ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๓๐

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๕


    ท่านอาจารย์ ตอบว่าเมื่อไม่ยังส่วนของกาย และวาจาให้ไหว ในเมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนามาสู่ครองในจักษุทวารครั้งแรก แต่ยังความโลภให้เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น จัดเป็นมโนทุจริต แค่นี้เอง เป็นแล้ว ภิกษุกับคฤหัสถ์ ต่างกันหรือเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจว่า ภิกษุกับคฤหัสถ์ต่างกัน หรือเหมือนกัน เข้าใจโดยตลอดไหม

    ผู้ฟัง แต่ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยว เอาตอนนี้ก่อน เมื่อไม่ยังส่วนของกาย และวาจาให้ไหว ในเมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนามาสู่ครองในจักษุทวารครั้งแรก แต่ยังความโลภให้เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น จัดเป็นมโนทุจริต ไม่ว่าคฤหัสถ์ หรือบรรพชิต

    ผู้ฟัง อันนี้เข้าใจแล้ว

    ท่านอาจารย์ เมื่อพูดด้วยจิต ประกอบด้วยความโลภ ว่า โอหนอ สิ่งนี้น่าปรารถนาน่าใคร่ น่าพอใจดังนี้ จัดเป็นวจีทุจริต ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรพชิต เมื่อเอามือจับต้องสิ่งนั้นเท่านั้น จัดเป็นกายทุจริต แม้ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้ เหมือนกัน ไม่ว่าคฤหัสถ์หรือบรรชิต ส่วนความต่างกันมีดังนี้ ด้วยว่า เมื่อจับต้อง เครื่องดนตรี มีสังข์ และบันเดาะเป็นต้น อันนี้เป็นอนามาส ที่ตั้งของสัททารมณ์ ในโสตทวาร นี่ก็เหมือนกันอีก ถ้าอกุศลจิตเกิดกับบุคคลใด เพียงการจับต้องก็เป็นการกระทำด้วยกาย จับต้องของหอม และดอกไม้เป็นต้น ซึ่งเป็นที่ตั้งของคันธารมณ์ ใน ฆานะทวาร จับต้องปลา และเนื้อ เป็นต้น ใช้คำว่าเป็นต้น ไม่ใช่แค่ปลาแค่เนื้อทุกอย่างหมด จับต้อง ซึ่งเป็นที่ตั้งพวกนี้ ก็ ๖ ทวาร ก็ไม่มีปัญหาเลยไม่ว่าบรรพชิตหรือคฤหัสถ์

    ผู้ฟัง เรื่องเนยใส หรือน้ำผึ้ง คิดว่าเป็นทางธรรมารมณ์ จะเป็นการเกี่ยวกับ ถ้าเป็นการเจริญสติ จะระลึกด้วย เกี่ยวกับเป็นทางใจ พวกสุขุมรูป ใช่ไหม ถึงได้คิดว่าเป็นทางธรรมารมณ์

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องใส่ชื่อเลย สภาพธรรมใดกำลังปรากฏ ลักษณะนั้นเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม

    ผู้ฟัง เพราะตามที่ท่านอาจารย์เคยแสดง เหมือนกับว่า ถ้าเป็นลักษณะของน้ำ จะต้องรู้ด้วยทางใจ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ทั้งหมด เวลานี้ มีสภาพธรรมที่เรา ไม่รู้ ลักษณะที่แท้จริง รู้จักแต่ชื่อ จะรู้จักลักษณะจริงๆ ต่อเมื่อสติปัฏฐานเกิดเท่านั้น เพราะว่าสติปัฏฐาน จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีลักษณะ วิเสสลักษณะ ลักษณะเฉพาะอย่างๆ ต่างๆ กัน จึงจะรู้ว่าขณะนั้น เป็นสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม

    ผู้ฟัง ที่เมื่อยังส่วนของกาย และวาจาให้ไหว เมื่ออารมณ์อันน่าปรารถนามาสู่ครอง ในจักษุทวาร ครั้งแรก ยังวิปัสสนาอันมีรูปเป็นอารมณ์ให้ตั้งขึ้น จัดเป็นมโนสุจริต นี่แสดงว่า ก็อย่างนี้ที่ เมื่อกี้ ท่านอาจารย์พูด คือต้องมีสติปัฏฐานเกิดขึ้น ถูกไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่อย่างนั้นจะบริสุทธิ์อย่างไร ก็ยังคงมีความเห็นว่าเป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ และเป็นเรา

    ผู้ฟัง เมื่อสติปัฏฐานเกิดขึ้น

    ท่านอาจารย์ สภาพธรรมหนึ่งที่สติระลึก แล้วมีลักษณะเฉพาะ ลักษณะนั้นปรากฏ บอกให้รู้ว่าเป็นลักษณะของสภาพธรรมนั้น ไม่ใช่สภาพธรรมอื่น

    ผู้ฟัง เป็นปรมัตถธรรม พอเป็นประเด็นที่ ๒ เมื่อพูดด้วยจิตอันประกอบด้วยวิปัสสนาว่า มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อันนี้หมายถึง ไตรลักษณะหรือไม่ เมื่อสติปัฏฐาน กำลังเจริญอยู่ แล้วทีนี้ ที่บอกว่า พูดด้วยจิต จำเป็นต้องพูดออกมาเป็นลมพูดหรือว่า เป็นตรึก เป็นวิตก วิจาร แล้วมีการเห็นในขณะนั้น มโนทวาร ว่าเป็นไตรลักษณ์ คือเอาในขั้นอุกฤษฏ์

    ท่านอาจารย์ เป็นอุกฤษฏ์ได้อย่างไร ยังไม่ต้องอุกฤษฏ์เลย ขณะนี้มีสภาพธรรมสติระลึกหรือเปล่า เป็นผู้ตรง ถ้าสติระลึกก็มีลักษณะของสภาพธรรมนั้น ขณะนั้นเป็นมโนสุจริต ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น

    ผู้ฟัง แล้วที่นี้ถ้าบอกว่า พูดด้วยจิต จำเป็นต้องพูดออกมาหรือว่า

    ท่านอาจารย์ เวลานี้กำลังพูดอยู่ เวลานี้กำลังพูดอยู่ สติปัฏฐานเกิดได้ไหม

    ผู้ฟัง เกิดได้ถ้าสติเกิด

    ท่านอาจารย์ นั่นก็คือขณะที่กำลังพูดแล้วสติปัฏฐานเกิด ก็เป็นวจีสุจริตในขณะนั้น

    ผู้ฟัง อันนี้จำเป็นต้องเป็นเนื้อเรื่องซึ่งประกอบด้วย

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคิดอะไรเลยมีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ ให้รู้ ให้เข้าใจถูก เวลานี้ก็มีลักษณะของสภาพธรรม ตั้งแต่เช้า ตั้งแต่เกิดจนตาย ก็มีลักษณะของสภาพธรรมต่างๆ ปรากฏ แต่เกิดแล้วดับไปเร็วมาก เพราะสติไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้น จึงไม่ได้รู้ว่าเกิดแล้วดับ

    การที่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อสติปัฏฐาน เริ่มที่จะเกิด คือ รู้ลักษณะที่มีลักษณะจริงๆ กำลังปรากฏ แต่ละอย่าง ลักษณะต่างๆ กัน นั่นก็เป็นลักษณะของสภาพธรรม จึงจะรู้ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่างๆ ไม่ต้องไปคิดไกลถึงเกิดดับอะไรเลย เพราะว่าเป็นเรื่องที่จะต้องอบรม

    ผู้ฟัง อันนี้อยากเรียนถามว่า จะเป็นวจีทุจริต ถ้าในขณะที่สติปัฏฐานเกิด ถ้าขณะที่สติปัฏฐานเกิด พูด สัมผัปปลาปะ แต่ว่า ขณะนั้นสติปัฏฐานเกิด ระลึกรู้สภาพธรรมที่จิต ตรึก นึก คิด แล้วก็พูด แต่เนื้อเรื่องนั้น คือเป็นบัญญัติ แล้วเป็นเรื่องซึ่งไม่ใช่เกี่ยวกับธรรม เป็นสัมผัปปลาปะ อันนี้ก็จะจัดว่าเป็นสุจริต หรือทุจริต

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ต้องจัด อะไรเลย แต่ว่าคำพูดนั้นเกิดจากจิตอะไร

    ผู้ฟัง เกิดจาก ถ้าสัมผัปปลาปะ ก็ต้องเป็นทุจริต

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นล่วงไปแล้ว และขณะใดที่สติปัฏฐานเกิดระลึก

    ผู้ฟัง เป็นคนละขณะกัน

    ท่านอาจารย์ ตอนที่สติปัฏฐานเกิด จะพูดสัมผัปปลาปะวาจาไหม

    ผู้ฟัง ไม่ ไม่พูด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เห็นได้เลย ว่าเวลาที่คำพูดอย่างนั้นเกิด เพราะจิตประเภทไหน

    ผู้ฟัง แสดงว่าสติปัฏฐานนั้นเกิด มาระลึกตาม

    ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสภาพธรรมที่ปรากฏ สติก็ระลึกลักษณะที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ไม่อย่างนั้นจะรู้อะไร ถ้าไม่ปรากฏให้รู้

    ผู้ฟัง แล้วในขณะที่สัมผัปปลาปะ แล้ว จะสามารถสติปัฏฐานเกิดได้ ไหม

    ท่านอาจารย์ สัมผัปปลาปะวาจาเกิดจากจิตอะไร

    ผู้ฟัง เกิดจาก อกุศลจิต

    ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่สติเกิด จะมีสัมผัปปลาปะวาจาไหม

    ผู้ฟัง ก็จะหยุด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็จะรู้ได้ว่า ขณะนั้นสภาพธรรมนั้นเกิดเพราะอะไร

    ผู้ฟัง มีท่านผู้ร่วมสนทนา เขียนหนังสือมาถาม ขอเรียนถามคุณประเชิญว่า ช่วยอธิบายคำว่า ธรรมารมณ์ด้วย เพราะยังไม่เข้าใจว่า มีลักษณะอย่างไร

    วิทยากร. ธรรมารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ปรากฏทางมโนทวาร โดยเฉพาะ ซึ่งอารมณ์ทั้งหมดมี ๖ อารมณ์ ใช่ไหม อารมณ์ที่ปรากฏทางตาเรียกว่า รูปารมณ์ คือรู้ได้ทางตาโดยเฉพาะ รู้ได้ทางหูเรียกว่า สัททารมณ์ ที่รู้ได้ทางจมูก คันทารมณ์ ที่รู้ได้ทางลิ้นก็เป็น รสารมณ์ รู้ได้ทางกายก็เป็น โผฏฐัพพารมณ์ รู้ได้ทางใจอย่างเดียว รู้ได้ทางใจอย่างเดียวเป็น ธรรมารมณ์ ซึ่งก็จะนอกจากทางทวารทั้ง ๕ หรือว่าโดยปรมัตถธรรม คือ นอกจากรูป ๗ รูปนี้ก็จะเป็นธรรมารมณ์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจิต เจตสิก รูป ที่เหลือ แล้วก็พระนิพพานจะเป็นธรรมารมณ์ทั้งหมด

    ผู้ฟัง ชีวิตประจำวัน เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ขณะนั้นเป็น ธรรมารมณ์ เพราะว่าถ้ายังไม่เข้าใจคำว่าธรรมารมณ์ รสารมณ์ หรือรูปารมณ์ ท่านอาจารย์จะช่วยกรุณาให้ ผมให้เข้าใจมากขึ้น

    ท่านอาจารย์ เพราะว่า จริงๆ แล้วเราศึกษาพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ ทรงแสดงโดยละเอียด แต่ไม่ได้ หมายความว่า เราสามารถจะรู้อย่างพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น เราเกือบจะไม่ต้องพูดถึง จำนวน หรือว่าสิ่งที่ไม่ปรากฏกับเรา อย่างเช่น โอชารูป นี้รวมอยู่ในมหาภูตรูป ๔ เป็นรูปที่เกิดอาศัยเกิดกับมหาภูตรูปอีก ๔ รูป สี กลิ่น รส โอชา เราสามารถจะรู้ได้หรือเปล่า

    เพราะฉะนั้น เราก็เรียน ศึกษาจากพระธรรมที่ทรงแสดง โดยการตรัสรู้ แต่สิ่งที่ปรากฏจริงๆ ในชีวิตประจำวัน กี่ภพกี่ชาติก็จะไม่เกิน ๗ รูป คือ สิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตาเดี๋ยวนี้ มีใครบ้าง ไม่เห็น ไม่มี ใช่ไหม ขณะใดที่เห็น ก็หมายความว่า มีสิ่งที่กำลังปรากฏ ให้เห็น ๑ รูป ยังไม่ต้องพูดถึงธรรมารมณ์ เสียง ทุกคนก็ได้ยิน ก็เป็นรูปที่ปรากฏ ทางหู เท่านั้น ไม่สามารถจะปรากฏทางอื่นได้เลย จะรู้ได้ก็โดย โสตปสาท โสตวิญญาณ โดยอาศัยโสตปสาท แต่ถ้าศึกษาต่อไปก็จะทราบได้ว่า ทางใจ รู้ได้หมดทุกอย่าง

    แต่ตอนนี้ เราจะพูดถึง รูปที่สามารถจะรู้ได้เฉพาะแต่ละทาง กลิ่นก็สามารถจะรู้ได้ รสก็สามารถจะรู้ได้ เมื่อมีชิวหาวิญญาณ เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว ก็สามารถจะรู้ได้เมื่อมี การกระทบสัมผัส ๗ รูป มีรูปอื่นอีกไหม ที่ปรากฏในชีวิตประจำวัน ลองหาดู รูปทั้งหมดเลย ๒๘ รูป แต่รูปที่ปรากฏจริงๆ ที่เราติดข้องอย่างมาก ก็คือ ๗ รูปนี้ มีใครไม่ต้องการ ๗ รูปนี้บ้าง ให้ขาดไปสักทวาร ๑ ได้ไหม ติดข้องอย่างมากเลย ๗ รูป

    เพราะฉะนั้น ก็ควรที่จะเข้าใจว่า แล้วอะไร อีก ๑ ชื่อ รูปารมณ์ รู้ได้ทางตา สัททารมณ์ รู้ได้ทางหู คันธารมณ์ รู้ได้ทางจมูก นี้ภาษาบาลี แต่ภาษาไทยก็คือ สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๗ รูป มีปรากฏในชีวิตประจำวัน แต่เรารู้แค่นี้หรือ หรือเราเห็นคน ใช่ไหม

    จะเห็นได้ว่ารูป จริงๆ ๗ รูปแต่เรารู้ คือเรานึกถึง สิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นคน เป็นสัตว์ต่างๆ ซึ่งจิตเห็นไม่สามารถที่จะรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอะไร เพราะว่าจิตเห็น เพียงเห็น แค่เพียงเห็น จิตได้ยินก็เพียงแค่ได้ยิน แต่ว่าหลังจากนั้นแล้ว มีการคิดนึกเรื่องราวต่างๆ นึกถึงคำ นึกถึงรูปร่างสัณฐาน นึกได้ทุกอย่าง ตามสิ่งที่เห็น จะเห็นได้ว่าวันหนึ่งๆ เรานึกมาก แค่เห็น นึกมากไหม หรือไม่ได้นึกอะไร เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้จริงๆ ว่า เวลาที่ไม่ใช่ขณะที่ปรากฏเพียงสี ขณะนั้นเป็น ธรรมารมณ์ เพราะจิตคิด เวลาที่ไม่ได้ปรากฏเพียงเสียง แต่สามารถที่จะเข้าใจความหมายด้วย ขณะนั้นก็เป็นจิตที่คิดนึกถึงเสียงที่ปรากฏ ถ้าเพียงเสียง สูงๆ ต่ำๆ ไม่คิดนึกอะไรเลย คำต่างๆ ก็ไม่มี ภาษาต่างๆ ก็ไม่มี แต่เพราะเหตุว่า เมื่อมีเสียงแล้วก็มีการคิด

    เพราะฉะนั้น ขณะที่คิดไม่ใช่ขณะที่ได้ยิน นั่นคือ ธรรมารมณ์ สิ่งใดก็ตามที่ไม่ใช่เพียงสีที่ปรากฏ ไม่ใช่เพียงเสียง ไม่ใช่เพียงกลิ่น ไม่ใช่เพียงรส ไม่ใช่เพียงโผฏฐัพพะ แต่วันหนึ่งๆ ทั้งหมดที่เรารู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ นั่นเป็น ธรรมารมณ์ เพราะว่ารู้ได้ด้วยใจ

    ผู้ฟัง อย่างที่เคยสนทนาธรรมกันว่า ขณะนี้เห็น นาฬิกาไหม ทุกคนก็ตอบเห็น นาฬิกา ความจริงเห็นนาฬิกา ไม่ได้ เพียงแต่คิดถึงนาฬิกาได้ ฉันใดก็ฉันนั้น นาฬิกาก็เป็น ธรรมารมณ์ ถูกต้องไหม

    ท่านอาจารย์ เรื่องราว รูปร่าง สัณฐาน ที่เกิดจากความคิดนึกทั้งหมด

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น พอมาอ่านอันนี้ ว่าจับต้องจีวร เป็นต้น จับต้องเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง ความเข้าใจของผู้ฟัง ต้องใส่ใจในอารมณ์ของธรรมารมณ์ อารมณ์ของธรรมารมณ์ ที่ผู้ใดมีความเข้าใจมาก ก็สามารถ รู้ลึกซึ้งได้มากแค่นั้น แต่ถ้าผมรู้ตัวว่า ผมยังไม่เข้าใจเรื่อง ธรรมารมณ์พอ เราก็รู้ หรือเข้าใจเพียงที่ท่านอาจารย์ได้บรรยายไว้ ก็เป็นความเห็นที่ถูกต้อง ไหม

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ประโยชน์ ของการสนทนาธรรม แม้ในอดีตพระเถระซึ่งเป็นเอตทัคคะทั้งนั้นเลย ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระกัสสปะ ท่านพระอนิรุทธ ท่านเป็นเอตทัคคะ แต่ท่านสนทนาธรรม เพราะว่าใครก็ตามที่จะได้รับฟังพระไตรปิฎกแล้ว มีความเข้าใจมากน้อยต่างกันตามระดับ ถ้าได้อาศัยความเข้าใจของท่านทั้งหลายมารวมกัน ก็ยังสามารถที่จะทำความแจ่มแจ้งให้ยิ่งขึ้น แต่แม้กระนั้นก็ยังไปกราบทูลถาม พระผู้มีพระภาค นี่ก็แสดงให้เห็นประโยชน์ ของการที่เราจะไม่เพียงอ่านคนเดียว คิดคนเดียว เข้าใจคนเดียว แล้วเข้าใจว่าถูกต้องแล้ว เพราะว่าจะต้องมีสภาพธรรมที่ลึกซึ้ง ที่แต่ละคน ก็สามารถที่จะรู้ได้ แต่ละทาง

    ผู้ฟัง ชีวิตของพวกเรา ยังเข้าใจอันนี้น้อยอยู่

    ท่านอาจารย์ เมื่อคืนฝันหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ฝัน

    ท่านอาจารย์ ขณะที่ฝันเห็น อะไรหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ฝันเป็นอะไร อารมณ์อะไรใน ใน ๖ อารมณ์

    ผู้ฟัง ก็เป็นธรรมารมณ์

    ท่านอาจารย์ ตอบได้โดยทฤษฎี ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ทฤษฎี

    ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าทางตาต้องเป็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ทางหู ก็เป็นเสียงที่ปรากฏจริงๆ ทางจมูกก็เป็นกลิ่นจริงๆ ที่กระทบ ทางลิ้นก็เป็นรสจริงๆ ที่กำลังประทบทางกายก็เย็นหรือร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว จริงๆ แต่ความทรงจำ เรื่องราวต่างๆ จากสิ่งที่ปรากฏทางตา เป็นเรื่อง ใช่ไหม เป็นธรรมารมณ์ เป็นบัญญัติ เพราะฉะนั้น ในฝัน ฉันใด ขณะนี้เหมือนอย่างนั้นไหม

    ผู้ฟัง ก็เหมือน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เข้าใจธรรมารมณ์ในขณะนี้ได้ ใช่ไหม แยกจากทางตาที่เห็น

    ผู้ฟัง เพราะว่าในขณะนี้ ผมก็คิดถึงบ้านได้ ทั้งๆ ที่ไม่เห็น

    ส.เดี๋ยวนี้ไม่ต้องคิดถึงบ้าน แต่กำลังเห็น มีธรรมารมณ์ด้วยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ หลังจากที่เห็นแล้ว ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ในพระสูตรนี้ ท่านก็ได้แสดง เหมือนกับว่าเรียงตามลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นสูงสุดคือ วิชา วิมุตติ ทีนี้จะมี วิชา วิมุตติได้ ก็ต้องมี โพชฌงค์ ก่อนจะมีโพชฌงค์ได้ ต้องมีสติปัฏฐาน ก่อนที่จะมีสติปัฏฐานได้ ต้องมีสุจริต ๓ ก่อนที่จะมีสุจริต ๓ ได้ ก็จะมี อินทริย เป็นลำดับขั้น อย่างนี้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ อินทริยสังวร ย่อมทำให้สุจริต ๓ บริบูรณ์ ทีนี้อย่างที่กล่าวถึงเมื่อกี้นี้ สุจริต ๓ ทางทวารไหน เป็นเท่าไร แล้วถ้าไม่มีอินทริยสังวร จะสุจริต ๓ ได้ไหม

    ผู้ฟัง ถ้าตามพระสูตรนี้ก็จะมีไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ตามความเป็นจริงพระสูตร ต้องจริง ต้องถูกด้วย

    ผู้ฟัง แต่ทีนี้ ที่มี ผู้ที่แสดงความเห็น เรื่องการอบรมที่เป็นลำดับขั้น ท่านบอกว่า การที่จะเจริญสติปัฏฐาน โดยไม่มี สุจริต ๓ ไม่มีอินทริยสังวร ก็ให้ถอยมา ให้มีสุจริต ๓ บริบูรณ์ก่อน แล้วก็ถอยมา ให้อบรมอินทริยสังวรให้บริบูรณ์ก่อน ถึงจะตามลำดับขั้น มิฉะนั้นก็จะเป็นการข้ามขั้น อันนี้จะเป็นไปได้เพียงไหน

    ท่านอาจารย์ ก็ลองคิดดู สุจริต ๓ จะบริบูรณ์โดยปราศจากอินทริยสังวร หรือสติปัฏฐานได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คำตอบคืออะไร

    ผู้ฟัง ควรจะอบรมทุกท่าน ใช่ไหม ศีลก็ควรที่จะมีบริบูรณ์

    ท่านอาจารย์ ที่นี่ สุจริต ๓ นี้ ต้องด้วย อินทริยสังวร เพราะหมายความถึง กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ศีลที่เป็นกายสุจริต วจีสุจริต ที่เรากล่าวถึง ที่นี่ใช้คำว่า บริบูรณ์ ไม่ได้หมายความว่าไปทำให้เกิดขึ้น

    ผู้ฟัง ถึงแม้ว่าไม่บริบูรณ์ ก็

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ เกิด จนกว่าจะบริบูรณ์

    ผู้ฟัง สติปัฏฐาน ๔ ก็มีได้ เจริญได้ ใช่ไหม ไม่ใช่ว่าจะต้องให้เป็นบริบูรณ์เป็นตามลำดับขั้น อย่างนั้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ เพราะว่าบริบูรณ์จริง สำหรับศีล คือพระโสดาบัน แต่ทีนี้ถ้าเรากล่าวถึง สุจริต ๓ ต้องด้วย อินทริยสังวร

    ผู้ฟัง เราก็ทราบว่าจิตมันเกิดดับทีละขณะ เพราะฉะนั้น ดิฉันว่า มันก็ แต่ละขณะ ขณะที่บริบูรณ์ ก็คือเป็นจิตดวงหนึ่ง ไม่ว่า จะมีอกุศลยังอยู่ก็ตาม จะเป็นในลักษณะนี้ หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ บริบูรณ์ ก็ต้องยังวิชชา และวิมุตติให้บริบูรณ์ด้วย ไม่ใช่เล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ อบรมไปเรื่อยๆ โดยมากมาติดกันที่พยัญชนะ ที่คำ เราจะเข้าใจอะไร นี่สำคัญที่สุด ไม่ได้หมายความว่า พอเราเข้าใจคำ แล้วเราจะทำได้ แต่ถ้าเราสามารถอบรมได้ แล้วเราจะเข้าใจ คำ ได้ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ท่านผู้ฟังสงสัยว่า ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ นี้มีลักษณะเป็นอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ทุกคนมีกาย ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้าอยู่ตรงนี้ ใช่ไหม แล้วกาย ปรากฏตรงไหน มีลักษณะที่ปรากฏของกายตรงไหน ไม่ใช่ไปนึกเอา แต่มีลักษณะที่เคยยืดถือว่าเป็นกาย ปรากฏตรงไหน กายเป็นรูป หรือเป็นนาม

    ผู้ฟัง เป็นรูป

    ท่านอาจารย์ ตอบได้ เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังนั่งอยู่ตรงนี้ มีลักษณะของกายซึ่งเป็นรูปปรากฏตรงไหน ถ้าไม่มีจะรู้ว่าเป็นกายไม่ได้ เป็นการเพียงคิดว่าเป็นกาย แต่ที่จะรู้ว่าเป็นกาย ต้องมีลักษณะของกาย ปรากฏให้รู้ว่ากายคืออย่างนี้ ลักษณะที่ว่าเป็น กายคืออย่างนี้ ในขณะที่กำลังนั่ง ซึ่งทุกคนกำลังนั่ง ขณะนี้ ลักษณะของกายตรงไหน ที่ปรากฏให้รู้ที่เคยยึดถือว่าเป็นกาย ตรงไหนปรากฏให้รู้

    ผู้ฟัง มีลักษณะเย็นร้อน อ่อนแข็ง อย่างนี้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ปรากฏตรงไหน ก็คือสติระลึกตรงนั้น ก็รู้ว่าเห็นกายในกาย รู้ว่ากายที่เคยยึดถือก็คือนี่แหละ

    ผู้ฟัง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล จริงๆ แล้วเป็นสภาพธรรม ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ลักษณะของกายอย่างนี้แหละที่เคยยึดถือว่าเป็นกาย ก็คือมีลักษณะจริงๆ อย่างนี้

    ผู้ฟัง กายในกาย อันนี้คือกายในกาย

    ท่านอาจารย์ ที่กาย นั้นแหละ

    ผู้ฟัง แล้วพิจารณาเวทนาในเวทนาอีก

    ท่านอาจารย์ เวทนา คือ ความรู้สึก ขณะนี้ มี ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ ต้องมีแน่นอน ไม่เคยขาดไปเลย ต้องมีเวทนา เพราะฉะนั้น ขณะใดที่สติ รู้สภาพของความรู้สึก ว่าขณะนั้นเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ แล้วก็เคยเป็นเรา ดีใจ เราเสียใจ เราสุข เราทุกข์ แท้ที่จริงลักษณะนั้นแสดง เปิดเผยถึง ความเป็นธรรม มีลักษณะเฉพาะอย่างนั้นๆ ที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง สรุปว่า ไม่มีเราเลย เป็นแต่จิต เจตสิก และรูป

    ท่านอาจารย์ แน่นอน จนกว่าจะรู้ชัดอย่างนี้จริงๆ จนกว่าจะหมดความสงสัย

    ผู้ฟัง อินทริยสังวร อะไรที่สติปัฏฐาน เกิดแล้ว ขณะนั้นเป็น อินทริยสังวรแล้ว ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ อินทริยสังวรมีหลายระดับ แต่ถ้าพูดถึงระดับที่จะทำให้ถึง วิชชา และวิมุตติ ต้องเป็นสติปัฏฐาน

    ผู้ฟัง ขณะใดที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นเป็นอินทริยสังวรไหม

    ท่านอาจารย์ แล้ว แต่มีสติปัฏฐานเกิด มีปัญญาเกิด หรือเปล่า หรือเพียงแต่ขั้นสังวรในขั้นระดับของปาฏิโมกขสังวรศีล ซึ่งเป็นการสังวรทางกาย ทางวาจา ส่วนอีก ๓ ได้แก่ อะไร อินทริยสังวรศีล อาชีวะปริสุทธิศีล ปัจจยสันนิสิตศีล อีก ๓ เป็นเรื่องของใจ

    ผู้ฟัง ขณะใดที่เป็น ทาน ขณะใดที่เป็นศีล ก็แสดงว่ายังไม่ถึงขั้นที่เป็น อินทริยสังวร

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้ ว่าการที่จะมี วิชชา คือ ความรู้จริงในลักษณะของสภาพธรรม ต้องเพราะสติปัฏฐาน เกิด ซึ่งสติปัฏฐาน เป็นสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่ระดับขั้นทาน ไม่ใช่ระดับขั้นศีล ขณะที่กำลังฟัง เข้าใจถูก มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย กับกุศลจิต แต่ถ้าขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะ ที่เป็นปรมัตถธรรม ที่กำลังปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ขณะนั้นก็ไม่ใช่สติปัฏฐาน ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น ความหมายของสติขั้นทาน เป็นไปในการให้ ขณะใดที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้นไม่ใช่สติสัมปชัญญะ เป็นสติขั้นทาน ขณะไหนที่วิรัติทุจริต ขณะนั้น ไม่ใช่ขณะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีลักษณะจริงๆ ขณะนั้นก็เป็นเพียงสติขั้นศีล ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567