ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
ตอนที่ ๖๓๓
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ การที่จะรู้ปัจจัย ต้องเมื่อสภาพธรรมนั้นเกิด แต่ถ้าสภาพธรรมนั้นไม่เกิด แล้วจะไปรู้ปัจจัยอะไร จะเอาปัจจัยอะไรมารู้ ว่าสภาพธรรมทั้งหลาย ขณะนี้เกิดแล้ว โดยที่ไม่ต้องมีใครต้องไปทำอะไรเลย แต่มีปัจจัยทำให้เกิดขึ้น
การอบรมเจริญความเห็นถูกต้อง จะเห็นถูกต้องยิ่งขึ้น ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เพราะว่าขณะนี้ นามธรรม รูปธรรมมากมายหลายชนิด เกิดแล้วดับแล้วหมด โดยที่ไม่มีการเข้าใจถูกต้อง ในลักษณะของสภาพธรรมนั้นเลย แต่ถ้ามีความเข้าใจถูกต้องใกล้ชิดขึ้น ก็จะเห็นลักษณะของสภาพธรรมต่างๆ กันไป แต่ละอย่าง เช่น ขณะนี้มีเสียง ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะที่จะรู้ว่าเสียงเกิดปรากฏ ก็ผ่านไปเลย ก็ไม่ใช่สภาพธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งปรากฏแล้วก็หมดไป แล้วเมื่อเสียงดับแล้ว อย่างอื่นเกิดอีกปรากฏอีก เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีเราที่จะบังคับเลย แต่ว่าเป็นสติสัมปชัญญะ ที่สามารถจะรู้ความจริง ก็จะรู้ว่าสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เกิดปรากฏแล้วหมดไป อีกอย่างหนึ่งก็เกิดต่อ เมื่อมีการรู้ความเกิดต่อ สืบต่ออย่างใกล้ชิดขึ้น จะมีโอกาสประจักษ์การเกิดดับไหม หนทางที่จะประจักษ์การเกิดดับ ไม่ใช่ว่าไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ ที่เกิดดับ แต่หนทางเดียวก็คือว่าการเกิดดับจะรู้ได้ ต่อเมื่อรู้ลักษณะของสภาพธรรมละเอียดขึ้น จนกระทั่งสามารถจะรู้ว่า สิ่งนี้เกิดปรากฏแล้วหมดไป แล้วสิ่งต่อไปเกิดปรากฏสืบต่อ
ขณะที่เห็น ได้ยินไหม เห็นไหมว่าห่างกัน หรือว่าติดกัน เพราะสติสัมปชัญญะไม่เกิด แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าขณะที่กำลังเห็นนี้เอง แต่ก็มีเสียงเกิด และก็สติระลึกที่เสียง จะเห็นได้ว่าต้องคลาย หรือละการติดข้อง ในสิ่งที่ปรากฏทางตา ในรูปร่างสัณฐาน จึงสามารถที่จะประจักษ์การเกิดแล้วดับไปได้ เพราะว่าตามความเป็นจริง ขณะที่เห็นก็ยังมีมโนทวารวิถี ทั้งที่รู้ว่าเห็นอะไร แล้วก็ยังมีความพอใจในรูปร่างสัณฐานด้วย รู้ว่าใครเข้ามาในห้อง รู้ว่าได้ยินเสียงอะไร เพราะฉะนั้น ก็จะมีวิถีจิต ซึ่งเกิดดับสืบต่อกันมาก แต่สำหรับผู้ที่เริ่มอบรมเจริญสติปัฏฐาน ต้องเข้าใจถูก ว่าไม่สามารถที่จะไปรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับ สืบต่อกันอย่างใกล้ชิด เพราะเหตุว่าเพิ่งเริ่ม
ไม่ว่าสภาพธรรมใดจะปรากฏ แม้ขณะที่กำลังเห็น แต่เสียงเกิด แล้วก็มีสติสัมปชัญญะ ที่จะรู้ลักษณะนั้น ก็รู้ว่าลักษณะของเสียงต่างกับสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แต่ความจริง ยังมีความคิดนึก ยังมีภวังคจิต อยู่ในระหว่างนั้นอีก เพราะฉะนั้น ก็แสดงให้เห็นว่ากว่าจะประจักษ์การเกิดดับได้จริงๆ สติจะต้องระลึกลักษณะของสภาพธรรม ไม่ว่าจะเป็นสภาพธรรมใด โดยที่ไม่ต้องกังวล ถึงสิ่งที่เกิดแล้วดับแล้ว โดยผู้ที่ประจักษ์ อย่างเห็นขณะนี้ กำลังเห็นเหมือนไม่ดับ แต่ความจริงต้องดับ และมีสภาพธรรมที่เกิดสืบต่อ ก่อนที่จะถึงได้ยิน ก่อนที่เสียงจะปรากฏ แต่เริ่มเข้าใจถูก ว่าเมื่อเป็นสภาพธรรมที่มีจริง สติจะค่อยๆ ระลึก จะค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ แล้วจะรู้ว่าเมื่อมีสติสัมปชัญญะ จะมีลักษณะของสภาพธรรมนั้นปรากฏ ในขณะนั้นเป็นสติปัฏฐาน ก็เริ่มรู้จักสติปัฏฐาน แต่รู้ว่าเล็กน้อย เมื่อเกิดอีกก็รู้ว่าขณะนั้น ก็เป็นสติปัฏฐานเป็นปกติ ก็จะไม่หวั่นไหว แล้วไม่มีเรา ที่เดือดร้อนใจ ที่จะไปทำอะไร จะไปปล่อยอะไร หรือไม่ปล่อยอะไรตอนนั้น ถ้าเป็นความเห็นที่ถูกต้อง
ผู้ฟัง จริงๆ ก็ต้องค่อยๆ อบรมความเข้าใจขึ้น แต่ทีนี้ ในลักษณะของการข่ม การฝืน อย่างเช่นผู้ที่รักษาธุดงค์ เพราะดูลักษณะเหมือนกับว่าจะขัดเกลากิเลส แบบค่อนข้างจะอุกฤษณ์
ท่านอาจารย์ สะสมมา ทำไมคนอื่นไม่เป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง หมายความว่า เป็นอุปสนิสัยของคนนั้น
ท่านอาจารย์ แน่นอน แต่ละคนจะรู้จักตัวเองตามความเป็นจริง คนที่ไม่ธุดงค์ ก็รู้จักตัวเอง ที่ไม่ได้สะสมมา ที่จะธุดงค์ คนที่ธุดงค์ก็รู้จักการสะสมของตัวเอง ในขณะนั้นว่าทุกอย่าง ไม่ว่าจะเห็น จะได้ยิน แม้คิด แม้โลภะ แม้โทสะ แม้กุศลก็เป็นไปตามการสะสม ถ้าสะสมปัญญามา ที่จะเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรม แล้วจะให้ไม่เข้าใจถูกได้ไหม
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ก็ไม่ได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ไม่ใช่หมายความว่า ทุกคนจะต้องไปธุดงค์ เพื่อจะขัดเกลากิเลส
ท่านอาจารย์ ไม่มีในคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ฟัง ต้องเป็นไปตามอุปนิสัย การสะสมมา
ท่านอาจารย์ ศีล ๒๒๗ สำหรับคฤหัสถ์ด้วยหรือเปล่า
ผู้ฟัง เฉพาะพระภิกษุ
ท่านอาจารย์ แล้วธุดงค์ สำหรับภิกษุทุกรูปหรือเปล่า
ผู้ฟัง แล้วแต่อัธยาศัย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็แสดงอยู่แล้ว ความเป็นอัตตา ต้องรู้ ตัวเองตามความเป็นจริง จะไม่มีใครเหมือนใครเลยสักคน เดี๋ยวนี้อะไรปรากฏควรรู้ไหม แค่นี้ก็จะต้องไปทำอะไรที่ไหน เมื่อสิ่งนี้ปรากฏแล้วกับใคร ก็รู้ สิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนั้น เพราะสิ่งนั้น ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ทราบคุณประเชิญจะรอสติปัฏฐานเกิดเวลาไหน จะเอาตอนไหนดี
ผู้ฟัง ผมไม่รอ
ท่านอาจารย์ ก็เมื่อกี้นี้จะต้องไปทำกุศล จะไปอะไรต่ออะไร อย่าปล่อยตัวอย่างนั้นอย่างนี้ ไม่ใช่หรือ
ผู้ฟัง มีผู้กล่าวว่า การกระทำอย่างนั้นเป็นการอบรมบารมี คือ การขัดเกลากิเลส ด้วยการฝืน ด้วยการข่ม คือไม่เป็นไปตามอำนาจของกิเลส เพราะฉะนั้น ผู้ที่กล่าวอย่างนั้น อย่างที่ท่านอาจารย์อธิบาย การขัดเกลากิเลสของ ผู้ที่ได้ฌาน หรือว่าทรมานตัว ก็ไม่ใช่หนทาง ใช่ไหม ค่อยๆ รู้ขึ้นจะดีกว่า
ท่านอาจารย์ ที่คยา รัชชุมาลา มีความทุกข์มาก กำลังจะฆ่าตัวตาย ลองคิดถึงคนที่มีทุกข์ ระดับจะฆ่าตัวตาย รู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นพระอริยบุคคล ต้องรอไปเวลาอื่น ให้ไม่มีทุกข์ก่อนหรือเปล่า เวลาโกรธ ต้องให้หายโกรธเสียก่อน เวลาโลภก็ต้องให้ไม่มีโลภเสียก่อนหรืออย่างไร หรือว่าทุกขณะนี่ เป็นการอบรมเพื่อที่ไม่ว่าจะถึงขณะไหน ที่ปัญญาถึงความสมบูรณ์ที่จะ รู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ก็สามารถจะรู้แจ้ง โดยเลือกไม่ได้ ถ้าขณะนี้ไม่รอ นั่นก็คือความเห็นถูก ที่ว่า ถ้ามีเหตุปัจจัยที่สติปัฏฐานจะเกิด เมื่อไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปทำอย่างอื่น ถ้าไปทำอย่างอื่น ขณะนั้นก็ไม่สามารถจะรู้ความจริง เพราะว่าไปทำอย่างอื่น เพื่อไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนั้น ไม่ว่าจะทำอะไรทั้งหมดก็ตาม เพราะเหตุว่าการยึดถือสภาพธรรม ว่าเป็นเราลึกมาก แล้วก็ละเอียดมาก เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เริ่มเข้าใจถูก ในขณะที่สภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดกำลังปรากฏ ก็เป็นการไปทำอย่างอื่นตลอด ที่จะไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ แต่ถ้าสามารถที่จะมีความเห็นถูก เข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนี้ได้ ต่อไปก็สามารถที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีในขณะนั้นได้ จนกว่าจะทั่ว เพราะเหตุว่าถ้าไม่ทั่ว ก็ละไม่ได้
ผู้ฟัง แต่ลักษณะที่ท่านอาจารย์ อธิบาย เหมือนกับว่ามันช้า แล้วก็เหมือนกับว่ามันไม่เห็นผล คือ ก็ค่อยๆ รู้ขึ้น เข้าใจขึ้นในสิ่งที่กำลังปรากฏ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ลองเทียบขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางเร็ว ทางตรง คือเข้าใจ เดี๋ยวนี้ เพื่อที่จะได้สะสมไป สำหรับ ต่อไป ก็จะเข้าใจเดี๋ยวนั้น แต่ละลักษณะ แต่ถ้าเป็นทางอื่นจะตรงไหม หรือจะช้ากว่า เพราะว่ามัวไปทำอย่างอื่น แทนที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง ต้องช้ากว่าแน่ เพราะว่าไม่ใช่หนทง
ท่านอาจารย์ แล้วทำไมไปเข้าใจว่าทางช้า เป็นทางเร็ว แล้วทางปกติอย่างนี้เป็นทางช้า
ผู้ฟัง ถ้ามองผิวเผิน ที่เป็นลักษณะรูปแบบ ท่านอาจารย์ ก็เหมือนกับว่า ดูแล้วดูดี
ท่านอาจารย์ แต่ข้อสำคัญ มีแล้วไม่ให้รู้สิ่งที่กำลังปรากฏ นั่นจะเป็นคำสอนที่ถูกหรือเปล่า ขณะนี้มีสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ถ้าสามารถจะรู้สภาพธรรมไหน ที่กำลังปรากฏ ได้ก็เป็นการสะสมความไม่ใช่ตัวตน ไม่ว่าสภาพธรรมนั้นจะเป็นอะไรทั้งหมด เพราะว่าปกติ เวลาที่สติสัมปชัญญะไม่เกิด ไม่ว่าสภาพธรรมอะไรก็เป็นเราทั้งหมด แล้วเมื่อไร สามารถที่จะรู้ว่า ไม่ว่าสภาพธรรมอะไรก็ไม่ใช่เราทั้งนั้น ถ้าไม่เริ่มที่จะสะสม โดยไม่ไปรอ หรือไปเลือก หรือไปทำอะไรขึ้นมากั้น ระลึกที่แข็งเป็นประโยชน์ หรือไม่เป็นประโยชน์
ผู้ฟัง เป็นประโยชน์
ท่านอาจารย์ ขณะที่ระลึก ไม่มีอภิชชา โทมนัส เพราะว่ากำลังมีลักษณะของแข็งที่กำลังปรากฏ ให้รู้ความจริง ขณะนั้น เริ่มที่จะรู้ว่า ละอภิชชา และโทมนัส เพราะรู้ในลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม ถ้าไม่ระลึก ไม่รู้ เป็นเรื่องอื่นไปทันทีเลย ขณะนั้นก็เป็นโลภะ เป็นโทสะ
เพราะฉะนั้น การที่จะละอภิชชา โทมนัส หรือโลภะ โทสะ ในขณะที่กำลังมีลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรมกำลังปรากฏ แล้วถ้าสามารถระลึกลักษณะของปรมัตถธรรมอื่นๆ สืบต่อกันบ่อยๆ เนืองๆ ก็จะเห็นว่า ล้วนแต่เป็นปรมัตถธรรมทั้งนั้น
ผู้ฟัง เวทนา คือ ความรู้สึก สมมติว่าสติสัมปชัญญะ ในเรื่องทุกขเวทนา พิจารณาว่าเป็นสภาพธรรม แล้วก็ยังเจ็บปวดอยู่ ก็ยังพิจารณาซ้ำไปอีก ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จนกว่าจะไม่ใช่เรา
ผู้ฟัง พิจารณาว่าเป็นสภาพธรรม ยังมีความเป็นเราอยู่ ถูกไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เป็นก็คือเป็น พระโสดาบัน
ผู้ฟัง ถ้าเกิดพิจารณาว่าการเห็น เป็นอนัตตา แล้วทำไมเวลาเราเห็น เราไม่ทันได้คิดเลยว่ามันเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ เวลาที่ฟัง แล้วก็พูดว่าการเห็นเป็นอนัตตา คนละขณะกับกำลังเห็น ใช่ไหม
ผู้ฟัง คนละขณะ แต่ว่าถ้าเกิด จากการพิจารณา จากการฟังธรรมแล้ว เราจะสามารถที่จะไตร่ตรองได้ว่า เห็นแล้วเป็นอนัตตา หรือว่ากระทบโผฏฐัพพะเป็นอนัตตา แต่ว่าเราเห็น เรากระทบ ตอนนั้นเรายังไม่ทันคิด ไม่ทันนึกเลยว่า แค่เป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น คนที่เห็นแล้วไม่คิดเลยก็มี ใช่ไหม แล้วคนที่เห็นแล้วคิดก็มี ใช่ไหม แต่คนที่คิดไม่ใช่คนที่รู้ ลักษณะที่ไม่ต้องคิด ก็รู้ว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เพราะขณะที่คิด ไม่ใช่ขณะที่เห็น นี่คือความรวดเร็วของสภาพธรรม ที่ทรงแสดงโดยละเอียดทุกประการ ไม่ว่าเป็นจิต ทางตาก็ไม่ใช่ขณะที่คิด จิตทางหูขณะนั้นก็ไม่ใช่คิด ทางจมูกที่กำลังได้กลิ่นก็ไม่ได้คิด ไม่ใช่คิด ทางลิ้นที่กำลังลิ้มรส มีรสกำลังปรากฏก็ไม่ใช่คิด ทางกายที่กระทบสัมผัสมีลักษณะที่อ่อนหรือแข็ง เย็นหรือร้อนปรากฏก็ไม่ใช่คิด แต่คิดมี ซึ่งไม่ใช่เห็น ไม่ใช่ได้ยิน เพราะฉะนั้น การฟังธรรมต้องละเอียดมาก ที่จะรู้ว่ากว่าจะเข้าใจ ลักษณะที่เป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ เพราะว่าลักษณะนี้ เกิดเมื่อไร ต้องรู้เมื่อนั้น แล้วลักษณะนี้ไม่เคยหายไปเลย ตั้งแต่เกิดจนตาย มีตลอดเวลา เพียงแต่ว่าสติสัมปชัญญะจะเกิด จะระลึกได้ว่าขณะนี้ ไม่ใช่มีแต่เพียงสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แต่ต้อง มีสภาพหรือธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเห็นหรือสามารถที่จะรู้สิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ลักษณะนั้นเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ที่เห็น ไม่ใช่เราเห็น แต่เพราะธรรมนั้นเกิดขึ้น จึงเห็น
ในขณะที่ได้ยิน ก็มีสภาพที่รู้เสียง ขณะใดที่เสียงปรากฏ ก็แสดงอยู่แล้วว่า ต้องมีสภาพธรรม ที่สามารถได้ยินเสียงนั้น เสียงนั้นจึงได้ปรากฏได้ ถ้าไม่มีสภาพที่รู้ หรือได้ยินเสียง เสียงนั้นก็ปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในขณะนั้น ก็รู้ว่าลักษณะใดที่เสียงปรากฏ ก็จะมีลักษณะของสภาพรู้ เสียงนั้นด้วย ขณะนั้นไม่ได้คิดเลย ขณะที่กำลังได้ยินเสียง ไม่ใช่ขณะที่คิด เพราะฉะนั้น จึงต้องมีความละเอียดที่จะรู้ว่า ขณะที่คิด ไม่ว่าจะคิดคำอะไร คิดเรื่องอะไร คิดเรื่องนาม คิดเรื่องรูป ขณะนั้นกำลังมีคำเป็นอารมณ์ ไม่ใช่มีลักษณะของสภาพธรรมเป็นอารมณ์ ธรรมจึงต้องละเอียด
นี่เป็นเหตุที่ทำไม จึงต้องอบรมเจริญนานมากแต่ละคน จนกว่าไม่ว่า ความรู้สึกชนิดใด ความจำเรื่องใด ลักษณะสภาพธรรมใดปรากฏ ปัญญาก็สามารถที่จะเข้าใจลักษณะนั้นๆ ในความเป็นธรรม แต่ละอย่าง ที่มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างจริงๆ
ผู้ฟัง แล้วมันจะต่างจากการอบรม กับการคิดอย่างไร
ท่านอาจารย์ นี่ละ คืออบรม เพราะฉะนั้น การอบรม ฟัง ถ้าไม่ฟังจะคิดได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ฟังแล้วคิดได้ไหม
ผู้ฟัง ฟังแล้วก็ บางครั้งก็คิดได้ บางครั้งก็คิดไม่ได้
ท่านอาจารย์ แต่ก็คิดได้เนื่องจากมีการฟังแล้ว ใช่ไหม ถ้าไม่มีการฟังเลย ก็คิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น เมื่อฟังแล้วก็ยังมีการคิดได้ แต่สภาพธรรมไม่สามารถจะประจักษ์แจ้งได้ด้วยการตรึก หรือด้วยความคิด เพราะในขณะที่กำลังได้ยินเสียง ถ้าคิดเรื่องราวต่างๆ ขณะนั้นไม่รู้ลักษณะที่ได้ยิน เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นผู้ที่ละเอียด จึงสามารถที่จะรู้ว่า การที่ทรงแสดงชีวิตประจำวันธรรมดาตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ต้องตรงแต่ละทวาร ทางตาคือเห็น ไม่ใช่คิด ทางหู ได้ยินไม่ใช่คิด ทำไมทรงแสดงอย่างนี้ เพื่อให้ไม่เข้าใจผิด ว่าขณะที่คิดเป็นสภาพธรรมที่ไม่ใช่เห็น ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ พิจารณาก็จะรู้ว่าสภาพรู้ ถึงแม้ว่าจะอาศัยตาเห็น อาศัยหูได้ยิน แต่ลักษณะของสภาพชนิดนี้ เป็นมนินทรีย์ เป็นธาตุรู้อย่างเดียว สามารถที่จะรู้คำก็ได้ สามารถที่จะรู้สีก็ได้ สามารถที่จะรู้เสียงก็ได้ แต่ว่าเป็นสภาพรู้ หรือธาตุรู้ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
ผู้ฟัง แล้วเมื่อเทียบกับการที่ ไม่คิดพิจารณา เมื่อเห็น เมื่อได้ยิน เมื่อได้กลิ่น เมื่อลิ้มรส แต่ว่าคิดในพุทธพจน์ ตรึกไปในพุทธพจน์ ให้ลึกซึ้ง กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ต่างกัน
ท่านอาจารย์ ก็เป็นความคิด แต่ไม่ใช่สติสัมปชัญญะ ที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น ไม่สามารถที่จะเข้าใจความต่างของ สติขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นคิดนึกเรื่องพุทธพจน์ หรือเรื่องราวของธรรม กับสติสัมปชัญญะ ที่กำลังรู้ลักษณะ มีลักษณะปรากฏ อย่างแข็ง มีใครบ้างไม่รู้ แต่รู้แข็งในลักษณะไหน ในลักษณะของกายวิญญาณ เมื่อแข็งกระทบจากการที่ไม่มีอะไรปรากฏ เมื่อกระทบกายปสาท แข็งปรากฏ เพราะฉะนั้น ลักษณะที่รู้แข็ง เป็นสภาพรู้ชนิดหนึ่ง เป็นธรรมดาๆ เมื่อมีเหตุปัจจัยก็รู้แข็ง แต่การที่จะรู้ ระลึกลักษณะที่แข็ง หมายความว่า เวลาที่แข็งปรากฏแล้ว ก็มีสัมปชัญญะที่รู้ ลักษณะที่แข็ง ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง ค่อยๆ เข้าใจว่าลักษณะนั้นเป็นธรรม ซึ่งแต่ก่อนนี้ไม่ได้เป็นธรรม ไม่ได้นึกถึงด้วยซ้ำไป รู้แข็ง ก็รู้ แล้วก็ดับไป แต่ถ้าในขณะนั้น มีการเข้าใจ ว่าลักษณะนั้นเป็นธรรม แล้วในขณะนั้นก็อาจจะรู้ว่าลักษณะของสภาพรู้ เวลาที่มีลักษณะของสภาพรู้ ที่สติระลึกไม่ต้องคิด ไม่ต้องพูดเป็นคำเลย แต่ว่าค่อยๆ เข้าใจ ใช้คำว่า ค่อยๆ เข้าใจ เพราะว่าจริงๆ แล้วทรงแสดงลักษณะของ มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งปกติ วิรตีเจตสิก ๓ จะไม่เกิดพร้อมกัน แสดงให้เห็นว่า ๘ หรือว่า ๕ ที่ไม่ใช่วิรตี ที่เกิดพร้อมกันในขณะนั้น มีลักษณะเฉพาะสภาพธรรมนั้นๆ ซึ่งกำลังทำหน้าที่นั้นๆ ไม่ใช่เรา ทำอะไร ไม่ใช่ว่าให้เราไปนั่งคิดไตร่ตรอง หรือว่าไปทำอะไรซึ่งผิดจากปกติ เพราะว่าแม้ขณะนี้ กำลังเห็น ไม่มีวิตกเจตสิกเกิดกับจักขุวิญญาณ แต่เมื่อจักขุวิญญาณดับ คิดดูว่าเร็ว ขนาดไหน วิตกเจตสิกเกิดแล้ว ทำหน้าที่ของวิตกเจตสิก ไม่มีใครต้องไปทำคิด หรืออะไรขึ้นมาเลย แล้วขณะนั้น ที่กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ ยังไม่มีเรื่องราวใดๆ เลย แต่สภาพธรรมก็เกิดขึ้น ทำกิจการงานหน้าที่ของสภาพธรรมนั้น
ผู้ฟังที่ละเอียด ก็ต้องเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งเกิดแล้วก็ทำหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นๆ อย่างนั้น มิฉะนั้นจะทรงแสดง ลักษณะของวิตกเจตสิกทำไม จะทรงแสดงลักษณะของวิจารเจตสิกทำไม จะทรงแสดง ลักษณะของรูปธรรมนามธรรมทำไม แต่ทรงแสดงเพื่อให้รู้ว่าไม่ใช่เรา แต่ว่าเมื่อสภาพธรรมนั้นเกิดขึ้น ก็ทำหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นๆ เพราะฉะนั้น ก็จะเข้าใจวิตกเจตสิกแม้ในปัญจทวารวิถี ว่าไม่ได้ตรึกหรือนึกเป็นคำ แต่ก็ทำหน้าที่ของวิตกเจตสิก วิจารเจตสิก
ผู้ฟัง บางกลุ่ม ผู้ที่ปฏิบัติแนวทางอื่น เขาอ้างว่าการรู้ หรือศึกษาสภาพธรรม ที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย ไม่มีในพุทธพจน์
ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ได้ตรัสรู้
ผู้ฟัง ผมก็คิดว่าอย่างนั้น ถ้าเกิดพระพุทธเจ้า ไม่สอนสิ่งที่ปรากฏตามความเป็นจริง ถึงแม้จะไม่ได้เห็นในตำรา ก็ตาม ก็คิดว่ามันจะไม่มีประโยชน์ อะไรกับที่จะไปตรึก คิด อย่างนั้น แต่ว่า ก็มาคิดดูอีกที พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญ การปลีกวิเวก แสดงว่าการปลีกวิเวก มันเป็นส่วนที่ทำให้ไปคิด ไปตรึก ไปพิจารณาในพุทธพจน์ ไหม ถ้าเกิดว่าเราไม่ต้องตรึกก็ได้ แค่เห็น แค่ได้กลิ่น แค่กระทบโผฏฐัพพะ ปัจจุบันเราก็สามารถที่จะเข้าใจได้แล้ว
ท่านอาจารย์ พุทธบริษัทมีอะไรบ้าง
ผู้ฟัง มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ท่านอาจารย์ อุบาสก อุบาสิกา อยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง อยู่ครองเรือนอยู่ที่บ้าน
ท่านอาจารย์ วิเวก ที่ไหน
ผู้ฟัง คงจะอยู่ที่บ้าน
ท่านอาจารย์ ก็สับสนกันไปหมด ข้อสำคัญคือ ไม่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง แล้วไม่รู้ว่าปัญญารู้อะไร แล้วไม่รู้ว่าปัญญาสามารถเจริญ ถ้าใช้คำว่า เจริญ หมายความว่าอย่างไร ไม่ใช่แค่คิด ถ้าคิดถึงจะคิดนานสักเท่าไร ก็เป็นขั้นคิด ปัญญาไม่ได้เจริญเลย
เพราะฉะนั้น เวลาที่ระลึกถึงการเจริญของปัญญา จนกระทั่งสามารถที่จะถึงขั้น รู้แจ้งอริยสัจจธรรม มีนิพพานเป็นอารมณ์ คิดไปคิดมา คิดมาคิดไป จะมีนิพพานเป็นอารมณ์ได้อย่างไร
ผู้ฟัง ที่คิดเรื่องราวที่ละเอียดลึกซึ้งมากกว่า
ท่านอาจารย์ นั่นสิ คิดอย่างไร เช่น
ผู้ฟัง ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม ปฏิโลม
ท่านอาจารย์ คิดว่าอย่างไร ละเอียดลึกซึ้ง แล้วจะรู้นิพพานหรือ
ผู้ฟัง แต่ว่ามีความลึกซึ้งมากกว่า แค่ขณะที่เห็น
ท่านอาจารย์ ก็เหมือนกัน คือคิด ก็ยังคงแค่คิด ความคิดก็ยังอยู่ในระดับของความคิด จินตามยญาณ มีสุตามยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา ในพระไตรปิฎก ไม่ได้มีแค่สุตามยปัญญา หรือจินตามยปัญญา แล้วแสดงเรื่องของการตรัสรู้ วิปัสสนาญาณแต่ละขั้นมาจากไหน นั่งคิดไป แล้ววิปัสสนาญาณจะเกิดได้อย่างไร
วิปัสสนาญาณ เป็นปัญญาที่ประจักษ์แจ้ง ซึ่งสภาพธรรมขณะนี้กำลังปรากฏ แต่เมื่อปัญญาไม่ได้เจริญ จะประจักษ์แจ้งไม่ได้ ไม่มีทางที่จะไปประจักษ์แจ้งได้ เพราะว่าต้องเป็นปัญญาที่คลายความไม่รู้ แม้กำลังเห็น ขณะที่เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา การที่เคยเป็นบุคคลต่างๆ การคิดถึงเรื่องราวต่างๆ จะค่อยๆ รู้ตามความเป็นจริงว่าเห็น ขณะนี้มีสิ่งที่ปรากฏ นอกจากนั้น เป็นคิด จะรู้ได้อย่างไร วิปัสสนาญาณ มีกำกับตลอดทุกญาณะ ถ้าไม่มีการอบรมเจริญขึ้น ขณะไหนเป็นวิปัสสนาญาณ มีอะไรเป็นเครื่องวัด ว่าเป็นความสมบูรณ์ของปัญญา ซึ่งความสมบูรณ์ของปัญญานั้นต้องมีเหตุ เหตุก็คือสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นสติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น ไม่เข้าใจความต่างของสติสัมปชัญญะ ไม่เข้าใจว่าขณะนี้ที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ ถ้ามีเหตุปัจจัยที่สติสัมปชัญญะ จะเกิด คือกำลังรู้ตรงลักษณะ มีลักษณะของสภาพธรรมทางหนึ่งทางใด ที่ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ตามที่ได้ศึกษามาแล้ว เพราะฉะนั้น การรู้ก็รู้ตามที่ได้ศึกษามาแล้ว ด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่ใช้ด้วยการคิดต่อไปเรื่อยๆ
ผู้ฟัง อาจารย์จะกล่าวว่า ถ้าศึกษามามาก ก็จะรู้มาก
ท่านอาจารย์ สติสัมปชัญญะเกิดหรือเปล่า ศึกษามามาก กี่คัมภีร์ ไม่ว่าจะเป็นปัฏฐาน ยมก วิภังค์ อะไรก็แล้วแต่ แต่สติสัมปชัญญะไม่เกิด จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏหรือเปล่า
ผู้ฟัง อย่างระลึกที่แข็ง เมื่อก่อนเราก็ไม่รู้ว่า ถ้าเกิดแข็งตอนที่ระลึกปัจจุบัน กับระลึกเมื่อก่อน มันจะต่างกันอย่างไร แต่ว่าถ้าเกิดฟัง พระธรรมแล้ว จะทราบว่า แข็งเป็นอนัตตาไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน มันก็แค่นี้เอง อาจารย์ มันจะมีระดับความลึกมากกว่า การที่เป็นแข็งว่า ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน มากกว่านี้ ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าแค่นี้เอง เป็นเราที่ว่าแค่นี้เอง หรือเปล่า เป็นเราหรือเปล่าที่กำลังบอกว่าแค่นี้เอง แค่แข็ง
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660