ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๕๐

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๖


    ผู้ฟัง เป็นไปได้ไหมว่าจิตจะหยั่งลงสู่อัปปนาสมาธิ ในเมื่อเราเห็นการเกิดดับแล้ว ปัญญานั้นเกิดขึ้น แล้วก็เกิดการละ ปล่อยวาง แล้วก็จะลงสู่สภาพของอัปปนาสมาธิ

    ท่านอาจารย์ อัปปนาสมาธิ จะเกิดได้อย่างไร หรือว่าอยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นมา

    ผู้ฟัง คือปัญญาที่ประจักษ์สภาพความเกิดดับแล้ว

    ท่านอาจารย์ แต่อย่าลืม ความหมายของคำว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าอบรมเจริญสมถภาวนา กว่าจะถึงอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นฌานจิต จิตจะต้องสงบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ จนกระทั่งลักษณะของสมาธิเพิ่มขึ้น เป็นลำดับขั้นตั้งแต่อุปจารสมาธิ ซึ่งไม่ใช่อัปปนา เพราะฉะนั้น การที่อัปปนาสมาธิจะเกิดขึ้นมาเอง โดยที่ไม่มีการอบรมเลยเป็นไปไม่ได้

    ด้วยเหตุนี้จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน จึงมีการที่จะรู้ลักษณะของจิตประเภทต่างๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าคน ที่ไม่ได้อบรมจนกระทั่งฌานจิตเกิด อย่างคล่องแคล่ว แล้วก็จะสามารถมีสติสัมปชัญญะ ที่จะรู้ลักษณะของอัปปนานสมาธิได้ เพราะเหตุว่าจะเอาอัปปนาสมาธิ ที่ไหนมาเกิดให้รู้ เราไปปะปนลักษณะของสมาธิ เพียงแต่มีสมาธินิดหน่อย อาจจะเข้าใจว่านั่นเป็นอัปปนาสมาธิ เพราะว่าบางคนใช้คำว่า ฌานจิต ง่ายมากเลย นั่งไปหน่อยหนึ่งก็ปฐมฌาน ประเดี๋ยวก็ไม่วิตกวิจารถึง ทุติยฌาน ประเดี๋ยวก็มีความรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ก็เป็น ตติยฌาน แต่นั้นเป็นจริงๆ หรือเปล่า ประกอบด้วยปัญญา ที่จะรู้ตั้งแต่เริ่มต้น ของจิตที่สงบขึ้น เพราะลักษณะของจิต ที่มั่นคงในลักษณะของสภาพธรรมที่ประกอบด้วยปัญญา ความสงบจะเพิ่มขึ้น

    เพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญสมถภาวนาจริงๆ จะเข้าใจข้อความที่มีว่า ในร้อยคน พันคนที่มีบริกรรมสมาธิ เริ่มระลึกถึงลักษณะของอารมณ์ ที่ทำให้จิตสงบ กี่คนจะถึงอุปจารสมาธิ ที่จะมีอุคหนิมิตเป็นอารมณ์ แล้วสักกี่คนในบรรดาร้อยคน พันคนที่จะถึงอัปปนาสมาธิ

    เพราะฉะนั้น การศึกษาต้องเป็นเรื่องที่ละเอียดจริงๆ แล้วก็ปัญญาที่เกิดพร้อมกับสติสัมปชัญญะ ก็สามารถที่จะรู้ความต่างของระดับของสมาธิด้วย แม้ว่าปัจจุบัน ปกติทุกคนก็มี จิตซึ่งใช้คำว่า กวัดแกว่ง ก็ได้ ความจริงนี่ จิตแกว่งไม่ได้ แต่ว่าเปลี่ยนอารมณ์อย่างรวดเร็ว จากนี่ไปนั่นเสมอๆ ก็ ไม่มีลักษณะที่สงบ แล้วก็มาถึงขณะที่กำลังเริ่ม ที่จะตั้งมั่นที่อารมณ์หนึ่ง พร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ ลองคิดดูว่าจะต่างกับจิตปกติในชีวิตประจำวันไหม เช่น ในขณะนี้.เห็น ได้ยิน คิดนึก ทั้งๆ ที่กำลังฟัง คิดเรื่องอื่นก็ได้ไปเสียไกล กับขณะที่ตั้งมั่น ด้วยสติสัมปชัญญะ แม้แต่คำว่า สติสัมปชัญญะ ก็ยังไม่เข้าถึงลักษณะของสติสัมปชัญญะ ฟังชื่อสติสัมปชัญญะ แต่ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด จะรู้ลักษณะของสติสัมปชัญญะได้อย่างไร จะรู้แต่เพียงลักษณะของสมาธิ ซึ่งสมาธิมี ๒ อย่าง สัมมาสมาธิ กับ มิจฉาสมาธิ ถ้าไม่มีปัญญา จะรู้ไหมว่าขณะนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ หรือว่าเป็นสัมมาสมาธิ

    ทางแยกก็แยกไกล จากที่ไม่เคยเป็นสมาธิ แล้วก็เป็นสมาธิ ที่เป็นมิจฉาสมาธิ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น กว่าจะเป็นสัมมาสมาธิ แม้ระดับของ สมถภาวนา ก็จะรู้ได้จริงๆ ว่าสติสัมปชัญญะ คืออย่างไร

    ด้วยเหตุนี้การอบรมเจริญสติปัฏฐานทำให้สามารถที่จะเข้าใจ ลักษณะของสภาพธรรมในลักษณะ ต่างๆ ได้ เพราะเหตุว่าไม่ว่าจะเป็นสมถภาวนา หรือว่า วิปัสสนาภาวนา จะปราศจากสติสัมปชัญญะไม่ได้ ไม่ใช้คำว่า ปราศจากสติ เท่านั้น แต่ใช้คำว่า ปราศจากสติสัมปชัญญะไม่ได้ เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจ ลักษณะของสติสัมปชัญญะ เป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน จะไม่สงสัยในคำนี้

    เพราะฉะนั้น แม้เป็นในเรื่องของสมถภาวนา ก็ยังสามารถรู้ได้ ว่าลักษณะของสติสัมปชัญญะ ของสมถภาวนานั้นคืออย่างไร แล้วก็มีลักษณะอย่างไร แล้วก็จะต่างกับสติสัมปชัญญะของวิปัสสนาอย่างไร แล้วก็กว่าจะอบรมในแนวที่ต่างกัน คือ สำหรับสมถภาวนา จะไม่เข้าใจลักษณะของนามธรรม และรูปธรรม ที่กำลังปรากฏเลย จึงเป็นสมถภาวนา เพราะเหตุว่าสามารถที่จะตั้งมั่นในอารมณ์นั้น จนกระทั่งความสงบเพิ่มขึ้น

    เพราะฉะนั้น ก็อย่างเพิ่งไปถึงคำต่างๆ โดยที่เราก็ไม่มีอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่เป็นลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ให้เข้าใจถูกต้องได้ ต้องเริ่มจากการที่ฟัง แล้วก็เมื่อสภาพธรรมใดปรากฏ ก็เริ่มรู้จักลักษณะของสภาพธรรมนั้น แล้วก็จะไม่ไขว้เขว เพราะเหตุว่าอัปปนาสมาธินี้แน่นอน อยู่ดีๆ เกิดมาไม่ได้ เกิดเป็นขึ้นมาเองไม่ได้ ถ้าเป็นระดับของอัปปนาสมาธิซึ่งเป็นฌานจิต ต้องอบรมจนกว่าจะเกิดขึ้น

    ผู้ฟัง สมถภาวนา ทำอย่างไร ให้เกิดปัญญา

    ท่านอาจารย์ ปัญญาที่รู้ถูกว่าขณะไหนจิตเป็นอะไร กามฉันทนิวรณ์ พยาปาทนิวรณ์ ไม่ใช่ชื่อ แต่ว่ามีสภาพธรรม จริงๆ แล้วปัญญาที่รู้ว่าขณะนั้น จะไม่มีนิวรณ์เหล่านั้นได้ เพราะอะไร ไม่ใช่ไม่รู้อะไรเลย ก็ไปจดจ้องอยู่ที่หนึ่ง ที่ใด ขณะนั้นเป็นกามฉันทนิวรณ์หรือเปล่า ด้วยความพอใจที่จะทำอย่างนั้น เพราะฉะนั้น สมถ เป็นภาษาบาลี แปลว่าอะไร

    ผู้ฟัง ทำใจให้สงบนิ่งที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

    ท่านอาจารย์ แปลว่า สงบหรือ

    ผู้ฟัง ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ สงบจากอะไร

    ผู้ฟัง สงบ คือ ไม่เคลื่อนไปไหน

    ท่านอาจารย์ อย่างนั้นก็ไม่ถูกต้อง ถ้าใช้คำว่าสงบ สงบจากอะไร

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วมันควรจะสงบจากโลภะ โทสะ โมหะ

    ท่านอาจารย์ ใช่ แต่ทำ เพราะอยากสงบหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ที่เขาทำกัน คงไม่ได้คิด ที่จะสงบจากโลภะ โทสะ โมหะ

    ท่านอาจารย์ แล้วจะเป็นสมถะไหม

    ผู้ฟัง ก็ไม่น่าจะเป็น

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่เป็น เพราะฉะนั้น เพียงแต่ชื่อ แล้วก็ใช้ แล้วก็ทำ แต่ก็ไม่ใช่สมถะ หรือแม้แต่คำว่า อัปปนาก็เหมือนกัน ใช้คำนี้ โดยที่เข้าใจลักษณะนั้นหรือเปล่า เข้าใจความหมายนั้นจริงๆ หรือเปล่า แล้วใช้แต่ชื่อ ชื่อก็ทำให้เข้าใจผิดได้ ใช่ไหม ถ้าไม่ได้ศึกษาโดยละเอียด หรือชื่อเพียงแต่แปลออกมา ก็เข้าใจว่าคำนี้แปลว่าอะไร แต่ว่าลักษณะสภาพนั้นจริงๆ คืออย่างไร และอบรมเจริญอย่างไร จึงจะรู้ได้

    ผู้ฟัง แล้วควรจะปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้สงบจากโลภะ โทสะ โมหะ

    ท่านอาจารย์ จะเจริญความสงบ หรือว่าจะเจริญปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรม

    ผู้ฟัง รู้ทั้งๆ ที่อารมณ์ไม่ปกติ

    ท่านอาจารย์ ขณะที่รู้ เป็นปัญญาสงบ หรือเปล่า

    ผู้ฟัง สงบ

    ผู้ฟัง ถ้าเป็นอัปปนาสมาธิ ที่เป็นวิปัสนนา จะกล่าวถึงขณะที่เป็นมรรคจิต ผลจิตเท่านั้น

    ท่านอาจารย์ ถ้า สมาธิ ที่เกิดร่วมกับมรรคจิต เป็นปฐมฌาน หรือทุตยฌาน หรือตติยฌาน จตุทฌานแล้วแต่องค์ ของสมาธิในขณะนั้น ซึ่งเกิดพร้อมกับโลกุตตรจิต ถึงจะเป็นอัปปนา แต่ถ้าไม่ใช่เป็นระดับขั้นของอัปปนาสมาธิ โดยนัยของการเจริญสมถภาวนา ขณะนั้นความแนบแน่นของอารมณ์ เทียบเท่ากับอัปปนาสมาธิ เพราะเหตุว่าลองคิดดู เวลาที่อบรมเจริญความสงบ โดยมีอารมณ์หนึ่ง อารมณ์เดียวแต่ปัญญาต่างระดับ ไม่สามารถที่จะรู้ความจริงของ ลักษณะของสภาพธรรม จนกระทั่งละคลายกิเลส จนกระทั่งสามารถจะประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพานได้

    แต่ว่าสำหรับวิปัสสนภาวนา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย จุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อจะสงบ แต่ว่าขณะใดก็ตามที่ปัญญาเกิด ขณะนั้นมีความสงบร่วมด้วยแน่นอน เพราะเหตุว่าเป็นกุศล แล้วก็มรรคมีองค์ ๘ ก็เป็นทั้งสมถะ เป็นทั้งวิปัสสนา เพราะฉะนั้น จึงสามารถที่จะมีความสงบ พร้อมด้วยปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เมื่อความสมบูรณ์ของปัญญา เพิ่มขึ้น ลักษณะของสมาธิ จะปรากฏไหม แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ใช่อัปปนาสมาธิ คนละอย่าง เพราะเหตุว่าสำหรับอัปปนาสมาธิ จะถึงระดับขั้นที่แนบแน่นในอารมณ์ที่เป็นอารมณ์ที่ทำให้ จิตสงบ ถึงขั้นอัปปนา

    แต่วิปัสสนาภาวนา จุดประสงค์คือ เพื่อที่จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง เช่นในขณะนี้ ทุกคนทราบ ว่าจิต เจตสิก เกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกันรวดเร็วแค่ไหน ไม่สามารถที่จะประมาณได้เลย เช่น ขณะที่กำลังเห็นได้ยินด้วย แล้วก็เหมือนกับคิดนึกด้วย ถูกต้องไหม เร็วอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ปัญญาต้องไวขนาดไหน และปัญญาไวอย่างนั้น ไม่ใช่ลักษณะของอัปปนาสมาธิ แต่เป็นลักษณะของสมาธิที่สมบูรณ์ขึ้นพร้อมกับปัญญา แต่ไม่ถึงระดับของอัปปนาสมาธิแน่นอน เพราะเหตุว่าอารมณ์จะสลับ เป็นผู้ที่ยิงไว ยิงไกล ไม่ว่าจะอารมณ์ที่ขณะนี้ ไม่ปรากฏ

    เพราะเหตุว่า เวลาที่สัมมาสติเพิ่งเริ่มเกิด ลักษณะของสัมมาสติจะระลึกเฉพาะลักษณะของบางอารมณ์ เช่นทางตาก็อาจระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วก็มีจิตอื่นคั่น แล้วก็มีได้ยิน ข้ามไปตั้งหลายวาระ หรือว่าหลายลักษณะจนกว่าสติสัมปชัญญะ จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมต่อไปอีก เพราะเหตุว่าทุกคนรู้ว่าหลังจากเห็นแล้วคิด ใช่ไหม แล้วรู้หรือเปล่าว่าคิดนั้นก็เป็นนามธรรม กว่าจะรู้ได้ อย่างเวลาที่บางคนระลึกลักษณะของสภาพธรรม แล้วก็อดคิดไม่ได้ นี่นามธรรม นี่รูปธรรม ขณะที่กำลังคิดอย่างนั้น รู้หรือเปล่า ว่าเป็นนามธรรม หรือเป็นรูปธรรม เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่กว่าจะยิงไกล และยิงไวได้ ขณะนั้นจะไม่ใช่ลักษณะของอัปปนาสมาธิ

    ถ.อาจารย์ประเชิญ ช่วยขยายความ สัมมาทิฏฐิ ที่ว่าความรู้ในทุกข์ๆ ในนี้คงจะเป็นทุกขอริยสัจ ใช่ไหม ช่วยกรุณาขยายว่าทุกขอริยสัจนี่ คือได้แก่อะไร อย่างไร

    วิทยากร.เมื่อเช้านี้ท่านอาจารย์ก็ได้อธิบาย แล้วก็ในอรรถกถา ท่านก็มีตัวอย่างของ ความรู้ที่เป็นรู้ขั้นที่ได้เรียนได้ฟัง ในหน้า ๓ ท่านก็อธิบาย ในเรื่องของ ภิกษุเรียนในเรื่องของอุปาทานขันธ์ ทั้ง ๕ ก็เป็นเรื่องของทุกข์ ส่วนสมุทัยเป็นตัวตัณหา ถ้าจำแนกโดยปรมัตถธรรม อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็โลกียจิต แล้วก็เจตสิกเว้นโลภะ เจตสิดทั้ง ๕๑ เว้นโลภะ แล้วก็รูปทั้งหมด อันนี้ก็เป็นอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ก็เป็นทุกขอริยสัจ

    ถ.ทุกขสัจปรากฏได้เพราะเกิดขึ้น ย่อมถึงความเป็นสิ่งอันบุคคลพึงกล่าวว่าทุกข์จริง ในการกระทบกับตอ และหนามเป็นต้น การที่กล่าวว่าทุกข์จริง ตรงนี้มันเกี่ยวกับทุกข์ทางกายหรือเปล่า ซึ่งก็รวมอยู่ในทุกขสัจด้วย จะสอดคล้องกันอย่างนี้หรือเปล่า

    วิทยากร. อันนี้ท่านเป็นเพียงยกตัวอย่าง ใช่ไหม

    วิทยากร. เป็นต้น

    วิทยากร.เป็นต้น ซึ่งก็เวทนาก็เป็นทุกขสัจอยู่แล้ว

    ถ.แต่พอดีทางกาย เรียกว่า ทุกข์ กับ สุขจริงๆ ใช่ไหม ยกตัวอย่างตรงนี้

    วิทยากร.ก็เป็น ทุกขทุกข์ด้วย เวทนาทุกขทุกข์

    ถ. เพราะฉะนั้น ทุกข์ตรงนี้ก็คือ รวมอยู่ในทุกขสัจ เป็นส่วนหนึ่ง

    วิทยากร. ใช่

    ท่านอาจารย์ ขอโทษนิดหนึ่ง คุณบงก็คงจะต่อไปถึงว่า เวลาที่เรารู้ทุกข์ธรรมดาๆ ใช่ไหม แต่ว่าสำหรับทุกขอริยสัจ มีข้อความที่ว่า แต่ว่าโดยการแทงตลอดถึงลักษณะ ทุกขสัจ และสมุทัยสัจ แม้ทั้ง ๒ ก็เป็นธรรมลึกซึ้ง ก็ต้องต่างกับทุกข์ชาวบ้านธรรมดา ใช่ไหม

    วิทยากร.แทงตลอดลักษณะในที่นี้ จะหมายถึงไตรลักษณ์หรือ

    ท่านอาจารย์ แน่นอน ลักษณะที่ เป็นทุกข์ก็ต้องเป็นไตรลักษณ์

    ถ.ท่านอาจารย์ แล้วที่บอกว่า การฟังพระธรรมคือฟังในสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ ในที่นี้ก็หมายถึงสภาพธรรม ที่เป็นปรมัตถธรรม เพราะว่าถ้าป็นสภาพธรรม ที่มีจริงจะต้องมีสภาวะ มีลักษณะ ก็ไม่พ้น จิต เจตสิก รูป อย่างกรณีที่ว่า จิต ก็มีสภาพธรรม ที่ทั้งเป็นปรมัตถด้วย แล้วก็เป็นบัญญัติด้วย เป็นอารมณ์ ถ้าสมมติว่า ขณะที่ถึงแม้ว่ามีบัญญัติเป็นอารมณ์ แต่สติระลึกรู้ก็คือระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมที่เป็นปรมัตถธรรม ก็คือตัวจิต ใช่ไหมที่เป็นสภาพที่รู้อารมณ์นั้น

    ท่านอาจารย์ ก็ยิงไกล ยิงไวด้วย ที่จะรู้ความต่าง ของขณะที่มีปรมัตถเป็นอารมณ์ แล้วขณะที่มีบัญญัติเป็นอารมณ์

    ถ.ขอบพระคุณ

    ท่านอาจารย์ ทุกอย่างในชีวิตประจำวัน ต้องรู้ ไม่รู้ก็ไม่ละ และเครื่องพิสูจน์ว่ารู้จริงๆ คือ สามารถรู้ลักษณะที่กำลังปรากฏ

    ผู้ฟัง คำที่ว่า ปรากฏจริงๆ แล้ว มีคำบาลีก็คือ ตัวอารมณ์ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ปรากฏก็ต้องเป็นอารมณ์

    วิทยากร. ถ้าไม่เป็นอารมณ์ก็เสียงในป่า ก็ไม่ปรากฏ

    ผู้ฟัง คำว่า สมาทาน จะหมายถึงความตั้งใจ หมายถึงเจตนาได้ไหม คือ เจตนาที่จะงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์

    ท่านอาจารย์ ถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ที่จะไม่ล่วงศีล เพราะฉะนั้น แต่ละคน เวลาที่มีความความตั้งใจที่จะไม่ฆ่าสัตว์ ต้องพูดหรือว่าต้องคิดหรือเปล่า ก่อน แบบสมาทาน ที่จะถือเอา เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เพราะว่าอย่างที่คุณอดิศักดิ์เคยกล่าว บอกว่าขับรถไป ถ้าเป็นสมัยก่อน ที่จะได้ฟังพระธรรม ก็คงจะทับงู ไม่ได้สมาทาน แต่เมื่อเรียนแล้ว ก็คงจะมีขณะที่คุณอดิศักดิ์คิด ที่จะไม่ฆ่าสัตว์ คงไม่ได้หมายความว่า พอเรียนแล้วก็ยังคิดจะฆ่าอยู่ คงไม่ใช่อย่างนั้น ใช่ไหม

    ผู้ฟัง ไม่

    ท่านอาจารย์ ไม่ เพราะฉะนั้น ถ้าช่วงนั้น ก่อนนั้น ก็คงจะมีคงวามคิดหรือความตั้งใจ แต่ไม่ได้เปล่งออกมาเป็นคำพูด ไม่ได้กล่าวว่า สมา ทิ ยา มิ แน่ๆ ใช่ไหม หรือว่าขอถือเอา เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ แต่ทีนี้เวลาที่แต่ละบุคคล คิดแล้ว ถ้าไม่มีคำกล่าวออกมา เลยก็ไม่สามารถที่จะเข้าใจกันได้ ถูกต้องไหม เช่น ขณะนี้ ทุกคนกำลังคิด เป็นการคิดเรื่องคำก็ได้ หรือว่าเป็นการคิดเรื่องสภาพธรรมที่กำลังปรากฏก็ได้ โดยที่ยังไม่มีคำเลย ก็กำลังคิดอยู่ ซึ่งจะไม่รู้เลย ขณะนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก แต่ว่าเวลาที่เกิดการที่จะไม่ กระทำทุจริต ขณะนั้นเป็นการถือเอา ที่ว่าจะไม่กระทำ ได้ไหม โดยที่ว่าขณะนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้คำ เพื่อแสดงให้รู้ความหมาย เราคิดจริงในใจ แต่ถ้าจะออกมาเป็นคำพูด ก็จะต้องมีคำกล่าว เพราะฉะนั้น เวลาที่ใครจะไม่ล่วงศีล หรือว่าจะเริ่มที่จะ มีความมั่นคง ในการที่จะละเว้นทุจริต ๕ ประการที่เป็นการล่วงศีล ขณะนั้นแม้ไม่กล่าวเลย ขณะนั้นก็เป็นกุศล แต่เมื่อจะกล่าวก็กล่าวออกมาอย่างนี้แหละ ถ้าไม่กล่าวจะรู้ได้อย่างไร ใช่ไหม ก็เท่านั้นเอง คำว่าสมาทาน จะกล่าวหรือไม่กล่าวก็ได้ เพราะเหตุว่าถ้าไม่กล่าวก็คืออย่างนั้นแหละ แต่ถ้าจะใช้คำพูดก็พูดออกมาอย่างนี้แหละ คงจะไม่ตั้งใจที่จะงดเว้น ในใจแล้วก็กล่าวไปอีกอย่างหนึ่ง ที่จะไม่งดเว้น ใช่ไหม

    เพราะฉะนั้น เวลาที่มีความถือเอา ที่จะไม่ล่วงศีล ขณะหนึ่ง ขณะใดในชีวิต เมื่อใดก็ได้ ซึ่งแต่ละคนก็จะ เกิดวันไหนเมื่อไร ก็ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ได้ แต่ว่าถ้าจะให้กล่าวออกมาเป็น คำพูดก็คือกล่าวออกมาเป็นคำ อย่างนี้ แต่จะกล่าวก็ได้ ไม่กล่าวก็ได้ แต่ต้องหมายความถึงกุศลจิต ที่มีการถือเอาที่จะเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ที่จะงดเว้นทุจริต

    ถ.อย่างนี้ท่านอาจารย์ว่าก็ตรงกันอย่างที่คุณอดิศักดิ์ คือตอนที่คุณอดิศักดิ์เห็นงูแล้ว หยุดรถไม่ขับต่อไป เพื่อที่จะเหยียบให้มันตาย ก็ตอนนั้น ถือว่าเราสมาทานด้วยใจ ไม่ได้พูดออกมาเป็นคำพูด

    ท่านอาจารย์ แต่ก่อนนั้นด้วยหรือเปล่า หมายความว่าฟัง ขณะที่ฟังธรรม เราก็จะต้องเกิดมีการละ ที่เราคิด ที่เรา จะเว้นจากทุจริตเพียง แต่ว่าเราไม่ได้ออกมาเป็นคำพูด ซึ่งถ้าจะออกมาเป็นคำพูด ก็ คือคำพูดอย่างนี้แหละ ตามภาษาบาลีอย่างนี้แหละ แต่ว่าเราไม่ได้ออกมาเป็นระเบียบ หรือว่าเมื่อนั้นเมื่อนี่เวลานั้นเวลานี้ แต่ความคิดความตั้งใจ ที่จะละเว้นทุจริตต้องมี ถ้าไม่มีมาก่อนเลย ระหว่างฟังจนกระทั่งถึงเห็นงู ก็คงจะไม่มีเหตุปัจจัยที่จะทำให้ วิรัติทุจริตในขณะนั้น

    ผู้ฟัง ก็ถือเอามาเรื่อยๆ

    ท่านอาจารย์ อันนี้ไม่ทราบจะตรงกับความหมายของคำว่า สมาทาน หรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็ตรง คือที่เราออกมาพูดออกมาเป็นภาษานี้ เป็นภาษาเพื่อจะให้ผู้ฟัง ได้รู้ได้เข้าใจ มาเป็นสื่อ มันก็ต้องเป็นระเบียบคำ โดยเฉพาะภาษาบาลีนี้ ท่านจะต้องแต่งเป็นระเบียบเลย ตามหลักของไวยากรณ์ก็ยิ่งจะทำให้ข้อความสละสลวย

    วิทยากร. นี่มันก็เท่ากับความเป็นตัวเป็นตน ก็เข้าไปหาตรงนั้นอยู่เรื่อยๆ ทั้งๆ ที่มันเป็นอนัตตา

    ท่านอาจารย์ เพราะว่าถ้าคนที่ไม่รู้ภาษาบาลีเลย ไม่ทราบว่าคำว่า สมาทาน หมายความ ถึงการถือเอา เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เขาก็คงจะไม่บอกว่า ดิฉันขอถือเอาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เพราะว่าเขาไม่รู้ภาษาบาลี แต่เขามีเจตนา ตั้งใจที่จะวิรัติจากทุจริต เพราะฉะนั้น เรื่องของคำก็คือว่า ภาษาหนึ่งใช้คำนี้ แต่ว่าถ้าคนไทยจะไม่ใช้คำว่า สมาทาน แต่ว่ามีเจตนา มีความคิดที่จะงดเว้น ขณะนั้นก็เป็นการถือเอาในภาษาบาลีที่ตรงกับคำว่า สมทาน แต่ถือเอาก็ยังต้องมาแแปลเป็นภาษาไทย เพราะว่าถ้าเด็กๆ เราบอกว่าถือเอา เขาก็อาจจะไม่เข้าใจก็ได้

    ผู้ฟัง สมาทานมันอาจจะเป็น

    ท่านอาจารย์ สมาทานคือ

    ถ.อาจจะเป็นบุพเจตนา

    ท่านอาจารย์ คือพูดหรือคิด

    ถ.ทั้งพูดทั้งคิด

    ท่านอาจารย์ พูดดังๆ นี้หรือ

    ผู้ฟัง ผมยกมือไหว้พระพุทธรูป แล้วเราก็นึกถึงพระพุทธเจ้าๆ เวลานี้ผมจะขอถือศีล ๕ ก็รับไป ๒,๓,๔,๕ แล้ววันนั้นไม่มีการฆ่าสัตว์เลย

    ท่านอาจารย์ ดิฉันขอถามนิดหนึ่ง ถ้าไม่มีพระพุทธรูป แล้วก็มีความตั้งใจ ที่จะวิรัติทุจริต ขณะนั้นเป็นสมาทานหรือเปล่า หรือว่าไม่ใช่สมาทาน

    ผู้ฟัง ใช่

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้ไปนั่งอยู่ตรงหน้า แล้วยังไม่ได้ ยกมือแล้วมีความคิด มีการที่จะวิรัติ หรือว่างดเว้นจากทุจริต เป็นสมาทานหรือเปล่า

    ผู้ฟัง เป็น

    ท่านอาจารย์ ใช่

    ผู้ฟัง ผมมีอยู่ ๒ ประเด็น

    ท่านอาจารย์ นี้เป็นก่อน เป็นก่อนอย่างหนึ่ง แล้วอีกอย่างหนึ่ง คือไปนั่ง

    ผู้ฟัง อีกอย่างหนึ่ง คือเราไม่สมาทานเลย

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าอย่างไร ไม่สมาทานเลย

    ผู้ฟัง คือเราไม่ได้พูดว่าวันนี้เราจะรักษาศีล ๕ แต่ขณะนั้นไปเจองูเข้า แล้วเราไม่เหยียบ นี้ก็ถือเป็นการ รักษาศีล ๕ แล้ว เว้นจากข้อ ๑ ผมได้ฟังมาแบบนี้

    ส.ทีนี้ข้ออื่นคงจะไม่ มีปัญหา มามีปัญหาอยู่ที่คำภาษาบาลีว่า สมาทาน อยากจะให้ทุกคนได้เข้าใจชัดเจน ว่าหมายความถึงอะไร เพราะว่าถ้าเรายังไม่เข้าใจจริงๆ เราคิดว่าเราเข้าใจ ตามที่เราได้ยินได้ฟังมาเสมอ แต่ว่าจริงๆ คำนี้หมาย ความว่าอย่างไร ถึงไม่มีพระพุทธรูปเลย ไม่มีใครเลย แต่เราเกิดความคิดจากการที่เราได้ฟังพระธรรม ว่าเราจะไม่ทำทุจริต ขณะนั้นที่เราคิดอย่างนั้น เป็นสมาทาน ในภาษาบาลีหรือเปล่า โดยที่ยังไม่ได้ไปกล่าวตรงหน้าพระหรืออะไรเลยทั้งสิ้น ให้เข้าใจคำนี้ก่อน

    ผู้ฟัง ผมเข้าใจว่า สมาทานมันเป็นความคิดอยู่ในใจ เราจะละเว้น มันอาจจะเป็นปุพพเจตนา ในการสร้างบุญอย่างหนึ่ง บุญที่ฟังมามันมีอยู่ ๓ กาลใช่ไหม ปุพพเจตนา บุญจากเจตนา และอปรเจตนา ถ้าผิด ต้องขออภัยด้วย มีอยู่ ๓ กาล คราวนี้เราสมาทานมันเป็นปุพพเจตนาหรือไม่ คือว่าเราจะไม่ทำบาปข้อ ๑. เราจะไม่ฆ่าสัตว์ วันนี้จะไม่ฆ่าสัตว์แล้ว แล้ววันนี้ทั้งวันเลย ไม่มีสัตว์ที่มาให้เราจะฆ่า

    ท่านอาจารย์ แต่ทั้งวันนี้ หมายความว่า เริ่มต้นตั้งแต่วันที่พูด หรืออย่างไร วันก่อนที่พูด ไม่นับหรืออย่างไร

    ผู้ฟัง ปกติเราก็รับมาทุกวันแล้ว ตั้งแต่เราศึกษาธรรมมา

    ท่านอาจารย์ หมายความว่าอย่างไร รับมาทุกวัน

    ผู้ฟัง หมายความว่าตั้งแต่เราตื่นขึ้นมาเลย จนกระทั่งหลับแล้วตื่นขึ้นมาอีก คือในใจเรา มันแทบจะรักษาศีล ๕ ตลอดชีวิตแล้ว

    ท่านอาจารย์ โดยไม่ต้องพูดก็ได้ ใช่ไหม

    ถ.โดยไม่ต้องพูด

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น สมาทานคืออะไร

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 103
    25 มี.ค. 2567

    ซีดีแนะนำ