ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
ตอนที่ ๖๓๗
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ ของใช้ที่น่าปลื้มใจ การงานไม่อากูล
ผู้ฟัง ก็ใช่ แต่ทีนี้ ถ้าหากว่าของพวกนี้ สะอาดทั้งนั้นเลย แต่ว่าใจสกปรก มันจะช่วยอะไรได้
ท่านอาจารย์ ความสุขกาย มีไหม
ผู้ฟัง ก็มี
ท่านอาจารย์ ก็ต้องแยกอีก
ผู้ฟัง แต่ว่าถ้าเผื่อสุขใจมันจะสุขกว่า
ท่านอาจารย์ ก็พูดเป็นเรื่องๆ อันนี้พูดเรื่องความสุขของคฤหัสถ์ แล้วต่อไปก็ความสุขของบรรพชิต แล้วต่อทั้งของบรรพชิต และคฤหัสถ์ ทั่วไปทั้ง ๒ เพราะฉะนั้น คฤหัสถ์ปฏิเสธไม่ได้เลย ที่จะมีของใช้ที่น่าปลื้มใจ เป็นสุขไหม ใครไม่สุขบ้าง หรือใครอยากได้ของที่ไม่น่าปลื้มใจบ้าง เห็นไหม ก็ต้องยอมรับตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง อันนี้มันก็ต้องแล้วแต่กรรมของแต่ละบุคคล
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่ก็ต้องจริงอย่างไรก็ต้องเป็นอย่างนั้น จะได้มาอย่างไร ถ้าไม่ใช่ผลของกุศลกรรม ก็เห็นอีก ใช่ไหม
ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ เขาเขียนว่า ตอบว่า ตอบเพียงโดยย่อ สิ่งใดเป็นความสุขในโลกนี้ และสิ่งใดนำความสุขมาให้ในโลกนี้ ในกรรม มรรคนี้ นี่แหละคือประโยชน์ปัจจุบัน ตรงนี้จะหมายถึงทั้งวิบาก แล้วก็กุศลด้วย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อะไรก็ได้ที่เป็นสุขในปัจจุบัน ประโยชน์ในปัจจุบัน
ผู้ฟัง ขอบพระคุณ
ผู้ฟัง ช่วยขยายความในข้อนี้หน่อย ตอบว่า เพราะความไม่ประมาท เป็นธรรมข้อใหญ่ แล้วก็ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้า ตรงรอยเท้า สัตว์ทั้งหลายบนแผ่นดินใด เหล่าหนึ่งรอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมอยู่ในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างท่านกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหมด เพราะเป็นรอยเท้าใหญ่ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นกุศลเหล่าใด เหล่าหนึ่งทั้งหมด ถึงมีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมความในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท เรากล่าวว่าเลิศกว่าคุณธรรมเหล่านี้ ฉะนั้นด้วยประการฉะนี้ รอยเท้าช้างหมายความถึงกุศลธรรมหรือ
ท่านอาจารย์ สติไง คงจะตั้งต้นตั้งแต่ข้อความที่ว่า ใครๆ ไม่ควรกล่าวว่า พระธรรมกถึก นำเอาพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก แม้ทั้งสิ้น มากล่าว ธรรม อรรถแห่งบท คืออัปปมาทะ ด้วยความมากเกินไป อันนี้คงจะแสดงว่า มีคนอาจจะคิดว่า ท่านพระอรรถกถาจารย์ หรือ พระธรรมกถึกพูดมากเรื่องความไม่ประมาท มีข้อความมากเกินไป ถามว่า เพราะเหตุใด เพราะมีความไม่ประมาท เป็นธรรมข้อใหญ่ คืออย่าไปกล่าวว่าทำไมถึงได้เอาพระไตรปิฎก แม้ทั้งสิ้น มากล่าวธรรม อรรถแห่งบท คืออัปปมาทะ ด้วยเนื้อความมากเกินไป ที่จริงแต่ละคำ มากไหม อย่างคำว่า ทุกขสัจนี่ มีคำนับประมาณไม่ได้ ในพระไตรปิฎก แล้วสติเกี่ยวข้องด้วยไหม เพราะฉะนั้น ทุกคำก็นับประมาณไม่ได้เลย คำๆ เดียว แต่ไม่สามารถที่จะทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้ความเข้าใจได้ จนกว่าจะมีคำนับประมาณไม่ได้ ที่จะทำให้บุคคลนั้นได้ฟังแล้ว ฟังอีกโดยละเอียดที่จะทำให้เข้าใจได้ถูกต้อง
ผู้ฟัง ขอเรียนถามอาจารย์ประเชิญ ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย
วิทยากร. ท่านอธิบายในเรื่องของวิวัฏฏะ ในก่อนหน้านั้น ท่านก็ยกเอากถาที่สงเคราะห์เรื่องวิวัฏฏะ ความไม่ประมาท เป็นทางเห่งความไม่ตาย คือเมื่อไม่ประมาทแล้ว ก็จะอบรมสติปัฏฐาน อบรมมรรคมีองค์ ๘ ก็ทำให้ถึงพระนิพพาน ผู้ที่ถึงพระนิพพาน แล้วก็ถึงความไม่ตาย
ผู้ฟัง ตรงนี้ก็สูงสุดยอดแล้ว พูดถึงว่า จะไม่มีการเกิดอีกแล้ว
วิทยากร. หรือว่าผู้ที่ประมาทเหมือนกับคนที่ตายแล้ว คนที่ตายแล้วก็ไม่มีโอกาสที่จะมา ลุกขึ้นมาเจริญกุศล ขึ้นมาจำแนกทรัพย์สมบัติ มีทรัพย์สมบัติมากมาย ทรัพย์สมบัติของคนตาย มีมากแต่ว่าไม่เป็นประโยชน์กับเขาเลย เขาไม่สามารถที่จะจำแนกว่าส่วนนี้ให้ทาน ส่วนนี้ให้ลูกให้หลาน ก็มี ก็เหมือนไม่มี คนที่ประมาทแล้ว ก็เช่นเดียวกัน มีทรัพย์สมบัติก็เหมือนไม่มี เพราะว่าไม่ได้ใช้ทรัพย์นั้นให้เป็นประโยชน์ ก็เหมือนกับทรัพย์สมบัติของคนที่ตายแล้ว
ผู้ฟัง ถ้าพูดถึงเรื่องของสิ่งที่จะนำ ความสุขมาให้ ในโลกนี้ โลกหน้า ท่านก็จะแยกของ คฤหัสถ์ ของบรรพชิต ท่านก็กล่าวถึง ธรรม ๔ อย่าง คือ การอยู่ในประเทศอันสมควร การคบสัตบุรุษ การฟังพระสัตธรรม และโยนิโสมนสิการะ เป็นธรรมทั่วไปทั้ง คฤหัสถ์ และบรรพชิต ทั้ง ๒ ตรงนี้หมายความถึงอะไร
วิทยากร. คือธรรม ๔อย่าง คือการอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังพระสัตธรรม ๑ และโยนิโสมนสิการะ ๑, ๔ อย่างนี้เป็นธรรมทั่วไป แก่คฤหัสถ์ และบรรพชิต ทั้ง ๒ และเป็นความสมควรทั้ง ๒ ฝ่าย คฤหัสถ์ก็ต้องอันนี้ บรรพชิตก็ต้องอันนี้
ผู้ฟัง หมายความว่า ถ้ามีอย่างนี้แล้วก็ จะทำให้ได้ประโยชน์สุข
วิทยากร. ขอเพิ่มเติมธรรมที่จะทำให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขในภายภาคหน้า ที่เรียกว่า สัมปรายภพ หรือว่า สัมปรายิกถประโยชน์ ใน อุชชยสูตร เมื่อสักครู่นี้ได้กล่าวในเรื่องของประโยชน์ ที่จะได้รับในปัจจุบัน ธรรมที่จะทำให้ได้รับความสุข ในปัจจุบันก็คือ อุฏฐานสัมปทา อารักขสัปทา กัลยาณมิตตรา แล้วก็สมมชีวิตา ส่วนธรรมที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ ความสุขในภายภาคหน้าแก่กุลบุตร อันนี้ก็อีกนัย ๑ ที่ต่างจาก อุโภอัตถสูตร ๔ อย่างก็คือ สัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จาคะสัมปทา ปัญญาสัมปทา ข้อความก็จะแตกต่างกัน แต่ในที่นี้ คือความไม่ประมาทก็จะ ทำให้สำเร็จประโยชน์ คือเป็นไปเพื่อประโยชน์ ทั้ง ๒ ภพเลย แต่โดยนัยอื่นก็ได้ กล่าวถึงกุศลธรรม ที่เป็นธรรม ๔ ประการ คือ ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ท่านใช้คำว่า สัมปทา ท่านอาจารย์ ถึงพร้อมในที่นี้ จะถึงขั้นโลกุตตระหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ เมื่อกี้คุณประเชิญ พูดถึงเท่าไรแล้ว กี่อย่าง
วิทยากร. ๔ อย่าง สัทธาสัมปทา
ท่านอาจารย์ ถ้าถึงพร้อมด้วยศรัทธา ระดับไหม ถึงจะชื่อว่าถึงพร้อม
วิทยากร. ถ้าสัมปทา ถึงพร้อม น่าจะหมายถึง พระโสาดบัน ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ค่อยๆ สะสม ๔ อย่างนี้มีศรัทธา แล้วอะไร
วิทยากร. ศีล ศีลสัมปทา จาคสัมปทา ปัญญาสัมปทา
ท่านอาจารย์ นี่เป็นเหตุที่เราควรที่จะได้ศึกษา พระอภิธรรมด้วย ง่ายเลย เพราะว่า โยนิโสมนสิการะ ไม่ใช่สติเจตสิก เป็นเจตสิกที่ต่างกัน แล้วอีกอย่างหนึ่ง ถ้าจะแปลศัพท์ โยนิโสมนสิการในรูปศัพท์ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย บางคนก็เลยอยากจะทำ เพราะบอกว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ก็เลยคิดว่าจะทำได้ แต่ตามความจริง ถ้าเราไม่คิดถึงอดีตชาติที่ ผ่านๆ มาว่าเราได้สะสมอะไรมาบ้าง ทั้งฝ่ายกุศลธรรม และ อกุศลธรรม ชาตินี้เวลาที่ มี หิริ โอตตัปปะเกิด แต่เราก็ไม่รู้ ว่าชื่อ หิริ หรือเป็นหิริ หรือเป็น โอตตัปปเจตสิก แต่เวลาที่เราละเว้น ทุจริต มีไหม เกิดมาตอนเป็นเด็ก บางคนก็มีอุปนิสัย ศีลุปนิสัย ละ เว้นทุจริต ละ ไม่พูดสิ่งที่ไม่จริง ไม่ฆ่าสัตว์ อย่างนี้ก็แสดงให้เห็นว่า การที่เขาได้เคยฟัง สิ่งที่ถูกต้อง แล้วก็มีความเข้าใจที่ถูกต้อง สะสมมา เพราะฉะนั้น เวลาที่จิตเกิดขึ้น โยนิโสมนสิการะ ขณะนั้น ก็คือว่าขณะนั้นสามารถที่จะละเว้นทุจริต โดยที่ยังไม่รู้เลย ว่าขณะนั้นควร หรือว่าเป็นสิ่งที่เป็นศีล หรือว่าจะเรียกว่าอะไรก็ตามแต่ แต่เป็นหน้าที่ของการสั่งสมของจิต ว่าเมื่อได้สั่งสมทางฝ่ายกุศลมา นมสิการเจตสิกก็จะทำหน้าที่ตามการสั่งสม คือเป็นโยนิโสมนสิการ ในขณะที่กุศลจิตเกิด ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปทำ เพราะว่าเราไม่มี แล้วก็เราก็ทำไม่ได้
การฟังพระธรรมต้องมีความมั่นคงว่า ไม่มีเรา ไม่ว่าจะได้ยินได้ฟังเรื่องอะไร ก็ตามทั้งหมด จะเป็นสติสัมปชัญญะ จะเป็นสติปัฏฐาน จะเป็นโพชฌงค์ จะเป็นอริยสัจ หรืออะไรทั้งหมดก็คือว่า เป็นสภาพธรรมจริงๆ ซึ่งทรงแสดงไว้ โดยลักษณะของสภาพธรรมนั้น เพื่อให้เห็นความเป็นอนัตตาโดยละเอียด แม้แต่ โยนิโสมนสิการะ ที่เกิด แม้ในในขณะที่กุศลจิตเกิด ก็เพราะเหตุว่า สั่งสมมา ที่จะเป็นอย่างนั้น ก็คงจะทราบว่าในขณะนั้น ขณะที่เป็นโยนิโสมนสิการะ สติเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น แล้วก็นอกจากสติก็ยังมีหิริโอตตัปปะ แล้วก็มีโสภณเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง ก่อนหน้านั้นที่เป็นธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยะ ในที่นี้จะหมายถึงอะไร
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ ถ้าบอกว่าเดี๋ยวนี้ รู้เลย ใช่ไหม ว่าเพราะอะไร
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้
ท่านอาจารย์ ใช่
ผู้ฟัง เห็น หรือเห็นได้ยิน นี่หรือ
ท่านอาจารย์ ธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย ก็คือสติปัฏฐาน ก็คือเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น ยินดีหรือยัง
ผู้ฟัง ยัง มีกามคุณอยู่ด้วย
ท่านอาจารย์ แต่ว่ามีความรู้ มีความรู้ มีความเข้าใจประโยชน์ เพราะฉะนั้น เวลาใดที่เห็นประโยชน์ ขณะนั้นก็ยินดีในเมื่อรู้ว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ เรายินดีในอย่างอื่นมาตั้งมากมายทั้งวัน ใช่ไหม ยินดีในรูป ยินดีในเสียง ในความพอใจต่างๆ ในรสอาหาร ถ้า ยินดีในธรรมของพระอริยะ คือยินดีในสิ่งที่กำลังปรากฏ ซึ่งสติสามารถที่จะเกิดระลึก แล้วก็รู้ความจริงของสภาพธรรมนั้นได้ เริ่มจะยินดีหรือยังใน ความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ
ถ.หมายถึงข้อปฏิบัติ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ หมายความถึงสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นสติปัฏฐาน ยินดีในความจริง ของสิ่งที่ปรากฏ ยินดีที่จะรู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏ
ผู้ฟัง ยินดีที่จะรู้
ท่านอาจารย์ เพราะว่าถ้าไม่มีสิ่งที่กำลังปรากฏ อะไรจะเป็นโคจรของพระอริยะทั้งหลาย พระอริยะทั้งหลายท่านจะอยู่ด้วยอะไร
ถ.ก็ไม่มีที่โคจร
ท่านอาจารย์ ก็ต้องมีอารมณ์ เป็นโคจร
ผู้ฟัง ยินดีแล้วในธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยะ อันนี้ยินดี เรายินดีในกุศล ทีนี้ยินดีในการรับประทานอาหาร มันเป็นโลภะแล้ว เพราะฉะนั้น ช่วยกรุณาชี้ชัด ว่าลักษณะของสภาพธรรมในขณะ เราใช้ภาษาไทยตัวเดียวกัน คือยินดีในธรรม กับยินดีในรสอาหาร สภาพธรรมมันตรงกันข้ามเลย
ท่านอาจารย์ ตั้งแต่เกิดมาเราก็เห็นมีสิ่งที่ปรากฏทางตา ได้ยินเสียงสิ่งที่ปรากฏทางหู เรายินดีในสิ่งต่างๆ เหล่านี้ แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นที่โคจของพระอริยะได้ แต่ไม่ใช่ของผู้ที่ไม่รู้ ทั้งๆ ที่เป็นสิ่งเดียวกัน คือสิ่งที่กำลังปรากฏ อย่างนี้ ปกติ แต่สำหรับผู้ที่ไม่รู้ ก็ย่อมไม่ยินดีในความจริง ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยะเจ้า สิ่งที่ปรากฏตามธรรมดาอย่างนี้ เป็นที่ยินดีด้วยโลภะของเรา แต่ว่าสิ่งที่เป็นที่ยินดีของเรา เป็นธรรมอันเป็นโคจร คือเป็นอารมณ์ของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย เพราะสติของท่านระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เรายินดีโดยไม่รู้
ผู้ฟัง อันนี้โดยสภาพธรรม เขาบอกยินดีในรสอาหาร มันก็โลภะแล้ว ใช่ ยินดีในสภาพธรรม เป็นฉันทะ หรือเปล่า
ส.ในธรรม คือไม่ต้องไปติดที่ชื่อ กุศลเป็นกุศล อกุศลเป็นอกุศล ใช้คำว่าอะไรก็ได้ แต่ในขณะที่สิ่งที่มีอยู่ตามปกติ ซึ่งเป็นที่ยินดีของโลภะของเรา แต่ว่าสำหรับพระอริยะแล้ว ยินดีแล้วในธรรมอันเป็นโคจร พระอริยะท่านก็ไม่ได้ไปรู้อย่างอื่น นอกจากนี้ นอกจากสิ่งที่เรารู้ แต่ความต่างกัน ก็คือว่าผู้ที่ไม่ยินดีในธรรมอันเป็นโคจร คือไม่ยินดีในสติปัฏฐานที่จะระลึก ที่จะศึกษาที่จะเข้าใจความจริงของสภาพธรรม ก็ยินดีด้วยโลภะ มีความพอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจตลอด จนกว่าฟังเมื่อไร เข้าใจเมื่อไร เริ่มที่จะยินดีในธรรมที่เป็นโคจร คืออย่างเดียวกัน อย่างเก่านั้นแหละ แต่เป็นอารมณ์ของสติ ที่จะทำให้สามารถเข้าใจถูกต้อง ตามความเป็นจริงได้ จึงจะเป็นอารมณ์ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ตัวชี้ก็คือปัญญา นั่นเอง
ท่านอาจารย์ แน่นอน พระพุทธศาสนา เป็นเรื่องของปัญญาทั้งหมด
ผู้ฟัง เพราะว่าในขณะที่พระอริยะยินดี ท่านยินดีด้วยปัญญาๆ ที่เห็น เห็นความจริงในสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ คนที่ยังไม่ใช่พระอริยะ เริ่มจะยินดีหรือยัง ในสิ่งที่ปรากฏเหมือนเดิม แต่ก่อนนี้พอใจเป็นโลภะ เป็นโทสะ เป็นอะไรทุกอย่าง แต่ว่าเมื่อเป็นอารมณ์อันเป็นโคจรของพระอริยะทั้งหลาย ธรรมอันเป็นโคจร คือเป็นอารมณ์ของสติที่สามารถจะรู้ความจริง
ผู้ฟัง ต้องมีปัญญา
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง พระพุทธศาสนา ไม่ใช่สอน แสดงแล้วก็คนฟังไม่ได้เกิดปัญญา ต้องเป็นปัญญาของผู้ฟังเอง ที่จะต้องค่อยๆ เข้าใจถูกต้องขึ้น
ผู้ฟัง อันนี้ ถ้าสมมติว่า ดูภาษาไทย แล้วแปลตามภาษาไทย มันก็จะไขว้เขว
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ คือว่าพระไตรปิฎก ไม่ใช่สำหรับอ่าน แต่สำหรับศึกษา ศึกษาที่นี้ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด ที่จะเข้าใจ ประกอบกันทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด หรือคำหนึ่งคำใด ข้อความต่อไปที่ว่า ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท ทีแรก ยินดีก่อน เพราะรู้ว่าสติปัฏฐานมีประโยชน์ สิ่งที่กำลังปรากฏ ปรากฏเพื่อให้ปัญญาเจริญ เพื่อให้ปัญญาสามารถ ที่จะพิจารณา รู้ความจริงได้ นี่คือเริ่มยินดี และเมื่อสติปัฏฐานเกิดจริงๆ จะมีความปิติ หรือบันเทิง เพราะเหตุว่าเราไม่เดือดร้อนเลย กับเรื่องทั้งเรื่องที่เราคิด อย่างปวดหัว แท้ที่จริง ก็คือ ชั่วขณะที่จิตคิด เป็นสภาพธรรมที่มีจริง จิตเป็นอามรมณ์ของสติปัฏฐาน เป็นธรรมที่เป็นโคจรของพระอริยะเจ้า คือสามารถที่จะเข้าใจถูกต้องว่า ทุกเรื่องมีเมื่อจิตคิด เพียงจิตไม่คิด เรื่องอะไรก็ไม่มี ไม่ว่าจะสุข ทุกข์ใดๆ ทั้งสิ้น
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ในขณะที่เขาบันเทิง แล้วยินดี เขามีปิติ ปิติที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย
ท่านอาจารย์ อ่อนๆ
ผู้ฟัง มันก็จะเบากว่ายินดีที่จะอยากรับประทานอาหาร อันนั้นหนัก คือมันอยากอยู่เรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้ดับ เพราะฉะนั้น ปัญญาเห็นความต่าง ปัญญาต้องรู้ถูกต้องตามความเป็นจริง ขณะใดที่สติปัฏฐานไม่เกิด ขณะนั้นก็คือไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม ก็ยังคงมีความเห็นว่าเป็นสัตว์ บุคคลต่างๆ แต่เวลาที่ปัญญาเกิด ขณะนั้นก็จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง ว่าเป็นลักษณะของธรรมแต่ละอย่างเท่านั้นเอง ทั้งวัน เป็นธรรมทั้งหมด
ผู้ฟัง ทีนี้ ถ้าสมมติว่าคน ฉาบฉวย เห็นตัวหนังสือ ก็จะทำ จะทำด้วยความเป็นตัว เป็นตน ว่าเวลานี้มันเป็นแล้ว ยินดีในสภาพธรรมแล้ว แต่ลึกๆ แล้ว จิตเขาในขณะนั้น เขามีโลภะ พอเป็นเรา ปุ๊บ โลภะ เขาจะตามมาทันทีเลย ซึ่งคนนั้นก็ไม่รู้ตัว ว่าในขณะนั้น เขามีโลภะ แต่เขานึกว่าเขาทำแล้ว ว่าเขายินดีแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็เป็นตัวอย่าง ของสักกายทิฏฐิ ใครไม่เห็นสักกายทิฏฐิ ใคร่ไม่รู้ สักกายทิฏฐิ ก็ตอนที่กำลังทำนั่นแหละ เป็นสักกายทิฏฐิ มีความเห็นว่าเป็นเราแน่นอนที่ทำ
ผู้ฟัง สรุปว่าเมื่อไรที่เราคิดว่าเป็นเรา เมื่อนั้นโลภะ จะตามมาทันที
ท่านอาจารย์ ทิฏฐิเกิด พร้อมโลภะ
ผู้ฟัง ขอบคุณ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ คุณวาณี มีอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ หรือยัง
ผู้ฟัง ก็คิดว่ามี
ส.เพราะเหตุว่า อุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ ถ้าไม่มีการฟังพระธรรมจะมีอุปนิสัย แห่งวิวัฏฏะได้ไหม ถ้าฟังแล้วไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด ก็ไม่ใช่อุปนิสัย ของวิวัฏฏะเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจว่าการฟังด้วยดี ด้วยการพิจารณา ด้วยการเข้าใจธรรม ด้วยความตรง ก็เป็นอุปนิสัย ไม่ว่าจะเป็นการเจริญศีล สมาธิ ปัญญา การสำรวมทางกาย ทางวาจา หรือกุศลใดๆ ก็ตาม ก็ย่อมเป็นไป ในการที่จะเป็นอุปนิสัย ออกจากวัฏฏะ เป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะได้
ผู้ฟัง หมายถึงว่าต้องเข้าใจเรื่องสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ เข้าใจถูก ในธรรมที่ได้ยินได้ฟัง อย่างคำว่า ธรรม อยู่ที่ไหน ปัญญารู้อะไร แล้วจะรู้ได้อย่างไร
ผู้ฟัง ถ้าเป็นขั้นการฟัง ก็เข้าใจ แต่ว่าถ้าระดับอื่นก็ไม่ได้พูดถึง
ท่านอาจารย์ ถ้าเข้าใจ ต่อไปปัญญาจะเจริญไหม
ผู้ฟัง เจริญ
ท่านอาจารย์ แน่นอน ไม่ใช่ว่าไร้ผล แต่หมายความว่าต้องเกื้อกูล เป็นอุปนิสัย
ผู้ฟัง ปัญหาเมื่อกี้นี้ที่ได้สนทนากันเรื่องว่า ความไม่ประมาท เรากล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น คิดว่าความไม่ประมาทในที่นี้ก็คือ สติปัฏฐานนั่นเอง เมื่อสติปัฏฐานเกิด ในขณะใดที่สติปัฏฐานเกิด อันนั้นคือรองรับกุศลธรรมทั้งหลาย ท่านจึงกล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรม อันนี้ถูกต้องหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ที่ตรง คือไม่ว่าจะพบศัพท์ว่าไม่ประมาทเมื่อไร ก็ให้เข้าใจว่า นั่นคือเป็นชื่อของสติ นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นสติระดับใดก็ตาม
ผู้ฟัง กราบอนุญาตท่านอาจารย์ เมื่อตอนเช้าท่านอาจารย์ ได้กรุณากล่าวบอกว่า มองไม่ออกว่าเราอยู่ที่ไหน ตรงนี้ บางครั้งมันก็มองไม่ออก ไม่รู้ว่า เราอยู่ตรงไหน
ท่านอาจารย์ ไม่รู้ว่าสักกายทิฏฐิ อยู่ที่ไหน ได้ยินแต่ชื่อ เพราะเราพูดว่าสักกายทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ คือการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา แต่เราไม่เห็นว่าเมื่อไร ที่เป็นสักกายทิฏฐิ แต่ขณะที่กำลังพยายามทำอย่างหนึ่ง อย่างใดที่ไม่ตรง ไม่ใช่หนทางที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ไม่ว่าจะด้วยการพูด การคิด การทำก็ตามแต่ ขณะนั้นก็แสดงให้เห็นว่า เป็นสักกกายทิฏฐินั่นเองที่ทำให้คิดอย่างนั้น พูดอย่างนั้น ทำอย่างนั้น แต่ไม่รู้ว่าเป็นสักกายทิฏฐิ ต่อเมื่อใดมีการกระทำเกิดขึ้น ทั้งๆ ที่เป็นสักกายทิฏฐิ แต่ผู้ที่มีสักกายทิฏฐิ ก็ไม่รู้ว่าขณะนั้นเป็นสักกายทิฏฐิ
ผู้ฟัง เรื่องพระนิพพาน ท่านเขียนมาว่า อยากทราบสภาพของพระนิพพานว่าเป็นอย่างไร จากการได้ยินได้ฟังมาบ้าง ยังไม่เข้าใจเท่าไรนัก เพราะว่าบางแห่งกล่าวว่า พระนิพพานเป็นธาตุ บางแห่งกล่าวว่า พระนิพพานเป็นอารมณ์ บางแห่งกล่าวว่า พระนิพพานเป็นสถานที่พิเศษ ถ้าใครบรรลุถึงพระนิพพานก็จะไปอยู่ในที่เดียวกันทุกคน เหมือนเป็นสถานที่ ใคร่อยากฟังคำอธิบายจาก ท่านอาจารย์สุจินต์ สักครั้งหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ที่จะเข้าใจนิพพานได้ ก็คือเริ่มเข้าใจธรรมก่อน ที่เรากำลังสนทนา ต้องเข้าใจก่อน ไม่อย่างนั้นก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจนิพพานได้ ก็ได้ยินแต่คำว่านิพพาน แต่ไม่สามารถจะเข้าใจได้ จนกว่าจะเข้าใจ ตั้งแต่ต้น คือเรื่องของธรรม ก็คงจะต้องใจเย็นๆ แล้วก็นิพพานตรงกันข้ามกับสภาพธรรม ทั้งหมดที่มีเกิดขึ้นปรากฏในขณะนี้ นั่นคือสั้นที่สุด ส่วนจะเป็นธาตุ หรือจะเป็นอะไร ถ้าเข้าใจความหมาย ของธรรมเหล่านี้แล้ว ก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้นได้ มิฉะนั้นก็เป็นแต่เพียงเรื่องชื่อทั้งหมด แล้วสภาพธรรม เดี๋ยวนี้ยังไม่อยากจะทราบ หรือว่าจะต้องการรู้ลักษณะของนิพพานเลย
ผู้ฟัง ก็ฟังอาจารย์มาตลอด ก็เข้าใจ เข้าใจธรรมที่อาจารย์อธิบายมาเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ นิพพานก็ตรงกันข้าม กับสภาพธรรมที่เกิดดับ
วิทยากร. นิพพานเป็นสถานที่ ไม่ใช่ ไม่ถูก นิพพาน ไม่ใช่จิตไม่ใช่ เจตสิก ไม่ใช่รูป นิพพานไม่เกิด นิพพานเป็สุข นิพพานเป็นอนัตตา
ท่านอาจารย์ พูดอย่างไรก็ไม่รู้แจ้ง ใช่ไหม จะอีกสักกี่คำ สักกี่ประโยค ก็ยังไม่รู้แจ้ง จนกว่าจะค่อยๆ อบรมเจริญปัญญา เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ก่อน
วิทยากร. นิพพาน ขออนุญาตเพิ่มเติม เมื่อสักครู่นี้ ท่านผู้ถามพูดถึงว่า บางที่กล่าวว่าเป็นธาตุ บางที่กล่าวว่าเป็นอารมณ์ ที่จริงๆ แล้วตรงนั้นก็ไม่ผิด ใน นิพพานสูตร ท่านก็กล่าวว่า นิพพานเป็นอายตนะ ท่านใช้ศัพท์ ว่าอย่างนี้
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660