ปกิณณกธรรม ตอนที่ 589
ตอนที่ ๕๘๙
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๔
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เรื่องของอเหตุกะ ก็เป็นการที่แสดงให้เห็นว่าเราสามารถเข้าใจ เรื่องกรรม และผลของกรรมในชีวิตประจำวันได้ แล้วสิ่งที่เราแสวงหา เราแสวงหาอะไร รูปดีๆ สำหรับจักขุวิญญาณที่จะเห็น เสียงดีๆ สำหรับโสตวิญญาณที่จะได้ยิน กลิ่นดีๆ สำหรับฆานวิญญาณที่จะรู้กลิ่นนั้น รสดีๆ แม้เมื่อสักครู่นี้ ก็เพื่อชิวหาวิญญาณจะลิ้มรสนั้น การกระทบสัมผัสก็เหมือนกัน ร้อนไป หนาวไป แล้วก็จะมีการที่จะทำให้การกระทบสัมผัสที่ไม่เป็นทุกข์ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเราติดข้อง ในสิ่งที่เป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการว่า ถ้าเราต้องการ แล้วเราจะได้ เพราะฉะนั้น ทำอกุศลกรรมเพื่อที่จะให้ได้สิ่งนั้นนั่นไม่ตรง เพราะว่าสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งหมด ต้องมาจากกุศลกรรมเท่านั้น จะมาจากอกุศลกรรมไม่ได้
ผู้ฟัง ผมอยากจะเรียนถามประเด็นตรงนี้ว่า เราจะปล่อยวางให้มันเป็นอย่างนั้นไป เราก็ไม่ได้สอนลูกสอนหลานให้เราเป็นคนขยัน
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ไม่มีกฏเกณฑ์ ไม่มีการที่จะปล่อยวาง ปัญญา จะทำหน้าที่ของปัญญา อย่างถูกต้อง แต่ถ้าปัญญาไม่เกิด จะให้สภาพธรรมอื่นมาทำหน้าที่ของปัญญา ให้มาวินิจฉัยโดยความเที่ยงตรงก็ไม่ได้ ทั้งหมดนั้นคุณเด่นพงษ์ คงทราบว่า เพราะความยังมีตัวตนอยู่ ไม่พ้น เรื่องที่จะสำคัญในตัวเรา มีทุกข์ต่างๆ แม้แต่เรื่องไปซื้อของก็เป็นทุกข์ เรื่องอื่นก็เป็นทุกข์ จะอยู่ตรงนี้ก็อาจจะเป็นทุกข์ ก็ได้ ถ้ายังมีเรา เหมือนอย่างตอนที่ไปบริจาคก็เป็นทุกข์ได้ ใช่ไหม
ถ.คงจะอย่างนี้ ที่ว่าโลกมันถูกหุ้มห่อ คือมันออกไม่ได้ มันยังไม่หมด แต่ผมก็ยัง มีความรู้สึก ที่อธิบาย ธรรม ๗ ประการ อะไรไว้ต่างๆ ผมคิดว่าเราก็ควรจะหาวิธี ชี้แจง บอก เขาด้วย ไม่ใช่ว่าปล่อยวาง คือควรจะชี้แจง อธิบายให้เขา ว่ามันควรจะประหยัดมากกว่า แทนที่จะปล่อยวางไป ปล่อยวางไปอย่างไร ใจมันก็ไม่สงบ
ท่านอาจารย์ พูดได้หมดเลย อะไรๆ ก็ดีทั้งนั้น ทั้งสติ ทั้งหิริ ทั้งศรัทธา ทั้งอะไรก็แล้วแต่ แล้วจะไปเอามาจากไหน ไม่ใช่ว่าทุกคนมีอยู่แล้ว พร้อมที่จะเอามาใช้ได้ทันที ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ว่าธรรมเป็นเรื่องที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจ แล้วปัญญาก็จะทำหน้าที่ของเขา พร้อมกับโสภณธรรมอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่ถึงเวลาเอามาอ่าน ๗ ข้อ วันนี้ทำเลย ไม่มี จะเอามาได้ จะไปเอามาจากไหนก็ไม่ได้
ผู้ฟัง มีแต่คนพูดว่า ต้องใช้สติ ต้องใช้ปัญญา อะไรอย่างนี้ ทั้งๆ ที่สติก็ไม่รู้ว่าอะไร ปัญญาก็ไม่รู้อะไร แต่จะใช้อยู่เรื่อยเลย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เรียนเพื่อให้รู้ ให้เข้าใจให้ถูกต้อง ว่าไม่มีใครสามารถที่จะใช้อะไรได้เลย นอกจากอบรมให้เกิดให้เพิ่มขึ้น ให้เจริญขึ้น
คุณนีน่า พวงมาลัยบนโต๊ะสวยไหม
ผู้ฟัง ถ้าดูจริงๆ
ท่านอาจารย์ ถ้าดูจริงๆ เป็นอย่างไร ถ้าดูจริงๆ คิดมากเป็นอย่างไร เวลาไม่ได้ดูจริงๆ แล้วก็คิดมาก บอกพวงมาลัยนี้สวย ใช่ไหม เฉยๆ ไม่เอาพวงมาลัย เอาดอกไม้บนโต๊ะ สวยไหม เฉยๆ วันนี้จะไม่มีอะไรสวยเลย แต่ว่าเป็นปัญญาหรือเปล่า หรือเป็นเพียงคำตอบเท่านั้นว่าเฉยๆ หลายคนพอได้ยินโทษ ก็คิดว่า ไม่ต้องชอบอะไรอีกแล้ว พยายามระมัดระวังจิตใจ เต็มที่ โน่นก็ไม่สวย นี้ก็ไม่ดี นั่นก็ไม่อร่อย พูดได้ แต่ว่าจริงหรือเปล่า แล้วก็ ด้วยอะไร ด้วยความจำ ด้วยความคิด หรือว่าด้วยปัญญาที่รู้จริงๆ
เพราะฉะนั้น ปัญญามีหลายระดับ แล้วก็สภาพธรรม ก็ตรงตามความเป็นจริง คือไม่มีการหลอกตัวเอง ถ้าใครก็ตาม ที่ต้องการผลของธรรมโดยการหลอก ไม่มีโอกาสที่จะได้สาระจากพระธรรม เพราะเหตุว่าคดตั้งแต่ต้น คือด้วยความเป็นเราที่ต้องการ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ตรงจริงๆ แม้แต่ขณะที่ฟัง แล้วพิจารณา มีความเข้าใจอย่างไร มากน้อยแค่ไหน ไม่ใช่เป็นแต่เพียงตัวหนังสืออย่างเดียว แล้วก็ลอกตามๆ กันไป ถ้าคนนี้พูดว่าอย่างนั้น คนนั้นก็พูดว่าอย่างนี้ ถ้าเฉยก็เฉยกันให้หมด ทุกคนเฉยหมด ไม่ใช่ แต่ต้องเป็นการที่จะต้องรู้จักความจริง เพียงแค่เห็น ถ้าเป็นสิ่งที่น่าพอใจ มีใครยับยั้งได้ ที่จะไม่เห็นว่า เป็นสิ่งนั้นน่าพอใจ ถ้าสติปัฏฐาน ไม่เกิด ปัญญาไม่เกิด ไม่มีทางเลย แม้จะไม่เอ่ยว่าสวย แม้จะไม่เอ่ยว่าชอบ แม้จะไม่เอ่ยว่าอร่อย แต่ความติดข้องมีแล้ว แม้ในขณะนี้เองที่กำลังเห็นใคร เห็นใคร รักบ้าง ชังบ้าง
เพราะอะไร ต้องเป็นผู้ที่ตรง ตามความเป็นจริง ถ้าปัญญายังไม่ถึงระดับที่สามารถ ที่จะเข้าใจธรรมได้ตามความเป็นจริง โลกก็ยังเป็นอย่างนี้ เพราะอะไร โลภะ เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่ไม่จริง ไม่ใช่ไม่มีใครไม่มี แต่โลภะมีเป็นความติดข้อง แล้วมีหลายระดับด้วย เพราะฉะนั้น ผู้ที่โลภะกำลังเกิด ระดับใด ไม่ใช่ไปเปลี่ยนโลภะ ขณะนั้น เคยสวยก็เป็นอย่างอื่นไป หรืออะไรอย่างนี้ ก็ไม่ได้ แต่ก็ต้องตรงตามความเป็นจริงว่าขณะนั้นสภาพธรรม เพียงเกิดขึ้นปรากฏ แล้วดับไปอย่างเร็วมาก ผู้ที่จะเห็นอย่างนี้คือผู้ที่เห็นว่า ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลก เพราะเหตุว่าไม่เที่ยง จริงๆ แต่ก่อนที่จะประจักษ์ความไม่เที่ยงปัญญาก็จะต้องอบรม ตามลำดับขั้นจริงๆ ตั้งแต่ขั้นการฟัง ให้เป็นผู้ที่ตรงต่อตัวเองว่า มีความเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง ซึ่งเป็นธรรมถูกต้องหรือเปล่า เพราะเหตุว่าสภาพธรรมมีจริงๆ ที่เป็นปรมัตถธรรม ได้แก่จิต เจตสิก รูป นิพพาน แต่ว่าเวลาที่เป็นเรื่องราวต่างๆ เป็นคนโน้นคนนี้ เป็นกำลังซื้อของที่ซุบเปอร์มาเก็ต หรืออะไรก็แล้วแต่ ขณะนั้นก็เป็นเรื่องราวทั้งหมด เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องซึ่งจะต้องฟัง ตัวธรรมให้มากๆ อย่าไปติดที่เรื่องราว แล้วก็พยยายามที่จะไปคิดว่าขณะนั้น ตรงนั้นเป็นอะไร เป็นโลภะ หรือเป็นโทสะ แต่ว่าศึกษาธรรม เพื่อเวลาที่เมื่อไรสติเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้นก็จะรู้จัก ว่าลักษณะนั้น เป็นอย่างนั้น เพราะว่ามีความเข้าใจขั้นการฟัง ซึ่งฟังมาแล้วมาก
ถ ถ้าสติปัฏฐานเกิด ความรู้สึกนั้น จะมีความเปลี่ยนแปลงไหม
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐาน ทำให้เหมือนเป็นกับว่า มันจะต้องเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งต่างจากขณะนี้ ถ้าเข้าใจผิด แต่ตามความเป็นจริงแล้วเป็นปกติ เพราะฉะนั้น กว่าที่จะสติ ระลึก จนทั่ว เว้นรอบ ก็คือว่าไม่ว่าขณะใด จะมีความรู้สึกอย่างไร มิฉะนั้น ก็ยังเป็นเราอยู่ตรงนั้น ที่อาจจะไม่กล้า หรือลังเล ที่คิดว่าเห็นอย่างนั้นไม่ได้ แต่ว่าตามความจริงแล้ว ขณะนั้นเป็นอย่างนั้น ก็รู้อย่างนั้น ตามความเป็นจริงว่าเป็นเพียงชั่วขณะหนึ่ง เป็นสภาพธรรม ที่เพียงเกิดแล้วก็ดับไป
เพราะฉะนั้น ที่จะเห็นว่าทุกเป็นภัยใหญ่หลวงของโลก คือเห็นตามความเป็นจริงว่า ตั้งแต่เริ่มต้น คือไม่มีเรา คำว่า ไม่มีเรา น่ากลัวไหม ตอนนี้ไม่น่ากลัว เพราะว่าอย่างไรๆ ก็มีเรา ถูกต้องไหม จะกลัวได้อย่างไร แต่เวลาที่ไม่มีเราจริงๆ ไม่เหลือเลยสักอย่างเดียว ไม่มีอะไรเลย ลองคิดดูว่าขณะนั้นเป็นอย่างไร ที่เป็นเรามาในแสนโกฏิกัปป์ แล้วก็จะเป็นสภาพธรรมที่ไม่เหลืออะไรเลยทั้งสิ้น ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น รูปธรรมใดๆ ก็ไม่มี มีแต่ธาตุรู้หรือสภาพรู้ ซึ่งกำลังรู้ว่าขณะนั้น ไม่มีอื่น ไม่มีอะไรเลย ทั้งสิ้นนอกจากธาตุ หรือสภาพรู้ ซึ่งมีลักษณะรู้ อย่างอื่นไม่เจือปนในขณะนั้น ขณะนั้นจะเป็นทุกข์ ไหม
ถ้าปัญญาไม่พอ ไม่สามารถที่จะประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมได้ เพราะความเป็นตัวตน ยังหลงเหลือ หนาแน่นมาก แม้แต่เพียงสภาพธรรมปรากฏ ตามความเป็นจริงกับปัญญา ระดับหนึ่ง แต่เพราะเหตุว่าปัญญานั้นไม่ได้อบรม พอที่จะละคลาย ความเป็นตัวตนต่อไปอีก เพราะฉะนั้น ด้วยความเป็นตัวตน ก็จะเห็นว่าสิ่งนั้นน่าหวาดหวั่นมาก กับการที่จะไม่มีอะไรเลย
ถ้าใครที่ไปต่างประเทศ ไกลๆ หรือห่างบ้านห่างเมืองไปไกลๆ บางคนเขาจะคิดถึงบ้าน หรือว่าไม่ต้องไกลมากถึงขนาดนั้น บางคนไปต่างจังหวัดหน่อยหนึ่งก็ คิดถึงญาติพี่น้องแล้ว คิดถึงพ่อแม่ที่อยู่ที่บ้าน เพื่อนฝูงที่อยู่ในบ้าน แล้วถ้ายืนอยู่คนเดียว ในที่อาจจะอ้างว้าง อาจจะเป็นริมทะเล หรือว่าภูเขา หรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วในขณะนั้น อยู่คนเดียวไม่มีใครเลย ลองคิดดู หายไปไหนหมด พ่อแม่พี่น้อง ไม่มีเหลือเลย ขณะนั้นจะมีความรู้สึก ว้าเหว่ไหม บางคนอาจจะไม่รู้สึกเลย แต่ถ้าจะคิดให้ลึกซึ้ง ขณะนั้นไม่มีใคร ตรงนั้น เป็นเครื่องให้รู้แล้วว่า ไม่มีใครอีก พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูงก็ไม่อยู่ตรงนั้น ไม่มีใครอยู่ตรงนั้น แล้วถ้าลึกลงไปอยู่ตรงนั้น ก็คือว่า ไม่มีอะไรเลยทั้งโลก โลกก็ไม่มี มีแต่สภาพธรรม หรือธาตุ ซึ่งกำลังปรากฏลักษณะของความเป็นธาตุ
เพราะฉะนั้น กว่าปัญญาจะมีความอาจหาญ ต้องเป็นปัญญาระดับที่สูง ขึ้นๆ ๆ จึงสามารถที่จะละความ เป็นเราที่มีความรู้สึกว้าเหว่ หรือว่ายังไม่พร้อมที่จะรู้แจ้งสภาพธรรม ที่เป็นการเกิดดับได้ เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นเรื่องของการอบรม แล้วจะเข้าใจความหมายของปัญญาเจตสิก เพราะปัญญาเจตสิกไม่ใช่เพียง เรียนวิชาต่างๆ แต่เป็นเจตสิกที่สามารถจะเห็นถูก เข้าใจถูก ในลักษณะของสภาพธรรมเป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นการฟัง ถ้าเราเข้าใจผิดนิดเดียว เราก็คิดว่าขณะนี้ไปถึง เสขะบุคคลแล้ว และอเสขะบุคคลจะอบรมอย่างไร ต่อไป เพียงแค่มีสติเป็นเครื่องกั้น แล้วก็เว้นรอบเท่านั้นคิดว่าคงจะพอ แต่ความจริงไม่ใช่ ต้องรู้ว่า การที่เรามีความยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นเราเพราะเหตุว่า ไม่สามารถจะประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม ซึ่งสั้นแล้วก็เกิดแล้วก็ดับอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งเหมือนกับว่ามีเรามาตลอด กี่ภพ กี่ชาติ ตั้งแต่เกิด ก็มีทุกสิ่งทุกอย่าง
ผู้ฟัง กรณีอาจารย์ว่า เราไปต่างประเทศ เราก็คิดถึงบ้าน คิดถึงลูกถึงเมีย คิดถึงบ้าน นอนไม่ค่อยจะหลับ เราก็พยายามจะนึกถึงธรรม ว่าสภาพที่คิดมันก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง เป็นนามธรรมเป็นเรื่องคิด ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล อันนี้ มันก็เป็นแต่เพียงคิด เป็นแต่เพียงคิด แต่ว่าสติปัญญาของเรา มันไม่เข้าถึงสภาพนั้นจริงๆ เมื่อเป็นอย่างนั้น เราจะคิดบ่อยๆ บ่อยๆ มันก็เป็นได้แต่คิด มันก็ยังไม่มีกำลังพอ ที่จะเป็นเครื่องต้านทานความคิด แล้วผลสุดท้ายความคิดที่มันไม่จริง นี่มันไม่จริง มันถือว่ามันไม่จริง เพราะว่าเรายังไม่เข้าใจจริง มันก็พัง เหมือนๆ อย่างทำนบที่กั้นกระแสน้ำ ทำนบมันดินมันไม่แข็งพอ หรือมันเป็นดินปนทราย ถูกกระแสน้ำพัด แรงๆ มันก็พังทลาย ท่วมหมด ท่วม ใจหมดเลย มันก็บอด ใจก็เลยมืด อันนี้กระแสมันแรงเหลือเกิน กว่าสติปัญญาของเรามันจะเจริญ มีกำลังจนถึงขนาดที่ จะเห็นสภาพที่เป็นจริงของ ธรรมในขณะนั้น มันรู้สึกว่าจะใช้เวลาเหลือเกิน
ท่านอาจารย์ ก็ต้องอ่านประวัติของอดีตสาวกแต่ละท่าน กี่ปี กี่กัป แล้วก็เป็นความจริงผู้ที่อบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงก็จะเป็นผู้ตรง คือว่าขณะนี้รู้ สิ่งที่กำลังปรากฏไม่ว่าจะทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ด้วยอะไร ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด แล้วกล่าวว่ารู้ เป็นแต่เพียงขั้นคิด ไม่ใช่รู้ลักษณะของปรมัตถธรรม ซึ่งเรียน และรู้ว่ามีจริง ขณะนี้ก็มีแต่ว่าผ่านไปเร็วมาก เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องราว สมมติบัญญัติต่างๆ ที่ปกปิดไม่ให้เห็นตัวสภาพธรรม แท้ๆ ซึ่งเกิดดับ ก็ต้องเป็นสาวโก คือผู้ฟัง
ผู้ฟัง เรียนถามว่าในขณะซึ่งสติเกิด มันอาจจะสั้นมาก แต่เวลาที่เป็นความคิดจะยาว อันนี้ก็จะทำให้ผู้ที่เริ่มเจริญสติ ได้เห็นความต่างกันระหว่าง สติเกิด กับเผลอสติซึ่ง เป็นเรื่องราว อันนี้ใช่หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เวลาที่สติสัมปชัญญะ เกิด หมายความว่ามีลักษณะของสภาพธรรมกำลังปรากฏ แล้วก็สติระลึกลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม นิดเดียว ใช่ไหม เท่านั้นเอง ก็ลอง เทียบกับขณะที่หลงลืมสติ ซึ่งเป็นเรื่องราว เพราะฉะนั้น จึงเห็นความต่างกันของปรมัตถธรรม กับบัญญัติ ว่าขณะที่เป็นบัญญัติ ไม่ใช่ขณะที่รู้ ลักษณะของปรมัตถธรรม
ผู้ฟัง ดิฉันมีความคิดว่า ในขณะซึ่งคิดสั้น มันจะลักษณะ สภาพธรรม มันจะ เป็นปรมัตถ ที่ไม่ใช่บัญญัติ จึงสงสัยว่าจะเป็นบัญญัติได้ไหม ในขณะนั้น
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นปรมัตถธรรม หมายความว่า สภาพนั้นมีลักษณะ ๓ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือต้องมีการเกิดขึ้นปรากฏ ไม่ใช่เป็นการเพียงนึก ไม่ใช่เรื่องราวต่างๆ แต่ขณะที่นึก คือจิตเกิดขึ้น แล้วก็คิดคำนั้น เพราะฉะนั้น ปรมัตถธรรม ก็คือจิตที่คิด
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น บัญญัติในขณะสั้นไม่ได้ ก็แล้วกัน ใช่ไหม หรืออย่างไร นี่ตรงนี้ ที่สงสัยอยู่ว่าจะได้ หรือไม่ได้
ท่านอาจารย์ เวลาคิด คุณสุรีย์คิดทีละกี่คำ
ผู้ฟัง ก็คิดทีละคำ
ท่านอาจารย์ สั้น หรือ ยาว
ผู้ฟัง สั้น แต่ว่า สั้นอันนั้นมันก็ไม่ใช่เรื่องราว
ท่านอาจารย์ แต่จะเป็นเรื่องยาวก็ต้องต่อกัน
ผู้ฟัง ขณะจิตก็ต้องยาวกว่า อย่างนั้นก็หมายความว่าในขณะซึ่ง สติเกิด เว้น รูปฌาน อรูปฌาน ถ้าเป็นกามาวจร มันจะมีบัญญัติเกิดขึ้นได้ไหม
ท่านอาจารย์ คือสภาพธรรม ขณะนี้ มี เป็นเครื่องพิสูจน์ ขณะใด ที่สติระลึกสิ่งที่มีลักษณะจริงๆ กำลังปรากฏ คนนั้นจะปฏิเสธไม่ได้ ว่านั้นมีลักษณะจริงๆ ลักษณะนั้นก็เป็นสภาพปรมัตถหนึ่งปรมัตถใด แต่ถ้าไม่มีลักษณะ จริงๆ ขณะนั้น ก็ไม่ใช่ปรมัตถธรรม
ผู้ฟัง อย่างนั้นก็หมายความว่า บัญญัติไม่ได้เพราะ มันไม่ใช่ลักษณะของปรมัตถ
ท่านอาจารย์ ก็คือจิตที่คิด ถ้าจิตไม่คิด บัญญัติก็ไม่มี
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์สุจินต์ ช่วยอธิบายว่า สำหรับความเพียร จะเพียรอย่างไรที่จะไม่มีความเข้าใจผิด รู้สึกว่า ถ้าเกิดไปฝืน มันก็จะเป็นตัวตน ไม่ทราบท่านอาจารย์จะให้ข้อคิดเห็นอย่างไรไหม
ท่านอาจารย์ ต้องเข้าใจว่าไม่มีกฏเกณฑ์ ต้องเป็นความเข้าใจธรรมจริงๆ อย่างถ้าเข้าใจแล้วว่าธรรมทั้งหลายเป็น อนัตตา คำนี้ก็ลืมไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การที่จะมีการเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น ก็ต้องรู้ว่าต้องมีเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีการฟังธรรม เสียนาน แล้วเป็นอย่างไร ความรู้ เก่าๆ ดั้งๆ เดิมๆ ก็หายไปเลย หรือไม่อย่างนั้นก็ ไม่ปรากฏว่าเจริญขึ้น
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นประโยชน์ คือผู้ที่ฟัง ฟังด้วยการพิจารณา ถึงประโยชน์ คือเป็นผู้ที่รู้จักประโยชน์ สาตถกสัมปชัญญะ รู้จักประโยชน์ แม้แต่ในการฟัง ถ้าขาดการฟังแล้ว เราคิดเองได้ไหม ความคิดของเราจะเท่ากับที่ได้ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก และอรรถกถาหรือไม่
เพราะฉะนั้น ก็ทำให้เราเกิด วิริยะ อุตสาหะ แต่ไม่ใช่ตัวเราอยากจะเพียร เพราะว่าได้ยินมาว่าต้องเพียร คือไม่ใช่เป็นคนที่ทำตามสั่ง หรือว่าพอกล่าวอะไรก็คิดว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ โดยที่ไม่มี การพิจารณา แต่การพิจารณาของเราต้องสอดคล้อวกันตั้งแต่ต้น คือว่าเราไม่สามารถที่จะบังคับจิต ของเราให้เป็นกุศลได้มากๆ อย่างที่หวัง เพราะว่า รู้สึกแต่ละคนเดือดร้อนเหลือเกิน อาจจะไม่ใช่แต่ละคน บางคน ส่วนใหญ่ หรือส่วนน้อย ไม่ทราบ ก็พิจารณาเอง ว่าเดือดร้อนกับอกุศลของตัวเอง แต่ถ้าเข้าใจจริงๆ ว่า อกุศลนั้นไม่ใช่เรา มีปัจจัยก็เกิด เกิดแล้วก็ดับไป จะเดือดร้อนไหม แต่เพราะความเป็นตัวตนลึกมาก เพราะฉะนั้น คนที่เดือดร้อนมาก ก็เพราะเหตุว่าไม่ได้ยอมรู้ หรือรับรู้เลยว่าเพราะยังมีตัวตนมาก ก็ต้องอบรมเจริญปัญญาความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ในสภาพธรรม เพื่อที่จะละความเป็นตัวตน อย่างคุณนิพัฒน์ ถามว่า
ผู้ฟัง ที่เดือดร้อนเพราะมันเกิดบ่อย
ท่านอาจารย์ เพราะว่ามีเหตุปัจจัยที่จะให้เกิด
ผู้ฟัง คือพิจารณา รู้ว่าเป็นสภาพธรรม รู้ด้วยการคิด ไม่ใช่รู้จริงๆ รู้ด้วยการคิด ว่าความคิดอย่างนี้ กุศลอันนี้ ก็เป็นสภาพธรรม อย่างหนึ่งไม่ใช่เรา จะไปเดือดร้อนทำไม การคิด คิดเอาเท่าที่ได้ยินได้ฟัง แต่มันก็ไม่ใช่เป็น ความเข้าใจจริงๆ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะมีธรรมที่เป็นตัวลวง
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ลวงให้คิดว่าขณะนั้น ไม่ใช่เรา แต่ความจริงขณะนั้น ยังเป็นเราอยู่ เพราะเหตุว่ายังไม่ได้รู้ความจริงของสภาพธรรม ที่ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ปัญญาก็ต้องละเอียดขึ้นตามลำดับ แม้แต่ว่าความคิดแค่นั้น ก็รู้ว่าเพียงแต่การเข้าใจ เรื่องราวของสภาพธรรมเท่านั้นเอง เราก็จะไม่ห่างเหินการฟัง การพิจารณาธรรมเพิ่มขึ้น เพราะเรารู้ว่านั่นเป็นปัญญาระดับฟังเท่านั้นเอง แต่ก็จะเป็นปัจจัยทำให้ มีสติสัมปชัญญะระลึกลักษณะของสภาพธรรมได้
ผู้ฟัง ปรารภ ความเพียรหมายถึงอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาพระอภิธรรมก็จะช่วยมากเลย วิริยเจตสิกเกิดกับจิต อะไรบ้าง เว้นอะไรบ้าง เว้นจิตกี่ดวง น้อยมากเลย คือ อเหตุกจิต ๑๖ ดวงเท่านั้น ที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
เราเรียนเรื่องนี้ทำไม เรียนเพื่อประโยชน์ เพื่อให้ เตือนตัวเอง เพื่อให้รู้ว่าไม่ต้องไปทำความเพียรพิเศษ ด้วยความไม่รู้ ถ้ามีความไม่รู้แล้วไปทำความเพียรเท่าไร ก็ยังคงไม่รู้อยู่เท่านั้น แต่ถ้ารู้ว่าสิ่งที่ไม่รู้ ความไม่รู้ทั้งหมด จะค่อยๆ ลดน้อยลงไปได้ ด้วยปัญญาขั้นต่างๆ เริ่มตั้งแต่ขั้นการฟัง ไม่ใช่เพียงแต่คิดเอาง่ายๆ ว่า ไม่ใช่ตัวตน วันนี้ก็เลยให้อกุศลเกิดมากๆ เพราะว่า อกุศลนั้นไม่ใช่เรา คิดอย่างนี้ก็ไม่ถูกต้อง
ผู้ฟัง เมื่อกี้ท่านอาจารย์ ท่านบอกว่า ไม่ให้เดือดร้อนเรื่องอกุศล
ท่านอาจารย์ ถ้ามีปัญญาจริงๆ จะเดือดร้อนไหม เพราะฉะนั้น ถึงแม้บอกว่าไม่ให้เดือดร้อน แต่ก็ยังเดือดร้อน เพราะเหตุว่าไม่ใช่ปัญญาจริงๆ เพราะฉะนั้น ก็รู้ได้ว่า ต่อให้พูดอย่างไร บอกอย่างไรก็ยังเดือดร้อน เพราะเหตุว่า ยังไม่ใช่ปัญญาจริงๆ ต้องอบรมจนกว่าจะถึงระดับปัญญาจริงๆ ที่จะไม่เดือดร้อน เพราะรู้ว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรม
ผู้ฟัง ก็ส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจผิด ตรงนี้ คือว่าต้องปรารภความเพียร บ่อยๆ หมายความว่า จะสอนผมก็ทำตามมาจนเบื่อ คือให้เดินอย่านอน เดี๋ยวนอนหลับ เดี๋ยวนอนมันจะหลับ ถ้าให้นั่ง ถ้านั่งเมื่อยก็ให้เดิน เดินเมื่อยก็ให้ยืนอะไรทำนองนี้ อย่าใช้อิริยาบถนอน เพราะว่าอิริยาบถนอน มันโอกาสที่มันจะหลับ มีง่ายมาก ก็ให้นั่ง ให้ยืนให้เดิน อย่างนี้ก็ยังไม่ใช่ว่าปรารภความเพียร
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าเป็นผู้ที่ทำตาม ด้วยความเป็นตัวตน ไม่ว่าข้อความในพระไตรปิฎก จะมีอย่างไร ก็จะทำตามด้วยความเป็นตัวตน เพราะคิดว่าทำตามแล้ว จะสามารถละ อกุศลได้ หรือบรรเทาได้ อย่างเรื่องง่ายๆ ธรรมดา รู้จักประมาณในการบริโภค แค่นี้ ไม่ใช่เรื่องยากเลย ใช่ไหม เรื่องการรับประทาน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 541
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 542
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 543
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 544
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 545
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 546
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 547
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 548
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 549
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 550
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 551
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 552
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 553
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 554
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 555
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 556
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 557
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 558
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 559
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 560
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 561
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 562
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 563
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 564
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 565
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 566
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 567
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 568
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 569
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 570
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 571
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 572
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 573
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 574
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 575
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 576
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 577
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 578
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 579
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 580
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 581
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 582
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 583
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 584
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 585
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 586
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 587
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 588
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 589
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 590
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 591
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 592
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 593
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 594
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 595
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 596
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 597
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 598
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 599
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 600