ปกิณณกธรรม ตอนที่ 586
ตอนที่ ๕๘๖
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๔
ท่านอาจารย์ แต่สติปัฏฐาน คือการระลึก เพราะรู้ว่าขณะนั้นเป็นธรรม เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าความรู้นั้นสมบูรณ์ขึ้น ลักษณะของสภาพธรรมก็จะปรากฏ ตามความเป็นจริงในความเป็นธรรม หรือเป็นธาตุซึ่งไม่ใช่เรา ไม่ใช่สิ่งหนึ่ง สิ่งใด
ผู้ฟัง เรานั่งคิดนั่งอะไรไปแล้วเราไม่สะดวกสบายแล้วก็เวลาเราไปเดิน เราอาจจะเดินตามปกติ ไม่ได้เดินผิดปกติ อย่างที่อาจารย์ว่า มันจะพอทำให้เรา ช่วยให้เรามีสติ ขึ้นได้บ้างไหม หรือถือว่าบังคับตัวเองอีก
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นก็เต็มไปด้วยความหวัง ทำทุกอย่างด้วยความหวัง ไม่เห็นโลภะเลย แล้วจะละโลภะ ตอนไหนตรงไหน โลภะเป็นสมุทัย
ผู้ฟัง เราเปลี่ยนอิริยาบถไปเดิน อย่างนี้
ท่านอาจารย์ ทำไมก่อนเปลี่ยน สติจะเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม ได้ไหม หรือว่าอย่างนี้ไม่ได้ ต้องอย่างโน้น
ผู้ฟัง ถือว่าเป็นอุบายอย่างหนึ่ง ไม่ได้หรือ
ท่านอาจารย์ นั่นแหละ อุบายผิด
ผู้ฟัง ทำไมถึงยังมีปรากฏในพระไตรปิฎกอยู่ ให้ไปเดินจงกรม ถ้าอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าต้อง เข้าใจความเป็นปกติ ที่พยัญชนะนี้ในมหาสติปัฏฐาน ไม่ได้เลย เป็นผู้มีปกติ เจริญสติ หรือระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม เพราะอะไร เพราะขณะนั้นไม่มีโลภะมาชักนำให้ทำอย่างอื่นเลย ขณะนี้ถ้าสติจะเกิดระลึก ก็เพราะว่ามีเหตุปัจจัยที่จะเกิด
ผู้ฟัง ถ้ามันจะเกื้อกูล ให้ก็ไม่ได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เราไปพยายามทุกอย่าง ด้วยความหวังว่าให้มี ให้เกิดให้มาก มีความต้องการเป็นพื้นซึ่งมองไม่เห็น สมุทัยเลย เมื่อมองไม่เห็นไม่มีทางละ แล้วการละต้องละตั้งแต่ต้น ตั้งแต่ต้นนี่คือหยาบแล้ว คือต้องมีสัจจญาณ มั่นคงจริงๆ ในอริยสัจ ๔ ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่าอริยสัจ ทุกขอริยสัจ นั้นคืออะไร ขณะนี้ทุกขณะเป็นทุกขอริยสัจ เพราะเหตุว่าเป็นสภาพธรรม ที่เกิดแล้วดับ ที่จะต้องอบรมจนกว่าปัญญาจะรู้ความจริง ไม่ใช่ให้ไปทำอย่างอื่น อย่างทางตา ทุกคนก็บอกว่ารู้ยาก รู้ยากแล้วอย่างไร แล้วจะไปทำอย่างอื่น หรืออย่างไร ถึงทำอย่างไรก็ยังมีเห็นอยู่นั่นแหละแล้วก็รู้อยากอยู่นั่นแหละ จนกว่าเมื่อไรที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่าขณะนี้สิ่งที่ปรากฏทั้งหมด ไม่ใช่ ไม่ให้เห็นว่าเป็นคน แม้เห็น เพราะคิดนึก หลังจากเห็นว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ตามแต่ แต่ก็จะต้องคล้อยตามความเป็นจริงโดยการระลึกได้ว่าขณะนี้ ทุกอย่างที่เคยเป็นโน่นบ้างนี่บ้าง ทั้งหมดเป็นโลก เป็นประเภทนั้น เป็นประเภทนี้ เป็นวัตถุสิ่งต่างๆ ก็คือ สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เป็นธาตุอย่างหนึ่ง นี้คือการที่จะเข้าถึงความไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ของสภาพธรรม ที่มีจริง ซึ่งมีปัจจัยเกิดแล้วดับ
เพราะฉะนั้น กว่าจะละความเป็นตัวตน เราฟังว่าสภาพธรรม เกิดดับ ฟัง ไม่เดือดร้อนกับคำว่าเกิดดับเลย เกิดก็เกิดไป ดับก็ดับไป แล้วก็เกิดอีก แล้วก็ดับอีก แล้วก็เกิดอีก แล้วก็ดับอีก ก็เป็นปกติธรรมดา เพราะไม่ประจักษ์ แต่ถ้าประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม ที่เกิดแล้วดับด้วยปัญญาที่ประจักษ์แจ้งจริงๆ ความรู้จะไม่ใช่ความรู้ระดับที่ฟัง ว่าขณะนี้สภาพธรรมเกิดแล้วดับ การที่สามารถจะขุดไถ่ถอนอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องในจิต แสนโกฏิกัปป์มาแล้ว จนถึงขณะนี้ แล้วก็ผ่านไปที่ละขณะสั้นๆ เร็วมากอีกนับไม่ถ้วน เกินแสนโกฏิกัปป์อีก ถ้าปัญญาไม่สามารถจะรู้ความจริงของสภาพธรรมได้
เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้สภาพความจริง ว่าเป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ที่จะต้องรู้ตรง ตามความเป็นจริงของสภาพธรรม เป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นถูกที่ต้องถึงขั้นประจักษ์แจ้ง จึงสามารถที่จะดับความเป็นเราได้ ไม่ใช่ไปด้วยความพยายาม หรือด้วยความไม่รู้ ขณะที่กำลังเห็นนี้ ไม่รู้ๆ อย่างนี้ จะประจักษ์การเกิดดับของอะไร ก็เป็นไปไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่เห็นทั้งวัน ก็ไม่รู้ทั้งวัน แล้วจะไปประจักษ์การเกิดดับ ยากก็คือยาก แต่ว่าเมื่อเป็นสิ่งที่มีจริง และรูปธรรมไม่ใช่นามธรรม ปัญญาสามารถจะค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้ เพราะเหตุว่า จริงๆ แล้วสภาพธรรมที่เกิดดับเร็ว เร็วมาก เพราะฉะนั้น ถ้าเราเพียงแต่จะไปพยายามไม่รู้สิ่งที่เกิดดับขณะนี้ แล้วไปรู้อย่างอื่น พยายามที่จะไปรู้อย่างอื่น ขณะนั้นก็ย่อมไม่สามารถที่จะไปประจักษ์การเกิดดับของอะไรเลยทั้งสิ้น เพราะรู้อย่างเดียว ด้วยความจดจ้อง ทั้งๆ ที่แม้อย่างเดียวก็เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ก็เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา เท่านั้นอย่างเดียว ไม่ใช่อย่างอื่นเลย ที่จะละคลายความไม่รู้ การยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
ผู้ฟัง ผมจะลองทดสอบอย่างนี้ได้ไหม จิตนี้มันไม่ใช่ของเรา มันเกิดดับๆ ๆ
ท่านอาจารย์ เจตสิกก็ไม่ใช่เราด้วย
ผู้ฟัง ไม่ใช่ของเรา
ท่านอาจารย์ แล้วก็ไม่ใช่ของเราด้วย
ผู้ฟัง ก็คิดไปอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ที่คิด ก็ไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง นี่ตรงนี้ มีปัญหา
ท่านอาจารย์ แน่นอนทุกอย่างหมด ตั้งแต่เกิดจนตาย การที่เราเรียนเรื่องจิตประเภทต่างๆ เรียนเรื่องวิถีจิต อย่างจากปฏิสนธิ เป็นภวังค์ ยังไม่เป็นวิถีจิต แล้วหลังจากนั้นก็เป็นวิถีจิต จิตอะไรเกิดเป็นวิถีแรก ทางไหน แล้วขณะนั้น มีชวนะวิถีเกิด มีอะไรเกิด แล้วก็เป็นภวังค์อีก ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาที่ใครจะไปเปลี่ยนแปลงความจริงของสภาพธรรมได้เลย มีอย่างเดียว คืออบรมเจริญปัญญา จนค่อยๆ เข้าใจความจริง ว่าเป็นธรรมทั้งหมด ค่อยๆ เป็นธรรมทีละเล็กละน้อยจนกว่า จะทั้งหมดเป็นธรรม เมื่อสติเกิดก็รู้ในความเป็นธรรม เพราะว่าสติเกิดบ่อยๆ พิจารณามาก
ท่านพระสารีบุตร อบรมเจริญบารมี ๑ อสงไขยแสนกัป ท่านเป็นพระโสดาบัน ในสมัยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ ซึ่งใน ๑ อสงไขยแสนกัปท่านก็เกิดพบพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในชาดกต่างๆ เป็นญาติ เป็นพี่เป็นน้องเป็นครูบาอาจารย์หลายอย่าง ได้พบพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ ด้วย แต่ ๑ อสงไขยแสนกัป แล้วท่านก็เป็นพระโสดาบัน ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นี้
เพราะฉะนั้น ธรรมเป็นเรื่องจริง ซึ่งต้องผู้มีปัญญาจะได้สาระ เพราะว่าเป็นเรื่องของธรรม ที่ต้องเป็นจิรกาลภาวนา ต้องเป็นความอดทน จะมีความเข้าใจในพุทธพจน์ที่ว่า ขันติ เป็นตบะอย่างยิ่ง ความอดทนอะไรก็ไม่เท่ากับความอดทนที่จะค่อยๆ รู้ลักษณะของสภาพธรรมนานๆ ครั้งหนึ่ง ด้วยสติค่อยๆ เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะเป็นความสมบูรณ์ ซึ่งขณะนั้นๆ คือการละ โลภะทั้งนั้น ละความไม่รู้ทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น คำพูดใดที่จะเป็น วิริยารัมภกถา ไม่ใช่ว่าให้เพียรมากๆ อย่านอน ให้ทำน้อยๆ ให้ทำอย่างนั้น ให้เดินอย่างนี้ นั่นไม่ใช่วิริยารัมภกถา ทำอะไรเพื่ออะไรไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่วิริยะเกินกว่านั้นก็คือว่า ฟังธรรมให้เข้าใจขึ้น เพราะว่าขณะที่เข้าใจก็เป็นปัญญาเจตสิก ที่ไม่ใช่ตัวตน หลังจากที่ปัญญาเจตสิกดับ อวิชชาก็มีปัจจัยที่จะให้ อกุศลจิตเกิดเป็นความสงสัยอีก เป็นความไม่รู้อีก เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นจิรกาลภาวนา จริงๆ ต้องเหมือนกับการขัดเกลา สิ่งซึ่งดำมืดสกปรกจนกว่าจะใสสะอาด นานแสนนาน แต่เราก็เกิดมาแล้ว นานแสนนาน แล้วเราก็ได้ฟังพระธรรมแล้วอาจจะนานแสนนาน ก็เพิ่มไปทีละเล็กทีละน้อย ทุกชาติ แต่ว่าชาติไหนได้มากก็สามารถที่จะรู้เข้าใจสภาพธรรม แล้วก็ไม่สงสัยในลักษณะของสติปัฏฐาน สามารถที่จะประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมเมื่อถึงกาลที่สมควร ซึ่งเป็นเรื่องของการละความต้องการ ไม่ใช่เป็นเรื่องพยายามจะไปทำให้ถึง แต่เป็นเรื่องที่จะทดสอบตัวเองได้ว่า รู้ไหม ขณะนี้ที่กำลังเห็น และการคลายความเป็นตัวตนในขณะที่ กำลังเห็นด้วยปัญญาระดับไหน
ผู้ฟัง บางทีผมฟังแล้ว ฟังแล้วเขาบอกว่าฟังคิดถามจดจำ อะไรอย่างนี้ ฟังแล้วผมก็ยังไม่เห็น ก็เลยมาคิดต่อ พอคิดต่อก็ผิดอีก ก็เลยไม่รู้จะทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าเห็น เห็นอย่างไร อะไรเห็น เป็นคุณเด่นพงษ์เห็นแน่นอน
ผู้ฟัง กว่าจะรู้ว่าเห็นอะไร ตามธรรม
ท่านอาจารย์ นั้นไม่ใช่ปัญญา
ผู้ฟัง ผมก็เข้าใจ กว่าจะรู้ว่า มันเป็นเห็นสี เห็นวัณณะเฉยๆ มันช้าไปแล้ว มันสายไปแล้ว
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นไรเลย เขาเกิดดับเป็นปกติธรรมดา แล้วแต่สติจะเกิด จะระลึกอะไรก็ได้ ระลึกที่กำลังรู้ว่าเป็นคุณเด่นพงษ์ก็ได้ เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ที่คิด เร็วมาก
ผู้ฟัง บางทีนึกว่า เราชักจะใช้คำว่า บ้า ไม่ดี มันคิดเสียจนไม่ไป
ท่านอาจารย์ อย่าคิดที่จะเห็น ถ้าคิดก็คือไตร่ตรองธรรม ที่ได้ยินได้ฟังแล้วค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่อย่าไปคิด ที่จะเห็นเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น เห็นเป็นอย่างเดียว
ผู้ฟัง ดิฉันฟังที่ท่านอาจารย์บรรยายเกี่ยวกับ เรื่องการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ดิฉันก็พอกล่าวได้ว่า ท่านอาจารย์กล่าวว่า ๑ ไม่จงใจรู้ลักษณะของนามหรือรูป ๒ ไม่เลือกอารมณ์ ๓ ไม่จำกัดสถานที่ ๔ ไม่หวั่นไหวในอารมณ์ที่กำลังปรากฏ ๕ ไม่จดจ้อง ๖ ไม่เลือกทวาร ๗ ไม่ฝืน ๘ ไม่บังคับ ๙ ไม่หลีกเร้น ทั้งหมดมันเหมือนกับเป็นอย่างนั้นหมดเลย แต่สำหรับข้อที่ ๑ ไม่จงใจรู้ลักษณะของนามหรือรูป คำว่า ไม่จงใจ หมายความว่า เมื่อสติเกิดขึ้น เขาระลึกเอง ก็ต้องรอว่าเมื่อไรสติจะเกิดหรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ใครรอ ขณะนั้น วิถีจิตก็เกิดแล้วแต่ว่าทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย จะนึกคิดอะไร ก็เป็นเรื่องของ วาระจิต ใครจะไปทำอะไรได้ ไม่มีการรอ
ผู้ฟัง ฟังแล้วมันยากเย็นเหลือเกิน
ท่านอาจารย์ แน่นอน ก็คนในสมัยพระทีปังกร ได้ฟังพยากรณ์ว่า สุเมธดาบสจะได้เป็นพระผู้มีพระภาค พระสมณโคดม ในอีก ๔ อสงไขยแสนกัป เขาร่าเริงยินดี เพราะว่าถ้าเขาไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจธรรมในสมัยพระเจ้าทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า เขาก็มีโอกาสที่จะได้รู้แจ้งในสมัยของพระสมณโคดมได้ ถ้าเขาอบรมเจริญปัญญา ข้อสำคัญอยู่ที่อบรม หรือไม่อบรม เวลานี้เรามีโอกาสได้ยินได้ฟังพระธรรม แล้วเราก็หลบไปหลบมา คือจะไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จะอย่างอื่น ถ้าจะอย่างอื่น ชาตินี้ขณะนี้ ชาติหน้าก็จะอย่างอื่นต่อไปอีก ก็จะอย่างอื่นไปเรื่อยๆ ไม่มีทางที่จะค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น ก็เป็นผู้ที่เข้าใจจริงๆ ว่าปัญญารู้อะไร ถ้าสิ่งนั้นยังไม่ปรากฏปัญญาจะรู้ได้ไหม ถ้าสิ่งนั้นหมดไปแล้ว ปัญญา จะรู้ได้ไหม แต่ขณะนี้สิ่งที่กำลังปรากฏ ปัญญารู้ได้ไหม ถ้าปัญญาจะรู้ก็คือรู้สิ่งนี้เอง ที่กำลังปรากฏ ถ้าไม่รู้ก็คือตรงตามความเป็นจริงว่าสติปัฏฐาน ยังไม่เกิดเพียงขั้นเข้าใจก็แสดง ว่าปัญญายังไม่พอ ยังต้องฟังต่อไปอีก อบรมต่อไปอีก แล้วละความหวัง ถ้าจะมีความคิดหวังขณะนั้น ก็ยังต้องรู้ว่าเป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่ง คือทั้งหมดในชีวิต ไม่ว่าใครจะเป็นอย่างไรก็ตาม ก็เป็นสภาพธรรมจริงๆ เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป นั่นเอง ไม่ใช่เป็นอย่างอื่น
ผู้ฟัง ฟังอาจารย์ หลายๆ ท่าน บางที เราก็สับสนเหมือนกันว่า แต่ละอาจารย์ก็มีแนวทางของเขา ที่จะเกื้อกูลเรา อย่างนี้การตั้งตนไว้ชอบ อย่างไร
ท่านอาจารย์ ไตร่ตรองธรรมที่ได้ยินได้ฟัง แล้วฟังความคิดเห็นในเหตุผลของแต่ละท่าน แล้วก็ตรวจสอบในพระธรรมวินัย กับความเป็นจริง พิจารณาแล้วพิจารณาอีกหลายๆ ด้านให้สอดคล้องกัน ถ้าสอดคล้องกันได้ทั้งหมด นั่นคือความถูกต้อง แต่ถ้ายังไม่สอดคล้องกัน ก็คือยังไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของปัญญาที่จะเข้าใจในเหตุในผลในสภาพธรรม ไม่ใช่เรา แต่เป็นปัญญาเจตสิก หรือว่าเป็นเจตสิกอื่นๆ ซึ่งเกื้อกูล
ผู้ฟัง ขอให้อาจารย์สรุปว่า ที่ผมถามสักคำถาม ๑ มันผิดปกติมากไหม
ท่านอาจารย์ เป็นด้วยโลภะ เป็นด้วยความต้องการ ที่จะได้รับผลอย่างรวดเร็ว เช่นพอได้ยินว่า ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา เกิดดับก็อยากจะประจักษ์ จากการเกิดดับทันที ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ต้องเข้าใจถึงเรื่อง การอบรม หรือภาวนา ไม่อย่างนั้นจะไม่มีคำว่า ภาวนา ในพระพุทธศาสนา ทีนี่ที่ถามว่าใครเบื่อบ้าง มีใครเบื่อบ้าง
ผู้ฟัง เบื่อ
ท่านอาจารย์ เบื่อ ก็เรากำลังจะพูดถึงนิพพิทา ก็ถามว่าขณะนี้เดี๋ยวนี้ มีใครเบื่อบ้าง
ผู้ฟัง ตอนนี้กำลังอยากรู้อยากเห็นอยู่ ไม่เบื่อ
ท่านอาจารย์ ยังไม่เบื่อ หรือ มีคนเบื่อไหม ไม่เบื่อเดี๋ยวนี้ เบื่อวันนี้ มีอะไรเบื่อๆ เมื่อวันก่อนมีอะไรเบื่อๆ เบื่อโลก เบื่อชีวิต เบื่ออะไรต่ออะไร มีไหม ทำไมถึงเป็นอย่างนี้ทุกวันๆ เกิดมาแล้วก็ต้องเห็นต้องได้ยิน ต้องได้กลิ่น ต้องลิ้มรส ต้องคิดต้องนึกต้องลำบาก ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทุกวันๆ อย่างนี้
ผู้ฟัง เป็นเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นปัญญาหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ ก็ทราบได้ว่า นิพพิทา เป็นเรื่องของการรู้ลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ถึงจะหน่าย ใช้คำว่าหน่าย ไม่ใช่เบื่อ เพราะเหตุว่าเบื่อ เป็นลักษณะของโทสะ เวลาที่รู้สึกไม่สบายใจ ด้วยประการใดๆ ก็ตาม จะกลัว จะตกใจ จะน้อยใจ จะเสียใจ จะอะไรก็แล้วแต่ หรือแม้แต่ขุ่นใจ หรือเบื่อนิดๆ ก็แล้วแต่ ขณะนั้นก็เป็นลักษณะของอกุศลจิต แต่ถ้าเป็นนิพพิทา ต้องเป็นปัญญาระดับที่ ประจักษ์ความเกิดดับของสภาพธรรมแล้ว
เพราะฉะนั้น กว่าปัญญาจะเจริญขึ้นเป็นขั้นๆ จนสามารถที่จะดับกิเลสหมด เป็นสุมุจเฉทไม่เกิดอีกเลย กิเลสใดที่ดับแล้ว กิเลสนั้นจะไม่เกิดอีกเลย ก็แสดงให้เห็นว่าต้องใช้เวลามาก นาน เพราะว่าเราสะสมกิเลสมาแล้วนานเท่าไร เพราะฉะนั้น การที่จะสามารถอบรมเจริญปัญญา ทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะประจักษ์ ลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งถ้าเพียงแต่อยู่ในระยะที่อบรม ยังไม่ประจักษ์ ก็จะไถ่ถอนความติดข้อง ในนามธรรม รูปธรรมไม่ได้ ในความเป็นตัวตนไม่ได้ ก็มีการสะสม ๒ อย่าง คือสะสมความต้องการไว้มาก แล้วก็สะสมความสนใจ หรือศรัทธาที่จะฟังไว้น้อยกว่า ถ้ามากก็คงจะไม่เกิดความต้องการมากมายอย่างนี้ เพราะว่าเมื่อยิ่งฟัง ยิ่งเข้าใจ ก็ยิ่งเห็นโลภะ ว่าโลภะไม่ได้ทำประโยชน์อะไรเลย ต่อให้ต้องการว่าเมื่อไรสติจะเกิด คร่ำครวญ พรรณาสักเท่าไร สติก็ไม่เกิด แต่ว่าต้องเป็นเรื่องของการที่ละความต้องการ สำคัญที่สุดคือละความต้องการ ต่อไปจะยิ่งเห็นชัดว่า เป็นหนทางละตลอด เพราะว่าความจริงสภาพธรรมเป็นอย่างนี้ แต่อวิชชา และโลภะปิดบังไว้ ไม่ทำให้เห็นตามความเป็นจริง ยิ่งต้องการ ก็คือยิ่งไม่เห็น แต่เมื่อมีปัญญาเพิ่มขึ้น ความต้องการก็น้อยลงลดทอนลงไปเรื่อยๆ แล้วสภาพธรรม ก็สามารถจะปรากฏตามความเป็นจริงของสภาพธรรม นั้นได้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ว่าที่ยิ่งต้องการก็คือยิ่งกั้น ที่คุณเด่นพงษ์เบื่อเพราะไม่สมหวัง หวังสติ สติก็ไม่เกิด หวังสติมากๆ สติมากๆ ก็ไม่เกิด หวังประจักษ์การเกิดดับ ของนามธรรม และรูปธรรม ก็ไม่ประจักษ์ เพราะฉะนั้น ทั้งหมดมาจากโลภะ หรือความติดข้องหรือความหวัง ซึ่งกั้นอยู่ตลอด
ผู้ฟัง ท่านสอนให้มีฉัทะในการทำงาน การทำงานในทางโลกน่าจะเป็นอกุศลมากกว่ากุศล ฉะนั้นการมีฉันทะในลักษณะนี้ น่าจะไม่ถูกต้อง ใช่หรือไม่
ท่านอาจารย์ พระธรรมที่ทรงแสดงไว้มีหลายระดับ ขั้นทาน ขั้นศีล กิจการงานต่างๆ ที่เป็นไปในทางสุจริต ที่จะประกอบการอาชีพ ที่จะมีชีวิตอยู่ดำรงต่อไปได้
ผู้ฟัง ท่านแสดงว่า ศิลป ก็คือการงาน เป็นมงคล แต่ส่วนใหญ่ที่เราทำงานจิตก็จะเป็นอกุศล เป็นส่วนใหญ่ จะเป็นมงคลได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วเรื่องของมงคลก็ต้องเป็นเรื่องของ กุศลทั้งหมด ถูกไหม แม้แต่ความสันโดษๆ ในอะไรก็ตามแต่ ฟังดูเหมือนกับว่าเป็นอกุศลอ่อนๆ คือยังมีความพอใจแต่ว่า ไม่ได้ไปกระทำทุจริตต่างๆ แต่ความจริงขณะนั้น สันโดษเป็นกุศล คือสามารถ ที่จะละเว้นทุจริตได้ เพราะว่ามีความพอใจในสิ่งที่ตนมี
ผู้ฟัง คงจะต้องแยกเป็นคนละขณะ ว่าขณะที่มีความพอใจกับทรัพย์สินที่เล็กน้อยในขณะนั้น หรือว่าทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะนั้นๆ เป็นอกุศล แต่ว่าถ้ามีความพอใจแล้ว ก็ไม่เป็นปัจจัยที่ทำให้ทุจริต ที่จะยินดี สิ่งที่จะได้มาด้วยทุจริต ถึงจะเป็นสันโดษ
ท่านอาจารย์ ขณะที่เป็นกุศล
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น สำหรับการทำกิจการงานหรือว่า ศิลปต่างๆ เหล่านั้น ก็เป็นการกระทำกิจการงานด้วยอกุศลจิต ขณะนั้นก็ไม่ใช่มงคล
ท่านอาจารย์ ก็ต้องตรง หมายความว่า อกุศลก็คืออกุศล แต่ว่าถ้าสามารถที่จะมี ศิบ-ปะ หรือศิลป ความสามารถในการทำงาน แล้วเป็นประโยชน์ด้วย ขณะที่เป็นประโยชน์ ขณะนั้นก็เป็นกุศลได้
ผู้ฟัง เลี้ยงพ่อแม่ ทำบุญ
ท่านอาจารย์ หรือสั่งสอนคนอื่นให้วิชาความรู้ ด้วยเมตตาจิต ขณะนั้นก็เป็นกุศลได้
ผู้ฟัง แล้วเมื่อกี้สรุปหรือยังว่า เป็นทุจริตหรือเปล่า แต่ก็เรื่องค้ากำไรเกินควรก็อุบาสก ไม่พึงกระทำ
ท่านอาจารย์ คุณพรชัย คือถ้าไม่ถาม แล้วใจของเราเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง ไม่ถาม
ท่านอาจารย์ ไม่มาถามเรื่องนี้ว่า เป็นหรือไม่เป็น หรือว่ามากหรือน้อย หรือยังไร แต่ใจของเราที่คิดอย่างนั้นทำอย่างนั้น ขณะนั้น ใจของเราเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง หมายถึงก็รู้สึกว่าเป็นสิ่งไม่ควรกระทำ ค้ากำไรเกินควร
ท่านอาจารย์ ทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อนมาก เพราะฉะนั้น ก็ถึงไม่ถามเราก็รู้ เพียงแต่ว่ากลัวว่าเป็นกรรมบถหรือเปล่า เท่านั้นใช่ไหม โดยมากจะอย่างนี้ คือ มักจะคิดว่าครบองค์ไหม ก็ชักจะกลัวกรรมนั้นแย่แล้ว สามารถที่จะให้ผลทำปฏิสนธิ กลัวผล หรือกลัวอะไร แต่ทำไมถึงไม่คิดว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ถูก ต้องควรหรือไม่ควร มากหรือน้อย ก็อยู่ที่ใจ อยู่ที่กำลังของกิเลส ถ้าสมมติว่ามีคนมาเสนอให้ นี้ก็อีกเรื่องหนึ่ง คือจะให้ตอบ ตรงไปทีเดียวก็ไม่ได้ ก็แล้วแต่ คนที่เขาอาจจะต้องการเงิน จำนวนมาก แล้วเขาก็เสนอให้ในราคาอย่างนี้ แล้วถ้าเขาไม่ได้รับจากบุคคลผู้นี้ เขาก็ไปรับจากบุคคลอื่นซึ่งมีราคามากกว่า เพราะฉะนั้น ก็ขึ้นอยู่กับจิตใจของเราว่า เราจะมีความเมตตากรุณา ระดับไหน เราอาจจะบอกว่าถึงคุณเสนอให้อย่างนี้ เราไม่รับจำนวนแค่นี้ก็ได้ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เป็นมาตรฐานว่า ถ้าไม่ใช่ อทินนาทาน ก็เอาเสียหรืออะไรอย่างนั้น ก็ต้องแล้วแต่
ผู้ฟัง ในส่วนที่ว่าดั่งนี้ หมายความถึงสภาพว่า ดั่งนี้ ก็คือคำว่า สภาพรูป รูปเป็นอย่างนี้ ดั่งนี้ของท่าน คงจะหมายความถึงเรื่อง เรื่องราวของสภาพรูป ถูกไหม
ท่านอาจารย์ สภาวะของรูป
ผู้ฟัง สภาวะของรูป
ท่านอาจารย์ สิ่งที่กำลังปรากฏยืนยัน ขณะนี้ที่ทุกคนเห็น รูปเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปหาที่ไหนเลย ไปหารูปที่ไหน รูปกำลังปรากฏแล้วทางตา ที่กำลังเห็นอยู่สิ่งที่ ถูกเห็น สิ่งที่จิตเห็นนั้นคือรูป เพราะฉะนั้น เวลาพูดถึงว่า รูปคืออย่างนี้ ก็คือที่กำลังปรากฏทางตา นี่คือรูปเป็นอย่างนี้ เกือบจะไม่ต้องอธิบายอะไรเลย เพราะว่าทุกคนเห็น แล้วก็มีรูปปรากฏ ในขณะที่เห็น เพราะฉะนั้น เพียงแต่กล่าวคำว่ารูป คืออย่างนี้ แจ่มแจ้งไหม หรือว่าไม่รู้เรื่อง รูปคืออย่างนี้ คือที่กำลังปรากฏทางตา คือรูปคืออย่างนี้ ไม่ใช่คืออย่างอื่น ขณะที่กำลังได้ยินเสียง รูปคืออย่างนี้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 541
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 542
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 543
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 544
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 545
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 546
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 547
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 548
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 549
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 550
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 551
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 552
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 553
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 554
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 555
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 556
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 557
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 558
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 559
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 560
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 561
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 562
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 563
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 564
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 565
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 566
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 567
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 568
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 569
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 570
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 571
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 572
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 573
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 574
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 575
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 576
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 577
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 578
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 579
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 580
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 581
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 582
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 583
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 584
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 585
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 586
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 587
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 588
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 589
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 590
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 591
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 592
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 593
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 594
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 595
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 596
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 597
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 598
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 599
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 600