ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
ตอนที่ ๖๓๘
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๕
วิทยากร เมื่อสักครู่นี้ ท่านผู้ถามพูดถึงว่า บางที่กล่าวว่าเป็นธาตุ บางที่กล่าวว่า เป็นอารมณ์ ใช่ไหม ซึ่งจริงๆ แล้วตรงนั้นก็ไม่ผิด เช่น ใน นิพพานสูตร ท่านก็กล่าวว่านิพพานเป็นอายตนะ ท่านใช้ศัพท์ ว่าอย่างนี้ อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ พระอาทิตย์ ทั้ง ๒ ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น นี่คือปฏิเสธทั้งหมด ปฏิเสธอากาสานัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ แล้วก็ พระจันทร์ พระอาทิตย์ ไม่มีในอายตนะนั้น เราไม่กล่าวว่าอายตนะนั้นว่า มีการมา การไป มีการตั้งอยู่ มีการจุติ มีการอุบัติ อายตนะนั้น หาที่ตั้งอยู่มิได้ ไม่ได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ เป็นชื่อเฉพาะ พระนิพพาน พระนิพพานเป็นธรรมายตนะ แต่ว่าเป็นธรรมายตนะ ที่ไม่เกิดขึ้น ไม่มีการเกิดขึ้น ไม่มีการเป็นไป แต่ว่าเป็นอารมณ์ของโลกุตตรจิต พระนิพพานไม่รู้อารมณ์ ใช้คำว่า หาอารมณ์มิได้ คือไม่รู้อารมณ์
ผู้ฟัง ดิฉันอยากจะเรียนถามท่านอาจารย์ด้วย มันมีอยู่ ๓ อันที่ ๑ คือ ศีลดี อันที่ ๒ ความเห็นตรง อันที่ ๓ เจริญสติปัฏฐาน ทำไม ๓ คำนี้ ท่านถึงได้แสดงเป็น ๓ ระยะอย่างนี้ อันที่ ๑ ศีล เข้าใจแล้วว่าศีล แต่ทีนี้ความเห็นที่ตรง อันที่ ๒
ท่านอาจารย์ ขณะที่กาย วาจาไม่ดี เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล แล้วจะไปเจริญสติปัฏฐาน ได้ไหม
ผู้ฟัง ความเห็นตรง
ท่านอาจารย์ อันนี้สำคัญมากเลย ต้องมีทิฏฐิ ความเห็นที่ถูกต้อง ถ้าไม่มีความเห็นที่ถูกต้อง ก็เจริญสติปัฏฐาน ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เพียงแต่มีกาย วาจาดี แต่ต้องมีความเห็นตรงด้วย
ผู้ฟัง ทีนี้ คำว่า ถูกต้อง พวกนักอ่านพระสูตรทั้งหลาย มักไปตามตัวอักษร แล้วก็ทำตามตัวอักษร อันนั้นเขาเรียกว่าเห็นตรง หรือไม่เห็นตรง หรือถูกต้องอย่างไร
ท่านอาจารย์ ต้องเห็นอะไรอีก คือ ธรรมทุกอย่าง ต้องละเอียด ต้องเป็นสิ่งที่เข้าใจถูกต้องตั้งแต่ต้น ถ้าตอนต้นไม่เข้าใจ เราก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจต่อๆ ไป เพราะฉะนั้น เห็นอะไร
ผู้ฟัง เห็นสภาพธรรมที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ก็เห็นสิ่งที่กำลังมี จริงๆ ถูกต้อง ไม่ใช่ไปเห็นอื่น
ผู้ฟัง เขาก็บอกไม่เหมือนในพระสูตร
ท่านอาจารย์ พระสูตรว่าอย่างไร พระสูตรกับพระอภิธรรมต้องตรงกัน เพราะแม้แต่คำเดียวก็ต้องรู้ เห็นอะไร แค่นี้ ถ้าจะเห็นถูกเห็นตรง คือเห็นอะไร
ผู้ฟัง ทีนี้ในพระสูตรไม่มีคำว่า พระอภิธรรมอยู่ในนั้น หรือสภาพธรรมในนั้น เขาก็ว่าพวกเห็นสภาพธรรม ไม่เห็นตรง
ท่านอาจารย์ แต่ว่าผู้ที่อ่าน อ่านเพื่อเข้าใจถูก เพราะปัญญา ก็ต้องรู้ว่าปัญญารู้อะไร ปัญญาเห็น เห็นอะไร ถ้าเราไม่เข้าใจอย่างนี้ เราตามไปเรื่อยๆ เราก็ยังไม่รู้ตั้งแต่ต้น ว่าเห็นอะไรก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้น ก่อนอื่นก็คือว่า เห็นอะไร
ผู้ฟัง เห็นตัวหนังสือในพระสูตร
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ธรรม ไม่ใช่ตัวหนังสือ
ผู้ฟัง เขาก็บอก นี่เขาทำตามพระพุทธเจ้า บอกทุกตอนในพระสูตร
ส.ตัวหนังสือ เป็นคำ หรือเป็นคำพูด ที่จารึกมาจากเสียงที่ทรงแสดง ที่ประกาศลักษณะของสภาพธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหมด เป็นการแสดงลักษณะของสิ่งที่มีจริงๆ ตามที่ได้ทรงประจักษ์แจ้ง เพื่อที่จะให้ผู้ที่ได้ฟังได้เข้าใจ
ถ้าจะเริ่มตั้งแต่ว่า เห็นถูก แล้วว่าเห็นอะไร ไม่ใช่ไม่มีอะไรให้เห็น แล้วไปเห็นถูก เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่พิจารณาไตร่ตรอง แล้วก็เข้าใจว่าถูกต้องด้วย เห็นอะไร ถ้าไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เห็น จะไปเห็นได้ไหม หรือถ้ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เห็นแล้ว ไม่เห็นสิ่งนั้นตามความเป็นจริง จะกล่าวว่าเห็นถูกได้ไหม
ผู้ฟัง อันนี้ก็ต้องเทียบกันกับพระอภิธรรมตลอด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อันนี้ก็ต้องตรงกันกับความจริง พระสูตร หรือพระอภิธรรม หรือพระวินัย ก็คือพูดถึงเรื่องธรรม ที่มีจริง ทุกคำเป็นคำจริง ไม่ใช่ความเท็จ
ผู้ฟัง ขอบพระคุณ
ผู้ฟัง ถ้าจะพูดกันแบบง่ายๆ ก็คือว่าขณะที่เจริญสติ ขณะนั้นต้องมีศีลอยู่ร่วมแล้ว คือความเห็นถูก อะไรทำนองนี้
ท่านอาจารย์ จะไปทำอย่างไร แยกออกไป หรืออย่างไร เพราะศีลมีตั้งหลายระดับ อินทริยสังวรศีลก็มี แล้วถ้าไม่รู้อย่างนี้ จะเอาศีลอะไร ไปเจริญสติปัฏฐาน
ผู้ฟัง แล้วบางที่ก็บอกว่าต้อง
ส.จะเอาศีลปาฏิโมกข์ ไปเจริญสติปัฏฐาน ได้ไหม
ผู้ฟัง ศีลบริสุทธิ์แล้ว เราก็ไม่ทราบว่า เมื่อไร ที่จะบริสุทธิ์แล้วจริงๆ
ท่านอาจารย์ ศีลที่บริสุทธิ์ ดีไหม คือหวังอะไรหรือเปล่า แม้แต่พระภิกษุ ที่ท่านรักษาปาฏิโมกข์ ก็ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น ไม่ว่าศีลประเภทใดทั้งหมด บริสุทธิ์เพราะไม่หวังสิ่งหนึ่งสิ่งใด ขณะใดที่มีความเป็นเรา ศีลนั้นบริสุทธิ์หรือเปล่า ยังเป็นเราอยู่ ศีลนั้นบริสุทธิ์ไหม
ผู้ฟัง ขณะนั้นก็โลภะ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ที่ว่าศีลที่บริสุทธิ์ จะบริสุทธิ์เมื่อไร ถ้าไม่เกิดพร้อมกับสติสัมปชัญญะ ขณะที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นเพียงธรรม ไม่ใช่เรา ขณะที่มีความเห็นถูกต้อง มีความเห็นตรง ขณะนั้น ศีลนั้นจึงจะเป็นศีลวิสุทธิได้ มิฉะนั้นไม่ว่า ศีลระดับได้ก็ตาม จะไม่เป็นศีลวิสุทธิ เพราะเหตุว่ายังเป็นไปด้วยความเป็นเรา ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ หรือบรรพชิตก็ตาม ถ้าเพียงหวังผล ถ้าเรารักษาศีลเพื่อเหตุหนึ่งเหตุใด อย่างบางท่านก็อาจจะรักษาศีล ๘ เพราะว่าจะได้เกิดบนสวรรค์ เป็นเทพธิดา นางฟ้า มีรูปร่างสวยงาม อย่างนั้นหวังเพื่อที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม หรือเปล่า เพราะฉะนั้น จะบริสุทธิ์ไม่ได้ ถ้าตราบใดที่ยังเป็นเราอยู่ ก็ยังบริสุทธิ์ไม่ได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ความเป็นเรา จะต้องเริ่ม ไม่มี ตั้งแต่ศีล
ท่านอาจารย์ ต้องตั้งแต่ขั้นฟัง ไม่อย่างนั้นจะไปเอาความมั่นคงใน ความเป็นสัญญาที่มั่นคง หรือสัจจญาณได้อย่างไร เพราะว่าจากการฟังมากขึ้น ก็จะรู้ว่า ธรรมเป็นธรรมแต่ละอย่าง ทั้งวันไม่ว่าอะไรจะปรากฏ ก็คือลักษณะของธรรม ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ก็ยึดถือสภาพที่ปรากฏ ที่มีลักษณะที่เป็นธรรมนั้นแหละว่าเป็นเรา ความรู้สึกแท้ๆ เป็นเพียงความรู้สึก ก็ยึดถือว่าเป็นเรา ความโกรธ ความโลภใดๆ ทั้งสิ้น ที่มีในชีวิตประจำวันทั้งหมดก็เป็นลักษณะของสภาพธรรม ก็ยึดถือว่าเป็นเราทั้งหมด เพราะเหตุว่าไม่รู้ตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง ทีนี้ในพระสูตรท่านจะแสดงอานิสงส์ของศีลด้วย อันนี้ก็จะเป็นทางที่ว่า ก็ต้องการอีก ก็เราอยาก เราต้องการอานิสงส์อันนั้น
ท่านอาจารย์ ศีลที่ไม่ใช่ศีลวิสุิทธิก็มี ใช่ไหม ศีลที่ไม่เกิดกับสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่อินทริยสังวรศีลก็มี เพราะฉะนั้น ศีลอย่างนั้นหรือที่จะบริสุทธิ์ ถ้ายังมีความเป็นเราอยู่
ผู้ฟัง ทีนี้ ทำไมเหตุผลอันใด ท่านถึงได้แสดงอานิสงส์ของศีลด้วย
ท่านอาจารย์ ก็เป็นความจริง เป็นกุศล กุศลทั้งหลาย ก็ย่อมนำมาซึ่งผลที่ดี แต่ว่าไม่ใช่ว่าศีลทั้งหมด จะทำให้ออกจากสังสารวัฏฏ์ได้ นอกจากศีลที่เป็นสติปัฏฐาน หรือสติสัมปชัญญะเท่านั้น ที่จะออกได้
ผู้ฟัง อันนี้ก็ต้องใช้ปัญญา
ท่านอาจารย์ พระธรรม หรือว่า พระไตรปิฎก ไม่ใช่สำหรับอ่าน แต่ต้องสำหรับศึกษาโดยความละเอียดรอบคอบ ด้วยความเข้าใจจริงๆ โดยตลอด แล้วก็ต้องประกอบกัน ตรงกันด้วย
วิทยากร.ในคัมภีร์ วิสุทธิมรรค ท่านตั้งคาถาก่อนที่จะอธิบายศีลนิเทศ สมาธินิเทศ ปัญญานิเทศไว้ว่า สีเลปติฏิฐาย นโร สปัญโญ นรชนพึงตั้งอยู่ในศีล เจริญสมาธิ แล้วก็มีปัญญา ถึงจะถางรกชัฏ คือ กิเลสได้ ท่านเปรียบศีลเหมือนแผ่นดินคนเราถ้าไม่มีแผ่นดิน ก็ยืนอยู่ไม่ได้ เมื่อยืนอยู่ไม่ได้ แล้วจะทำอะไรได้ ฉะนั้นท่านพูดในแง่ของธรรมที่เป็นลำดับ ท่านกล่าวโดยนัยแห่งเทศนาที่ว่าไปโดยลำดับ การที่เราจะรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐, ๒๒๗ อะไรก็ตาม รักษาโดยที่ไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ ไม่เข้าใจว่ารักษาทำไม ไม่มีทรงที่จะได้บรรลุมรรคผลได้
เพราะฉะนั้น ความเข้าใจเป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด จะมีศีลหรือไม่มีศีลก็แล้วแต่ คนเราถ้ามีความเข้าใจ ฟังพระธรรม เข้าใจถูกต้องแล้ว กุศลธรรมทั้งหลายนั่นเอง ก็จะตามมาโดยที่เราไม่ต้องไปเร่งรัดหรือไปทำอะไร ให้มันเกิดขึ้น ถ้าไม่มีความเข้าใจแล้ว เราจะรักษาศีลอย่างไรๆ ก็ไม่มีทางจะหลุดพ้นได้ ไม่มีทางแน่นอน ความเข้าใจจึงเป็นพื้นฐานสำคัญ เพราะเรามาศึกษา ก็เพื่อหาความเข้าใจ ความเข้าใจมี ปัญญามันเกิด มันจะเกื้อกูลแก่ศีล สมาธิ โดยตรงไปเลย ถ้ามีความรู้ความเข้าใจว่า อันนี้เป็นทางที่ถูกที่ต้อง เป็นทางที่สมควรที่เหมาะสม แล้วจะไปประพฤติเหลวไหลได้อย่างไร มันเป็นไปไม่ได้ จะต้องมีมาด้วย เพราะฉะนั้น ความรู้ความเข้าใจจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาพระพุทธศาสนา
ผู้ฟัง สงสัยตรงนี้ หลีกออกจากหมู่ ท่านจะไปไหน
วิทยากร.ถ้าเรามีความเข้าใจในพระธรรม มีหรือที่เราจะไปมัวสวนเส เฮฮา ตลกขบขัน คุยโน้น คุยนี่ คุยเรื่องอะไรต่อะไร สารพัน เป็นไปไม่ได้ เข้าใจในธรรมแล้ว ใจมันหลีกอยู่แล้ว ถึงจะนั่งอยู่ด้วยกัน ก็นึกถึงธรรม สติปัฏฐานเกิดได้ สติปัฏฐานเกิดเมื่อไรก็หลีกเมื่อนั้น หมู่ ไม่ต้องห่วงแล้ว ที่ท่านพูดไว้ นี้โดยมากท่านพูดสำหรับ พระโดยเฉพาะ คือท่านพูดมาก พระท่านก็จะแนะนำกัน เพราะว่า ท่านจะไม่มามั่วสุมกัน สนทนาเรื่อง เดรัจฉานกถา เรื่องบ้านเรื่องเมือง เรื่องคนนั้นได้เป็นอย่างนี้ คนนี้ได้เป็นอย่างนั้น จะไม่มีๆ ท่านก็หาโอกาสที่จะเจริญสติปัฏฐาน หรือในที่ที่เหมาะสม ที่ธรรมของท่านจะเจริญ ท่านก็จะไป
ท่านอาจารย์ ก็จะเห็นได้ ว่า ถ้าไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง เวลาที่อ่านพระสูตร เข้าใจคลาดเคลื่อนหมด หมดจริงๆ คือเข้าใจไปด้วยความเข้าใจผิดของตัวเอง ตามตัวหนังสือ แต่ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องของปัญญา ในเรื่องของสภาพธรรม ก็ไม่มีปัญหาเลย แม้ว่าพยัญชนะจะกล่าวว่าอย่างนี้ หรือว่าในรูปอื่นก็ตามแต่ แต่ความหมายหรืออรรถ จริงๆ คืออะไร ผู้นั้นก็สามารถที่จะเข้าใจได้ เวลาที่ท่านอนาถบิณฑิกะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ฟังธรรม จบแล้วเป็นอะไร ท่านอนาถบิณฑิกะ
ผู้ฟัง เป็นพระโสดาบัน
ท่านอาจารย์ ท่านหลีกไปไหนหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ได้หลีก
ท่านอาจารย์ ไม่ได้หลีกไปไหน เพราะฉะนั้น คำนี้ จะมีความหมายว่าอย่างไร ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ขณะนี้มีคนมากมายเลย กลางหมู่ แต่ว่าขณะใดที่มีการระลึก รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังมีสภาพธรรมหนึ่งเป็นอารมณ์ของสติ ที่สติกำลังระลึก มีใครอยู่ตรงนั้น ในสภาพธรรมที่ปรากฏขณะนั้น ปัญญาก็สามารถที่จะมีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูกได้ แล้วขณะนั้นมีศีลหรือเปล่า หรือไม่มี
ผู้ฟัง มีปนด้วย
ท่านอาจารย์ แต่ว่าขณะใดที่สติปัฏฐานไม่เกิด ศีลก็มี แต่บริสุทธิ์ดีหรือเปล่า ถ้าไม่มีความเห็นตรง ความเห็นที่ถูกต้อง ก็ยังคงเป็นเราอยู่
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น ที่ใช้คำว่า ความเห็นตรง นี่คือ หมายถึง แต่สติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ ตรงอะไร เห็นไหม ต้องตรงอะไร
ผู้ฟัง ตรงลักษณะ
ท่านอาจารย์ ต้องตรงลักษณะของสภาพธรรม ต้องเป็นความเห็นที่ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงของสภาพธรรม ด้วย
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นหรือว่า ขั้นการฟังด้วย
ท่านอาจารย์ ขั้นฟังก็เป็นขั้น ๑ เพราะว่าพระศาสนา มี ๓ ขั้น ปริยัติศาสนา ฟังเรื่องราวของสภาพธรรม ก็ยังคงเป็นเรื่องราวอยู่ จะมีความเข้าใจเรื่องจิตกี่ประเภท เจตสิกเท่าไร อย่างไรๆ ก็ตาม ถ้าขณะใดที่สติสัมปชัญญะ คือสติปัฏฐานไม่เกิด ไม่ระลึก รู้ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใด ขณะนั้นไม่ใช่ปฏิปัตติ ไม่ใช่หนทางที่จะรู้จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรมเพราะเหตุว่าสภาพธรรม แต่ละลักษณะ มีลักษณะที่มีจริงๆ เพราะฉะนั้น ปัญญาสามารถ รู้จริงได้ แต่ต้องอาศัยสติสัมปชัญญะ ที่ระลึกที่ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใด ก็รู้ในลักษณะของสภาพธรรมนั้น ที่สติปัฏฐานกำลังระลึก ถ้าสติปัฏฐานไม่ระลีก ก็เป็นเพียงความเข้าใจเท่านั้นเอง เป็นความคิด ความไตร่ตรอง เรื่องราวของสภาพธรรมแต่ว่า ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะจริงๆ ได้ เพราะว่าลักษณะจริงๆ สั้นมาก เกิดแล้วก็ดับไป ทุกๆ ขณะสภาพธรรมใดที่สติปัฏฐานไม่ได้เกิดระลึก สภาพธรรมนั้นก็เกิดแล้วดับแล้ว ทั้งหมด สุตมยญาณ คืออะไร
ผู้ฟัง ปัญญาขั้นการฟัง
ท่านอาจารย์ สำเร็จจากการฟัง ฟังมาแล้วตั้งแต่เช้า มีปัญญาสำเร็จจากการฟัง ด้วย ใช่ไหม หรือว่าไม่มีเลย ต้องมีแน่นอน ฟังเข้าใจสิ่งใด หมายความว่าปัญญา ก็เกิดจากการฟังเข้าใจสิ่งนั้น เมื่อฟังแล้ว ฟังเรื่องทาน ฟังเรื่องศีล ฟังเรื่องสภาพธรรม ฟังเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน ฟังเรื่องวิวัฏฏะ ธรรมที่ออกจากวัฏฏะ ฟังแล้วจะไม่เกิดอะไรเลย หรือ แต่จะเกิดโดยที่เราไม่รู้ จากการฟังคนหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นคนร้าย ใจร้าย วาจาร้าย กายร้าย อะไรก็แล้วแต่ แต่จากการฟัง ก็จะมีการสะสม ที่ปัญญาที่เกิดจากการฟัง ก็ทำให้เขาเป็นผู้ที่มีศีลได้ ใช่ไหม จากการที่เคยเป็นผู้ทุศีล แต่ประโยชน์ของการเข้าใจธรรม ไม่มีเราต่างหาก ที่จะไปตั้งใจทำศีล หรืออะไร
แต่ขณะใดก็ตาม ที่มีการวิรัติทุจริต หรือว่าการทำสิ่งที่ควร จาริตศีล ขณะนั้นอาศัยการฟัง ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าชาติไหน จะฟังมามากน้อยสักเท่าไรก็ไม่รู้ แต่ว่าการฟังแต่ละครั้ง ไม่ได้เสียประโยชน์ เลย เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่ง ในชีวิตของเราตั้งแต่เกิดมา ก่อนที่จะได้ฟังพระธรรม ความประพฤติของคนที่ไม่ล่วงศีล ก็มี ใช่ไหม เพราะว่าเขาสะสมมาที่จะเป็นอุปนิสัย โดยที่มีความเห็นถูก มีความเข้าใจถูก ในระดับ ๑ โดยที่ว่าเขาเองก็ไม่รู้ว่า ขณะนั้นเป็นหิริ เป็นโอตตัปปะ เป็นอะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าสิ่งนั้นก็เกิดขึ้น ตามการสะสม เพราะฉะนั้น ก็ประโยชน์ ของการฟัง ก็จะทำให้ มีกาย วาจาที่ไม่เป็นไปทางทุจริต แต่ก็ไม่วิสุทธิ เพราะเหตุว่ายังมีความเป็นเรา
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ได้ฟัง แล้วก็มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็ย่อมรู้ว่าเพียงแค่ศีลระดับนั้น ไม่สามารถที่จะละความเป็นเรา ไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้ง อริยสัจจธรรมได้ เมื่อมีการฟังต่อไปก็รู้ว่ามีศีลอื่นอีก โดยเฉพาะ ศีลที่จะวิสุทธิได้ ต้องเกิดพร้อมกับสติสัมปชัญญะ ที่กำลังรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น จึงจะวิสุทธิจากอกุศล
ถ้าเราศึกษาพระอภิธรมด้วย เราก็จะเห็นได้ว่าต้องสอดคล้อง ตรงกัน เพราะเหตุว่าไม่ว่าจะมีการเห็น การได้ยินการได้กลิ่น การลิ้มรส การรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ทางทวารทั้ง ๕ เมื่อภวังคจิตเกิดสืบต่อ หลังจากที่รูปดับไปแล้ว อารมณ์นั้นดับไปแล้ว มโนทวารวิถีจิต จะรู้สิ่งนั้นต่อ นี้ถูกต้องไหม ตามการศึกษา แต่ว่าตามปกติของผู้ที่ไม่ได้ฟังพระธรรม เมื่อรู้แล้ว คิดอะไร เป็นเรื่องเป็นราวต่อไปเลย แต่ว่าถ้ามีการสะสมมา สติสัมปชัญญะ ตามรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ทางมโนทวาร รู้ต่อ ด้วยความเห็นที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้น ศีลในขณะนั้นมีไหม วิสุทธิไหม เป็นอินทริยสังวรศีล หรือเปล่า ศีล ๕ ขณะนั้นหรือเปล่า หรืออะไรอย่างนี้ ไม่ต้องคิดแล้ว ใช่ไหม เพราะเหตุว่าถ้าพูดถึงเรื่องวิสุทธิ ต้องมีความเห็นที่ตรงถูกต้องด้วย
การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ก็จะเห็นได้ว่าตรงตามที่ทรงแสดง ขณะที่มีการรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่สืบต่อจากทางปัญจทวาร ขณะนั้นมีอภิชชา มีโทมนัส ไหม มีสัตว์ มีบุคคลไหม มี คนมากๆ ในที่นี้หรือเปล่า ขณะนั้น ก็ไม่มี ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็จะเป็นการที่จะอบรม แล้วศีลก็จะวิสุทธิ จากความเป็นเราได้ แล้วก็จะไม่มีความเป็นเราเลย เมื่อถึงความเป็นพระโสดาบันบุคคล ถ้ามิฉะนั้นแล้วเราจะไปคอยเมื่อไร ศีลจะวิสุทธิ แล้วเราก็ไม่มีความรู้ ความเข้าใจเลยว่า ถ้าวิสุทธิก็ต้อง เพราะความเห็นตรง จึงจะวิสุทธิจากความเป็นเราได้ ถ้ายังมีความเป็นเราอยู่ วันหนึ่งวันใดก็ต้องมีการล่วงศีลอีก
ผู้ฟัง ฟังอาจารย์ พูดแล้วก็เหมือนกับว่า วันนี้ฉันรักษาศีลนะ ฉันจะรักษาศีล ๘ ก็มีความเป็นเรา ด้วยความหวังในโลภะ ที่ว่าเรา อยากจะบริสุทธิ์ เราอยากจะเป็นจุลโสดาบัน หรืออะไรก็แล้วแต่ ด้วยความเป็นเรา ตราบใดที่มีความเป็นเราอยู่ นั่นก็ไม่ใช่ศีลที่บริสุทธิ์แล้ว ถ้าศีลที่บริสุทธิ์ มันไม่มีความเป็นเรา มันก็คือมีความเห็นที่ตรง ตัวเป็นเรา สำคัญที่สุดเลย อาจารย์ พูดอย่างนี้ ดิฉันก็เลยว่า ดิฉันถือศีล ฉันก็ไม่กล้าพูดแล้ว เพราะคล้ายๆ กับว่า ตัวฉัน ฉันอยากบริสุทธิ์ มันเป็นเราอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ความเห็นที่ตรง ศีลที่บริสุทธิ์ มันก็รวมอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ถูกไหม
ท่านอาจารย์ เพราะว่า ผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์จริงๆ คือพระโสดาบันบุคคล ไม่มีความเป็นเรา
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์สุจินต์ ตรงนี้ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ค่อนข้างยาก แล้วก็กรณี การเข้าใจที่ว่า มีหลายๆ ท่าน ที่บอกว่าต้องศีลบริสุทธิ์ก่อน แล้วสมาธิ
ท่านอาจารย์ ต้องถาม ท่านผู้นั้นว่า เมื่อไรบริสุทธิ์
ผู้ฟัง ผมเข้าใจแล้ว ตรงนี้ ในขณะนี้ ท่านอาจารย์กำลังจะกล่าวให้พวกเราฟังว่า ฟังก่อน ขณะนี้ก็คือ สุตปัญญา หรือปัญญาที่เกิดจากการฟังก่อน แล้วจะเกิดเป็นว่า หลีกออกจากหมู่ได้เมื่อไร หลีกออกจากหมู่ ก็หมายความว่า ขณะนั้นมีกุศลเกิดขึ้นแล้ว
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐานเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ
ถ.ปรากฏเกิด แล้วก็มีสภาพที่รู้ สภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะว่าขณะนั้นไม่มีใคร มีแต่ลักษณะของสภาพธรรมก็หลีกออก จากหมู่ทั้งหมดเลย ถ้าสติปัฏฐาน ไม่เกิด ก็ยังมีการคิดนึก แม้ในขณะนี้ เป็นบุคคลต่างๆ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น หลีกออกจากหมู่ หมายความว่า สูงกว่าศีลบริสุทธิ์ คือขณะที่ศีล ฟัง ฟังธรรมขณะนี้ ฟังตั้งแต่เช้ามานี้ ที่เรามีความรู้สึกว่า โกรธลดน้อยลง หรือว่าอยากทานอาหารก็น้อยลง รอเวลาก็ทานได้ไม่หิว ก่อน
ท่านอาจารย์ หรือบางคนอาจจะมีศีล วิรัติทุจริตทางวาจา ก็ได้ ใช่ไหม
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าฟังเข้าใจแล้ว ถึงศีลจะเริ่มเจริญขึ้น
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นมีศีล แต่ยังไม่บริสุทธิ์
ผู้ฟัง จะบริสุทธิ์ ต่อเมื่อเป็นพระอริยบุคคลขั้นต้น นะ ตรงนี้ก็คือสิ่งที่ท่านได้ประทานให้เรา ที่ว่าเมื่อไรศีลของเธอจะบริสุทธิ์ดี ก็หมายความว่า ความเห็นของเธอจะตรง ก็คือว่าเห็นตรง ว่าสิ่งที่จะเกิด เป็นศีลบริสุทธิ์ ต้องเห็นตรงก่อน ก็คือฟังเรื่องราว ของเรื่องสภาพธรรม เข้าใจจึงเกิดปัญญาให้สติระลึกรู้ มีปัญญาทราบว่า สภาพนั้นเกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ รู้ว่าศีลที่วิสุทธิ คืออะไร
ผู้ฟัง แล้วขณะนั้นก็เป็นศีลอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ เมื่อไรที่สติปัฏฐานเกิด เมื่อนั้นก็ศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ จนกว่าจะถึง นามรูปปริจเฉทญาณ ก็เป็นทิฏฐิวิสุทธิ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ก็ไม่ต้องไปห่วงว่า เธอจงยัง หรือเราจงยัง เบื้องต้นของศีล ไม่ต้องไปห่วง คือฟังอย่างเดียว
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้ว ถ้าไม่มีการฟัง ไม่มีความเห็นถูกในเรื่อง การอบรมเจริญปัญญา ที่จะละ ความเป็นเรา ถ้ายังไม่มีศีลนั้นก็เป็นที่อาศัยของเรา เพราะว่าต้องการผลของศีล
ผู้ฟัง ขณะนั้นก็มีสักกายทิฏฐิอยู่ เต็มที่ พอมาถึงตรงนี้แล้ว พึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ ในส่วน ๓ แล้วท่านก็พูดกล่าวถึงว่า มีการเห็นกายในกายภายในก่อน แล้วถึงจะเห็นกายในกายเป็นภายนอก หรือเห็นกายในกายทั้งภายนอก และภายใน
ท่านอาจารย์ ทั้งหมด ทั้งหมด
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660