ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
ตอนที่ ๖๔๒
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ เราสามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เวลาที่ฟัง อย่างเมื่อกี้นี้พูดถึงเรื่อง บทเดียว แล้วท่านพระอานนท์ก็สามารถที่จะแทงตลอด ๖ หมื่น
เดี๋ยวนี้หรือเปล่า ๖ หมื่น แต่ละใจ เท่าไร ในห้องนี้เท่าไร นอกห้องนี้เท่าไร ประเทศไทยเท่าไร ทั่วโลกเท่าไร ไม่ได้มีเหมือนกันเลย ใช่ไหม แต่ก็ไม่พ้นจากการที่จะเข้าใจ สิ่งที่มีว่า ต้องตรง ที่ทรงแสดงจากการตรัสรู้ ว่าไม่ใช่เรา เอาอย่างนี้ก่อน ให้มีความมั่นใจจริงๆ มั่นคงจริงๆ ว่าเป็นอนัตตา เราจะทิ้งหลักอันนี้ไม่ได้เลย มิฉะนั้นแล้วเราก็จะมีอวิชชากับโลภะ ทำให้เราเห็นผิด คิดว่ามีหนทางอื่น ที่ไม่ใช่การรู้ความจริงของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ส่วนใหญ่บางคนที่เกิดมา เพียงนิดเดียวที่ฟังธรรมก็อยากจะออกจากสังสารวัฏฏ์ อยู่มาตั้งนาน แสนโกฏิกัปป์ นึกถึงท่านพระอานนท์สมัยที่ท่านบำเพ็ญบารมี เป็นทุคตะ มีเงินแค่เท่าไร ไปฝังเอาไว้ตรงไหนแล้วของเรา ลองคิดดู เราเคยทำอะไรๆ มาแล้ว แล้วก็ปัญญาที่จะต้องอบรม ก็คงจะต้องนาน เพราะว่าท่านเหล่านั้น ก่อนที่ท่านจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้ ท่านก็ต้องอบรมเป็นกัป ไม่ใช่ร้อย ไม่ใช่พัน ไม่ใช่หมื่น ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล
เวลาที่ได้ฟังธรรมประโยชน์สูงสุด คือ มีความเข้าใจ ขณะที่มีความเข้าใจ ก็ไม่ใช่เรา ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามการสะสม ของแต่ละคน เราจะเปลี่ยนตัวเราจากที่เรามีกิเลส กับความไม่รู้มากมายเหลือเกิน มาเป็นรู้ทันที กิเลสเบาบางทันที เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่สิ่งที่สามารถจะรู้ได้เมื่อสิ่งนั้นเกิดปรากฏ แต่สิ่งที่เกิดปรากฏ ปรากฏสั้นแล้วก็หมดแล้ว ขณะนี้ก็มีเห็นหมดแล้ว เป็นได้ยิน เป็นคิดนึก นี่ก็แสดงให้เห็นว่าปัญญาของเรา จะต้องอบรมจนกระทั่งสามารถที่จะรู้จริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่คิดนึก ก็น่าจะมีความเบาใจสบายใจ ถ้าไม่มีโลภะ ที่จะมารบกวนให้อยากอย่างนั้น ให้อยากอย่างนี้ เพราะว่าเป็นสิ่งที่สุดวิสัย แต่ว่าการที่จะค่อยๆ เข้าใจขึ้นๆ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
ผู้ฟัง ผมจะศึกษาอย่างไรดี ในเมื่อเป็นอย่างนี้ นัยของอาจารย์ มีแน่วแน่ นัยเดียว พวกผมไม่นับถือ หรือไม่ศึกษา จะไม่เห็นผม ใช่ไหม เพราะฉะนั้น นี่คือการปรารภว่า ขณะนี้การศึกษาหรือการเรียนอะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เป็นการสนทนากัน แล้วก็คงจะเป็นประโยชน์ เพราะว่าเราต้องเป็นผู้ที่จริงใจ เป็นผู้ที่ตรงต่อพระธรรม ต่อสภาพธรรม ก็ขอเรียนถามว่าคุณสุกิจต้องการของจริง หรือของปลอม ชอบอย่างไหน อัธยาศัยจริงหรือปลอม
ผู้ฟัง แน่นอน ของจริง
ท่านอาจารย์ ของจริงคือเดี๋ยวนี้ ใช่ไหม เพราะฉะนั้น มีข้อความในพระไตรปิฎก ที่ว่า ท่านเห็นอยู่อย่างไร ท่านรู้อย่างไร ขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ การที่เราจะรู้ว่าปัญญาของเรา เข้าใจแค่ไหน ตำรับตำรามากมาย แต่ว่าสรุปรวมความได้ว่า เห็นอย่างไร และรู้อย่างไร สิ่งนี้กำลังปรากฏ เห็น ใช่ไหม แล้วรู้อย่างไร ในสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าสิ่งที่ไม่ปรากฏก็ไม่เห็น ไม่ว่าจะเป็นรูปทางตา เสียงทางหู หรืออะไรก็ตามแต่ แล้วสิ่งที่มีปรากฏ รู้อย่างไรในสิ่งนั้น ถ้ารู้จริงก็คือรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ตามความเป็นจริงด้วยตัวเอง โดยที่ว่ามีความเข้าใจถูกต้องว่า ถ้าเพียงฟังแต่ว่าไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ ก็เป็นความรู้ความเข้าใจขั้นฟังเท่านั้นเอง แต่ว่าตัวจริง ไม่รู้เลย เป็นเราอยู่ตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น ที่มีของจริงปรากฏ เป็นสัจจธรรมก็ปรากฏได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ อวิชชาหรือวิชชาก็อยู่ตรงนี้แหละ ไม่ต้องไปหาที่อื่นเลย กำลังปรากฏ แล้วไม่รู้ จะกล่าวว่าเป็นวิชชาได้ไหม ไม่ได้ เพราะฉะนั้น ตัวอวิชชา ไม่ต้องไปแสวงหาที่อื่น แล้วเป็นผู้ตรง คือมีสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าเป็นอวิชชาก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจในลักษณะของนามธรรมที่กำลังเห็น ที่กำลังรู้ เป็นธาตุรู้ที่เกิดขึ้น เป็นอายตนะด้วย จะเป็นขันธ์ เป็นธาตุทั้งหมดอยู่ตรงนี้
คำที่ทรงแสดง เรื่องของสภาพธรรม โดยนัยประการต่างๆ ต้องมาจากปัญญาตามลำดับ เช่น ที่เราจะกล่าวว่าขันธ์ ปรมัตถธรรม ๓ เป็นขันธ์ ๕ นี้เรากล่าวได้ ขันธ์ ๕ มีลักษณะอย่างไร เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ เป็นอดีต เป็นปัจจุบัน เป็นอนาคต ก็คือเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น คำที่เราได้ยินได้ฟัง ต้องตรงกับ ความรู้ของเรา มิฉะนั้นเราก็เพียงแต่กล่าวชื่อ กล่าวเรื่องของสภาพธรรมนั้น โดยที่ว่าไม่สามารถที่จะรู้ ปัญญาสามารถที่จะอบรม เข้าใจถูกในลักษณะของขันธ์ ไม่ใช่เพียงแต่เข้าใจชื่อขันธ์
เพราะฉะนั้น เราเริ่มเรียนชื่อมาโดยตลอด แล้วชื่อก็เพิ่มขึ้นๆ ๆ มากขึ้น ถ้าเป็นอภิธัมมัตถสังคหะ ก็เป็นปริเฉท ๑ ปริเฉท ๒ ไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นพระไตรปิฎก เราก็อ่าน เล่มนั้น เล่มนี้บ้าง แต่สภาพธรรมแม้แต่เพียงคำว่าขันธ์ เราก็จำได้ กล่าวได้ แต่ไม่ใช่ความรู้จริง ในสิ่งที่เราเข้าใจโดยคำ หรือโดยชื่อ เพราะฉะนั้น การที่เราจะเข้าใจขันธ์ ก็โดยปัญญาที่สามารถที่จะรู้ในความเป็นนามธรรม และรูปธรรม ถ้าเป็นผู้ตรงก็เบิกบาน รู้จักอวิชชาแล้ว ใช่ไหม อยู่ที่ไหน เมื่อไร แล้ววิชชาอยู่ที่ไหน เมื่อไร
ผู้ฟัง นี่แหละ ที่ไม่รู้รูปนามเพราะไปยึดตัวเรา ผมรู้ ของคุณ ของผม อะไรอย่างนี้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าขณะที่กำลังเห็น ผ่านไป ดับไปแล้ว สังสารวัฏฏ์ก็ดับไป สะสมความไม่รู้ไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเราสะสมความรู้ขั้นฟัง เป็นพหูสูต เรามีความเข้าใจที่ถูกต้องมั่นคง ว่าปัญญาก็คือรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับ ที่เป็นขันธ์ในขณะนี้ แล้วก็จะมีความรู้ต่อไป ในความเป็นธรรม ความเป็นอายตนะ อะไรก็เพิ่มขึ้น ตามความรู้ จริงๆ ในลักษณะของสภาพธรรม
เราก็ศึกษาพระธรรม ด้วยการไตร่ตรอง โดยการที่ว่ามีความเข้าใจที่มั่นคง ในสัจจญาณ สัจจญาณนี้สำคัญมาก ในอริยสัจ ๔ ต้องมีความมั่นคงว่าขณะนี้ เป็นธรรมที่เกิดดับ เป็นทุกขอริยสัจ ถ้าไม่มีการรู้อย่างนี้ก็ละสุมทัย หรือว่าจะถึงนิโรธไม่ได้ หนทางที่เจริญก็ไม่ใช่มรรค เพราะเหตุว่าไม่สามารถจะทำให้รู้ ความจริงของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญา เราจะเห็นได้ว่า อวิชชา มีมากแค่ไหน ปัญญาที่จะต้องอบรมก็จะต้องมากเท่านั้น ที่จะละอวิชชา ตามลำดับขั้น คือ อวชิชาที่เกิดร่วมกับความเห็นผิด ต้องละก่อน
ผู้ฟัง ความเห็นผิด ที่เป็นตัวตนนี้ ละยากมาก
ท่านอาจารย์ ยาก ทุกคนก็ทราบว่ายาก แต่ถึงได้
ผู้ฟัง แม้กระทั่งเป็นโลภะก็เป็นของเรา โทสะก็เป็นของเรา
ท่านอาจารย์ ก็เริ่มเข้าใจสักกายทิฏฐิแล้วใช่ไหม ถือโลภะว่าเป็นเรา หรือคิดว่าเรามีโลภะ ก็ได้ ๒ แล้ว
ผู้ฟัง เป็นของเราหมด
ท่านอาจารย์ ทั้ง ๕ ขันธ์ ได้ ๒ อย่างเป็น ๑๐ แล้ว เหลืออีก ๑๐
ผู้ฟัง สิ่งที่ผม อยากจะให้อาจารย์บรรยาย ที่ต้องการบรรยายแทบทุกครั้ง จากเสียงหรือการบรรยายของอาจารย์ ขอโทษสหายธรรมด้วย ไม่ได้มาเพื่ออะไร ผมเพื่อจะมาพูดให้อาจารย์บรรยายให้ผม อบรมผมไปในตัว
ท่านอาจารย์ ก็ตรง เพราะว่าเป็นพหูสูต จากการฟัง
ผู้ฟัง อัธยาศัยของเรา ยังต้องศึกษาอยู่
ท่านอาจารย์ เข้าใจว่าทุกคนส่งเสริมการศึกษา แต่ว่าการศึกษาที่ว่า นี่คือ ไม่ใช่เพียง เรื่องชื่อหรือคำ แต่ต้องเป็นความเข้าใจสภาพธรรมจริงๆ ด้วย เพราะว่เพียงชื่อ บางคนที่เขาท่องเขาท่องได้จบเล่มก็ได้ มหาสติปัฏฐานสูตร หลายประเทศท่องได้ แต่ว่าเขาจะมีความเข้าใจในสภาพธรรมหรือเปล่านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องท่อง หรือว่าเข้าใจ จำคำ แต่ต้องเป็นเรื่องรู้ลักษณะของสภาพธรรมว่าทั้งหมด ที่พูดเป็นเรื่องธรรมจริงๆ ที่กำลังมี กำลังปรากฏ
วิทยากร. ศึกษานี่ดีแน่ คุณสุกิจ ไม่ต้องห่วง แม้จะมีคนพูดว่า ศึกษาไปมากๆ แล้วไม่รู้วัตถุประสงค์ หรือไม่รู้ ความมุ่งหมายว่าศึกษาเพื่ออะไร การศึกษาก็ยังไม่สมบูรณ์ เพราะว่าการศึกษาที่สมบูรณ์จริงๆ คือศึกษาขณะที่สภาพธรรมกำลังปรากฏ เราโดยมากเราไปศึกษาแต่ตำรา ศึกษาแต่ตัวหนังสือ ศึกษาแต่ชื่อต่างๆ แต่ไม่ศึกษาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เราขาดตรงนี้ เราขาดตรงนี้ เมื่อขาดตรงนี้ก็ไม่รู้สภาพธรรม ความสงสัยมันก็ไม่หาย ถ้าหากเราศึกษาขณะที่สภาพธรรมปรากฏแล้ว ว่าอะไรมันเป็นอะไรแล้ว ความสงสัยมันจะค่อยคลายลง มันจะเบาบางลง ถ้าศึกษาจากตำรา ก็ศึกษาจำ ก็อยู่นั้นแหละ ก็ได้อยู่แค่นั้น
ผมเคยเปรียบเทียบไว้ว่าเหมือนพวกแพทย์แผนโบราณ ที่เขาเรียนตำรายา เขาเรียนเก่งรู้หมดเลย ต้นไม้อะไร บอกชื่อได้ แต่เวลาไปชี้ต้นไม้ ให้พวกนักเรียนรุ่นหลังดู ชี้ไม่ถูก ไม่รู้ว่า ต้นนี้เรียกอะไร ชี้ไม่ถูก ชี้ไม่ถูกก็เพราะนั่นเขาศึกษาแต่ตามหนังสือ ศึกษาแต่ตามตำรา แต่ไม่ได้หมายความว่าแพทย์แผนโบราณ อย่าไปศึกษาตำรา ไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น ต้องศึกษา แต่ศึกษาแล้วก็เพื่อจะให้เข้าถึงของจริง ต้นไม้ที่มันเป็นยา ว่าคืออย่างนี้ ทำนองเดียวกัน เราศึกษาธรรมมากมาย วัตถุประสงค์หลัก ก็คือเพื่อให้เราเข้าใจของที่มันกำลังปรากฏ ซึ่งในตำราเรียกชื่ออย่างนี้ ของจริง คืออย่างนี้ ถ้าไม่ศึกษาไม่เทียบเคียงอย่างนี้ การศึกษาของเราก็ไร้ประโยชน์ ให้จบพระไตรปิฎก ก็ไม่มีประโยชน์
ท่านอาจารย์ เข้าใจว่าคุณสุกิจ เข้าใจทั้งหมดเลย ที่กล่าวมานี้ ใช่ไหม เข้าใจ แต่ทีนี้สิ่งหนึ่ง ที่เป็นอุปสรรค คือว่า เมื่อไรสติปัฏฐานจะเกิด เมื่อไร ปัญญาจะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ได้ ใช่ไหม ถูกต้องหรือเปล่า
ผู้ฟัง ถูกต้อง แล้วก็ต้องการคำอบรมของอาจารย์ ทุกครั้งๆ เลย
ท่านอาจารย์ ถ้าคุณสุกิจเข้าใจว่า ทุกอย่างที่เกิดขณะนี้ ต้องมีปัจจัยสำหรับสิ่งนี้จะเกิดไม่เป็นสิ่งอื่น อันนี้แน่นอน ใช่ไหม เพราะฉะนั้น อะไรก็ตามที่เกิดแล้ว แสดงถึงปัจจัย นี่เป็นความเข้าใจถูกหรือเข้าใจผิด เพราะฉะนั้น เราจะไม่เป็นไปตามปัจจัยที่เราสะสมมาได้ไหม มีปัจจัยที่โลภะจะเกิด เมื่อโลภะเกิดขึ้นแล้ว แสดงถึงความมีปัจจัย ที่โลภะ ขณะนั้นจะเกิดขึ้นเป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น เวลาที่เกิดขุ่นใจ เคืองใจ ระดับไหนก็ตาม ก็เป็นเครื่องส่องถึงเหตุปัจจัยอยู่แล้วว่า เพราะมีเหตุปัจจัยสมควรที่โทสะขณะนี้ ระดับนี้ จะเป็นอย่างก็เกิดปรากฏ ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ถ้ามีความเข้าใจถูกอย่างนี้ เราจะเบาใจไหม ที่ว่าทุกอย่างต้องตามเหตุตามปัจจัย ถ้ายังไม่ถึงกาลที่สติปัฏฐานจะเกิด ใครจะไปเร่งรัดสักเท่าไร นั่งสักเท่าไร ทรมานตัวสักเท่าไร ที่ต้นพระศรีมหาโพธิ หรือที่ไหนก็ตามแต่ ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไร เพราะว่ายังไม่ถึงกาลที่ปัจจัยจะเกิดปรุงแต่ง ให้สติเกิดระลึก ลักษณะของสภาพธรรม
เพราะฉะนั้น ทุกอย่างของทุกคนที่เกิด ในชีวิตประจำวันแต่ละขณะ ส่องถึงปัจจัยทั้งนั้น อย่างที่เมื่อกี้นี้ มีคนที่อยากจะให้กล่าวถึงปัจจัย ๒๔ ก็คือไม่พ้นจากปัจจัย ๒๔ แต่ว่าจะรู้โดยชื่อ หรือว่าทันทีที่สภาพธรรมนั้นเกิด ก็สามารถที่จะเข้าใจได้ว่า ต้องมีปัจจัย ที่จะทำให้สภาพธรรมนั้นเกิด แล้วก็ไม่ต้องเรียกชื่อ ข้อสำคัญคือไม่ต้องเรียกชื่อ อย่างในขณะนี้ ถ้าไม่มีสิ่งที่ปรากฏทางตา จิตจะเห็นอะไร เพราะฉะนั้น จิตเห็น ต้องเห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ไม่ต้องเรียกชื่อเลย อารัมมณปัจจัย ไม่ใช่เสียง แต่ต้องเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา สำหรับจักขุวิญญาณที่จะเห็น ถ้าเป็นเสียงก็มีเหตุปัจจัย ของโสตวิญญาณ ที่จะได้ยิน จะไปให้จักขุวิญญาณมาได้ยินเสียง ก็ไม่ได้ นี้คือการเข้าใจสภาพธรรม ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้จริงๆ โดยที่เข้าใจลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม เราก็สามารถที่จะรู้ว่า นามธรรมนั้น มีอะไรเป็นปัจจัย หรือแม้แต่สติปัฏฐาน หนทางเดียว หนทางเอก เพราะขณะนี้ เป็นธรรมทั้งหมด แต่ว่าลักษณะของธรรมที่เกิด ก็ดับ ไม่ได้ปรากฏกับสติ ปรากฏกับจักขุวิญญาณ ปรากฏกับโสตวิญญาณ แต่ไม่ได้ปรากฏกับสติปัฏฐาน ถ้าสติปัฏฐานไม่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้น
เวลาที่สติปัฏฐานเกิด ก็ต่างจากขณะที่เพียงเห็น หรือว่าเพียงได้ยิน เพราะเหตุว่าขณะนั้นเห็นก็ยังมี ได้ยินก็ยังมี เสียงก็ยังมี แข็งก็ยังมี กลิ่นก็ยังมี ทุกอย่าง แต่สติระลึก รู้ลักษณะไม่ใช่ระลึกชื่อ ระลึกเรื่อง เพราะว่าธรรมดา เวลาใช้คำว่า ระลึก คนคิดว่า คิดถึงเรื่อง แต่ความจริง ลักษณะของสติปัฏฐานระลึกลักษณะ ที่มี ที่กำลังปรากฏขณะนั้น เพราะฉะนั้น ขณะที่สติปัฏฐานระลึกก็สั้นมากเหมือนกัน เหมือนกับขณะอื่น ซึ่งเพียงเห็นแล้วก็ดับไป ได้ยินแล้วก็ดับไป แต่ว่าเป็นหนทางเดียว ไม่ใช่หนทางอื่นเพราะว่า ขณะนั้นมีลักษณะของสภาพธรรมที่สติกำลังระลึก ผู้นั้นต้องใช้คำว่า มรรคปัจจัย หรือเปล่า ถ้าผู้นั้นมีความเข้าใจรู้จริงๆ ว่า นี่เป็นหนทางที่จะรู้ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่ค่อยๆ อบรมไป โดยที่รู้ตามความเป็นจริงว่าต้องมีความมั่นคงต่อการที่จะเข้าใจว่า ธรรมเป็นอนัตตา และทุกอย่างเป็นธรรม แม้แต่ความคิดที่อยากจะให้สติปัฏฐานเกิด ก็เป็นธรรม ไม่ใช่ เห็น แล้วประเดี๋ยวก็คือถึงเรื่องอื่นแล้ว แต่ว่าความต้องการด้วยความเป็นตัวตน ที่มีมากก็จะกลับมาบ่อยๆ แล้วก็เป็นเครื่องกั้นที่จะทำให้สติปัฏฐานไม่เกิด
เราจึงต้องฟังพระธรรมมากเพื่อความเป็น พหูสูต เพื่อที่จะให้ความรู้ความเข้าใจในธรรมของเรา มั่นคงจริงๆ ซึ่งเป็นสัจจญาณ แล้วก็จะเป็นกิจจญาณ แล้วก็จะเป็นกตญาณ ตามลำดับ สบายๆ ไหม โลภะ ไม่ใช่คุณสุกิจ ความสนุกสนาน ความอร่อยของอาหารก็เป็นธรรมดา ก็เป็นเพียงชั่วขณะที่เกิดแล้วก็ดับไป จนกว่าจะมีปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด คุณสุกิจเคยนึกอะไรขึ้นมาเฉยๆ บ้างไหม โดยที่ไม่ต้องเตรียมตัว เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เกิดนึกขึ้นมา ไม่ใช่ความนึกที่ต่อเนื่อง ในเรื่องหนึ่ง เรื่องใดที่กำลังนึกอยู่ แต่เป็นอีกความคิดหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นมาได้ ฉันใด ถ้าสติปัฏฐาน มีปัจจัยจะเกิด ก็เกิดได้ ในขณะนั้นโดยปัจจัยเหมือนกัน
ผู้ฟัง ปัจจัยก็คือเสียงของอาจารย์
ท่านอาจารย์ ขณะที่มีความเข้าใจสภาพธรรม ขอเชิญฟังข้อความตอนนี้ ความว่า สัตว์ทั้งหลายถูกนิวรณ์ครอบงำ คือทีละคำ ทีละตอน เราจะรู้ว่าเป็นความจริงหรือเปล่า ตัวเราหรือเปล่า สัตว์ทั้งหลายหรือเปล่า ที่ถูกนิวรณ์ครอบงำ ปกคลุมหุ้มห่อให้มืดมัว ไม่ให้เพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อแทงตลอดสภาวะแห่งธรรมทั้งหลาย เป็นจริงไหม ทุกคำจริงหมดในพระไตรปิฎก เพราะเป็นสภาวะที่ถูกปกปิดไว้ ถูกต้อง ใช่ไหม ย่อมแล่นไป แล่นมาตลอดเลย เมื่อกี้นี้ ย่อมท่องเที่ยวไปในสังสารอันหาเบื้องต้นไม่ได้ และในภพใหญ่น้อยตลอดกัป อันกำหนดไม่ได้ มีใครกำหนดได้ไหม ว่าจะอยู่ไปอีกกี่กัป พยากรณ์ตัวเองได้ไหมว่าจะอยู่อีกกี่กัป ต้องแล้วแต่ปัญญา ถ้าเป็นพระโสดาบันนั้นก็แน่นอน พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านก็มี การที่จะอยู่ไม่เกิน ๗ ชาติ โดยประการทั้งปวง นับไม่ถ้วนเลย จิตของเรา ตั้งแต่มานั่งอยู่จนกระทั่งถึงขณะนี้ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เกิดดับโดยประการทั้งปวง แล้วแต่ว่าจะเกิดขึ้นเป็นจิตอะไร ขณะไหน ด้วยสามารถแห่งการเกิดแล้วเกิดอีก จิตไม่ใช่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป แล้วไม่เกิดอีกเลย แต่จะต้องมีการที่สืบต่อ ทันทีที่จิตขณะก่อนดับไป อนันตรปัจจัยก็ทำให้สภาพของธรรมที่เป็นนามธรรม เกิดสืบต่อ
การแล่นไปคือการก้าวไปในระหว่างอารมณ์ นั่งอยู่ตรงนี้เอง แต่ว่าไปไหนบ้าง เดี๋ยวทางตา เดี๋ยวทางหู เดี๋ยวทางจมูก ยังไม่ถึงทางลิ้น ใช่ไหม เดี๋ยวทางกาย เดี๋ยวทางใจ ทางใจก็ไม่รู้เรื่องอะไรตั้งมากมาย ที่ก้าวไปในระหว่างอารมณ์ การท่องเที่ยวไปคือการก้าวไปในระหว่างภพ ไม่ใช่แต่เฉพาะอารมณ์ แต่แม้ภพน้อย ภพใหญ่ ภพที่ผ่านมาแล้ว ภพที่กำลังเป็นอยู่ หรือว่าการแล่นไปด้วยกิเลส มีกำลังแรง การท่องเที่ยวไปด้วยกิเลส มีกำลังอ่อน นี้ก็ชีวิตประจำวันจริงๆ หรือว่าการแล่นไปในชาติหนึ่ง คือตายไปชั่วขณะ การท่องเที่ยวไปในหลายๆ ชาติ คือตายโดยโวหาร หรือว่าการแล่นไปด้วยสามารถแห่งจิต
สมดังที่พระผู้มีพระภาค ตรัสไว้ว่า จิตของเขาย่อมแล่นไป การท่องเที่ยวไปด้วยสามารถแห่งกรรม พึงทราบความต่างกันของการแล่นไป และการท่องเที่ยวไป ด้วยประการฉะนี้ ขณะนี้เป็นกรรมหรือเปล่า เรากำลังท่องเที่ยวไป แต่ด้วยกุศลกรรม ในขณะที่กำลังศึกษาธรรม แต่ไม่ทราบว่าประเดี๋ยวขณะอื่นจะเป็นกรรมอะไรต่อไป ก็เป็นอย่างนี้จนกว่า จะออกจากสังสารวัฏฏ์ได้
ผู้ฟัง ที่ว่า ความว่าสัตว์ทั้งหลายถูกนิวรณ์ครอบงำ ในที่นี้จะหมายเอาถึงอวิชชาโดยตรง ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ก็ได้ เพราะว่าอวิชชา มี กิเลสอื่นๆ จึงมี
ผู้ฟัง ขอบคุณ
ผู้ฟัง ขอเรียนถามว่า อวิชชา แล่นไปในชาย และหญิงเป็นต้น ชาย และหญิงก็เป็นภาวะรูป แล้วทำไมว่าไม่ใช่เป็นปรมัตถ
วิทยากร. เรามองไม่เห็นภาวะรูปจริงๆ เพราะว่าภาวะรูปจริงๆ เป็นสุขุมรูปมองไม่เห็นด้วยตา ความเป็นหญิง ความเป็นชาย เกิดมาพร้อมกับปฏิสนธิจิต กลละ น้ำใสๆ ที่ติดอยู่ปลายขนจามรี นั่นแหละ ความเป็นชาย ความเป็นหญิงมีอยู่แล้ว เรามองไม่เห็นหรอก มันเป็นสุขุมรูป แต่ที่เราเห็นเป็นชายเป็นหญิง คือเห็นเป็นคนเป็นสัตว์ เป็นตัวจริงๆ มันไม่ใช่ มันไม่ใช่ภาวะรูป มันชายหญิงโดยสมมติ สมมติว่าเป็นชาย เป็นหญิง ไม่ใช่ภาวะรูป ชายหญิงในที่นี้ ท่านไม่ได้หมายถึงภาวะรูป
ผู้ฟัง ยังไม่ค่อยเข้าใจ
วิทยากร. ภาวะรูปที่ว่าอิตถีภาวะ ความเป็นหญิง ปุริสภาวะ ความเป็นชายนี่ มันมองไม่เห็นด้วยตา ตามองเห็นไม่ได้ ถ้าจะเห็นได้เป็นสัพพัญญุตญาณ แสดงว่าเห็นได้ด้วยทางมโนทวาร ไม่ใช่ได้เห็นได้ทางจักขุทวาร ทางจักขุทวารที่เห็นได้ใน ๒๘ รูป มีอยู่รูปเดียว คือ วัณณะรูป คือ สีเท่านั้น ดิน น้ำ ไฟ ลมก็เห็นไม่ได้
ผู้ฟัง แต่อันนี้ก็ไม่ได้บอกว่าเห็น บอกว่าแล่นไป
วิทยากร. แล่นไป คือเห็น
ท่านอาจารย์ ถ้าคุณหมอไม่เห็น จะทราบไหมว่า ชายหรือหญิง
ผู้ฟัง ไม่ทราบ ก็อาจจะได้ยินเสียง ไม่มอง
ท่านอาจารย์ พูดถึงภาวะรูปใช่ไหม คงไม่ใช่เสียง ถ้าไม่เห็นจะรู้ไหมว่าชาย หรือหญิง แล้วที่เห็น ไม่ใช่เห็นภาวะรูป
ผู้ฟัง เห็นอะไร
ท่านอาจารย์ คุณวิจิตรกำลังเห็นอะไร เพราะว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แต่อวิชชาปิดบังไม่ให้เรารู้ ความจริงก็ให้เราคิดว่าเราเห็นหญิง หรือเป็นชาย
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660