ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
ตอนที่ ๖๒๕
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๕
ผู้ฟัง พอมานึกดูอีกทีหนึ่ง อย่างสัตว์เดรัจฉาน อย่าง หมู สุนัข กาไก่ มันอยากจะเห็นหรือเปล่า มันอยากจะได้ยินหรือเปล่า มันอยากจะได้กลิ่นหรือเปล่า ผมว่าอันนี้เป็น ธรรมชาติสร้างมาให้อยู่แล้ว ทีนี้ถ้าหากว่า ตามันเกิดเสีย หรือว่าหูมันเสีย เพราะมันไม่ได้ยิน อะไรอย่างนี้ ผมว่าอันนี้ก็ เป็นเพราะอดีตกรรม ผมเข้าใจอย่างนี้ พอที่จะรับฟังได้มากไหม
ท่านอาจารย์ เรากำลังฟังเรื่องโลก ขอให้เข้าใจเรื่องโลกให้ชัดเจน แล้วพอเรามีความเข้าใจเรื่องโลก เราก็สามารถที่จะเข้าใจเรื่องสัตว์มีตา มีหู หรือไม่มีตามีหู นั้นก็ทีหัลง แต่เพียงแค่รู้จักโลกจริงๆ ในวันนี้ที่กำลังเห็น ให้รู้จักโลกจริงๆ ว่าโลกอยู่ตรงนี้ ยังไม่ต้องไปโลกอื่น หรือคิดเรื่องอื่น นั้นเป็นโลกที่คิด
แล้วเรากำลังเริ่มจะเข้าใจ คำว่า กิเลส เพราะว่าตัณหา ไม่ได้ธรรมฝ่ายดี ตัณหาที่นี่ ภาษาไทยได้ยินแล้ว อาจจะคิดว่า รุนแรงน่ารังเกียจ แต่ว่าเป็นอีกคำหนึ่งของ โลภเจตสิก ซึ่งเป็นความติดข้อง ถ้าใช้คำว่าติดข้อง หมายความว่าอะไรก็ตาม ซึ่งเราไม่สละ ไม่ทิ้ง อย่างเห็นอย่างนี้ เราก็พอใจ ในสิ่งที่เห็น พอเสียงปรากฏเราก็พอใจในเสียง พอกลิ่นปรากฏก็มีความพอใจติดข้องในกลิ่น
เพราะฉะนั้น สภาพที่ติดข้องทั้งหมด เป็นโลภะ ซึ่งจะมีระดับต่างกัน ตั้งแต่อย่างบางเบาจนกระทั่งถึงอย่างที่รุนแรง หยาบ นั่นก็เป็นลักษณะของสภาพธรรม แต่ละอย่าง ซึ่งมีทั้งความละเอียด เบาบาง และความที่หยาบขึ้น เพราะฉะนั้น เพียงเท่านี้เวลาที่เราฟังสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขอให้ขณะนั้นฟัง คิด เข้าใจ สิ่งที่กำลังฟัง อย่าคิดเรื่องอื่นเลย เรื่องกรรม เรื่องกิเลส เรื่องอะไรยังไม่ถึง เพียงแต่ว่าคำว่า โลก คำเดียว แล้วก็โลกจริงๆ ที่กำลังมี กำลังปรากฏในขณนี้ ทุกคนไม่ต้องท่องเลย ฟังแล้วเข้าใจ ไม่ลืม ว่าหมายความถึงสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งแล้วดับ ความจริงตอนต้นเราก็เพียงแต่พูดถึงว่า เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ แต่ว่าการที่สภาพธรรมใดจะเกิดได้ ต้องมีเหตุปัจจัย ค่อยๆ เข้าใจเพิ่มขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย แต่เป็นความเข้าใจที่มั่นคงถูกต้อง ตรง ไม่เปลี่ยน เพราะว่าจะเปลี่ยนไม่ได้เลย
คำว่า โลก ในพระไตรปิฎกทั้งหมด จะไม่เป็นความหมายอื่น ไม่ว่าจะกล่าวถึง สัตวโลก สังขารโลก โอกาสโลก ขยายๆ ต่อไปอีก ก็คือสภาพธรรมที่เกิดดับนั่นเอง เพราะฉะนั้น ตอนนี้เรากำลังพูดถึง ชีวิตจริงๆ ซึ่งทุกคนเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก เป็นโลกทั้งหมด คือเกิดแล้วก็ดับ ไม่มีอะไรเหลือ ถ้าดับแล้ว หมายความว่าไม่เหลือ อย่างเมื่อวานนี้ทุกอย่าง ความคิด สิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน ความชอบ ความชังทั้งหมด เมื่อวานนี้ ก็ไม่เหลือ วันนี้เดี๋ยวนี้ ก็กำลังเป็นอย่างนั้น
การฟังพระธรรมเริ่มจากเข้าใจ จากการฟัง ฟัง พิจารณาให้มีความเข้าใจมั่นคงขึ้น พร้อมทั้งอบรม เจริญปัญญา อีกระดับ ๑ ซึ่งสามารถจะประจักษ์ความจริง แต่ไม่ใช่เป็นการเร่งรัดว่าวันนี้เราควรจะอบรมอย่างไร นี้คือไม่เข้าใจแล้ว เพราะว่าอบรมจริงๆ ต้องเป็นปัญญาซึ่งเกิดจากความเข้าใจถูก ทีละเล็ก ทีละน้อย ไม่คลาดเคลื่อน แล้วปัญญานั้น ถึงจะเจริญได้ เพราะฉะนั้น ยังไม่ต้องพูดเรื่องสติปัฏฐาน เรื่องการประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม เพราะเหตุว่าไกลแค่ไหน ลองคิดดู แค่กำลังเห็น ก็ฟัง เข้าใจ ว่าเป็นนามธาตุ เป็นนามธรรม เป็นสภาพธรรมที่สามารถจะรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด คือกำลังเห็นทางตา ได้ยินเสียงทางหู แต่ว่าจริงๆ แล้ว ก็ยังจะต้องสามารถประจักษ์ ถึงลักษณะที่ต่างของสภาพธรรมแต่ละอย่างในชีวิตประจำวัน
เพราะว่าตั้งแต่เช้ามาจนกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ สภาพธรรมแม้ว่าจะเป็นเพียงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ก็ต่าง เรื่องที่กำลังคิดเดี่ยวนี้ กับเรื่องที่ คิด เมื่อเช้านี้เหมือนกันหรือเปล่า เรื่องเหมือนไหม เรื่องที่คิดเดี๋ยวนี้ กับ เรื่องที่คิดเมื่อเช้านี้ เหมือนกันไหม ไม่เหมือน จิตที่คิดเดี๋ยวนี้ กับจิตที่คิดเรื่องเมื่อเช้านี้ เหมือนกันหรือเปล่า เมื่อเรื่องต่างกัน สภาพจิตก็ต่างกัน ความรู้สึกก็ต่างกัน การปรุงแต่ง ความรักความชังต่างๆ กุศล อกุศลต่างๆ ก็ต่างกัน เพราะฉะนั้น นี่เป็นธรรมทั้งหมดที่จะต้องเข้าใจถูก
ผู้ฟัง จิตหลายๆ ดวง คิดถึงเรื่องเดียวกันไม่ได้หรือ
ท่านอาจารย์ แต่ไม่ใช่จิตเดียวกัน จิตเมื่อเช้าที่คิดเรื่องนั้น ไม่ใช่จิตเดี๋ยวนี้ที่กำลังคิด
ผู้ฟัง เข้าใจว่า คืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ไม่พ้น ๖ ทาง เห็นเมื่อเช้ากับเห็นเดี๋ยวนี้ สภาพจริงๆ คือเห็น แต่สิ่งที่ถูกเห็นไม่เหมือนกัน ความรู้สึกหลังจากที่เห็นแล้วก็ต่างกันไป ตามสิ่งที่ปรากฏ ก็หลากหลายมากเลย ตั้งแต่เกิดจนถึงกระทั่งถึงเดี๋ยวนี้ แล้วต่อไป
ผู้ฟัง สมมติว่า เวลาที่กำลังนั่งอยู่นี้ก็คิดถึงลูก ที่กำลังไปเรียนหนังสือในจิต หลายๆ ดวงที่คิดถึงเรื่องเดียวกัน น่าจะเป็นไปได้ ใช่ไหม
วิทยากร. ก็เรา ไม่ใช่จิตคิด เราไปเอาเราคิด เราไปคิดว่า เราคิด มันถูกตัณหาร้อยไว้ จิตดวงก่อน กับจิตดวงที่เกิดต่อมาเป็นอันเดียวกัน มันร้อยรัดกันไว้ เป็นเรา เป็นเราที่คิด ไม่ใช่จิตคิด เรายังไม่รู้ว่าจิต เป็นสภาพที่เป็นจริง จิต เจตสิก รูป เราก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นปรมัตถธรรม
ผู้ฟัง จะว่าไป ก็เป็นเรื่องของวิตกเจตสิก ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คุณวิจิตร เมื่อวานนี้ คิดถึงลูกว่าอย่างไร ลองบอก
ผู้ฟัง เมื่อวานนี้ ก็คิดว่า ลูกต้องไปฝึกงาน ต้องลำบากไหม อย่างนี้ เหนื่อยไหม ร้อนไหม
ท่านอาจารย์ แล้ววันนี้คิดถึงลูกว่าอย่างไร
ผู้ฟัง ก็เขาคงไปฝึกงาน อะไร อย่างนี้
ท่านอาจารย์ ซ้ำเลย หรือซ้ำเลยเหมือนกันทุกวันก็ซ้ำ ประโยคนี้ทุกวัน หรืออย่างไร หรือว่ามีความต่าง ความกังวลคนละเรื่อง เมื่อวานนี้ อาจจะกังวลเรื่องหนึ่ง ฝนตก ฟ้าร้อง วันนี้อาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ลูกอาจจะสอบได้ คิดถึงลูกก็คิดได้ แต่ว่าจิตที่คิด ปรุงแต่งด้วยอะไร ในแต่ละขณะ แม้แต่ความรู้สึกก็ต่างกัน เช่น ตอนแรกอาจจะคิดห่วงกังวลมากๆ พอต่อมาคิด ความห่วงกังวลนั้นลดน้อยลงไปหน่อยหนึ่ง เพราะคิดว่าเขาคงไม่เป็นอะไร ความรู้สึก็ต่างกันแล้ว แม้ว่าจะคิดถึงลูกก็คิดได้ แต่ว่าจิตที่คิดที่ถูกปรุงแต่งให้คิด ย่อมต่างกัน
ผู้ฟัง เมื่อวันแรกที่มาฟัง แล้วก็เรียนถามท่านอาจารย์ว่าเรื่องปฏิบัติ เคยไปปฏิบัติ ที่สำนักมาก่อน แล้วก็มีปัญหาจนกระทั่ง คุยกับเพื่อน เพื่อนแนะนำให้ฟังรายการของท่านอาจารย์ ก็มาฟัง จนกระทั่งได้มาวันแรก มาฟังอาจารย์ที่นี่ อาจารย์บอกว่า ไม่ใช่ กุศลที่คุณไปทำปฏิบัติธรรม แต่เพราะว่า คุณเคยสะสมมาก่อน ถึงได้เข้ามาที่นี่ ได้มาฟังอาจารย์ กับไปก็นั่งคิดสงสัยว่า ถ้าคน อาจจะรักพี่น้องมากขึ้น เขาไม่เคยสนใจเลย ก็อยากจะเรียนถามว่า ถ้าคนที่ไม่เคยเริ่มต้นเลย ครั้งแรกจะเริ่มต้น มันจะมีสาเหตุจากอะไรบ้าง
วิทยากร. สาเหตุที่จะอยากฟัง ใช่ไหม เนื่องจากอะไร
ผู้ฟัง จะได้มีโอกาส เข้ามาฟังธรรม หรือศึกษาธรรม ถ้าไม่เคยสะสมมาเลย
วิทยากร. เราไม่ทราบว่าใครเคยสะสมมา หรือไม่สะสมมา แต่ถ้าใครได้ยินแล้วอยากฟัง แสดงว่ามีของเก่าที่เตือน คือบางคนเขาได้ยิน แต่เขาไม่อยากฟัง ได้ยินเฉยๆ ยกตัวอย่าง อย่างบ้านผมมีอยู่ ๔ คน ก็มีผมคนเดียวที่ฟัง นอกนั้นเขาก็ได้ยิน ผมเปิดวิทยุดังๆ เขาได้ยิน แต่เขาไม่ฟัง แสดงว่าไม่มีสิ่งที่เตือนเขา ปุพเพกตปุญญตา บุญที่ทำไว้ในปางก่อน ไม่ได้เตือนเขาเลย ธรรมก็ได้ยินอยู่ อะไรก็ได้ยินอยู่ ตลอดเวลา บางทีเขายังพูดว่า พ่อไม่รู้ฟังอะไรตาๆ หูๆ จมูก ก็มีอยู่ทุกคน มันไม่เห็นจะน่าสนใจ
ผู้ฟัง ใช่ ถ้าสมมติคนที่เรา เขาไม่เคยเลย จะมีสาเหตุจูงใจหรือว่ามีเหตุ ปุพเพ ที่จะให้เขา
วิทยากร. มันก็มีอยู่ มันมี ๒ สาเหตุ สาเหตุที่จะจูงใจให้ คนที่จะหันมาสนในในพระพุทธศาสนา คือ
๑. กัลยาณมิตร เพื่อนฝูงที่อยู่ใกล้ชิด เป็นคนที่เคยได้ยินได้ฟัง ก็แนะนำเรา ชักชวนเรา เป็นกัลยาณมิตร
อีก ๑. ก็เป็นบุญกุศลที่เราสั่งสมไว้ เรียกว่า โยนิโสมนสิการ คอยเตือนเรา
๒ อย่างนี้ช่วยกัน คือ ภายนอกกับภายใน ภายในคือตัวเราเอง ภายนอกคือบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้ชิด
ผู้ฟัง ตัวเองเคยวิเคราะห์ไว้ วิเคราะห์ว่า ถ้าคนที่ไม่เคยสะสมเลย แล้วทำไมถึงจะได้ก้าวมาครั้งแรก ก็คิดไม่ถึงว่า ถ้าคนเคยเกื้อกูลกัน อย่างที่อาจารย์บอกว่า กัลยาณมิตร คนที่เกื้อกูล อาจจะมีอะไร ในชาติไหน ภพไหน เกื้อกูลกับบุคคลที่เคยปฏิบัติธรรม หรือมีธรรมอยู่แล้ว แล้วพอมาอีกชาติหนึ่ง เหมือนกับว่าได้ตอบแทนกัน อาจจะเกิดเป็นพอ่แม่ หรือเป็นอะไรสักอย่าง อาจจะดึงเขา เข้ามาฟัง อันนั้นคือ คิดเองก็อยากเรียนถามท่านอาจารย์ ว่าพอจะเป็นไปได้ไหม
ท่านอาจารย์ แทนที่จะคิดถึงคนอื่น จะรู้จริงๆ รู้ที่ตัวเองก่อน ทราบไหม เหตุผล ถ้าไม่ทราบจะไปทราบของคนอื่นได้ไหม เพราะฉะนั้น จะชอบเดา หรือว่าจะชอบรู้จริงๆ ถ้ารู้จริงๆ รู้ไม่ได้ ก็ไปนั่งเดา เป็นวัน เป็นเดือน เป็นคืน
ผู้ฟัง ทราบว่ารู้จริงไม่ได้ แต่อยากเรียนถามท่านอาจารย์ จะให้คำตอบ
ท่านอาจารย์ ไม่มีประโยชน์ คือโดยมากคนต้องการคำตอบ แต่ว่าคำตอบสามารถที่จะเป็นปัญญาของตัวเอง ที่เข้าใจจริงๆ หรือเปล่า หรือว่าคำตอบนั้นพอฟังแล้ว เอ๊ะ จริงหรือเปล่า รู้ได้อย่างไร ใช่ไหม อย่างนั้นไม่มีประโยชน์เลย แต่ว่าธรรมควรที่จะรู้ เพราะว่าเกิดแล้วก็ดับไปเร็วแสนเร็ว แทนที่จะคิดนึกเรื่องที่ไม่สามารถจะรู้ได้ แต่ว่าธรรมจริงๆ สามารถที่จะรู้ได้เพราะปรากฏ ให้รู้ให้เข้าใจได้ ไม่อย่างนั้นเราก็จะเสียเวลา แล้วเราก็จะเป็นนักคิด นักไตร่ตรอง แต่ผลก็คือ ว่านักคาดคะเน
แต่ถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจจริงๆ โดยเฉพาะตัวเรา ยังไม่ต้องไปคิดถึงคนอื่นเลย แล้วตัวเราจริงๆ เหลือวิสัยมากมาย ที่จะรู้ เพราะแม้แต่ขณะนี้ที่เห็น ที่คิด ที่พูด เร็วมากที่จะเกิดดับสืบต่อ จนกระทั่งจะไปหาสาเหตุว่ามันมาจากไหน ก็คือละเลยสภาพธรรมที่มี แล้วก็ปรากฏแล้วก็เกิดดับ
เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ เราจะไม่เสียเวลา กับการไปหาสาเหตุ หรือว่าไปคิดนึกเรื่องอื่น แล้วก็ละเลย การที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น บางคนจะขอคำตอบ ซึ่งคำตอบได้ไป ไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไร ก็ไม่ใช่ความเข้าใจจริงๆ ของตัวเอง แต่อยากจะให้ ไม่ได้ต้องการไปถามใคร แต่ว่าเป็นปัญญาที่ฟัง แล้วก็พิจารณา แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น แล้วก็รู้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ควรเข้าใจ เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ซึ่งมีประโยชน์ กว่า ก็อาจจะเป็นที่ไม่พอใจของหลายๆ คนที่ไม่ตอบ แต่ว่าจริงๆ แล้วก็ไม่อยากจะตอบสิ่งซึ่งเขาไม่สามารถที่จะรู้ได้จริงๆ แต่อยากจะให้เขาพยายามเข้าใจในสิ่งที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้
วิทยากร. อันนี้ก็ต้องค่อยศึกษาไป ค่อยๆ ฟังไป เป็นเราเพราะอะไร เราเป็นเรา เราห้ามได้ไหม เราบังคับได้ไหม ไม่ให้เป็นอย่างนั้น ไม่ให้เป็นอย่างนี้ ได้ไหม ถ้าเป็นเรา ต้องอยู่ในบังคับบัญชานะ ถ้าเป็นเรา
ผู้ฟัง ทราบ เพราะว่าบังคับไม่ได้ อย่างที่ฟังอาจารย์ เพราะว่ามีอยู่วันหนึ่งโกรธ แล้วก็ดับไม่ได้ จนถึงเที่ยงคืน คิดถึงอาจารย์ตลอด ยังดับไม่ได้ อาจารย์บอกว่า ถ้าเราดับความโกรธได้ตั้งแต่แรก เราก็จะไม่ทุกข์ ขณะที่ระลึกถึงอาจารย์ก็ยังดับไม่ได้
ท่านอาจารย์ เวลาที่จะไตร่ตรองเรื่องนั้น แล้วก็ เวลาที่จะคิดถึงคนอื่น มีอีกมากมาย แต่เวลาที่จะได้ยินได้ฟังพระธรรม ที่จะทำให้เราสามารถจะเข้าใจสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ ก็คงไม่มากเท่า เพราะฉะนั้น ในโอกาสอย่างนี้เราก็ควรจะฟังเรื่องที่จะทำให้เราเข้าใจสภาพธรรม ส่วนการที่เราจะไปยับยั้งไม่ให้เราคิดถึงคนนั้นคนนี้ เป็นไปไม่ได้ แต่ว่าการที่เราสามารถที่จะรู้ความจริงว่าเป็นธรรม ก็จะทำให้เราสบายใจขึ้น เพราะเหตุว่าเราไม่กังวลเดือดร้อนมากนัก เพราะว่าเวลาที่คิดถึงคนอื่น ขณะนั้นรู้สึกอย่างไร สบายไหมที่จะไปหาสาเหตุว่า ทำไมเขาถึงได้มาฟัง หรือว่าอะไร อย่างนี้ เป็นความรู้สึกสบาย หรือเปล่า
ผู้ฟัง พิจารณาจริงก็คงไม่สบาย
ท่านอาจารย์ ถ้าเราไม่มีคนนั้นเลยในโลกนี้ ที่จะต้องคิด จะดีกว่าไหม
ผู้ฟัง ก็คงไม่ทุกข์
ท่านอาจารย์ ไม่อย่างนั้นก็จะต้องมีคนโน้น แล้วก็มีคนนั้นตลอดในชีวิตของเรา ซึ่งก็เป็นเหตุมาจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งทำให้โลก คือใจ รับรู้ไว้หมด แล้วก็ไม่ลืม เดี๋ยวๆ ก็คิดถึงเรื่องนั้นบ้าง เรื่องนี้บ้าง แต่ว่าตามความจริง ถ้ายังไม่รู้จักโลกตามความเป็นจริงไม่มีใครจะหมดความทุกข์ได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ ว่า สิ่งไหนเป็นสาระ ก็ควรจะพยายามที่ จะเข้าใจสิ่งที่เป็นสาระมากๆ
วิทยากร. ขออนุญาตเพิ่มเติมตรงนี้นิดหนึ่ง เกี่ยวกับเรื่องที่จะรู้ ในเรื่องอดีตที่ได้สะสมมาหรือไม่ ตามที่ท่านอาจารย์ได้กล่าว เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะว่าเราไม่สามารถจะไปรู้รายละเอียดว่าเราเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อไร ใช่ไหม รู้ไม่ได้จริงๆ แต่ว่าสิ่งที่รู้ในปัจจุบัน สิ่งที่มีประโยชน์
แต่ทีนี้ในพระสูตร อย่างเช่น จักกสูตร ท่านแสดงเรื่องของจักร ๔ อย่างที่จะทำให้บุคคลนั้น ผัน หรือว่า หมุนให้บุคคลนั้นไปสู่ ความสุข ความเจริญ ก็คือ
ปฏิรูปเทส คือ การอยู่ในประเทศที่สมควร
การได้คบสัตบุรุษ หรือว่าการตั้งตนไว้ชอบ
การสั่งสมบุญไว้ในปางก่อน สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เรา ได้ความสุขความเจริญ ถ้าเราในชาติก่อนๆ เราไม่เคยที่จะสนใจในเรื่องเหล่านี้ แต่ว่าเราได้เกิดในประเทศที่สมควร แล้วก็ได้อยู่ใกล้กับสัตบุรุษ เราก็จะแนะนำในสิ่งที่สมควรกับเราตรงนั้นก็จะทำให้เรา ได้เริ่มที่จะสะสมในเรื่องของบุญกุศลที่จะทำให้เรา ได้เข้าใจธรรม ซึ่งตรงนี้ก็เป็นหลักอย่างหนึ่ง ที่ท่านแสดงไว้
ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นคำตอบ ซึ่งจะพบในพระไตรปิฎกทั้งหมด มีคำตอบสำหรับทุกเรื่องทุกอย่าง แต่ว่าต้องค่อยๆ เข้าใจ ไม่ใช่ว่าพอเราเข้าใจจุดนี้แล้วเราก็ข้ามไปหาจุดโน้นที่อยากจะเข้าใจจุดอื่นไปอีก โดยที่ว่าจุดนี้จริงๆ เราเข้าใจมากน้อยแค่ไหน แต่ไม่ต้องห่วง อย่างที่คุณประเชิญยกมา ก็มีอยู่ในพระไตรปิฎก ขยันอ่าน แล้วก็มีความสนใจมากขึ้น ก็จะพบข้อความอีกมาก ซึ่งทำให้เราค่อยๆ หมดความสงสัย
ผู้ฟัง อาจารย์ประเชิญ ในข้อที่กล่าวว่า ตั้งตนไว้ชอบ บางคนเขาก็ว่า ตั้งตนไว้ชอบ แต่มองดูแล้วมันก็ไม่ชอบ ตรงนี้มันจะพิจารณาได้อย่างไร
วิทยากร. ในอรรถกถา ท่านเริ่มตั้งแต่ ที่ไม่มีศรัทธา ก็มีศรัทธา เมื่อสัตบุรุษท่านแนะนำในเรื่องของ เหตุผล ในเรื่องของกรรม และผลของกรรม ท่านก็มีความเข้าใจในเรื่องนั้น เชื่อในเรื่องนั้น ในเรื่องของเหตุผล ตรงนั้นก็ต้องเป็นเรื่องของศรัทธา แล้วก็เริ่มที่จะมีการสำรวมระวังในเรื่องของกาย วาจา เป็นผู้ที่มีศีลเพิ่มขึ้น อันนี้คือการตั้งตนไว้ชอบ ตามลำดับขั้น
ผู้ฟัง ดิฉันก็ไม่ได้ว่าจะยกตน พอมาฟังของท่านอาจารย์แล้ว ดิฉันพิสูจน์ได้ว่ามันเป็นจริง ก็เลยนึกว่าผู้ที่เขาก็คิดว่าเขาตั้งใจจะปฏิบัติ ประพฤติปฏิบัติธรรมจริงๆ แต่ปรากฏว่ามันก็ผิดทาง อันนี้ก็รู้สึกเสียดายแทนเขาจริงๆ
ท่านอาจารย์ คนที่ตั้งตนไว้ผิด เขาจะไม่รู้ตัวเลย ว่าเขาตั้งตนไว้ผิด ถ้ารู้ตัวก็คงจะไม่ตั้งตนไว้ผิด แต่ที่ตั้งตนไว้ผิดเพราะไม่รู้ เพราะว่าไม่มีความเข้าใจอย่างละเอียด
เพราะฉะนั้น การศึกษาธรรมต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาท ไม่ประมาทที่จะต้องรู้ว่า พระธรรมเป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง แล้วก็การที่เราจะค่อยๆ เข้าใจ ก็ต้องพิจารณาไตร่ตรอง โดยรอบคอบ แล้วสิ่งใดที่ผิด ต้องรีบทิ้งทันที ถ้าเรายังคงมีความยึดมั่นเชื่อมั่นในสิ่งที่ผิด ว่าเป็นถูก ก็ไม่มีใครสามารถที่จะแก้ไขได้ เพราะฉะนั้น ตัวเอง ตั้งตนไว้ชอบ คือเป็นผู้ที่ไม่ประมาท แล้วก็รู้ว่าถ้าสิ่งใดผิดต้องทิ้ง อย่าไปเก็บไว้
ผู้ฟัง ขอกลับมาที่ เรื่องของ โลกอันตัณหาดักไว้แล้ว ถ้าเป็น ทางโลก หรือที่เป็นรูปธรรม ก็จะมีที่ดับ อย่างเช่น เป็นกรง หรือเป็นไซ เป็นที่ดักสัตว์ ก็ถูกดัก ก็จะอยู่ในนั้น แต่เมื่อตั้งแต่ตอนต้น ท่านอาจารย์ ได้พูดถึงโลกนี้ ก็คือ สิ่งที่แตกดับ ที่บัญญัติว่าเป็น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น เหล่านี้ ถ้าถูกดัก จะดักไว้ที่ไหน
ท่านอาจารย์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และทุกอย่าง ร้อยรัดให้ติดกับหลัก ที่รูปร้อยรัดโสต ให้ติดกับเสียง
ผู้ฟัง ให้ติดอยู่ตรงนี้ ไปไหนไม่ได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ลองไป มีใครจะพ้นบาง อย่างไรก็ต้องเห็น แล้วก็เห็นแล้วมีกิเลสที่ติดเลย
ผู้ฟัง พระอรัหนัต์ท่านไม่ถูกผูกไว้ ใช่ไหม ไม่ถูกดักไว้
ท่านอาจารย์ แน่นอน
ผู้ฟัง ท่านเห็นก็จริง
ท่านอาจารย์ ท่านแก้เครื่องดัก เครื่องผูกไว้หมดแล้ว
ผู้ฟัง ที่ว่าเห็นแล้ว ถึงแม้จะชอบ หรือไม่ชอบ ก็ไม่ดีทั้ง ๒ อย่าง ใช่ไหม ต้องทราบว่าเป็นธรรม หรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ ต่อไปเราจะเรียนละเอียดถึง จิตประเภทต่างๆ เพราะว่าในขณะนี้ ที่กำลังเห็น แล้วเราพูดถึงเรื่องโลกเห็น เรายังไม่ รู้เลยว่า หลังเห็นที่ดับไปแล้ว เกิดอะไรขึ้น
ผู้ฟัง ตอนแรก ดิฉันคิดว่า ถ้าเห็นดี ก็น่าจะดี
ท่านอาจารย์ เห็นดีแล้วชอบ
ผู้ฟัง ก็ไม่ดี
ท่านอาจารย์ ใช่
วิทยากร. เห็นก็เป็นวิบาก คุณบง แล้วก็เห็นแล้ว ดีหรือไม่ดี ชวนะ คือสั่งสม
ผู้ฟัง ในคำตอบของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีข้อความหนึ่งที่บอกว่า โลกอันความตายปิดบังไว้แล้ว ที่ความตายปิดบังในที่นี้คือ ปิดบังไม่ให้รู้ ระหว่างแห่ง จิตดวงหนึ่งที่ไม่ห่างกัน อันนี้ท่านก็อธิบายว่า เพราะถูกเวทนา ใกล้ต่อความตายที่มีกำลังปิดบังไว้ อย่างเรายังไม่ถูกเวทนาใกล้ต่อความตาย ที่มีกำลังปิดบังไว้ ตอนนี้เราถูกปิดบังด้วยหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ใครจะรู้ ว่าจะตายเมื่อไร เวทนาความรู้สึกต้องเกิดกับจิตทุกขณะ เมื่อเกิดมาแล้ว จะไม่มีสักขณะเดียว ที่ไม่มีความรู้สึก แต่เราไม่สามารถที่จะบอกได้ ว่าความรู้สึกขณะนั้น เป็นความรู้สึก อทุกขมสุข เฉยๆ หรือว่าความรู้สึกโทมนัส หรือความรู้สึกโสมนัส แต่เวลาที่ทุกคนใกล้จะตาย จะเห็นความตายในลักษณะต่างๆ กัน บางคนก็เจ็บปวดมาก ทรมานมาก แต่ก็ยังไม่รู้ว่าจะตาย มีใครรู้ไหม เป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่าเวทนา ความรู้สึก แม้ขณะที่ยังไม่ตาย ก็ปวด ก็เจ็บ อย่างนั้นแหละ
ขอพูดถึงเรื่องความปวดเจ็บ คือความปวดเจ็บ มีมาก ทรมานมาก แล้วคนที่ยังไม่ตายก็มีความปวดเจ็บ ที่ทรมานมากอย่างนั้น แต่ก็ยังไม่ตาย
เพราะฉะนั้น เวลาที่เขาจะตายจริงๆ ก็เหมือนตอนที่เขากำลังปวดเจ็บมากๆ โดยที่ยังไม่รู้ว่าจะตาย แต่เมื่อถึงกาละที่กรรมจะสิ้นสุด ที่จะให้เป็นบุคคลนี้อีกต่อไป แม้ระหว่างที่กำลังเจ็บปวด ความเจ็บปวด ซึ่งเกิดดับสืบต่อก็ทำให้ผู้นั้นไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่า ขณะต่อไปคือจุติจิต นี่พูดอย่าง ไม่ละเอียดเท่ากับพระอภิธรรม เพราะเหตุว่าไม่พูดถึงว่า จิตไหนเกิดก่อนอะไรๆ อย่างนั้น แต่หมายความว่า ตามที่เราเข้าใจได้ ก็คือว่า ความรู้สึกมีอยู่ตลอดเวลา แม้แต่เดี๋ยวนี้ ถ้าจะเกิดมีใครที่กรรมสิ้นสุด ทำให้ไม่เป็นบุคคลนี้อีกต่อไป ความรู้สึกของเขาก็คือเหมือนเดิม เหมือนปกติอย่างนี้ แต่ไม่รู้ว่าขณะต่อไป คือจุติจิต ที่จะต้องจากโลกนี้ เพราะฉะนั้น เราจะมีความรู้สึก อยู่ตลอดเวลา โดยที่เราไม่รู้ว่าต่อไป ขณะต่อไป จะตาย หรือจะเป็น เพราะเหตุว่าความรู้สึกในขณะนั้น ปิดบังไว้ เหมือนเดิมเหมือนปกติ แต่ว่าต่อไปก็คือจุติ
ผู้ฟัง อันนี้จะหมายถึง ขณิกมรณะ หรือเปล่า
ส.ด้วย แต่ทีนี้ที่นี่พูดถึงความตายจริงๆ ที่เป็น สมมติมรณะ เพราะว่าลองคิดถึงคนที่ใกล้จะตาย เขาปวดเจ็บ แต่เขาไม่รู้ว่าตอนไหน คือต่อไปจะตาย ทั้งๆ ที่กำลังป่วยเจ็บเหมือนตอนที่ยังไม่ตาย ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็ถูกเวทนา ความรู้สึกนั้น ปิดบังไม่ให้รู้ว่าต่อไป ก็คือสภาพจิตอีกอย่างหนึ่ง ที่จะทำให้พ้นจากความเป็นบุคคลนี้ในโลกนี้ ฉันใด
แม้แต่ขณะนี้ ระหว่างที่กรรมให้ผล คือ ทำให้วิบากจิต เกิดดับสืบต่อ หรือแม้แต่กุศลจิต อกุศลจิต ก็มีเวทนาต่างๆ ถ้าคิดถึงเวทนาซึ่งไม่เคยขาดสาย เขาก็ไม่สามารถที่จะเห็น ความที่เป็นสภาพที่ต่างกัน ของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ที่เป็นขณิกมรณะ ข้อความตรงนี้คุณนิพัฒน์ ก็สัตว์ทั้งหลายย่อมไม่รู้ระหว่าง แห่งจิตดวง ๑ ที่ไม่ห่างกัน
ท่านอาจารย์ สืบต่อไว้ตลอดเวลาก็ไม่รู้ ว่าขณะนั้น เป็นขณิกมรณะ
ผู้ฟัง เวลาจะตาย ทุกขเวทนามันเกิด
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660