ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๔๔

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ผู้ฟัง แม้แต่ขณะที่เราคิดว่า เรารู้ อย่างเช่น สภาพธรรมที่เป็นลักษณะของง่วงเหงา หาวนอน ถีนมิทธะ เราง่วงขณะนั้น ไม่ใช่ว่าเรารู้จริงๆ ว่าเราง่วง

    ท่านอาจารย์ เราไม่รู้ว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง แต่ขณะนั้นสภาพง่วง สภาพซึม สภาพเช่นนั้นแสดงออกมา

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างเป็นธรรม แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม

    ผู้ฟัง ขณะนั้นก็ยังไม่คิดว่า เรารู้ ลักษณะง่วงที่เกิดกับเรา

    ท่านอาจารย์ แล้วเรา อยู่ที่ไหน

    ผู้ฟัง ก็รู้ขณะง่วง

    ท่านอาจารย์ ไม่ เราก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ครบ ๕ ขันธ์ทุกขณะ

    ผู้ฟัง อย่างนั้นยังถือไม่ได้ว่า เรียกว่ารู้ ถีนมิทธะ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ไม่รู้ขันธ์อะไรเลย เพราะเหตุว่า เป็นการนึกถึงเรื่องราว และชื่อเท่านั้นเอง

    ผู้ฟัง ไม่ได้นึก เวลาง่วง มันง่วงจริงๆ

    ท่านอาจารย์ ที่ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ย่อมกระทำไม่ให้รู้แจ้ง ซึ่งอรรถแห่งความเป็นกองของขันธ์ ทั้งหลาย ขณะนี้ทุกคนตอบได้เรื่องขันธ์ ๕ ขันธ์ คนละกอง กองละ ๕ แต่ว่าไม่ได้รู้ในอรรถ แห่งความเป็นกองของขันธ์ทั้งหลาย แต่ละลักษณะ แต่ละลักษณะ ซึ่งอรรถแห่งความเป็นที่ต่อแห่งอายตนะทั้งหลาย นี่คือ อวิชชาทั้งหมดที่ปิดบัง ความจริงเป็นอย่างนี้ ถ้ารู้อย่างนี้ ก็ไม่มีเรา เป็นสภาพธรรมเท่านั้น ซึ่งประชุมกันจักขุปสาทต่อกับรูปารมณ์ แล้วก็มีสภาพธรรม ที่เกิดเห็นขึ้นในขณะนั้นก็เป็นอายตนะด้วย ไม่รู้อย่างนี้ เพราะอวิชชา ซึ่งอรรถแห่งความเป็นของว่างเปล่าของธาตุทั้งหลาย ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ในสภาพธรรมที่เป็นเพียงนามธาตุ และรูปธาตุ ซึ่ง อรรถแห่งความเป็นจริงของสัจจะทั้งหลาย นี่คือ อวิชชากั้นหมด และซึ่งอรรถแห่งความเป็นอธิบดี ของอินทรีย์ทั้งหลาย แต่ทั้งหมด จะรู้ได้ เมื่อเป็นสติปัฏฐาน ที่อบรมเจริญจนถึงขั้นของวิปัสสนาญาณ ไม่อย่างนั้น ไม่มีการที่สามารถจะละคลายความเป็นเรา ไม่สามารถที่จะดับความเป็นเราได้เลย เพราะว่าไม่รู้ทั้ง ๕ ขันธ์ อวิชชา ปิดบังหุ้มห่อหมด ไม่เห็นความจริง

    ผู้ฟัง จะกล่าวอย่างนั้นได้ไหมว่า ที่รู้ว่าเป็นขันธ์ ไม่ใช่เรา คือลักษณะของปัญญาเจตสิก ที่เขารู้ แต่ว่าถ้าเขาเกิด เรารู้ ก็คือ เป็นจิตที่รู้ลักษณะของสภาพสิ่งนั้นที่เกิด เหมือนกับเด็กที่ รู้แข็ง

    ท่านอาจารย์ เอาขณะนี้ รู้ขันธ์ รู้อย่างไร

    ผู้ฟัง รู้ว่า ไม่ใช่เรา

    ท่านอาจารย์ ไหน ขันธ์ไหน ไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏทางตา

    ท่านอาจารย์ แล้ว รู้อย่างไร ว่าไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง ขั้นแรกคิดเอาก่อน ได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ก็แค่คิดไง เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงมีหลายระดับ ถ้าไม่มีการฟังเลย เราจะคิดไหม วันนี้ อย่างนี้ เรื่องนามธรรม รูปธรรม เราจะคิดไหม หรือเรา จะคิดเรื่องอื่น แต่พอเราได้ฟังธรรม ได้ยินคำว่า ขันธ์ ได้ยินคำว่า อวิชชา ความคิดของเราก็คือ อวิชชาคืออย่างนี้ๆ ขันธ์คืออย่างนี้ๆ ก็เกิดความคิดขึ้น แต่ไม่ใช่การรู้ เป็นแต่เพียงการคิด ระลึกรู้ หรือว่าระลึกคิด

    ผู้ฟัง คิดว่า ระลึกรู้

    ท่านอาจารย์ รู้ ต้องรู้ ลักษณะของสภาพธรรม แล้วเรารู้ได้อย่างไร ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด เพราะเหตุว่าพอเห็นอะไรแล้ว คิดทันที เรารู้ไหม ถึงแม้ระลึก เราก็คิด ระลึกรู้ไม่ใช่ว่า ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ถ้าไม่ใช่ปัญญา เป็นระลึกแล้วคิด แม้ขณะที่คิดสั้นๆ เราก็ไม่รู้เลยว่าคิด แต่คิดนี่ต้องติดตามทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ไม่เว้นเลย ๒ ทวารต้องสืบต่อกัน

    ผู้ฟัง ก็ห้ามไม่ได้อยู่แล้ว ความคิดเกิดหลังจากที่เห็น

    ท่านอาจารย์ ความคิดเกิด ห้ามไม่ได้ แต่ปัญญาการฟังพระธรรม จะเป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่ง ให้ปัญญาที่ฟัง ครั้งแรก สิบครั้งแรก ร้อยครั้งแรก ค่อยๆ เจริญขึ้น ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เพราะว่ามีสิ่งที่ปรากฏให้เข้าใจ เราไม่ได้เรียนสิ่งซึ่งไม่มีปรากฏ เราเรียนให้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ ให้ถูกต้อง

    ผู้ฟัง อย่างที่เราเห็น ปุ๊บ เราก็คิดปั๊บ จากนั้นปัญญาก็ไม่ได้ตามรู้สิ่งที่คิดหรือ จะเป็นลักษณะนี้ ไหม

    ท่านอาจารย์ อนุสติ หมายความว่าอะไร ตามรู้ หมายความว่าต้องมีสิ่งที่เกิดปรากฏ แล้วสติปัฏฐาน ก็ระลึกลักษณะของสิ่งที่ปรากฏ รู้ลักษณะ ไม่ใช่คิด ต้องมีสิ่งที่เกิดแล้วปรากฏ ไม่อย่างนั้น สติจะระลึกอะไร ถ้าไม่เกิดขึ้นปรากฏ สติระลึกไม่ได้

    ผู้ฟัง ระลึกว่าไม่ใช่เรา อย่างนี้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ อะไร ที่ไม่ใช่เรา

    ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏ อย่างแข็ง

    ท่านอาจารย์ อย่างแข็ง แล้วอย่างไร แข็ง เดี๋ยว เอาทีละอย่างๆ

    ผู้ฟัง อย่างแข็ง ก็เป็นแข็ง แข็งก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง แข็งก็ไม่ใช่เรา

    ท่านอาจารย์ นั่นระลึก คิด ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ระลึก คิด

    ท่านอาจารย์ แล้วเมื่อไร จะระลึกรู้ ลักษณะที่แข็ง เพราะขณะนั้นต้องมีสภาพที่รู้ แข็งจึงได้ปรากฏ ซึ่งต่างกับลักษณะที่แข็ง ถ้ามิฉะนั้น จะเป็นเราตลอด

    ผู้ฟัง หลังจากคิดไปเรื่อยๆ แล้ว ระลึก ถึงจะรู้เอง หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้ความต่างกัน ต้องเข้าใจความต่าง ไม่ เข้าใจผิดว่าคิดไป แล้วก็จะรู้ แต่ต้องรู้ว่าจะรู้จริงๆ เมื่อสติปัฏฐานเกิด เพราะฉะนั้น ก็เห็นความต่างของสติปัฏฐาน กับสติระดับอื่นๆ

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ สติขั้นอื่นก็เป็นสติขั้นคิด ขั้นฟังแล้วก็คิด ขั้นเข้าใจแล้วก็คิด แต่ถ้าเป็นสติปัฏฐาน คือกำลังมีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏให้เข้าใจ ทุกอย่างที่กำลังปรากฏ เพื่อให้ปัญญาค่อยๆ รู้ค่อยๆ เข้าใจขึ้น เป็นสิ่งที่ยากจริง แต่จะเห็นความต่างของขณะที่สติปัฏฐานเกิด กับขณะที่หลงลืมสติ

    ผู้ฟัง เพราะว่าเมื่อก่อนที่ศึกษาธรรมใหม่ๆ ศึกษาธรรมที่ไม่ค่อยลึกซึ้งมาก พอจะเรียนรู้อย่างเช่น เรื่องขันธ์ ก็พอจะคิดว่าตัวเอง สามารถที่จะรู้ ลักษณะของเมตตา ลักษณะของกรุณาเจตสิก หรือว่าอะไรก็ตามแต่ที่เรียนมาแล้ว พอจะรู้ได้บ้าง แต่พอยิ่งศึกษาเหมือนกับยิ่งไม่รู้

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าความจริงมี เมตตาก็มี โทสะก็มี ไม่ใช่ไม่มี เป็นธรรมด้วย จริงๆ แล้วเป็นธรรมแต่ปัญญารู้จริงๆ หรือเปล่าว่า ลักษณะนั้นไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงสิ่งที่มี แล้วก็มีลักษณะเฉพาะอย่างๆ ปรากฏ วิเสสลักษณะที่ต่างกัน ลักษณะเฉพาะของแต่ละอย่าง แล้วปรากฏให้เห็นว่าไม่มีใครทำ ไม่มีใครสร้าง แล้วก็บังคับบัญชาไม่ได้ด้วย

    เมื่อวันก่อน ก็มีคนที่เขาบอกว่า เขาไม่เชื่อเรื่องกรรม และผลของกรรม เขาก็คิดว่าทุกอย่างที่เขาได้มาด้วยความสามารถของเขา ๒ มือของเขา และสมองของเขา แต่เขาไม่รู้ แม้แต่แข็งที่กายมีได้อย่างไร ลองคิดดู มาจากไหน ใครทำ ใครสร้าง แต่ว่าเป็น ๒ มือของเขา เห็นไหม แต่ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ มาจากไหน ลักษณะนี้มาได้อย่างไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นตา ทำไมถึงมีตา อยู่ดีๆ ใครทำตาขึ้นมาได้ ตามาจากไหน ถ้าไม่ใช่เพราะกรรมเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น การศึกษาก็ทำให้ เราสามารถที่จะเข้าใจความจริงซึ่งสืบเนื่องกัน

    ผู้ฟัง คนทั่วไปเขาบอกว่า เป็นธรรมชาติ

    ท่านอาจารย์ แล้วธรรมชาติ คืออะไร

    ผู้ฟัง ก็ไม่รู้

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่รู้ ก็จบลงด้วยความไม่รู้ ก็คือ อวิชชา

    ผู้ฟัง คำว่า ไม่ใช่เรา ต้องระดับถึงพระอรหันต์ ไม่ใช่หรือ

    ท่านอาจารย์ ไม่ พระโสดาบันก็ดับสักกายทิฏฐิหมด พระโสดาบันไม่มีความเห็นผิดใดๆ เลย เพราะว่ารู้ความจริงของสภาพธรรม ตามความเป็นจริงจะเป็นผิดได้อย่างไร เมื่อโสดาปัตติมรรคจิตเกิด ดับทิฏฐิทั้งหมด ดับวิจิกิจฉาทั้งหมด

    ผู้ฟัง ก็ดับความเป็นเราแล้ว

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง ผมมีอยู่ ๓ คำถาม คือ เท่าที่มาศึกษาที่ท่านอาจารย์ก็นาน แนะนำถือว่าเป็นประโยชน์มาก ทีนี้ในบารมี ๑๐ อันหนึ่งที่อาจารย์ได้สอน เปิดฟังหลายรอบ แต่ทำไม่ได้

    ท่านอาจารย์ ถ้าทำ ไม่ได้สักอย่าง ไม่ว่าทำอันไหนได้

    ผู้ฟัง จิต เจตสิก ทำ ก็ไม่เห็นได้

    ท่านอาจารย์ อะไรไม่เห็นได้

    ผู้ฟัง ก็คือเมตตา

    ท่านอาจารย์ เมตตาอะไร เกิดเพราะปัจจัย หรือเพราะเกิด เพราะเราอยากให้เมตตาเกิด

    ผู้ฟัง เกิดเพราะปัจจัย

    ท่านอาจารย์ ก็จบเลย ใช่ไหม

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ก็บอกปัจจัย เรายังไม่ถึง

    ท่านอาจารย์ แน่นอน

    ผู้ฟัง สบายไปเลย

    ท่านอาจารย์ ขอโทษ เวลานี้ความจริง คือสิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ เพราะเกิด อะไรทำให้เกิด เป็นอย่างนี้ได้ ไม่เป็นอย่างอื่น ก็เพราะเหตุว่ามีปัจจัยเฉพาะที่จะทำให้เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น แต่ละขณะ เป็นอย่างนี้จริงๆ

    ผู้ฟัง แต่ต้องขอความกรุณาจริงๆ นิดหนึ่ง คิดอย่างนี้ เพื่อเบาสบายก็คือว่า ถ้าตราบใดที่เรายังเจอคนที่ ไม่เข้าใจอะไร สมมติว่าทำให้เราเกิดโทสะ อันนี้จริงๆ ก็คือ

    ท่านอาจารย์ เขาหรือเรา

    ผู้ฟัง เขาเป็นปัจจัย

    ท่านอาจารย์ ให้

    ผู้ฟัง ให้เราเกิดโทสะ

    ท่านอาจารย์ เพราะเรามีโทสะ อย่าลืม

    ผู้ฟัง เพราะว่าเรามีวิบาก

    ท่านอาจารย์ เรามีโทสะ

    ผู้ฟัง คือทำให้เราต้องเจอเขา

    ท่านอาจารย์ ไม่ ตอนที่มีโทสะ เพราะเรามีปัจจัยของโทสะ ที่ โทสะจะเกิด แต่การเห็นเป็นผลของกรรม

    ผู้ฟัง ก็คือไปเห็นเขา

    ท่านอาจารย์ ถ้าเห็นแล้วไม่โกรธก็ได้ ถ้าไม่มีโทสะ แต่เมื่อไม่มีโทสะ ก็เป็นปัจจัยให้โทสะเกิด

    ผู้ฟัง ทีนี้ในขั้นต้น เรายังมีโทสะอยู่ เพราะ สมมติว่าเขาเป็นเหตุปัจจัยทำให้เราเกิดโทสะ เราเรียนรู้แล้ว

    ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ แล้ว ต้องกลับความคิดเห็น เพราะเรามีโทสะ เรายังไม่ได้ดับโทสะ โทสะ จึงเกิด ย้อนกลับมาเลย

    ผู้ฟัง แต่ว่าถ้าเราอยู่ในห้องของเราคนเดียว โทสะเราไม่เกิด เพราะคนนี้มาอยู่ใกล้ๆ แล้วเราโทสะเกิด เพราะฉะนั้น สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ ห่างๆ เขา อันนี้ถูกไหม

    ท่านอาจารย์ ก็แล้วแต่ คือคิดอย่างนี้เพราะมีปัจจัย ทันทีที่คิดอย่างนี้ มีปัจจัยที่จะให้ความคิดอย่างนี้เกิด ทุกอย่างละเอียดมาก ๑ ขณะที่จิตเกิด ต้องเพราะปัจจัย

    ผู้ฟัง ที่นี้เกิดห่างไม่ได้ เพราะคนนี้เป็นคนใกล้ชิดอย่างนี้ ทำอย่างไร บางคนอาจจะมีญาติโกโหติกา อะไรอย่างนี้ ห่างไม่ได้ทำอย่างไร ต้อง

    ท่านอาจารย์ เจริญกุศลได้ไหม น่าเจริญที่สุดเลย ยิ่งคนใกล้ชิด ยิ่งน่าเจริญ บางที่เราคิดถึงตัวเราเอง ใช่ไหม เราก็เกิดโทสะนี้ แน่นอน แต่พอคิดว่าโทสะเป็นอกุศล แล้วควรจะเป็นโทสะ หรือควรเป็นกุศล แล้วโอกาสที่กุศลที่เจริญ ยาก กับคนที่ทำให้เราโกรธ

    ผู้ฟัง ถ้าเราจะเจริญกุศลได้ คือ เรายังไม่ถึงขั้นนั้น

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ ทันทีไม่ได้

    ผู้ฟัง ผมว่าบรรยากาศที่เราจะเจริญกุศล คือมาฟังอาจารย์อย่างนี้ เจริญกุศล เพราะฉะนั้น ปัจจัยก็ยังไม่ถึงแล้วเราเจริญกับคนที่พูดไม่รู้เรื่องอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ เราฟังนิดหนึ่ง วันนี้กี่ชั่วโมงก็ตาม ปัญญาของเราเจริญเท่าไร ความประพฤติของเราปฏิกิริยาของเรากับบุคคลนั้น จะค่อยๆ เปลี่ยน ไม่ใช่ว่าเราสามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ทันที แต่เราเริ่มจะมีความคิดว่าเรา ควรจะไม่ให้เขาเป็นโทสะ แต่สำหรับโทสะของเรา ในฐานะที่เราศึกษามาแต่เขาไม่ได้ศึกษา จะโกรธคนที่ไม่รู้ น่าโกรธไหม เขาไม่รู้ แต่เรารู้ เราเรียน เพราะฉะนั้น ควรจะเป็นอย่างไร วิธีที่จะช่วยทั้ง ๒ ฝ่ายก็คือว่า มีความเห็นใจ เริ่มจากเห็นใจ และเข้าใจ

    ผู้ฟัง แล้วเกิดว่าเราถูกเบียดเบียน

    ท่านอาจารย์ ถูกทุบตีประทุษร้ายหรืออย่างไร

    ผู้ฟัง สมมติว่าเราชอบให้ห้องนี้สะอาดๆ แล้วทีนี้มาทำสกปรกทุกที อะไรอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ จริงๆ ขึ้นอยู่กับความคิด สุขกับทุกข์ เราจะคิดให้เป็นทุกข์ก็ได้ ไปฟังใครที่เขาบอกให้เราเกิดทุกข์มากๆ ให้ต้องทำอย่างนั้นให้มีอกุศลมากๆ ก็ได้ ถ้าเราพอใจ แต่เป็นสิ่งที่สมควรไหมกับการที่เราจะเริ่มมองหาทางออกที่ว่า ก็ไม่ค่อยจะลำบากอะไร ห้องก็ทำความสะอาดแล้วได้ออกกำลังไปในตัวด้วย คือคิดในแง่ที่จะทำให้เราไม่ต้องโกรธ ไม่ต้องเบียดเบียนคนอื่น แล้วใจเราก็สบายในขณะที่ เราทำอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ถ้าเราคิดในแง่นี้อีกส่วนได้ไหม อันนี้เป็นวิบากของเรา

    ท่านอาจารย์ แน่นอนอยู่แล้ว

    ผู้ฟัง แล้วก็รับไปเรื่อยๆ

    ท่านอาจารย์ แน่นอนอยู่แล้ว แต่เราจะไปโกรธวิบากอีก ทำไมต้องเป็นเรา ทำไมต้องเป็นฉัน ทำไมต้องเป็นอย่างนี้ คนที่จะคิดก็คิดไปได้หลายอย่าง ที่จะทำให้เกิดทุกข์ เพราะฉะนั้น จับจุดได้เลย สุขทุกข์อยู่ที่ความคิด เพราะฉะนั้น ความคิดจะคิดดีหรือคิดชั่ว เพราะปัญญา หรือเพราะอวิชชา

    ผู้ฟัง ตกลง อย่างนั้นผ่านแล้วอาจารย์ ปัญหาที่ ๒ พอมาฟังอาจารย์แล้วทราบว่า ไม่ใช่เราปุ๊บ หลายคน เขาเบื่อไปเลย เพราะว่าเดิมนึกว่าเป็นเราก็รู้สึกขยันขันแข็ง พอบอกไม่ใช่เรา จะไม่เอาอะไรแล้ว มันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าอย่างไร จะไม่เอาอะไร

    ผู้ฟัง ก็คือเบื่อแล้ว ชีวิตนี้เบื่อแล้ว

    ท่านอาจารย์ เป็นไปไม่ได้ หลอกตัวเอง ไม่จริงเลย

    ผู้ฟัง เบื่อไม่จริง เบื่อเพราะกลัว

    ท่านอาจารย์ เพราะอยากให้เป็นเรา เพราะฉะนั้น ก็ซ้อนๆ กันอยู่เรื่อย เรื่องความไม่รู้ กับความเป็นตัวตน ไม่มีพ้น

    ผู้ฟัง คำถามที่ ๓ คือว่าที่อาจารย์ได้สอนว่า ผมพึ่งมารู้ที่นี่ว่า ภิกษุสงฆ์มีหน้าที่อยู่ ๒ อย่าง เท่านั้น คันถะธุระ และวิปัสสนาธุระ ถามว่าอันนี้เฉพาะสมัยพระพุทธเจ้าเท่านั้นหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ พระวินัยต้องตลอดกาล

    ผู้ฟัง ตลอดกาล ถึงแม้อีกกี่กัปก็ตาม ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สิ่งหนึ่ง ซึ่งมักจะลืมไปอีกแล้ว คือเรื่องละ กำลังจะต้องการ ถ้ารู้สึกตัวก็ต้องรู้ว่าเป็นเรื่องละ ด้วยความรู้ เท่านั้นถึงจะละได้ ไม่อย่างนั้นอะไรก็ละไม่ได้

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ก็กล่าวไว้หลายครั้งแล้ว แต่มันก็ยังคิดอย่างที่คิดอยู่

    ท่านอาจารย์ เพราะกำลังของตัณหา ที่เราเรียนเมื่อกี้นี้ ผ่านไปเมื่อกี้นี้เอง เพิ่งผ่านไป แล้วความจริงก็กำลังปรากฏพิสูจน์พระธรรมว่าเป็นอย่างนี้

    ผู้ฟัง ถ้าพูดถึงสังสารวัฏฏ์ เป็นมหากันดาล คือ สังสารกันดาล เป็นมหากันดาล เป็นกันดาลที่ใหญ่หลวง แต่ว่าชีวิตจริงๆ ของเรา อย่างที่อยู่ในมนุษย์ ก็มีอะไรที่น่าเพลิดเพลิน น่าอยู่ ในเทวโลกก็น่าอยู่น่าเพลิดเพลิน ในพรหมโลกก็เช่นเดียวกัน แต่ทำไมท่านกล่าวว่าสังสารวัฏฏ์นี้เป็น มหากันดาลเลย

    ท่านอาจารย์ ไม่ได้อย่างใจ

    ผู้ฟัง ไม่ได้ดั่งใจ

    ท่านอาจารย์ ต้องตาย

    ผู้ฟัง หมายความไม่เที่ยง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ต้องตาย ต้องพลัดพรากแน่นอน

    ผู้ฟัง ถึงแม้จะอยู่พรหมโลกสูงๆ ก็ต้องไม่เที่ยงเหมือนกัน จึงเรียกว่า มหากันดาล

    วิทยากร. นอกจากนั้น คุณประเชิญ ที่เจอในพระสูตร เขาบอกว่าเราเกิดมา แม้กระทั่งเลือดก็มาก มากกว่าน้ำในมหาสมุทร ฟังแล้วก็ไม่น่าเชื่อ แต่ในพระสูตรท่านนยกตัวอย่าง ถ้าเป็นโค โดนเขาตัดไม่รู้เท่าไร โดนเขาเชือดคอไม่รู้กี่ชาติ สังสารวัฏฏ์อันยาวนาน ได้เห็นว่าเลือดที่เราเชือดออกมา นี่ก็เป็นหนึ่ง ในกันดาลทั้งหลาย

    ผู้ฟัง ใช่ ถ้าเป็นในภพชาติที่เป็นอบายภูมิ อย่างเปรตก็เป็นภพภูมิที่อยู่ด้วยความทุกข์ทรมาน ใช่ไหม ในนั้น ถ้าเป็นมหากันดาลก็น่าจะ

    ท่านอาจารย์ ออกจากสังสารวัฏฏ์ไม่ได้ ที่นี้คือ สังสารกันดาล

    ผู้ฟัง วนเวียนอยู่อย่างนี้ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ อย่างไรๆ ก็ออกไปไม่ได้แน่ ถ้าไม่มีปัญญา

    ถ้าเราจะพิจารณาพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสกับใครที่ไหน แล้วก็สมมติว่าที่นี่เป็นพระวิหารเชตวัน ทุกคนกำลังฟังข้อความนี้ แต่จะเห็นความต่างของผู้ที่เข้าใจหมด กับผู้ที่ฟังแล้วเข้าใจได้กี่คำ หรือว่าเข้าใจเรื่องราวอะไรได้บ้าง เช่น ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ๗ ประการถ้าไม่บอก คนที่ไม่รู้ก็จะไม่รู้เลย แต่ผู้รู้เพียงฟัง ๗ ประการ สามารถจะรู้ได้ไหมว่า ๗ ประการนั้นคืออะไร โดยเฉพาะผู้ที่ได้อบรมเจริญปัญญา รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ นี้ตรัสกับพระอรหันต์ทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ในที่นั้นด้วย แล้วก็ผู้อื่นที่ฟังด้วย

    ความรู้ความเข้าใจของแต่ละคน ต่างกันไป ถ้าผู้ที่รู้แล้วก็ไม่สงสัย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า เป็นอุดมบุรุษผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ แล้วในธรรมวินัยนี้

    เพราะฉะนั้น คนที่ยังไม่ถึง พอฟังก็ต้องตั้งต้น เริ่มต้นเลย ว่าแต่ละคำ หมายอย่างไร แล้วก็เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา ที่จะฉลาดในฐานะนั้นๆ อย่างไร เช่น ข้อความแรก ที่ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดซึ่งรูป อันนี้ เราจะผ่านไปได้ไหม หรือว่าพอว่ารู้ชัดก็รู้ชัดซึ่งรูป พอเกิดแห่งรูป ก็เป็นรูปสมุทัย ก็รู้โดยชื่อเท่านั้นเอง แต่จริงๆ แล้วธรรมไม่ใช่เรื่องรู้โดยชื่อ แต่ต้องรู้ว่าเป็นสภาพธรรมที่มี แล้วผู้ที่ได้อบรมแล้วก็สามารถที่จะรู้ชัด ในสิ่งที่มี เพราะว่าสิ่งที่มีก็เป็นนามธรรม กับรูปธรรมทั้งหมด ไม่มีอะไรที่จะพ้นจากนามธรรม และรูปธรรมเลย เพราะฉะนั้น การทึ่จะค่อยๆ พิจารณาสภาพธรรม ด้วยความเข้าใจของเราเองว่าเข้าใจรู้ชัดซึ่งรูปนี้อย่างไร เพียงแค่นี้ก่อน แค่รู้ชัดซึ่งรูป ถ้ายังไม่เข้าใจแล้วผ่านไป ก็เหมือนกับอ่านพระสูตร หรือพระไตรปิฎก ก็เป็นชื่อทั้งหมด และความเข้าใจของเรา แค่ไหน แม้แต่ในคำที่ดูเป็นธรรมดา รู้ชัดซึ่งรูป

    ผู้ฟัง ตอนนี้ก็ต่อไป ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการดิฉันก็เลยรู้ว่า เราจะรู้ชัดซึ่งรูป โดยนัยของธาตุ โดยนัยของอายตนะ และโดยนัยของปฏิจจสมุปบาท อันนี้คือ คำตอบหรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่ทีนี้เราจะไม่ผ่านเลย ซึ่งเราจะต้องพิสูจน์ด้วยตัวของเราเองว่า รู้ชัดซึ่งรูปนี้ แค่ไหน รูปกำลังปรากฏ อวิชชาไม่สามารถจะรู้ความจริงเลยว่า เป็นเพียงรูป แม้แต่สิ่งที่ปรากฏทางตาในขณะนี้ ตรัสแล้วๆ เล่าๆ ในแต่ละสูตร ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วเมื่อไร เราจะซึมด้วยสติสัมปชัญญะ พอเห็น ก็สามารถที่จะเข้าใจความจริงของสภาพที่ปรากฏว่า เป็นธรรมอย่างหนึ่ง แล้วสามารถที่จะปรากฏทางตาได้จริงๆ ในขณะที่ทางเสียง ทางหู ก็เป็นสภาพธรรม อีกอย่างหนึ่งคนละอย่างแล้ว แล้วก็เป็นธรรมด้วย แล้วก็ปรากฏเฉพาะทางหู รู้ชัดซึ่งรูป จะรู้ได้อย่างไร ที่จะรู้ว่าเป็นรูปเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่นเลย เป็นแต่เพียงรูป

    การศึกษาพระธรรม แม้เพียงสูตรเดียว ก็สามารถที่จะพิจารณาว่าตัวเอง ผู้ที่ศึกษา หรือผู้ที่อ่าน ผู้ที่ฟัง มีความเข้าใจแค่ไหน ถ้ายังไม่เข้าใจ สูตรนี้สูตรเดียวก็อาจจะทำให้ แล้วค่อยๆ พิจารณาอีก แล้วก็สามารถที่จะเข้าใจข้อความ และธรรมในสูตรอื่นๆ ได้ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ควรที่จะผ่านเลย

    ผู้ฟัง ยังสงสัยอยู่ จิตโดยวิธี ๓ เชื่อมโยงกันอย่างไร ต่อเนื่องกันอย่างไร

    ท่านอาจารย์ ก็อย่างที่รู้ชัดซึ่งรูปโดยฐานะของความเป็นธาตุ โดยฐานะที่เป็น อายตนะ โดยฐานะที่เป็นปฏิจจสมุปบาท ทั้งหมดก็ ๗ อย่างโดยฐานะ ๓

    ผู้ฟัง อันนี้หมายความว่าอย่างนั้น

    ท่านอาจารย์ ผู้ที่ได้อบรมเจริญปัญญาแล้ว ผู้ที่รู้แล้ว เสร็จกิจแล้ว เป็นพระอรหันต์ พอบอกว่ารู้ชัดซึ่งรูปซึ่งไม่สงสัยเลย โดยวิธี ๓ ก็ไม่สงสัย โดยความเป็นธาตุ อายตนะ ปฏิจจสมุปบาท ก็ไม่มีความสงสัยเลย นี้ ๑ ไปแล้ว พอถึง ๒ โดยฐานะ ๓ ท่านก็ไม่มีความสงสัยเลย เพราะเหตุว่าปัญญาของท่าน ได้อบรมเแล้ว เจริญแล้ว

    ผู้ฟัง เข้าใจแล้ว อย่างนั้น เข้าใจวิธี

    ท่านอาจารย์ แล้วจะอบรมให้ถึงวิธีอย่างนั้นไหม หรือว่าจะผ่านไป แม้แต่วิธีเดียว หรือฐานะเดียว คือ รู้ชัดซึ่งรูป ก็เป็นเครื่องเตือนใจแล้ว ใช่ไหม รูปอะไรที่รู้ชัดทั้งๆ ที่ รูปก็ปรากฏ ทางตาก็ปรากฏ ทางหูก็ปรากฏ ทางจมูกปรากฏ ทางลิ้นปรากฏ ทางกายปรากฏ รู้ชัดรูปอะไร โดยวิธีอย่างไร ใช่ไหม ไม่ใช่อยู่ดีๆ จะเกิดความรู้ชัดขึ้นมาได้ ก็ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด และเป็นผู้ที่ไม่ผ่านด้วย หรือว่าใครจะผ่านก็จบเลย ทั้ง ๗ และ ๓ นี้จบหมดแล้ว

    ผู้ฟัง คำว่ารู้ชัดซึ่งรูป ปัญญาเรายังไม่ถึง

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567