ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๔๙

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ผู้ฟัง ในชีวิตประจำวัน เมื่ออะไรเกิดขึ้นก็แยกรูปกับนาม ให้ได้

    ท่านอาจารย์ แยกอย่างไร เดี๋ยวนี้แยกเลย

    ผู้ฟัง ก็อะไรมากระทบก็ให้รู้ไว้

    ท่านอาจารย์ รู้ว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง เย็นร้อน อ่อนหนาว อะไรก็อย่างนี้

    ท่านอาจารย์ เย็นมีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ส.เป็นอะไร เป็นธรรมหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ เป็นธรรมอะไร รูปธรรมหรือนามธรรม

    ผู้ฟัง นามธรรม

    ท่านอาจารย์ นี่ ก็ลืมเมื่อกี้นี้แล้ว ใช่ไหม สภาพเย็น สามารถจะรู้อะไรได้หรือเปล่า คิดได้ไหม เป็นสุขได้ไหม เป็นทุกข์ได้ไหม ลักษณะที่เย็น

    ผู้ฟัง เย็น ก็เกิดเวทนา

    ท่านอาจารย์ ไม่เอาชื่ออีก เวทนาก็ไม่เอา เอาสภาพที่มีจริงๆ เพราะว่าสิ่งที่มีจริง แม้เราไม่เรียกชื่อเลย สิ่งนั้นก็มี เพราะฉะนั้น รูปไม่จำเป็นต้องมองเห็น แต่สิ่งนั้นมีแต่ไม่ใช่สภาพรู้ อย่างเสียงมีจริงๆ ไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เห็นรูปร่างลักษณะของเสียงไหม

    ผู้ฟัง ไม่เห็น

    ท่านอาจารย์ ไม่เห็น แต่มี

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เสียงเป็นสภาพรู้ หรือไม่สามารถจะรู้อะไรได้

    ผู้ฟัง เสียงไม่รู้อะไรได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น เสียงเป็นรูปธรรม อะไรก็ตาม จะมองเห็น หรือมองไม่เห็นก็ตาม เป็นสภาพที่มีเกิดขึ้นปรากฏ แต่ไม่สามารถรู้อะไรได้เลย ลักษณะนั้นเป็นรูปธรรม ข้อสำคัญที่สุด คือ เราต้องการความรู้จริง หรือว่าไม่ต้องรู้หรอก จำๆ เอาก็ได้

    ผู้ฟัง ผมต้องการรู้จริง

    ท่านอาจารย์ รู้จริงก็คือว่าทุกคำไม่ผ่านเลย แม้แต่คำว่า ธรรม ใครจะพูดว่าอย่างไร ตำรับตำรากี่เล่มก็ตามแต่เราสามารถจะเข้าใจได้ไหมว่า หมายความถึงสิ่งที่มีจริงๆ ไม่ใช่ของเท็จ ไม่ใช่ของหลอกลวง แต่สิ่งที่มีจริง เราไม่เคย รู้ เคยเข้าใจถูกต้องเลย จนกว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้ และทรงแสดงว่าสิ่งที่มีจริง เพราะเกิดขึ้นจึงปรากฏ ถ้าไม่เกิดก็ไม่ปรากฏเลย ในชีวิตประจำวัน ทุกอย่างที่เราเห็น ได้ยิน พวกนี้ เพราะเกิดขึ้นค่อยๆ คิด ค่อยๆ พิจารณา แล้วยังไม่มีคำที่เป็นภาษาบาลีเลย ใช่ไหม นอกจากคำว่า ธรรมคำเดียว ซึ่งภาษาไทยก็ใช้ด้วย ก็หมายความถึงสิ่งที่มีจริง เกิดขึ้นปรากฏ แล้วก็มีลักษณะที่ต่างกันเป็น ๒ อย่าง คืออย่างหนึ่ง เกิดมามองเห็นหรือมองไม่เห็นก็ตามแต่ แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย สิ่งนั้นก็มี เป็นธรรมที่เป็นรูปธรรม แล้วถ้าไม่มีนามธรรม ซึ่งเป็นสภาพรู้ หรือ ธาตุรู้ โลกก็ไม่ปรากฏ อะไรๆ ก็ไม่ปรากฏเลย รูปก็ปรากฏไม่ได้ เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้วก็ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น ถ้าไม่มีนามธรรม และรูปธรรม ธรรมเป็นเรื่องง่าย หรือเป็นเรื่องยาก

    ผู้ฟัง ธรรมที่แปลว่า ธรรมดา หรือธรรมชาติ เราเกิดมา เรากิน เราหิว เราง่วงก็นอน นี่ก็ธรรมชาติ ถ้าธรรม ตัวนี้แปลว่า ธรรมชาติ ไม่ยาก

    ท่านอาจารย์ ถ้าอย่างนี้พระพุทธเจ้า ไม่ต้องตรัสรู้เลย เพราะใครๆ ก็รู้ใช่ไหม แต่สิ่งที่มีเหมือนธรรมดา ความจริงลึกซึ้งมาก เพราะเหตุว่าไม่ใช่เรา สิ่งที่มีแล้วคนไม่รู้ เพราะเหตุว่าไม่ได้ประจักษ์ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม แต่ละอย่าง แต่ละลักษณะ แต่ละขณะรวมๆ กันหมด อย่างที่ชาวโลกทั่วไป เข้าใจ ว่ามีคน มีสัตว์ ความจริงแล้วจากการตรัสรู้จึงได้ ทรงแสดงว่าแท้ที่จริงแล้ว สภาพธรรมที่มีจริงๆ เป็นธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง อย่างเสียงอย่างนี้ เป็นชาติอะไร เป็นหญิงหรือเป็นชาย เป็นเราหรือเป็นเขา เพียงแต่มีปัจจัยเกิดแล้วก็ดับ ความโกรธก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กผู้ใหญ่ หรือว่าสัตว์เดรัจฉาน ถ้าความโกรธเกิดขึ้นก็มีลักษณะของความโกรธเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไม่ได้ แล้วก็ไม่ใช่ของใครด้วย เที่ยงตรงที่สุด ไม่มีชาติ เชื้อใดๆ ทั้งสิ้น เห็นก็เป็นสากล ไม่ใช่ชาติหนึ่ง ชาติใดเลย แต่เป็นธรรม

    เพราะฉะนั้น ปัญญาขั้นง่าย คือไม่รู้ความจริงของสภาพธรรม แต่ว่ารู้อะไรเป็นเหตุ เป็นผลก็มี บุตรควรประพฤติต่อบิดามารดาอย่างไร ก็มีคำสอนไว้ การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิตก็สอนไว้ นั่นก็คือธรรมธรรมดาที่ง่าย ฟังเหมือนง่ายแต่ว่าไม่ใช่ตัวตน ต้องเป็นอริยสัจจธรรม เพราะว่าเพียงเท่านั้น ไม่สามารถทำให้รู้แจ้ง สภาพธรรมตามความเป็นจริงได้

    ผู้ฟัง ทีนี้ผมว่าบันไดที่จะขึ้นไปสู่ที่สูง มันต้องมาจากบันไดขั้นแรกก่อน ถูกไหม

    ท่านอาจารย์ บันไดขั้นแรก ที่ฟังธรรม ศึกษาธรรม เพื่อเข้าใจธรรม คือรู้ว่าธรรมคืออะไร

    ผู้ฟัง การที่ผมมาวันนี้ ถือเป็นบันไดขั้นแรกไหม

    ท่านอาจารย์ ได้ฟัง แล้วเข้าใจ ความหมายของธรรม ถ้ากล่าวว่า ธรรมยาก เป็นการสรรเสริญพระปัญญาคุณ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ผมแน่นอนอยู่แล้ว

    ท่านอาจารย์ อย่างไรก็ตามมีพระนามเดียว คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จากพระปัญญาที่ตรัสรู้ จะไม่มีชื่ออื่นเลย ไม่ใช่พระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่ใช่อนุพุทธ แต่ว่าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ผู้ฟัง ถ้าสติสัมปชัญญะเกิดระลึกรู้ ทางมโนทวาร รู้ว่าเป็นสภาพรู้ เหมือนกับท่านอาจารย์เคยเปรียบเปรยว่า เหมือนกับพวกอรูปพรหม ที่ไม่มีรูป จะเป็นลักษณะอย่างนั้น เลย หรืออย่างไร

    ท่านอาจารย์ ถ้าประจักษ์ลักษณะของนามธรรม นามธรรมจะเป็นรูปธรรมได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น นามธรรมต้องต่างกับรูปธรรมโดยสิ้นเชิง จะมีรูปใดๆ เจือปนในลักษณะของธาตุรู้ ซึ่งไม่มีขอบเขต ถ้ายังมีขอบเขต หมายความว่า เรายังมีความเป็นเราที่นึกถึงขอบเขต

    ผู้ฟัง ขณะที่สติสัมปชัญญะเกิดรู้ว่าเป็นสภาพรู้ ขณะนั้นมันไม่มีรูปอะไรเลย

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น อรูปพรหมเป็นอย่างไร

    ผู้ฟัง แต่จริงๆ แล้ว ถ้าเป็นคน หทยวัตถุ ก็ยังมีอยู่ แต่ไม่ได้ปรากฏในขณะนั้น

    ท่านอาจารย์ ขณะที่รู้ประจักษ์ลักษณะของนามธรรม

    ผู้ฟัง รูปไม่เกี่ยวเลย

    ท่านอาจารย์ แล้วนามในอตีดจะเหมือนอย่างนี้ไหม แล้วนามในอนาคตจะเหมือนอย่างนี้ไหม

    ผู้ฟัง ก็คงเหมือนกัน ดิฉันจะกล่าวเหมือกันว่า ผู้ที่เริ่มมาศึกษาใหม่ ผู้ที่ศึกษานานแล้ว ดิฉันมีความคิดว่า ขณะผู้ศึกษามานานแล้ว แต่เวลาเราหลงลืมสติ ดิฉันก็ว่ามันก็เหมือนกับเริ่มศึกษา

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นสภาพของจิตที่เราเรียน ทั้งหมดที่มีในชีวิตประจำวัน ทรงแสดงโดยชื่อ ประการทั้งปวงที่ทำให้ เรารู้ว่าเป็นมหากุศล หรือเป็นอกุศล หรือเป็นโลภะ หรือเป็นโทสะ อสังขาริก สสังขาริก ก็คือทุกขณะในชีวิตประจำวันนั่นเอง

    แม้แต่ขณะที่สติสัมปชัญญะ ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ใครที่อยากจะโยง หรืออยากจะสอดคล้อง ก็รู้ว่าขณะนั้นก็คือมหากุศลญาณสัมปยุตต ที่ทรงแสดงไว้ โดยชื่อ แล้วเราก็เรียน แล้วเราก็จำ มีเจตสิกประกอบเท่าไร แต่ความจริงก็ชั่วขณะที่สติสัมปชัญญะเกิด ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง ตอนมาฟังใหม่ๆ ท่านอาจารย์เคยบอกว่าอย่าไปท่องอย่าไปจำ ให้พิจารณาสภาพธรรม ที่เกิด ปรากฏว่าฟังจากวิทยุ ท่านอาจารย์บอกว่า สมมติว่าโลภมูลจิตเกิดขึ้นก็พิจารณาได้ว่า เจตสิกอะไรประกอบได้ เพราะว่าเจตสิกที่เป็นโสภณก็ต้องไม่เกิด ตรงนี้ ก็เข้าใจอย่างนี้

    ท่านอาจารย์ จริงๆ ขณะที่สภาพธรรมหนึ่ง สภาพธรรมใดเป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน ขณะนั้นไม่ใช่คิดถึงชื่อ ว่าชื่ออะไร แล้วขณะนั้นก็ไม่ได้คิดว่ามีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วยบ้าง เพราะเหตุว่าจะเป็นการที่สติระลึก ลักษณะของสภาพธรรมที่ละอย่าง

    ผู้ฟัง สภาวธรรม หรือสิ่งที่กำลังปรากฏ อาจารย์ที่บัญญัติศัพท์ขึ้นมานี้ แล้วแยกศัพท์ตามความที่ผมเข้าใจ สิ่งที่กำลังปรากฏ มันมีตั้งหลายตัว หลายองค์ธรรม

    ท่านอาจารย์ บัญญัติศัพท์นี้ดิฉันไม่ได้บัญญัติเอง มีในพระไตรปิฎกด้วย

    ผู้ฟัง ไม่ใช่ภาษาไทย มันยังต้องแปล ภาษาไทย

    ท่านอาจารย์ แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษไทยว่า ปรากฏ

    ผู้ฟัง ปรากฏ คำว่า กำลังนี่ก็คือปัจจุบัน มันเป็น ๑ ในปัจจัย ไม่ได้รวบรวมว่าคำว่า ปกติ

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นปกติ คือเดี๋ยวนี้ไม่มีใครต้องทำอะไร ใช่ไหม นี่คือปกติของสภาพธรรม ซึ่งมีปัจจัยก็เกิด เป็นปกติ ใครไปเปลี่ยนไม่ได้เลย อย่างลักษณะที่เห็น ใครจะเปลี่ยนขณะนี้ ให้เป็นอื่นไม่ได้ คือเป็นปกติของสภาพธรรม ที่ถึงกาล ถึงเวลาพร้อมด้วยปัจจัยก็เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่แล้วก็ดับไป

    ผู้ฟัง คำว่า ปกติ หมายถึงปัจจัยเลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ด้วยเพราะว่า สิ่งที่เกิดต้องมีปัจจัย ว่าเกิดก็เป็นปกติ ไม่ได้ผิดปกติ ของสภาพที่เกิดนั้นเลย อย่างได้ยินอย่างนี้ จะเปลี่ยนได้ยินให้เป็นอื่นก็ไม่ได้ ปกติของได้ยินก็คือต้องได้ยิน เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้นได้ยินแล้วก็ดับ

    ผู้ฟัง แล้วสภาวธรรม คำว่า สิ่งที่กำลังปรากฏ ถึงแม้ไม่พูดออกมาก็ มันก็มีจริงๆ

    ท่านอาจารย์ มีจริงๆ มีลักษณะเฉพาะแต่ละอย่างๆ ลักษณะของจิตก็เป็นธาตุรู้ เป็นสภาพรู้ เป็นใหญ่ในการรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ นอกจากนั้นเป็นหน้าที่ของเจตสิกแต่ละประเภท ที่เกิดพร้อมกับจิต อย่างจำ หรือรู้สึก พวกนี้ก็เป็นเจตสิก ซึ่งเกิดพร้อมกับจิต

    ผู้ฟัง ทีนี้มันก็ไม่ได้รวมถึง รวมสิ่งที่กำลังปรากฏ มันจะไปรวมถึง ธรรมารมณ์ด้วยไหม

    ท่านอาจารย์ ธรรมารมณ์ หมายความถึงสิ่ง ที่รู้ได้ทางมโนทวาร ทวารเดียว อย่างจิต นี้ ไม่มีใครสามารถที่จะเห็นได้ สัมผัสไม่ได้ ไม่มีเสียงที่จะได้ยิน แต่สามารถที่จะรู้ลักษณะของจิตได้ทางใจ สิ่งใดก็ตามที่ไม่สามารถเห็น สามารถได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ขณะนั้นก็ต้องเป็นธรรมารมณ์ทั้งหมด อารมณ์ที่ไม่สามารถรู้ได้ทางทวารทั้ง ๕ เป็นธรรมารมณ์ทั้งหมด จิตเป็นธรรมารมณ์ เจตสิกเป็นธรรมารมณ์ รูปอื่นๆ นอกจากรูป ๗ รูป ก็เป็นธรรมารมณ์

    ผู้ฟัง ส่วนมากจิตจะไปรู้องค์ธรรมารมณ์ รู้ที่สมมติบัญญัติ ตรงนี้

    ท่านอาจารย์ แต่ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี

    ผู้ฟัง มีแต่

    ท่านอาจารย์ ก็เป็นสภาพธรรม ที่ไม่ใช่บัญญัติ เราถึงจะรู้ได้ความต่างของสภาวธรรมกับบัญญัติ ก็คือว่า สภาวะมีลักษณะเฉพาะอย่าง ซึ่งปรากฏได้ รู้ได้

    ผู้ฟัง แล้วอีกคำหนึ่งที่ท่านอาจารย์บรรยายธรรมพูดอยู่บ่อยๆ ตามความเป็นจริง จริงอย่างไร

    ท่านอาจารย์ เห็นนี่แหละจริง รู้ความจริง ของเห็น กับสิ่งที่ปรากฏทางตา ได้ยินก็จริง เสียงก็จริง ก็รู้ความจริงของได้ยินกับรู้ความจริงของเสียง รู้ความจริงของสิ่งที่ปรากฏในชีวิตประจำวันทั้งหมด

    ผู้ฟัง ความจริง คือ ปรมัตถธรรม แต่ส่วนมากจิตไปรู้ตรงธรรมารมณ์ ตรงสมมติบัญญัติเสียส่วนใหญ่

    ท่านอาจารย์ ก็จริงเหมือนกัน

    ผู้ฟัง มันก็จริงเหมือนกัน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถึงได้ว่าจิตทั้งหมด มีมากไม่ใช่มีแค่จิต ๑๐ ดวง ไม่ใช่มีแค่จิตเห็น ไม่ใช่มีแค่จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส นี่ ๑๐ แล้ว กุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑, ๕ ทวารก็เป็น ๑๐ นอกจากนั้นก็เป็นจิตประเภทต่างๆ เพราะฉะนั้น เราจึงศึกษาไปพร้อมกับความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏด้วย ว่าขณะนี้ มีจิตจริงๆ ที่กำลังเห็น มีจิตจริงๆ ที่กำลังได้ยิน กำลังได้กลิ่น กำลังลิ้มรส กำลังรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส แล้วก็มีจิตอื่นๆ นอกจากนี้ด้วย เช่น ขณะที่คิดนึก หรือว่าเป็นกุศล เป็นอกุศลทางหนึ่ง ทางใดก็ตามแต่ นอกจาก ๑๐ ดวงนี้แล้วยังมีจิตอื่น ก็เป็นเรื่องของเราทั้งหมด ที่สภาพธรรมเหล่านี้ เมื่อปรากฏเพราะเกิดขึ้น ก็ตามรู้ ในสิ่งที่มีที่กำลังปรากฏ ให้เข้าใจถ่องแท้ในความจริง ซึ่งเป็นนามธรรมหรือรูปธรรม ไม่ใช่เรา จึงจะตรงกับที่เราศึกษาว่า เป็นธรรม เป็นอนัตตา ไม่ใช่ของใคร เมื่อมีปัจจัยก็เกิดแล้วดับ ก็เป็นอย่างนี้มา แม้แต่ขณะเดี๋ยวนี้ก็เป็นอย่างนี้ จะเป็นอื่นไม่ได้ นี่คือตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง ตามความเป็นจริง เป็นอย่างนี้ แต่มันยังไม่คล้อยตาม จิตไม่ได้คล้อยตาม หรือสติปัญญาไม่ได้คล้อยตามคำพูดหรือคำแนะนำ

    ท่านอาจารย์ ถ้าคล้อยก็ถึง ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ถึงกับถึง เพียงแต่รู้

    ท่านอาจารย์ ก็คล้อยไง คล้อยๆ ๆ ไปก็ถึง แต่กว่าจะคล้อยก็ต้องกินเวลาเหมือนกัน อย่างสิ่งที่กำลังปรากฏ ทางตา ให้เข้าใจว่าขณะนี้ เป็นสิ่งที่มีจริงๆ แล้วก็กำลังปรากฏด้วย แล้วก็เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ถ้าหลับตาแล้วสิ่งนี้ไม่ปรากฏ แต่ยังมีความจำเรื่องราวต่างๆ ได้ เพราะฉะนั้น ก็ต่างกันกับขณะที่ลักษณะของความสว่างของสีสันต่างๆ ที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ก็เป็นอย่างหนึ่ง

    ผู้ฟัง ทีนี้ท่านอาจารย์เอาคำว่า กำลังปรากฏ แล้วถ้าเป็นอดีต เอามาพิจารณาได้ไหม

    ท่านอาจารย์ นึกถึงเมื่อวานนี้ เมื่อวานนี้คงจะรับประทานส้ม ส้มที่รับประทานสีสันอย่างไร เมื่อวานนี้ กับสิ่งที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง มันก็เป็นเรื่องเป็นราว

    ท่านอาจารย์ สิ่งที่กำลังปรากฏ สามารถที่จะเห็นการเกิดขึ้น และดับไปได้

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น สรุปความท่านอาจารย์ ก็คือจะต้องหมายถึงว่า พิจารณาอารมณ์ที่เป็นปัจจุบัน เท่านั้น

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าการที่สติปัฏฐานจะเกิดได้ จะต้องมีสัจจญาณ ความเข้าใจอย่างมั่นคงจริงๆ ว่าขณะนี้มีสิ่งซึ่งอวิชชาไม่รู้ แต่ว่าปัญญาเมื่ออบรมแล้ว ก็สามารถจะรู้สิ่งที่กำลังปรากฏ นี้แหละ เพราะเหตุว่ามีลักษณะปรากฏจริงๆ ตรงตามที่ได้ฟัง ประจักษ์ความจริงตามที่ได้ฟังมาแล้ว ไม่ผิดกัน ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ต้องตรงกัน

    ผู้ฟัง มาถึงคำว่า ปริยัติ ปริยัติก็เกื้อกูล และเป็นปัจจัย ทำให้รู้ธรรมขึ้น เพราะฉะนั้น ศึกษาอย่างไร หรือฟังอย่างไรจึงจะเข้าใจ แล้วก็เพียงพอ

    ส.เพียงพอหรือไม่พอ พระอรหันต์ท่านยังฟัง เพราะฉะนั้น ผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ก็ฟังแล้วก็รู้จักตัวเอง ว่ามีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ฟังแค่ไหน ว่าสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเป็นเรื่องของสิ่งที่มีจริงๆ และกำลังปรากฏด้วย

    ความเข้าใจของเรา จากขั้นฟัง ขณะที่กำลังฟังนี้ แล้วก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยพร้อมกัน ไม่ใช่ฟังเรื่องสิ่งที่ไม่มีไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ขณะที่กำลังฟังนี้ก็ค่อยๆ เข้าใจว่าจริงหรือเปล่า ว่าขณะนี้มีสิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นธรรมเป็นสิ่งที่มีจริงอย่างหนึ่ง ซึ่งสามารถกระทบกับจักขุปสาท เพราะว่าคนตาบอดไม่เห็น เพราะฉะนั้น สิ่งนี้ก็คือธรรมอย่างหนึ่ง

    ผู้ฟัง นี่แหละที่จะเน้นคำว่า สติปัญญาเราอยู่ตรงไหน

    ท่านอาจารย์ อยู่ตรงที่ฟังเรื่องนี้ แล้วเข้าใจแค่ไหน ฟังเรื่องสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา กับเห็นแล้วเข้าใจแค่ไหน แล้วก็ฟังต่อไปอีก แล้วก็เข้าใจแค่ไหน ฟังต่อไอีก จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น เหมือนกับการย่ำเท้า เราจะรู้สึกว่าคนที่ย่ำเท้า ไม่ได้ใช้ คำว่า เดิน แต่ใช้คำว่า ย่ำเท้า รู้สึกเหมือนอยู่กับที่ ใช่ไหม แต่ความจริงก็ขยับไปนิดนึง ทีละนิด ทีละหน่อย แล้วแต่ว่า ย่ำไปนานเท่าไร แล้วจะขยับไปนานเท่าไร ตามกำลัง กว่าจะถึง

    ผู้ฟัง จะสลัด นิมิต พยัญชนะ หรือบัญญัติ อะไรต่ออะไร

    ท่านอาจารย์ ไม่สลัดแต่เข้าใจ ความเข้าใจจะค่อยๆ ไถ่ถอน ความเห็นผิด ในสิ่งที่ปรากฏได้

    ผู้ฟัง ไถ่ถอน

    ท่านอาจารย์ ค่อยๆ ถอนออกทีละน้อยๆ จนกว่าจะหมดวามเห็นผิด เพราะว่าเป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ถ้าไม่ลืมคือสัญญาความจำที่มั่นคงว่าขณะนี้ เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตา แล้วจะคิดนึกเรื่องอะไรก็แล้วแต่

    เพราะฉะนั้น จึงต้องแยกจิต ๑๐ ดวง แยกออกมาเลย ๑๐ ดวง พอรู้ว่าแยก ๑๐ ดวงออก ที่เหลือคือจิตอื่นๆ เราจะได้เห็นความต่างว่าจิตเห็นไม่ใช่จิตอื่น จิตได้ยินก็ไม่ใช่จิตอื่น ที่คิดนึก เป็นกุศล อกุศล แล้วชีวิตวันหนึ่งๆ ก็มีจิต ๑๐ ดวง แล้วก็มีคิดนึกสลับ

    ผู้ฟัง ไม่พอ

    ท่านอาจารย์ ไม่พอ ต้องนาน ต้องฟังอีก ย้ำอีกบ่อยอีก พูดถึงเรื่องสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ในขณะนี้ จนกว่าสติสัมปชัญญะ จะระลึกแล้วเข้าใจ ในความเป็นธรรมซึ่งเราพูดตลอดเวลา ว่าทุกอย่างเป็นธรรม แต่ไม่ใช่เพียงพูด ต้องมีสติสัมปชัญญะที่ระลึกตรงลักษณะ จนกว่าจะเป็นธรรมทั้งหมด

    จริงๆ

    ผู้ฟัง ที่อาจารย์พร่ำสอนก็เข้าใจ แต่มันรู้สึกยังไม่พอที่จะไถ่ถอน

    ท่านอาจารย์ ยัง นี่ขั้นฟัง ไถ่ถอนไม่ได้เลย

    ผู้ฟัง ไถ่ถอนบัญญํติ

    ท่านอาจารย์ ให้เข้าใจถูกต้องว่าเป็นธรรมก่อน ทุกอย่างมีลักษณะของธรรมทั้งนั้นเลย ที่เป็นเราก็คือลักษณะของธรรม แต่ละอย่างๆ

    ผู้ฟัง อาจารย์ช่วยกรุณาขยายความไตรลักษณ์ ตรงนี้หน่อยได้ไหม ถ้าอาจารย์จะพูดคำว่าอนัตตาอยู่ เรื่อยแต่ไม่ได้พูดรวม ทุกข อนิจจสัญญา หรือ ทุกข

    ท่านอาจารย์ ถ้ากล่าวว่าสภาพธรรม เกิดแล้วดับ ไตรลักษณะหรือเปล่า อนิจจัง ไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงก็ไม่ใช่สิ่งที่เราจะยึดถือ หรือเห็นว่าเป็นสุข แล้วก็เป็นอนัตตา เพราะไม่มีใครสามารถจะบังคับบัญชาได้

    วิทยากร. การที่ปัญญาจะเห็น อนิจจา ทุกขัง อนัตตา มันต้องเป็นความสมบูรณ์ของวิปัสสนาญาณ ขั้น อุทยัพพยาญาณ เห็นความเกิด ความดับ ตอนนี้เราก็ได้แต่ทำความเข้าใจ เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทีละเล็ก ทีละน้อยไป สภาพของเขาเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่เนื่องจากความสมบูรณ์ของปัญญา เรายังไม่ถึง

    ผู้ฟัง การประจักษ์ ลักษณะของสภาพไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือว่าเมื่อถึงความสมบูรณ์ของปัญญาที่เคยฟังท่านอาจารย์สุจินต์อธิบาย เราเวลาประจักษ์ นี้ หมายถึงว่าประจักษ์ชั่วขณะจิตเดียว หรือว่าประจักษ์ ทั้ง ๓ ขณะ หมายความว่า บางคนอาจจะประจักษ์ เพียงอนิจจัง หรือว่าบางคนอาจจะประจักษ์เพียงทุกขัง หรือว่าบางคนจะประจักษ์เพียงอนัตตา หรือว่าสภาพทั้ง ๓ อย่างประจักษ์พร้อมกันเลย ในขณะจิตเดียวกันเลย

    ท่านอาจารย์ อะไรเกิดดับ

    ผู้ฟัง สิ่งที่เกิดดับก็คือ รูปธรรม และนามธรรม

    ท่านอาจารย์ อย่าลืม ธรรมแล้วใช่ไหม ไม่มีคนเลยใช่ไหม ที่จะเกิดดับแต่ต้องเป็นธรรม

    ผู้ฟัง เป็นเพียงสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นเป็นธรรม หรือว่าเป็นอัตตา หรือว่าเป็นอนัตตา

    ผู้ฟัง ขณะที่เกิดดับ ก็เป็นสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ธรรม เกิดดับ ถูกไหม เมื่อปัญญาสมบูรณ์ที่จะประจักษ์ลักษณะของธรรม ไม่ใช่ธรรมที่ไม่ได้ปรากฏความเกิดดับ ถึงขั้นของไตรลักษณะ หรือ อุทยัพพยาญาณ ก็จะต้องประจักษ์การเกิดดับของธรรมขณะนั้นเป็นอนัตตาด้วยหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ขณะที่มีความเกิดดับนั้น เป็นอนัตตา

    ท่านอาจารย์ ลักษณะนั้นเกิดดับ เป็นอนิจจังหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ขณะนั้นก็เป็น เพราะว่าไม่เที่ยง ใช่ไหม มันก็เลยเกิดดับ

    ท่านอาจารย์ แล้วลักษณะที่ไม่เที่ยง ที่เป็นอนัตตา เป็นที่ควรยึดถือ เหมือนเดิม ที่เป็นสภาพที่เป็นสุข ไม่เกิดไม่ดับหรือเปล่า

    ผู้ฟัง คงจะไม่สุข เพราะว่ามันดับไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ขณะนั้นก็พร้อมทั้ง ๓ ลักษณะ ใช่ไหม

    ผู้ฟัง แสดงว่า เราประจักษ์พร้อมกันเลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ลักษณะของสภาพธรรมอย่างลืมนะ ธรรม เป็น ธรรมก็เกิดแล้วก็ดับ ก็มีลักษณะ ๓ อย่าง ในขณะนั้น

    ผู้ฟัง สมาธิในวิปัสสนา ในมรรคมีองค์ ๘ มรรคมีองค์ ๘ ก็คือวิปัสสนานั้น หมายถึงว่า สมาธิตอนแรกเคยฟังท่านอาจารย์บอกว่า วิปัสสนาเป็นขณิกสมาธิ ใช่ไหม แล้วก็ถึงประจักษ์ความเกิดดับแล้ว พอลงไปถึงอัปปนาสมาธิ ในวิปัสสนานี้ คืออะไร อัปปนาสมาธิในวิปัสสนา

    ท่านอาจารย์ วิปัสสนาญาณก็เป็น ตทังคะ ไม่ใช่เป็นวิขัมภนะเป็นขณิกสมาธิ เท่านั้น

    ผู้ฟัง จะไม่มีอัปปนาสมาธิในวิปัสสนาเลย ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าอัปปนาสมาธิ สภาพธรรมนั้นก็ไม่เที่ยง ไม่ได้ ใช่ไหม เพราะเหตุว่ากำลังจดจ่ออยู่ที่อารมณ์เดียว

    ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้น อัปปนาสมาธิในสมถภาวนา ก็ยังไม่มีปัญญาเกิดขึ้น ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สมถภาวนา ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม

    ผู้ฟัง เมื่อถึงความเกิดดับแล้ว ในขณะที่วิปัสสนาเกิด พอประจักษ์สภาพไตรลักษณ์ ความเกิดดับๆ แล้ว เป็นไปได้ไหมว่าจิตจะหยั่งลงสู่อัปปนาสมาธิ ในเมื่อเราเห็นการเกิดดับแล้ว ปัญญานั้นเกิดขึ้น แล้วก็เกิดการละ ปล่อยวาง แล้วก็จะลงอัปปนาสมาธิ

    ท่านอาจารย์ อัปปนาสมาธิ จะเกิดได้อย่างไร หรือว่าอยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นมา

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567