจารณาตรงนั้นว่า เราจำตรงไหนได้ เราขาดตรงไหน
ตรงไหนสำคัญ ชวนะ เป็นอเหตุกะ หรือเปล่า ของใคร ของพระอรหันต์ ดวงเดียวที่เป็นอเหตุกะ
เพราะเรากำลังพูดเรื่อง อเหตุกะ แล้วเรายังไม่ได้ พูดเรื่อง กุศลจิตเท่าไร อกุศลจิตเท่าไร แต่เรากำลังพูดว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวงมีครบไหม ถ้าครบก็คือ มีชวนจิตที่เป็น หสิตุปปาท รวมอยู่ด้วย แต่ว่าเป็นกิริยาจิตของพระอรหันต์ ที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ
สิ่งที่เราควรทราบก็คือว่าจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย กับ จิตที่ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย นี่เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าจิตต่างกันโดยประเภทหลายอย่าง ถ้าโดยประเภท ที่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วยก็อย่างหนึ่ง เพราะว่าบางชนิดก็ไม่มีเหตุเจตสิกเกิดร่วมด้วย
วันนี้ไม่มีเวลาพอ สำหรับที่จะต่อเรื่องความสำคัญของจิตที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย กับไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย แต่คิดได้เป็นการบ้าน เพราะว่าเมื่อกี้ นี้มีคนตอบว่า กุศล อกุศลสำคัญ ชวนะสำคัญ เพราะว่าเป็นเหตุที่จะให้เกิดผลข้างหน้า แต่พวกวิบากเป็นผลของอดีตกรรมที่ได้ทำแล้ว แล้วก็เกิดเพียงชั่ว ๑ ขณะ ไม่ว่าจะเห็นก็นิดเดียว ได้ยินก็นิดเดียว แต่ว่าหลังจากที่เห็นได้ยินแล้ว โลภะเกิด โทสะเกิด โมหะเกิด หรือว่า กุศลจิตเกิด นี้เป็นเรื่องที่เราจะต้องสะสมต่อไป
ผู้ฟัง อย่างเช่น มีคนมาขอเงิน ขณะที่รับประทานอาหาร ไม่เต็มใจจะให้ แต่ว่าก็ให้
ท่านอาจารย์ คงจะทราบใจของเราดี ขณะที่กุศลนั้นๆ เกิดว่าเป็นกุศลประเภทไหน การช่วยเหลือใครนิดๆ หน่อยๆ ขณะนั้น ก็เป็นกุศลจิต แต่ว่ากุศลจิต เกิดแล้วก็ดับเร็ว เพราะฉะนั้น ก็ไม่ปรากฏอาหารที่ผ่องใส หรือเป็นกุศลมาก ก็อาจจะคิดว่าไม่เป็นกุศลก็ได้ แต่ความจริงถ้าเข้าใจประโยชน์ของกุศล แม้เพียงเล็กน้อยเพียง ๑ ขณะ ก็ควรจะเกิด เพราะเหตุว่าจะเป็นการสะสมกุศลต่อไป
ทีนี้ถ้าพูดถึงเรื่องปฏิสนธิจิต หรือปฏิสนธิกิจ ก็จะได้ทราบว่า จิตที่ทำกิจเกิดขึ้นขณะแรก เป็นจิตชาติไหน แล้วทำกิจอะไร แล้วเกิดที่ไหนได้บ้าง อย่างเวลาที่เกิดในมนุษย์ เราก็ปฏิสนธิด้วยกุศลวิบาก ไม่ใช่อกุศลวิบาก การเกิดเป็นมนุษย์ แต่ว่าถ้าเกิดเป็นสัตว์ ไม่ว่าจะตัวใหญ่ตัวเล็ก นั่นเป็นผลของอกุศลกรรม ซึ่งอกุศลกรรมเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น อกุศลกรรม จะทำปฏิสนธิกิจไม่ได้เลย การเกิดของแต่ละคน แต่ละคนก็เลือกไม่ได้ แล้วก็เลือกรรมไม่ได้ด้วย อยากจะให้กรรมดีๆ ให้ผลทำให้เกิดดีๆ ก็เลือกไม่ได้ แล้วแต่ว่ากรรมไหน จะเป็นปัจจัยทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น เป็นเรื่องของชนกกรรม เพราะว่าแต่ละคนก็มีกรรมมากมาย แล้วแต่ว่ากรรมไหนจะทำให้ปฏิสนธิเป็นคนนี้ในชาตินี้ แล้วต่อไปอีกไม่นาน กรรมหนึ่งก็จะเป็นชนกกรรม คือหลังจากที่จุติจิต จิตขณะสุดท้ายในชาตินี้ดับ ปฏิสนธิจิตชาติต่อไปก็จะเกิดขึ้น
ถ้ายังไม่เป็นพระอริยบุคคล ไม่มีใครรู้ได้เลยว่าจะเกิดในอบายภูมิไหม แม้ว่าจะทำกุศลมากมายมาแล้วก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ประมาทไม่ได้ แล้วก็รู้ไม่ได้ด้วย เราไม่ควรจะคิดถึงเพียงชาตินี้ แต่เราควรจะคิดถึงว่าเรากำลังจะเกิดใหม่ในเวลาอีกไม่นาน ซึ่งไม่มีใครสามารถจะรู้ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าประกอบกรรมดี หรือเจริญกุศลบ่อยๆ แล้วแต่ว่ากรรมใดจะให้ผลก็เป็นเรื่องของกรรมนั้น แต่เราก็เป็นผู้ไม่ประมาท แล้วการเกิดก็จะนำมาซึ่งจิตมากมายหลายขณะในชาตินั้น ซึ่งเป็นทั้งวิบากจิต เป็นผลของกรรมที่ทำแล้ว แล้วเป็นกุศล อกุศลซึ่งเป็นเหตุใหม่ที่จะให้เกิดผลข้างหน้า แล้วก็ไปถึงจุติจิตอีก แล้วก็ไปถึงปฏิสนธิจิตอีก ก็เป็นอย่างนี้เรื่อยไปซึ่งแต่ละขณะไม่กลับมาอีกเลย เพราะฉะนั้น การที่แสดงเรื่องของปฏิสนธิจิต ซึ่งเป็นจิตขณะแรก โดยกิจ คือใช้คำว่า ปฏิสนธิจิต ตามหน้าที่ คือ ปฏิสนธิกิจ สืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อน แล้วก็ประมวลไว้ว่า ไม่ว่าจะเกิดที่ไหนๆ ก็ตาม จิตที่ทำกิจปฏิสนธิ มีเพียง ๑๙ ชนิด แล้วของใครจะเป็นชนิดไหน คือ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ ไม่ใช่เป็นผลของอกุศลกรรม เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิตของทุกคน ไม่ใช่อกุศลวิบากจิต แล้วถ้าไม่เป็นผู้ที่พิการ บ้าใบ้ บอดหนวก ตั้งแต่กำเนิด ปฏิสนธิจิตนั้นก็ไม่ใช่วิบากจิตที่ไม่ประกอบด้วยเหตุ นี่แสดงให้เห็นความละเอียดว่า จิตที่ทำกิจปฏิสนธิ ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมแล้ว ไม่ประกอบด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดเลย แล้วเวลาที่เกิดเป็นคนพิการตั้งแต่กำเนิด ปฏิสนธิจิตแม้ว่าเป็นกุศลวิบาก แต่ก็ไม่มีเหตุเกิดร่วมด้วย
เรื่องเหตุก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเป็นเหตุที่ดี คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ แล้วสำหรับบางคน เกิดมาเป็นมนุษย์ รูปร่างสวยงามได้ ฐานะดีได้ ทุกอย่างเพียบพร้อมได้ แต่ไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะเหตุว่าเป็นผลของกุศลกรรม ที่ไม่ใช่กรรมที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย
เราก็จะเห็นชีวิตของคนมากมายที่ต่างกัน แล้วสามารถที่จะพิจารณาถึง สภาพของปฏิสนธิจิตได้ ไม่สามารถที่จะรู้จริงๆ แต่รู้ตามเหตุตามผลว่า ถ้าตราบใด ที่เขาไม่มีโอกาส ที่จะได้ฟังธรรม ไม่เข้าใจธรรม แล้วก็เข้าใจยาก หรืออาจจะเข้าใจได้น้อยมาก ก็เป็นเรื่องของปัญญาที่จะมีมากน้อย หรือว่าอาจจะไม่มีเลย
เพราะฉะนั้น ก็มีบุคคลซึ่งเป็นมนุษย์ไม่พิการ แล้วก็ปฏิสนธิจิต เป็นผลของกุศลกรรมที่ไม่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย แต่จะมีทรัพย์สมบัติมากมายได้ แต่ว่าไม่ประกอบด้วยปัญญา ส่วนอีกบุคคลหนึ่ง เป็นการปฏิสนธิด้วยจิตที่เป็นผลของ กุศลกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา แต่เราก็เห็น แม้ในพระไตรปิฎก คนที่เป็นพระอริยบุคคล แต่เป็นคนที่ยากจนมาก แล้วก็มีผลของอดีตกรรมที่เขาเป็นคนโรคเรื้อน เป็นคนขอทานด้วย ใครก็คงไม่คิดว่าเขาจะมีปัญญาระดับที่จะเป็นพระโสดาบันบุคคล แต่ปฏิสนธิจิตของเขา เป็นจิตที่เป็นผลของกรรมที่ประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น ก็เป็นบุคคลที่เรียกว่า ติเหตุกบุคคล เพราะว่าประกอบด้วยเหตุ ๓ เมื่อเป็นผลของกุศล ก็ต้องเป็นกุศลวิบากที่ประกอบด้วย อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ และปัญญาเจตสิก
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 541
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 542
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 543
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 544
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 545
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 546
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 547
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 548
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 549
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 550
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 551
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 552
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 553
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 554
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 555
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 556
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 557
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 558
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 559
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 560
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 561
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 562
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 563
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 564
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 565
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 566
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 567
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 568
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 569
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 570
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 571
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 572
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 573
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 574
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 575
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 576
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 577
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 578
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 579
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 580
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 581
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 582
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 583
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 584
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 585
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 586
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 587
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 588
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 589
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 590
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 591
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 592
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 593
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 594
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 595
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 596
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 597
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 598
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 599
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 600