ปกิณณกธรรม ตอนที่ 598


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๕๙๘

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๔


    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นสติปัฏฐาน ก็หมายความว่า มีความเข้าใจถูกต้องในเบื้องต้น ว่าขณะนี้เป็นธรรม เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจอย่างมั่นคง ก็เป็นปัจจัยให้มีการระลึกลักษณะของธรรมซึ่งมีลักษณะปรากฏ ความเป็นรูป หรือ ความเป็นนาม แต่ว่าลักษณะสภาพธรรม เกิดดับเร็วมาก พอแค่นี้ได้ยิน คนอื่นก็ไปห่วงอีก แล้วจะทันอย่างไร ไม่ใช่เรื่องทัน เร็วมาก เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องห่วง ว่าจะระลึกลักษณะของสภาพธรรมใด ไม่ว่าจะเป็นนามธรรมใด รูปธรรมใด ก็เกิดดับอย่างรวดเร็ว เพียงแต่ว่าเมื่อสติเกิด ขณะนั้นมีลักษณะของปรมัตถที่เป็นปกติ เป็นธรรมดา อย่างเดี๋ยวนี้

    เพราะฉะนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยที่สติปัฏฐานจะเกิด ไม่ใช่เรื่องยาก เพราะเหตุว่า มีปัจจัยพร้อมที่จะระลึกลักษณะของแข็งที่กำลังปรากฏ ทางกาย ลักษณะของสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา หรือลักษณะของได้ยิน หรือลักษณะของเสียงก็แล้วแต่ ซึ่งเป็นปกติในขณะนี้ แต่ความเข้าใจชัดเจน ในสภาพที่ไม่ใช่เรา ไม่ได้ปรากฏทันที เพราะเหตุว่าจากความรู้ขั้นฟัง จนกระทั่งถึงขั้นที่สติเริ่มระลึก ก็ห่างกันแล้ว เพราะเหตุว่าฟังใหม่ๆ สติปัฏฐาน ก็ไม่เกิด แต่เมื่อฟังไปฟังมา มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น จากการสะสม ซึ่งเราก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า กี่ชาติ ก็คงจะไม่ใช่ชาตินี้ชาติเดียว

    แต่เมื่อสติสัมปชัญญะเกิด ไม่ใช่เรื่องโลภะ จะเข้ามาแซงอีก ว่าอยากจะรู้ อยากจะเข้าใจลักษณะของสภาพนั้นที่กำลังปรากฏ แต่เป็นเรื่องของการละคลาย ที่รู้ว่าขณะนั้นสติเกิดแล้วก็ดับ แม้ว่าปัญญาขณะนั้นยังไม่สามารถที่จะรู้ชัดในลักษณะของสภาพธรรมนั้น แต่ก็เป็นผู้ที่รู้ หนทางว่า ทางที่ปัญญาจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมมีหนทางเดียว คือขณะที่สติระลึกเท่านั้น แม้ว่าปัญญาขณะนั้นยังอ่อน แต่ก็ระลึกอีก ระลึกอีก ตามเหตุ ตามปัจจัย โดยการที่ว่า ส่วนใหญ่เมื่อเป็นกุศล ทุกคนก็ต้องการ ยิ่งเป็นสติปัฏฐาน ก็ยิ่งหวัง แต่ตามความเป็นจริงแล้ว การที่จะสละความเป็นเรา ต้องเป็นผู้ที่อดทน เป็นผู้ที่กล้าหาญ เป็นผู้ที่รู้ว่าการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เพื่อรู้ว่าไม่มีเรา คิดดู พร้อมหรือยังที่จะไม่มีเรา โดยการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ ต้องเป็นปัญญาที่อบรมมา มากตามลำดับขั้น แต่ก็เริ่มจากสติที่ระลึก ลักษณะของสภาพธรรมตามปกติ ถ้าผิดปกติก็ไม่ใช่

    ผู้ฟัง ยากมาก

    ท่านอาจารย์ ยาก ถูกต้อง ยากที่ปัญญาจะเจริญแต่ไม่ยากที่ฟังเข้าใจ แล้วก็สติจะเริ่มเกิดแล้วแต่เหตุปัจจัย แต่เป็นเรื่องละ ไม่ใช่เรื่องติด ข้อสำคัญที่สุดคือเรื่องละ

    เพราะฉะนั้น การฟังธรรมเป็นเรื่องเบาสบายไม่หนัก แต่ถ้าหนักคือต้องการแล้วไม่ได้ แต่ถ้าเรารู้ว่าชีวิตก็คืออย่างนี้ ในเมื่อสติปัญญาก็ยังน้อยมากแบบมดตัวเล็กๆ จะไปทำอย่างช้างตัวใหญ่ๆ ได้ไหม จากมดไปถึงช้าง เราก็ต้องค่อยๆ อบรมไป จนกว่าปัญญาสามารถที่จะคลายการยึดถือสภาพธรรม แม้ขณะที่กำลังเห็นตามปกติ ก็สามารถที่จะรู้ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง สามารถเพียงปรากฏเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง ใช้ความพยายามก็ไม่ได้ ใช้รูปแบบก็ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะไม่ใช่เรา แต่เป็นการอบรมเจริญปัญญา เป็นสังขารขันธ์ ไม่อย่างนั้นเราจะพูดเรื่องขันธ์ ๕ ทำไม แต่พูดเรื่องขันธ์ ๕ เพื่อเตือนให้รู้ว่าไม่มีเรา แต่มีขันธ์ ๕

    ผู้ฟัง บางทีโยนิโสไป โยนิโสไปถูกตัวพยัญชนะ

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องโยนิโสเลย เพราะสภาพธรรม โยนิโสเอง ไม่มีเราที่จะไปเหนื่อย โยนิโส หรือ อโยนิโสก็เหมือนกัน ก็ไม่ใช่เป็นเราที่จะไปพยายามทำให้เป็น อกุศล สภาพธรรมนั้น อโยนิโส จึงเป็นอกุศลดีเสียอีก ไม่ต้องทำอะไร ไม่ใช่หรือ เป็นธรรมทั้งหมดที่ทำหน้าที่ของธรรม

    ผู้ฟัง ทุกวันนี้ที่ติด ฟังที่ท่านอาจารย์แสดง ความเข้าใจ เข้าใจได้เลยว่า เป็นสภาพธรรมอยู่ ทุกอย่างแค่ความเข้าใจอย่างนี้ ก็มั่นคงที่จะฟังต่อไป แล้วบางครั้งสติเกิดระลึกเล็กๆ น้อยๆ ตรงนี้ก็ชื่นใจแล้ว ท่านอาจารย์ แล้วก็คิดว่าชีวิตนี้ได้เข้าใจตรงนี้ ก็ป็นสุขแล้ว

    วิทยการ. สติเกิด มันเล็กน้อย ใช่ แต่เราก็ยังอยากให้สติเกิดอยู่ เกิดอยู่เรื่อยๆ อยู่นานๆ อะไรอย่างนี้ เป็นการตั้งใจจะบังคับ เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ แต่เราก็จะบังคับบัญชาอย่างนี้ ก็ไม่ตรง มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะว่าขณะที่สติเกิดนิดเดียวๆ จริงๆ แต่เราก็ต้องฟังไปเรื่อยๆ โอกาสที่สติจะเกิดขึ้นบ่อยๆ มันก็มีได้ อย่าเพิ่งไปปลื้มใจจนเกินไปนัก ถ้ามันเกิด คือถ้าปลื้มใจจนเกินไป มันก็จะเกิดอีกอย่างหนึ่ง ขึ้นมาแทน ปลื้มใจ ก็โลภะเกิด คือถ้าปลื้มใจในธรรมไม่เป็นไร ปลื้มใจ เป็นธรรมปิติ เพราะว่าเราก็คิดว่าโอกาสที่เราได้ฟังธรรมมา ก็นานพอสมควร ขนาดสติเกิด พอระลึกรู้ได้แล้วก็ น่าปลื้ม อะไรอย่างนี้ แต่ก็อย่ายินดี ติดใจอยู่ จนกระทั่ง วันสองวันอะไรกันอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ถ้าฟังไปเรื่อยๆ ก็หมายความว่า เราเข้าใจในความเป็นอนัตตา แต่ถ้าเราเกิดอยากขึ้นมาก็แปลว่า เราลืมแล้ว ว่าเป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง ที่พูดว่ามีความสุขแล้ว ก็เพราะว่าชีวิตในแต่ละวัน เดี๋ยวก็พระอาทิตย์ตก พระจันทร์ขึ้น แล้วก็ไม่เห็นจะมีอะไรนอกจากนี้เลย ถ้าเผื่อไม่ได้ฟังที่ท่านอาจารย์ได้กรุณา ให้เห็นว่ามันมีสภาพธรรมเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้อยากให้สติเกิด แต่ถ้าเกิดก็ดี

    วิทยากร. คุณบงเคยเข้าใจไหมว่า คำว่า ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนนี่ มันคืออะไร

    ผู้ฟัง พูดตามศึกษาก็คือ ทุกอย่างเป็นสภาพธรรม ไม่ว่าจะเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส หรือว่านึกคิด ก็มีอยู่แค่นี้เอง

    วิทยากร. ก็มีอยู่แค่นั้นจริงๆ ใช่ไหม เมื่อเห็นเป็นสภาพธรรม มันก็ไม่มีตัวตน มันเป็นของเขาเอง ถ้ายังไม่เห็นเมื่อไร มันก็เอาตัวตนเป็นอนัตตา คิดเอาเองรูป เสียง กลิ่น รส หรือว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หรืออะไร มันก็ไม่ใช่เรา มันก็ยังไม่หายข้องใจ ไม่หายสงสัย ทั้งๆ ที่เราพูดว่า ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อเอ็น กระดูก อะไร มันก็เป็นแต่ชิ้นส่วนอะไรเล็กๆ น้อยๆ ร่างกายที่รวมกันอยู่ ไม่ใช่เรา เราก็ป็นแต่เพียงคิดเอา ถ้าเราเข้าใจสภาพธรรม แต่ละอย่างๆ มันเกิดขึ้นคำว่า ตัวตนมันจะมีได้อย่างไร คิดเอาแล้วมันไม่หายข้องใจ ต้องประจักษ์สภาพธรรมที่ปรากฏนิดๆ หน่อยๆ มันก็ยังพอจะมองเห็นแล้วว่า อนัตตามันคืออะไร อันนี้เป็นข้อสำคัญที่สุด ที่เราจะต้องเข้าใจก่อนอื่น

    ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์ สมพร มิจฉัตตะ

    วิทยากร. มิจฉัตตะ แปลว่าความเป็นผิด สัมมัตตะ ความเป็นถูก ถ้าแปลตามตัว แต่ความหมายเราต้องเข้าใจเอา องค์ของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ องค์ของ มิจฉัตตะก็ต้องมี ๘ เพื่อประหาร องค์ของอริยมรรคเกิดขึ้นก็ประหาร มิจฉัตตะ ตรงกันข้าม

    ผู้ฟัง หมายความว่า มิจฉัตตะ เราใช้กับ พวกที่เป็นมิจฉาเท่านั้น ใช่ไหม

    วิทยากร. มิจฉัตตะ นั้น เราหมายความว่า มีแก่บุคคลธรรมดา ปุถุชนทั่วไป เว้น พระอริยะ อริยะมีแต่สัมมัตตะ ไม่มี มิจฉัตตะ ทุกวันนี้เรายังมีความเห็นผิด ว่าเห็นว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นอัตตา เป็นตัวตนอยู่ มีความเห็นผิด อันเดียวก็บ่งถึง มิจฉัตตะแล้ว

    ผู้ฟัง อยากเรียนให้ท่านอาจารย์สุจินต์ช่วยขยายตรงนี้หน่อย พึงทราบความเป็นมิจฉาที่สามารถ ความไม่จริง และไม่นำสัตว์ให้พ้นทุกข์นั้นแล ชื่อว่าองค์แห่งมิจฉัตตะ

    ท่านอาจารย์ เวลาที่ได้ยินคำ ถ้าเรานึกถึงแต่ความหมาย เราก็คงจะไม่เข้าใจสภาพธรรม แต่ถ้าเราเป็นผู้ที่เข้าใจว่าเรา เมื่อเริ่มศึกษาธรรม จะเห็นได้ว่า ธรรมเป็นสิ่งที่ยากลึกซึ้ง แล้วก็ต้องตามลำดับจริงๆ เหมือนอย่าง ขอย้อนไปเมื่อกี้นี้ในเรื่องของมรรค คำว่า มรรค แปลว่าทาง แต่ต้องหมายความถึงสภาพธรรมใดเป็นมรรค ต้องมีปรมัตถธรรมที่เป็นมรรค เจตนาไม่ใช่มรรค เจตนาเป็นกรรม เพราะฉะนั้น เจตสิกอะไรบ้างที่เป็นมรรค เมื่อทรงแสดง ๘ เวลาที่คุณสุรีย์เห็นสัมมาทิฏฐิเมื่อไร คุณสุรีย์ก็ทราบว่านั่นคือมรรค ไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนในพระไตรปิฎก ก็ต้องเป็นมรรค หรือจะกล่าวว่ามรรคปัจจัยก็ได้ เพราะเหตุว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้สภาพธรรมอื่นเกิดร่วมกัน ใน ๘ องค์ หรือว่าใน ๕ องค์ เพราะฉะนั้น ถ้าทราบ มรรคมีองค์ ๘ สัมมามรรค มิจฉามรรคทราบไหม ๘ ได้แก่อะไร

    ผู้ฟัง ต้องตรงกันข้าม

    ส.ต้องตรงกันข้ามกัน แต่เมื่อศึกษาปรมัตถธรรม ก็จะได้ทราบว่า ที่ตรงกันข้ามเป็นปรมัตถหรือไม่เป็นปรมัตถ ใน ๘ ที่เป็นมิจฉา มิจฉาทิฏฐิ เป็นปรมัตถธรรม แต่มิจฉาสติไม่ใช่ มิจฉากัมมันตะ มิจฉาวาจา มิจฉาอาชีวะ เป็นหรือเปล่า

    ผู้ฟัง หมายความว่าเรารู้ สัมมาแล้ว พอเป็นมิจฉา เราก็แปล

    ท่านอาจารย์ เวลาที่เราเข้าใจว่าเจตสิก มีอะไรบ้าง เราก็ไปสอบดูว่าในเจตสิก ๕๒ มีอะไรที่เป็นสัมมามรรค แล้วที่เป็นมิจฉามรรคมีไหม ถ้าไม่มีก็ทราบว่าเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นหนทาง ๒ ทาง ซึ่งต่างกัน แล้วก็คู่กันโดยความเข้าใจผิด เช่น มิจฉาสติ ความจริงไม่มีเจตสิกซึ่งเป็นมิจฉาสติ แต่เพราะเหตุว่า คนนั้นเข้าใจผิด เข้าใจว่า กำลังระลึก แต่ความจริงไม่ใช่ระลึก เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นไม่ใช่มิจฉาสติเจตสิก เพราะมิจฉาสติไม่มี ก็จะรู้ได้ ว่าสัมมาสติเป็นองค์ของมรรค แต่ว่ามิจฉาสติ ไม่ใช่ เมื่อเข้าใจเรื่องอย่างนี้แล้ว ใช่ไหม ก็ค่อยๆ พิจารณา มาถึงคำว่า มิจฉัตตะ ผู้ใดหรือขณะใดที่มีความเป็นอย่างนั้น ในขณะที่เห็นผิดอย่างนั้นก็เป็นอย่างนั้น ในขณะที่เห็นถูกก็ เป็นผู้ที่มีความเป็นถูก ก็ค่อยๆ เรียนศัพท์ภาษาบาลีตามไปด้วย แล้วก็จะเข้าใจความหมายอื่น เช่น โลกียมรรค กับ โลกุตตรมรรค ขณะใดที่ไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ ขณะนั้นก็ต้องเป็นโลกียมรรค ค่อยๆ ไปทีละนิดทีละหน่อยจนกระทั่ง เราค่อยๆ เข้าใจชัดเจนขึ้น

    ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์สุจินต์ อีกครั้งหนึ่งว่า คำว่า ปัญญาในมรรคมีองค์ ๘ นี่ จะต้องมี กัมมัสสกตาปัญญา เป็นพื้นหรืออย่างไร ท่านถึงได้แสดง คำนี้ออกมาเป็นคำแรก

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวก่อน ในมรรคมีองค์ ๘ โลกียะหรือโลกุตตระ นี่ก็ต้องค่อยๆ พิจารณาไป เราจะตอบทันทีทีเดียวไม่ได้ ก็ต้องพิจารณาว่าที่ถามหมายถึงโลกียะ หรือโลกุตตระ

    ผู้ฟัง เราเริ่มตั้งแต่โลกียะไปก่อน

    ท่านอาจารย์ ถ้าโลกียะ มีอะไรเป็นอารมณ์

    ผู้ฟัง ก็มีบัญญัติบ้าง ปรมัตถธรรมบ้าง

    ท่านอาจารย์ ที่เป็นมรรค มีองค์ ๘ ไม่ใช่มรรคธรรมดา ถ้ามรรคธรรมดาก็ได้แก่เจตสิกที่เป็นมรรค ไม่ว่าจะเกิดที่ไหนตรงไหน ก็เป็นมรรคปัจจัย แต่เวลาที่เป็นมรรคมีองค์ ๘ หรือมรรคมีองค์ ๕ หมายความว่าเป็นการอบรมเจริญปัญญา ที่เป็นโลกียมรรค เพื่อที่จะถึงโลกุตตระ เพราะฉะนั้น ก็ต้องจำกัดอารมณ์ด้วย ไม่เหมือนกับเวลาที่เป็นมรรคปัจจัย

    ผู้ฟัง อาจารย์ขยาย คำว่า จำกัดอารมณ์สักนิด

    ท่านอาจารย์ เวลาที่เป็นสัมมามรรค มีอะไรเป็นอารมณ์ ที่เป็นหนทางที่จะให้เกิดโลกุตตรมรรค โลกียะมรรคนั้นต้องมีอะไรเป็นอารมณ์

    ผู้ฟัง มีปรมัตถเป็นอารมณ์ นั่นสิ ดิฉันไม่เข้าใจว่าทำไมท่านใช้ คำว่า กัมมัสสกตา

    ท่านอาจารย์ ใช่คำว่า ความหมายของวิชชา เท่านั้น

    ผู้ฟัง หมายความว่า เราต้องมีพื้นเรื่องของกรรมเป็นพื้น หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าวิชชาได้แก่ปัญญา ปัญญากว้างขวางทั่วไปหมดเลย ปัญญาระดับไหน ปัญญาขั้นฟัง ปัญญาที่เกิดร่วมกับสติปัฏฐาน หรือว่าปัญญาที่รู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมเป็นวิปัสสนาญาณ หรือว่าเป็นปัญญาที่เป็นโลุตตระปัญญา เพราะฉะนั้น นี่แแสดงถึงความหมายของวิชชา คือปัญญาความรู้ที่เป็นความเห็นถูกต้องได้แก่อะไรบ้าง ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นเองที่แสดงไว้

    ผู้ฟัง ความรู้ที่จะเป็นความรู้เรื่องของกรรม และผลของกรรมท่านแสดง ตรงนี้ว่าเป็นวิชชา ต้องระดับไหน ถึงจะเป็นวิชชา

    ท่านอาจารย์ ที่จริงคำนี้ คำว่า วิชชา หรือปัญญานี้ ก็แล้วแต่ที่ใช้ ใช้แทนกันก็ได้ หรือว่าใช่ต่างระดับกันก็ได้ ที่นี่บอกว่า กัมมัสสกตาปัญญา ก็เป็นวิชชา

    ผู้ฟัง ในวิชชา ๘ หรือว่า วิชชา ๓ อันนั้นจะเป็นคนละอย่างกัน ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว เวลาที่เราใช้คำว่า วิชชา ๓ วิชชา ๘ เราจะถึงความหมายของคำว่า วิชชาไม่ได้ แต่ว่าวิชชาที่กล่าวถึง ๓ อย่างคืออะไร วิชชาที่กล่าวถึง ๘ อย่างคืออะไร และวิชาอื่นๆ นอกจากนี้ คืออะไรก็มี เราไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่ ๓ แค่ ๘

    วิทยากร. วิชชา ได้แก่ กัมมัสสกตาปัญญา คือไม่ได้มุ่งเอาวิชชา ๓ วิชชา ๕ วิชชา ๘ มุ่งเอา กัมมัสสกตาปัญญา วิชาในที่นี้ กัมมัสสกตาปัญญา ทั้งหมดท่านกล่าวไว้ ๑๐ อย่างด้วยกัน กล่าวได้เพียงเล็กน้อย ว่า คือปัญญาที่รู้ว่าการให้ทานมีผล อัตถิทินนัง แล้วก็ อัตถิอุตัง การบูชาพระรัตนตรัยก็มีผล อย่างนี้โดยมากท่านกล่าวโดยนัยนี้ คือหมายถึงปัญญาที่ เป็นโลกียะ ไม่ใช่โลกุตตระ วิชชาในที่นี้ท่านมุ่งเอาถึง กัมมัสสกตาปัญญา ๑๐ อย่างที่กล่าวมานี้

    ผู้ฟัง กัมมัสสกตาปัญญา จำเป็นจะต้องเป็นเฉพาะคนในพระพุทธศาสนา หรือว่าคนนอกพระพุทธศาสนา ก็มีได้

    ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาธรรม ไม่มีชาติ ว่าจะนอกพระพุทธศาสนา หรือในพระพุทธศาสนา เพราะเหตุว่าคนที่นับถือพระพุทธศาสนา ที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมก็มี แต่บอกว่านับถือพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นขณะที่เป็นความเข้าใจถ่องแท้จริงๆ ในเรื่องของกรรม เพราะเหตุว่าเราอาจจะพูดตามๆ กันได้ เชื่อกรรม ผลของกรรม แต่ว่าเวลาที่เราบอกว่าเชื่อกรรม และผลของกรรม การกระทำของเราคืออะไร ทั้งๆ ที่เราบอกว่าเราเชื่อกรรม และผลของกรรม แต่เราทำอกุศล ขณะนั้นจะกล่าวว่า เราเชื่อในกรรม และผลของกรรม ระดับไหน จริงๆ หรือเปล่า เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจธรรม ก็จะรู้ว่าถ้ามีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาก็จะทำหน้าที่ของปัญญา คือละคลายอกุศล ละคลายไม่รู้ และละคลายสิ่งที่ไม่ดี ตามกำลังของปัญญา ซึ่งไม่สามารถที่จะดับหมดสิ้นได้เพราะเหตุว่าตราบใดที่โลกุตตรจิต ยังไม่เกิด ยังไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ แม้ว่าขณะนั้นเป็นกุศล แต่เมื่ออกุศลยังมี อวิชชายังมี เราก็จะมีขณะซึ่งอกุศลจิตเกิด และในขณะนั้นกัมมัสสกตาปัญญา ซึ่งความเชื่อในกรรม เป็นความเชื่อจริงๆ หรือเปล่า เพราะว่าเพียงชั่วขณะที่เราพูด เรื่องกรรม นั่นกรรมของเขา กรรมของคนโน้นคนนี้ แต่ว่าเวลาที่อกุศลจิตเราเกิด ขณะนั้นไม่ใช่กัมมัสสกตาปัญญา

    เพราะฉะนั้น ก็ต้องทราบด้วย การที่เรา จะเป็นผู้ที่รู้จักตัวของเราเองจริงๆ เราจะรู้ว่าขณะที่เป็นปัญญา เป็นความเห็นถูก แต่ว่าเวลาใดที่เป็นอกุศล ขณะนั้นไม่ใช่ปัญญา เพราะฉะนั้น ถ้าเราสะสมปัญญามากขึ้น แม้แต่เรื่องการเชื่อกรรมของเรา ก็จะสอดคล้องกับกายวาจาของเราด้วย เพราะเหตุว่าเราอาจจะพูดเรื่องกรรมแต่ว่า เราเป็นอกุศลมากเลย มานะก็มี ริษยาก็มี อะไรๆ ก็มีหลายอย่าง แต่บอกว่าเราเชื่อเรื่องของกรรม นั่นก็เป็นการเรียกว่าเชื่อโดยคำ แต่ยังไม่ได้เชื่อโดยความมั่นคงจริงๆ ในเรื่องของกรรม

    ผู้ฟัง ท่านพระเทวทัต ท่านไม่ได้มีความเห็น ผิด แต่ว่าท่านทำอกุศลกรรมอย่างหนักเลย แล้วก็ท่านก็แน่นอนกว่าเราจะได้เป็น พระปัจเจกพระพุทธเจ้า ขณะนั้นกัมมัสสกตาสัมมาทิฏฐิของท่านไม่มีเลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ หมายความว่า ตราบใดที่ท่านพระเทวทัตยังไม่ได้เป็นพระโสดาบัน การเชื่อกรรมของพระเทวทัต จะเท่ากับผู้ที่เป็นพระโสดาบันไหม เพราะเหตุว่าถ้าท่านมีความเชื่อเรื่องกรรมจริงๆ ท่านทำอนันตริยกรรมไม่ได้ เพราะความเชื่อในเรื่องของกรรม แต่เพราะเหตุว่าปัญญาที่แต่ละคนมีมากน้อยต่างกัน ถ้าปัญญานั้นมีน้อยเพียงแต่ว่า ตามๆ เขาว่ากรรมมี แล้วเราก็เชื่อบ้าง แต่ความชื่อของเรา เรารู้ได้เลยว่า ไม่มากพอ ที่จะเป็นกุศลในขณะที่อกุศลธรรมเกิด ก็แสดงว่าขณะนั้นความเชื่อเรื่องกรรมของเราน้อยมาก ต้องมีความมั่นคงกว่านี้

    ผู้ฟัง ที่เคยสะสมไว้ ก็ไม่หายไปไหน

    ท่านอาจารย์ ไม่หาย ทุกอย่างที่เป็นกุศล หรือ อกุศลที่เคยสะสมไว้ เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิด เพราะฉะนั้น เวลาใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกุศลประเภทใด หรืออกุศลประเภทใดเกิด ให้ทราบว่า เพราะมีปัจจัยที่สะสมมา ระดับที่จะทำให้สำเร็จกิจ คือ สภาพธรรม ในขณะนั้นเกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น จะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ขณะใดที่ อกุศลธรรมเกิดขึ้น ขณะนั้นส่องไปถึงการสะสมของเรา ว่าเรายังมีการสะสมที่จะทำให้อกุศลธรรมระดับนี้เกิดขึ้น

    ผู้ฟัง เนื่องจากการสะสมอุปนิสสยปัจจัย ๑, ๒ การสะสาจากการศึกษา ๑ ก็ยังไม่เชื่อ จนกว่าเราจะได้รับผลของกรรมนั้น จึงจะมั่นคงในกรรม อันนี้มันเป็นไปได้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ใช่ แต่ว่าคุณสุรีย์พูดถึงเวลาที่ผลของกรรมบางอย่างปรากฏ ใช่ไหม แล้วคุณสุรีย์ก็เชื่อ แต่ว่าถ้าเป็นผู้ที่ละเอียดกว่านั้น แล้วก็มีความมั่นคงกว่านั้น ก็คือว่าเดี๋ยวนี้ที่เห็น เป็นผลของกรรม เราไม่ต้องไปรอจนกระทั่งอุบัติเหตุ หรือโรคภัยไข้เจ็บ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ดิฉันอยากจะเรียนถามเรื่องของ ความมั่นคงของกรรม เรามักจะเลยไปแล้วก็ไม่เชื่อ แม้เราจะว่าตาม มาหลายปีแล้วก็ตาม แต่เราจะเชื่อตอนเราได้รับเท่านั้น แต่เรายังไม่ซึ้งถึงว่าแม้ขณะที่เราเห็น แม้ขณะที่เราได้ยิน นี้ก็เป็นผลของกรรม นี้คือ ความต่างกันของคำว่า มั่นคง ใช่หรือเปล่า ดิฉันกำลังเข้าถึงคำว่า มั่นคง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ปัญญาแม้แต่เรื่องของกรรมก็หลายระดับ

    ผู้ฟัง เวลาสติปัฏฐานเกิด เราก็จะประจักษ์ในนามหรือรูปอันใดอันหนึ่ง กำลังปรากฏในขณะนั้น ส่วนสัมมาสังกัปปะ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวิริยะ อะไร อย่างนี้ไม่ได้ปรากฏเป็นอารมณ์ของ สติปัฏฐานในขณะนั้น นี่ แล้วเราจะนำมาเป็นเครื่องตรวจสอบได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ จะไม่มีการนำมาเป็นเครื่องทดสอบ ขณะนี้มีอารมณ์ จิตเกิดขึ้นต้องมีอารมณ์ แต่เราไม่รู้จักอารมณ์ตามความเป็นจริงเช่นในขณะนี้ รูปารมณ์ คือ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา เราก็ยังไม่คุ้นไม่ชินที่จะรู้จริงๆ ว่า เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏแล้วก็ยังมีสภาพธรรมอื่นๆ เกิดสืบต่อตลอดเวลา

    เพราะฉะนั้น การที่เป็น สติปัฏฐาน ก็คือว่าขณะนั้น สติเกิดระลึกลักษณะที่เป็นธรรม ไม่ใช่เป็นเรา แม้แต่จะเป็นโลภะ หรือจะเป็นโทสะ หรือจะเป็นวิรตี หรือจะเป็นอะไรก็ได้ ศรัธทา หรืออะไรก็แล้วแต่ เท่าที่สติระลึก ถ้าสติระลึกสภาพธรรมใด ปัญญาก็จะอบรม คือ ค่อยๆ เข้าใจถูกในความเป็นธรรมของสภาพธรรม ที่สติกำลังระลึก แต่ถ้าสิ่งใดที่สติไม่ระลึก เราก็ไม่สามารถที่จะไปรู้ในความเป็นธรรมนั้นได้ เช่น ผัสสเจตสิก ถ้าสติไม่ระลึก แล้วเราจะไปรู้ว่าผัสสะ ปัจจตตะ ลักษณะของผัสสเจตสิก คืออย่างนี้ ลักษณะเฉพาะของผัสสเจตสิกคืออย่างนี้ไม่ได้ แต่ข้อความที่แสดงไว้ทั้งหมดในพระไตรปิฎก ผู้รู้ทั้งนั้น ที่เป็นผู้แสดง

    ผู้ไม่รู้ซึ่งกำลังจะค่อยๆ รู้ ก็จะต้องค่อยๆ พิจารณาแล้วเข้าใจให้ถูกต้อง ว่าเราเข้าใจขั้นคิด แล้วก็ขั้นฟัง แต่ขั้นที่จะรู้จริงๆ ว่าเป็นธรรม ก็ต่อเมื่อใดไม่หลงลืมสติ สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมใด ก็จะค่อยๆ เข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมนั้น โดยไม่เลือก แล้วก็โดยไม่เจาะจง ว่าจะไปรู้วิรตีขณะนั้น หรือจะไปรู้ศรัทธาขณะนี้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ทุกอย่างเป็น ธรรม ซึ่งปัญญาจริงๆ ต้องรู้ทั่ว ถ้าไม่ทั่วก็ไม่ละ ยังมีความเป็นเราแทรกอยู่อย่างละเอียดมาก เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงสามารถที่จะละโลภะ ความติดข้อง ตราบใดที่ยังมีความติดข้อง ต้องการด้วยความเป็นเรา ขณะนั้นก็ไม่สามารถที่จะถึงนิพพานได้

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 102
    25 มี.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ