ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
ตอนที่ ๖๕๓
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๖
ผู้ฟัง คำว่า เสแสร้ง มายา สาไถ เป็นตัวโลภะส่วนใหญ่ใช่ไหม ส่วนการแข่งดี ที่บอกว่าแข่งดีทางด้านกุศลก็ได้ ทางด้านอกุศลก็ได้ ตรงนี้ยังไม่ค่อยเข้าใจ
ท่านอาจารย์ เพราะว่าบางคนคิดว่า ถ้าคนนั้นทำทานแค่นี้ เราก็จะทำทานให้มากกว่านั้น มองดูก็เป็นลักษณะของอกุศล ถ้าคิดว่าเป็นเขาเป็นเรา ที่ต้องการที่จะทำทานมากกว่าเขา แต่ว่าถ้าเป็นกุศลจิต ที่ต้องการที่จะกระทำทานมากๆ ได้ มีความสามารถที่จะกระทำ คือเท่านั้นก็ไม่พอ ไม่ว่าคนนี้จะทำ เราก็สามารถที่จะกระทำให้มากได้ ด้วยความที่ต้องการที่จะเห็นประโยชน์ เพราะว่าเห็นประโยชน์ของกุศลอย่างนั้นก็ได้ แต่ไม่ใช่ในลักษณะของการแข่งขัน ถ้าเป็นในลักษณะของการแข่งขัน นี่ต้องเป็นอกุศล ไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องแข่ง
เพราะฉะนั้น ถ้ามีใครที่ทำดี อาจจะขยันฟังธรรม หรือว่าถอดเทป หรืออะไรๆ ก็แล้วแต่ ถ้าคิดว่าตัวเอง ก็สามารถที่จะกระทำได้ แล้วก็กระทำมากๆ ด้วย อย่างนั้นก็เป็นกุศลได้ โดยที่มีคนอื่นเป็นคนที่ว่าเมื่อเขาสามารถจะทำได้ ก็คงจะเป็นตัวอย่างให้เรา คิดว่าเราทำได้ไหม ถ้าเราทำได้เราจะทำได้มากไหม อันนั้นก็เป็นเรื่องของการไม่คิดที่จะแข่งขันแบบอกุศล
ผู้ฟัง แล้วการไม่แข่งดี มันก็จะทำให้ไม่เจริญ
ท่านอาจารย์ ไม่เจริญ
ผู้ฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางโลก ทางอะไร ทางชีวิตประจำวัน
ท่านอาจารย์ ถ้าทุกคนเข้าใจว่าแต่ละคน ต้องเป็นไปตามการสะสม จะมากกว่า หรือน้อยกว่า สิ่งที่สะสมมาคงไม่ได้ ความสามารถต่างๆ เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจความจริงอย่างนี้ แล้วก็ทำเต็มความสามารถของเรา ก็ไม่ต้องไปคิดเรื่องที่จะแข่งดีกับใคร เพราะว่าทุกคนก็ทำดีเต็มความสามารถที่ได้สะสมมา แล้วก็รู้ตามความเป็นจริงว่าสะสมมาที่จะเป็นเท่านี้ จะมากเท่านี้ หรือว่าจะน้อยเท่านี้ ก็เป็นปกติธรรมดา
ผู้ฟัง ที่อาจารย์ อธิบาย นี่หมายถึงโลภะ หรือจะเป็น
ท่านอาจารย์ ทุกอย่าง
ผู้ฟัง หมายถึงแข่งทางโลภะ หรือจะแข่งทางธรรมดำ ธรรมขาว
ท่านอาจารย์ ทั้งโลกทั้งธรรม ถ้ามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะไม่มีการแข่งดี
ผู้ฟัง ขอเรียนถาม ขณะนี้ ขณะเรากำลังฟังพระสัทธรรมอยู่นี้ ก็เรากำลังสมาทานอยู่ ใช่หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ สมาทานสิกขาบท ใช่ไหม
ผู้ฟัง ถ้าสูงสุด ก็คือในขณะที่สติระลึกรู้ แต่ก่อนที่สติจะระลึกรู้ เราก็จะต้องฟังก่อน ให้เข้าใจขณะนี้ก็กำลังสมทานอยู่
ท่านอาจารย์ สมาทานสิกขาบท ไม่ได้หมายความว่า จำได้ว่าศีลมีกี่ข้อ แต่ประพฤติปฏิบัติตาม แล้วการที่จะประพฤติปฏิบัติตามได้จริง ก็จะขาดศีลสังวรคงไม่ได้ เพราะเหตุว่าถ้าไม่มีอินทริยสังวรศีล ก็ล่วงไปแล้ว ไม่ได้ตั้งใจว่าจะพูด ก็พูดไปแล้วใช่ไหม แม้สิ่งที่ไม่จริง หรือว่าสิ่งซึ่งไม่น่าฟัง ก็แสดงให้เห็นว่า ถ้าขาดอินทริยสังวร ก็จะมีการล่วงทุจริตได้
เมื่อสมาทานสิกขา ก็คือว่าเป็นสิ่งที่จะประพฤติปฏิบัติตาม ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะจำไว้ ว่าเราเวลานี้จำได้ว่า มีศีล ๕ ข้อ แล้วก็จะไม่ล่วงเพียง ๕ ข้อ พยายามเท่าไรก็คือ จะไม่ล่วง ๕ ข้อนี้ แต่ว่าธรรมทั้งหลายก็เป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีความมั่นคงจริงๆ ว่าจะไม่ล่วง ไม่ใช่เพียงความคิด แต่ด้วยการที่จะอบรมเจริญปัญญาที่สามารถจะไม่ล่วง ถึงความเป็นพระโสดาบัน นั่นคือสมาทานสิกขาบทจริงๆ
ผู้ฟัง กราบเรียนถามอาจารย์ประเชิญตรงนี้ ที่มีคำกล่าวว่า เป็นนักรบ เป็นผู้ที่ยิงได้ไกล ยิงได้ไว ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ ตรงนี้จะมาเปรียบกับการเจริญสติอย่างไร
วิทยากร. นักรบผู้ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ฉันใด อริยสาวก ผู้มีสัมมาวิมุตติก็ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสาวกผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมทำลายกองอวิชชา อันใหญ่เสียได้ อันนี้ท่านแสดงขั้นสูงสุด ใช่ไหม ทีนี้ ถ้าเป็นขั้นอบรมสติปัฏฐาน ซึ่งบางนัยข้าศึกใหญ่ บางนัยท่านหมายถึง ทิฏฐิ แต่ในที่นี้อวิชชาเป็น ข้าศึกใหญ่ ถ้าเป็นขั้นอบรม ที่เป็นขั้นอบรมสติปัฏฐานนี้ จะสงเคราะห์เข้าได้ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีอวิชชา ก็ไม่มีทิฏฐิ ใช่ไหม ทิฏฐิก็ต้องมาจากเพราะมีอวิชชา เวลานี้เราอาจจะไม่รู้ว่า อวิชชามากมายแค่ไหน จนกว่าจะได้ฟังเรื่องของการอบรมเจริญปัญญา เมื่อนั้นก็จะรู้ว่าอวิชชามากมาย เพราะเหตุว่า ทางตาขณะนี้ที่กำลังปรากฏ ต้องรู้ตามความเป็นจริงในสภาพที่เป็นนามธรรม และเป็นรูปธรรม
เพราะฉะนั้น ขณะที่ไม่รู้นี้ ก็คืออวิชชา แล้วจะใหญ่แค่ไหน วันนี้ทั้งวัน เมื่อเช้านี้เท่าไร วันนี้เท่าไร วันก่อนเท่าไร ความไม่รู้ในสิ่งที่ปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะฉะนั้น ต้องทำลายอวิชชา ทีเดียวทันทีไม่ได้ ใช่ไหม ต้องตามลำดับขั้นด้วย ทำลายหมดก็คือ อรหัตตมรรคที่ทำลายได้หมด
ผู้ฟัง แสดงขั้นสูงสุด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ หมดเลย ไม่เหลือเลย
วิทยากร. คุณบง ถ้าพูดถึงว่า เกี่ยวกับการเจริญสติปัฏฐาน ใน จตุกนิบาท อังคุตรนิกาย จตุกนิบาท เล่มเดียวกันนี้ แต่ว่าอยู่ในโยธาชีววรรค ที่ ๔ จะมีพูดถึงเรื่องยิงไกล ยิงไว เรื่องเกี่ยวกับการเจริญสติปัฏฐาน ข้อความมีว่า ในข้อ ๑๘๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ เป็นผู้ยิงได้ไกลอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นด้วยปัญญา อันชอบธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งไกล และใกล้ อันนี้หมายถึงขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีคุณสมบัติ ๑๑ ประการ รูปทั้งหมด ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา นี่ก็ทั้ง ตัณหา มานะ ทิฏฐิ นั่นเอง ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ข้อความก็ละ วิญญาณทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เป็นผู้ยิงไกล อย่างนี้แล ตรงนี้คุณบงพอเข้าใจไหมว่าเป็นสติปัฏฐาน ก่อนที่จะมาเป็นยิงได้ ยิงได้ไกลๆ ต้องไม่เห็นขันธ์ ๕ ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นวัตถุ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง การที่จะไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นวัตถุ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะต้องระลึกรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงที่กำลังปรากฏ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง
ผู้ฟัง อันนั้นยิงไกล ถ้ายิงไว
วิทยากร. ยิงไวนี้ก็ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ยิงได้เร็ว อย่างไร ท่านใช้คำว่ายิงเร็ว ไม่ใช่ยิงไว ยิงเร็ว ก็เหมือนกัน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยิงได้เร็ว อย่างนี้แล อันนี้ก็อย่างที่ คุณประเชิญว่า แหละก็แสดงอย่างอุกฤษณ์ แสดงอย่างที่จะต้องเห็นอริยสัจ ๔ จึงจะเป็นยิงเร็ว นี้ความหมายในอรรถกถาจารย์ ท่านก็อุปมาไว้อย่างนี้ ยิงไกลก็คือเริ่มต้นด้วยการเห็น ขันธ์ ๕ ว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน ส่วนยิ่งเร็วก็ เห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ผู้ฟัง อาจารย์อดิศักดิ์ อย่างที่เรา เรียนอย่างนี้ ตามเข้าใจ ก็พอจะเข้าใจได้ ไม่ใช่เรา มีเป็นรูป เป็นวิญญาณ ก็เข้าใจไปตามที่ฟังอย่างนี้ ถ้าสติปัฏฐานเกิดแล้ว ความมั่นคงมันจะมีมากขึ้นอย่างไร
วิทยากร. แน่นอน ก็ต้องอบรมบ่อยๆ เพราะว่าการเห็นอย่างที่เมื่อเช้าถามว่า เห็นอย่างไร จึงจะเห็นเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น เห็นอันนี้ ไม่ใช่ตาเห็น ไม่ใช่ตาเนื้อ เป็นปัญญาเห็น เป็นญาณเห็นด้วยปัญญา ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น ปรากฏทีไร ก็ปรากฏทางตา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล
ตรงกับว่าที่พระพุทธเจ้าถามว่า เธอเห็นรูป เป็นสัตว์ เป็นบุคคลหรือ หรือเธอเห็นขันธ์ ๕ เป็นสัตว์ เป็นบุคคลหรือ จริงๆ ก็คือต้องเห็นขันธ์ ๕ หรือเห็นรูปเป็นธรรม คือเป็นจิต หรือเป็นเจตสิก หรือเป็นรูป ก็คือเห็นเป็นรูปถึงจะเห็นเป็นธรรม ถ้ายังเห็นเป็นสัตว์ เป็นบุคคลอยู่ ก็เดี๋ยวสัตว์ก็ไปเกิด เดี๋ยวสัตว์ตายแล้วก็เกิด ตายแล้วก็ไม่เกิดก็มี ก็เป็นความเห็นผิด ๔ ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้า จะไม่พยากรณ์ เพราะฉะนั้น ต้องเห็นจนกระทั่งไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ซึ่งอาจารย์เคยพูดว่า สักขณะหนึ่งมีบ้างไหม ที่เห็นเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตาเท่านั้น
ท่านอาจารย์ คนที่เรากล่าวถึงเดี๋ยวนี้ นักรบที่ยิงไกล ยิงไว อยู่ไหน
วิทยากร. ตัวคุณบง นั่นแหละ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่คนอื่น ใช่ไหม นี่เราจะไปอ่านในพระไตรปิฎก เรื่องของนักรบคนหนึ่งที่ยิงไวยิงไกล แต่จริงๆ แล้วผู้ที่เข้าใจธรรม แล้วก็อบรมเจริญปัญญา เป็นนักรบประเภทไหน ใช่ไหม ก็ต้องเริ่มต้นจาก การที่ว่าถ้าสติสัมปชัญญะ ไม่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมเลย จะไปรบอะไรที่ไหน ก็เป็นเรา ทุกอย่างก็เป็นเรา ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นโลภะ เป็นโทสะ เป็นอะไรทั้งหมดก็คือเรา แต่ที่จะไม่ใช่เรา ลองคิดดู สามารถที่จะเห็นถูกจริงๆ ว่าสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ก็คือเป็นสภาพธรรมเท่านั้นเอง แล้วจากการตรัสรู้ ก็ทรงแสดงไว้ว่า เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ แต่ถ้าไม่ใช่นักรบ ก็ไม่มีทางเลยที่จะรบ ที่จะรู้ ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น ถ้าสติสัมปชัญญะ เกิดสักขณะหนึ่ง ก็จะรู้จักนักรบ ใช่ไหม แค่ไหนขั้นไหน หรือว่ายังน้อยมากเลย ใช่ไหม จะยิงหรือว่าจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมก็คือ ไกล หรือยัง เพราะว่ายิงใหม่ๆ ไกลไม่ได้ แม้แต่สิ่งที่กำลังเผชิญหน้า ลองคิดดู ทรงแสดงรูป ๒๘ รูป ว่ารูปหยาบมีเท่าไร นอกนั้นเป็นรูปละเอียด รูปหยาบนี้ก็คือชีวิตประจำวัน มี ๑๒ รูป ในรูป ๒๘ รูป รูปหยาบก็ได้แก่ ตา จักขุปสาท ๑ โสตปสาท ๑ ฆานะปสาท ๑ ชิวหาปสาท ๑ กายปสาท ๑ ซึ่งทุกคนมี ถ้าไม่มีก็ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส มีที่สามารถจะรู้ได้ จึงกล่าวว่าหยาบ พอที่จะรู้ได้ พอที่จะเข้าใจได้ แล้วสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ๑ รูปแล้ว หยาบ เพราะว่าปรากฏลักษณะจริงๆ นี้ปรากฏ ปรากฏให้รู้ให้เข้าใจให้ถูก ว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย สิ่งที่ปรากฏทางตา เราจะไปนึกคิดว่าคนนั้นคนนี้ เรื่องราวต่างๆ มากมาย นั่นเป็นเรื่อง
แต่สิ่งที่ปรากฏทางตาไม่เปลี่ยน ลักษณะจริงๆ ก็คือ สิ่งนี้สามารถกระทบกับจักขุปสาท แล้วปรากฏอย่างนี้เอง กี่ภพกี่ชาติในอดีต จะเป็นรูปที่ประณีต รูปที่ไม่ประณีต ลักษณะหนึ่ง ลักษณะใดก็ตาม
ถ้าสติสัมปชัญญะ เกิดระลึกได้ ว่าเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง เราก็สามารถจะรู้ได้เลย ผู้ที่อบรมมานานแสนนานกว่านี้ แล้วก็มีปัญญา มากกว่านี้ สามารถที่จะประจักษ์ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ จนกระทั่งละคลายความไม่รู้ เพราะว่าจริงๆ แล้วสภาพธรรมไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้เลย จะถามว่าแล้วจะเห็นอย่างนี้ได้อย่างไร ไม่ใช่เห็นด้วยเรา แต่ต้องเป็นปัญญาซึ่ง ค่อยเข้าใจขึ้นในลักษณะของสภาพธรรม ปัญญาเริ่มจากการที่เข้าใจ ถ้าขณะนี้สภาพธรรม ก็ปรากฏอย่างนี้ กำลังพูดอย่างนี้ก็มีสภาพธรรมกำลังปรากฏอย่างนี้ แล้วก็เข้าใจ ค่อยๆ เข้าใจขึ้นว่า เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ขณะนั้นไม่ติดใน นิมิตอนุพยัญชนะ ขณะที่กำลังเข้าใจถูกว่าเป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ชั่วขณะนั้น
นี่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า กว่าที่จะสามารถมีความเห็นถูกขึ้นจนกระทั่งอวิชชาก็ ไม่สามารถที่จะหุ้มห่อ และโลภะก็ไม่สามารถที่จะฉาบทา ในขณะที่สภาพธรรมปรากฏ แต่ก็มากมาย ไม่ใช่เฉพาะสิ่งเดียว เพราะเหตุว่า อย่างที่เรากล่าวแล้ว ว่าในขณะนี้ก็ มีทั้งเห็น ไม่รู้ว่ากี่วาระ เหมือนไม่ดับเลย แต่ก็ยังมีจิตนานาชนิด ทั้งกุศล อกุศลเกิดคั่นอยู่ในระหว่างนั้น นี่ยิงไว หรือว่ายิงไกล ที่สามารถจะรู้ว่าลักษณะนั้นก็เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่ง คือคิดนึก ก็ไม่ใช่เห็น จะเป็นกุศลก็ไมใช่เห็น จะเป็นอกุศลก็ไม่ใช่เห็น สภาพธรรมนานาประการทั้งจิต เจตสิก ที่เราได้ศึกษาแล้ว ก็เกิดดับอยู่ในระหว่างนี้
เพราะฉะนั้น ถ้าจะยิงไกลก็คือสามารถ ที่จะรู้สิ่งซึ่ง แม้ในขณะนี้มี ก็ไม่ได้ปรากฏ เหมือนสิ่งที่หยาบ อย่างสีสันวัณณะต่างๆ หรือเสียง หรือกลิ่น หรือรส หรือโผฏฐัพพะ ก็เป็นการที่เปรียบเทียบ ว่าบุคคลที่ได้อบรมเจริญแล้ว สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะทั้งยิงไกล และยิงไวด้วย
ผู้ฟัง ตอนฟังใหม่ๆ เขาก็ต้องพูดถึงว่าสภาพธรรมเป็นอนัตตาเกิดดับ แต่ถ้าเรายังไม่ทราบว่า สภาพธรรม คืออะไร อะไรคือรูป อะไรคือนาม แล้วเราจะไปรู้ลักษณะอะไรที่มันเกิดดับได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นพหูสูต ต้องฟังมาก ฟังมากที่นี้ไม่ใช่เพียงฟังนับชั่วโมง แต่เป็นความเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง ในเมื่อสติเกิดระลึกรู้ ของสภาพโลภะแล้ว ตามที่เรียนว่า สัมมัปปธาน ๔ ที่เรียกว่า เมื่อระลึกรู้
ท่านอาจารย์ ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะของโลภะ เพราะไปคิดเรื่องสัมมัปปธาน
ผู้ฟัง หมายถึงว่า คือเราคิดในแง่ตอนที่ว่า เมื่อสติระลึกรู้ โลภะ ก็ระลึกรู้ก็เป็นโลภะอยู่เรื่อยๆ แต่ว่าที่ตามหัวข้อ
ท่านอาจารย์ แต่สติที่ระลึก ไม่ใช่ โลภะ ถ้าใช้คำว่าสติระลึกรู้
ผู้ฟัง ต่อจากช่วงนั้น หมายถึงว่าสติระลึกรู้จริงๆ ในช่วงที่เกิดโลภะ หลังจากเกิดโลภะแล้ว ต่อจาก ตรงที่เกิดโลภะเลย กับว่าจะทำอย่างไรถึงจุดที่ว่า
ท่านอาจารย์ จะทำอย่างไร ถึงจุดก็
ผู้ฟัง ว่าเราจะศึกษา
ท่านอาจารย์ จบตอนนี้ หมายความว่า ฟังๆ มาแล้วก็มาจบตอนนี้ คือตอนที่จะทำ
ผู้ฟัง ใช้คำพูดไม่ถูก
วิทยากร. คือต้องรู้ตามความเป็นจริงก็โลภะ ก็เป็นนามธรรม
ผู้ฟัง แต่ว่า ตรงที่ไม่ให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น แล้วก็ยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น เจริญขึ้น
ท่านอาจารย์ ด้วยความเป็นเรา แล้วก็ไม่ถูกต้อง เพราะว่าจะต้องละความเป็นเราทั้งหมด สละความเป็นเรา ไม่มีญาติ ไม่มีพี่น้อง ไม่มีเพื่อนฝูง ไม่มีมิตรสหายใดๆ เลย แต่ยังมีเราใช่ไหม ถ้าท่านเหล่านั้น สูญหายตายจากไปหมด ก็ยังเหลือเรา แต่แม้อย่างนั้น เราก็ไม่มี ไม่ว่าภพไหน ชาติไหน ลองคิดถึงปัญญาที่สามารถสละ ความเป็นเรา จากสิ่งที่รักที่สุด หวงแหนที่สุด เพราะว่าโลกนี้ทั้งโลก จะไม่มีคนอื่น ถ้าไม่มีจิต เจตสิก ซึ่งเกิด แล้วก็เห็นบ้างได้ยินบ้าง แล้วก็คิดนึกบ้าง ปรุงแต่งบ้าง เป็นโลก เป็นเพื่อน เป็นเรา แต่ไม่มีเหลือเลย ปัญญาต้องสามารถที่จะ สละได้ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา หรือแม้แต่สภาพที่กำลังเห็นขณะนี้ ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ธาตุรู้ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ไม่มีว่าทำอย่างไร แต่เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญายิ่งขึ้น
ผู้ฟัง ตรงนี้เข้าใจ
ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่โลภะเกิด ลักษณะนั้นเป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง หลังจากระลึกโลภะแล้ว ก็ระลึกต่อไปว่า เกิดไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ นั่นแหละ แต่ว่าใครคิด ใครคิด เพราะฉะนั้น ยิงไกล และยิงไว ความหมายอยู่ตรงนี้ คือสามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละอย่าง ถูกต้องตามความเป็นจริง แล้วข้าศึกก็ไม่ได้อยู่ไกลเลย ต่อหน้าต่อตาเดี๋ยวนี้แหละ กำลังเห็นนี้แหละ กำลังได้ยินนี้แหละ ทุกขณะ
ผู้ฟัง แต่ก็ทำลายยังไม่ได้
ท่านอาจารย์ ใช่ ก็จนกว่าจะทำลายได้
ผู้ฟัง ถ้าเราเจริญกุศลมากๆ ไป ก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้ สื่อสารเกิดได้ ใช่ไหม สามารถอบรมให้มีเมตตา ได้น่าจะง่ายกว่า ในด้านเจตสิกที่เป็น มีปรมัตถเป็นอารมณ์
ท่านอาจารย์ แล้วก็ควรจะเจริญอะไรที่สุด
ผู้ฟัง ปัญญาเจตสิก
ท่านอาจารย์ แล้วก็จะรออะไร จะรอเจริญเมตตาก่อน หรืออย่างไร มีใครจะวางกฏเกณฑ์ อะไรหรือเปล่า เพราะเหตุว่าแต่ละขณะที่เกิด ไม่มีใครที่สามารถที่จะบังคับบัญชาได้ หรือใครสามารถจะบอกได้ ว่าขณะต่อไป อะไรจะเกิดขึ้น ไม่สามารถจะบอกได้ ใช่ไหม แต่สิ่งที่เกิดแล้ว แสดงถึงปัจจัย การที่สะสมมาอย่างไร ก็เป็นปัจจัยให้สภาพธรรมอย่างนี้ เกิดขึ้น เป็นอย่างนั้น ถ้าเข้าใจอย่างนี้ จะสามารถที่จะเห็น ความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม หรือว่าจะไปเจริญกุศล ซึ่งเราก็เคยเจริญมาแล้ว เพราะว่าเมตตาพรหมวิหาร ก็สามารถที่จะถึงรูปฌานได เป็นรูปฌานบุคคล ถ้าได้ถึงระดับของฌาน ก็สามารถที่จะเกิดเป็นพรหมบุคคลได้ แล้วเราก็เคยเกิดมาแล้วด้วย หรือว่าอาจจะถึงขั้นที่เจริญอรูปฌานกุศล แล้วเกิดเป็นอรูปพรหมบุคคลมาแล้วด้วย แต่ก็ยังไม่ได้ออกจากสังสารวัฏฏ์ แล้วเราก็จะเจริญอย่างนั้นต่อไปอีกเรื่อยๆ หรือว่ามีกุศลที่เรารู้ว่า ประเสริฐ หรือว่าสูงสุดกว่า สังขารธรรมทั้งหลาย สังขตธรรมทั้งหลาย ก็คือการอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมซึ่งสามารถจะอบรมได้ แต่ไม่ใช่ด้วยความเป็นเราต้องการ แต่ด้วยการที่รู้ความจริงว่า สภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนี้ เพราะเกิดแล้วจึงปรากฏ ใครทำอะไรไม่ได้เลยสักอย่างเดียว สักขณะจิตเดียว ให้รู้ตามความเป็นจริงอย่างนี้ให้มั่นคง
แต่การฟังพระธรรมก็จะทำให้กุศลทุกประการเจริญขึ้น แต่ไม่ได้หมายความอย่างที่เราหวัง เช่นหวังจะให้สติปัฏฐานเกิด สติปัฏฐานจะไม่เกิดก็ได้ เพราะว่าปัจจัยไม่พอ หรือหวังจะให้เมตตา กรุณาเกิด วันนี้ก็โทสะเกิด แล้วก็ว่าใครเข้าไปก็ไม่รู้ กี่คำ ก็ได้ นี่ก็เป็นเรื่องของสภาพธรรมตามความเป็นจริง
เพราะฉะนั้น ก็ให้รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่าการดับกิเลสเป็นได้ ดับสนิทไม่เกิดอีกเลยได้ แทนที่จะไปพยายามเพียงแค่ ระงับให้เรามีกุศลจิตมากๆ แต่ว่าพืชเชื้อของอกุศล ไม่ได้ถูกทำลายเลย ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดอกุศลนั้นๆ ประเภทนั้นๆ วันนี้อาจจะเป็นคนดีมาก คอยดูพรุ่งนี้ ถ้ามีปัจจัยพร้อม จะเป็นอย่างไร ไม่สามารถจะมีใครบอกได้เลย แต่ว่ามีหนทางที่จะดับกิเลส เพราะฉะนั้น ควรคิดถึงการดับกิเลส มากกว่าเพียงระงับกิเลส หรือว่าให้เป็นกุศลมากๆ
ผู้ฟัง หมายความว่า ถ้ากุศลประเภทอื่นเกิด ก็ไม่มีทางคือจะวนเวียนอยู่อย่างนั้น
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ขัดเกลากิเลส เพราะว่าไม่ใช่ปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง ไม่จำเป็นต้องมีกุศลอื่นๆ แล้ว ปัญญาถึงจะเกิดได้ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นเรื่องของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน ซึ่งมาจากการฟัง แล้วก็การเข้าใจจริงๆ ในความเป็นอนัตตา เพราะว่าบางคนฟังเรื่องอนัตตา แต่จะทำ แสดงว่ามีความเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า มั่นคงจริงๆ หรือเปล่า ในความเป็นอนัตตา
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดว่า อยากจะเมตตา แต่โทสะเกิดไม่รู้เท่าไรแล้ว อันนี้ทำให้คิดว่า ขณะเมตตาซึ่งน่าจะเกิดง่ายกว่า ปัญญาเจตสิก ก็ยังเกิดลำบาก
ท่านอาจารย์ ก็ดับ เมตตาก็ดับ แล้วตราบใดซึ่งพืชเชื้อของอกุศลยังมีอยู่ ก็เป็นปัจจัยให้อกุศลประเภทนั้นๆ เกิดขึ้น มิฉะนั้นไม่ต้องมีพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่จะทรงตรัสรู้สภาพธรรม และหนทางที่จะดับกิเลส เป็น สมุจเฉทไม่เกิดอีกเลย และโอกาสในชาติหนึ่งๆ ใครรู้ว่าจะได้เฝ้า ได้ฟังพระธรรมถึง แม้ไม่ได้เฝ้า ที่จะมีโอกาสได้ฟังพระธรรม จะมีในชาติไหนบ้าง ชาตินี้เป็นชาติหนึ่ง แต่ไม่รู้ใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่จำเป็นจะให้กุศลประเภทอื่นๆ แข็งแรงมั่นคงก่อน แล้วปัญญาเจตสิก ถึงเกิดทีหลัง อันนี้ไม่ใช่
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660