ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
ตอนที่ ๖๑๒
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมจริงๆ เป็นสิ่งที่ลึกซึ้งแม้มีอยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทุกวัน ไม่ขาดเลย เมื่อวานนี้มีใครขาดเห็นบ้างไหม มีใครขาดได้ยินบ้าง มีใครขาดการรู้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส การคิดนึก แต่ไม่รู้ หรือว่าใครเริ่มรู้ แม้แต่เพียงนิดๆ หน่อยๆ แต่จริงๆ แล้วก็เริ่มฟัง แล้วก็เริ่มเข้าใจ เข้าใจลักษณะของสภาพที่มีจริง ยิ่งขึ้นจนกว่าจะรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมนั้น
อย่างผู้ที่ตรัสรู้แล้วทรงแสดง ถ้าพระองค์เพียงแต่ตรัสรู้แล้วคนอื่นไม่สามารถจะรู้ตามได้ ไม่ใช่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเหตุว่าแม้ธรรมจะลึกซึ้ง ลึกซึ้งอย่างไรก็ตาม แต่พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ ทรงแสดงไว้ละเอียดมาก ที่จะทำให้เราสามารถเข้าใจถูกได้ เมื่อได้ยินได้ฟังเพิ่มขึ้น เช่น เห็นขณะนี้ เหมือนธรรมดา ทุกคนเห็น แต่ไม่รู้ปัจจัยว่าถ้าไม่มีจักขุปสาท กับสิ่งที่สามารถกระทบจักขุปสาท การเห็นจะมีไม่ได้เลย จะไม่มีการรู้เลยว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาเป็นอย่างนี้ทุกชาติ เพราะฉะนั้น แม้แต่จักขุปสาท ผลิตหรือว่าทำให้เกิดหรือเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่จะทำให้จิตชนิดหนึ่ง เกิดขึ้นคือจิตเห็นเท่านั้น จักขุปสาทจะไม่สามารถที่จะเป็นปัจจัย ทำให้ได้ยินเกิดได้เลย เห็นไหม แค่ตา นี้ทางตาที่กำลังเห็น มีสภาพธรรมที่จะเป็นปัจจัยที่จะทำให้ เฉพาะจิตชนิดนี้คือ จิตเห็น เกิดขึ้นเห็น แต่ไม่สามารถจะเป็นปัจจัยให้จิตได้ยินเกิดขึ้นได้ยินที่จักขุปสาท นี่ก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ซึ่งก็เป็นปกติในชีวิตประจำวัน แต่ไม่รู้ เพราะเหตุว่าเป็นภาวะ หรือเป็นสภาพธรรมที่ลึกซึ้ง โดยสภาวะนั้นเอง มีจริงแต่ใครจะรู้ได้แต่จากการฟังค่อยๆ เข้าใจ ความเป็นอนัตตา แล้วก็ไม่ทิ้งความหมายเดิมที่เคยเข้าใจ เข้าใจว่าสภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ก็ต้องเป็นอนัตตาจนกว่าจะประจักษ์แจ้ง ความเป็นอนัตตา โดยการที่เมื่อระลึกเมื่อไรก็ มีความเข้าใจในความเป็นอนัตตา ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรม สำหรับสภาพธรรม ลึกซึ้งโดยสภาพธรรม โดยภาวะของความเป็นธรรมนั้นๆ ใครคิดว่าไม่ลึกซึ้งบ้าง ไม่มีทางเลย ยิ่งรู้ละเอียด ทุกขณะจิต ผู้ที่รู้แล้ว สามารถที่จะเห็นความเห็นอนัตตา คือ ลักษณะของสภาพธรรมนั้นปรากฏ โดยฐานะ โดยความเป็นนามธรรม หรือรูปธรรมเท่านั้น ซึ่งเมื่อเป็นจริงอย่างนี้ วันหนึ่งจะรู้ได้ไหม สภาพธรรมที่เป็นจริงอย่างนี้ แล้วมีความเข้าใจถูกอย่างนี้ ไม่คลาดเคลื่อนจะรู้ความจริงนี้ได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ ด้วย ขันติบารมี ความอดทน เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจความหมายของ ขันติ เพิ่มขึ้น ใช่ไหม วันนี้ไม่ได้อดทนกับรูปดีๆ เสียงเพราะๆ หรือว่ารูปไม่ดี เสียงไม่เพราะ แต่อดทนจริงๆ อดทนจนกระทั่งสามารถ ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏจริงๆ ในขณะนี้ได้ เพราะฉะนั้น ก็จะเข้าใจความหมายของอดทนหลายระดับขั้น
ผู้ฟัง ปกติประจำวันเท่าที่อ่านดู ท่านอาจารย์ ในกิจหรือว่าหน้าที่ของขันติบารมี มีการอดทนต่ออารมณ์ที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจเป็นกิจ ถ้าว่ากันตามปกติแล้วก็เหมือนกับว่าไม่ค่อยมีความอดทนเท่าไร
ท่านอาจารย์ จะอดทนได้อย่างไร ในเมื่อไม่รู้ ตามความเป็นจริง เพราะว่ามีการเห็นตามความเป็นจริง เป็นเหตุใกล้ให้เกิด ถ้ามีคนที่กล่าวร้าย หรือว่าพูดร้าย หรือว่าพูดคำไม่น่าฟัง จิตขณะนั้นหวั่นไหวแล้ว ใช่ไหม เพราะไม่รู้ความจริงว่าเป็นเสียงที่กระทบกับโสตปสาท แล้วจิตได้ยินจึงเกิด แต่ละทวารหรือแต่ละทาง ก็เป็นเหตุเฉพาะๆ ที่จะให้นามธรรม แต่ละอย่างเกิดขึ้น ทางตา จักขุปสาท จะทำให้จิตคิดไม่ได้ จิตคิดจะเกิดไม่ได้เลย จิตอื่นก็เกิดไม่ได้ เป็นที่ตั้งที่เกิดของจักขุวิญญาณจิต ยิ่งเรียนละเอียดก็ยิ่งเห็นพระมหากรุณา ที่ทรงแสดงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรมทั้งหมด ไม่ให้เข้าใจผิดได้เลย
ผู้ฟัง เราฟังๆ ๆ ๆ จนเข้าใจถึงเห็นความเป็นอนัตตา กับท่องๆ ๆ ๆ ๆ ในระหว่างที่ท่อง เขาจำได้ ว่าลักษณะสภาพธรรมเป็นอย่างไร แต่เขายังไม่รู้ตัวจริงของสภาพธรรม แต่ในขณะซึ่งเขาสะสมไปตลอดเวลา ที่เขาท่อง วันหนึ่งเขาจะรู้จักความเป็นอนัตตา ซึ่งเขาคิดว่า ง่าย ใกล้ และเร็วกว่า เรียนถามท่านอาจารย์ว่า อันนี้ความอดทนของวิธีการที่ ๒ จะมีเหมือนกับความอดทนของ ที่ว่าให้ฟังจนเข้าใจอย่างไร ก่อนหรือไม่
ท่านอาจารย์ ต้องพิจารณา มี ๒ อย่างแล้ว ใช่ไหม เวลานี้คือ ท่องกับเข้าใจ ผู้ที่เข้าใจ สามารถที่จะจำได้หรือเปล่า เมื่อเข้าใจแล้ว แต่ว่าเมื่อผู้ที่ท่องแล้วไม่เข้าใจ ท่องแล้วโดยไม่เข้าใจจะจำอะไร
ผู้ฟัง จำแต่ชื่อ
ท่านอาจารย์ จำ คำ แต่ไม่เข้าใจความหมายของคำที่จำเลย เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องละเอียด และก็ต้องมีเหตุผล ๒ คำนี้ คือท่องกับเข้าใจ ก็จะต้องพิจารณาเลย ขณะที่เข้าใจ มีความจำในสิ่งที่เข้าใจด้วยหรือเปล่า แต่ในขณะที่ท่อง ไม่เข้าใจ แต่ท่องมีความเข้าใจในขณะที่ท่อง ด้วยหรือเปล่า เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของความหวัง ว่าถ้าท่องแล้วจะเข้าใจ
แต่ว่าตามความจริงแล้ว ขณะที่กำลังฟังพระธรรมทุกคนไปฟังพระธรรมที่พระวิหารเชตวันบ้าง ไม่ได้ท่องอะไรเลย แต่ขณะที่ฟังๆ ด้วยดี ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย จะได้ไม่ไปคิดเรื่องอื่น ตรัสเรียกให้ฟัง ไม่ใช่ให้ท่อง แต่ว่าให้ฟัง เพราะเหตุว่าการฟัง เมื่อพิจารณาขณะนั้น จะทำให้ เข้าใจ แล้วก็ถ้ามีความเข้าใจแล้วกลัวจะลืม เราก็นึกถึงบ่อยๆ ได้ใช่ไหม
อย่างขันติบารมีบ้าง ปัญญาบารมีบ้าง ถ้าจะบอกว่าบารมี ๑๐ เราก็เริ่มที่จะพิจารณา เข้าใจได้ ตั้งแต่ทานบารมีคืออะไร เพราะว่าต้องเข้าใจจริงๆ ว่า ทาน คือ การให้ การสละวัตถุ ซึ่งการที่จะสละละความเป็นตัวตน หรือความเป็นเราได้แสนยาก สละวัตถุสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ พอได้ ใช่ไหม มากๆ ได้ไหม ก็ไม่ได้ ได้เท่าที่จะสละได้ แล้วก็สละอวัยวะง่ายหรือยาก แล้วยังสละชีวิตอีก เพราะฉะนั้น กว่าที่เราจะสละความเป็นเรา ลองคิดดู ถ้าไม่มีกุศลใดๆ เลย ก็แสดงว่าจิตใจในขณะนั้น หนาแน่นด้วยอกุศลมากน้อยแค่ไหน
เพราะฉะนั้น จากการที่ไม่เข้าใจพระธรรม แล้วก็สละยาก ก็จะเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ของธรรม แต่ไม่ใช่ฝืนอัธยาศัย เพราะว่าบางคนฝืน เพราะอยากจะได้กุศล ชวนกันที่จะทำการสละวัตถุ เพราะหวังว่าจะเป็นกุศล ที่จะทำให้ถึงการะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม แต่นั่นเป็นเรื่องของการฟังเท่านั้น ว่าบารมีจริงๆ ไม่ใช่เป็นการที่ต้องการ เพราะว่าจริงๆ แล้ว สิ่งที่เป็นปรปักษ์กับบารมี คือ โลภะ แต่ไม่สามารถที่จะเห็นโลภะซึ่ง สามารถที่จะพาไปได้ทุกแห่ง พาไปให้ทานก็ได้ พาให้รักษาศีลก็ได้ พาให้จิตสงบจนถึงอรูปฌานก็ได้ แต่ยังอยู่ในสังสารวัฏฏ์ฏ
เพราะฉะนั้น ประโยชน์สูงสุดก็คือในชาตินี้ ที่มีโอกาสจะได้ฟังพระธรรม พระธรรมก็คือการตรัสรู้ที่สามารถเข้าใจความจริง แล้วทรงแสดงให้คนอื่นได้ยินได้ฟังได้ไตร่ตรอง ก่อนที่เราจะสิ้นชีวิตไป เพราะว่าเราจะไม่รู้เลยว่า เราจะตายเมื่อไร ไม่มีใครรู้แน่นอน เย็นนี้ก็ได้ พรุ่งนี้ก็ได้ แล้วไม่ได้ฟังพระธรรม หรือฟังพระธรรมไม่พอ หรือมัวคิดที่จะทำอย่างอื่น ทั้งๆ ที่สภาพธรรม ก็กำลังมีให้เข้าใจ ข้อสำคัญก็คือว่าสภาพธรรมกำลังมีปรากฏให้ฟัง ให้เข้าใจ
เพราะฉะนั้น ไม่ต้องไปสนใจเรื่องจำ ถ้าเราท่องไปตลอดชีวิต แต่ว่าไม่สามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ เพราะท่องเท่าไร ก็ไม่เข้าใจ นอกจากฟัง แล้วพิจารณาเมื่อไร เริ่มเข้าใจ เมื่อนั้นจึงจะเข้าใจได้ เพราะเหตุว่าการท่องเพื่อจำ แต่การฟังด้วยดี ด้วยการพิจารณา เพื่อเข้าใจ
ถ.ถ้าเราท่องแล้ว เราก็เข้าใจไปด้วย อย่างเริ่มต้นด้วยทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา ๓, ๔ อันนี้ มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร อันนั้นก็เริ่มจะเข้าใจ แล้วก็เริ่มที่จะพิจารณาตัวเองตามที่สิ่งที่ตัวเอง จำมาได้ อันนี้มันก็เกิดปัญญาเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ขอโทษ เวลานี้ทาน ศีล ปัญญาแล้ว ใช่ไหม หรือเนกขัมมะ แล้วจะเข้าใจขณะนี้ได้อย่างไร ขณะนี้มีสภาพธรรมกำลังปรากฏ แล้วกำลังฟัง เข้าใจเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องเนกขัมมะ เรื่องปัญญา เรื่องวิริยะ เรื่องขันติ เรื่องสัจจะ เรื่องอธิษฐาน เรื่องเมตตา เรื่องอุเบกขา ฟัง ๑๐ อย่าง แล้วขณะที่กำลังฟังอย่างนี้ เข้าใจสภาพธรรม ขณะนี้ได้อย่างไร
ผู้ฟัง เข้าใจไม่ได้ นอกจากจำ
ท่านอาจารย์ เข้าใจไม่ได้ นอกจากจำ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ เราควรจะฟังเรื่องที่จะทำให้เข้าใจสภาพธรรม แล้วเมื่อเข้าใจสภาพธรรมแล้ว ไม่ต้องห่วงเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องเนกขัมมะ เรื่องปัญญา เรื่องอะไรเลย เพราะเหตุว่าเมื่อใดสภาพธรรมนั้นๆ เกิดขึ้นปรากฏ เมื่อนั้นก็สามารถที่จะรู้ว่าลักษณะนั้นก็คือลักษณะที่เราเคยได้ยินได้ฟังมานั่นเอง เช่น ลักษณะของนามธรรม กับรูปธรรม ทานเป็นนามธรรม รูปธรรม ศีล เนกขัมมะ ปัญญาพวกนี้ จะพ้นจากปรมัตถธรรมได้ไหม ก็พ้นไปไม่ได้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีความเข้าใจพื้นฐาน พื้นฐานนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด คือสภาพธรรม มีจริง มีลักษณะที่ต่างกัน ๒ อย่าง คือนามธรรมกับ รูปธรรม ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ แล้วก็เริ่มเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ต้องห่วงเรื่องอื่นเลย ไม่ว่าอะไรที่ได้ยินได้ฟังก็คือนามธรรม และรูปธรรมนั่นเอง ถ้าฟังอย่างนี้ต้องมานั่งท่องเป็นบท หรือว่าเป็นเรื่อง หรือว่าเป็นเฉพาะอย่างไหม ว่า เรื่องบารมีก็จะท่องบารมี เรื่องนั้นก็จะท่อง เรื่องนี้ก็จะท่อง แต่ว่าเมื่อมีความเข้าใจแล้วทุกเรื่อง คือนามธรรม และรูปธรรมนั่นเอง
ผู้ฟัง ผมว่าผมมีแนวความคิดร่วมกับอาจารย์สุรีย์ ถ้าหากว่าท่องจำแล้ว แล้วนำสิ่งที่จำได้มาพิจารณาบ่อยๆ มันน่าจะช่วยให้เกิดปัญญาได้เหมือนกัน
ท่านอาจารย์ พิจารณาอย่างไร พิจารณาทาน พิจารณาอย่างไร
ผู้ฟัง พิจารณาว่า ถ้าให้ทานไปแล้ว อันแรกก็เป็นการขัดเกลากิลส ความตระหนี่ถี่เหนียว
ท่านอาจารย์ ก็เป็นคุณวิจิตร ไม่ใช่ธรรม
ผู้ฟัง อันที่ ๒ เปรียบเหมือนฝากทรัพย์สมบัติไว้กับ
ท่านอาจารย์ ทรัพย์ของคุณวิจิตร จะทำอะไรก็เป็นคุณวิจิตร จะขึ้นสวรรค์ก็เป็นคุณวิจิตร จะเป็นรูปพรหมก็เป็นคุณวิจิตร จะเป็นอรูปพรหมก็เป็นคุณวิจิตร เหมือนไม่ได้ยินได้ฟังพระธรรม เรื่องอนัตตา เรื่องนามธรรมกับรูปธรรม
ผู้ฟัง คุณวิจิตรเห็นด้วยกับดิฉัน อาจจะว่า เราเคยเป็นครู เราเคยให้นักเรียนท่อง พอมาถึงตรงนี้ ท่องมันง่ายนะ แล้วมันก็รู้เร็วด้วย แต่ถ้าเผื่อไปฟังให้เข้าใจ กว่าจะรู้อนัตตา มันยาว อย่างที่ดิฉันพูดแล้วว่ามันอาจจะเป็น ไม่ใช่ชาตินี้ ชาติต่อไปก็เป็นได้ แต่ถ้าท่องแล้วมันฉับพลัน ท่องๆ ๆ ๆ ๆ ไปวันเดียวแล้วรู้
ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญ ยาวแล้วไม่ถึง ไม่ใช่ยาวแล้วถึง
ผู้ฟัง ยาวแล้วไม่ถึง ใช่ เพราะฉะนั้น ขันติ จึงไม่มี ดิฉันจะพยายามชี้ ชี้ชัดให้เห็นว่า ถ้าเรา ฟัง สะสมความเข้าใจไป วันหนึ่งเราจะรู้อนัตตา กับพวกที่ท่องๆ ๆ เขาก็จำได้ แล้วเขาก็รู้ว่า เขารู้บารมี ๑๐ แล้วตอนนี้เขารู้อนัตตาแล้วด้วยความเร็ว ด้วยความเป็นตัวตน ทำให้มันดูง่าย มันดูง่ายคนก็ชอบมากกว่า ของยากๆ ดิฉันก็อยากจะชี้ตรงนี้
ท่านอาจารย์ ไม่ทราบท่านผู้อื่นมีความเห็นอย่างไร ง่ายแล้วก็ยังเป็นเรา ไม่มีทางที่จะเป็นอนัตตาได้เลย เพราะว่า กว่าจะเป็นอนัตตา ไม่ง่าย
ผู้ฟัง ใช่ ทีนี้หากว่าเราจะพิจารณา ความเป็นผู้ให้ทาน รักษาศีลบ้าง การอบรมเจริญปัญญาบ้าง ผมว่ามันก็ไม่เกินไป
ท่านอาจารย์ เดี๋ยว คุณวิจิตร ทานก็ยังไม่เกิด แล้วจะพิจารณาทานเมื่อไร นึกถึงทาน
ผู้ฟัง ก็พิจารณา เผื่อไว้ก่อน
ท่านอาจารย์ นั่นสิ ก็เป็นเรื่องนึกคิดไปเรื่อยๆ แต่ไม่ใช่เป็นเรื่องเข้าใจที่จะละความเป็นตัวตน
ผู้ฟัง พิจารณาเผื่อไว้ก่อน แล้วก็ ถ้ามีโอกาสทำทานเมื่อไร ก็พึงกระทำ ผมว่ามันก็ น่าจะช่วยจิตใจผ่องใส ดีขึ้น
ท่านอาจารย์ ลองคิดดู ทานก็ยังไม่เกิดก็นั่งนึกเรื่องทาน แล้วก็เวลาทานเกิดก็ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรม แล้วจะรู้อะไรเมื่อไร
ผู้ฟัง เผื่อเรื่องไว้ พอมีโอกาส
ท่านอาจารย์ ขอโทษ ขณะนี้เป็นโอกาสที่จะเข้าใจ พระธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง ขณะนี้เป็นโอกาสที่จะเข้าใจพระธรรม แต่ว่ายังไม่มีโอกาสที่จะทำทาน
ท่านอาจารย์ ใช่ เพราะเหตุว่าขณะนี้ ถ้าเข้าใจแล้ว ขณะนี้เป็นอย่างนี้ เวลาทานเกิดก็เข้าใจว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรม ที่ไม่ใช่คุณวิจิตร จุดประสงค์ คือ ต้องตรงตามที่ทรงแสดง เพื่อให้เราเกิดปัญญารู้ว่าเป็นธรรม ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา แล้วเราจะไม่เดินทางนี้หรือ ฟังแล้วมากมายเลย รู้เรื่องมาก หรือว่ารู้ธรรมมาก รู้เรื่อง ใช่ไหม
ผู้ฟัง รู้เรื่องมาก
ท่านอาจารย์ มีใครรู้สึกขุ่นใจนิดๆ บ้างไหม
ผู้ฟัง ผมมี
ท่านอาจารย์ มีใช่ไหม ขันติบารมีหรือเปล่า คือเรียนเรื่องนี้อย่างหนึ่ง แต่เวลาที่สภาพธรรมจริงๆ เกิด ถ้าขณะนั้นไม่รู้ ก็คงเป็นเรื่อง แต่ว่าลักษณะของสภาพธรรมจริงๆ จะมีอยู่ในขณะที่กำลังฟัง มีความอดทนไหม วิริยะได้ เป็นบารมี อดทนอะไร อดทนที่จะฟัง เพื่อที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรม จะเข้าใจได้มากน้อยอย่างไรก็อดทน คือทุกคนก็ยังฟังอยู่ ขณะนั้นก็จะเห็นลักษณะของการอดทนได้ ซึ่งการอดทนขั้นฟัง แค่นี้ไม่พอ จะเห็นได้จริงๆ ว่าไม่พอเลย
เราต้องอดทนทุกอย่าง ที่ว่ามีการอดทนที่เป็นบารมี ต้องเพื่อที่จะเข้าใจธรรม ถ้าเราอดทนทั้งคืน เย็บเสื้อสวยๆ สักตัว จะเป็นบารมีไหม ไม่เป็น แต่ว่าเวลาที่เรา ต้องการที่จะเข้าใจ แล้วเราก็ฟังไปพิจารณาไป แล้วเราก็อาจจะอ่านบ้าง สนทนาธรรมบ้าง พวกนี้ ทั้งหมดเป็นลักษณะของความอดทน ที่จะเข้าใจธรรม ซึ่งมีอยู่วิริยะก็มี ในขณะนี้ ทุกอย่างที่เป็นไป เพื่อปัญญา เพื่อความเห็นที่ถูกต้อง จึงจะเป็นบารมี
เพราะถ้าเรามีวิริยะอย่างอื่น อดทนอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่เพื่อความเห็นที่ถูกต้อง ขณะนั้นก็ไม่ใช่บารมี หัวใจของบารมีก็คือ ปัญญา ต้องมีเครื่องประกอบที่จะทำให้เราเข้าใจธรรมขึ้น เช่น การฟังวิทยุ การนั่งฟัง การสนทนาธรรม ทุกอย่างนี้ ที่มีวิริยะ ที่มีขันติเหล่านี้ ก็เพื่อปัญญา เมื่อเป็นเพื่อปัญญาแล้วก็คือเราสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของบารมีได้ชัดขึ้น เช่น อดทน เราต้องมีแน่ๆ วิริยะเราก็ต้องมีด้วย แล้วก็ปัญญาที่เกิดหลังจากที่ฟังแล้วก็จะเป็นเหตุให้เรา เข้าใจธรรมใดที่เป็นกุศล ธรรมใดที่เป็นอกุศล แล้วตั้งมั่นคงในกุศล เป็นสัจจะบารมี
การศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจสัจจธรรมความจริง เพราะฉะนั้น เมื่อเราเข้าใจสัจจะ เราต้องการเข้าใจสิ่งที่เป็นสัจจธรรม แล้วเราจะพูดจะทำในสิ่งที่ไม่ใช่สัจจะได้หรือ นี่ก็เป็นสิ่งที่ค้านกัน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ถ้าเราต้องการความจริง จริงๆ ทุกอย่างของเรา ไม่ว่าจะพูดจะคิดจะทำก็ตรงต่อความจริงอันนั้น เพราะฉะนั้น บารมีทั้งหลาย ก็จะเกื้อกูล เพราะว่าสัจจะ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีได้ มากมายมั่นคงทีเดียว แต่หมายความว่าต้องค่อยๆ สะสม
บางคนเขาก็บอกว่า ก็เรื่องนี้ไม่จริง เขาก็รู้แต่เขา ไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงได้พูดออกไป ก็แสดงให้เห็นความเป็นอนัตตา รู้ว่าเรื่องไม่จริง แต่ไม่รู้ว่าทำไมถึงได้พูดเรื่องที่ไม่จริงนั้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยที่สุดก็เป็นคนตรง ที่จะรู้จักตัวเองว่า อะไรทำให้พูดสิ่งที่ไม่จริงทั้งๆ ที่รู้ ว่าไม่จริง แต่บางคนก็พูดสิ่งที่ไม่จริงแล้วก็พอใจที่จะพูดในสิ่งที่ไม่จริงนั้นต่อๆ ไปอีก นี่ก็เป็นเรื่องที่จะเห็นได้ ว่าถ้าเป็นผู้ที่ต้องการสัจธรรม ต้องการรู้แจ้งสัจธรรมความจริง ต้องตรงต่อความคิด และการกระทำด้วย มิฉะนั้นก็ไม่สามารถที่จะถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้
สำหรับ ความอดทน หรือขันติ ที่ว่า มีการอดทนต่ออารมณ์ที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ ชีวิตประจำวัน ของเรา อีกนานเท่าไร ที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม คงไม่มีใครคิดว่า วัน ๒ วัน เดือน ๒ เดือน หรือชาติ ๒ ชาติ เพราะเหตุว่าการรู้แจ้งอริยสัจจธรรมไม่ใช่ขั้นคิด แต่เป็นขั้นที่สามารถประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมเดี๋ยวนี้ ที่กำลังปรากฏถูกต้อง โดยสภาพที่ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้นก็จะต้องเป็นสภาพที่เป็นนามธรรม หรือ เป็นรูปธรรม ทั้งๆ ที่นามธรรม และ รูปธรรม ก็มีเผชิญหน้า ทุกวัน ทุกขณะ ก็ยังไม่รู้ เพราะฉะนั้น ผู้ที่ตรงก็สามารถที่จะพิจารณาได้ว่าปัญญาของตัวเอง มากน้อยแค่ไหน ต้องอบรมอีกเท่าไร ในขณะที่จะอบรมเจริญบารมีต่อไป ก็จะต้องเป็นผู้ที่อดทน ทั้งต่ออารมณ์ที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจ เพราะว่าทุกคนยังคงติด ในลาภ ในยศ ในสรรเสริญ ในสักการะ หรือว่าในคำชม ยากที่จะไม่ติด ใช่ไหม เพราะเหตุว่าเราอาจจะคิดถึงลาภใหญ่ๆ ไม่หวัง หรือว่ายศใหญ่ๆ ก็ไม่หวัง สรรเสริญมากๆ ก็ไม่หวัง แต่คำชมเล็กๆ พอใจไหม แค่นี้ เล็กก็ติด แล้วลองคิดดูว่ามากจะติดไหม เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีความอดทนที่จะไม่สนใจใยดี หรือไม่เห็นว่าลาภ ยศ สรรเสริญเหล่านี้ ก็เป็นสิ่งชั่วคราวจริงๆ แล้วก็เล็กน้อยมาก อยู่ที่ไหน คำที่ชมหมดแล้ว คำสรรเสริญก็หมดแล้ว ยศก็ตามแต่ ก็เป็นสิ่งที่ชั่วคราวแล้ว ยศก็คืออะไร ลองคิดดูสิว่า คืออะไร ความชื่นชมยินดีพอใจในสิ่งซึ่งไม่มีอะไรเลย เหมือนกับลาภ สักการะ ยศถาบรรดาศักดิ์ต่างๆ สภาวะที่แท้จริงคืออะไร จะพ้นจาก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ดีที่จะได้รับทางตาทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ได้ไหม ก็แค่หูได้ยิน แค่ตาเห็น แค่จมูกได้กลิ่น แค่ลิ้นลิ้มรส แค่กายกระทบสัมผัสสิ่งที่ดี แค่ใจปรุงแต่งให้เป็นเรื่องราวซึ่งเหมือนกับยิ่งใหญ่ หรือว่าสำคัญเหลือเกิน แต่แท้ที่จริงก็คือไม่มีอะไร เพราะเหตุว่าเป็นสิ่งชั่วคราว เห็นนี่ดับแล้ว เกิดแล้วก็ดับ ได้ยินก็เกิดแล้วก็ดับ ไม่มีอะไรเลยที่เที่ยง ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับแล้วเหลืออะไร เพราะฉะนั้น ก็ติดในสิ่งซึ่งไม่มีอะไรเลย เพียงปรากฏชั่วคราวเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะสามารถละ การที่จะสละความเป็นตัวตน และกิเลสทั้งหลาย ก็ต้องเป็นผู้ที่อดทนไม่หวัง หรือว่าไม่ติด ไม่ต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ สักการะ ถ้าใครติดลาภ ยศ สรรเสริญ สักการะ ก็จะทำสิ่งที่ไม่ตรง กับความเป็นจริงได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นโทษอย่างมาก หรือแม้แต่ธรรมที่ตรงกันข้าม เสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ก็เป็นสิ่งที่ทีอยู่เป็นประจำ ใครทำให้ ถ้ารู้จริงๆ ถึงต้นตอว่าใครทำให้ มีใครทำให้ได้ไหม นอกจากกรรมของตนเอง เพราะฉะนั้น เวลาที่จะเสื่อมลาภ ก็เป็นของธรรมดา เสื่อมยศ หรือว่านินทา หรือทุกข์ก็เป็นของธรรมดา จะหวั่นไหวทำไม ในเมื่อเป็นของธรรมดา เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เห็นความสำคัญของลาภ ยศสรรเสริญ สุข ก็คือผู้ที่อดทนต่ออารมณ์ที่น่าพอใจ เห็นว่าเป็นสิ่งเล็กน้อยจริงๆ แล้วก็ไม่ติด ถ้าเป็นฝ่ายที่ตรงกันข้าม ก็คือเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ก็เป็นของธรรมดาอีก ก็ให้รู้ความจริงว่าไม่มีใคร นอกจากสภาพธรรม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660