ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๑๙

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๕


    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่า สภาพธรรมทั้งหมดเลย ไม่มีอะไรซึ่งไม่ใช่สภาพธรรม ในขณะนั้น เพราะฉะนั้น ลักษณะของความเป็นธรรมเท่านั้นที่ปรากฏ ไม่มีอย่างอื่น แทนที่จะอยู่ในโลกของสมมติ และความไม่รู้ แล้วก็มีความไม่อดกลั้น เพราะว่าเป็นคนนั้นที่กล่าวคำนั้น ก็จะมีความโกรธ หรือว่าจะมีโลภะก็ได้ เพราะเหตุว่าถ้ากุศลจิตเกิด ขณะนั้นไม่มีทั้งโลภะ ไม่มีทั้งโทสะ แล้วที่กุศลจิตประเภทนั้นจะเกิดได้ ที่จะป้องกันทั้งโลภะ โทสะ ก็ต้องเป็นขันติที่สังวร ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ และเมื่อประกอบด้วยปัญญา ก็เป็นอันว่าสบาย ไม่ต้องไปนึกถึงว่า ต้องทำอะไร เพราะว่าขณะนั้น เป็นความรู้ที่ถูกต้อง ในลักษณะของสภาพธรรมที่เพียงเกิดขึ้น และดับไป

    ผู้ฟัง ความโกรธมักจะเห็นชัดเจน เพราะหยาบ ทีนี้ขันติจากความโลภะ มันยากมากเพราะว่ามันทำให้เราสบาย

    ท่านอาจารย์ จะมีได้ก็ต่อเมื่อขณะนั้น ระลึก รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้นทางกาย ทางใจ

    ผู้ฟัง อันนี้คือประโยชน์ ของการเจริญสตินั่นเอง ถ้าเผื่อว่าไม่มีการเจริญสติ ขันติ ยิ่งทางโลก ดิฉันว่ามัน รุนแรงกว่าโกรธอีก เพราะว่าเขาจะพาเราเไปลึกๆ ๆ โดยเราไม่รู้ตัว ถ้าโกรธมันยังปฏิฆะ มันยังเกิดกระทบกระแทรก กระเทือน ที่ทำให้รู้ว่าอันนี้มันโกรธแล้วนะ แต่โลภถ้าไปแล้วไปเลย ดิฉันว่ามันจะรุนแรงกว่า

    ท่านอาจารย์ สติจึงเป็นประโยชน์ ในที่ทั้งปวง ในกาลทุกเมื่อ แล้วก็สติก็มีหลายระดับ ถ้าเป็นสติปัฏฐาน ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏชั่วขณะ

    จริงๆ แล้วถ้าเป็นสติปัฏฐาน ที่รู้ลักษณะ ลักษณะนั้นสั้น ถูกไหม ชั่วขณะๆ สติก็ เป็นปกติ แล้วก็รู้ความต่างของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ตามความเป็นจริงได้

    วิทยากร. พูดถึงขันติ ผมก็นึกถึงพระเตมีย ในเรื่องเตมียชาดก ท่านถูกทรมานตั้งแต่ยังเล็ก ยังเป็นทารกอยู่จนกระทั่งอายุ ๑๖ ทรมานด้วยวัยต่างๆ ทำเป็นใบ้ตลอด เพราะความอดทน คนเราถ้าไม่มีขันติ ก็คงไม่สามารถจะทำอย่างนั้นได้ แล้วความอดทนของท่าน เป็นความอดทนของพระโพธิสัตว์ ซึ่งท่านมีความมุ่งหวังอย่างยิ่งใหญ่ว่าท่านจะออกบรรพชา แต่ขันติ เห็นได้ชัดเลยว่า ท่านทรมาน ท่านอดทนอยู่ตั้ง ๑๖ ปี พระราชบิดา พระราชมารดา แล้วก็พวกข้าราชบริพาร พยายามจะให้ท่านพูด ดูๆ แล้วไม่น่าจะใบ้ ไม่น่าจะเป็นคนใบ้ แต่ท่านก็ไม่พูด เพราะถ้าพูดเมื่อไร ก็ได้เป็นกษัตริย์เมื่อนั้น ถ้าเป็นกษัตริย์ แล้วยังจะต้องทำบาปอีกมากมาย แล้วยังต้องไปตกนรกอีก ท่านนึกถึงชาติหนหลังที่ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดินตัดสินฆ่าคน ท่านไปตกนรกอยู่ตั้งนาน กว่าจะพ้นมาได้ ท่านเลยต้องอดทน อดทนจนกระทั่งเขาจะเอาไปฝัง ตอนไปฝัง นายสารถีที่ขับรถไป ก็ไป ๒ ต่อ ๒ สารถีกับท่าน ตอนสารถีกำลังขุดหลุมฝัง ท่านก็ลงมายืดเส้นยืดสาย เรายังแข็งแรงอยู่ จับรถที่นั่งไปแกว่งก็ยังได้ สารถีมองมาเห็น โอ้ ไม่ใช่ธรรมดาแล้วคนนี้ ต้องมากราบมาไหว้อ้อนวอนให้กลับ ก็ไม่กลับ นี้เพราะอาศัยความอดทน ขันติ ขันติ ธีรัสส รังกโร ขันติเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติหิตสุขาวหา ผู้ที่มีขันติ ย่อมนำมาซึ่งความสุข

    ผู้ฟัง ขันติ หมายถึงอดทน และอดกลั้น ความแตกต่างนี้คือ อดทน คือ ไม่แสดงอาการ แต่อดกลั้น คือมันจะรุนแรงกว่าอดทนไหม

    ท่านอาจารย์ คุณแก้ว เวลาที่คุณแก้วกำลังอดทนจริงๆ คุณแก้วต้องนึกไหม ว่านี่อดกลั้น หรือว่านี่อดทน

    ผู้ฟัง ไม่ได้นึก

    ท่านอาจารย์ แต่สามารถที่จะเห็น แต่ละขณะที่เกิดขึ้น ใชไหม ลักษณะที่ต่างกัน เป็นความละเอียด หรือว่าความน้อย ความมากแล้วแต่จะใช้ชื่ออะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าสภาพธรรมนั้นก็มี หลายหลากจริงๆ แล้วแต่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ได้

    วิทยากร. ประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับขันติ ที่เห็นได้ในปัจจุบันนี้ที่ง่ายที่สุดก็คือ ผู้มีขันติ ย่อมห้ามได้ ซึ่งความทะเลาะ วิวาท ถ้ามีความอดทน จะห้ามการทะเลาะวิวาทได้

    ท่านอาจารย์ ขันติเป็นกุศล แล้วถ้าสติไม่เกิด ก็เป็นกุศลไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในขณะที่มีความอดทนอดกลั้น ก็คือในขณะที่สติเกิด โดยเฉพาะมีการสังวร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ในขณะนั้นตามความเป็นจริงว่า เป็นสภาพธรรมแต่ละอย่าง ขณะนั้นอดทน โดยที่ว่าไม่ต้องเป็นเราที่อดทน ใช่ไหม แต่เป็นสภาพธรรม ที่อดทนต่อสภาพธรรมใดๆ ที่ปรากฏ ที่จะไม่เป็นอกุศล เพราะเหตุว่าขณะนั้น เป็นกุศล

    ผู้ฟัง ดิฉันชอบช่วยคนโน้น ช่วยคนนี้ อะไรแบบนี้ ทีนี้ คือแทนที่เราจะวุ่นแต่กับตัวเรา เราก็ไปวุ่นกับคนอื่น อะไรอย่างนี้ แล้วก็ถูกกล่าวจาบจ้วง เราก็เห็นว่าเรามีปฏิฆะ แล้วเราก็พยายามอดกลั้นไม่ตอบ ครั้งแล้วครั้งเล่า แล้วต่อมาเราก็เลยรู้สึกว่า อย่างนี้มันก็มีอกุศลจิต เราเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทั้งเรา และเขา แล้วเราก็เลยเลิกคบ อันนี้ ขันเราแตกไปหรือยัง

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างก็เป็นธรรม แล้วเราก็ฟังเรื่องธรรม แล้วเราก็คิดว่าต่อไปเราจะทำอะไรๆ ทั้งๆ ที่ขณะที่กำลังคิดก็ คือ ธรรม ถูกต้องไหม แต่เราลืมไปหมดเลยว่าเป็นธรรม เป็นเรื่องตัวเราที่จะทำอย่างนี้ ในคราวต่อไป เราขันแตกหรือยัง หรืออะไรอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องจริงซึ่งเราไม่ต้องไปห่วง ว่าเราได้ทำอะไรมาแล้ว เลิกไปแล้ว ขันแตกไปแล้วหรืออะไร หรือข้างหน้าเรา ทำจะอะไรต่อไป นั่นเป็นเรื่องความคิดทั้งหมด

    แต่ความจริงก็คือทุกขณะ ที่เกิดต้องมีปัจจัยที่จะเกิดขึ้น เป็นอย่างนี้ จะไม่เป็นอย่างอื่นเลย ทุกๆ ขณะก็รู้ความจริงว่าเป็นธรรมตรงนั้น ไม่ใช่เป็นธรรมตอนนี้ตรงนี้ เป็นธรรมหมดเลยทุกอย่าง แต่พอถึงเวลาก็ไม่ใช่ธรรม แต่ความจริงต้องอบรม ที่ว่าฝึก ก็คือมีความเข้าใจที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมขึ้น แล้วก็ถ้าจะคิดว่าต่อไปจะทำอย่างไร ก็คือเรื่องแค่คิด แต่จริงๆ แล้วได้ยินได้ฟังมาอย่างนี้ คิดอย่างนี้ ถูกต้องอย่างนี้ พอถึงเวลาจริงๆ แล้วแต่เหตุปัจจัยว่าอะไรจะเกิดขึ้น ก็ไม่ต้องกังวลอะไรมากมาย

    ผู้ฟัง ขอบพระคุณ

    ผู้ฟัง ในเรื่องของสัจจะบารมี พึงพิจารณาในสัจจะบารมีโดยนัยมีอาทิว่า เพราะ เว้นสัจจะเสียแล้ว ศีลเป็นต้นก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีการปฏิบัติอันสมควรแก่ปฏิณญา เพราะรวมธรรมอัน ลามกทั้งปวง ในเพราะก้าวล่วง สัจธรรม เพราะผู้ไม่มีสัจจะเป็นคนเชื่อถือไม่ได้ เพราะนำถ้อยคำที่ไม่ควรยึดถือต่อไป มาพูด อ่านดูแล้วสัจจะบารมีเป็นเหมือนกับว่า คล้ายๆ อธิษฐานอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ สัจจะ คืออะไร

    ผู้ฟัง ความจริง

    ท่านอาจารย์ ความจริง เพราะฉะนั้น ในขณะที่ทุกคนกำลังฟัง ธรรมความจริงอยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง ความจริงก็อยู่ที่นี่

    ท่านอาจารย์ ความจริงอยู่ที่ต้องการเข้าใจถูกต้อง ไม่ใช่อย่างอื่น เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่มีจุดประสงค์ที่มั่นคง มีสัจจะจริงๆ ในการศึกษาธรรม เราจะไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรมใดๆ ทั้งสิ้น แล้วเราก็จะมีความมั่นคง ต่อการที่เราจะศึกษาให้เข้าใจความจริง แม้ในขั้นปริยัติ ขั้นปฏิบัติ ขั้นปฏิเวธ

    เพราะฉะนั้น เราก็จะเป็นผู้ที่สมบูรณ์ ตั้งมั่นในคุณธรรม ทั้งปวง เพราะเหตุว่าผู้ที่ต้องการความจริง ศึกษาด้วยความเคารพ ความจริง ก็จะไม่มีความเห็นผิด ตามความคิดของตนเอง หรือตามความพอใจของตนเอง แม้แต่พระธรรมกล่าวไว้ว่าอย่างนี้ ความจริงของพระธรรมเป็นอย่างนี้ สภาพธรรมเป็นจริงอย่างนี้ ก็ตรง ต่อความจริงนั้น จึงจะได้สาระจริงๆ จากการศึกษา และการเข้าใจธรรม ไม่เปลี่ยนแปลงธรรม ไม่เข้าใจผิด เพราะว่าสัจจะจริงๆ เพื่ออะไร เพื่อความจริง คือ ความเห็นที่ถูกต้อง นี่สำคัญที่สุด ความจริง คือ ความเห็นที่ถูกต้อง ถ้าผิดจะ ชื่อว่าจริงไม่ได้

    ผู้ฟัง ในทางที่เป็นสัจจะบารมีก็คือ การศึกษาเพื่อให้ รู้สัจจะ หรือว่าความจริงเท่านั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะถึงแม้จะใช้ว่า เป็นคนที่ไม่มีสัจจะ คนอื่น เชื่อถือ ไม่ได้ ก็เพราะเหตุว่าไม่รู้ความจริง ว่าความจริงเป็นกุศลธรรมอย่างไร เป็นอกุศลธรรมอย่างไร ทั้งหมดต้องอยู่ตรงที่ความจริง

    ผู้ฟัง คุณนิพัฒน์ เพราะเว้นสัจจะเสียแล้ว ศีลเป็นต้นก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีการปฏิบัติอันสมควรแก่ปฏิญญา ตรงนี้หมายความว่าอย่างไร

    วิทยากร. ไปสารภาพ ไปปฏิญญารับกับพระ หรือกับใครก็ตาม หรือกับตัวเองก็ตาม ว่าจะต้องทำอย่างนี้ จะต้องเว้นจากการฆ่าสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจากการประพฤติผิดในกาม เว้นจากมุสาวาส เว้นจากการดื่มสุรามเรัย เราตั้งใจไว้อย่างนี้ ปฏิญญาไว้อย่างนี้ แต่เราไม่รักษาความตั้งใจอันนั้นไว้ คือไม่มีสัจจะ

    ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นผู้ที่ตรง เป็นผู้ที่จริง เป็นผู้ที่เพื่อสัจจะ สิ่งที่ไม่จริงจะพูดได้ไหม เห็นไหม ก็เริ่มแม้แต่คำพูด แล้วก็การกระทำด้วย ก็เป็นเรื่องของความจริงใจ เป็นเรื่องของสัจจะ เป็นเรื่องของความจริง จนกระทั่งแม้ศีล ก็ต้องมีตามลำดับขั้น เมื่อกี้เราพูดถึงว่า ผู้ที่ไม่มีสัจจะ คือผู้ที่ไม่ต้องการความจริง ไม่รู้ความจริง ไม่ใช่เพื่อความจริง สิ่งที่ไม่จริงก็พูดได้ แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีความจริงใจ เป็นผู้ที่ตรง เป็นผู้ที่จริง สิ่งที่ไม่จริงพูดได้ไหม ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็ตั้งแต่ขั้นศีล ขั้นต้น จนกระทั่งถึงขั้นต่อไป ถ้าไม่รู้ธรรมจริงๆ ศีลสังวร หรือ อินทรียสังวร ซึ่งก็เป็นศีลด้วย จะมีได้ไหม

    การที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมทางตาในขณะนี้ ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ถ้าโดยศัพท์ก็คือ อินทรียสังวร ก็เป็นสติปัฏฐาน ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ถ้าเป็นผู้ที่ไม่จริงไม่ตรงต่อสภาพธรรม จะมีศีลขั้นนี้ได้ไหม เพราะเหตุว่า เพราะเป็นผู้สมารถบำเพ็ญ โพธิสมภารทั้งปวงให้บริสุทธิ์ได้ ถ้าไม่มีปัญญา ศีลก็ไม่บริสุทธิ์ ก็ยังเป็นเรา ไม่ใช่เป็นธรรม เพราะกระทำกิจแห่งโพธิสมภารทั้งปวง ด้วยมิให้ผิดสภาวธรรม ถ้าสภาพธรรมขณะนี้ เป็นอย่างนี้ รู้ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จะผิดสภาวธรรมได้ไหม ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของความจริงทั้งหมด โดยตลอด ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสำเร็จในการปฏิบัติ การอบรมเจริญปัญญา รู้แจ้งอริยสัจจธรรม

    ผู้ฟัง นี้ก็เป็นสัจจะบารมี

    ท่านอาจารย์ ประโยชน์ อีกใช่ไหม

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ จะบอกประโยชน์

    ท่านอาจารย์ ในชีวิตประจำวัน ที่เรียนแล้ว สัจจะ คือ ความจริง ต้องศึกษาเพื่อให้เข้าใจความจริงให้ได้ ไม่ใช่ว่า ไม่เป็นไร ฟังผิดๆ ถูกๆ คิดผิดๆ ถูกๆ ก็ไม่เป็นไร อย่างนั้นจะมีประโยชน์ ไหม ไม่มีประโยชน์เลย ถ้าเป็นผู้ที่จริงใจ จริงต่อสัจจะ ก็คือต้องรู้ว่าถูกคือถูก แล้วก็ผิดคือผิด แต่ไม่ใช่ว่าสภาพธรรมขณะนี้เป็นอย่างนี้แล้ว เป็นอย่างอื่น จะไปรู้อย่างอื่น จะตรงไหม แล้วจะมีทางที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏได้ไหม นี่ก็คือเป็นผู้จริงต่อลักษณะของสภาพธรรมด้วย

    ผู้ฟัง บางพวกก็ไม่ได้ฟังๆ ไปผิดๆ ถูกๆ บางท่านก็ ฟังเอาบุญ อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่จริง ฟังทำไม ทำอย่างอื่นก็ได้บุญ ก็เป็นบุญ ทำไมต้องฟัง เพราะฉะนั้น ฟังจริงก็คือเพื่อเข้าใจจริงๆ ถ้าจะทำกุศลอื่นไม่ใช่เพื่อความเข้าใจ แต่ถ้าฟังก็ต้องเพื่อฟังให้เกิดความเข้าใจจริงๆ

    ผู้ฟัง อธิษฐานบารมี จะเป็นความสำคัญเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีต่อๆ ไปอย่างไร

    ท่านอาจารย์ นอกจากเป็นผู้ที่จริงแล้ว เป็นผู้ที่มั่นคง ไม่หวั่นไหว เป็นผู้ที่กล้า ที่จะมีความมั่นคงอย่างนั้น มีใครจะเปลี่ยนใครได้ง่ายๆ ไหม ถ้าคนนั้นมีความมั่นคงแล้ว แต่ถ้าคนนั้นไม่มีความมั่นคง เปลี่ยนได้ใช่ไหม คนที่ศึกษาธรรม มีความมั่นคงที่จะเข้าใจธรรมจริงๆ หรือว่าไม่มั่นคง หรือยังไม่มั่นคง ถ้าเป็นผู้ที่มีความมั่นคง คงต้องพิจารณาไตร่ตรอง ต้องละเอียด ต้องรอบคอบ แล้วก็ต้องรู้ สิ่งที่ถูกคือถูก สิ่งที่ผิดคือผิด

    ผู้ฟัง อย่างพวกเราทุกท่าน แน่นอนว่าเดี๋ยวก็ต้องตายแล้ว ไม่ทราบว่าในชาติถัดๆ ไป เราจะมีสหาย ผู้จำแนกธรรม จะมีแก่เราในภายหลังในชาติถัดๆ ไป เราจะทำเหตุอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็ได้ทำมาแล้ว ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ทำบ้างนิดหน่อย แต่ไม่ค่อยแน่ใจว่า ชาติถัดไปจะเจอ หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่ได้ทำมาแล้ว ชาตินี้ก็ คงจะไม่มานั่งอยู่ที่นี่ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของการสะสมกุศล

    ถ้าเราสนทนาธรรมกัน แต่ละคนมีความเข้าใจขึ้น ก็ย่อมมีการจำแนกธรรมได้ละเอียดขึ้น เพราะเหตุว่า ถ้ามีแต่เพียงผู้รู้ผู้เดียว แล้วก็ไม่มีผู้อื่นที่ได้ฟัง แล้วก็ได้เข้าใจเพิ่มขึ้น จะสนทนากับใคร เพราะฉะนั้น การที่เรามีการสนทนาธรรมกัน ก็จะเป็นเหตุที่จะทำให้ทุกคน ค่อยๆ มีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น การฟัง การอ่าน การสนทนา ก็จะทำให้เป็นผู้ที่เข้าใจธรรมละเอียดขึ้น ซึ่งเป็นผู้ที่แตกฉานในธรรมได้ แต่ถ้าศึกษาคนเดียว แล้วก็ไม่มีการสนทนาธรรมกันเลย คนอื่นที่มีความรู้ความเข้าใจ ไม่ศึกษาเพิ่มเติม ไม่มาร่วมกัน ก็ทำให้ไม่พบใครอีก นอกจากตัวคนเดียว

    ผู้ฟัง ในที่นี้ท่านบอกว่า ความเป็นผู้ยินดีในการนำประโยชน์สุข เข้าไปให้สัตว์ทั้งหลาย ด้วยใจที่ไม่มีขอบเขต การที่ใจจะไม่มีขอบเขตในการนำประโยชน์สุข เข้าไปให้สัตว์ทั้งหลายได้ จะเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ อย่างรายการวิทยุ เราเจาะจงคนฟังหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เจาะจง

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ประโยชน์สุขแก่ทุกคน ที่มีโอกาสที่จะได้รับฟัง โดยที่ไม่เลือก ถึงแม้ที่นี่ก็เหมือนกัน ก็ไม่ได้เลือกบุคคลที่จะมาฟังธรรม ก็แล้วแต่ผู้ที่มีศรัทธา

    ผู้ฟัง ในอุเบกขาบารมี คนไม่มีอุเบกขา เกิดความพิการทางจิต ไม่มีอุเบกขา แล้วเกิดความพิการทางจิต อย่างไร

    ท่านอาจารย์ อุเบกขาที่นี่ หมายความถึงความตรง ไม่ตกไปในทางฝ่าย โลภะ โทสะ หรือทางอกุศล

    ผู้ฟัง ถ้าตกไปแล้วเป็นความพิการ อย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็มากเลย ทางกายพิการไหม วิ-กา-ระ หรือพิการ ความหมายเหมือนกัน ก็จากปกติซึ่งเคยเป็นผู้ที่พูดจาดี ก็จะวิการเป็นคำพูดที่ไม่ดี ทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจด้วย

    ผู้ฟัง อุเบกขาบารมี สำคัญอย่างไร ท่านจึงบอกว่า เมื่อจิตยังผูกพันอยู่ด้วยเมตตา เว้นอุเบกขาเสียแล้ว การสะสมบารมีก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีอุเบกขา บุคคลไม่ทำการจำแนก ไทยธรรม และปฏิคาหก จึงไม่สามารถบริจาคได้ อุเบกขาบารมี นี่สำคัญอย่างไร ท่านจึงมีข้อความอย่างนี้ไว้

    ท่านอาจารย์ ความไม่หวั่นไหว เพราะเหตุว่าบางคน ถึงแม้ว่า จิตคิดจะให้ทาน แต่มีอะไรเกิดขึ้นก็หวั่นไหว ที่จะให้ก็ไม่ให้

    ผู้ฟัง บางทีเจอคนไม่ชอบหน้า

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่จะหวั่นไหว ความจริงสภาพธรรมมี แล้วก็เป็นสภาพที่ลึก มองไม่เห็นอย่างจิตทั้งๆ ที่ทุกคนรู้ว่ามีจิต แต่ก็ไม่เคยได้พิจารณาจิต ในวันหนึ่งๆ เลย แต่ถ้าได้ยินเสียง หรือว่าเสียงของเราเอง เกิดพูดคำที่ไม่ดีออกไป รู้ได้ทันทีถึงจิต ถ้าจิตดี จะพูดคำนั้นออกไปไม่ได้เลย แต่ขณะที่พูดไม่ดี ด้วยความโกรธด้วยความขุ่นเคือง ด้วยความไม่พอใจ แม้แต่เสียงที่เปลี่ยนไปนิดหนึ่ง วิการจากปกติ ถ้าเป็นผู้ที่สังเกต แล้วก็พิจารณาจิต ก็จะรู้ ทันที ว่าจิตนั้น เป็นปัจจัยให้เสียงนั้นเกิดขึ้น

    เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ ลักษณะของสภาพธรรม จะว่าไปก็ไม่ยาก เพราะอะไร เพราะเหตุว่ามีสภาพธรรม อยู่ทุกขณะ ไม่มีสักขณะเดียว ซึ่งไม่มีธรรม แต่เมื่อขาดการพิจารณา ก็ไม่สามารถที่จะรู้ปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้เกิดสภาพธรรม ในวันหนึ่งๆ ได้ แต่ถ้าเป็นผู้ที่รู้จริงๆ ศึกษาแล้วก็ไม่ทิ้งเลย สภาพธรรมที่มีจริงๆ มีทุกขณะ เป็นจิตไม่เคยขาดเลย ตั้งแต่เกิดจนตาย เจตสิกประเภทต่างๆ ก็เกิดร่วมกับจิต ตามเหตุตามปัจจัย บังคับไม่ได้

    รูปก็ไม่เคยหยุดที่จะเกิดเลย เพราะว่ารูปที่เกิดจากกรรมก็มี รูปที่เกิดจากจิตก็มี รูปที่เกิดจากอุตุก็มี รูปที่เกิดจากอาหารก็มี โดยย่อก็คือ มีนามธรรม และรูปธรรม

    สิ่งใดที่ได้เรียนได้ฟังตั้งแต่ต้น ทิ้งไม่ได้ จะต้องมีความเข้าใจ ชัดเจนขึ้นๆ ๆ จึงจะเป็นผู้ที่ศึกษาธรรม มิฉะนั้นเราก็ไม่ได้ศึกษาธรรมเลย เพราะเหตุว่าธรรมที่เป็นปรมัตถธรรมที่มีจริงๆ ก็ไม่พ้นจากนามธรรม และรูปธรรม แต่ไม่ได้ศึกษา ถึงแม้ในขณะนี้ เราอาจจะพูดเรื่องจิต พูดเรื่องเจตสิก พูดเรื่องรูป แต่ระลึก หรือว่ารู้ ลักษณะของจิต ของเจตสิก ของรูป หรือเปล่า ถ้าขณะนั้นไม่ระลึก ก็ฟังต่อไป เพื่อที่จะได้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ที่จะเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ปรมัตถธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ฟังไปเรื่อยๆ ไม่มีการท้อถอย ที่จะมีการระลึกได้แม้เพียง ว่าขณะนี้ทุกอย่างที่ปรากฏเป็นธรรม แค่นี้ต้องอาศัยความเพียรไหม ที่ไม่ใช่เป็นเราที่เพียร แต่ว่ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ที่จะรู้ว่า แม้ขณะนี้ ที่กำลงพูดก็เป็นธรรม แล้วจะเข้าใจธรรมไหน ทั้งหมดเป็นธรรม จะเข้าใจธรรมที่กำลังปรากฏทางตา เข้าใจสภาพที่เห็น สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้ หรือว่าเข้าใจสภาพของจิต ซึ่งประกอบด้วยนามธรรมอีกชนิดหนึ่ง จะเป็นโลภ โกรธ หลง หรือเมตตาหรืออะไร ก็แล้วแต่ทั้งหมดที่เราอ่าน ทั้งหมดที่เราเรียน ทุกวัน ทางวิทยุบ้าง หรือว่าสนทนาธรรมกันบ้าง หรือวันเสาร์อาทิตย์ ก็คือเรียนเรื่องสภาพธรรมที่มีจริง จนกว่าเราจะมีความมั่นคง ว่าการศึกษาธรรม ก็คือ ศึกษาเพื่อให้เข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังมี ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ซึ่งเป็นสัจธรรม แล้วก็เป็นอริยสัจจธรรม ถ้าสามารถจะรู้ความจริงของสภาพธรรม ได้ ว่าขณะนี้สิ่งที่เป็นนามธรรม ปรากฏเพราะเกิด เมื่อเกิดปรากฏแล้วดับ อันนี้เป็นสิ่งที่ผู้ที่จะเป็นพระอริยเจ้า จะต้องรู้ มิฉะนั้นแล้วก็ไม่สามารถที่จะละ การยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา แม้ว่าจะเรียนสักเท่าไรก็ตาม เรียนจบพระไตรปิฎก อรรถกถา กี่ปีก็ตามแต่ แต่ว่าถ้าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ไม่ชื่อว่าสัจจญาณ เพราะว่าไม่ได้รู้เลยว่าแท้ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ตัวหนังสือ แต่เป็นสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ซึ่งขณะนี้หลายคนก็อาจจะมีการ ตามรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏบ้าง ใช่ไหม มากน้อยตามการสะสม แต่ไม่ใช่ หมายความว่า จะเกิดไม่ได้เลย หรือว่าจะสะสมไม่ได้ แต่ว่าต้องค่อยๆ เป็นไปด้วย ความรู้ที่เพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวตอนเริ่มต้นว่า ความจริงก็มีอยู่ในชีวิตประจำวัน ในขณะนี้ก็มี การที่จะรู้ความจริง จะว่าไปก็ไม่ยาก แต่สำหรับผม จะว่าไปมันก็ยากเหมือนเดิม

    ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงเรื่องยาก ยากที่ ๑ เราเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า ถ้าเรามีความเข้าใจถูกต้อง เราก็รู้ว่าเป็นเรื่องของการที่จะรู้ ตัวจริงๆ ของธรรมซึ่งกำลังมีในขณะนี้ แต่ไม่ใช่เป็นการรู้ด้วยเราจะไปรู้ หรือเราจะพยายามทำทุกอย่างเพื่อจะรู้ อันนั้นก็ยังมีความเป็นเรา ซึ่งไม่ใช่หนทาง ถ้าเป็นหนทางแล้ว ผู้นั้นต้องไม่ลืมคำว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567