ปกิณณกธรรม ตอนที่ 543


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๔๓

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๓


    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นบุคคลที่เรียกว่า ติเหตุกบุคคล เพราะว่าประกอบด้วยเหตุ ๓ เมื่อเป็นผลของกุศล ก็ต้อง เป็นกุศลวิบากที่ประกอบด้วย อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ และปัญญาเจตสิก คนที่ปฏิสนธิที่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิก เป็นติเหตุกบุคคลเท่านั้น ที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ หรือว่าจะอบรมเจริญสมถภาวนา จนกระทั่งฌานจิตเกิดได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคน เกิดได้แต่จะเกิด หรือไม่เกิด นั่นก็แล้วแต่ว่ามีเหตุปัจจัยพร้อมไหม

    นี่ก็สำหรับอบายภูมิ ๔ ปฏิสนธิจิต เป็น อเหตุกะอกุศลวิบาก แล้วก็สำหรับมนุษย์ภูมิ หรือเทวดาก็จะมีจิตที่ปฏิสนธิ ถึง ๙ ดวง เพราะเหตุว่า เป็นผู้ที่พิการตั้งแต่กำเนิด หวุดหวิด อบาย แต่ก็มาสู่ความเป็นมนุษย์ แต่ก็ไม่พร้อมสมบูรณ์อย่างคนอื่น แล้วนอกจากนั้นก็อีก ๙ ดวง ก็เป็นปฏิสนธิจิตของรูปพรหมภูมิบุคคล และอีก ๔ ดวงก็เป็น ปฏิสนธิจิตของผู้ที่ได้ฌานที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น ถ้าขณะใกล้จะตาย อรูปาวจรกุศลจิตเกิด ก็ทำให้มีแต่นามปฏิสนธิ ในอรูปพรหมภูมิ ก็เป็นปฏิสนธิจิตทั้งหมด ๑๙ ดวง นี่ก็เป็นเรื่องที่ยังไม่ต้องจำ หรืออยากจะจำก็ได้ เพราะว่ามีในตำราทุกเล่ม นอกจากนั้นยังมีปฏิสนธิอีกอย่างหนึ่งพิเศษ คือ รูป ปฏิสนธิ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงปฏิสนธิ จะมีปฏิสนธิ ๒๐ เป็น นามปฏิสนธิ ๑๙ และเป็นรูปปฏิสนธิ ๑

    ผู้ฟัง คำถามคือว่ายิ่งเราทำทานประเภทที่ไม่มีกำลังบ่อยๆ ซึ่งความจริงมันขัดกับที่อาจารย์กล่าวเมื่อกี้ว่า แม้กุศลเพียงน้อยนิด ก็ยังดีกว่า แต่ถ้าทำบ่อยๆ ก็มีโอกาสที่ทำให้เราเกิดเป็น คนที่พิการได้บ่อยเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ ต้องทราบว่าที่เป็นคนที่พิการตั้งแต่กำเนิด เพราะกำลังของกุศลอ่อน อกุศลจึงเบียดเบียนได้

    ผู้ฟัง อาจารย์หมายความว่า แม้กุศลที่มีกำลังอ่อนจะเกิด ก็ดีกว่าเป็นอกุศล แต่ว่า

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม จะเกิดเป็นสัตว์ จะเกิดในนรก จะเกิดเป็นเปรต จะเกิดเป็นอสุรกาย

    ผู้ฟัง ถ้าหากว่าเรามีกุศล ที่มีกำลังอ่อน บ่อยๆ จะไม่ดี เราควรจะมีกุศลที่ไม่ดี

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้พูดว่าไม่ดีเลย กุศลทุกอย่างดี แต่ว่ากุศลต่างกัน เป็นกุศลที่มีกำลัง กับกุศลที่ไม่มีกำลัง หรือว่ามีกำลังอ่อน เวลาที่เป็นกุศลที่มีกำลังอ่อน ทำให้เป็นผู้ที่มีปฏิสนธิ พิการตั้งแต่กำเนิด ต้องทราบว่าความพิการนั้น ไม่ใช่เป็นผลของกุศล แต่เพราะเหตุว่ากุศลนั้นมีกำลังอ่อน อกุศลจึงเบียดเบียนได้

    ผู้ฟัง เกิดด้วย ทวิเหตุกะ มีสิทธิที่จะก้าวไปสู่ ติเหตุกะบุคคลไหม

    ท่านอาจารย์ ในชาตินั้นไม่ได้ แต่ในชาติต่อไปได้ กรุณาคุณสุรีย์ตอบปัญหา เพื่อที่คนอื่นจะได้เข้าใจตามด้วย คุณสุรีย์พอจะทราบไหมว่า ปฏิสนธิจิต ของคุณสุรีย์เป็นอะไร

    ผู้ฟัง เป็นทวิ

    ท่านอาจารย์ เป็นกุศลวิบาก ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นคือต้องเป็นกุศลวิบาก คือเป็นผลของกุศล ถึงได้เกิดเป็นคน แล้วก็ไม่พิการตั้งแต่กำเนิดด้วย เพราะฉะนั้น ก็เป็นกุศลวิบาก ที่ประกอบด้วยเหตุ

    ผู้ฟัง ที่ประกอบด้วยเหตุ แต่ดิฉันคิดว่าดิฉันมีแค่ ๒ เหตุ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น กุศลวิบากที่ประกอบด้วยเหตุ เราต้องเข้าใจว่า เหตุที่นี่ ต้องเป็นเหตุที่ดี คือประกอบด้วย อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ และอโมหะเหตุ แต่ว่าแล้วแต่ว่าของใครจะประกอบด้วย ๒ อย่าง ก็เรียกว่า ทวิเหตุกบุคคล คือถ้าประกอบด้วย อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ แต่ถ้าใครก็ตามที่มีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยปฏิสนธิจิตนั้นก็เป็น ติเหตุกะ หรือว่า ติเหตุกบุคคล เพราะเหตุว่า จิตที่ปฏิสนธิ ประกอบด้วยเหตุ ๓ คือด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ แล้วคุณสุรีย์ทราบหรือว่าของคุณสุรีย์เป็นอะไร

    ผู้ฟัง สิ่งที่ทราบแน่ๆ คือ ตอนปฏิสนธิ นั้นต้องเป็น อโลภะ อโทสะ อโมหะ แน่ๆ แต่ว่าตอนนั้นจะเป็น ติบุคคล หรือ ทวิบุคคล อีกเรื่องหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ ไม่ จะเป็นบุคคล ไหน ตามปฏิสนธิจิต

    ผู้ฟัง ถูก ตามปฏิสนธิ

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะปฏิสนธิจิต เป็นทวิเหตุ หรือเป็นติเหตุ ใครจะรู้ ไม่มีใครรู้ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ไม่มีใครรู้

    ท่านอาจารย์ แต่รู้ แต่ว่าเป็นกุศลวิบากแน่นอน แล้วอย่างน้อยที่สุดก็ คือ ทวิเหตุ คือ มีอโลภะเหตุ กับ อโทสะเหตุ แต่เรื่องปัญญาเจตสิก นี้ยากที่จะรู้ได้ เพราะเหตุ ว่า เราไม่สามารถที่จะบอกได้ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง แต่เมื่อเราได้มาเรียนพระธรรมแล้ว เราก็สามารถจะสร้างเหตุ

    ท่านอาจารย์ คนละตอนแล้ว คนละตอนแล้ว หมายความว่า ปฏิสนธิจิตเป็นบุคคลใด ติเหตุกบุคคล ก็ติเหตุกะไปจนตาย ทวิเหตุกะ ก็ ทวิเหตุกะไปจนตาย จนกว่าจะเปลี่ยนหลังจากที่จุติจิตดับแล้ว กรรมใหม่ กรรม ๑ ก็ทำให้ปฏิสนธิจิตเกิด คราวนี้ก็เปลี่ยนอีก จากคนก็ไปเป็น อเหตุกปฏิสนธิ ก็ได้ หรือเป็น ทวิเหตุกปฏิสนธิก็ได้ หรือเป็น ติเหตุกปฏิสนธิก็ได้

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น อย่างน้อย อย่างที่พวกเรามานั่งกันอยู่ในที่นี้ ก็ต้อง ทวิเหตุกบุคคล อย่างน้อยต้องเป็น ทวิเหตุกบุคคล มิฉะนั้นเราก็คงไม่มีปัญญาที่จะเห็นโทษของอกุศล และเห็นคุณของกุศล ดิฉันคิดว่าอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ แล้วคุณพรรณทิพา

    ผู้ฟัง อย่างที่ท่านอาจารย์ว่า เป็นทวิเหตุกแน่ๆ

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้ คนเดียวก็เป็นอย่างหนึ่ง ถ้าแน่แล้ว ก็คือไม่เป็นอื่น

    ผู้ฟัง แต่อีกอย่างหนึ่ง หนูไม่ทราบ

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า ไม่มีใครจะรู้ได้ว่า ใครเป็นติเหตุกหรือเปล่า จนกว่าปัญญาจะเกิดถึงระดับขั้นที่ รู้แน่นอน ว่าเป็นติเหตุกปฏิสนธิ

    ผู้ฟัง ติเหตุกะ จะต้องมีปัญญา ถึงระดับไหน เพราะอย่างสมมติว่าเป็นปัญญา ที่เราสามารถที่จะเข้าใจธรรมที่ถูกต้อง อันนั้นจะถือว่าเป็นปัญญาหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ เราถือก็คงไม่ได้ เพราะเหตุว่าต้องเป็นเรื่องการรู้จริงๆ เราก็เพียงแต่จะบอกว่า บุคคลใดที่สามารถจะเข้าใจธรรม อบรมเจริญปัญญา และสามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรม ที่แน่นอน ก็คือว่า เมื่อไรรู้แจ้งอริยสัจธรรม หรือได้ฌานจิต

    ผู้ฟัง แสดงว่า ถ้าเป็นติเหตุกะ ต้องถึงขนาดรู้แจ้ง คือต้องเป็น วิปัสสนาญาณ

    ท่านอาจารย์ เป็นก็ได้ โดยที่ว่าาปัญญาไม่ได้สะสม เขาเป็นติเหตุกบุคคล แต่เขาไม่ได้สะสมปัญญาขึ้นมาเลย ตลอดชาตินั้นก็ได้ หรือว่าเป็นติเหตุกบุคคล แล้วก็ศึกษาธรรม อบรมเจริญปัญญาก็ได้ หรือแม้ถึงแม้ว่าเป็น ติเหตุกบุคคล อบรมเจริญปัญญา ยังไม่บรรลุการเป็น พระอริยบุคคลก็ได้ เราไม่สามารถจะรู้ได้ แต่จะรู้แน่ เมื่อบุคคลนั้น เป็นพระอริยบุคคล หรือว่าได้ฌานจิต

    ผู้ฟัง สมมติพวกที่เรียนธรรม ที่ฟังธรรมอยู่ทุกวันนี้ แล้วก็สามารถที่จะแยกแยะได้ อันไหนที่เป็นเหตุ เป็นผล แล้วก็ถูกต้อง มีการปฏิบัติที่ถูก อันนั้นจะถือว่า เขาเป็น ติเหตุกะ

    ท่านอาจารย์ เราไม่ถือ เรารู้ไม่ได้ ก็คือไม่ได้

    ผู้ฟัง จนกว่าจะแสดงให้เห็นได้

    ท่านอาจารย์ แน่นอน นั่นแน่นอน แต่ที่ไม่แน่ เพราะเราไม่รู้ ก็คือว่า เขาสามารถเข้าใจได้ ก็คือมีปัญญา

    วิทยากร คนมีปัญญา เราปฏิสนธิมาด้วยปัญญา พระองค์ตรัสไว้ ๒ อย่าง คนมีปัญญา เป็นผู้มีบุญมาก แต่ว่าปัญญายังแบ่งออกเป็น ๒ คือ ปัญญาน้อย ปัญญามาก การที่เราอธิบายธรรม บางคนมีปัญญาเฉียบแหลม เข้าใจพูดเร็วบางคนก็ช้าหน่อย เป็นอย่างน้อย ถึงอย่างนั้น พระองค์ก็ตรัสว่า เป็นบุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญาประเสริฐที่สุด คือ มีบุญมาก มีบุญน้อยก็คือ พวกอเหตุกปฏิสนธิ เป็นมนุษย์นี้ ต้องเป็นมนุษย์ เป็น อเหตุกปฏิสนธิ มีบุญน้อย แล้วก็มีบุญปานกลาง ก็คือ ทวิเหตุกบุคคล ส่วนติเหตุกะเป็นผู้มีบุญมาก แต่ว่ายังแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง อย่างว่า

    ผู้ฟัง อาจารย์ กรุณายกตัวอย่าง อารมณ์ สักอย่างหนึ่ง ที่มีปรากฏในพระไตรปิฎก ว่าภวังคจิตมีอารมณ์ อะไรบ้าง อารมณ์ นี้เป็นอารมณ์เหมือนกับ ก่อนจุติจิตของชาติก่อน คือ ชวนะ นั่นเอง ตรงนี้ ตรงจุดนี้ อยากขอความกรุณาให้ตัวอย่างว่าเช่นอะไรบ้าง

    ท่านอาจารย์ คุณสุรีย์ ถ้าเราคิดถึงอารมณ์ ใกล้จะจุติ ดูรู้สึกว่าจะห่างไกลเหลือเกิน แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่า ปฏิสนธิชาติต่อไปจะเป็นอย่างไร หรือว่าปฏิสนธิจิตของชาตินี้ คุณสุรีย์ก็หาอารมณ์ไม่ได้เลย เพราะไม่ปรากฏ ใช่ไหม แล้วก็ทราบว่าเป็นอารมณ์เดียวกับจิตใกล้จุติของชาติก่อน หมายความว่า ไม่ใช่ขณะจุติ แต่ต้องเป็นจิตที่เกิดก่อนขณะจุติ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ คุณสุรีย์ ก็จะตายก็ได้ ใครก็ตามในที่นี้ก็จะตายก็ได้ และก่อนจะตายก็คือนี่แหละ อย่างนี้เอง ที่กำลังเป็นอารมณ์ก่อนจะตาย เพราะว่าขณะนี้ บางคนก็เห็น ขณะนี้ที่กำลังเห็น เห็นหมดวาระแล้ว จุติจิตก็เกิดได้ หรือว่ากำลังได้ยินเสียง แล้วหมดวาระแล้ว จุติจิตก็เกิดได้ หรือขณะนี้ใครกำลังจะคิดนึกเรื่องอื่น ก็แล้วแต่ เรื่องนั้นก็เป็นอารมณ์ของจิตซึ่งหลังจากที่หมดวาระนั้นแล้ว จุติจิตก็เกิดได้

    เพราะฉะนั้น ก็เหมือนธรรมดาปกติ ไม่ได้ต่างกันเลย เพียงแต่ว่า เป็นอารมณ์ของชาติก่อน เพราะว่าใกล้จะจุติของชาติก่อนเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะคิด ถึงชาติปัจจุบัน เราอาจจะเข้าใจได้ ว่าขณะนี้ ถ้าเราเห็นแล้วก็หมดวาระ แล้วก็จุติจิตเกิด ปฏิสนธิจิตของเรา ก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา อย่างนี้แหละ เป็นอารมณ์ ของปฏิสนธิจิต แต่ไม่ได้ปรากฏ เพราะว่าไม่ได้อาศัยทวารหนึ่ง ทวารใด ไม่ใช่รูปที่ปรากฏทางตาเหมือนตอนที่เราเกิดแล้ว เราโตแล้ว เรามีจักขุปสาทแล้วมีการเห็นรูปใหม่ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องเป็นอารมณ์ที่ใกล้จะจุติของชาติก่อน เพราะฉะนั้น ทุกคนในขณะนี้ ได้ยินคำว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็รู้ว่าทางใจ ก็คิดนึก จะคิดถึงเรื่องกรรมที่ทำแล้วก็ได้ หรืออาจจะนึกถึงภาพที่เราไปทอดกฐิน ไปทำอะไรทางกุศล อกุศลก็ได้ เพียงแต่ว่าเหมือนปกติ ชีวิตประจำวัน อย่างนี้ แต่จุติจิตเกิดคั่น แล้วปฏิสนธิจิตก็มีอารมณ์เดียวกับจิตนี้แหละ ขณะนี้แหละอย่างนั้น เพียงแต่ว่าไม่ปรากฏเพราะว่า เป็นอีกโลกหนึ่ง เป็นคนละโลก

    ผู้ฟัง ถ้าเผื่อไม่ใช่นั่งตายตอนนี้ ถ้าดิฉันนั่งตายตอนนี้ก็ แต่ส่วนมากถ้าคนป่วย มันก็เป็น มรณาสันนวิถี ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เดี่ยวก่อน เราอย่าเพิ่งใช้ศัพท์ เราจะเข้าใจคำว่า อารมณ์ว่า ไม่ต่างกับขณะชีวิตประจำวันเลย เพียงแต่ว่าขณะนี้จุติจิตไม่ได้เกิด แต่ถ้าจุติจิตเกิดก็คือหลังจากที่เห็น หลังจากที่ได้ยิน ปกติอย่างนี้ หรือจะคิดนึก คนเจ็บคนป่วย ก็อาจจะคิดถึงญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงนึกเรื่องราวอะไรต่างๆ ก็ได้ นั่นก็คืออารมณ์ใกล้จะจุติ เพราะฉะนั้น เมื่อไม่ใช่อารมณ์ใกล้จะจุติ จึงไม่ใช้คำที่บัญญัติว่า มรณาสันนกาล หรือ มรณาสันนวิถี หรือ กรรมนิมิต หรือคตินิมิต หรือว่ากรรมอารมณ์ ๓ อย่างซึ่งธรรมดาก็เป็นอารมณ์เหมือนกัน เราเคยนึกถึงกรรมที่เรา เคยทำไหม เคย ขณะนั้นคือมีกรรมเป็นอารมณ์ แต่ยังไม่จุติก็เลยเป็นธรรมดา แต่คนที่พอนึกถึงกรรมที่ได้ทำแล้ว หลังจากนั้นจุติจิตเกิด ก็เรียกว่าคนนั้น มีกรรมนิมิตเป็นอารมณ์ เพราะว่าขณะนั้น เขานึกถึงกรรม ก็ใช้คำแสดงให้เห็นว่า ถ้าใช้คำว่า กรรมอารมณ์เมื่อไร กรรมนิมิตอารมณ์เมื่อไร คตินิมิตเป็นอารมณ์เมื่อไร หมายความว่า อารมณ์ของปฏิสนธิ ถ้าไม่ใช่คำนี้คือ ธรรมดาที่เห็น ธรรมดาที่ได้ยิน

    ผู้ฟัง เราได้ศึกษาธรรมมาเป็นเวลานานพอสมควร ก็มีความรู้สึกว่า การศึกษาธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ก็พูดถึงเรื่องทุกข์ หรือถ้าเผื่อเราพูดถึงนิพพาน คือ ทางพ้นทุกข์ แต่ทีนี้ในส่วนตัวของผมเองที่คิดว่า ประสงค์ที่จะไปนิพพานนั้น เป็นแต่เพียงตั้งความปรารถนา มีความรู้สึกว่าอยากจะไป แต่ไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะมีทางเป็นไปได้ในชาตินี้ ชาติหน้า หรือ ๕ ชาติ ๖ ชาติ แต่ที่มันอยากมากๆ แสดงอาการออกนี่ เป็นเพราะธรรมดาของปุถุชนเท่านั้นเอง

    ท่านอาจารย์ แต่ไม่ทราบว่าตั้งเมื่อไร

    ผู้ฟัง ตั้งหลังจากที่ได้ศึกษาพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พอสมควร เมื่อก่อนนี้ไม่มีความรู้สึกในเรื่องนิพพานเลย

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ตั้ง ขณะนั้นคิดอย่างไร วันนั้น ที่ตั้ง คิดอย่างไร

    ผู้ฟัง วันนั้น จำไม่ได้ แต่ว่ามันจะค่อยๆ ซึม ค่อยๆ ซึมเข้ามาในความรู้สึกของเราว่า ทุกข์หนอๆ ๆ ๆ มันทำให้เราอยากจะพ้นทุกข์ ไปที่ไหนก็เห็นแต่ ทุกข์ๆ ๆ ๆ ทุกข์ใจ

    ท่านอาจารย์ แล้วคิดอย่างนี้ คิดเรื่องจะไปนิพพาน คิด เมื่อไร ตอนไหน

    ผู้ฟัง มันค่อยๆ ซึม

    . ไม่ใช่การคิด ไม่ใช่การตั้ง ไม่ใช่การบอก แต่หมายความว่าการกระทำของเรา ซึ่งเรามานั่งฟังพระธรรมที่นี่ รู้ว่าพระธรรมเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด ที่เรามาฟังเพราะเราไม่รู้ เพราะฉะนั้น มีหนทางเดียวที่จะรู้ที่จะเข้าใจได้ คือ ฟังให้เข้าใจ แล้วเมื่อเริ่มเข้าใจก็จะเห็นได้ว่า นิพพานนั้น แสนไกล สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ กำลังเห็นมีสิ่งที่ปรากฏทางตา ยังไม่รู้ ยังมีอวิชชาเป็นลิ่มสลัก ปิดบัง ไม่ให้เห็นความจริงว่าขณะนี้เป็นแต่เพียง สภาพรู้ หรือธาตุรู้ แล้วก็กำลังเห็น สิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งมีจริงๆ แม้ไม่เรียกชื่อ สิ่งนั้นก็มี แต่ทั้ง ๒ อย่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ชั่วขณะ เพราะฉะนั้น ถ้าเราไม่มีความเข้าใจว่า มีอวิชชา อย่างนี้แล้วเราไปนึกถึงนิพพาน โดยที่ว่าเป็นความหวัง หรือความปรารถนา ซึ่งไม่ทราบเกิดขึ้นเมื่อไร อย่างไร อาจจะไม่ได้คิดอย่างนี้ก็ได้

    เพราะฉะนั้น ไม่ใช่หมายความว่าเราคิดที่จะไปนิพพาน หรือว่าปรารถนาที่จะถึงนิพพาน แต่ว่าเมื่อมีความเข้าใจในธรรม แล้วก็เห็นว่าเปนเรื่องที่ไกลมาก เพราะว่าสภาพธรรมที่ปรากฏ เป็นปกติอิย่างนี้ยังไม่รู้ ยัง รู้ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่ว่าเราก็ต้องทุกคนที่นี่ตั้งความหวัง ไม่ใช่อย่างนั้น แต่เป็นเรื่องที่ละการต้องการ โดยการรู้เหตุผลว่า สภาพธรรมมีจริงๆ แล้วการที่จะรู้ลักษณะของพระนิพพาน หรือรู้แจ้งประจักษ์นิพพาน เป็นอริยสัจนั้น ต้องเป็นปัญญาระดับ โลกุตตรปัญญา ไม่ใช่ปัญญาที่เพียงประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เท่านั้น ไม่ใช่ เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีความเข้าใจก็ไม่นึกนิพพาน จะนึกถึงทำไม วันนี้จะนึกถึงนิพพาน หรือวาจะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะรู้ว่านี่จะเป็นทางถึง แต่ไม่ใช่ต้องไปนึกถึง หรือไปตั้งความปรารถนา ว่าจะถึง

    ผู้ฟัง แต่ก็มีคนตั้งความปรารถนาในอดีตมาก่อน

    ท่านอาจารย์ ถึงได้ถาม ว่าตั้งตรงไหน ตั้งเมื่อไร ตั้งวันไหนขณะที่ตั้ง คิดอย่างไร แล้วมีความเข้าใจอย่างไร

    ผู้ฟัง ถ้าไม่พูดถึงเรื่อง ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นเป็นการแสดงผลของความตั้งใจของบุคคลนั้นไหม

    ท่านอาจารย์ หรือแม้แต่ขณะที่กำลังฟัง ด้วยความตั้งใจที่จะเข้าใจพระธรรม นี่เป็นหนทาง เป็นเบื้องต้น ของการที่ปัญญาจะเจริญขึ้น ถ้าไม่มีวันนี้ ไม่มีการฟัง ไม่มีการเข้าใจ ไม่มีความตั้งใจฟัง ก็ไม่สามารถที่จะมีปัญญาเพิ่มขึ้นได้

    อย่างข้อความที่ว่า พระนิพพานเป็นธรรมอย่างยิ่ง แค่นี้ จะเข้าใจว่าอย่างไร ก็ได้ยินบ่อย เป็น ธรรมอย่างยิ่ง ไม่มีอะไรจะเสมอ ไม่มีอะไรจะเทียบเท่า แล้วอย่างไร เกิดอยากจะไป หรือว่าอย่างไร หรืออยากจะเข้าใจ อรรถของพยัญชนะนี้ ให้ถูกต้องว่า ความหมายจริงๆ นั้นคืออะไร เพราะเหตุว่าเราทราบ ปรมัตถธรรม มีจิต เจตสิก รูป นิพพาน จิต เจตสิก รูป เป็นสภาพธรรม ที่อาศัยเหตุปัจจัยเกิด อย่าคิดว่ามีแล้ว แต่ต้องมีปัจจัย จึงทำให้สภาพธรรมนั้นเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น จิต หรือเจตสิก หรือรูป ต้องมีปัจจัยทำให้เกิดขึ้น แล้วดับไม่ได้ยั่งยืนเลย ใครจะรู้ หรือไม่รู้ก็ตามขณะนี้สภาพธรรมย่อยลงไปจนถึงแต่ละกลาปของรูป ซึ่งแล้วแต่สมุฏฐานที่จะทำให้ เกิด เกิดแล้วก็ดับ หรือจิต เจตสิก ก็หมือนกัน มีปัจจัยทำให้เกิดแล้วดับทันที

    ทุกๆ ขณะที่สภาพธรรม ที่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดแล้วดับ เพราะฉะนั้น มีอะไรเหลือในแสนโกฏิกัปป์ปที่ผ่านมา หรือทุกข์ขณะซึ่งเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ ไม่มีอะไรเหลือเลย แต่ว่ามีปัจจัยทำให้สภาพธรรมเกิดอีก เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่ธรรมอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรม ที่ เกิดเพราะเหตุปัจจัย แล้วดับเท่านั้นเอง แต่ว่าลักษณะของนิพพานไม่ใช่อย่างนั้น เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจความหมายนี้ด้วย ก่อนที่จะไปถึงการที่อยากถึงนิพพาน อยากจะดับทุกข์หรืออะไรทั้งหมด แต่ต้องเข้าใจสภาพธรรม และคำสอน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้นั้นมีความเข้าใจอย่างไร ในพยัญชนะที่ได้ยินได้ฟังก่อน

    ผู้ฟัง เหตุใดท่านจึงอ้าง หิริ โอตตัปปะ เป็นฝา

    ท่านอาจารย์ เวลาที่กุศลจิตเกิด จะต้องมีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย หิริ กับ โอตตัปปะ เป็นโสภณเจตสิกซึ่ง ต้องเกิดกับจิตที่ดีงามทุกขณะ โดยที่ไม่มีใครรู้ ขณะนี้ ที่เป็นกุศลจิตมีหิริ กับ โอตตัปปะ ถ้าใครที่ไม่มานั่งฟังที่นี่ แล้วก็ทำอย่างอื่น ที่เป็นอกุศล ขณะนั้นอหิริกะ อโนตตัปปะ คือไม่มีความละอาย ในที่เป็นผู้ไม่รู้ ไม่มีปัญญาแม้แต่จะรู้ว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้อะไร และทรงแสดงธรมอย่างไร แต่ผู้ที่เป็นกุศลจิต ขณะนั้น เป็นสภาพธรรม ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็ต้องมีหิริ โอตตัปปะ โดยที่ว่าเพราะละอาย โดยที่ว่าไม่จะต้องเป็นเราที่รู้สึกละอาย แต่สภาพธรรม ที่เป็นโสภณเจตสิกทั้งหมด จะเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้น ความละอายก็มีตามลำดับขั้น ของคนซึ่งยังไม่ได้ฟังธรรมเลย ไม่เห็นประโยชน์ของการฟัง แต่ว่าผู้ที่เริ่มเห็นประโยชน์ แล้วกุศลจิต เกิดขณะใด ขณะนั้นมีความละอาย หิริ โอตตัปปะ ตามลำดับขั้น เพราะว่ากุศลก็มีทั้งกุศล ที่ประกอบด้วยปัญญา และกุศลที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ขณะใดที่เป็นกุศลขั้นทาน ขั้นศีล ที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา ขณะนั้นก็ไม่ใช่ว่า ไม่มี หิริ โอตตัปปะ โสภณเจตสิก จะต้องเกิดขึ้นทำการงาน ขณะนั้นจิตจึงไม่เป็น อกุศลแต่เป็นกุศล แล้วแต่ว่าจะเป็นไปในขั้นทาน ขั้นศีล ก็เป็น หิริ โอตตัปปะ แต่ละขั้น แต่ในการศึกษาธรรมที่จะอบรมเจริญปัญญา ก็เพราะ หิริ โอตตัปปะด้วย เพราะฉะนั้น หิริ โอตตัปปะ ก็จะเพิ่มกำลังขึ้น ตามลำดับขั้น แม้แต่หิริ โอตตัปปะ ของพระโสดาบัน ก็ไม่เท่ากับ หิริ โอตตัปปะ ของพระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์

    ผู้ฟัง อาสวะ กับ อนุสัย ต่างกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ต่างกัน อาสวะมี ๔ อนุสัย มี ๗

    ผู้ฟัง ดูๆ แล้วมันก็คือ เหมือนๆ กัน

    ท่านอาจารย์ ก็คงจะขอเวลาทบทวนนิดหน่อย เพราะว่าบางท่านอาจจะใหม่ที่จะได้ยิน ชื่อ ของอกุศลกรรมซึ่งจำแนกเป็นประเภทๆ หลายอย่าง เช่นที่เราเคยได้ฟัง มีนิวรณ์ ที่อาจจะได้ยินบ่อย มีกิเลส แล้วก็มีสังโยชน์ บางอย่างอาจจะไม่ได้ยิน เช่น อาสวะ กับ อนุสัย อกุศลมีหลายระดับ ขั้นละเอียด แล้วก็ขั้นกลาง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567