ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
ตอนที่ ๖๔๖
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เข้าใจหนทาง จะไม่มีการสามารถรู้ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้เกิดดับ ก็เพียงแต่พูดตามว่าเกิดดับ แล้วก็ยังสงสัย ไม่เห็นดับสักที ก็อยู่อย่างนี้ตั้งแต่เช้ามา ก็ไม่เห็นดับ แต่ว่าถ้าศึกษาโดยละเอียดแล้ว ทรงแสดงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ซึ่งมีอายุที่สั้นมาก อย่างรูปที่เป็นสภาวะรูปทุกรูป มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะไม่ใช่ให้เราไปนั่งนับ หรือว่าไม่ใช่ให้เราไปคอยที่จะประจักษ์อย่างนี้
แต่ว่าให้รู้ตามความเป็นจริงว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงความจริง จากการตรัสรู้ของพระองค์ว่า รูปที่เป็นสภาวะรูป มีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะแล้วจิต ๑๗ ขณะลองคิดดูแต่ละ ๑ ขณะจะรวดเร็วสักแค่ไหน ไม่มีการที่จะนับได้เลย ทรงแสดงตั้งแต่ภวังคจิต แล้วก็เป็นภวังคจรณะ ต่างกันแล้ว ภวังคุปัจเฉท ก็ต่างกันอีก ๑ ขณะ ปัญจทวาราวัชชนะ ก็ไม่ใช่ขณะที่เป็นภวังค์ แค่ ๑ ขณะ แล้วก็จักขุวิญญาณ ๑ ขณะ สัมปฏิจฉันนะ ๑ ขณะ นี้ทรงแสดงโดยละเอียด
เพราะฉะนั้น ก็จะเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้ที่เป็นสาวกได้พิจารณาได้เข้าใจถูกต้องว่า สภาพธรรม เป็นความจริงอย่างนั้น แต่ปัญญาต้องอบรม แล้วก็สามารถที่จะรู้จริงในสิ่งที่ปรากฏ ตามกำลังความสามารถการสะสมของแต่ละบุคคล แต่ว่าสามารถจะเริ่มเข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ผู้ที่ตรัสรู้แล้วมี แล้วก็ทรงแสดงหนทางไว้ด้วย แล้วหนทางนั้นก็มีหนทางเดียว คือ สติปัฏฐาน ซึ่งเป็นสติสัมปชัญญะ
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่รู้ความต่างกันของสติขั้นทาน ขั้นศีล ว่าไม่ใช่สติสัมปชัญญะ ก็ไม่สามารถจะรู้ว่า สติปัฏฐาน หรือสติสัมปชัญญะ คือขณะไหน แต่เมื่อไรที่มีการระลึก ขณะนั้นรู้เลย ทำขึ้นหรือเปล่า หรือว่ามีเหตุปัจจัยที่สติสัมปชัญญะเกิดระลึก เหมือนกับขณะนี้ที่เห็น ทำเห็นหรือเปล่า หรือว่าขณะนี้ที่ได้ยิน ทำได้ยินได้หรือเปล่า หรือว่ามีเหตุปัจจัยที่ได้ยินเกิดขึ้น กำลังได้ยินในขณะนี้ จะไม่ให้จิตที่ดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นอีก เป็นไปไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าจิตทุกขณะ เป็นอนันตรปัจจัย
นี่ก็แสดงให้เห็นว่าไม่มีใครสามารถทำอะไรกับธรรมได้เลย เพราะไม่มีตัวตนอีกต่างหาก เป็นแต่เพียงธรรมจริงๆ เป็นธาตุ เป็นนามธาตุ เป็นรูปธาตุ ซึ่งมีปัจจัยก็เกิดขึ้น แล้วก็ดับไป แล้วก็ทำกิจสืบต่อ เรื่อยมา ไม่มีวันจบเลย
การที่จะเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงก็คือว่าเมื่อฟังแล้วมีความเข้าใจว่าเป็น ธรรม แล้วก็มีหนทางที่จะ รู้ลักษณะของธรรมด้วยก็จะเป็นปัจจัยให้สติปัฏฐานเกิด มิฉะนั้นสติปัฏฐานจะไม่เกิดเลย เพราะมีเราอยู่ตลอดเวลา ไม่มีความเข้าใจจริงๆ ว่าเป็นธรรม เพราะฉะนั้น การเข้าใจนี้ก็ต้องตามกำลังความสามารถด้วย ใช่ไหม แต่ละคำ เช่น รู้ชัดซึ่ง รูป ปัญญาของเราเข้าใจอย่างไร ในคำว่า รู้ชัด ซึ่งรูปหรือว่า รู้ยิ่งซึ่งรูป รูปก็กำลังเป็นรูป รู้อย่างไร ชัด รู้อย่างไรยิ่ง แล้วจะรู้ได้อย่างไร
ผู้ฟัง ซึ่งเป็นอารมณ์ของสติสัมปชัญญะ จึงจะรู้ลักษณะนั้นได้
ท่านอาจารย์ สติสัมปชัญญะ คือสติปัฏฐาน ที่กำลังรู้ลักษณะของสภาพธรรมหนึ่งทีละอย่าง ในขณะนี้ ขณะนั้นเมื่อเป็นสติ เป็นสัมปชัญญะ รู้ไหมไม่ใช่คุณประทีปรู้
ผู้ฟัง อันนี้ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ สติสัมปชัญญะ เกิดพร้อมกัน
ผู้ฟัง พร้อมกัน
ท่านอาจารย์ ในขณะที่มีลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง ที่สติกำลังรู้ ที่ลักษณะนั้น
ถ้าใช้คำว่า ระลึก คิดถึงเรื่องยาวๆ แต่นี้ระลึกรู้ลักษณะ มีลักษณะ ตลอดชีวิตหรือทั้งวัน ลักษณะของสภาพธรรมทั้งนั้นเลย ที่เกิดแต่ไม่รู้ โทสะเกิดไม่ใช่ธรรมเป็นเรา ทั้งๆ ที่เป็นธรรม โลภะเกิดเป็นธรรม แต่ไม่รู้ก็เป็นเรา มีความสนุกสนานเบิกบาน เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ก็เป็นธรรม แต่ไม่รู้ว่าเป็นธรรม เข้าใจว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น ในขณะนั้นๆ เป็นสภาพธรรมทั้งหมด แต่ไม่รู้จึงยึดถือว่าเป็นเรา เพราะฉะนั้น การฟัง ก็เพื่อให้รู้ว่า ตลอดทั้งวัน ลักษณะของสภาพธรรมทั้งนั้น มีขณะไหนที่ไม่มีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ แต่ว่าสั้นมาก อย่างเห็นขณะนี้ ก็มีจริงๆ ก็เป็นธรรม สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มีจริงๆ ก็เป็นธรรม แต่ไม่ได้รู้ว่าเป็นธรรม
เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน หรือ สติสัมปชัญญะ ก็คือ ขณะที่ระลึกที่ลักษณะหนึ่ง ลักษณะใด ลักษณะนั้นปรากฏให้เข้าใจถูกว่า เป็นธรรม เช่น ทางตาในขณะนี้ เป็นธรรม ต้องเข้าใจถึงลักษณะของธรรมด้วย ว่าไม่ได้เปลี่ยนลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเลย แต่ความรู้ ความเข้าใจ ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็ไม่ใช่ใครสักคนหนึ่ง ก็เป็นแต่เพียงสิ่งหนึ่ง แต่สิ่งหนึ่งในชีวิตมากเหลือเกิน เดี๋ยวก็ทางหู เดี๋ยวก็ทางใจ ที่คิด เดี๋ยวก็ความสุข เดี๋ยวก็อะไร ทุกสิ่งทุกอย่างหมด เป็นทุกสิ่งที่สั้นๆ
ผู้ฟัง แล้วบางทีมันก็เหมือนพร้อมกันเสียด้วย
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องคิดเรื่องพร้อมเลย เพราะว่าเวลาที่สติปัฏฐานเกิด จะเพียง ๑ แต่ว่า สั้น เพราะฉะนั้น จึงมีสิ่งอื่นเกิดสืบต่อเหมือนกับพร้อม
ศึกษาธรรมเป็นเรื่องจริง แล้วเป็นเรื่องตรง ถ้าขณะใดที่ลักษณะของสภาพธรรมไม่ได้ปรากฏ เพราะไม่ได้ระลึกที่นั่น ขณะนั้นจะกล่าวว่าเป็นสติปัฏฐาน หรือสติสัมปชัญญะไม่ได้ แต่ถ้าขณะใดที่สภาพธรรมก็มี แล้วมีการค่อยๆ เข้าใจ รู้ในลักษณะของสภาพธรรมอย่างหนึ่ง แล้วก็เข้าใจในลักษณะของสภาพธรรมนั้น จะไม่เรียกชื่อว่าสติปัฏฐาน ก็เป็นสติปัฏฐาน ใครจะบอกว่าไม่ใช่สติปัฏฐานก็ไม่ได้ เพราะเหตุว่าขณะนั้น เป็นสติสัมปชัญญะ ที่รู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ในขณะนั้น
เพราะฉะนั้น ไม่เกี่ยวกับชื่อ ไม่เกี่ยวกับหลอกใคร หรือหลอกตัวเอง แต่ว่าเป็นผู้ตรงว่าขณะนั้น สติสัมปชัญญะ ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม หรือเปล่า เป็นปกติ ทีละเล็กทีละน้อย ตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง ถ้าศึกษาตามพระสูตรซึ่งท่านแสดง เหมือนกับว่าจะเป็นข้อปฏิบัติ ใช่ไหม ตามลำดับ แล้วถ้าเอาไปพิจารณา หรือเอาไปท่องโดยคิดว่าอันนี้ เป็นข้อปฏิบัติ อย่างเช่น รูป รูปสมุทัย รูปนิโรธ รูปนิโรคทามินีปฏิปฏา โดยไม่ได้รู้รูป จริงๆ แต่ได้เพียงชื่อ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ข้ามพยัญชนะแรก คือ รู้ชัดซึ่งรูป
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ผลจะเป็นอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็ไม่รู้ ธรรมเลย รู้ชื่อ
ผู้ฟัง ไม่รู้รูป
ท่านอาจารย์ เพราะว่าไม่ได้บอกให้รู้ชื่อ รู้ชัดซึ่งรูป ให้รู้ชัด ไม่ใช่ให้ท่อง หรือไม่ใช่ให้ไม่รู้ แล้วหนทางที่จะรู้ชัด มี
วิทยากร. หนทางที่จะรู้ชัดก็คือ อบรม อบรมๆ
ผู้ฟัง อบรมแต่ไม่ใช่ไปท่อง
วิทยากร. บ่อยๆ เนื่องๆ
ท่านอาจารย์ ถ้าท่องแล้วจะรู้ชัดได้อย่างไร ลองท่องแล้วจะรู้ชัดได้อย่างไร ท่องอย่างไรจะรู้ชัด
ผู้ฟัง ท่องก็ได้ความจำ
ท่านอาจารย์ ไม่มีทางที่จะรู้ชัดเลย เพราะว่าขณะนี้สภาพธรรมปรากฏ ไม่ใช่ปรากฏ แล้วรู้ชัด จะท่องอย่างไร ถึงจะรู้ชัด
ผู้ฟัง ถ้าศึกษา แล้วก็รู้ตามชื่อต่างๆ โดยที่ในพระไตรปิฎก ท่านใช้คำว่า สาธยายด้วย เหมือนกับว่าสาธยายแล้วก็จะสำเร็จประโยชน์ คือบางท่านสาธยายแล้วก็ ทำให้ได้บรรลุ
ท่านอาจารย์ มีความเข้าใจหรือเปล่า
ผู้ฟัง อันนี้ต้องเข้าใจ
ท่านอาจารย์ แน่นอนที่สุด ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความเข้าใจ เพราะเหตุว่า ปัญญา คือ ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ไม่ใช่ปัญญา คือ ท่อง แต่ปัญญา คือความเห็นถูก ความเข้าใจถูก
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีความเข้าใจ คิดว่าตรงนี้เป็นข้อปฏิบัติ
ท่านอาจารย์ ถ้าใครจะสาธยาย แล้วไม่รู้เลย แล้วอย่างนั้นชื่อว่ารู้ได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ส.ไม่ได้เลย ใครๆ ก็สาธยายได้ ถ้าเข้าใจว่าสาธยายเพียงเปล่งวาจา ตามลำดับ เรื่อง ทำได้ แต่ว่าความเข้าใจมีหรือเปล่า แล้วความเข้าใจหยั่งลงแค่ไหน ที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรม ซึ่งขณะนี้กำลังเกิดดับ
ผู้ฟัง เมื่อตอนต้น พูดถึงเรื่องของ เกศาสมุทัย ตรงนี้จะหมายถึง สภาวธรรมอะไร
ท่านอาจารย์ คุณประเชิญมีเกศา ไหม ทุกคนมีเกศา เกศาเป็นอะไร เห็นไหม เป็นความรู้ ไม่ใช่เป็นชื่อเกศา แล้วเราก็ไปบอกว่าเกศา เป็นทุกข์ หรือว่าเกศาสมุทัย พวกนั้น แต่หมายความว่า เมื่อเกศามี เกศาเป็นอะไร ต้องตั้งต้นว่าเป็นอะไร
ผู้ฟัง เป็นธรรมแน่นอน
ท่านอาจารย์ แล้วก็เป็นรูปด้วย เพราะฉะนั้น จะเป็นอย่างไร จะใช้ชื่ออย่างไรก็ตาม จะพ้นรูปได้ไหม จะพ้นการเกิดดับได้ไหม เมื่อพูดถึงทุกขอริยสัจ ก็จะใช้คำว่า เกศาก็ได้ ทุกขสุมุทัยก็จะใช้คำว่า เกศาก็ได้ คือสิ่งใดๆ ที่มีจริงทั้งหมด แตกย่อยให้ละเอียดก็ได้ แต่ผู้นั้นต้องมีความเข้าใจถูกต้อง ว่าเป็นรูปธรรม ว่าคืออะไร ทิ้งไม่ได้เลย แล้วคืออะไรไม่ใช่คำแปล ลักษณะนั้นที่สติสัมปชัญญะ ระลึกจึงจะประจักษ์การเกิดดับได้
ผู้ฟัง ต้องลักษณะ ไม่ใช่เพียงชื่อ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ แน่นอน เพราะฉะนั้น การอ่านพระสูตรไม่ใช่ไม่ดี แต่ต้องเข้าใจให้ถูกต้อง ความสำคัญอยู่ที่เข้าใจให้ถูกต้อง
วิทยากร. คือจะอย่างที่ว่า เกศา โลมา ทุกอย่างเป็นธรรม ในโลกนี้มีแต่จิต เจตสิก รูป แล้วก็มาเกี่ยวข้องตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรา
ท่านอาจารย์ พระสูตรแต่ละสูตรก็ยาว แล้วก็มีข้อความครบ เพราะฉะนั้น เวลาที่อ่านไปจบแล้วก็ควรที่จะมาระลึกถึง แต่ละคำที่ผ่านไป ว่าเราอยู่ในระดับไหน เช่นคำว่า รู้ชัดซึ่งรูป แค่นี้ เราอยู่หรือยัง ก่อนที่เราจะต่อไปถึงเหตุเกิดแห่งรูป หรือความดับแห่งรูป
ผู้ฟัง อาจารย์ บอกว่าอ่านพระสูตรดีแต่ต้องเข้าใจ เพราะฉะนั้น การที่เรามาในที่นี้ ก็มีการศึกษาพระสูตร อันนี้จะเป็นทางให้เราเข้าใจ ทุกคนรู้ว่าเขาอยู่ตรงไหน ปัญญาเขาอยู่แค่ไหน แต่เรามาเรียนสูตรเดียวกันนี้ เราก็ได้รู้ตัว เราโง่แค่ไหน เพราะฉะนั้น ก็ไม่ต้องบอกว่า ตัวอยู่ตรงไหน แล้วมาอ่านพระสูตร ตรงนี้ ไม่ต้องพูดก็ได้ เพราะว่าเรารู้ ในขณะที่เราอ่านเราก็รู้ เรายืนอยู่ตรงไหน จึงมีการสนทนากันในวันเสาร์
ท่านอาจารย์ แต่ทุกคนก็ยอมรับ ใช้คำว่าทุกคน ยอมรับทีเดียวว่า เวลาที่ศึกษาพระไตรปิฎก แล้วจะรู้ได้เลยว่า ความรู้ของเราน้อยแค่ไหน เพียงแต่เพิ่งจะเข้าไปถึงพระปัญญาคุณซึ่งหลากหลายมากมายมหาศาล ใน ๔๕ พรรษา ทั้ง ๓ ปิฏก นี้จะรู้ตามความเป็นจริง ว่าความต่างของผู้รู้ กับผู้ที่เริ่มที่จะเข้าใจ เรื่องราวของสภาพธรรม ต่างกันมาก แล้วยิ่งอ่านก็จะยิ่งเห็น ความต่างกันของผู้ที่เป็นปุถุชน ผู้ที่เป็นพระเสขบุคคล ผู้ที่เป็นพระอรหันต์
ผู้ฟัง อันนี้เราเห็นความต่าง แต่บางครั้งเขาก็อยากจะรู้มากๆ เขาก็ท่องๆ ๆ ๆ บางคนท่องได้พระสูตรทั้งหมด อันนี้เป็นที่น่าตกใจ แต่ถ้าเราอ่านแล้ว เรามาศึกษากันทีละตัว ทีละบรรทัด ทีละวรรค อันนี้ดิฉันว่าก็ได้ประโยชน์
ท่านอาจารย์ ได้ประโยชน์ แล้วประโยชน์ สูงสุดคือรู้ตามความเป็นจริง ตั้งแต่คำแรกว่า รู้ชัดซึ่งรูป อันนี้ ก็เป็นการเตือนตัวเรา ว่าเราข้ามตอนนี้ไม่ได้เลย ตอนนี้เป็นตอนตั้งต้น และต่อไปปัญญาก็จะเพิ่มขึ้น ความรู้ก็เพิ่มขึ้น แต่ต้องมีความรู้ขั้นต้นก่อน คือจะไม่ข้ามขั้นต้นว่า รู้ชัดซึ่งรูป อย่าประมาทคำนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรจะรู้อันอื่น อันอื่นก็ควรแต่ว่าได้เห็นความต่าง ของปัญญาของผู้ที่รู้แล้ว ระดับขั้น พระเสข และระดับขั้นของพระอรหันต์ ระดับขั้นของผู้ที่เพิ่งเริ่มที่จะศึกษาพระไตรปิฎก
ขอย้อนนิดหนึ่ง คือเมื่อกี้เราพูดถึงเรื่องรูป รู้ชัดซึ่งรูป ก็ยังไม่ได้รู้ชัด ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณ ต่อเมื่อไรเป็นวิปัสสนาญาณ เมื่อนั้นก็จะรู้ชัด ซึ่งนามธรรม รูปธรรม เพราะขณะนี้รูปกำลังปรากฏ เวลาที่อ่านสูตรนี้ เตือนตัวเองอยู่ตลอดเวลา ได้ ว่ายังไม่รู้ชัดในอะไร รูปก็มีปรากฏทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ รู้ชัดหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณ ยังไม่ใช่ ถอยลงมาสติปัฏฐาน ระลึกลักษณะของรูปหนึ่ง รูปใด ที่ปรากฏ หรือเปล่านี้คือการเตือนแล้ว ใช่ไหม ไม่ให้หลงไป ว่าเป็นอะไรๆ ที่ว่ารู้จักแต่เพียงชื่อ แต่เพียงแค่รูป ก็ยังไม่ได้รู้ชัด
ต่อมาถึงเวทนา ไม่เคยขาดเลย ทุกขณะจิตต้องมีความรู้สึกเกิดขึ้น เราก็รู้ว่าเวทนามี ๕ คือสุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมันสเวทน โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา ชื่อคล่อง จำได้หมด ๕ ชื่อ ขณะนี้เวทนาอะไร รู้ชัดซึ่งเวทนา ทั้งๆ ที่เวทนาก็มี ไม่เคยขาดเลย แต่ผู้รู้ ท่านไม่ได้ข้ามเลย ไม่ใช่เพียงแต่รู้รูป หรือไม่ใช่เพียงแต่รู้อย่างอื่น แม้เวทนาก็ต้องรู้ เพราะเหตุว่าไม่รู้ลักษณะของเวทนาตามความเป็นจริงว่า เป็นธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ผู้รู้ไม่ข้ามเลย พร้อมกันนั้นก็ไม่เตือน ผู้ที่อ่านว่าระลึกลักษณะของเวทนาไหม
เพราะฉะนั้น ประโยชน์ ของพระสูตรคือว่า เมื่ออ่านแล้ว รู้เลย อันนี้ก็ยัง อันนั้นก็ยัง เรื่องยัง เรื่องมากมายเลย ซึ่งต้องรู้หมด ถ้าไม่รู้ก็ละไม่ได้ ไม่รู้เวทนาจะละได้อย่างไร นี่ก็แค่เวทนา ยังมาถึงสัญญาอีก ความจำเกิดกับจิตทุกขณะ เวลานี้จำได้หมดเห็นอะไรก็จำ จะมีขณะที่สติปัฏฐาน เข้าใจถูกในสภาพที่จำ ในความเป็นนามธาตุที่ จำ แล้วแต่ว่าขณะนั้นอะไรปรากฏ จักขุสัมผัสสะ โดยเห็น จำสิ่งที่เห็น หรือว่าจำเสียงที่ได้ยิน พวกนี้เป็นธรรมที่เตือนทั้งนั้นเลย ให้อบรมเจริญปัญญา อย่างท่านผู้ที่ท่านปฏิบัติกิจหยั่งลงถึงลักษณะของสภาพธรรม แล้วสามารถที่จะถึงความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสได้
ผู้ฟัง รู้ชัดซึ่งรูปนี้ คือหมายถึงว่า รูป ๒๘ ทั้งหมด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ จำได้ไหม ๒๘ รูป มีรูปอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ก็พอจำได้ แต่ทีนี้คำว่ารูป คือ ความหมายรวมอันนั้นใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าสามารถ
ผู้ฟัง ถ้าสามารถแต่อาจจะปัญญาก็อาจจะได้เพียงบางรูป
ท่านอาจารย์ รูปอะไรบ้าง คิดว่าจะได้
ผู้ฟัง สี กลิ่น รส
ท่านอาจารย์ ๓ รูปหรือ
ผู้ฟัง เย็นร้อน อ่อนแข็ง
ท่านอาจารย์ ครบหรือยัง
ผู้ฟัง ที่เป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ทั้งหมดกี่รูป ยังไม่ต้องไปถึง ๒๘ เอาเพียงเท่านี้ กี่รูป
ผู้ฟัง ๗ รูป
ท่านอาจารย์ เพราะอะไร
ผู้ฟัง เพราะเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ เพราะปรากฏ จะไปรู้สิ่งที่ไม่ปรากฏได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้ แต่เมื่อปรากฏแล้ว สติระลึกรู้ รู้ชัดก็คือ รู้ว่ารูปที่ปรากฏในสภาพธรรมที่ระลึกได้นั้น เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ เมื่อไร ที่จะรู้อย่างนี้
ผู้ฟัง เมื่อระลึก
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้หรือ
ผู้ฟัง ขณะที่ระลึกได้ ตอนนี้อาจจะไม่ได้ระลึก
ท่านอาจารย์ ขณะที่ระลึก แล้วอย่างไร รู้อะไรขณะนั้น ขณะที่ระลึก แล้วรู้อะไร
ผู้ฟัง รู้ว่ารูปไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ รู้ว่ารูปไม่เที่ยง คือการอ่านพระสูตรหรือการฟัง จะเห็นได้จริงๆ ทำให้เข้าใจผิดได้ แล้วความจริงเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เอาความจริงเอาเรื่องจริง
ผู้ฟัง รู้ว่าเป็นสภาพธรรม เป็นสภาพธรรม แล้วสภาพธรรมนี้ก็จากการศึกษา คราวนี้ต้องจากการศึกษาแล้ว
ท่านอาจารย์ เป็นธรรมเพราะอะไร ที่ว่าเป็นสภาพธรรม
ผู้ฟัง เป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ทำไมรู้ว่าเป็นสภาพธรรม
ผู้ฟัง เพราะว่าเกิดขึ้นโดยไม่มีการบังคับบัญชา
ท่านอาจารย์ ต้องไปนึกไหมว่า ทำไมรู้ว่าเป็นสภาพธรรม ทำไมรู้ว่าเป็นธรรม พอสติระลึก ทำไมรู้ว่าสิ่งที่ถูกระลึกนั้นเป็นธรรม
ผู้ฟัง เพราะว่าไม่สามารถจะบังคับให้เกิดได้ หรือไม่เกิด บังคับให้ไม่เกิดหรือบังคับให้เกิดไม่ได้ จะเกิดขึ้นเอง
ท่านอาจารย์ ธรรมอะไรที่ว่า นี้
ผู้ฟัง สภาพธรรมที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ นั่นอะไร
ผู้ฟัง เช่น ลักษณะแข็ง
ท่านอาจารย์ เพราะมีลักษณะ ที่รู้ว่าเป็นธรรม เพราะมีลักษณะเฉพาะอย่างๆ ไม่ต้องเรียกชื่อลักษณะนั้นก็ปรากฏ ทั้งๆ ที่ปรากฏทั้งวันก็ไม่เคยรู้ว่าเป็นธรรม ต่อเมื่อไรระลึกที่ลักษณะนั้นก็รู้ ว่าลักษณะนั้น มี แล้วก็เป็นลักษณะอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่อย่างอื่น ซึ่งในวันหนึ่งก็มีลักษณะของธรรมอย่างอื่น ปรากฏด้วย แต่ว่าสติระลึกลักษณะของธรรมใดลักษณะของสภาพธรรมนั้น จึงปรากฏในความมีลักษณะ หรือเป็นลักษณะอย่างนั้น จึงเป็นธรรม
ผู้ฟัง แล้วเสร็จแล้วก็อาจจะ
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเกิดดับหรือยัง
ผู้ฟัง เกิดดับแล้ว โดยพระธรรมคำสั่งสอน
ท่านอาจารย์ แต่เราไม่ได้รู้ชัด
ผู้ฟัง แต่เราไม่ได้รู้ชัด
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องรู้ตามความเป็นจริงว่าไม่ใช่ รู้ชัด
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น รู้ชัดซึ่งรูปคือ ต้องปัญญายิ่งไปกว่า
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง แล้วก็ที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ธรรมดาปกติมีองค์ ๕ องค์ ๕ นี้ก็คือ ที่เหลือคือ สัมมาวายามะ ถึงสัมมาสมาธินี่ ไม่ปรากฏแก่ปุถุชน หรือว่า อย่างไร ใช่ไหม
ส.อย่างไร
ผู้ฟัง จะปรากฏแก่พระอริยบุคคลหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ปรากฏหรือ
ผู้ฟัง อย่างบุคคลธรรมดา
ท่านอาจารย์ ขณะที่สติปัฏฐาน เกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง อะไรปรากฏ
ผู้ฟัง สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
ท่านอาจารย์ ปรากฏ หมดเลย
ผู้ฟัง สัมมาสติ
ท่านอาจารย์ หรือว่าเกิด แต่ไม่ได้ปรากฏ
ผู้ฟัง สัมมาสติ จะปรากฏแต่ สัมมาอื่นๆ อาจจะยังไม่รู้สึก
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เป็นผู้ตรง เป็นผู้ตรงที่ว่ามีลักษณะของสภาพธรรมใดปรากฏ ก็รูัในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่ไปรู้ทั่ว อย่างที่บุคคลอื่นท่านรู้กันโดยตลอด ต้องทีละอย่าง บุคคลไหนก็ตาม ต้องรู้ที่ละอย่าง คือ ขณะที่สติระลึกลักษณะของสภาพธรรมใด ลักษณะของสภาพธรรมนั้นปรากฏ อย่างแข็ง วันหนึ่ง จักขุวิญญาณไม่ได้รู้แข็ง ใช่ไหม ขณะนี้ แต่กายวิญญาณเราใช้ชื่อ ขณะที่มีการรู้คือแข็งปรากฏเมื่อไร ขณะนั้นเป็นกายวิญญาณ แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน
เพราะฉะนั้น จึงไม่มีการรู้ลักษณะของแข็ง จริงๆ เพราะว่าเพียงกระทบแล้วก็หมดไป เป็นเรื่องอื่นเลย เป็นเสียงเป็นเรื่องราวต่างๆ แต่ขณะที่สติสัมปชัญญะ ระลึกที่ลักษณะของแข็ง ขณะนั้นลักษณะแข็งปรากฏกับ สติที่ระลึก
ผู้ฟัง เมื่อลักษณะแข็งปรากฏกับสติที่ระลึกแล้วก็อาจจะไประลึกที่เสียง
ท่านอาจารย์ แล้วแต่ แล้วแต่สติสัมปชัญญะ
ผู้ฟัง แล้วตอนนั้นก็จะไม่รู้สึกแข็งเลย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทีละหนึ่ง
ผู้ฟัง ที่คำถามที่ว่า สัมมาวายามะ เป็นการพากเพียร เพียรที่จะสละกิเลส สละสิ่งที่เป็นอกุศล ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทำอย่างไร สัมมาวายามะทำอย่างไร
ผู้ฟัง เมื่อระลึกถึงจิตที่เป็นอกุศล ยกตัวอย่าง
ท่านอาจารย์ เรากำลังพูดถึงสัมมาวายามะ ซึ่งเกิดร่วมกับสัมมาสติ และสัมมาทิฏฐิ สัมมาสมาธิ
ผู้ฟัง แต่ว่าจะไม่เกิดในคนธรรมดาใช่ไหม ๓ องค์ข้างหลัง
ท่านอาจารย์ สภาพธรรมใดที่สติปัฏฐานไม่ระลึก สภาพธรรมนั้นไม่ปรากฏกับสติปัฏฐาน สัมมาวายามะ เกิดเมื่อไร นี่เรายังไม่ได้พูดถึงการรู้ลักษณะ โดยสติสัมปชัญญะ ที่ไประลึกรู้ ลักษณะของวิริยะ ความเพียร แต่ถามว่าสัมมาวายามะเกิดเมื่อไร
ผู้ฟัง สัมมาสติเกิดแล้ว
ท่านอาจารย์ ขณะที่สัมมาสติเกิดมีอะไรเกิดร่วมด้วย
ผู้ฟัง มีวิริยะ
ท่านอาจารย์ จะเป็นคุณแก้วที่ไปเพียรทำอะไรหรือเปล่า ในขณะที่สัมมาสติระลึกลักษณะของสภาพธรรม
ผู้ฟัง ไม่ใช่ เป็นสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นมีสัมมาวายามะแล้ว ต้องไปทำสัมมาวายามะหรือเปล่า
ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณ เข้าใจแล้ว
ท่านอาจารย์ ยิ่งพูดไม่ว่าจะพูดถึงอะไรก็ต้องรู้ว่าสติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของสภาพธรรมนั้น จึงจะเป็นความรู้ชัดได้ มิฉะนั้นแล้วก็เป็นเพียงเรื่องราว ของสิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ที่จะรู้โดยความเป็นธาตุ รู้เมื่อไร
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660