ปกิณณกธรรม ตอนที่ 567
ตอนที่ ๕๖๗
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๓
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะพยัญชนะอะไรก็ตาม แต่ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ที่สามารถที่จะเข้าใจและมีความมั่นคงคือสัจจญาณที่รู้ว่าปัญญาที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่จะประจักษ์แจ้งอริยสัจธรรม ก็คือในขณะนี้เอง เพราะว่าถ้าระลึกถึงคำแรกที่เรากล่าวถึงว่า จิตเกิดดับเร็วมาก เวลานี้ที่ทุกคนกำลังนั่งฟังนี่ ก็คือจิตเกิดดับไปแล้วมากมาย แล้วก็เวทนาต่างๆ สภาพธรรมต่างๆ แม้แต่รูป เพราะฉะนั้น ปัญญาของใครที่มีความมั่นคงเป็นสัจจญาณ ก็จะไม่คำนึงสิ่งอื่นซึ่งยังไม่ปรากฏ ในขณะใดที่จะได้ฟังเรื่องของทิฏฐิ หรือเรื่องใดก็ตาม ขณะนั้นก็มีได้ยิน แล้วก็สามารถที่จะมีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้นก็ได้ เฉพาะตัวๆ จริงๆ
การที่เราศึกษาธรรม ถึงแม้ว่าจะมีการถามเรื่องพยัญชนะต่างๆ แต่ว่าขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่ทุกคนจะต้องเข้าใจจริงๆ ว่า สามารถที่จะระลึกรู้ได้ สามารถที่จะปัญญาเกิดขึ้นประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมนั้นๆ ตามความเป็นจริงได้ ตามการสะสมของแต่ละคน เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องเฉพาะตนๆ จริงๆ เพราะฉะนั้น ธรรมทุกอย่างมี ขึ้นอยู่กับความเข้าใจจริงๆ ว่า สามารถที่จะรู้ในลักษณะใด ลักษณะที่เข้าใจว่าเป็นสัจจญาณ หมายความว่าเป็นปัญญาที่มั่นคงในการอบรมเจริญสติปัฏฐาน รู้ว่าปัญญาไม่ใช่รู้อื่น ไม่ใช่รู้สิ่งที่ยังไม่มาถึง หรือว่าสิ่งที่ผ่านไปแล้ว แต่สิ่งที่กำลังมีที่กำลังปรากฏเดี๋ยวนี้ ปัญญาสามารถที่จะอบรม จนประจักษ์การเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมที่ไม่ใช่ตัวตนได้
ผู้ฟัง เมื่อกี้ คุณลุงนิพัฒน์บอกว่า ชื่อนี่ ชื่อนี่ก็สำคัญ ชื่อนี่ถ้าสื่อให้เข้าใจถึงสภาพธรรม ชื่อนั้นก็มีประโยชน์มหาศาล
ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องเฉพาะตัว คือทุกคนได้ฟังข้อความเดียวกัน แล้วข้อความนี้มีเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมี แต่ว่าปัญญาของใครที่สามารถจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม หรือว่าปัญญาของใครเพียงสามารถฟังเรื่องราวแล้วก็พยายามเข้าใจคำ โดยที่ไม่รู้ว่า แท้ที่จริงแล้วสภาพธรรมในขณะนั้นไม่ใช่ตัวตนอย่างไร ก็เป็นเรื่องของการอบรมเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีผ่านมาจนถึงปัจจุบัน แล้วก็จะระลึกลักษณะของสภาพธรรม จนกว่าจะรู้ความจริงอีกเมื่อไร อีก ๒,๕๐๐ กว่าปี หรืออีก ๕,๐๐๐ปี แต่ถ้าอยู่ในโลกมนุษย์นี้ก็ยาก เพราะว่าศาสนาไม่มีผู้ที่จะศึกษาอย่างละเอียดรอบคอบ จนกระทั่งเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมโดยละเอียด เพียงแต่ว่าเข้าใจคำเท่านั้นเอง
ผู้ฟัง ขณะสติปัฏฐานเกิด ปัญญาหรืออย่างไร ที่จะอยู่ในขั้นไหน ขั้นวิปัสสนาที่ ๕ แล้ว ที่ ๖ แล้ว ในขณะที่เห็น ขณะเดียวอย่างนั้นหรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่าวิปัสสนาคืออะไร ขอเรียนถามท่านอาจารย์สมพร
อ. สมพร วิปัสสนาภาวนา ก็หมายความว่า เห็นนามและรูปนั่นเอง ที่ปรากฏทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง
ท่านอาจารย์ อาจารย์หมายความถึง เห็น คือ ปัญญา ไม่ใช่เห็นอย่างเดี๋ยวนี้ ขณะนี้คุณบงก็เห็น แล้วความรู้ในลักษณะของสภาพธรรมที่เห็นเมื่อไร มีหรือยัง ถ้าไม่มีจะชื่อว่าเห็นไหม หรือว่าเพียงฟัง แล้วรู้ว่ามี ขณะนี้เป็นนามธาตุที่เกิดขึ้น เมื่อมีรูปารมณ์กระทบกับจักขุปสาท ธาตุชนิดนี้จึงเกิดขึ้นเห็น เป็นธาตุ ๑ ในนามธาตุ ๗ โดยประเภท แต่ว่าการศึกษาละเอียด จะทำให้แม้พยัญชนะที่ทรงแสดงว่า ธรรมทั้งหมดเป็นธาตุ แต่ก็ยังทรงอนุเคราะห์ โดยการแสดงลักษณะที่ต่างกัน เป็นนามธาตุกับรูปธาตุ แล้วในนามธาตุ เป็นวิญญาณธาตุอะไรบ้าง เพื่อให้เห็นความชัดเจนของสภาพธรรมแต่ละหนึ่งๆ วิญญาณธาตุ เราเข้าใจได้ว่า หมายความถึง จิตทุกชนิด จิตทุกประเภทเป็นวิญญาณธาตุ หรือว่าจะใช้คำว่า วิญญาณขันธ์ ก็ได้ เพราะเหตุว่าเป็นสภาพธรรมที่เกิดแล้วก็ดับ ไม่เที่ยง ในขณะนี้ นี่ก็เกื้อกูลแล้วใช่ไหม ที่จะให้เข้าใจจริงๆ ว่า ขณะนี้ อะไรไม่เที่ยง ขณะที่เห็นในขณะนี้ไม่เที่ยง ขณะที่คิดนึกไม่เที่ยง ขณะได้ยินไม่เที่ยง เวทนาความรู้สึกแต่ละอย่างเกิดขึ้นไม่เที่ยง แล้วก็ไม่ใช่ว่าจะพร้อมกันได้ใช่ไหม เพียงแค่นี้เราก็สามารถที่จะพิสูจน์ปัญญาของเราได้ว่า เห็นอย่างนี้ ด้วยปัญญาหรือยัง หรือว่าเพียงเริ่มฟัง แล้วก็เริ่มเข้าใจ คำว่าธรรม คำว่าธาตุ คำว่านามธรรม คำว่ารูปธรรม แล้วก็ลักษณะที่ต่างกันของวิญญาณธาตุว่า แม้จักขุธาตุ หรือจักขุวิญญาณธาตุ รูปธาตุ ก็คือสภาพธรรมที่ต่างกัน อาศัยกันประชุมกันเป็นอายตนะ เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
ผู้ฟัง ดิฉันหมายความว่า อย่างผู้ที่สติปัฏฐานที่เริ่มเกิด ก็รู้แค่นี้ แต่ผู้ที่อบรม
ท่านอาจารย์ เดี๋ยว ผู้ที่สติปัฏฐานเกิด ก็รู้แค่นี้ หมายความว่าอย่างไร
ผู้ฟัง เริ่มเกิด รู้ว่าเป็น รูปหรือ นาม
ท่านอาจารย์ นั่นไม่ใช่สติปัฏฐาน
ผู้ฟัง รู้ลักษณะของรูป ของนาม
ท่านอาจารย์ ต้องมีลักษณะของสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม เราศึกษาเรื่องปรมัตถธรรม เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นธรรมที่มีลักษณะจริงๆ ให้พิสูจน์ ให้รู้ ทนต่อการพิสูจน์ ให้รู้ว่าเราไม่ได้พูดถึงสิ่งซึ่งไม่มีลักษณะ แล้วก็ให้มาคิดกันเอาเอง แต่ว่าลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่างต่างกันเป็นอย่างละหนึ่ง อย่างละหนึ่งจริงๆ
ผู้ฟัง ความแตกต่างกันระหว่างวิปัสสนาญาณ แต่ละขั้นมันก็ไม่มี หรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ จากสติปัฏฐาน ไปถึงวิปัสสนาญาณ รู้อะไร
ผู้ฟัง รู้ลักษณะของรูป และนาม
ท่านอาจารย์ รู้อย่างไร ไม่ใช่เพียงฟัง แล้วก็บอกว่าสติปัฏฐาน แล้วก็รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม แต่คำว่าวิปัสสนาภาวนา หมายความถึง การอบรมให้สิ่งซึ่งยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ให้สิ่งที่เกิดแล้วเจริญมากขึ้น เพราะฉะนั้น ต้องรู้ว่าปัญญามีหลายระดับ
ปริยัติ คือ การศึกษาพระธรรม
ปฏิปัตติ เมื่อมีการเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม ก็มีการที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมตรงตามที่ได้ศึกษา ซึ่งเป็นระยะที่นาน กว่าจะเป็นการู้แจ้งหรือเห็นแจ้งด้วยปัญญา
ที่เป็นวิปัสสนาญาณ เพราะว่าสภาพธรรมต้องปรากฏ ไม่ใช่เพียงระลึกแล้วรู้แล้ว เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะระลึกแล้วรู้แล้ว แล้วก็ไปจัดเป็นวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ไม่ใช่ ต้องเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ ที่จะรู้ว่าไม่รู้อะไรบ้าง แล้วก็หลงลืมสติหรือสติเกิด นี่สำคัญที่สุด คือ เบื้องแรก ไม่ใช่เราจงใจ ไม่ใช่เราตั้งใจ เพราะเหตุว่า ศึกษาทราบว่าเป็นอนัตตา สติเป็นอนัตตา ปัญญาเป็นอนัตตา ผัสสะเป็นอนัตตา ทุกอย่างเป็นอนัตตา เมื่อใดมีปัจจัยปรุงแต่งก็เกิด เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ความจงใจที่คิดว่า เราจะทำ หรือว่าเราจะรู้ ขั้นแรก คือรู้ว่าการฟังพระธรรม เป็นปัจจัยที่จะทำให้สัมมาสติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ทีละลักษณะ แต่ละทวาร ทางตาก็ทางตา ทางหูก็ทางหู ทางจมูกก็มีลักษณะสภาพธรรมต่างๆ ลักษณะซึ่งไม่เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ผู้นั้นก็ไม่หลงเข้าใจผิดว่าเราทำ แต่ว่าเป็นการเริ่มที่จะเห็นความจริงว่า สติจะระลึก เพราะเหตุว่าวันหนึ่งๆ ก็เห็นมากตลอดเวลา แข็งก็กระทบบ่อยตลอดเวลา ใครถามก็ตอบว่าแข็ง แต่ขณะนั้นไม่ใช่สติปัฏฐาน ต้องรู้ ใครที่ตอบว่าแข็ง เป็นกายวิญญาณจิต เพราะว่า เป็นสภาพที่รู้ลักษณะที่แข็ง จึงกล่าวได้ว่าลักษณะนั้นแข็ง รู้โดยกายปสาท แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่จะถือว่านั่นเป็นสติปัฏฐาน หรือว่า นั่นเป็นวิปัสสนาญาณ
เพราะฉะนั้น ต้องทราบว่าขณะที่ชีวิตประจำวัน ที่หลงลืมสติกับขณะที่สติปัฏฐานเกิด ต้องต่างกัน ต้องมีความรู้ อันนี้เป็นปัญญาของบุคคลนั้นเอง การฟังพระธรรมประโยชน์ คือ ทำให้ปัญญาของผู้นั้นเกิด จึงเห็นพระกรุณาคุณของพระผู้มีพระภาคที่ทรงแสดงพระธรรม ที่จะให้คนที่ได้มีโอกาสฟัง ได้พิจารณาได้เข้าใจความละเอียด แล้วก็อบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ใช่เพียงขั้นของการฟังเท่านั้น แต่ต้องเป็นการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งจะต้องอบรมตั้งแต่ขั้นการฟัง เพราะว่าถ้าไม่มีการฟังให้เข้าใจก่อน จะระลึกอะไร สัมมาสติก็เกิดไม่ได้ ไม่มีความรู้อะไรเลย แต่เมื่อมีความเข้าใจเป็นพื้นฐาน เป็นปัจจัย ขณะใดที่มีปัจจัยปรุงแต่ง สติก็เกิด โดยระลึกลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งที่กำลังปรากฏ นี่เริ่มที่จะเข้าใจความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ไม่ใช่เราทำ การอบรมเจริญปัญญา ก็เป็นการรู้ลักษณะของสภาพธรรมทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะประจักษ์แจ้งซึ่งเป็นวิปัสสนาญาณ
ผู้ฟัง เป็นปัญญาที่รู้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ต้องอบรมต่อไป โดยมากทุกคนอยากจะไปประจักษ์เป็นวิปัสสนาญาณ อยากจะละกิเลส แต่ลืมว่าฟังหรือศึกษาพระธรรมให้เกิดความเข้าใจถูก ซึ่งเป็นภาษาไทย ภาษาบาลีก็คือปัญญา แต่ถ้าใช้คำว่า ปัญญาเราก็อาจจะไม่เข้าใจว่าปัญญารู้อะไร ปัญญาคืออะไร แต่ถ้าบอกว่ามีความเข้าใจถูก ความห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ต้องการผลพลอยได้อย่างอื่นเลย เพราะเหตุว่าถ้าเป็นอย่างนั้นก็คือ เรารู้ เราเจริญ เราก้าวหน้า แต่ไม่ได้ละความไม่รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏจริงๆ ว่า สภาพธรรมแต่ละลักษณะเกิด มีลักษณะต่างๆ กัน ในชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ต้องมีปัญญาอีกระดับหนึ่ง อีกขั้นหนึ่ง ที่ไม่ใช่เพียงคิดว่า เรารู้ว่าไม่ใช่ตัวตน แต่แม้ขณะนั้นก็คือสภาพนามธรรมและรูปธรรม ที่ต้องเข้าใจโดยสติปัฏฐานเกิด
ผู้ฟัง ทีนี้ในแง่ของนิพพาน
ท่านอาจารย์ เดี๋ยว ขณะนี้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ หรือยัง
ผู้ฟัง ทราบ
ท่านอาจารย์ ระดับไหน ฟัง
ผู้ฟัง ระดับฟัง
ท่านอาจารย์ เข้าใจ ยังถึงนิพพานไม่ได้ ไม่ใช่นิพพานจะถึงได้โดยฟังแล้วเข้าใจ ความจริงต้องรู้ว่าพระธรรมที่ทรงแสดงลึกซึ้ง ลึกซึ้งมาก
แม้อริยสัจธรรม ๒ คือ ทุกข์ กับ สมุทัย ลึกซึ้งจึงเห็นยาก เพราะกำลังเกิดดับ แต่ไม่เห็นโดยความลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น มรรคคือหนทางที่จะอบรมเจริญปัญญา แล้วนิพพานเห็นยาก ไม่ใช่ว่าจะเห็นง่าย เพราะว่าเป็นสิ่งที่ลึกซึ้งจริงๆ สรุปว่าพระธรรมลึกซึ้งเพราะอะไร เพราะว่าแม้ธรรมปรากฏทุกขณะทุกวันก็ไม่รู้ตามความเป็นจริง นี่คือความลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ใครคิดว่าง่าย เบื่อๆ แล้วก็จะไปถึงนิพพานก็เร็วๆ ดี แต่เพียงคำที่ได้ยินได้ฟัง ขอให้เข้าใจคำว่า ธรรม ก่อน พูดบ่อยมากเรื่องธรรมกับธาตุ หมายความถึงสิ่งที่มีจริงๆ ลักษณะที่ต่างกันก็คือ นามธรรมกับรูปธรรม ๒ จากธรรม ๑ เป็น ธรรม ๒ ขยายให้ละเอียดขึ้น คือนามธรรม กับ รูปธรรม นามธรรมและรูปธรรม ที่มีจริงๆ ยังแยกเป็นขันธ์ ๕ ให้เราเห็นตามความเป็นจริง ถ้าจะเบื่อๆ อะไร
แม้แต่เพียงคำว่า ขันธ์ หมายความถึง สภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งจึงเกิดแล้วก็ดับ เห็นอย่างนี้หรือยัง ถ้าไม่เห็นอย่างนี้เพียงฟังเข้าใจแต่ไม่เห็น จะชื่อว่าเราเข้าถึง อรรถที่ลึกของคำว่าขันธ์ไหม เพราะเหตุว่าความหมายของขันธ์ก็คือ สภาพธรรม ถ้าเป็นรูปธรรม ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน อนาคตก็เป็นรูป เป็นส่วนของรูปเป็นกองของรูป ความรู้สึกของเราตั้งแต่เกิดจนถึงเดี๋ยวนี้นับไม่ถ้วน แล้วถ้าเราจะนับย้อนถอยหลังไปถึงอดีตแสนโกฏิกัปป์ เวทนา คือความรู้สึกก็เป็นประเภทของธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเพียงความรู้สึกที่เกิดแล้วก็ดับ เรารู้อย่างนี้แล้วหรือยัง นี้คือเข้าใจความหมายของขันธ์ ไม่ใช่ความหมายเพียงชื่อว่าอย่างนี้ เป็นขันธ์ อดีต ปัจจุบัน อนาคต ใกล้ ไกล หยาบ ละเอียด เลว ประณีต ภายใน ภายนอก ก็ติดว่าเราเข้าใจคำว่า ขันธ์
แต่ความจริงความเข้าใจของเราไม่ได้เข้าใจประจักษ์ในอรรถของคำว่า ขันธ์ ถ้าขันธ์จริงๆ ก็คือ ขณะนี้ไม่มีเรา ที่คิดอย่างนั้น ที่กำลังคิดอย่างนั้น เป็นอะไร เป็นธรรมที่เกิดแล้วก็ดับ แต่ละขณะเร็วมาก ซึ่งขณะที่เป็นนามธรรม คือจิต เจตสิก ถ้ากล่าวโดยขันธ์ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เราไม่ได้รู้อย่างนี้ แต่เราฟัง แล้วเราคิดว่าเรารู้แล้ว เราคิดว่าเราเบื่อแล้ว
เพราะฉะนั้น แม้แต่อรรถของคำว่า ขันธ์ จะรู้ได้เมื่อไร ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ไม่มีทางที่จะเข้าใจความหมายของขันธ์ ซึ่งเป็นอดีต ปัจจุบัน อนาคต เพราะขณะนี้เอง สภาพธรรมที่เกิดแล้วดับเป็นอดีต สภาพธรรม เมื่อกี้นี้ซึ่งเป็นอนาคตก็ปัจจุบันเพราะเกิด แล้วสภาพธรรมที่จะต้องเกิดต่อ เพราะว่ามีเหตุปัจจัยก็คือ อนาคต ในขณะที่ปัจจุบันยังตั้งอยู่ การที่จะเข้าใจความหมายของขันธ์ ไม่ใช่โดยชื่อ แต่โดยการประจักษ์จริงๆ ว่าทรงแสดงจากการตรัสรู้ความจริงเป็นอย่างไร ทรงแสดงอย่างนั้น ให้คนฟังได้เข้าใจอรรถจริงๆ ของสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่า ขันธ์ ๕ เราก็ทราบว่ามาจากรูป ๑ ขันธ์ จิตกับเจตสิกรวมเป็นนามขันธ์ ๔ แต่ยังมีคำว่า อุปาทานขันธ์ ชื่อง่ายมาก อุปาทาน แปลว่า ยึดถือ ไม่เห็นจะยากเลย เราก็บอกว่าเราติดในรูป ทั้งนั้นเลย ทั้งทางตาต้องสวยทุกอย่าง บ้านไม่ว่าจะเป็นอะไรทั้งนั้น การสร้าง การติดปลั๊กไฟ หรือว่าอะไรๆ ทุกอย่างต้องสวยทั้งหมด เสียงก็ต้องปรุงให้ประณีต สวยคือเพราะ กลิ่นก็เหมือนกัน สวยคือหอม เห็นความเป็นสุภะ ความที่น่าพอใจของรูป แล้วก็ติดอย่างมาก นี่คือ อุปาทานขันธ์ แต่รู้เมื่อไร ในความยึดถือรูป ถ้าขณะนั้น สติปัฏฐานไม่เกิด ไม่ระลึกลักษณะของรูป จะเห็นอุปาทานความยึดมั่นในรูปหรือไม่เราก็เพียงแต่พูดว่าทุกคนติดในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส แต่ยังไมได้เห็นตัวอุปาทานจริงๆ ที่ติดในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ในเรื่องราวต่างๆ มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้น ทุกอย่างจะเห็นได้ด้วยปัญญาเมื่อสติปัฏฐานเกิด ไม่ใช่เพียงฟังแล้วก็เบื่อ แต่ว่าระลึกลักษณะของสภาพธรรม จนกว่าจะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ แม้แต่คำว่า อุปาทานขันธ์ ก็จะเข้าใจในความหมายที่ลึกซึ้งของคำว่า อุปาทาน ติดมากขนาดไหน ก็ต่อเมื่อสติเกิดแล้วจะรู้ ตามความเป็นจริงซึ่งละเอียดขึ้นๆ ๆ ที่เราติดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ในเรื่องราวต่างๆ ก็ยังหยาบ เพราะว่าสภาพธรรมที่ติดจริงๆ เกิดแล้วก็ดับเร็วมาก แต่เวลาที่มีสภาพธรรมปรากฏ แล้วมีความติดในสิ่งนั้น ยังไม่ถึงการละคลายเลย เพราะฉะนั้น ผู้นั้นก็จะรู้ได้ว่า แม้เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม ก็ยังเป็นที่ตั้งของอุปาทานได้ ธรรมทั้งหมดที่ได้ยินได้ฟังเมื่อปัญญาประจักษ์แจ้ง ก็จะต้องเป็นตามลำดับอย่างนี้
ผู้ฟัง ดิฉันก็พยายามเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่
ท่านอาจารย์ ถ้าพยายามจะเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี่ถูกหรือผิด เพียงเท่านี้ ต้องพิจารณาแล้ว พยายามจะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ถูกหรือผิด พยายามทำไม
ผู้ฟัง ต้องเจริญๆ
ท่านอาจารย์ ทำไมต้อง
ผู้ฟัง เพราะว่าเราจะได้
ท่านอาจารย์ นี่คือเรื่อง ได้ เพราะเราจะได้
ผู้ฟัง เพราะจะได้รู้สภาพธรรมที่ว่า ตัวจิต ตัวเจตสิกนี้
ท่านอาจารย์ ก็มีเราที่ต้องการ แต่ไม่ได้รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เราเรียนวิถีจิตทำไม ลองคิดดู ทำไมต้องเรียน เรื่องจิตที่ไม่ใช่วิถีจิต คือ เป็นปฏิสนธิจิต ภวังคจิต จุติจิต เท่านั้น ที่ไม่ใช่วิถีจิต จิตอื่นทั้งหมดเป็นวิถีจิต ทำไมเราต้องเรียนเรื่องนี้ เรียนเพื่อให้เห็นความจริงว่าไม่มีเราที่จะทำอะไรได้เลยสักขณะเดียว ปฏิสนธิจิตเกิด มีใครทำอะไรได้ ปฏิสนธิจิตดับไป ภวังคจิตเกิดสืบต่อ ใครทำอะไรได้ ขณะที่เห็นขณะนี้ จิตเกิดดับสืบต่อ โดยปัจจัยของแต่ละขณะจิตว่า มีจิต ๑ ขณะเป็นปัจจัยให้จิตขณะนั้นเกิด มีอะไรบ้าง แล้วก็จิต ๑ ขณะที่เกิดแล้ว จะเป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดโดยปัจจัยอะไรบ้าง เราเรียนทำไม เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงว่า ไม่สามารถที่จะมีเรา ทำอะไรได้เลยสักขณะเดียว เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม คือ ให้เข้าใจความเป็นอนัตตาจริงๆ แล้วเวลาที่จะอบรมเจริญปัญญา ก็ต้องรู้ตรงตามความเป็นจริง เพื่อละ เราจะทำ ไม่มีทางที่จะสำเร็จได้
ผู้ฟัง คำว่า รู้แล้วละ คำว่า ละ อย่างสมมติว่า ถ้าเราเห็นอาหารแล้วเราเกิด เราก็รู้ว่าสภาพจิตของเราว่า เรากำลังอยากทาน แล้วเรามีขันติ พยายามอดทนว่านี่เรารู้แล้ว แล้วเราก็ไม่ทำ เพราะว่าเราไม่หิว อย่างนี้ ยังไม่ถือว่าการละ ใช่ไหม คำว่า ละ คือต้องความเบื่อหน่าย แล้วถึงจะละเอง
ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาธรรมโดยละเอียดก็จะทราบว่า การละมีหลายระดับ ละด้วยอะไร ด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา หรือด้วยอะไร ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เพราะฉะนั้น จุดประสงค์ของการศึกษาก็คือว่า เพื่อให้มีความเห็นถูก ความเข้าใจถูกในสภาพธรรมที่มีจริงๆ ไม่ต้องมุ่งหวังอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะเหตุว่าถ้ามุ่งหวัง ก็คือไม่ได้ละสมุทัย ยังวนเวียนในสังสารวัฏฏ์ ยังไม่เห็นสมุทัยว่า ขณะนั้นเป็นไปด้วยความอยาก หรือว่าเป็นไปด้วยความต้องการ แต่ถ้าเรียนเพื่อความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องขณะที่เข้าใจถูก ขณะนั้นไม่เห็นผิด ไม่ได้ต้องการอะไร เพียงศึกษาให้เข้าใจแล้ว เมื่อมีความเห็นถูก ความเห็นถูกก็จะนำไปสู่ความเห็นถูกยิ่งๆ ขึ้น จะหวังหรือไม่หวังก็ต้องถึง การที่จะดับกิเลสได้ เพราะเหตุว่า ที่ใดที่มีความเห็นถูก ที่นั่นจะไม่มีกิเลส ไม่เกิดพร้อมกัน อกุศลไม่เกิดพร้อมกับปัญญา
ผู้ฟัง เมื่อสักครู่ที่คุณป้าบุญตุ้มมาเรียนถามท่านอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องเบื่อหน่าย เมื่อก่อนหนูก็มีความรู้สึกคล้ายๆ คุณป้า คือเคยไปเฝ้าคนไข้จนถึงกับท่านเสียไป รู้สึกเบื่อหน่ายเหมือนกัน ตอนนั้นยังไม่ได้ศึกษาพระธรรม พอมาศึกษาพระธรรม เรียนเรื่องชาติของจิต เรียนเรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ไม่ทราบว่าจะเข้าใจถูกหรือเปล่าว่า ในขณะที่เราเบื่อหน่ายตอนนั้น คือเห็นความแก่ หรือว่าความเจ็บ นั่นเป็นโทสมูลจิต คือเป็นความเบื่อด้วยกิเลส แต่ไม่ใช่ด้วยปัญญา แต่ถ้าเป็นความเบื่อหน่ายที่คลายกำหนัดเพื่อความหลุดพ้น อันนี้ก็ต้องเป็นที่เบื่อหน่ายที่เห็นความเกิดดับของสภาพธรรม ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่การรู้ลักษณะของสภาพธรรม ตามลำดับ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 541
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 542
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 543
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 544
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 545
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 546
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 547
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 548
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 549
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 550
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 551
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 552
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 553
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 554
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 555
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 556
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 557
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 558
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 559
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 560
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 561
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 562
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 563
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 564
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 565
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 566
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 567
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 568
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 569
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 570
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 571
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 572
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 573
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 574
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 575
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 576
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 577
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 578
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 579
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 580
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 581
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 582
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 583
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 584
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 585
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 586
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 587
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 588
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 589
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 590
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 591
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 592
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 593
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 594
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 595
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 596
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 597
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 598
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 599
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 600