ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
ตอนที่ ๖๔๕
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๖
ผู้ฟัง คำว่า รู้ชัดซึ่งรูป ปัญญาเรายังไม่ถึง หยั่งรู้ตัวสภาพธรรม โดยนัยของธาตุ อายตนะ และปฏิจจสมุปบาท อันนี้ก็หมายความว่า ในขณะนี้ เรานั่งอยู่ในห้องนี้แม้แต่เราจะแจกออกไปว่า รู้ชัดซึ่งรูปโดยนัยของธาตุ เป็นอย่างไร หรือยังไม่ต้องหยั่งถึงสภาพธรรม รู้ชัดซึ่งรูปโดยนัยของอายตนะ คืออย่างไร รู้ชัดซึ่งรูป โดยนัยของปฏิจจสมุปบาท เป็นอย่างไร ก็อยากจะให้ท่านวิทยากร เอาตรงนี้มาออกก่อน เอาเป็นเรื่องราวก่อน
ท่านอาจารย์ เอาคำแรกก่อน รู้ชัดซึ่งรูป โดยความเป็นธาตุ ไม่เคยได้ยินคำว่า ธรรมเลยหรือ เคยไหม คำว่า ธาตุกับคำว่า ธรรม เหมือนกันหรือต่างกัน ก็เหมือนกัน
เพราะฉะนั้น เวลาที่ฟังเรื่องรูป แล้วก็รู้ว่าเป็นปรมัตถธรรม เป็นธรรม ไม่ใช่ของใคร ไม่มีเจ้าของ มีเหตุปัจจัยก็เกิดแล้วดับ ทั้งหมดที่เราเรียนมา ว่ารูปที่เป็นสภาวะรูป มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะนั่นเป็นธาตุหรือเปล่า หรือว่าไม่ใช่ธาตุ เป็นปรมัตถ
นี่คือสิ่งที่จะต้องเข้าใจจริงๆ ว่า ไม่ว่าจะใช้คำว่าอะไร สภาพธรรม จะใช้คำว่าปรมัตถธรรม หรือคำว่า ธาตุ ความหมายก็เหมือนกัน ไม่ต่างกันเลย ถ้าเข้าใจธาตุ ก็ต้องเข้าใจธรรม ถ้าเข้าใจธรรมก็เข้าใจธาตุด้วย ไม่ใช่ของใครเป็นสิ่งที่มีจริง เราก็ได้ยินแล้วๆ เล่าๆ ไม่ใช่ว่าไม่เคยได้ยิน ไม่ฟังเลย แต่เมื่อได้ยินแล้วเป็นเรื่องฟัง แล้วก็เป็นเรื่องจำ และเป็นเรื่องเข้าใจคำ แต่ว่าลักษณะของธาตุ ลักษณะของรูป ไม่ได้เข้าใจ ในความเป็นธรรม หรือในความเป็นธาตุ
เพราะฉะนั้น จึงต้องอบรมเจริญปัญญา ซึ่งก็มีหนทางเดียว คือสติปัฏฐาน มรรคมีองค์ ๕ โดยปกติซึ่งจะสมบูรณ์เป็นมรรคมีองค์ ๘ ในขณะที่มรรคจิต โลกุตตรจิตเกิด
เราก็ทราบได้เลย สิ่งที่มีในขณะนี้ เป็นธาตุทั้งนั้น ถ้าบอกว่าเป็นรูป ก็หมายความว่าเป็นธาตุ จะเป็นอื่นไม่ได้ ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้น ขณะนี้ก็คือธาตุทั้งนั้น แต่ว่าจะต้องอบรมถึงกาลที่จะรู้ในความเป็นธาตุของสภาพธรรมนั้นๆ ทั้งนามธรรม และรูปธรรม ก็ไม่มีความต่างจากสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพียงแต่ว่าปัญญาต้องเข้าใจถูกตั้งแต่ต้น แล้วก็ต้องอบรมเจริญ การรู้ว่า การฟังเป็นหนทางที่จะทำให้สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ตามที่ได้ยินได้ฟัง จะต่างกับที่ได้ยินได้ฟังไม่ได้เลย อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา พูดกี่ครั้ง จะเปลี่ยนลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตา ให้เป็นอย่างอื่นได้ไหม ให้ไม่ใช่ธาตุได้ไหม ไม่ได้ นี่ก็คือการที่เข้าใจ รู้ชัดซึ่งรูป โดยความเป็นธาตุ แต่ว่าไม่ใช่ขั้นฟัง ขั้นฟังนี้เข้าใจ ว่ารูปเป็นธาตุ แต่ว่าขั้นประจักษ์แจ้ง ก็คือ รู้ชัดซึ่งรูป โดยความเป็นธาตุ
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น คำว่า รู้ชัด ในที่นี้ก็คือ ต้องหยั่งถึงสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณแน่นอน ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณ แค่สติปัฏฐาน จะรู้ชัดได้หรือยัง
ผู้ฟัง เรียนถาม คุณแห่งรูป นี้คือนำความสุขโสมนัสมาให้ นี่หมายความว่า นำโลภะ มาให้แล้วเกิดสุขโสมนัสที่เกิดขึ้นอย่างนั้นนับว่าเป็นคุณด้วยหรือเปล่า ตอนที่มีโลภะเกิดขึ้น มีความสุข หรือความพอใจ ความติดข้องเกิดขึ้น เป็นสุข หรือเป็นคุณ ค่อนข้างจะบอกว่าเห็นด้วย บอกว่าเป็น อาทีนวะ อาจจะยังไม่เห็น ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ใช่
วิทยากร. มันอยู่ตลอดได้ไหม ความพอใจนั้นมันจะอยู่กับเราตลอดได้ไหม
ผู้ฟัง คงไม่ตลอด
ท่านอาจารย์ ของที่ชอบที่สุดแตกทำลาย เห็นโทษไหม นำมาซึ่งอะไร ตอนแรกก็เป็นคุณ พอเห็นที่ไรก็พอใจ แต่พอแตกทำลายไปขณะนั้นก็จะเห็นได้ว่า เป็นโทษ ไม่เที่ยง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ จะต่างกันอย่างไร อุบายเครื่องสลัดออกก็ดี ปฏิปทา ท่านก็อธิบาย อริยมรรคมีองค์ ๘
ท่านอาจารย์ ก็จากปุถุชนซึ่งไม่รู้อะไรเลย ค่อยๆ รู้ขึ้น ค่อยๆ รู้ขึ้น
ผู้ฟัง ที่ท่านอาจารย์บอกว่า รู้ชัดซึ่งรูปอันนี้ ต้องเป็นวิปัสสนาญาณ เป็นปัญญาที่รู้ชัดในสภาพธรรม ที่เป็นสังขารธรรม
ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการในที่นี้ จะหมายตั้งแต่บุคคลที่ ได้วิปัสสนาญาณขึ้นไปเลย ถึงที่เป็น อเสขบุคคล แล้วก็พระอเสขบุคคลด้วย ใช่ไหม
ส.เพราะว่าคำว่า รู้ชัด ถ้าไม่ใช่ วิปัสสนาญาณ จะชัดไม่ได้
ผู้ฟัง อนุปัสสนา ๗ เป็นภูมิของ นิพพิทาญาณ ซึ่งก็เป็นวิปัสสนาญาณ ขั้นหนึ่งในวิปัสสนาญาณทั้ง ๑๖ อันนี้ก็จะอันเดียวกับฐานะทั้ง ๗ ประการที่ท่านแสดงไว้ในพระสูตรนี้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ฐานะ ๗ ประการคืออะไร แล้วก็เมื่อปัญญาอบรมเจริญขึ้น วิปัสสนาญาณก็จะเจริญขึ้นด้วย ต้องเอามาเรียงเป็นคู่ๆ หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่
ท่านอาจารย์ ข้อสำคัญที่สุดก็คือ เมื่อเราไม่ถึงแล้วจะ เข้าใจในสิ่งที่เป็นอย่างนั้น ก็คงจะยาก จำแต่ชื่อแล้วก็ ถนัดในการจำ แต่จริงๆ แล้วควรจะมีความเข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมที่ได้เจริญขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะรู้อรรถของคำนั้นด้วยตัวเอง มิฉะนั้นก็เป็นชื่อซึ่งจำได้เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง อาจารย์บอกว่าต้องเป็นปัญญา ที่อบรมถึง นี้สำคัญมาก ถึงจะเข้าถึงอรรถได้จริงๆ ไม่อย่างนั้นเข้าไม่ถึงอรรถ ก็จำเอาเท่านั้น ชื่ออะไรก็จำเอาทั้งหมดที่เมื่อกี้นี้ พระสูตรที่อ่านมาเนี่ย ก็เป็นชื่อทั้งนั้น แล้วก็แยกไปทางโน้น แยกไปทางนี้ แต่การอบรมเจริญสติปัฏฐาน ที่ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ สิ่งที่ปรากฏทางตาบ้าง เห็นบ้าง ถ้าเข้าใจอย่างนี้ก็เข้าไปถึงศัพท์เหล่านั้น จะลึกซึ้งกว่า
ผู้ฟัง กลุ่มของ พระเสขบุคคล ชื่อว่าย่อมหยั่งลง ในธรรมวินัยนี้ แต่พระอรหันต์ท่านไม่ได้กล่าวถึงเรื่องการหยั่งลงในธรรมวินัย ผู้ที่เป็นปุถุชนก็ชื่อว่ายังไม่หยั่งลงในธรรมวินัย
ท่านอาจารย์ หยั่งแค่ไหน ลงแค่ไหน อย่างขณะนี้ มีสภาพธรรมปรากฏ หยั่งอย่างไร ถ้าไม่รู้หนทางก็หยั่งไม่ได้ ใช่ไหม ใครก็จำได้ แต่ว่าหยั่งลง ถ้าไม่มีสติสัมปชัญญะ ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม จะหยั่งถึงลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมนั้นได้ไหม
การหยั่งไม่ใช่ใครหยั่ง ไม่ใช่เราหยั่ง แต่เมื่อสติสัมปชัญญะเกิด เป็นอุบายที่จะทำให้สามารถรู้ลักษณะของสภาพธรรม อุบายที่นี้ไม่ใช่หลอก แต่หมายความว่าเป็นหนทาง หนทางเดียวที่จะทำให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น
ถ้าไม่เข้าใจสติปัฏฐาน ไม่อบรมเจริญสติปัฏฐาน จะเข้าใจอรรถทั้งหมด ของธรรมในพระไตรปิฎกไม่ได้ เพราะเหมือนกับเรื่องราว ซึ่งไม่ได้มีตัวสภาพธรรมจริงๆ แต่ว่าสติปัฏฐาน คือขณะที่กำลังเริ่มที่จะหยั่งลง จะลงแค่ไหน ก็แล้วแต่ว่าถึงระดับของปัญญา ระดับไหน
ผู้ฟัง กำลังจะหยั่ง
ท่านอาจารย์ ก็รู้ ก็แล้วกันว่า ขณะใดที่สติสัมปชัญญะ ต้องเข้าใจคำนี้ด้วย ไม่ใช่สติขั้นเป็นไปในทาน ในศีล สมถภาวนา แล้ววิปัสสนาภาวนาต้องเป็นสติสัมปชัญญะ เพราะฉะนั้น ก็จะรู้อรรถของสติสัมปชัญญะ ว่าเป็นปกติ แต่ระลึก ระลึกไม่ใช่เรื่องราวอื่นๆ ไม่ใช่เรื่องยาวๆ แต่ระลึกรู้ ลักษณะที่กำลังปรากฏ เมื่อเป็นสติปัฏฐาน ต้องมีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ ที่จะให้หยั่งลงถึงความจริงที่เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม
ผู้ฟัง ดิฉันอยากจะเสนอว่า ตอนต้น เขาบอกว่าฐานะ ๗ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ ก็รู้สึกว่าอันนี้ ๓ ประการก็คือ ธาตุ อายตนะ ปฏิจจสมุปบาท อันนี้มันจะเข้าอยู่ในปฏิจจสมุปบาท ได้หรือเปล่า โดยที่ว่า เกิดเพราะผัสสะ โดยปฏิจจ แล้วผัสสะทำให้เกิดเวทนา เวทนาเกิดตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ อันนี้ ชัดเจน ว่าอันนี้ท่านจะได้โดย หมุนเข้าหาอริยสัจ ๔ ก็ได้ หรือหมุนเข้าหาปฏิจจสมุปบาทก็ได้ เพราะว่าท่านบอกว่า เวทนานี้มันเกิดจากผัสสะ ถ้าเราไล่ของปฏิจจสมุปบาท ๑๒ องค์นี้ ผัสสะมันก็เกิดเวทนา เวทนาทำให้เกิดตัณหา ตัณหาเกิดอุปาทาน ภพชาติ ชรา มรณะ เพราะฉะนั้น อันนี้จะเป็นไปได้อีกอัน
ท่านอาจารย์ อันนี้เป็นโดยนัยของปฏิจจสมุปบาท แน่นอน เพราะว่าเวทนาเกิดจากอะไร ก็ต้องมีเหตุคือ จักขุสัมผัสสะ เป็นต้น ทีนี้ข้อสำคัญที่สุด เราพูดถึงสภาพธรรม แล้วพูดถึงเหตุเกิด การดับด้วย แต่ว่าแม้แต่เพียงเวทนา เรื่องรูปก็ผ่านไปแล้ว ใช่ไหม เมื่อกี้นี้ อัสสาทะ อาทีนวะ นิสสรณะ ของรูป ก็ผ่านไปแล้ว ทีนี้พอถึงเวทนา ถ้าไม่รู้ลักษณะของเวทนา ในขณะนี้ มีทางที่จะรู้เหตุเกิดของเวทนา และการดับเวทนาหรือเปล่า ไม่มีทางเป็นไปได้เลย
จะเห็นได้จริงๆ ว่า ทั้งหมดเป็นชื่อ ทั้งๆ ที่สภาพธรรมกำลังมี แล้วก็ทรงแสดงควมจริงของสภาพธรรมนั้น เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะไปถึง เรื่องอื่นๆ ถึงเหตุเกิด ถึงการดับ ถ้าไม่รู้ลักษณะของเวทนา สภาพธรรมนั้นจะรู้ไหม ว่าเวทนานั้นเกิด จากอะไร แล้วจะรู้ไหม เวทนาที่ดับนั้นดับได้อย่างไร เพราะว่ายังไม่รู้ตัวเวทนาเลย ได้ยินแต่ชื่อเวทนา ทั้งๆ ที่ขณะนี้ก็มีเวทนา
ทุกอย่างต้องเป็นการรู้ลักษณะ ของสภาพธรรม แล้วจึงจะเข้าใจ มิฉะนั้นเราก็กล่าวได้ ว่าเวทนาเกิด เพราะจักขุสัมผัสสะ โสตสัมผัสสะ แต่ความจริงนี้เป็นภาษาบาลี แต่เวทนาความรู้สึกของเราในวันหนึ่งๆ เกิดจากอะไร ภาษาไทย หรือธรรมดาก็คือว่า เห็นแน่นอน ใช่ไหม ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก เพราะฉะนั้น ก็จะรู้ได้ แม้ใช้คำว่า จักขุสัมผัสสะ ต้องมานึกถึง ไหมว่าขณะนี้เวทนาเดี๋ยวนี้ เกิดเพราะจักขุสัมผัสสะ หรือท่องชื่อว่า เพราะจักขุสัมผัสสะ แต่ที่จะรู้จริงๆ ก็คือทันทีที่เห็นรู้สึกอย่างไร ขณะที่ได้ยินรู้สึกอย่างไร เพราะเหตุว่ามีการเห็น มีการได้ยิน ซึ่งในขณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมที่ต่างกับลักษณะของเวทนา เพราะเหตุว่าการเห็นการได้ยินก็เป็นวิญญาณธาตุ เป็นสภาพรู้ แต่เวทนาเป็นความรู้สึก ซึ่งเกิดพร้อมกัน เพราะฉะนั้น ก็แสดงว่าแม้ว่าจะมีเวทนาเกิดพร้อมกันก็จริง แต่เวทนานั้นต้องเกิดเพราะจักขุสัมผัสสะ หรือว่าโสตสัมผัสสะ ถ้าย่อง่ายๆ ที่พอจะเข้าใจได้ ไม่เรียงโดยละเอียดว่า ได่แก่จิตอะไร ก็คือว่า เห็น แล้วก็เกิด สุขหรือทุกข์ ชอบหรือไม่ชอบ พวกนี้ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องก่อนอื่น ยังไม่ต้องรู้ถึงเหตุเกิด เพระาว่าถ้าจะรู้ถึงเหตุเกิดก็คือ ชื่อ ที่จำ แล้วฟังเข้าใจ แต่ว่าถ้าจะรู้จริงๆ ก็คือว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งต่างกับลักษณะอื่น เช่น เวทนา ความรู้สึก ไม่ใช่วิญญาณไม่ใช่จิต เป็นเจตสิก
เพราะฉะนั้น ก็เริ่มที่จะเห็นลักษณะที่ต่างของธรรม ซึ่งแม้ว่าจะเป็นนามธรรมด้วยกัน แต่นามธรรมนั้นก็มีหลายอย่าง แล้วก็ต่างก็อาศัยกัน และกันเกิดขึ้น แต่ว่าขณะที่สติสัมปชัญญะ กำลังระลึกรู้ลักษณะหนึ่ง จะต้องมีความรู้ชัดในลักษณะที่ต่างกัน เช่น เวลาที่เวทนาสภาพของความรู้สึกเกิดปรากฏ สติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของสภาพที่เป็นความรู้สึก ขณะนั้นจะรู้ว่าลักษณะนั้น ไม่ใช่สภาพที่เป็นวิญญาณ คือ ไม่ใช่เห็น ซึ่งเป็นธาตุที่กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตา ในขณะนี่เป็นอารมณ์ หรือว่าไม่ใช่ธาตุที่ได้ยินเสียง ซึ่งขณะนั้น เมื่อเสียงปรากฏ รู้ได้ว่าเพราะมีธาตุที่ได้ยินเสียง ไม่ใช่ความรู้สึก
การที่จะเข้าใจสภาพธรรม จริงๆ ทั้งหมดที่ได้ฟังมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจิตกี่ประเภท หรือว่าเจตสิกเท่าไร ก็คือลักษณะของสภาพธรรม ซึ่งเกิดดับสืบต่อเร็วมาก แต่สติสัมปชัญญะ ก็สามารถจะเริ่มสัมผัส หมายความว่าเริ่มที่จะระลึก ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมนั้น เหมือนกับเริ่มที่จะหยั่ง เพียงแต่แตะ แต่ว่ายังไม่ลึกพอ จนกว่าที่จะหยั่งลงไปถึงลักษณะ ซึ่งเป็นธาตุ เป็นธรรม ซึ่งไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน
เพราะฉะนั้น ทั้งหมดคือการฟังเรื่องราวของผู้ที่เข้าใจ ทันทีที่ท่านฟัง ท่านเข้าใจ เพราะว่าท่านรู้ แล้วแต่ว่าขณะนั้นท่านจะรู้โดยฐานะของเป็น พระเสกขบุคคล หรือว่าเป็นพระอรหันต์ ซึ่งดับกิเลสหมดแล้ว แต่สภาพธรรมก็มีจริงๆ อย่างนี้จะไม่ผิดกันเลย เมื่อสติสัมปชัญญะ เกิดก็จะรู้ตามลำดับ อย่างนี้คือ ถ้าไม่รู้จักสภาพธรรม จะไปรู้เหตุเกิดของธรรมนั้นไม่ได้ แล้วก็จะไปรู้การดับธรรมนั้นก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าไม่รู้หนทาง ที่จะทำให้รู้สภาพธรรมนั้นๆ ตามความเป็นจริง
ตั้งต้นด้วยการที่รู้ลักษณะของสภาพธรรม แล้วถึงจะรู้ลึกขึ้น ชัดขึ้น ตามความเป็นจริงยิ่งขึ้น ตามอนุปัสสนาต่างๆ ที่กล่าวถึง แต่ว่าไม่ใช่ขั้นต้นที่เริ่มระลึก ก็จะเป็นอนุปัสสนาที่เป็น อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา หรือว่า อนัตตานุปัสสนา ยังไม่เป็นอย่างนั้นแต่เริ่มที่จะรู้ลักษณะที่เป็นธรรม แล้วถึงจะรู้ว่าลักษณะนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วถึงจะต่อไปถึงอนุปัสสนา ขั้นสูงต่อไปอีก เป็นเรื่องของการรู้จริง เป็นสติปัฏฐานทั้งนั้น
ผู้ฟัง อันนี้ก็หมายความว่า สำหรับอนุปัสสนา ๗ นี้ มันจะต้องเป็นชั้นยอด อันนี้ยังเพิ่งเริ่มหรืออย่างไร ที่อาจารย์พูดเมื่อกี้นี้
ท่านอาจารย์ ปัญญาจะมีตามลำดับขั้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ชื่อเลย แต่ว่าสภาพธรรมนั้นมี เป็นอย่างนี้ จึงใช้ชื่ออย่างนี้ ให้รู้ความต่างกัน แต่ว่าก่อนอื่นต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมโดยสติสัมปชัญญะเกิด ตามปกติอย่างนี้
ผู้ฟัง เท่าที่อ่าน ทั้งปฏิสัมภิทามรรค และวิสุทธิมรรค ท่านจะเอ่ยเสมอ จะอ้างเสมอในอนุปัสสนา ๗ แล้วท่านก็จะบอกว่า ตามรู้ ตามเห็น แล้วเห็นเล่าอย่างที่อาจารย์พูด อันนี้ก็จะเป็นทาง ที่จะทำให้เข้าใจ ญาณะ ๑๖ มากขึ้น คล้ายกับเป็นบาท หรือเป็นตัวพยุง ญาณะ ๑๖
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าไม่เข้าใจสติปัฏฐาน แล้วสติสัมปชัญญะ คือ สติปัฏฐานไม่เกิด มีทางที่จะเข้าใจ
ผู้ฟัง ใช่แน่นอน สติปัฏฐาน ๔ ก็อ้าง อนุปัสสนา ๗ อีก คือท่านเจอหลายแห่งเหลือเกิน
ท่านอาจารย์ เจอหลายแห่ง แต่ใครรู้ อนุปัสสนา ๗ ใครอ่าน อนุปัสสนา ๗ แล้วใครที่สติปัฏฐานเกิด แล้วใครที่สติปัฏฐาน ยังไม่เกิดเลย
เพราะฉะนั้น ความรู้ความเข้าใจในคำที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ก็ต่างระดับขั้น ถ้าจะเข้าใจแต่เพียงชื่อ ก็จำได้ แปลได้ หมายความว่าอะไร แล้วก็รู้เหตุด้วย ว่าต้องมีจากสติปัฏฐานทั้งนั้น ก็เป็นชื่อ ๗ ชื่อ แต่ว่าขณะนี้เป็นอนุปัสสนา ๗ หรือเปล่า
ถ. ไม่เป็น
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วเป็นเรื่องใกล้ หรือเป็นเรื่องไกลกับการที่ปัญญาจะอบรมจนกว่าจะถึง เราพูดเหมือนวันนี้เรารู้จักอนุปัสสนา ๗ ใช่ไหม แต่เรารู้จักได้แค่ไหน อย่างไร รู้จักเพียงแค่อ่าน แต่ว่าต้องรู้ว่ากว่าจะถึงระดับนี้ จะต้องมีความรู้อย่างไร แล้วก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เราเพียงแต่จะอ่านออก แล้วก็จำชื่อ แต่เป็นเรื่องที่จะต้องเข้าใจถูกต้องตามความจริงว่า เป็นการอบรมเจริญปัญญา จนกว่าจะถึงเมื่อเป็นหนทางที่ถูกต้อง
เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องสาระที่ ใครจะต้องไปท่องหรือว่าไปจำ หรือว่าไปคิดคำแปลด้วย เพียงแต่ว่าถ้าใครสนใจก็จำ ชื่อแล้วก็คำแปล แต่ว่าการที่จำชื่อ และคำแปล ไม่สามารถที่จะเข้าถึงอรรถจริงๆ ของสภาพธรรมนั้นได้ เพราะฉะนั้น เพียงชื่อ ๗ ชื่อ ถ้าจะไม่ต้องกังวล ไม่อยากจะท่องหรืออะไร ไม่อยากจะจำ เป็นของธรรมดา เพราะเหตุว่าเมื่อยังไม่ถึง กับการที่สามารถจะเข้าถึง ลักษณะของสภาพธรรม แล้วรู้จริงๆ ว่านี้คือชื่อนั้น เพียงแต่ใส่ชื่อเข้าไป เพราะฉะนั้น ก็มี ๒ อัธยาศัย อัธยาศัย ๑ ก็คือสนใจชื่อ สนใจคำ แล้วก็สนใจเรื่องราว อีกอัธยาศัยหนึ่งก็รู้ว่าเป็นสิ่งที่มีสำหรัยผู้ที่ท่านได้ประจักษ์แล้ว ในพระไตรปิฎก แสดงเรื่องของสภาพธรรมทุกขั้นตามลำดับตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น ก็อบรมเจริญหนทางที่จะทำให้ค่อยๆ รู้ ค่อยๆ เข้าใจถูกโดยไม่สนใจในชื่อ ก็มี ๒ อัธยาศัย ก็จะดูอัธยาศัย
ผู้ฟัง ดิฉันอัธยาศัยขอรู้เรื่องราวก่อน อนิจจานุปัสสนา หมายความว่า สำคัญว่าเที่ยง ก็ควรจะได้ มนสิการะ อนิจจานุปัสสนา
ท่านอาจารย์ อย่างไร
ผู้ฟัง คือเอาเป็นเรื่องว่า มันเที่ยง นะ
ท่านอาจารย์ นั้นไม่ใช่อนิจจานุปัสสนา
ผู้ฟัง ถ้าอนิจจานุปัสสนา จะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ หลังจากอุทยัพพยาญาณ
ผู้ฟัง เป็นภังคาวิปัสสนา
ท่านอาจารย์ เพราเหตุว่า อนุปัสสนา ลองคิดดู เห็นบ่อยๆ อนุ เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญา กว่าจะละคลายได้จนกว่า จะสละขันธ์ ที่จะมีนิพพานเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เดี๋ยวนี้ เพียงคิด ก็เป็นอนุปัสสนา
ผู้ฟัง มันไม่เป็นไม่ถึงตรงนั้น แต่อยากจะเข้าใจความหมายของแต่ละ อนุปัสสนา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น นี้เป็น วิปัสสนาญาณทั้งหมด
ผู้ฟัง ต้องถึงตรงนั้นก่อน
ท่านอาจารย์ แน่นอน ไม่ใช่ขั้นต้นด้วย
ผู้ฟัง คือเวลาอ่าน ก็อยากจะเข้าใจ แต่ยังไม่หยั่งถึงสภาพธรรมจริงๆ ต้องรู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เข้าใจได้ว่าอนุปัสสนา ๗ คืออย่างนี้ เข้าใจว่า คืออย่างนี้ แต่ไม่ใช่ว่าจะไปทำ หรือว่าจะไปคิด แล้วก็เป็นอนุปัสสนาไม่ได้
ผู้ฟัง ขอประทานโทษ อย่างนั้นก็ไม่ควรอ่านพระสูตรเลย นั่งอยู่เฉยๆ จนกว่าจะรู้นามรูปปริจเฉทญาณ แล้วจึงจะอ่านพระสูตรได้
ท่านอาจารย์ อ่านได้ แต่ว่าเข้าใจถูกหรือผิด นี้เป็นสิ่งที่เราสนทนาธรรม เพื่อที่จะได้รู้ว่าสิ่งที่เราเข้าใจนั้นคืออย่างไร ถ้าเข้าใจว่าอ่านแล้วก็มาพิจารณา สิ่งที่ปรากฏ ในขณะนี้ว่าไม่เป็นนัยของอะไรก็ตามแต่ ก็คือสิ่งที่มีจริงๆ ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เกิดแล้วก็ดับ เพียงแค่นี้ แต่เกิดแล้วก็ดับ อย่าคิดว่ารู้แล้ว จะรู้ได้อย่างไร อะไรเกิด อะไรดับ พูดไปเปล่าๆ ว่าทุกอย่างที่มีปัจจัยปรุงแต่งเกิดแล้วดับ โดยที่ว่าสติสัมปชัญญะ ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดเลย
เพราะฉะนั้น เวลาที่อ่านเรื่อง ของวิปัสสนา อนุปัสสนาต่างๆ กับสติปัฏฐาน ก็จะต้องรู้ตามความเป็นจริงว่าสติปัฏฐาน ตอนไหน แล้วก็วิปัสสนา หรืออนุปัสสนา ตอนไหน ไม่ใช่ว่าขณะนี้ก็เป็นอนุปัสสนา คิดว่าไม่เที่ยง อย่างนั้นก็ไม่ถูก
เพราะฉะนั้น จึงต้องมีการศึกษาโดยละเอียด โดยเฉพาะถ้าได้เข้าใจเรื่องของธรรมแล้ว ก็จะอ่านพระสูตร ได้เข้าใจขึ้น แต่ถ้าไม่รู้ลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม พระสูตรก็เป็นเราไปหมดเลย ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกก็เป็นเรา ที่กำลังรู้สึกเดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อรู้ว่าเป็นธรรม เป็นปรมัตถธรรม เป็นอภิธรรมก็จะได้มีการเข้าใจลักษณะของธรรมถูกต้อง ว่าการที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ก็บอกแล้ว อริยสัจจธรรม ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็เป็นความรู้ของผู้ที่เป็นพระอริยบุคคล ที่ได้รู้ความจริงนั้นด้วย
เพราะฉะนั้น ความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ เป็นอย่างไร ที่เราศึกษาพระไตรปิฎก ที่เราอ่านพระไตรปิฎก ก็เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ให้ถูกต้องว่าสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ไม่ใช่เรา เคยเป็นเรามานานแสนนาน เคยฟังพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก่อนๆ บ้าง แต่ว่าความรู้สึกว่าเป็นเรา ที่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมดับไปหรือยัง หมดสิ้นหรือยัง ที่จะรู้จริงๆ ว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะ ที่เกิดดับ
เพราะฉะนั้น แต่ละคำ ไม่ใช่ว่าเราประมาท ที่จะคิดว่าเราเข้าใจธรรมขณะนี้เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ก็ไม่ใช่ว่าเราเข้าใจ เราเข้าใจคร่าวๆ เรื่องราวว่า ขณะนี้เป็นธรรม แต่ตัวธรรมจริงๆ มีจริงๆ แล้วผู้ที่จะอบรมเจริญปัญญาก็คือว่า ผู้ที่เข้าใจหนทางคืออริยมรรค ซึ่งปกติมีองค์ ๕ ถ้าไม่เข้าใจหนทาง จะไม่มีการสามารถรู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้เกิดดับ ก็เพียงแต่พูดตามว่าเกิดดับ แล้วก็ยังสงสัย ไม่เห็นดับสักที ก็อยู่อย่างนี้ตั้งแต่เช้ามา ก็ไม่เห็นดับ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660