ปกิณณกธรรม ตอนที่ 599
ตอนที่ ๕๙๙
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๔
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ทุกอย่างเป็นธรรม ซึ่งปัญญาจริงๆ ต้องรู้ทั่ว ถ้าไม่ทั่วก็ไม่ละ ยังมีความเป็นเราแทรกอยู่อย่างละเอียดมาก เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงสามารถที่จะละโลภะ ความติดข้อง ถ้าตราบใดที่ยังมีความติดข้อง ต้องการ ด้วยความเป็นเรา ขณะนั้นก็ไม่สามารถที่จะถึงนิพพานได้
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นก็อย่างมรรค ๕ ที่เกิดในสติปัฏฐาน ก็เกิดขึ้นทำงานเพื่อที่จะให้สติปัฏฐานเกิด ใช่ไหม ในขณะนั้น
ท่านอาจารย์ เกิดพร้อมกันในขณะที่ มีอารมณ์ที่วิรตีเจตสิกเกิด
ผู้ฟัง เป็นสหชาต
ท่านอาจารย์ ทีละหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงมีข้อความว่า ส่วนในขณะแห่งโลกียมรรค ย่อมมีองค์ ๕ แน่ เมื่อมีองค์ ๕ แน่ก็กล่าวถึง โลกียมรรคมีองค์ ๕ เพราะ แน่นอน แต่วิรตีไม่แน่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค จึงไม่ตรัสว่ามี ๖ เพราะไม่แน่ แต่ตรัสว่ามีองค์ ๕ เท่านั้น นี้เป็นเหตุตรัสเรื่องมรรคมีองค์ ๕ ไม่ได้ตรัสเรื่องมรรคมีองค์ ๖
ผู้ฟัง วิชชาในที่นี้ที่มันจะเป็นหัวหน้าของกุศลที่ตรงข้ามกับอกุศลนี่ มันก็น่าที่จะเป็นวิชชาที่มีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นที่จะทำให้เราออกจากวัฏฏะได้
ท่านอาจารย์ ใช่ ปัญญาของเรา เพิ่มทีเดียวลึกซึ้งไปถึงระดับนั้นไม่ได้ ต้องค่อยๆ เพิ่ม
ผู้ฟัง แล้วที่เป็นหัวหน้า คือ กัมมัสสกตาปัญญา หรือ
ท่านอาจารย์ วิชชา กับ อวิชชา อวิชชาก็เป็นหัวหน้าทางฝ่ายอกุศล
ผู้ฟัง แต่วิชชาในที่นี้คือ กัมมัสสกตาปัญญา
ท่านอาจารย์ วิชชา แปลว่า ความรู้ถูก ความเห็นถูก แล้วแต่ว่าจะยกขึ้นมากล่าวถึงปัญญาระดับไหน
ผู้ฟัง แต่ในพระสูตรท่านยก
ท่านอาจารย์ ได้แก่ กัมมัสสกตาปัญญา
ผู้ฟัง แล้วก็ต้องมีอื่นๆ ขึ้นมากล่าว
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์บอกว่าการศึกษาธรรม จะต้องเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ ผมเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้นก็คือจะต้องปรากฏต่อสติปัฏฐาน อันนี้คือความเข้าใจที่ถูกต้องไหม
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ อะไรกำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ขณะนี้มันเป็นแต่เรื่องราวที่กำลังปรากฏ กำลังฟังธรรมจากท่านอาจารย์
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏไหม มีปัญญารู้สิ่งที่ปรากฏ หรือยัง
ผู้ฟัง ยังไม่มี
ท่านอาจารย์ ยังไม่มี ก็อบรมปัญญา รู้สิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่สิ่งที่ไม่ปรากฏ
ผู้ฟัง ถ้าพูดถึง ก็ต้องเข้าใจในขณะที่ธรรมปรากฏ ผมก็มาพิจารณาจากเดี๋ยวนี้เอง กำลังฟังท่านอาจารย์ เรื่องราวต่างๆ ที่คุยสนทนากันนี้ ผมคิดว่าผมเข้าใจ แต่ว่าไม่ใช่สติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ถูก ก็ถูก
ผู้ฟัง ความเข้าใจในการศึกษาธรรมก็คงจะต้องมี หลายระดับ มีความละเอียดลึกซึ้ง
ท่านอาจารย์ แน่นอน ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก ปัญญาของเราก็เริ่มแล้วก็ค่อยๆ เจริญเติบโตขึ้น ทีละเล็ก ทีละน้อย
ผู้ฟัง ผมเอง เป็นผู้ฟังธรรม จะต้องเข้าใจตัวเองว่า เข้าใจระดับไหน ระดับที่เข้าใจในลักษณะเรื่องราว หรือเข้าใจในลักษณะที่ธรรมกำลังปรากฏ ซึ่งเป็นรูปธรรม และนามธรรม
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ตรง
ผู้ฟัง ตรงนี้ ก็ตรงกับที่ได้ดิฉันได้ยินเหมือนกันผู้ที่มีสนทนาก็ เรียนท่านอาจารย์ บอกว่า เดี๋ยวนี้ ดีขึ้นเลยนะ โกรธน้อยงลง ดิฉันก็เห็นดีด้วย แต่คำตอบของท่านอาจารย์คือ ตรงนี้ก็ไม่ถูก เพราะว่ายังอยากจะดี
ท่านอาจารย์ ใครจะตอบได้ เวลาที่มีใครทำดี แต่ละคนมีอะไรอยู่ในใจ ใจของแต่ละคนเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นเลย ลึกล้ำมาก เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะไปพยากรณ์ว่าคนนี้ เป็นอย่างนี้ คนนั้นเป็นอย่างนั้น ผู้ที่จะพยากรณ์ได้ก็คือพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เพราะฉะนั้น ในขณะที่ทำดี ก็มีอัตตาธิปไตย หรือว่าโลกาธิปไตย หรือว่าธรรมาธิปไตย มิฉะนั้นก็ไม่ทรงแสดงไว้เลย ถ้าทำดีก็คือดีทั้งหมด แต่นี่ดีในขณะนั้น โดยฐานะของอัตตาธิปไตย หรือว่าโลกาธิปไตย หรือว่าธรรมาธิปไตย
ผู้ฟัง ตรงนี้ จะทำให้เข้าใจผิดได้ ตอนที่มาศึกษาใหม่ๆ เพราะว่าอยากจะดี แต่จริงๆ แล้ว ฟังที่ท่านอาจารย์ แสดง เหมือนกับว่าระลึกรู้ จพดีหรือจะเลวก็ระลึกรู้ว่าเป็นธรรม ตรงนี้
ท่านอาจารย์ พระผู้มีพระภาค ตรัสรู้ ธรรมตามความเป็นจริง เราผู้ศึกษาก็ต้องค่อยๆ เข้าใจจริงอย่างนั้นด้วย ถ้ารู้ว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แล้วเราจะมานั่งเป็นเราทำ เราพยายาม เราอะไรอย่างไร เราก็ไม่ถึงการที่จะเข้าใจได้ ว่าแม้แต่คิด บังคับก็ไมได้ คิดดีหรือคิดชั่ว ก็บังคับไม่ได้ วาจาอย่างไรก็ต้องเป็นไปตามปัจจัยทั้งนั้น
เพราะฉะนั้น ถ้าเราค่อยๆ เข้าใจมีความตรง ที่จะเข้าใจว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ตั้งแต่เบื้องต้น วันหนึ่งๆ ที่เราจะ เข้าใจ ตัวเรา ใจเรา กิริยาท่าทางของเรา หรือคำพูดของเรา เราก็สามารถที่จะเห็น ความเป็นอนัตตาได้ แทนที่เราจะฟังธรรมด้วยการเป็นเรา ฟัง แล้วก็ฟังธรรมเป็นเรา รู้ หรือว่าฟังธรรมเป็นเราเข้าใจ ก็มีเราติดตามไปตลอด แล้วก็ทำดีก็คือเราทำก็ไม่พ้นจากเราได้ แต่ว่าไม่ว่าขณะนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม เพราะเรามีความเข้าใจถูกต้องมั่นคงจริงๆ ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราก็จะทำให้เราคลายความติด คลายความยึดมั่นในความเป็นเรา เพราะเหตุว่าความติด ความยึดมั่นในความเป็นเราละเอียดมาก จะดับเมื่อถึงโสดาปัตติมรรค ก็ลองคิดดูก็แล้วกันว่า ยังไม่ถึง กว่าจะถึง แล้วเดี๋ยวนี้อยู่ตรงไหน ที่จะถึง ก็จะต้องเป็นเรื่องที่เข้าใจจริงๆ มั่นคงจริงๆ แล้วก็เป็นปัจจัยให้สติ มีการระลึกได้ เมื่อมีปัจจัยสติเกิดก็ไม่ใช่เราที่ระลึก แต่ว่าความเป็นเราไม่พ้นไปเลย จะละเอียดขึ้นๆ ซึ่งปัญญาที่เห็นความติดข้อง ในสิ่งที่ปรากฏด้วยความเป็นเรา หรือของเราจะทำให้ละความยึดถือว่าเป็นสภาพธรรมนั้นได้ แต่ถ้าไม่มีปัญญาที่จะรู้ พากเพียรด้วยความเป็นเราไม่มีหนทางที่จะรู้ความจริงว่า ไม่เป็นเราได้
ผู้ฟัง เรื่องความฝันที่บอกว่า ความฝันนี้ก็เป็นวิถีจิต บางครั้งฝันไม่นึกเลยว่า มัน เรา จิตเราทำไมมันจะเลว ฝันได้ถึงขนาดนั้น
ท่านอาจารย์ ยังไม่เห็นตัวจริง ไง ฝันก็จริง เวลาไม่ฝันก็คิดว่าดี แต่พอฝันปรากฏรู้ได้ใช่ไหม ว่าเราเลวแค่ไหน
ผู้ฟัง ตื่นมาตกใจว่าทำไมเราเลวขนาดนี้ อ้อ โชคดี ไม่ใช่เป็นความจริง
ท่านอาจารย์ มีคนหนึ่ง เขาก่อนที่ศึกษาธรรม เขาก็เป็นคนที่ติดเหล้ามากเลย แต่แล้วตอนหลังเขาก็เลิก แล้วเขาก็รู้สึกจะ พยายามทานเจ เพราะรู้สึกว่าเขาก็ติดรส อาหาร คือพยายามทุกอย่าง ที่จะดี แต่ด้วยความเป็นเรา แต่คำสอนของพระพุทธศาสนา ทุกอย่างไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น ก็เป็นความต่างกันที่จะรู้ความจริง ว่าสิ่งที่มีจริงๆ จะเลวระดับไหน จะดีระดับไหน ก็เพราะมีเหตุปัจจัย ถ้าไม่มีเหตุปัจจัยที่จะให้ถึงระดับนั้น เลว หรือดี ระดับนั้น ก็เกิดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ศึกษาเพื่อที่จะให้เข้าใจความจริงขึ้น แล้วคนนี้ คืนหนึ่งก็เกิดฝันว่า อยากทานเหล้ามาก เพราะว่าเขาเว้นมานาน แต่ในความฝันสัญญาความจำในรส ในความที่เคยติดข้อง ก็ทำให้เวลาที่ฝัน มีความรู้สึกอย่างนั้นคืออยากที่จะรับประทานเหล้ามาก แต่ก็ตื่นขึ้นก็อย่างที่คุณบงว่า ก็ไม่ใช่ขณะที่อยากรับประทาน แต่ว่าเป็นคนละขณะ
แต่ความฝันส่องถึงสิ่งที่สะสมมา เช่น พระรูปหนึ่ง ท่านมีความสลดใจจากความฝันที่ท่านฝันว่า ท่านขี่ช้างบิณฑบาต เห็นไหมว่าความสำคัญตน ความเป็นเรา แล้วก็ขี่ช้างด้วย อะไรอย่างนี้ ทุกอย่างที่มี ถ้าไม่มีความฝันแสดง เราจะไม่รู้ ว่าเราร้ายแค่ไหน หรือว่าเรามีอกุศลที่ไม่ดี แค่ไหน แต่ถ้ามันปรากฏในความฝันก็แสดงว่ายังมีสิ่งนั้นอยู่ ทั้งๆ ที่เวลาไม่ฝันดี เป็นคนดี แต่คนดี แต่พอฝันเกิดขึ้นจะรู้ได้เลยว่ามีสิ่งที่สะสมมาที่จะทำให้ รู้ว่ายังมีอยู่
แล้วอีกอย่างหนึ่ง ข้อที่ควรพิจารณา เพราะว่าเรื่องของมโนกรรม หมายความว่า เวลาที่เจตนาเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตทุกประเภท ทุกขณะ ถ้าเป็นอกุศลจิตก็เป็นอกุศลเจตนา ถ้าเป็นกุศลจิตก็เป็นกุศลเจตนา ทีนี้ข้อควมในอรรถกถาที่แสดง ไว้ว่าแม้แต่อกุศลจิตในฝัน ก็มีผล เราต้องพิจารณาคำนี้ อย่างเพิ่งรับโดยที่ว่าเราก็อ่านแล้วเข้าใจแล้ว ในความหมายของท่าน แล้วเราก็ปฏิเสธไม่ได้ เพราะฉะนั้น จะมีอะไรอยู่ตรงนั้น ที่จะทำให้เราเข้าใจชัดเจนขึ้น แต่ถ้าเรารู้ว่าเรื่องของกรรม มีทั้งบุรพเจตนา ความรู้สึกก่อนที่จะทำ และในขณะที่กำลังกระทำก็มี หรือว่าหลังจากที่ทำแล้วก็มี เพราะฉะนั้น ก็ต้องพิจารณาว่าขณะนั้น เป็นขณะไหน ไม่ใช่ขณะที่กำลังกระทำ เพราะฝัน หรือว่าเป็นขณะซึ่ง เราอาจจะระลึกถึงสิ่งที่เราเคยกระทำแล้ว แล้วเราฝัน ขณะนั้นเราก็เกิดความปิติโสมนัส เป็นเจตนาที่หลังจากที่กระทำแล้วก็ได้ เพราะฉะนั้น ถ้าคิดถึงกิจของกรรม เราก็ควรที่จะพิจารณาด้วย ว่าเราไม่ใช่ควรคิดที่จะคิดถึงแต่เฉพาะกรรมในฐานะที่เป็นกาลว่าให้ผลในปัจจุบันชาติ หรือว่าให้ผลในชาติหน้า หรือว่าให้ผลในชาติต่อๆ ไป หรือโดยฐานะของครุกรรม กรรมใดเป็นกรรมหนัก จะให้ผล ในชาติต่อๆ ไปทันทีหรืออะไรอย่างนั้น แต่ต้องประกอบพร้อมกันหมด ถ้าการกระทำนั้นยังไม่สำเร็จ ยังไม่ได้กระทำ แม้มีเจตนา ขณะนั้นก็เป็นบุรพเจตนา แน่นอน เพราะฉะนั้น ก็เป็น อุปนิสสยปัจจัยได้ ที่จะทำให้กรรมอื่นให้ผล โดยเป็นอุปถัมภกกรรม หรือว่าเป็นอุปปีลกกรรม เพราะฉะนั้น ก็ต้องพิจารณา เรื่องกิจของกรรมประกอบกันไปด้วย เพราะเหตุว่าเวลาที่วิบากเกิดขึ้นเป็น ผลของกรรมจะต้องมีอุปนิสสยปัจจัยอยู่ด้วย หมายความว่ากรรมใดๆ ที่ได้กระทำไปแล้ว จะเป็นกรรมเล็ก กรรมน้อย กรรมใหญ่อย่างไรก็ตามได้กระทำแล้วก็จริง สะสมไว้หมดไม่ได้ขาดหายไปเลย แต่กรรมไหนให้ผล กรรมนั้นต้องมี อุปนิสสยปัจจัยด้วย ไม่ใช่ว่าไม่อาศัยอุปนิสสยปัจจัย เพราะฉะนั้น เจตนาเหล่านี้ก็เป็นอุปนิสสยปัจจัยด้วย ที่จะทำให้ผลเกิดขึ้น แต่ว่า ไม่ใช่ตัวกรรมแท้ๆ ซึ่งได้กระทำแล้ว แต่ว่าเป็นกรรมที่เป็นบุพพเจตนา หรือว่าเป็นกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากที่กรรมนั้นได้สำเร็จลงไปแล้ว มิฉะนั้นแล้วคงแย่ ใครห้ามความฝันได้ แล้วก็ไม่ได้ทำจริงๆ เลยในฝัน เพราะฉะนั้น ก็ต้องคิดด้วย ว่าถ้าจะเป็นกรรมที่ให้ผลก็คือว่า ในลักษณะไหน
ผู้ฟัง ตรงนี้มันมาตรงกับที่ดิฉันเคยสงสัยอยู่ เหมือนกันว่า ขณะที่ทาง ๔ ทวาร เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส เวทนาที่เกิดคือเป็นอุเบกขาเวทนา ๔ แต่ทางกายแล้ว จะเป็นสุขกับทุกขเวทนา ก็เลยมีความคิดว่า จะเป็น คงจะเป็นอย่างนั้น ผลของกรรมถ้าเบาๆ เวทนาก็เป็นแค่อุเบกขา แต่ถ้าเผื่อมันสุขหรือมันทุกข์ คงจะเป็นผล กรรมที่ทำมารุนแรง หรือว่าเบียด
ท่านอาจารย์ แต่อย่างไรๆ ต้องเป็นกรรมที่สำเร็จแล้ว ไม่ใช่เป็นเพียงอกุศลจิต
ผู้ฟัง ข้อความใน อวิชชาสูตร มีอยู่อันหนึ่งที่บอกว่า ทาน ศีล ภาวนา ยังไม่ใช่ทางสู่ปรินิพพาน ถ้าหากว่าที่กล่าวมานี้ไม่ใช่แล้ว ทำอย่างไรถึงจะไปสู่เส้นทางได้
ท่านอาจารย์ ฟังธรรมให้เข้าใจ เพราะว่าปัญญาเท่านั้น ที่จะถึง ตัวตนหรือความไม่รู้ ถึงไม่ได้ อย่างเรื่องนี้ ใช่ไหม อวิชชาสูตร ก็แสดงอยู่แล้วว่า อวิชชา เป็นหัวหน้าทางฝ่ายอกุศล และวิชชาเป็นทางฝ่ายกุศล
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นมันจะต้องดู ภาวนา ต้องทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าถูกวิธี อย่างนั้นหรือเปล่า หรือว่าจะต้องสะสมปัญญาก่อนจากการฟังธรรม
ท่านอาจารย์ จะทำให้ถูกวิธี ก็คือเราทำให้ถูกวิธี แต่ว่าปัญญาไม่ใช่วิธี ปัญญา เป็นความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ถ้าไม่มีการศึกษาหรือการฟังพระธรรม ที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ทรงแสดง ใครจะรู้ว่าขณะนี้ มีผัสสเจตสิก
ผู้ฟัง ถ้าเราไม่พูดเรื่องฝันเมื่อกี้ อย่างเรายกตัวอย่างที่ว่า บางคนแบบบันดาลโทสะ แล้วก็ อาจจะถึงกับฆ่าใครตายโดยที่ว่าไม่ทันมีสติ ยั้งคิด ถ้ามาเทียบกับฝันเมื่อกี้ก็ไม่ต่างกันมากนัก
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว เป็นสภาพของจิตที่มีกำลัง เจตนาฆ่า ต้องเป็นเจตนาซึ่งมีกำลัง มากกว่าความโกรธ หรือความไม่พอใจ เพียงเล็กน้อย ละเมอ แล้วก็ฆ่า เพราะฉะนั้น ก็แสดงว่าเขาต้องมีเจตนาฆ่า แต่ว่าเพราะเหตุว่า ขาดการรู้สึกตัว อย่างคนที่มี อุทธัจจะมากๆ เพราะว่าเวลาที่เราบอกว่า เราไม่รู้ ขณะนั้นก็หมายความว่าเราไม่สามารถที่จะมีสติหรือว่า ถึงแม้ว่าไม่ใช่ทางฝ่ายกุศล เพียงทางฝ่ายอกุศล ก็ไม่ใช่สัมปชัญญะในภาษาไทย ที่หมายความว่าเป็นผู้ที่รู้สึกตัวว่า กำลังทำอะไรอยู่ หลายครั้งที่เราอาจจะทำอะไรไป โดยที่เราไม่รู้สึกตัว ว่าเราทำอะไร อย่างคนที่ใส่เสื้อกลับ เขาก็ไม่รู้สึกตัว เขาใส่เสื้อ แต่เขาไม่รู้ว่าเขาใส่เสื้อกลับ ขณะที่เขาใส่เสื้อกลับ เพราะความไม่รู้สึกตัว แต่ถ้า ความไม่รู้สึกตัวของเขามากกว่านั้น สามารถที่จะมีได้
เพราะฉะนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ขณะนั้น อุทธัจจะ หรือความไม่สงบของจิต ที่ทำให้ไม่รู้สึกตัว มีมากขนาดไหน จะเป็นเพราะฝันหรือจะเป็นเพราะดื่มเหล้า ไม่รู้สึกตัว หรือจะเป็นเพราะอะไรก็ตามแต่ เพราะว่าบางคนอาจจะเป็นโรค จำชื่อตัวเองก็ไม่ได้ เดินไปไหนก็ไม่รู้ แล้วถ้าเขามีอกุศลเจตสิก คือเจตนาฆ่าเกิดขึ้น ขณะนั้นก็ต้องเป็นปาณาติบาต เพราะเหตุว่าเจตนาต่างหาก ไม่ใช่ใคร แต่เพราะเหตุว่าขณะนั้นจะมีจิตประเภทที่ทำให้ไม่สามารถที่จะรู้สึกตัวตามปกติได้
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์บอกว่า เมื่อไรตัณหาเกิด อวิชชาเกิดด้วย ก็หมายถึงว่าโมหเจตสิก ที่เกิดในโลภมูลจิต ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถูกต้องไม่แยกกันเลย ที่ใดมีตัณหา ที่นั่นมีอวิชชา แต่เวลาที่อวิชชา เป็นปัจจัยให้ตัณหาเกิด อวิชชาเป็นรากของตัณหา แล้วเวลาที่ตัณหาเกิด ก็มีอวิชชาอยู่ด้วย เพราะฉะนั้น ตัณหาก็เป็นรากหรือเป็นมูลของอวิชชาด้วย ข้อความนี้ บทว่า เอกมูลัง ได้แก่ อวิชชาเป็นรากแห่งตัณหา ทั้งตัณหาก็เป็นรากแห่งอวิชชา แต่ในที่นี้ท่านประสงค์ ตัวตัณหา คนอื่นจะว่าอย่างไร จะทำไม ไม่เอาอวิชชาด้วย อย่างนั้นอย่างนี้หรือเปล่า ไม่ได้ เพราะว่าแสดงไว้แล้ว ที่นี่ ท่านประสงค์เอาตัณหา มุ่งหมาย ที่จะแสดงเรื่องของตัณหา ก็ตัณหานั้นย่อมหมุนไป ๒ อย่าง คือด้วย สัสสตทิฏฐิ และ อุจเฉททิฏฐิ อันนี้ก็กล่าวถึงแล้ว เพราะเหตุนั้น ตัณหาจึงชื่อว่า มีความหมุน ๒
ตัณหานั้นมีชื่อว่ามีมลทิน ๓ ด้วยมลทินมีราคะ เป็นต้น ที่เหลือก็คือโทสะ โมหะ โมหะก็ชื่อว่ามีมลทินในที่นั้น เพราะเป็นเงื่อนแห่งสหชาติของตัณหานั้น เงื่อนก็คงจะหมายความถึง ที่ผูก ที่เกาะ ที่ตั้ง เพราะว่าต่อไปจะหมายความถึงเป็นที่อาศัยอย่างมั่นคง โมหะก็ชื่อว่ามีมลทินในที่นั้น เพราะเป็นเงื่อนแห่งสหชาติของตัณหานั้น หมายควาามว่าต้องเกิดพร้อมกัน ราคะ และโทสะอันเป็นไปในกามคุณ ๕ เป็นเครื่องลาดของตัณหานั้น เพราะเป็นเงื่อนแห่งอุปนิสย เป็นที่อาศัยอย่างมั่นคง ที่เราทุกคนในขณะนี้ ไม่พ้นจากความติดข้องในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ เพราะเหตุว่ามีความยินดีพอใจ ทีละขณะ แต่ก็สะสมสืบต่อ จนกระทั่งเป็นที่อาศัยอย่างมั่นคง ที่จะให้โลภะในสิ่งนั้นเกิดขึ้นบ่อยๆ หรือว่าโทสะในสิ่งนั้นๆ เกิดขึ้นบ่อยๆ ถ้าไม่เคยเกิดเลย หรือเกิดน้อยก็คงจะไม่มาก แต่เพราะเหตุว่าในสังสารวัฏฏ์ ไม่เคยพ้นจากความยินดีพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้น จึงเป็นที่อาศัยอย่างมั่นคง เป็นอุปนิสสยปัจจัย มีใครบ้างไหม ที่ไม่มีโลภะ ในรูปมี ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ มีอยู่แล้วมาก ใช่ไหม สะสมมาในแสนโกฏิกัปป์ และแต่ละขณะที่เพิ่มขึ้นอีกทุกวัน เพราะฉะนั้น จึงเป็นที่อาศัยอย่างมั่นคง จึงกล่าวว่าตัณหานั้นแหละ แผ่ไปในธรรมเหล่านั้น
ชีวิตของเราทุกวัน เรามีโลภะ หรือตัณหาติดข้อง ในสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แสวงหาอะไรก็คือไม่พ้นจาก ๕ อย่าง มีใครพ้นจาก ๕ อย่างนี้ไปได้ไหม ไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ตัณหานั่นแหละ แผ่ไปในธรรมเหล่านั้น ไม่เว้นสักอย่าง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า มีเครื่องลาด ๕ เครื่องสำหรับที่ตัณหาจะไปอยู่ไปเกาะ อย่างที่คุณนิพัฒน์ใช้คำว่า ไปนั่ง ไปนอน ไปยืน ไปเดิน แต่ตัณหาไม่มีรูป ไม่มีขา ไม่มีตัว แต่ตัณหาอยู่ที่ไหน ก็อยู่ที่เครื่องลาดที่จะให้ตัณหาไปสู่ หรือว่าให้อยู่ตรงนั้น ตัณหาก็ย่อมอยู่ในรูปในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ มากหรือน้อยแต่ละคน รู้เอง ใช่ไหม ใครมีตัณหาในรูปมาก ใครมีตัณหาในเสียงมาก ใครมีตัณหาในกลิ่นมาก ใครมีตัณหาในรสมาก ใครมีตัณหาในโผฏฐัพพะมาก
ตัณหานั่นแหละชื่อว่าเป็นสมุทร เพราะอรรถว่า ไม่รู้จักเต็ม ที่นี่หมายความถึง ทะเล หรือมหาสมุทร หรือแม่น้ำใหญ่ก็ได้ เพราะเหตุว่าน้ำใส่ไปลงในในทะเลหรือมหาสมุทรนั้นเท่าไร ก็ไม่รู้จักเต็ม มีใครตัณหาเต็มแล้ว ไม่ต้องการอีกบ้าง ไม่มีวันเต็ม ขณะที่ต้องการสิ่งหนึ่งได้แล้ว อีกมือหนึ่งยื่นไปอีกแล้ว แสนเร็ว ไม่ใช่ว่าพอได้มาแล้วก็พอ ได้สิ่งนี้มาแล้ว ยื่นไปสำหรับสิ่งต่อไป ๒ มือยื่นไปตลอด ที่จะได้สิ่งหนึ่ง สิ่งใดมาด้วยความต้องการ นี่คือลักษณะของตัณหา เวลาที่ไปซื้อของอาจจะเห็นชัด อันนี้ก็ชอบซื้อมาแล้ว อันนั้นก็ซื้ออีก เดี๋ยวอันนั้นก็ซื้ออีก คือไม่รู้จบทั้ง ๒ มือ ยื่นไปตลอดเวลา นี่ก็คือตัณหานั้น ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนไปในอายตนะ ๑๒ ทั้งภายใน และภายนอก ถ้าไม่มีตาเห็น ก็ไม่รู้จะไปชอบอะไร ถ้าไม่มีสิ่งที่ถูกเห็น ทุกอย่างที่เราพอใจ เราพอใจในสิ่งที่เห็น ถ้าไปพูดถึงอะไรสักอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เคยเห็นเลย ไม่รู้จะชอบอย่างไร เพราะไม่เคยเห็น แต่เวลาที่ปรากฏให้เห็น แล้วก็ ติดข้องได้ทันที ทั้งเสียง ทั้งกลิ่น ทั้งรส ทั้งโผฏฐัพพะ ก็โดยนัยเดียวกัน ซึ่งก็ต้องเนื่องจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะฉะนั้น สิ่งที่ตัณหาแสวงหา ติดข้องต้องการ หมุนเวียนไป ก็ในอายตนะ ๑๒ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ คืออารมณ์ที่รู้ได้ทางใจอีก ๖ เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้นจึงชื่อว่า หมุนไปได้ ๑๒ ด้าน อันนี้ไม่สงสัย เดี๋ยวก็จะถึงคำที่เราถามถึงเมื่อกี้นี้ ก็ตัณหานั้น ท่านเรียกว่า บาดาล เพราะอรรถว่าไม่ตั้งมั่น ไม่อยู่ที่เดียว หมุนไปทั้ง ๑๒ เดี๋ยวโน่นนิด เดี๋ยวนี่หน่อย เดี๋ยวนั่นอีก เดี๋ยวนั่นอีก เดี๋ยวทางนั้นอีก ทางนี้อีก เพราะฉะนั้น จึงไม่ตั้งมั่น ที่อารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใด เพราะเหตุว่าความพอใจของแต่ละคนหมุนเวียนไป ดอกกุหลาบวันนี้ชอบ กำลังสวย ถ้าเหี่ยวไปแล้ว ก็ไม่เอาแล้ว หมุนไปใหม่ หาใหม่ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ตั้งมั่น ในอันหนึ่ง อันใด บางคนก็อาจจะคิดว่า เขาชอบสิ่งหนึ่ง สิ่งใดมาก แต่พอเก่าแล้ว เบื่อหรือยัง เบื่อละ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ได้ตั้งมั่นอยู่ที่ ๑ ที่ใดที่แน่นอน ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ตัณหานั้นท่านเรียกว่า บาดาล ตามศัพท์ภาษาบาลีซึ่งอาจารย์สมพร ท่านให้ความหมายว่า ภาษาบาลีได้แก่คำว่า บาตาละ ทีนี้ต่อไปนี้ เวลาที่ไยินคำว่า บาดาล คนที่ศึกษาธรรมเข้าใจได้ ไม่เคยเข้าใจอย่างเก่าว่า เป็นดินแข็งๆ หรือ ว่าเป็นพิภพใต้น้ำของนาคหรืออะไรๆ อย่างนั้นๆ แต่รู้ว่า บาตาละ หรือ บาดาล หมายความถึง ไม่ตั้งมั่น ได้แก่ ก็ตัณหานั้น ท่านเรียกว่า บาดาล เพราะอรรถว่าไม่ตั้งมั่น ต่อไปนี้ใช้คำว่าภาษาบาลี แล้วก็เข้าใจกันได้สำหรับผู้ที่เข้าใจ ตัณหาของใครตั้งมั่นบ้าง
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 541
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 542
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 543
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 544
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 545
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 546
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 547
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 548
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 549
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 550
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 551
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 552
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 553
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 554
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 555
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 556
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 557
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 558
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 559
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 560
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 561
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 562
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 563
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 564
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 565
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 566
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 567
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 568
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 569
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 570
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 571
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 572
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 573
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 574
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 575
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 576
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 577
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 578
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 579
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 580
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 581
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 582
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 583
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 584
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 585
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 586
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 587
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 588
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 589
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 590
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 591
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 592
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 593
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 594
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 595
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 596
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 597
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 598
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 599
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 600