ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
ตอนที่ ๖๔๘
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ หรือว่าโดยรู้สึกจริงๆ ว่าเรายังไม่ได้พ้นจาก การยึดถือขันธ์ ๑ ขันธ์ใดเลย ไม่ว่าจะเป็นกำลังเห็น กำลังได้ยิน กำลังคิดนึก ทั้งหมดเรายึดถือว่าเป็นเราอยู่ตลอด นี่คือความรู้ยิ่ง ในขันธ์ ๕ ที่เรายึดถือว่าเป็นเรา มีความมั่นใจจริงๆ ว่าเป็นขันธ์ ๕ ที่ยึดถือ เพราะฉะนั้น ก็จะต้องรอบรู้ ความจริงของขันธ์ ๕ เพื่อละการยึดถือ
ผู้ฟัง อันนี้ก็ต้องขั้นพระโสดาบัน ถึงจะหมดสักกายทิฏฐิ
ท่านอาจารย์ ก่อนเป็นพระโสดาบัน ก็ต้องในขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกลักษณะของขันธ์หนึ่งขันธ์ใด
ผู้ฟัง แต่เสร็จแล้วก็กลับมาเป็นเราอีกแล้ว
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จึงต้องมีปัญญา ๓ ระดับ ขั้นฟัง ปริยัติ ปฏิปัตติ แล้วก็ปฏิเวธ ต้องตรงกัน ถ้าโดยการศึกษา รู้ว่าขันธ์ ๕ เดี๋ยวนี้ เรายึดถือว่าเป็นเรา เมื่อมีความเข้าใจอย่างนี้ ก็จะต้องรู้ว่าจะต้องละการยึดถือขันธ์ ๕ ด้วยการรู้ความจริง พึงรอบรู้ จึงจะละได้
แต่พึงรอบรู้ที่นี่ ต้องด้วยสติสัมปชัญญะ ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมจนหยั่งถึงลักษณะที่แท้จริงของสภาพธรรมนั้น จึงเป็นวิปัสสนาญาณ จึงเป็นการรอบรู้ ลักษณะของขันธ์ ที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา นี้เป็นหนทางที่จะละอุปาทาน
ผู้ฟัง ต่อไปก็ธรรมที่รู้ยิ่งแล้ว จึงละเสียเป็นไฉน คืออวิชชา และภวตัณหา นี้เราเรียกว่าธรรมที่รู้ยิ่งแล้วพึงละเสีย คำว่า ละเสีย ในที่นี้ เพราะว่าท่านหมายเอาถึง อรหัตตผล อรหัตตมรรค อรหัตตผล เพราะฉะนั้น ละในที่นี้ ต้องทั้งกุศล และอกุศล เพราะในขณะนั้น จิตท่านเป็นกิริยา ไม่ใช่ละแต่เฉพาะอกุศล ต้องละกุศลด้วย
ท่านอาจารย์ แต่จะเป็นอรหันต์ทันทีไม่ได้ ก็ต้องรู้ว่าการที่จะละอย่างสูงสุด หรือหมดสิ้นได้ ก็ต้องมาจากละขั้นต้น คือรวมขั้นต้นไว้ด้วย เวลาพูดถึงอย่างสูงสุดไม่ได้หมายความว่าเราจะตั้งต้นจากสูงสุด แต่จะต้องอบรมตั้งแต่ขั้นต้นไป เพราะฉะนั้น ก็รวมขั้นต้นไว้ในที่นี้ด้วย
แม้แต้คำว่า ตัณหา ภวตัณหา ตัณหาอื่นก็มี ที่เกิดร่วมกับความเห็นผิดต้องละก่อน เพราะเหตุว่าถ้าไม่ละความเห็นผิดก่อนก็จะละ ภวตัณหานี้ไม่ได้เลย แต่ธรรมที่พึงละเป็นไฉน คือ อวิชชา อันนี้ก็คือของที่น่าจะเข้าใจได้จริงๆ ว่าที่ยึดถือขันธ์ว่าเป็นเราเพราะอวิชชา เพราะไม่รู้ความจริง แต่ถ้าเริ่มรู้ความจริงก็คือ ค่อยๆ คลายค่อยๆ ละอุปาทานการยึดมั่นในขันธ์
ผู้ฟัง อันนี้มันลึก เราก็ละไม่ได้ อวิชชา ภวตัณหา มันก็ยัง โง่ อยู่ ยังรู้สึกยังมี ยังเป็นอยู่
ท่านอาจารย์ ละ อวิชชาที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิตทิฏฐิคตสัมปยุตตเลย เรียกชื่อเต็มๆ เลย แต่ความจริงก็คือละการยึดถือ สภาพธรรมว่าเป็นเรา เพราะปัญญารู้
ผู้ฟัง ทีนี้เรียนถามว่า ถ้าเกิดเป็นสุดยอด คือ อรหัตตผล จะต้องละกุศลด้วย ไม่ใช่ละแต่อกุศล ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เพราะเหตุว่าถ้ายังมีกุศลอยู่ ต้องเกิด เพราะว่ากุศลเป็นเหตุ
ผู้ฟัง ขอบพระคุณ
ผู้ฟัง ที่ว่ามี ๔ ข้อ จริงๆ แล้วมันก็สลับไปสลับมา ใช่ไหม อย่างที่ท่านอาจารย์ ได้แสดงไว้ คือต้องเข้าใจ ฟังก่อน แล้วฟังแล้วสติปัฏฐานเกิดบ้าง แล้วก็สลับไปอีก ไม่รู้อีก มันก็ขึ้นๆ ลงๆ อยู่อย่างนี้ คงจะไม่ใช่เรียงลำดับไปเลย
ท่านอาจารย์ ใช่ ความจริงเป็นอย่างนั้น ใช่ไหม
ผู้ฟัง คิดว่าอย่างนี้
ท่านอาจารย์ จะเป็นอื่นได้ไหม จะเป็นกุศลไปเรื่อยๆ ได้ไหม
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ก็ต้องศึกษา แล้วก็สลับไปกับที่ปัญญาจะเกิด
ผู้ฟัง จะเรียนถามว่า ท่านแสดงว่า สมถะ และวิปัสสนาเป็นธรรมที่พึงให้เจริญ อันนี้จะหมายถึงขณะแห่งมรรค ทั้ง ๒ หรือเปล่า สมถะ และวิปัสสนา
ท่านอาจารย์ สติปัฏฐานเกิด สมถะด้วยหรือเปล่า วิปัสสนา อบรมที่จะให้ถึงการรู้แจ้ง ไม่ต้องไปทำสมถะอะไรพิเศษต่างหากเลย ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นสงบแน่นอน เพราะว่าสงบจากอกุศล แต่ว่าเป็นกุศลระดับไหน เป็นกุศลระดับทาน หรือศีล หรือสมถะที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน วันหนึ่งๆ มีสมถะบางไหม เมื่อไร
ผู้ฟัง ต้องเป็นขณะที่เป็นกุศล
ท่านอาจารย์ คิดถึงคนอื่นแล้วมีเมตตา เห็นคนทุกข์ยาก แล้วกรุณา ขณะนั้นสมถะหรือเปล่า มุทิตา อุเบกขา พวกนี้ก็สมถะทั้งนั้นเลย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์จะสังเกต สมถะในชีวิตประจำวันได้ เพราะถ้าขณะนั้นไม่ใช่เป็นกุศล ขั้นทานหรือขั้นศีล
ท่านอาจารย์ ใช่
ผู้ฟัง ธรรมที่รู้ยิ่งแล้วพึงละเสีย เป็นไฉน คือ อวิชชา และภวตัณหา คำว่า ตัณหา จะมี ๓ ใช่ไหม ส่วน วิภวตัณหาในที่นี้ท่านไม่ได้แสดงไว้ เพราะอะไร
ท่านอาจารย์ รวมอยู่ด้วย ถ้าละภวตัณหา วิภวตัณหานี้ไม่มีแน่ หรือแม้แต่ขณะที่ป็นพระโสดาบัน วิภวตัณหาก็ไม่มี เพราะว่าต้องหมายความถึง อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นผิด
ผู้ฟัง แต่ภวตัณหาในที่นี้ ยังมีถึงที่สุดจนกว่าพระอรหันต์ จะละได้
ผู้ฟัง สมถะนี้มันสงบ ถ้าจะสงบจริงๆ จะต้องสงบจากอกุศลวิตก ๓ อันนั้นถึงจะเป็นสมถะ ที่สงบ
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ก็ไม่มีอกุศลวิตกใดๆ เลยทั้งสิ้น
ผู้ฟัง ไม่จำเป็นต้องแยกออกไปอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ สงบ ทีนี้คนคิดถึงสมถะ ในความที่ว่าต้องไปทำให้จิตแน่วแน่ตั้งมั่นคง แต่เขาก็ไม่ได้เข้าใจความหมาย ของสมถะ เขาคิดว่าสมาธิเป็นสมถะ แต่ความจริงสมาธิ คือ ขณะใดก็ตาม ที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่ง เอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ เป็นสภาพของเจตสิกที่ตั้งมั่นในอารมณ์ แต่ว่าวันหนึ่งๆ เดี๋ยวเห็นเดี๋ยวได้ยินบ้าง เดี๋ยวเป็นอย่างนี้บ้าง เดี๋ยวเป็นอย่างนั้นบ้าง ลักษณะของการตั้งมั่นในอารมณ์ ก็ไม่ปรากฏชัด แต่ถ้าจะให้อารมณ์นั้นตั้งมั่นปรากฏชัดก็เป็นสมาธิ จดจ้องอยู่ที่หนึ่งที่ใด นานพอที่ลักษณะของเอกัคคตาเจตสิกจะปรากฏ แต่เป็นมิจฉาสมาธิ ขณะที่ไม่ใช่กุศลจิต
เพราะฉะนั้น ต้องแยกเลย สมาธิไม่ใช่สมถะ แต่เวลาที่อบรมเจริญความสงบ เพราะเหตุว่าวันหนึ่งๆ ความสงบไม่มาก ขณะนี้ที่กล่าวถึงเป็นกุศลจิตสงบ เดี๋ยวก็เห็นดอกกุหลาบ เดี๋ยวก็เห็นอะไรต่างๆ ขณะนั้นก็มีอกุศลจิต สลับแทรกได้อย่างเร็ว เพราะฉะนั้น เกือบจะไม่รู้สึกเลย ว่าขณะเห็นกับขณะที่กำลังฟัง แล้วก็เข้าใจ จะสลับกัน รวดเร็วขนาดไหน
เวลาที่มีปัญญา สามารถที่จะรู้ลักษณะของจิตที่ต่างกัน ว่าขณะใดเป็นกามฉันทะนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ คือนิวรณ์ทั้ง ๕ ซึ่งเป็นอกุศลทุกประเภท ขณะใดที่จิตเป็นอกุศล ขณะใดที่จิตเป็นกุศล ถ้ามีสติสัมปชัญญะ ที่รู้ความต่าง ของขณะจิต ก็สามารถที่จะระลึกถึงธรรมที่ทำให้กุศลจิตเกิด โดยที่ว่าขณะนั้นจะไม่ตรึกไป ในทางที่อกุศลจิตจะเกิด เมื่อจิตเป็นกุศลมากขึ้น สงบขึ้น ลักษณะของสมาธิที่ตั้งมั่นจะปรากฏ
ถึงแม้วิปัสสนาเอง ที่กล่าวว่ามีสมถะเป็นบาท ก็ไม่ได้หมายความว่า สมถะอื่น แต่ต้องเป็นองค์ของสมถะที่เป็นมรรคที่เกิดร่วมกับสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะในขณะนั้น ไม่ใช่ไปทำสมาธิอื่นแล้วจะเอามาเป็นบาทของวิปัสสนา โดยการที่ไม่รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม
และเมื่อเป็นวิปัสสนาญาณ ปัญญาที่สามารถประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรม รอบรู้ในลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ทางมโนทวาร รอบรู้นี้ไม่ได้หมายความว่าความคิดนึก แต่ลักษณะของสภาพที่เป็นรูป หรือสภาพที่เป็นนามนั้น ปรากฏโดยสิ้นเชิง ไม่มีความสงสัยเหลืออยู่ ในลักษณะของสภาพธรรมนั้น ขณะนั้นลักษณะของสมาธิจะปรากฏไหม ในเมื่อสามารถที่จะรู้ลักษณะของนามธรรม รูปธรรมทีละอย่าง ทางมโนทวาร
เพราะฉะนั้น ลักษณะของสมาธิ ก็จะถึงระดับขั้น ของเวลาที่เป็นกุศล ที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ว่าจะเป็นไปในการเจริญสมถภาวนา หรือว่าการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เป็นสัมมาสมาธิ
แต่ถ้าเป็นมิจฉาสมาธิ ขณะนั้นจะไม่มีปัญญา ไม่สามารถที่จะรู้ความต่างของขณะที่เป็นอกุศลจิต แม้แทรกหรือสลับ ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะฉะนั้น มิจฉาสมาธิจะไม่ทำ ให้ถึงอุปจารสมาธิ จะไม่ทำให้ถึงอัปปนาสมาธิ จะไม่มีปัญญา ความเข้าใจถูก ในสภาพของจิตที่สงบ ที่เป็นกุศล เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของอวิชชา หรือความไม่รู้ทั้งหมด คนนั้นก็จะกล่าวว่า อะไรก็ไม่รู้ๆ เกิด อะไรก็ไม่รู้ จะหลับไปก็ไม่รู้ จะโงก จะง่วง อะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่รู้ทั้งนั้นว่าคืออะไร เพราะว่าขณะนั้นไม่ใช่ปัญญา
นี่เป็นความต่างของ สมถภาวนา ที่เป็นกุศล จริงๆ แล้วก็วิปัสสนาภาวนา ซึ่งเป็นกุศลที่สามารถจะรู้ ลักษณะของสภาพธรรม แล้วความต่างของมิจฉาสมาธิ ซึ่งไม่ใช่กุศล แต่ว่าคนส่วนใหญ่ ก็จะพอใจในคำว่า สมาธิ เพราะเหตุว่าไม่สามารถที่จะรู้ ความต่างของมิจฉาสมาธิ กับสัมมาสมาธิ
ผู้ฟัง เรื่องสมถะ ท่านแสดงไว้ว่า สมถะ หมายความว่าด้วยกุศลวิตก ๓ คือ เนกขัมมะ อวิหิงสา กับ อพยาปาทะ ๓ อัน พอไปถึงอีกอันหนึ่งท่านก็บอกว่า สมถะ นี่พ้นจากนิวรณ์ ๕ ดิฉันเรียนถามว่าความสงบของ ๒ อย่างนี้มันต่างกันอย่างไร ความลึก ความแนบแน่นของความสงบ มันจะต้องต่างกันมิฉะนั้น ท่านคงไม่แสดงไว้ ๒ อย่าง
ท่านอาจารย์ คุณสุรีย์ เคยคิดเบียดเบียนใคร ด้วยกาย ด้วยวาจาไหม
ผู้ฟัง ก็คิดเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ ตอนก่อนนี้ สมัยก่อนโน้น ที่ยังไม่ได้ฟังธรรมคงมีมากเลย แล้วก็ตอนที่ไม่คิดสงบจากวิหิงสาวิตกหรือเปล่า
ผู้ฟัง ดิฉันคิดไม่ออก
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปคิด เหมือนอย่างเวลานี้ ถ้าจะถามคุณสุรีย์ ว่ามีหิริ โอตตัปปะไหม
ผู้ฟัง มีอันนี้มี
ท่านอาจารย์ รู้ได้อย่างไร
ผู้ฟัง เพราะว่าดิฉันรู้เลย เวลาเขาเกิด
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ๆ เดี๋ยวนี้เอง มีหิริ โอตตัปปะไหม
ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้ รู้สึกมีแต่ความโง่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ ว่าชื่อเจตสิกทั้งหมด ใครแสดง ใครรู้ ขณะหนึ่งที่กุศลจิตเกิด มีทั้งศรัทธา มีทั้งหิริ มีทั้งโอตตัปปะ มีอโลภะ อโทสะ มีโสภณเจตสิกอื่นๆ ทั้งหมดเลย รู้หรือเปล่าชั่วขณะหนึ่งที่กุศลจิตเกิด ไม่ใช่เป็นตัวเราที่มีหิริ ใช่ไหม ไม่ใช่ตัวเราที่เป็นโอตตัปปะ แต่สภาพธรรมเกิดทำกิจการงานของสภาพธรรมนั้นพร้อมกันในขณะจิตหนึ่งที่เป็นกุศลจิต
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรา จะไปบอกว่าแล้วเรามีนั่นไหม แล้วเรามีนี่ไหม ขณะนั้นนี้มีนั่นไหม ขณะนี้มีนี่ไหม แต่ว่าถ้าโดยการศึกษา เราจะรู้ได้เลยว่า ถ้าไม่ใช่โสภณเจตสิกเกิดขึ้น ขณะนั้นจิตจะเป็นโสภณ หรือว่าจะเป็นกุศลไม่ได้
ผู้ฟัง คือมันไม่ใช่เรา ดิฉันเรียนถามเรื่องความสงบ
ท่านอาจารย์ ขณะที่คุณสุรีย์ มีกามวิตก พยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก ขณะนั้นเป็นความคิดตรึก แล้วใช่ไหม เบียดเบียนคนอื่น
เพราะฉะนั้น เวลาที่ไม่เบียดเบียน จะรู้ไหมว่า ขณะนั้นไม่ใช่วิหิงสาวิตก ไม่รู้ ใช่ไหม แต่เป็น
ขณะที่เราวิรัติทุจริต เรางดเว้นจากการที่จะเบียดเบียดด้วยวาจา หรือกาย ขณะนั้นก็ไม่มีการวิตกถึงการที่จะทำร้ายหรือประทุษร้ายคนอื่น เป็นหน้าที่ของวิตกเจตสิกในขณะนั้นที่เกิดขึ้น เป็นไปอย่างนั้น เราไม่ต้องเรียกชื่อเลยก็ได้ แต่ลักษณะนั้นเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าเราต้องไปนั่งคิด แล้วเราไปนั่งทำ แต่ว่าสภาพธรรมนั้น เกิดขึ้นเป็นอย่างนั้น
ผู้ฟัง ทีนี้ในขณะที่เขาเกิดโดยพ้นจากนิวรณ์มันต่างอย่างไร
ท่านอาจารย์ ก็นิวรณ์ก็ไม่เกิด ในขณะนั้นที่เป็นกุศล
ผู้ฟัง ขอบพระคุณ
ผู้ฟัง การที่จิตจะเป็น สงบจากอกุศล คือสงบจากนิวรณ์ ถ้าจะกล่าวถึงก็อาจจะ กล่าวว่าสงบจากโลภะ โทสะ โมหะ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ สงบจากอกุศลทุกชนิด
ผู้ฟัง นิวรณ์ นี้จะอยู่ในโลภะ โทสะ โมหะ มีนิวรณ์รวมอยู่ในนี้ด้วย
ท่านอาจารย์ อกุศลทั้งหมดเป็นนิวรณ์
ผู้ฟัง เป็นนิวรณ์ เมื่อกี้ท่านอาจารย์กล่าวว่า ธรรมที่รู้ยิ่งแล้ว พึงรอบรู้ รอบรู้ ลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็หยั่งรู้สภาพธรรมนั้น แล้วก็รู้ทุก
ท่านอาจารย์ ขันธ์เดียวก็ได้ เอารูปขันธ์เดี๋ยวนี้ ทางตาที่กำลังเห็นนี่แหละ ที่กำลังปรากฏนี้รอบรู้หรือยัง
ผู้ฟัง อยากจะยกตัวอย่างเวทนาขันธ์
ท่านอาจารย์ ไม่ เวทนาเป็น นามธรรม รูปธรรมกับนามธรรมอะไรจะปรากฏชัด ในขณะนี้ เห็นไหม อยากแล้ว เมื่อกี้นี้เราเรียนเรื่องอุปาทานขันธ์ ๕ แล้วเรามีความรู้ยิ่ง ว่าปัญญาเท่านั้น ปัญญาสามารถที่จะละอุปาทานได้ ตอนนี้เราไม่เอาแล้ว ความรู้ยิ่ง ของเราเป็นความรู้จริงๆ ยิ่งหรือเปล่า เพราะว่าตอนนี้เราจะไปหาเวทนา ใช่ไหม
ผู้ฟัง เกิดระลึกรู้เวทนา
ท่านอาจารย์ เดี๋ยว เมื่อกี้นี้เราพูดว่า ธรรมที่รู้ยิ่ง เรารู้ยิ่งแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นสิ่งที่ พึงรอบรู้ใช่ไหม เราจะเว้นไม่ได้เลย ถ้าเว้นหมายความว่าไม่รู้ ไม่ใช่ความรู้ยิ่ง แต่ถ้าเป็นความรู้ยิ่งจริงๆ เราจะละเว้นอะไรไม่ได้ เพราะว่าเรายึดถือสิ่งที่ปรากฏ สีสันวัณณะ ว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด นี่ตัวเรา ใช่ไหม ยึดถือขันธ์นี้ ใช่ไหม แล้วจะละการที่เคยยึดถือขันธ์นี้ได้ด้วยปัญญา ที่รอบรู้ ไม่ใช่ปัญญาธรรมดา ไม่ใช่ปัญญาขั้นฟัง ขั้นคิด แต่ต้องเป็นการประจักษ์
ประจักษ์เมื่อไรจึงจะเป็นรอบรู้ คือ ปริญญา เมื่อนั้น เมื่อเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ จึงจะเป็นญาตปริญญา แต่ขณะนี้จะกล่าวว่ารอบรู้ ลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วไม่ได้ เพียงแต่ว่าอย่างดีที่สุดก็คือว่า รู้ยิ่ง ว่าเป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ ไม่ข้ามอันไหนเลย ถ้ากำลังพูดถึงสิ่งที่ปรากฏทางตา ก็มีความมั่นคง มั่นใจ เป็นความรู้ยิ่งจริงๆ ว่านี่แหละที่จะต้องรู้ ไม่ไปที่เวทนา
ผู้ฟัง แต่ไม่ได้เป็นตามลำดับ
ท่านอาจารย์ ลำดับของอะไร
ผู้ฟัง หมายถึงว่าจะต้องรู้เรื่องรูปขันธ์ก่อน แล้วเป็นเวทนา แต่ขณะนี้ ระลึกถึงสภาพเวทนามากกว่า
ท่านอาจารย์ จริงๆ หรือ
ผู้ฟัง ปรากฏ เวทนาปรากฏ
ท่านอาจารย์ เวทนา เกิดจากอะไร
ผู้ฟัง เวทนาก็เป็น
ท่านอาจารย์ เกิดจากอะไร เราจะมาหาความรู้ยิ่งอีกแล้ว เวทนาเกิดจากอะไร
ผู้ฟัง ผัสสะกระทบ
ท่านอาจารย์ ผัสสะกระทบตา เพราะฉะนั้น เวทนาต้องเกิดจากเห็น
ผู้ฟัง กระทบกาย เย็นรู้สึกเย็น
ท่านอาจารย์ ทางตาไม่เห็น
ผู้ฟัง ทางตาก็
ท่านอาจารย์ ไม่กระทบไม่เห็น ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ทางตา
ผู้ฟัง ไม่เป็นสภาพธรรมที่จะระลึก
ท่านอาจารย์ มี หรือไม่มี
ผู้ฟัง มีแต่ไม่ได้ระลึก
ท่านอาจารย์ มีแล้ว ไม่ได้ระลึกนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ใช่ไหม แต่ของคุณแก้ว จะไประลึก หรือว่ามีสิ่งที่ปรากฏ
ผู้ฟัง สิ่งที่ปรากฏ สภาพธรรม
ท่านอาจารย์ แล้วไม่เลือก ไม่ใช่เวลานี้ มีสิ่งที่ปรากฏทางตาแล้วจะไปเลือกระลึกทางกาย ก็ไม่ใช่รู้ยิ่ง ว่าขณะนี้เวทนาทางตาก็มี
ผู้ฟัง คล้ายๆ จะเป็นเรียงลำดับ ว่าต้องทางตาก่อน ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ไม่จำเป็น แต่หมายความว่า ถ้าเป็นความรู้ยิ่งแล้วเราก็ไม่เลือก หมายความว่าทุกอย่างที่จะละได้ ต้องรู้ยิ่ง ว่าเป็นอย่างนี้ แล้วก็อบรมเพื่อรอบรู้ เพื่อประจักษ์ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรมนั้น เวลานี้ยังไม่ได้ประจักษ์ ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ถ้าไม่เป็น นามรูปปริจเฉทญาณ ไม่ใช่ความรอบรู้ ไม่ใช่ญาตปริญญา แต่มีความรู้ยิ่งได้ ว่าสิ่งนี้แหละ ที่จะต้องรอบรู้ ด้วยวิปัสสนาญาณ
ผู้ฟัง แต่ถ้าสภาพธรรม ที่เป็นความรู้สึกนี่ จะปรากฏชัดเจนมากกว่า
ท่านอาจารย์ ใช่ นี่ตามความคิด ใช่ไหม แต่วิปัสสนาญาณ เลือกได้ หรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ได้เลือกแต่ว่า มันเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่เลือกก็หมายความว่า ปัญญาได้อบรมสมบูรณ์ ที่สภาพธรรมนั้นจะปรากฏ ขณะที่เป็นวิปัสสนาญาณ เพราะฉะนั้น การอบรม อบรมเพื่อความสมบูรณ์ของปัญญา ที่สามารถจะรู้ลักษณะที่ต่างกันของนามธรรม และรูปธรรม ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณ จะรู้สิ่งที่ปรากฏทางตา และความรู้สึกในขณะนี้ได้ไหม รอบรู้ได้ไหม
ผู้ฟัง พร้อมกัน
ท่านอาจารย์ เมื่อเป็นวิปัสสนาญาณ
ผู้ฟัง อย่างนั้นต้องหลายสภาพธรรม แต่ว่าจะต้องปรากฏแค่สภาพธรรมเดียว ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ทีละอย่าง
ผู้ฟัง ผมถามหน่อยได้ไหม สมมติว่าเราได้มาเข้าโรงเรียน มาเรียนเรื่องธรรมตอนนี้ ทีนี้จะมีอะไรที่ฝากไว้ในใจว่า เมื่อออกจากห้องนี้ไปแล้ว เจ้าจงทำอย่างนี้เถิด แล้วเจ้าจะบรรลุธรรมเป็นขั้นๆ ง่ายๆ อะไรอย่างนี้ มีไหม
ท่านอาจารย์ เดี๋ยว จะบรรลุธรรมอะไร
ผู้ฟัง สมมติอย่าง สมถะ วิปัสสนา อะไรก็ตาม สมมตินี่ก็เต็มไปด้วยศัพท์แสง ผมฟังแล้วก็งงๆ ผมอาจจะมาใหม่ ทีนี้อย่างไรก็ตาม หมายความว่าก่อนจะออกจากห้องนี้ ขอให้เจ้าจงทำอย่างนี้ กับชีวิตประจำวัน ของเจ้าเถิด แล้วเจ้าจะได้พบว่าสมถะวิปัสสนาเป็นอย่างไร เป็นขั้นๆ ไป จะละอะไรละโน่นได้ ละนี่ได้
ท่านอาจารย์ ขณะนี้รู้ไหมว่า สมถะ คืออะไร วิปัสสนาคืออะไร
ผู้ฟัง ก็ยังไม่รู้อีก
ท่านอาจารย์ ถ้ายังนั้นออกไปก็ไม่รู้
ผู้ฟัง แต่ก็รู้เหมือนกัน แต่มันรู้คลุมๆ เพราะตัวศัพท์
ท่านอาจารย์ ออกไปก็คลุมๆ
ผู้ฟัง ตัวศัพท์ บางทีมันทำให้เราไม่ลึก
ท่านอาจารย์ จนกว่าเราจะเข้าใจจริงๆ
ผู้ฟัง ต้องเข้าใจศัพท์ก่อนหรือ
ท่านอาจารย์ เข้าใจ สิ่งที่เราได้ยินได้ฟัง จริงๆ อย่างคำว่า ธรรม อย่างนี้
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีไหม ธรรม
ผู้ฟัง มี
ส.แน่ใจ
ผู้ฟัง แนใจ
ท่านอาจารย์ นี่ไง สิ่งที่ออกไปแล้วยังจะจำได้
ผู้ฟัง แล้วทีนี้จะปฏิบัติตัวอย่างไร ให้มันยิ่งๆ ขึ้น
ท่านอาจารย์ เข้าใจธรรมว่าอย่างไร
ผู้ฟัง ธรรมก็คือธรรมชาติ ธรรมดาแล้วทำตัวให้ปกติ อะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ ไม่มีตัว ที่ใช่คำว่า ธรรม ไม่ใช่ตัว
ผู้ฟัง อันนั้นมันอาจจะลึกไปหน่อยไหม
ท่านอาจารย์ นี่คือธรรม ลึกอย่างไร ก็คือธรรม ก็ต้องเป็นธรรม
ผู้ฟัง เป็นตัว พาหะไว้ก่อนได้ไหม
ส.ไม่ได้ ถ้าอย่างนั้นไม่ใช่ฟังธรรม ฟังเรื่องตัว จะทำเรื่องตัว มีตัวจะทำ มีความเข้าใจว่าธรรมคืออะไร จะก้าวมาสู่ห้องนี้แล้วยังไม่รู้ใช่ไหม เวลาก้าวกลับไปรู้ไหม ว่าธรรมคืออะไร ต้องตั้งต้นให้ถูก ถ้ายังไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร จะไปบรรลุธรรมอะไร ไม่มีทาง เพราะว่า ยังไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร
ผู้ฟัง อย่างนั้นก็ขอความกรุณาอาจารย์ ช่วยสั่งสอนด้วย ธรรม คืออะไร
ท่านอาจารย์ ธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ เป็นสัจจะ ขณะนี้อะไรจริงบ้าง
ผู้ฟัง คือขันธ์ ๕
ท่านอาจารย์ ขันธ์คือรูป ใช่ไหม
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ รูปอะไร เพราะฉะนั้น ถ้าไม่ได้ตอนนี้ จะบรรลุธรรมอะไร แล้วจะไปทำอะไร เพราะฉะนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องทำ รูปมีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ คืออะไร
ผู้ฟัง ที่มันเป็นรูป
ท่านอาจารย์ นั่นเป็นอย่างไร รูป
ผู้ฟัง รูปก็อาจจะหมายถึง วัตถุหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ไม่ไปที่อื่นเลย ไม่ใช่ชื่อใดๆ ทั้งสิ้น แต่หมายความว่าสิ่งนั้นมี แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลยทั้งสิ้น ธรรมแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ สภาพธรรมอย่างหนึ่งมี แต่ว่าไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย ส่วนสภาพธรรม อีกอย่างก็มี เกิดขึ้นจึงได้มี แต่เป็นธาตุรู้ สามารถที่จะห็น ที่จะคิด ที่จะจำ ที่จะรู้สึก แต่ว่าไม่มีรูปร่างใดๆ เลย
เพราะฉะนั้น ก็แยกขาดจากกันโดยสิ้นเชิง รูปทั้งหมดไม่ใช่นามธรรม แล้วส่วนสภาพรู้ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหิว ไม่ว่าจะเป็นโกรธ ไม่ว่าจะเสียใจ ไม่มีรูปร่างลักษณะเลย แต่มีลักษณะอาการของสภาพธรรมนั้นๆ ปรากฏให้รู้ว่ามี เพราะเกิดขึ้น ลักษณะนั้นเป็นนามธรรม มีไหม นามธรรม
ผู้ฟัง ที่ว่ามีรูปกับนาม
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง แต่ต้องรู้ ไม่ใช่ว่าไปจำชื่อ รูปคืออะไร นามคืออะไร นี่คือสิ่งที่เมื่อไร เข้าใจขึ้น ก็รู้ยิ่ง แล้วยังไม่พอ ต้องพึงรอบรู้ด้วยการประจักษ์แจ้ง
ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวัน เมื่ออะไรเกิดขึ้นก็แยกรูปกับนาม ให้ได้
ท่านอาจารย์ แยกอย่างไร เดี๋ยวนี้แยกเลย
ผู้ฟัง ก็อะไรมากระทบก็ให้รู้ไว้
ท่านอาจารย์ รู้ว่าอย่างไร
ผู้ฟัง เย็นร้อน อ่อนหนาว ก็อะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เย็นมีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ เป็นอะไร เป็นธรรมหรือเปล่า
ผู้ฟัง เป็น
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660