ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
ตอนที่ ๖๒๒
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ ความคิดเดิมๆ คิดด้วยความไม่รู้ ด้วยอวิชชา แต่ว่าเมื่อได้ฟังธรรมแล้ว เริ่มเข้าใจจริงๆ ว่า สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้ เมื่อมีจักขุปสาท ถ้าคนตาบอด หูไม่หนวกก็ได้ยินเสียงแต่มองไม่เห็น อย่างไรๆ รูปนี้ก็ปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อรูปนี้ปรากฏ ต้องปรากฏก่อนใช่ไหม แล้วจึงจะมีความทรงจำในรูปร่างสัณฐานว่าเป็นดอกกุหลาบ เป็นโต๊ะ เป็นคนต่างๆ นี่ก็แสดงให้เห็นว่า มีความคิดนึกติดตามการเห็นเร็วมาก เพราะว่าจิตเกิดดับสืบต่อ กันเร็วที่สุดจนไม่ปรากฏว่าดับ จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่จำได้ จำรูปร่างสัณฐานทางตา จำเสียงที่ได้ยินทางหู จำกลิ่น จำรส จำทุกอย่าง จนเป็นโลกที่มีทั้งสี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งไม่ดับเลย แต่ความจริงสภาพธรรม มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดแล้วดับเร็ว ทั้งนามธรรม และรูปธรรม เพียงแต่รูปธรรมดับช้ากว่าจิต เมื่อจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ รูป รูปหนึ่งจึงดับ เพราะฉะนั้น ก็เร็วแสนเร็วขนาดไหน นี่ก็เป็นสิ่งที่ผู้ประจักษ์ซึ่งเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสรู้ และทรงแสดง
ผู้ที่กว่าจะรู้ตาม ก็ลองคิดดู อย่างตัวอย่างเรื่องของบุคคล ในครั้งอดีต ท่านอยู่กันมา แล้วตอนนั้น เราอยู่ไหน เราจะอยู่แถวๆ นั้นบ้างไหม หรือว่าจะอยู่ใกล้ๆ เป็นญาติ เป็นพี่น้องกับท่านเหล่านั้นบ้างไหม แต่เราก็ยังอยู่ต่อไป เพราะว่าไม่รู้ความจริงของนามธรรม และรูปธรรมซึ่งเกิดดับ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ต้องอบรม แล้วก็เป็นผู้ที่ตรง รู้ก็รู้ ไม่รู้ก็ไม่รู้ ยังไม่รู้ก็คือยังไม่รู้ แต่รู้ว่าความจริงเป็นอย่างนั้น ความจริงจะเปลี่ยนแปลงได้ไหม
วิทยากร. ไม่ได้ คุณบง แม้รูปที่เกิดแล้วดับแล้ว แล้วก็ไม่ปรากฏแก่เรา แม้กระทั่งพระนิพพานก็มี พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมาตรัสรู้ หรือไม่ตรัสรู้ จิต เจตสิก รูป นิพพานก็มีอยู่คู่โลกตลอด แล้วใครที่จะเป็นผู้จะไปตรัสรู้เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เฉพาะรูปทุกอย่าง มีสภาพธรรมเกิดแล้วดับแล้ว เราก็ ถ้าเราไม่ศึกษา ก็ไม่มีโอกาสจะระลึกในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า ถ้าพระภิกษุก้าวล่วงสิกขาบทแล้ว ก็ออกจาก หรือว่าทำคืนสิกขาบทนั้น เป็นความเจริญในอริยะวินัย อย่างเราถ้ามีการล่วงอะไรแล้ว จะทำอย่างไร
ท่านอาจารย์ ผู้ที่ทำผิด ก็ต้องมี ใช่ไหม เพราะมีกิเลสอยู่ ไม่ว่าเป็น บรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ แต่จะรู้ตัวหรือเปล่า ถ้าเป็นผู้ที่รู้ตัวก็ยังสามารถ ที่จะเห็นโทษของสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว แล้วก็พิจารณาว่าไม่ควรจะกระทำสิ่งนั้นต่อไป แต่ว่าถ้าไม่มีการเห็นโทษเลย ก็ก้าวล่วงบ่อยๆ ก็เป็นเรื่องที่ไม่เจริญแน่ ถ้าเป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ว่า มันต่างกันอย่างไรว่า การเศร้าหมอง เพราะเรากำหนดบุคคล คือศีล ตัวลักษณะเข้าคือความไม่มีโทษแล้ว แล้วก็ความดีงามด้วย เพราะฉะนั้น จะกำหนดหรือไม่กำหนดเขาก็มีลักษณะของความไม่มีโทษ และความดีงาม อันนี้มันจะเป็นความเศร้าหมองอย่างไร
ท่านอาจารย์ คุณสุรีย์ เคยได้ยินศีลขาดไหม ศีลทะลุ ศีลด่างพร้อย ด่างพร้อยก็เศร้าหมอง ไม่สะอาดแล้ว
ผู้ฟัง ตัวอย่างที่สมาทานศีล ก่อนเที่ยงก็ต้องหาอาหารบริโภคเพื่อที่จะหลังเที่ยงก็จะได้ไม่หิว ก็จะเป็นเรื่องของความกังวล หรือ ความติดข้องในเรื่องของเวลา หรือว่าการที่จะมีศีล จะต้องสมาทานจากบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จะเป็นการหวั่นไหวที่ติดในบุคคล และกาลเวลาโดยนัยนี้ด้วยหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่แต่ละคนซึ่งรู้ตัวเอง อย่างคนที่มีศีล แต่บางครั้งอาจจะด่างบ้าง พร้อยบ้าง เพราะเหตุว่าบุคคลนั้นเป็นที่รัก บุคคลนั้นเป็นที่ชัง หรือว่ามีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับวงศาคณาญาติ ความเป็นผู้ตรงจริงๆ ก็อาจจะไม่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในขณะนั้นก็ได้ ที่จะทำให้กาย วาจา คลาดเคลื่อนไป ถ้าเราจะมาพิจารณาเป็นองค์ๆ ก็เป็นเรื่องยากที่จะยกตัวอย่าง แต่ชีวิตจริงของแต่ละคนเป็นอย่างไร อันนั้นก็เป็นเครื่องแสดงว่า มีโอกาสที่จะเป็นอย่างนั้น ไม่ได้หมายความว่าศีลของแต่ละคนจะบริสุทธิ์ไปได้ อย่างเรื่องที่เคย มีในชาดก ที่มีควากมกังวล เรื่องไปวัดที่นา เรื่องอะไรต่ออะไรต่างๆ เหล่านั้น ก็เป็นเรื่องซึ่งท่านเหล่านั้นก็ ไม่มีความมั่นใจในศีลของท่าน
ผู้ฟัง ในที่นี้ท่านกล่าว ถึงการระงับกิเลส เฉพาะในกามภพ ก็ยินดีแล้ว ถือเป็นความเศร้าหมอง ในเนกขัมมบารมี ก็หมายความว่า บุคคลเหล่านี้เขาทำฌาน ทำอะไรอย่างนั้นหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ หรือว่าคนที่ตั้งใจว่า จะออกจากกาม หรือความติดข้องในบางสิ่งบางอย่าง แต่ก็อดไม่ได้
ผู้ฟัง จริงๆ ว่าจะออก แต่ก็ยังติดๆ อยู่อย่างนั้น ใช่ไหม อันนี้ก็เป็นความเศร้าหมองของเนกขัมมบารมี
ท่านอาจารย์ ยังมีการระลึกถึง ยังมีความยินดีในสิ่งนั้น บางคนรักษาศีล ๘ แล้วอ่านหนังสือวรสาร นวนิยาย พวกนี้ เป็นอย่างไร หรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็เศร้าหมอง ไม่ควรจะอ่าน
ผู้ฟัง ดิฉันก็ยังไม่เข้าใจสำหรับข้อศีล ก็ติดในศีล มันก็คือเศร้าหมอง อันนี้จะได้ไหม
ท่านอาจารย์ จริงๆ เป็นชีวิตประจำวัน เรื่องของศีลคือเรื่องของกายวาจา ปกติเราก็มีศีล ๕ ก็ไม่มีการจะไปลักขโมย จะไปประพฤติผิดต่างๆ แต่ว่าวาจาของเรา เราลองดู เราเคยพูดคำที่ไม่น่าฟังบ้างไหม แม้ว่าไม่ใช่คำหยาบอย่างร้าย หรือว่ารุนแรง
ผู้ฟัง ก็พูดเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เศร้าหมองไหม
ผู้ฟัง ดิฉันก็ยอมรับว่าดิฉันไม่มีศีล
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ไม่มี ไม่ได้ไปด่า ใช่ไหม แต่ว่ามีคำพูดแรงๆ ซึ่งเกิดจากโทสะบ้าง ไหม
ผู้ฟัง บ่อยๆ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นชีวิตประจำวันซึ่งแต่ละคน จะรู้ตัวเอง ศีล ๕ ก็คือความประพฤติทางกาย ทางวาจาที่ดี แต่ว่าบางครั้งไม่ดี แต่ไม่ถึงกับขาด ที่จะเป็นทุจริตกรรมแต่ก็มี ขณะนั้นก็แสดงให้เห็นว่าเราก็พอจะรู้ว่า เราก็น่าจะมีกายวาจาที่ดี แต่ทำไมจึงไม่ดี ถ้าขณะนั้นไม่ดี จะเรียกว่าอะไร ในเมื่อก็ยังไม่ขาด ยังไม่ได้เป็นทุจริตกรรม แต่ไม่ดี
ผู้ฟัง บารมีต่อไป ความเศร้าหมองแห่งปัญญาบารมี เพราะกำหนดว่าเรา ของเรา คำนี้ ท่านอาจารย์ก็ บรรยายอยู่ประจำเราของเรา เป็นความเศร้าหมองของปัญญา จริงๆ แล้วถ้ามีปัญญา ไม่ว่าเราของเราแล้ว ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แต่ส่วนใหญ่ ใช่ไหม มานะมี เพราะฉะนั้น เวลาที่มีปัญญา หรือมีความรู้ ความเข้าใจสภาพธรรม บางคนก็อาจจะแสดงความรู้ความเข้าใจนั้น ด้วยมานะ แต่ไม่ใช่ด้วยความไม่มีตัวตน ซึ่งควรจะเป็นในลักษณะนั้น ผู้ที่มีความรู้มาก ก็เหมือนรวงข้าว ซึ่งยิ่งมีข้าวมากมายก็ยิ่งหนัก กิ่งก็น้อมลงไป
ถ้ายิ่งรู้ว่าไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล เป็นการละ เป็นการขัดเกลาอย่างยิ่ง จะรู้ได้จากขณะจิตที่เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นจะไม่รู้ หรือว่าอาจจะมองเห็นเหมือนกันจากกาย วาจาที่แสดง แต่ว่าจะไม่รู้เท่ากับคนซึ่ง เป็นผู้ที่กระทำสิ่งนั้น หรือว่าเกิด ความรู้สึกอย่างนั้นขึ้น อย่างมีความสำคัญตนในความรู้ หลายคนก็บอกว่า ยังมีอยู่ อดไม่ได้ ซึ่งก็เป็นของธรรมดา แต่ว่าผู้มีปัญญาย่อมเห็นโทษของสิ่งนั้นตามความเป็นจริง และก็ต้องมีการเห็นว่า ไม่ใช่เรา และไม่ใช่ของเรายิ่งขึ้น
เพราะฉะนั้น ถ้ายังคงมีความเป็นปัญญาของเรา ความรู้ของเรา อันนั้นก็เป็นความเศร้าหมอง แน่นอน ประโยชน์จริงๆ ของการฟังเรื่องนี้ คืออะไร คือความรู้มากมาย ว่าเมตตา จะต้องมีอันนั้นเป็นโทษ หรือว่าเป็นความเศร้าหมอง หรือว่าขันติต้องเป็นอย่างนี้ อย่างนั้น หรืออะไร ประโยชน์จริงๆ ธรรมทั้งหมด ประโยชน์จริงๆ อยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง รู้ความจริงของสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ อยู่ที่ได้รู้ความละเอียดของผู้ที่ได้ตรัสรู้ โดยประการทั้งปวง ที่ทรงแสดงให้เราพิจารณา สิ่งใดที่เรามี อยู่ในชีวิตประจำวัน ก็จะได้รู้ว่าขณะนั้นเป็นคุณ หรือเป็นโทษ เพราะเราเองไม่สามารถจะรู้ได้ เป็นเรื่องความละเอียดของจิตใจ อย่างมากทีเดียว อย่างเช่นคำพูดเกินจริง มีไหม แล้วทำไมต้องพูดเกินจริง ลองคิดดู อยู่ดีๆ แท้ๆ ต้องพูดเกินจริง นี่ก็แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ไม่ดี แม้เล็กน้อย เป็นความเศร้าหมองของสัจจะ แต่เราก็ไม่ได้เห็น
เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงโดยประการทั้งปวง เพื่อให้พิจารณา เพื่อประโยชน์ ของเราเองทั้งหมด แต่ไม่ใช่เพื่อที่เราจะไปได้มีความรู้มาก อันนี้เป็นโทษกับอันนั้นๆ เป็นอย่างนี้ อย่างนั้น แล้วเปล่าๆ ไปเลย แต่ว่าตามความเป็นจริง ก็คือยิ่งทรงแสดงละเอียดมากเท่าไร ก็เพื่อที่เราจะได้พิจารณาเห็น โทษจริงๆ แม้แต่คำพูดเกินจริง ต่อไปนี้เห็นโทษไหม หรือว่ายังคงพูดต่อไป เกินจริงก็ยังพูด ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นอย่างไร
ผู้ฟัง ไม่เห็นโทษ
ผู้ฟัง แต่เวลาพูดมันสนุก เกินจริงนี้ มันสะใจจริงๆ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่บอกไว้ ว่าสัจจบารมีคืออย่างไร แล้วโทษของสัจจบารมีคืออย่างไร แม้เพียงเล็กน้อยคือแค่เกินจริง นิดเดียวก็เกินจริงเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ตรงต่อพระธรรม การศึกษาธรรมเพื่อ เป็นผู้ตรง เพื่อการขัดเกลาจริงๆ
ผู้ฟัง ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้ดีมาก แต่เราก็พูดเกินจริงว่า เขาดีมากเหลือเกิน
ท่านอาจารย์ ก็ทำไมต้องเกินจริงเพื่ออะไร นี่แสดงให้เห็นว่ากว่าเราจะเป็นผู้ที่ตรง และเป็นผู้ที่ขัดเกลา จนกระทั่งในที่สุดจะค่อยๆ ละกิเลสทั้งหลายลงไปได้ ต้องด้วยการดับความเห็นผิดที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตน เสียก่อน คือในขณะที่ เห็น ในขณะที่ได้ยิน ในขณะที่คิดนึก ทุกขณะจะต้องรู้ความจริง ในลักษณะที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม มิฉะนั้นแล้วก็ยังจะต้องเกินจริงกันอยู่
ผู้ฟัง กิเลสมันก็มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นมูล เรียนถามว่า เจ้าเล่ห์มันเป็นอะไร โลภะ โทสะ หรือ โมหะ คือโกรธ กับความผูกโกรธมันก็คือ โทสะ แต่รู้สึกว่ากำลัง มันจะไม่เท่ากัน ใช่ไหม ๒ ตัวนี้
ท่านอาจารย์ เป็นชีวิตจริง เจ้าเล่ห์ เมื่อไร เมื่อนั้นก็รู้ว่า นี่มีข้อความนี้ในพระไตรปิฎก
ผู้ฟัง เป็นโลภะ หรือโทสะ
ท่านอาจารย์ ไว้ถึงเวลานั้นรู้แน่
ผู้ฟัง มันก็ตีออกบ้าง ไม่ออกบ้าง
ท่านอาจารย์ แน่นอน ถึงเวลานั้นต้องรู้เลย ไม่ใช่ใครเขาบอก แล้วเราก็จำ ว่าอันนี้ต้องเป็นโลภะ ไม่ใช่อย่างนั้นเลย สภาพธรรม ไม่ต้องมีคนบอก แต่ว่าลักษณะของเขาเป็นอย่างนั้น ถ้ามีความเจ้าเล่ห์เกิดขึ้นเมื่อไร รู้เลยว่าโลภะ แล้วลองคิดถึงตัวอย่างไม่ทราบจะมีหรือเปล่า อย่างมีปลาทูตัวใหญ่ๆ กับตัวเล็กๆ เจ้าเล่ห์ ทำอย่างไรถึงจะได้ตัวใหญ่ๆ นี่ก็เป็นเรื่องที่เล็กๆ น้อยๆ แต่ว่า เป็นชีวิตประจำวัน เพราะไม่มีอะไรที่จะน่าสนใจ เท่ากับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในชีวิตประจำวัน ตามความเป็นจริง ตั้งแต่เล็กจนโต เรามีความคิดอะไรบ้าง แล้วเราได้ทำอะไรบ้าง ซึ่งขณะนั้น เราไม่รู้เลยว่าเป็นสภาพของจิตประเภทไหน อย่างไร หรือถึงแม้จะโตขี้น คนเจ้าเล่ห์ ก็ยิ่งเจ้าเล่ห์ใหญ่ เพิ่มความเจ้าเล่ห์ขึ้นก็ได้ แต่ว่าคนที่มีสติปัญญาก็จะขัดเกลาความเจ้าเล่ห์นั้นให้น้อยลง เห็นว่าเป็นอกุศล
สำหรับผู้ที่ฟังพระธรรมด้วยความเคารพ แม้อกุศล เพียงเล็กน้อย เห็นจริงๆ ว่าเป็นอกุศล แค่เห็นจริงๆ ว่าเป็นอกุศล จะมีปัจจัยที่จะทำให้เขาขัดเกลา อย่างวันนี้ ใครที่กำลังจะเกินจริงเมื่อไร อาจจะเริ่มรู้สึกตัว แม้แต่ในเรื่องคำชม หรือว่าในเรื่องคำติ หรืออะไรๆ ก็แล้วแต่ ก็เริ่มจะรู้สึกตัวได้ว่า ควรจะเป็นอย่างนั้นไหม หรือว่าสัจจะ จะดีกว่า คือพูดเท่าที่เป็นจริง
ธรรมทั้งหมด ยิ่งละเอียด ก็คือแสดงความวิจิตรของจิตใจ ของเราเองทุกคน ซึ่งนับวันก็จะยิ่งวิจิตรขึ้น แต่ก็ไม่พ้นจากความจริง ตามที่ได้ทรงแสดงไว้ เพียงแต่ว่าในเหตุการณ์ใด หรือว่าในลักษณะใด บางทีปลาทูทอดก็มี ๒ ข้าง ใช่ไหม ข้างหนึ่งเหลืองดี อีกข้างหนึ่งก็เกรียมๆ ถลอกๆ เจ้าเล่ห์จะเอาอย่างไรดี
ผู้ฟัง เป็นความฉลาดของเขา ถ้าสมมติว่าเราอยากจะได้สิ่งนี้ ขอเขาตรงๆ ก็จะรู้ว่าเราขอ เราก็เจ้าเล่ห์ พูดทางโน้น ทางนี้ จนเขาให้เองๆ นะ เราไม่ได้เป็นคนเอา ยื่นมือหยิบ แล้วขอด้วย แต่ด้วยวาจา เราเจ้าเล่ห์ เราก็พูด ถลักหน้า ถลักหลัง ทางโน้นทางนี้ในที่สุดเขาให้เอง
ท่านอาจารย์ เป็นไหม ว่ารู้ตัวเอง
ผู้ฟัง อันนี้ก็เป็นโลภะ
ท่านอาจารย์ ทุกคนรู้ตัวเอง ทุกคนเจ้าเล่ห์ เมื่อไร อย่างไรก็รู้ คนอื่นเขาอาจจะไม่สนใจเราเลยก็ได้ หรือเราอาจจะคิดว่าเขาไม่รู้ แต่ความจริงเขาก็รู้ ก็ได้ แต่ว่าคนที่รู้แน่นอน ก็คือตัวเอง เพราะฉะนั้น คนที่จะขัดเกลา คือใคร ตัวเอง
ผู้ฟัง ทำไมบารมี ทุกบารมีจึงเป็น ปฏิปักษ์แก่โลภะ เป็นต้น
ท่านอาจารย์ โลภะ ต้องการอะไร
ผู้ฟัง โลภะ ต้องการสิ่งที่ดีๆ สำหรับตัวเอง
ท่านอาจารย์ ต้องการวัฏฏะด้วย ใช่ไหม แต่ว่าบารมี เพื่อออกจากวัฏฏะ
ผู้ฟัง เวลาทานบารมี เกิดขึ้น นี่ต้องมีปัญญาประกอบร่วมด้วย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คือรู้ว่าเป็นสิ่งที่ดี
ผู้ฟัง แสดงว่าทานบารมี รู้ ผลของทานด้วย
ท่านอาจารย์ สามารถสละได้ เพียงแค่วัตถุ สละยากไหม
ผู้ฟัง ยาก
ท่านอาจารย์ แล้ว ตัวตนจะยากกว่านั้นสักแค่ไหน เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องละ ซึ่งยากมาก ทุกคนติดอย่างมากทีเดียว การที่เพียงแต่ สละแม้วัตถุก็ยังยาก ถ้าจะสละความเป็นเรา จากเห็น จากได้ยิน จากสภาพธรรมทั้งหมด ก็ต้องยากกว่า ถ้าไม่มีการสละบ้างเลย แล้วก็จะให้สละ ความเห็นผิด ความยึดถือว่าเป็นตัวตนนี้ ก็ยาก
ผู้ฟัง หนูเคยได้ยิน คำว่า เมตตาค้ำจุนโลก ก็เลยมีความคิดว่า พระพุทธองค์ ทรงบัญญัติว่า เมตตาค้ำจุนโลก ประโยคนี้ออกมา เมตตา เป็นบารมีที่ยิ่งใหญ่มากกว่าบารมีอื่น หรือว่าพิเศษอย่างไร
ท่านอาจารย์ โลกอยู่ได้เพราะเมตตา ไม่ใช่เพราะโทสะ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ถ้าโทสะกันหมดเลย เป็นอย่างไร ทั้งหมดทุกคนที่นี่ โทสะกันหมดเลย
ผู้ฟัง ก็ตีกันหมดเลย
ท่านอาจารย์ ก็ตีกันหมดเลย
ผู้ฟัง หมายความว่า ตัวเมตตานี่ มีน้ำหนักมากกว่าบารมีอื่น หรือว่าเป็นเหมือนบารมีที่นำร่อง
ท่านอาจารย์ ก็ไม่น่าจะคิดโน้น คิดนี่ เพราะว่ากุศลทั้งหลายก็ดี ดีทั้งนั้น
ผู้ฟัง แต่ความจริงก็คือ ปัญญา ใช่ไหม เป็นตัวใหญ่เลย ต้องมาก่อน
ท่านอาจารย์ ถ้าปัญญาเห็นถูกก็ต้องนำไปสู่ ทางที่ถูกทั้งหมด
วิทยากร. เมตตาค้ำจุนโลก ถ้าได้ศึกษาถึงเรื่องความเป็นไปของสังสารวัฏฏ์ จะเห็นในสมัยนี้ คนเราอายุขัย เหลือ ๗๕ ปี ก็ยังมีพระธรรมอยู่ เมตตาก็ยังมีอยู่ พอไปจนถึงอายุ ๑๐ ปีแล้ว หมดอายุ คืออายุขัย ๑๐ ปี ขณะนั้น จะไม่มีกุศลกรรมบถ มีแต่อกุศลกรรมบถ ๑๐ แล้ว แต่เราก็ศาสนาพุทธก็หมดแล้ว ตอนนั้นโลกก็เป็นมิคสัญญี โลกจะไม่มีอะไรมาค้ำจุนโลกได้ จะเป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้า จึงแสดงว่า ถ้ายังมีเมตตาอยู่ ก็ค้ำจุนโลก
ผู้ฟัง ที่ว่าอกุศลธรรมทั้งหมด เป็นปฏิปักษ์ต่อบารมี ก็หมายถึงว่าโลภะ โทสะ โมหะ เป็นปฏิปักษ์ต่อบารมี ที่ท่านแสดงเอาไว้ ยกตัวอย่าง ทาน เป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะ โทสะ และโมหะ ส่วนศีล ปัญญา วิริยะ ขันติ ท่านแสดงว่ามีโลภะ เป็นต้น นี่คือละในที่เข้าใจ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็คือต้องเป็นปฏิปักษ์ทั้ง ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
ท่านอาจารย์ อกุศลทั้งหมด
ผู้ฟัง โดยนัยเดียวกัน ก็พึงทราบว่า ความตระหนี่ เป็นต้น ก็คงจะหมายความเหมือนกัน เป็นปฏิปักษ์ต่อบารมีเหล่านั้นคือบารมี ผมก็ไม่เข้าใจบางอัน ความตระหนี่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อ อย่างสมมติปัญญา อย่างนี้ หรือว่าอย่างวิริยะอย่างนี้ หรือว่าจะความหมายของตระหนี่จะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ถ้าตระหนี่ธรรมอยากจะให้คนอื่นรู้ ธรรมไหม
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น ความตระหนี่ก็คงไม่ได้หมายความเฉพาะ ขี้เหนียวธรรมดาๆ
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดเลย
ผู้ฟัง อยากให้คุณอรรณพ กรุณาช่วยอธิบาย ความหมายของกามฉันทะ
วิทยากร. กามฉันทะ ก็คือความยินดีติดข้อง ในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส แล้วก็รวมไปถึงการติดข้องในบัญญิตเรื่องราว ซึ่งก็อิงอาศัยมาจากการติดในรูป เสียง กลิ่น รส ก็เป็นนิวรณ์ข้อแรก
ผู้ฟัง ดูเหมือนว่าทุกวัน หรือเกือบจะตลอด ก็เป็นอย่างนั้น เมื่อได้ศึกษาธรรมแล้ว ความคิดในด้านดีคงจะไม่มีเลย
วิทยากร. เพราะว่าในชีวิตประจำวัน ของเราโลภะ มีมากอยู่แล้ว
ผู้ฟัง อะไรเป็นปฏิปักษ์ของบารมี หรือว่า บารมีเหล่านี้เป็นปฏิปักษ์แก่ธรรมอะไร เพื่อเป็นประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ ก็สรุปว่าฟังมาตั้ง ๒ ชั่วโมงได้ไหม ได้อะไร จำได้หมดหรือเปล่า
ผู้ฟัง จำไม่ค่อยได้
ท่านอาจารย์ แต่ว่าผ่านหู แล้วก็ได้ยินได้ฟัง ถ้าได้ยินอีกบ่อยๆ ก็เป็นเครื่องที่จะทำให้ เราสามารถที่จะรู้จักตัวเอง เพิ่มขึ้น อันนี้คือประโยชน์ จริงๆ ของการที่ได้ยินได้ฟังพระธรรม ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปรู้ทั้งหมด จำได้ทั้งหมด อะไรเป็นปฏิปักษ์ต่ออะไรๆ ๆ ต่างๆ เหล่านั้น เกินวิสัยที่เราจะจำพระไตรปิฎก และอรรถกถาได้ แต่สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ แล้วก็เราสามารถที่จะเข้าใจว่า ประโยชน์แท้จริง ก็คือว่า รู้จักตัวเอง แล้วก็ขัดเกลา นี้คือสิ่งที่สำคัญ แต่ว่าไม่ใช่ไปบอกว่าให้ไปจำกันให้หมด ๑๐ แผ่น ๑๒ แผ่น ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ว่าให้เข้าใจ และให้พิจารณา ให้เห็นประโยชน์ แล้วก็เห็นความต่างของกุศลกับอกุศล โดยย่อก็คือ กุศลกับอกุศลนั่นเอง แต่ก็ละเอียดมาก อกุศล ละเอียดมาก ทั้งมารยา ทั้งสาไถย ทั้งคัมภะ ทั้งแข่งดีทั้งอะไรสารพัดอย่าง ก็อยู่ที่การสะสมของจิตของแต่ละบุคคล เรายังมีอยู่ หรือเปล่า ข้อสำคัญที่สุด มีมากหรือมีน้อย แล้วก็จะละได้ด้วยอะไร นี่เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ใช่ว่าปล่อยให้มีไปเรื่อยๆ มากๆ
ผู้ฟัง เรียนถาม คุณประเชิญ มีในเรื่องเนกขัมมะ ว่าการประพฤติหลายอย่างด้วยการรับอามิส และให้ธรรมทานเป็นต้น แก่สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าปฏิบัติด้วยเนกขัมม เพราะว่าการปฏิบัติ ข้ออื่นๆ เหมือนกับเป็นการ ช่วยเหลือสัตว์อะไรหมดเลย แต่พอมาถึงข้อเนกขัมมะ นี้ ปฏิบัติด้วยการรับอามิส และให้ธรรมทาน เป็นต้น อันนี้จะอย่างไร
วิทยากร. ตรงนี้ผมเข้าใจว่า สำหรับพระโพธิสัตว์ หรือพระภิกษุท่านก็รับบิณฑบาต หรือว่ารับไทยธรรม ทั้งหลายก็เพื่ออนุเคราะห์แก่ ผู้ที่ให้ อย่างตัวอย่างต่างๆ ในพระสูตรก็ดี ในชาดกก็ดี เวลา ทายกมาถวาย ทายกก็จะอ้อนวอน ขอท่านได้โปรดรับไทยธรรม เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ท่านก็รับ สำหรับผู้ที่เป็นบรรพชิต ท่านก็รับ แล้วท่านก็แนะนำในรื่องของประโยชน์ทั้งหลายในการที่จะประพฤติ สำรวมงดเว้นจากอกุศลธรรมทั้งหลายก็เป็นการสอนธรรม ซึ่งก็เป็นเรื่องของการให้ธรรมทาน
ผู้ฟัง การที่จะปฏิบัติบารมี หรือว่าข้อปฏิบัติสำหรับบารมีจะมีการ สั่งสมอบรมเจริญอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็เป็นคนดีไปเรื่อยๆ โดยมากมุ่งหวังที่จะเป็นพระโสดาบัน แต่ลืมที่จะเป็นคนดี ซึ่งไม่ทราบว่าคนดี จะเป็นยาก หรือเป็นง่าย ถ้ามีกิเลสน้อยก็ไม่ยาก แต่ถ้ามีกิเลสมากก็เป็นคนไม่ดีมากกว่าคนดี
ถ้าเราไม่มุ่งหวังสูง คือ พระโสดาบัน ซึ่งจะต้องเป็นการอบรมเจริญปัญญา ที่สามารถจะละการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนหมดเลย แม้เห็นก็ต้องรู้ ได้ยินก็ต้องรู้ ทุกอย่างที่เคยเป็นเราทั้งหมด ปัญญาต้องรู้ทั่ว จึงสามารถที่จะละได้ กว่าจะถึงวันนั้น แม้ว่ามีการฟังแล้วเราก็รู้ว่า สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น การสะสมความเข้าใจธรรมก็จะทำให้กุศลจิตเกิด
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660