ปกิณณกธรรม ตอนที่ 561
ตอนที่ ๕๖๑
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๓
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นคนยุคนั้น อบรมปัญญามาพร้อมแล้ว ได้ไปเฝ้า เขาจะรู้ว่าความเข้าใจของเขาอีก ระดับ หนึ่ง ไม่ใช่ความเข้าใจของคนในยุคนี้สมัยนี้ ซึ่งฟังเข้าใจ เพียงเข้าใจ แล้วก็ยังคิด แต่ถ้าเราได้มีโอกาสได้ศึกษาความละเอียด ซึ่งปัญหาของคนไทยก็คือ ชื่อ บอกว่าชื่อทำให้ท้อถอย ชื่อทำให้จำยาก คนละภาษา ชื่อก็ยาก ตัตตรมัชฌัตตตา หรืออะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ก็คิดว่าถ้าไม่จำ ก็คงจะได้ แต่ว่าตามความจริง ไม่ใช่สำคัญที่จำ การฟังพระธรรมสำคัญที่เข้าใจ เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม เราอาจจะพูด ตัตตรมัชฌัตตตา เป็น ตตรมัชฌัตตา หรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งไม่ตรง แต่ก็ยังหมายความถึงสภาพธรรมนั้น แต่ถ้าจะให้สมบูรณ์พร้อม ก็คือทั้ง พยัญชนะ และอรรถ ถ้าจะเป็นไปได้ ถ้าสังเกตจากเทปตอนต้นๆ ดิฉันจะพูดผิดหลายอย่าง หลายคำ แล้วตอนหลังก็ค่อยๆ แก้ให้ค่อยๆ ถูกขึ้น ซึ่งคนยุคนี้ สมัยนี้หลังจากที่ได้บุกเบิกมาแล้วก็ได้ฟังคำที่ถูก มากกว่าคำที่ผิดก็ สามารถจะจำคำที่ถูกได้
แต่ว่าอย่างไรก็ตามให้ทราบว่า การศึกษาธรรม ธรรมมีจริง จะฟังโดยภาษาไหน ได้ทั้งนั้น ภาษาไทย หรือภาษาบาลี ถ้าเป็นชาวต่างประเทศ ฟังภาษาไทยยาก เขาก็ต้องฟังภาษาของเขาเอง แล้วแต่ว่าจะเป็นภาษาอะไรก็ตาม ทำให้มีความเข้าใจขึ้น เพราะฉะนั้น จุดสำคัญก็คือว่า ให้เราสามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรม ในขณะนี้ ตามความเป็นจริง แล้วไม่ต้องกังวลเรื่องจำ แต่ว่าภายหลังจะจำเอง แล้วก็บางท่านอาจจะจำได้มากด้วย บางท่านก็อาจจะมีศรัทธาที่จะศึกษาภาษาบาลี ซึ่งสำหรับดิฉันเอง เมื่อเริ่มศึกษาพระอภิธรรม ก็ได้พยายาม คิดว่า น่าจะศึกษาภาษาบาลีด้วย ก็พยายามแล้วก็เลิก แล้วพยายามแล้วก็เลิก แล้วพยายามอีกแล้วก็เลิก ก็รู้ว่าต่อไปนี้ไม่ต้องพยายามอีกแล้ว เพราะว่ามีท่านผู้รู้ อย่างท่านอาจารย์สมพร เราก็สามารถที่จะปรึกษาท่านได้ พระคุณเจ้าทั้งหลาย เราก็สามารถที่จะกราบเรียนถาม แม้แต่ความหมายของ จัง-กัม-มะ โดยศัพท์จริงๆ แปลว่าอะไร หมายความถึงอะไร สิ่งใดซึ่งเป็นปัญหา เราก็ถามท่านผู้รู้ ซึ่งท่านได้ศึกษาอย่างกว้างขวาง เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ว่า จะต้องเข้าใจในเหตุผล
สำหรับการศึกษาปริยัติ สำหรับในยุคนี้สมัยนี้ ยิ่งศึกษาก็ยิ่งเห็นความเป็นอนัตตา แต่อย่าติด หมายความว่าสิ่งใดก็ตาม ที่ปัญญาของเราสามารถจะรู้ได้ ไตร่ตรองได้ พิจารณาได้ เข้าใจได้ อันนั้นก็ควรที่จะรับไว้ แต่ถ้าเกินความสามารถ ก็ไม่ต้องไปสนใจค้นคว้าจนกระทั่งไม่เป็นปัจจัยที่จะให้รู้ว่าจุดประสงค์ของการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจ เพื่อเห็นความเป็นอนัตตา เพื่อสามารถจะมีสิ่งที่เมื่อสติระลึกแล้ว ปัญญาจากการศึกษาทั้งหมดเป็นสังขารขันธ์ ประมวลมาที่จะให้สามารถสละความเป็นตัวตนได้ แต่ยาก แล้วก็ช้า ต้องอบรมนาน
ผู้ฟัง คำว่า โผฏฐัพพารมณ์ ที่ส่วนหนึ่งแปลว่า ธาตุดิน พอพูดถึงดิน มักจะนึกไปถึงดินที่พื้นดิน ตอนนี้ ดินพอฟังแล้ว ปรากฏว่าเป็นลักษณะของ อ่อนแข็ง ทำไมมันไปเกี่ยวกับดินอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ชื่อดิน ให้ชื่ออะไรดี อ่อนหรือแข็ง เป็น ปฐวีธาตุ เย็นหรือร้อนเป็นเตโชธาตุ ตึงหรือไหว เป็นวาโยธาตุ
ผู้ฟัง แต่หมายถึง ดินจริงๆ แล้วก็ไม่ได้มาเกี่ยวอะไรกับพื้นดิน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องศึกษาพระธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไม่ ใช่เพื่ออ่าน ถ้าอย่างนั้นเราก็ประมาทในพระปัญญาคุณ แค่อ่านก็เข้าใจได้ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย แต่ต้องศึกษาโดยละเอียด แม้แต่ แต่ละคำ ปฐวี สภาพที่แข้นแข็ง แต่ว่าภาษาไทยเราก็ใช้หมายความถึงดิน ใช่ไหม ดิน น้ำ ไฟ ลม เราก็แปลกันมาอย่างนั้น แต่ว่าลักษณะแท้ๆ เป็นลักษณะที่แข็งเพราะอะไร เพราะดินแข็ง จับแล้วก็แข็ง ถ้าพูดถึงแข็ง ไม่ทราบ คนจะเข้าใจไหม ที่ว่าแข็งธาตุ หรือว่า น้ำธาตุ อะไรอย่างนี้ อาจจะใช้คำว่า ธาตุน้ำ ธาตุดิน หรือแข็ง ใช้แทนกันได้ แต่ต้อง เข้าใจความหมาย ต้องศึกษา
ผู้ฟัง แต่ก็มีอ่อนด้วย
ท่านอาจารย์ อ่อน คือแข็งน้อย
ผู้ฟัง ต่างกันตรงนี้ ขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ การศึกษาธรรม อย่าติดที่คำ ถ้าติดที่คำแล้ว ไม่มีทางที่จะเข้าใจธรรมเลย แต่จะเข้าใจได้ว่าในสูตรนี้ มุ่งหมายอย่างไร ที่ใช้พยัญชนะนี้ ใน มหาสติปัฏฐาน มุ่งหมายอย่างไร จึงใช้พยัญชนะนั้น ละอภิชชา และโทมนัสในอารมณ์ที่ปรากฏ เพราะขณะนี้อารมณ์ปรากฏ จะเข้าป่า แปลว่า มีอภิชชาในป่า อยากจะไปที่โน่น มีโทมนัสในอารมณ์ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เพราะว่าไม่พอใจที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดแล้วปรากฏ เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่าที่ไหน พูดเรื่องอะไร แล้วก็มีลำดับขั้นอย่างไร เพราะว่าแม้แต่เจตสิกจะต้องมี ระดับต่างๆ ด้วย
ผู้ฟัง ตอนนี้ที่คุณแจ๊คถามเรื่อง ธรรมารมณ์ อันนี้สงเคราะห์ เข้าในธรรมารมณ์ด้วย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อารมณ์ใดๆ ก็ตาม ที่ไม่สามารถจะรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เป็น ธรรมารมณ์ เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้คงจะไม่ต้องถามใครอีกเลย อารมณ์ใดๆ ก็ตามที่ไม่ปรากฏ ไม่สามารถจะรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย เป็นธรรมารมณ์ แต่มโนทวารไม่ได้รู้เฉพาะ ธรรมารมณ์ มโนทวารรู้ได้ทั้ง ๖ อารมณ์
ผู้ฟัง เมื่อกี้นี้เรา กลับมาที่รูปารมณ์อีกครั้งหนึ่ง ในขณะซึ่งรูปารมณ์จะปรากฏแค่ทางตา เท่านั้น เมื่อสิ้นสุดของวาระของทางปัญจทวารแล้ว มาทางมโนทวาร เขาดับไปแล้ว รูปารมณ์ แต่เหตุที่เขายังปรากฏอยู่ และยังเรียกว่า รูปารมณ์ เขาดับไปแล้ว อันนั้นเป็น สันตติ ใช่หรือเปล่า หมายความว่าเขาเพิ่งดับไป แต่อารมณ์ยังอยู่ อันนี้อยากให้อาจารย์ อธิบายตรงนี้
ท่านอาจารย์ เวลาที่พระภิกษุรูปนี้ ท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ดีที่ท่านไม่ถามอย่างคุณสุรีย์ถาม ท่านฟัง แล้วท่านก็รู้ว่าประโยชน์ อยู่ตรงไหน สามารถที่จะพิจารณา สติระลึกทันทีที่อารมณ์ที่ปรากฏนั้น ทุกอย่าง ที่มี ทรงแสดงไว้ ก็ต้องจากการที่สติระลึกรู้ แต่ว่าชื่อไม่สำคัญเลย จะเป็นอย่างนั้นไหม จะเป็นชื่อนี้ไหม แต่เราทราบได้ว่า อดีตรูปารมณ์ คือ ขณะที่ดับ เพราะว่าธรรมดาทางตา หรือว่าทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย รูปที่เป็นสภาวะรูป จะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ถ้าสติปัฏฐานเกิด ปัญญาอบรมถึงระดับ ที่ประจักษ์การเกิดดับ จะหมดความสงสัยในคำว่า ขันธ์ ซึ่งเป็นอดีต เพราะว่าดับแล้ว แล้วมีสภาพธรรมเกิดอีกเป็นปัจจุบัน แล้วสภาพธรรม ที่จะเกิดต่อก็เป็นอนาคต เพราะฉะนั้น ไม่ว่าแสนโกฏิกัปป์มาแล้ว หรือเมื่อไรก็ตาม ลักษณะของรูปขันธ์ คือ เป็นรูปไม่ใช่สภาพรู้ มีการเกิดขึ้น และดับไปโดยการประจักษ์แจ้ง จึงเข้าใจความหมายของ ขันธ์ ไม่ใช่ไปจำชื่อขันธ์ จำแนกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพียงชื่อ แต่ว่าสามารถที่จะรู้ว่าเป็นขันธ์ เพราะเหตุนี้ ฉันใด คำตอบที่จะตอบคุณสุรีย์ ก็เหมือนกันฉันนั้น จิต เป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ ถ้าฟังตั้งแต่ต้นอาจจะช่วยให้เข้าใจ จิตที่เกิดขึ้นแล้วไม่รู้ มีไหม
ผู้ฟัง จิตที่เกิดขึ้นก็ต้องรู้อารมณ์
ท่านอาจารย์ เมื่อมีจิตเกิด เป็นธาตุรู้ ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้คืออารมณ์ ตอนเกิด ขณะแรกที่เกิด จิตมีอารมณ์ไหม ขณะแรก มี แล้วก็จิตขณะแรกดับไหม เมื่อจิตขณะแรกดับ มีจิตเกิดต่อไหม มี จิตนั้นทำกิจอะไร เพราะว่าจิตทุกดวงทุกประเภท ต้องมีกิจการงานหน้าที่ ไม่มีจิตสักประเภทเดียว ซึ่งเกิดแล้วไม่มีหน้าที่อะไรเลย สำหรับขณะแรกที่สุด คือ ทำกิจสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อนเป็นกิจแรก คือปฏิสนธิกิจ นี้กิจที่ ๑ จิตทั้งหมดจะมี ๑๔ กิจ กิจที่ ๑ ไม่สงสัยแล้ว จิตหนึ่งดวงทำกิจนี้ในภพหนึ่ง ชาติหนึ่งแล้วก็ดับไป จะไม่ทำหน้าที่นี้อีกเลยในชาตินั้น ถูกต้องไหม เพราะว่าทำกิจสืบต่อจากปฏิสนธิจิตของชาติก่อน จิตที่ ๑ คือ ปฏิสนธิกิจดับไปแล้ว แล้วก็เมื่อปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว มีจิตเกิดสืบต่อไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ ทำกิจอะไร กิจที่ถามก็ควรที่จะเข้าใจตามลำดับอย่างนี้ ว่าเมื่อปฏิสนธิจิตดับแล้ว จิตขณะต่อไปเกิดขึ้น ต้องทำกิจหนึ่งกิจใด จะไม่ทำกิจอะไรเลยไม่ได้ เพราะฉะนั้น จิตที่เกิดสืบต่อจากปฏิสนธิทำกิจอะไร
ผู้ฟัง เป็นภวังคกิจ
ท่านอาจารย์ ทำ ภวังคกิจ ภวังคกิจ มาจากคำว่า ภว หรือ ภพ กับ อังค ดำรงภพชาติ ความเป็นบุคคลนั้นไว้ ตายไม่ได้เลย ถ้าจิตที่เป็นภวังคจิตเกิด ขณะนั้นไม่ใช่ จุติ แต่ว่าเป็นจิตหนึ่ง ซึ่งทำกิจสืบต่อจากปฏิสนธิจิต ตอนที่ปฏิสนธิจิตเกิดมีอารมณ์อะไร ต้องมีอารมณ์ จิตขณะแรกที่เกิดต้องมีอารมณ์ ใช่ไหม ทราบไหมว่ามีอารมณ์อะไร
ผู้ฟัง ไม่ทราบ
ท่านอาจารย์ เพราะอะไรจึงไม่ทราบ
ผู้ฟัง เพราะมันอยู่ในภวังคกิจ
ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่วิถีจิต ต้องทราบความหมายที่ต่างกัน ถ้าวิถีจิต หมายความถึงจิตที่เกิดดับสืบต่อกัน รู้อารมณ์ทางหนึ่งทางใด เช่น อาศัยจักขุปสาทเกิดขึ้น รู้สิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าเป็นทางหู ในขณะนี้ก็เป็นวิถีจิต เพราะอาศัยโสตปสาทเกิดขึ้น รู้อารมณ์ทางหู
จิตที่ไม่ใช่วิถีจิต จะมีเพียง ๓ ขณะ ได้แก่ปฏิสนธิจิต ๑ ขณะ แล้วก็ภวังคจิตเกิดดับสืบต่อ ระหว่างที่ไม่มีการเห็นการได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย การคิดนึก ถ้าไม่รู้อารมณ์ ๖ ทวารนี้ ขณะนั้นไม่ใช่วิถีจิต เพราะฉะนั้น ปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต ไม่ใช่วิถีจิต นอกจากนั้นแล้ว เป็นวิถีจิตทั้งหมด
ผู้ฟัง อันนี้เข้าใจ
ท่านอาจารย์ เข้าใจ วิถีจิต คือ จิตหลายขณะซึ่งเกิดขึ้น อาศัยทางหนึ่งทางใด ทีละทาง รู้อารมณ์ที่ปรากฏทางทวารนั้น เข้าใจแล้ว
วิถีจิตมี ๖ ทางคือ วิถีจิตทางตา วิถีจิตทางหู วิถีจิตทางจมูก วิถีจิตทางลิ้น วิถีจิตทางกาย วิถีจิตทางใจ เพราะฉะนั้น จะทราบได้ นอกจากปฏิสนธิ ภวังค์ จุติแล้ว จิตอื่นๆ ที่เราได้ยินทั้งหมด ต้องเป็นวิถีจิต เพราะไม่ใช่ปฏิสนธิ ไม่ใช่ภวังค์ ไม่ใช่จุติ โลภมูลจิตขณะที่ติดข้อง เป็นวิถีจิต หรือไม่ใช่วิถีจิต โลภมูลจิต
ผู้ฟัง เป็นวิถีจิต
ท่านอาจารย์ เป็นวิถีจิต โทสมูลจิตเป็นวิถีจิต จักขุวิญญาณจิตเป็นวิถีจิต หรือไม่ใช่วิถีจิต อย่างนี้ก็จำได้เลย ใช่ไหม จิตอื่นนอกจากปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ เป็นวิถีจิตทั้งหมด เพราะฉะนั้น ก่อนที่วิถีจิตจะเกิด ขณะนั้นเมื่อปฏิสนธิแล้วก็เป็นภวังค์ เกิดดับสืบต่อดำรงภพชาติ ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน ยังไม่ได้กลิ่น ยังไม่ได้ลิ้มรส ยังไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แต่ทันทีที่รู้สึกตัว เป็นวิถีจิตทางใจ
ผู้ฟัง อย่างเด็กที่คลอดใหม่ อยู่ในท้องเขาก็เป็นภวังคจิต ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ มีกายปสาท
ผู้ฟัง เขาดิ้น
ท่านอาจารย์ เขามีการนึกคิด ทางใจ
ผู้ฟัง นึกคิดอยู่หรือ ถึงได้ดิ้นออกมา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ยังไม่ออก พอเกิดมาไม่นาน หลังจากที่ปฏิสนธิจิตดับไปแล้ว ภวังคจิตเกิดดับสืบต่อไปแล้ว จิตจะมีการรู้สึกตัวทางมโนทวาร พอใจในภพ ในความเป็น ในภาวะนั้น ในขณะนั้น ทั้งๆ ที่ไม่เห็น ไม่ได้ยิน เมื่อเริ่มรู้สึกตัว ก็ติดข้องในภพ ทุกภพ ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน เกิดในมนุษย์โลก หรือว่าในเทวโลก ในพรหมโลกหรือว่าในอบาย จะเกิดอะไรก็เหมือนกัน ก็หลังจากที่ปฏิสนธิแล้ว ภวังค์แล้วก็ถึงการที่รู้สึกตัว ทางใจซึ่งทำให้เกิด ความติดข้อง ในภพที่เป็นอยู่ นี่ทางใจ เข้าใจ แล้วต่อจากนั้น เมื่อมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย แล้วแต่ว่าจะมีอะไรก่อน แต่ที่ก่อนอื่นก็คือมีกายปสาท สำหรับเด็กที่เกิดอยู่ในครรภ์ ก็จะมีการรู้อารมณ์ทางกายได้ แต่ว่าวาระแรกต้องเป็นทางใจ ที่มีความติดข้องในภพชาติ ทีนี้พูดถึงปกติธรรมดา ก่อนที่ตาจะเห็นสิ่งที่ปรากฏ จิตก่อนนั้นเป็นอะไรปฏิสนธิแล้ว
ผู้ฟัง เป็นภวังคจิต
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นภวังค์ แสดงให้เห็นว่า ก่อนจะมีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส หรือการคิดนึกต้องเป็นภวังคจิต หมายความถึง จิตทำกิจภวังค์ จึงชื่อว่า ภวังคจิต แล้วเวลาที่มีการกระทบอารมณ์ทางตา อย่างในขณะนี้ ก็จะต้องมีสิ่งที่เป็นวัณณะธาตุ กระทบกับจักขุปสาท ถ้าคนที่ไม่มีจักขุปสาทรูป ไม่สามารถจะเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ในขณะนี้ได้เลย ต้องเป็นผู้ที่มีจักขุปสาทรูป คือรูปที่สามารถกระทบกับวัณณะธาตุ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้ และเมื่อวัณณะธาตุเกิดกระทบกับจักขุปสาทรูป ซึ่งเกิดแล้วดับ ทั้ง ๒ อย่างรูปทั้งหมด จะมีอายุท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ แต่เมื่อเกิดแล้วกระทบกับภวังค์ ๑ ขณะ ภวังค์ที่ถูกวัณณะธาตุกระทบปสาทรูป แล้วก็กระทบภวังค์ ภวังค์นั้นชื่อว่า อตีตภวังค์ หมายความว่ายังมีอารมณ์เก่ายังไม่เปลี่ยนอารมณ์ เป็นภวังค์แรกที่ถูกกระทบ อตีตภวังค์ดับไหม ดับ แล้วอะไรเกิดต่อ
ผู้ฟัง ภวังคจลนะ
ท่านอาจารย์ ภวังคจลนะไหวเพื่อที่จะรู้อารมณ์ใหม่ ที่กระทบ ภวังคจลนะดับไหม
ผู้ฟัง ดับ
ท่านอาจารย์ ภวังคจลนะ เห็น วัณณะธาตุนี้ไหม
ผู้ฟัง ยัง
ท่านอาจารย์ ยัง ถ้าเป็นปฏิสนธิ ภวังค์ จุติ ไม่ใช่วิถีจิต ต้องมีอารมณ์เดียวกัน จะมีอารมณ์อื่น คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา เสียงที่ปรากฏ ทางหูไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เวลาที่ภวังคจลนะดับแล้ว อะไรเกิดต่อ
ผู้ฟัง ภวังคุปัจเฉทะ
ท่านอาจารย์ ตามลำดับ ภวังคุปัจเฉทะ หมายความถึง ภวังค์ดวงสุดท้าย หรือกระแสภวังค์ดวงสุดท้าย หลังจากภวังคุปัจเฉทะดับแล้ว ภวังคจิต จะเกิดต่ออีกไม่ได้เลย ต้องเป็นวิถีจิต
เพราะฉะนั้น วิถีจิตเริ่มหลังจากที่ ภวังคุปัจเฉทะดับโดย วิถีจิตแรก รำพึงถึง ที่ว่าสงสัย นี่ รำพึงถึง นึกถึงโดยพยัญชนะ จะใช้คำอะไรก็แล้วแต่ แต่ให้ทราบว่าเป็นชั่วขณะจิตเดียว ที่รู้ว่าอารมณ์กระทบทางทวารไหน ถ้าเป็นวัณณะธาตุ ก็กระทบทางตา ถ้าเป็นสัททธาตุ คือ เสียง ก็กระทบทางหู ก็แล้วแต่ว่ากระทบทางไหน เพราะฉะนั้น จิตนี้รู้อารมณ์ได้ ๕ อารมณ์ คือ ทีละหนึ่งอารมณ์ ไม่ใช่พร้อมกัน ๕ อารมณ์ ไม่สงสัยใช่ไหม จิตนี้
ผู้ฟัง ไม่สงสัย แต่ขอเรียนถามว่า ตอนนี้อย่างเราเห็น กับได้ยิน วิถีจิตนี้ก็สลับกันอยู่ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ มีภวังค์ขั้น วิถีจิตวาระ ๑ จะมีหลายวิถีจิต เพราะอาศัยจักขุปสาท อย่างปัญจทวาราวัชชนจิตนี้ก็อาศัยจักขุปสาท จักขุวิญญาณก็อาศัยจักขุปสาท สัมปฏิจฉันนะ สันตีรณะ โวฏฐัพพนะ หรือแม้แต่อกุศลจิต กุศลที่เกิดต่อก็อาศัยจักขุปสาท เมื่อรูปดับก็เป็นภวังค์คั่น แล้วมโนทวารวิถีจิตก็รู้ต่อ รู้อารมณ์ที่ ปัญจทวารวิถีแต่ละทางเพิ่งรู้ และต่อจากนั้นมโนทวารวิถีจิตก็เกิด หลังจากที่มีภวังค์คั่น แต่ละวาระ หายสงสัยหรือยัง
ผู้ฟัง ที่ว่ารำพึงถึงอารมณ์ รู้อารมณ์หรือยัง
ท่านอาจารย์ เพียงรู้ มีอารมณ์ที่กระทบทางทวารแต่ไม่เห็น ไม่ได้ทำทัศนกิจ
ผู้ฟัง แต่ยังไม่เห็น ชัด
ท่านอาจารย์ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน จิตเห็น จิตได้ยิน ต้องเป็นหน้าที่ของจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ ปัญจทวารวัชชนะไม่เห็น ไม่ได้ยิน แต่รู้ว่าอารมณ์กระทบ ทางทวารไหน
ผู้ฟัง เหมือนมีใครมาเคาะประตู อย่างนั้นหรือ
ท่านอาจารย์ แล้วแต่จะอุปมา เวลาที่มีแขก แต่ยังไม่เห็นว่าเป็นใครก็ได้ ทราบแต่ว่ามายืนอยู่ที่ประตู
ผู้ฟัง รำพึงที่ว่า เสียงอะไรอย่างนี้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ยาวอย่างนั้น ชั่วหนึ่งขณะจิตรู้ว่ามีอารมณ์กระทบทวาร
ผู้ฟัง กรุณาต่ออีกหน่อย ต่อไปมันจะเป็นจิตอีกดวงที่เรียกว่า ทวิปัญจทวารวิญญาณ
ท่านอาจารย์ ทวิปัญจวิญญาณ
ผู้ฟัง ทวิปัญจวิญญาณ
ท่านอาจารย์ ทวิ แปลว่า ๒ ปัญจ แปลว่า ๕ เพราะฉะนั้น มีวิญญาณจิต ๑๐ ดวง ที่รู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย โดยทำกิจเห็น กิจได้ยิน กิจได้กลิ่น กิจลิ้มรส กิจรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส รวมไปเลยเรียกว่า ทวิปัญจวิญญาณ
ผู้ฟัง ที่ว่าจะเป็นทั้งกุศล และอกุศล
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เป็นวิบาก ต่อไปจะต้องทราบว่าจิตทุกดวง หรือทุกประเภท เป็นชาติอะไร เป็นกุศล หรืออกุศลซึ่งเป็นเหตุ หรือเป็นวิบากซึ่งเป็นผล สำหรับทวิปัญจวิญญาณเป็นผลทั้ง ๑๐
ผู้ฟัง ทวิปัญจวิญญาณ ได้เห็น ได้กลิ่น หรือยัง
ท่านอาจารย์ จักขุวิญญาณ เห็น
ผู้ฟัง เห็นแล้วหรือ
ท่านอาจารย์ เห็น ทำทัสสนกิจเลย เวลานี้เห็นคือ จักขุวิญญาณจิต ที่ได้ยิน เป็นอะไร
ผู้ฟัง เวลาที่ได้ยินก็เป็นโสตวิญญาณ
ท่านอาจารย์ โสตวิญญาณจิต ชัดไหม ชัดหรือไม่ชัดก็คือกำลังได้ยินอย่างนี้ คือ โสตวิญญาณ ทำกิจได้ยิน
ผู้ฟัง ทีนี้ดวงต่อไป เป็นสัมปฏิจฉันนจิต ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ รับต่อ
ผู้ฟัง รับต่อเขามา แล้วก็สันตีรณะ
ท่านอาจารย์ พิจารณา
ผู้ฟัง ที่ว่าพิจารณาไตร่สวน อารมณ์หรือ
ท่านอาจารย์ ไม่ยาวอย่างนั้น เพียงหนึ่งขณะๆ
ผู้ฟัง บางที่เห็น ในศัพท์ที่อธิบาย บางทีเห็นคำว่า ไตร่สวนอารมณ์อย่างนี้
ท่านอาจารย์ จะใช้พยัญชนะอะไรก็ตาม ให้เข้าใจกิจหน้าที่ของจิตนั้นๆ ไม่ใช่สัมปฏิจฉันนจิต ไม่ใช่สันตีรณะจิต
ผู้ฟัง ตั้งแต่วิญญาณก็ใช้ได้แล้ว ใช่ไหม ว่าเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส
ท่านอาจารย์ ต้องศึกษาเรื่องกิจของจิต ซึ่งกิจทั้งหมดมี ๑๔ กิจ จิตไหนทำกิจอะไร ถ้าไม่ใช่จักขุวิญญาณจิตไม่ได้ทำทัสสนกิจ ไม่ได้ทำกิจเห็น แต่สามารถที่จะรู้อารมณ์นั้น สืบต่อจากจิตเห็นได้
ผู้ฟัง โวฏฐัพพนจิต มาตัดสินอารมณ์อย่างไร ก็เห็นแล้ว ตั้งแต่วิญญาณนั้น
ท่านอาจารย์ เกิดก่อนชวนะ แล้วแต่ว่า ชวนะจะเป็นกุศล หรืออกุศล
ผู้ฟัง มาตัดสินอีกทีอย่างนั้น หรือ
ท่านอาจารย์ ไม่ ใช่คนที่กำลังนั่งตัดสิน และไม่ใช่คำตัดสิน แต่เป็นเหมือนกิริยาจิตซึ่งต้องเกิดก่อน กุศล หรืออกุศล เพราะว่าจิตก่อนนั้นเป็นวิบาก
ผู้ฟัง ตอนแรกที่เป็นปัญจวิญญาณ อาจจะเห็นเป็นคน
ท่านอาจารย์ ไม่ได้เลย ปัญจวิญญาณจะเห็นเป็นคนไม่ได้ มีปรมัตถธรรม เป็นอารมณ์ มีรูป ๑๗ ขณะซึ่งยังไม่ดับ ยังไม่ถึงขณะที่ ๑๗ เพราะฉะนั้น ต้องมีปรมัตถธรรมเป็นอารมณ์
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 541
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 542
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 543
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 544
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 545
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 546
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 547
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 548
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 549
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 550
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 551
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 552
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 553
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 554
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 555
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 556
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 557
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 558
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 559
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 560
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 561
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 562
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 563
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 564
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 565
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 566
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 567
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 568
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 569
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 570
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 571
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 572
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 573
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 574
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 575
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 576
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 577
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 578
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 579
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 580
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 581
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 582
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 583
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 584
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 585
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 586
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 587
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 588
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 589
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 590
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 591
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 592
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 593
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 594
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 595
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 596
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 597
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 598
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 599
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 600