ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
ตอนที่ ๖๕๕
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ แต่ว่าไม่รู้ เหตุแห่งทุกข์ ความต่างแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับทุกข์ นี่เพียง ๑ ย่อหน้า พระธรรมที่ทรงแสดง แต่ก็แสดงให้เห็นว่าการฟังพระธรรมตั้งแต่ครั้งก่อน ในครั้งโน้น ก็มีบุคคลที่เคยฟังมาก แต่ว่าการฟังของแต่ละคน ผลจะต่างกัน หรือผลจะเหมือนกัน ถ้าฟังเผินๆ กับฟังด้วยความตั้งใจ แล้วก็พิจารณาละเอียดรอบคอบ ผลก็ต้องต่างกัน เพราะฉะนั้น จากอดีตที่อาจจะได้เคยเฝ้า ได้ฟังพระธรรม หรือว่าได้พบพระสาวกในอดีต ได้ฟังพระธรรมก็จะทำให้เรา สะสมสืบต่อมา แล้วส่องไปถึงอดีตว่า แม้จะได้เคยฟังมาแล้วบ้าง หรืออาจจะได้เคยฟัง การฟังของเราในครั้งโน้น ฟังอย่างไหน ฟังอย่างเข้าใจก็สะสมต่างกันไปอีก นานแสนนาน เพราะฉะนั้น ก็จะไม่เป็นบุคคลเก่า แต่ว่าจะมีการสะสม ไม่ว่าจะเป็นบุคคลไหน เพราะกรรมใด สิ่งที่เคยสะสมมาก็จะสืบต่อติดตาม ทำให้เป็นบุคคลนั้น ก็เป็นเรื่องที่ถ้าผู้ใดที่เห็นความละเอียดของธรรม แล้วก็เห็นประโยชน์ จริงๆ ก็ย่อมได้สาระจากพระธรรม เพราะเหตุว่าเป็นพระธรรมที่ทรงแสดงถึงเรื่องการชำแรกกิเลส มีใครไม่คิดจะชำแรกกิเลสบ้างไหม หรือเพียงคิด
ผู้ฟัง มีแต่ทะนุถนอม
ท่านอาจารย์ แล้วก็เก็บความเป็นเราไว้ โดยเข้าใจว่า เป็นกิเลสก็เป็น อย่างนั้นหรือเปล่า นี่ก็แสดงให้เห็นว่าพระธรรมกว่า จะชำแรกถึงกิเลส ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของกิเลสนั้นว่า มากมายแค่ไหน ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ซึ่งจะเป็นผู้ที่เคารพในพระธรรม นอบน้อมต่อพระธรรม แล้วก็เมื่อมีการศึกษาแล้ว ก็รู้ว่ากิเลสก็ละอยาก แต่ก็เริ่มที่จะฟังด้วยความละเอียด แล้วก็น้อมที่จะเคารพในพระธรรม และประพฤติปฏิบัติตาม นี้ก็เป็นย่อหน้าที่ ๑ ไม่ทราบว่าในย่อหน้าที่ ๑ มีข้อสงสัยอะไรบ้างหรือเปล่า เพราะว่าคำอธิบายทั้งหมด จะอยู่ข้างหลัง เพราะว่า แม้ว่า จะได้เข้ามานั่งอยู่ในห้องนี้แล้ว บางคนยังไม่ได้ใส่ใจก็มี กำลังมีเรื่องที่จะต้องพูดกัน สนทนากันยังค้างอยู่ ก็อยากจะพูดเสียหน่อยหนึ่ง แต่ว่าความจริงแล้วในขณะนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเองก็ยัง ทรงทราบว่าใครใส่ใจ ใครไม่ใส่ใจ เคยมีภิกษุที่ฟังแล้ว ขณะกำลังฟังก็ไม่ใส่ใจ ภายหลังก็ไปกราบทูลถามอีกครั้งหนึ่ง ขอให้ทรงแสดงอีกครั้งหนึ่ง พระองค์ก็ทรงทราบว่าแสดงไปแล้ว แต่เพราะไม่ใส่ใจ จึงได้กับมาทูลถามอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้น ก็เห็นจริงๆ ว่า พระมหากรุณาแม้ที่ตรัสว่า เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจะกล่าว
ผู้ฟัง ในพระสูตรที่กล่าวว่า ความต่างจะมีทุกกัณฑ์เลย ตั้งแต่ความต่างแห่งกาม แห่งเวทนา แห่งสัญญา แห่งอาสวะนี้ ทำไมความต่างมันเป็นลักษณะอย่างไร ทำไมจึงต้องกล่าวถึงความต่าง
ท่านอาจารย์ คุณรชฎา ชอบอะไรบ้าง ตั้งแต่ลืมตามาตั้งแต่เช้า คุณรชฎา ชอบอะไรบ้าง
ผู้ฟัง ชอบอาหาร
ท่านอาจารย์ ๑ อย่างแล้ว ต่อไปอะไรอีก
ผู้ฟัง ชอบความสะอาดของบ้าน
ท่านอาจารย์ นี่คือความต่างของกาม หรือเปล่า
ผู้ฟัง พอเข้าใจแล้ว
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นความเข้าใจของตัวเอง
ผู้ฟัง แล้วอย่างสัญญาก็ลักษณะอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง เรื่องกามคุณ ๕ ประการ ตัวอย่างก็คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ตรงนี้จะเป็น อิฏฐารมณ์ที่เป็นวิบาก ใช่ไหม คืออย่างไร ถ้าไม่เป็นอิฏฐารมณ์ เป็นวิบาก มันก็ต้องเป็นเรื่องที่ดี แต่ส่วนเรื่องที่จะติด อันนั้นมันก็เป็นเรื่องของกาม ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ลักษณะของกาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็มี ๒ อย่างใช่ไหม คือเป็นอิฏฐารมณ์ น่าพอใจ กับอนิฏฐารมณ์ ที่ไม่น่าพอใจ แล้วเราจะติดในอารมณ์ชนิดไหน
ผู้ฟัง จากฟังที่บรรยายมา มันก็น่าติด ทั้งยั่วยวนชวนให้กำหนัด อย่างนี้ มันก็ยากที่จะไม่ติด
ท่านอาจารย์ ก็ค่อยๆ ฟัง แล้วก็ค่อยๆ คิด แล้วจะรู้ว่ากำลังค่อยๆ น้อมไปสู่การที่จะชำแรกกิเลสด้วยปัญญา
ผู้ฟัง กราบขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ คนที่ไม่ใช่พระสกทาคามี ไม่สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญา ที่จะดับความยินดีพอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะได้
ผู้ฟัง กุศลวิบากถ้าไม่พิจารณาให้ดี มันก็ทำให้ เกิดอกุศลตามมาได้
ท่านอาจารย์ แน่อน ก็คิดต้นทุกกำไรก็ได้ บางคนที่เป็นนักคิดนักบัญชี ได้มานิดเดียวสิ่งที่ปรากฏทางตาดับ แต่ว่าชวนะโลภะติดข้องในสิ่งนั้น ๗ เท่า เสียงที่ปรากฏทางหูสั้นดับไปแล้ว แต่ว่าชวนจิต ๗ เท่าแล้วก็ ๗ เท่าไปทุกครั้งที่เห็น ทุกครั้งที่ได้ยิน
วิทยากร. ไม่เกี่ยวกับตัวอารมณ์ อารมณ์จะเป็นอิฏฐารมณ์ หรืออนิฏฐารมณ์ก็ได้ อยู่ตรงโวฏฐัพพนะ ถ้าสะสมมาดี ฟังธรรมมาก็เป็นโยนิโสมนสิการะ
ผู้ฟัง บงเข้าใจตรงนี้ แต่พูดถึงว่า การที่ว่าจะเป็นวิบาก ที่ดี มันก็ ถ้าไม่สะสมมา ดี ก็ทำให้กิเลสเกิดต่อได้
ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ กิจของโวฏฐัพพนะ ก็คือเพียงกระทำทาง หรือว่าให้กุศลจิต อกุศลจิตเกิดได้ เพราะเหตุว่าตอนนั้นกำลังเป็นวิถีของวิบาก สัมปฏิจฉันนะจิต เป็นวิบาก สันตรีรณจิตเป็นวิบาก เพราะฉะนั้น การที่เปลี่ยนจากวิบากเป็น กุศล หรืออกุศล ก็ต้องมีจิตที่กระทำกิจนี้ก่อนตามการสะสม
วิทยากร. ถ้ากิเลสมันมีตัว มีต้นให้เห็นได้ สงสัยจะวุ่นวาย น่าดู ไปรู้ว่าใครรักใคร ใครชังใคร วุ่นวาย กิเลสมันไม่มีตัวมีตน มันเป็นนามธรรม ใครจะคิดด่าใคร ใครคิดชังใคร ใครคิดรักใคร ก็ไม่รู้ แต่ตัวเองรู้ คนคิดรู้ พระอรรถกาจารย์ ท่านเปรียบว่า จักรวาลก็ยังแคบ ไม่พอที่จะใส่กิเลส ไม่พอที่จะเก็บกิเลส แต่ว่ามันไม่มีตัว เพราะมันไม่มีตัว มันจึงยาก ยากที่จะรู้ ยากที่จะเห็น กิเลสแปลว่า ธรรมเป็นเครื่องเศร้าหมอง โทสะก็เป็นกิเลส โมหะก็เป็นกิเลส โลภะก็เป็นกิเลส อิสสาก็เป็นกิเลส มัจฉริยะก็เป็นกิเลส มันเป็นกิเลส แต่คำว่า กามกิเลสนี้ ท่านเจาะจงไปเลย ท่านเจาะจงไปเลย คือโลภะหรือราคะ โทสะไม่เกี่ยว โทสะหลีกไปก่อน กิเลสเหมือนกันแต่หลีกไปก่อน ถ้ามาพูดอย่างนี้ ต้องเป็นเรื่องของราคะ มีความกำหนัดยินดี รักใคร่ในรูปที่ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจอะไรอย่างที่คุณบงว่า มันชวนให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มันก็ต้องใคร่ มันก็ต้องกำหนัด ไม่มีทางที่จะไม่ใคร่ ไม่กำหนัด
ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ว่า สำหรับประโยคนี้ ถ้าเรายังติดข้องอยู่ แล้วก็คงอยู่ในวัฏฏะ อย่างไรก็ตาม มันจะต้องอยู่ในวัฏฏะ สิ่งที่ท่านอาจารย์ได้พยายามให้พวกเราเข้าใจก็คือ สติปัฏฐาน ก็เริ่มที่จะระลึกรู้ เรายังไม่ถึงกับไปไกล ถึงกับไป วิวัฏฏะ จะเริ่มอบรมเจริญปัญญา ที่จะให้เข้าไปถึงตรงนั้น ในประโยคนี้ ก็คือสติเกิด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ก็ทั้งหมดแม้แต่ในขณะที่ฟัง ก็ต้องมีสติ ใช่ไหม ขณะใดที่สติไม่เกิด ขณะนั้นก็เป็นโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง แต่ขณะที่กำลังฟังเข้าใจ ขณะนั้นก็เป็นกุศลจิตที่มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ข้อความต่อไป ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ปฏิปทา ให้ถึงความดับกาม นั้น เราอาศัยอะไรกล่าว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ คือรูปที่พึงรู้แจ้งด้วยตา อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจเป็นที่รักยั่วยวนชวนให้กำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยหู กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่พึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ เป็นที่รักยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูกร ภิกษุทั้งหลายก็แต่ว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่กาม หมายความถึงไม่ใช่กิเลส สิ่งเหล่านี้เรียกว่ากามคุณ ในวินัยของพระอริยเจ้า กามคุณก็คือเครื่องผูก กามซึ่งเป็นเครื่องผูก ในวินัยของพระอริยเจ้า ถ้าใครยังไม่เห็นว่ากามเหล่านี้เป็นเครื่องผูก ชื่อว่าวินัยของพระอริยเจ้าหรือเปล่า เราก็ยังคงชอบอยู่นั่นเอง ใช่ไหม ชอบเสียง ชอบกลิ่น ชอบรส ชอบโผฏฐัพพะ ผู้ที่อบรมเจริญปัญญา ที่จะเป็นพระอริยบุคคล หรือผู้ที่เป็นพระอริยบุคคลแล้ว ท่านต้องเห็นว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นเครื่องผูก ในวินัยของพระอริยเจ้า ต้องเห็นว่าเป็นเครื่องผูก
เพราะฉะนั้น เราเห็นหรือยัง ถ้าเรายังไม่เห็น ก็คือเราฟังแล้วก็รู้ว่า มีรูป มีเสียง มีกลิ่น มีรส มีโผฏฐัพพะ เป็นปกติ และรูปในวันหนึ่งๆ เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็เป็นที่น่าพอใจ แล้วก็รู้ว่าเราก็ติด ก็รู้จริงตามนี้ทุกอย่าง แต่ว่ากามคุณ รู้ว่าเป็นเครื่องผูก ในวินัยของพระอริยเจ้า เริ่มที่จะเห็นว่าเป็นเครื่องผูกเมื่อไร เมื่อนั้นก็คือรู้ตามความเป็นจริงว่า กามเหล่านี้เป็นเครื่องผูก ตั้งแต่สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในห้องน้ำ เรื่อยมาจนกระทั่งในบ้านทั้งหมด
วิทยากร. ที่ว่าในป่าลึก ป่าหิมพานต์ มีนายพรานเอาตังไปดักลิง ลิงฉลาดมันก็ไม่ไปแตะ แต่ลิงโง่มันก็ไปแตะพวกเราไม่ทราบว่าจะอยู่ในประเภทลิงโง่หรือลิงฉลาด คือเอาเท้าไปแตะ เท้าหนึ่งก็ติด เท้า ๒ แตะก็ติด เท้าหน้า มือ แตะ ขวาก็ติดซ้ายก็ติด ติดเสียทำอย่างไรจะให้มันออกได้ ก็เพราะความโง่ของตัว ก็เอาปากไปช่วย ก็ติดปากอีก
ผู้ฟัง ตรงนี้ก็เป็นพระมหากรุณาคุณของพระพุทธองค์ ที่แสดงให้ทราบว่า แม้แต่สิ่งที่ดีๆ ท่านอาจารย์ก็ยังจะชอบไม่ได้
ท่านอาจารย์ นี่คือความต่างของปุถุชนกับผู้ที่อบรมเจริญปัญญา
ผู้ฟัง สงสัยตั้งแต่แรกๆ สัตว์ทั้งหลายพึงทราบกาม ทราบเวทนาเป็นเวทนา พึงทราบสัญญา คือไปเรื่อยๆ จนถึง พึงทราบทุกข์ ตรงความหมายคำว่าพึงทราบนี้ ทราบโดยที่เป็นนามธรรม หรือรูปธรรม
ท่านอาจารย์ ต้องตั้งแต่ต้นไป เพราะว่าถ้าพูดถึงสัญญา แล้วยังเป็นเรา ก็คือไม่ได้เข้าใจสภาพธรรม
ผู้ฟัง ท่านแสดงว่าวิบากแห่งกามเป็นไฉน แล้วก็วิบากแห่งเวทนา เป็นต้นไป คือสงสัยว่า ที่พูดกันว่าเป็นวิบากหมายถึงวิบากจิต และเจตสิก
ท่านอาจารย์ อันนี้ทรงแสดงโดยละเอียดตั้งแต่ เหตุที่จะให้เกิดอย่างนั้น พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัส ไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า ความกำหนัดที่เกิดด้วย สามารถแห่งความดำริ ของบุรุษ ชื่อว่ากาม ค่อยๆ อ่านค่อยๆ พิจารณาไป ว่าเป็นพระธรรมที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียดว่า ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษชื่อว่ากาม ไม่พ้นจากโลภะ ใช่ไหม เวลาได้ยินคำว่ากาม แล้วก็มีความดำริด้วย
ผู้ฟัง ตกลงดำริในที่นี้เป็น ตรึกหรือเป็นปัญญา
ท่านอาจารย์ แล้วความกำหนัดเป็นปัญญาหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่ใช่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ความกำหนัดที่เกิดด้วย สามารถแห่งความดำริ
ผู้ฟัง ชื่อว่ากาม
ท่านอาจารย์ ใช่
ผู้ฟัง ก็คิด ดำริในที่นี้ ก็หมายความว่าคิดนึกหรือตรึก
ท่านอาจารย์ ถ้าเพียงเห็น แล้วก็ดับ จิตเห็นจะมีโลภะ เกิดร่วมด้วย ได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ จิต เห็น จักขุวิญญาณ มีโลภะเกิดร่วมด้วยได้ไหม
ผู้ฟัง ก็ต้องไปเกิดที่ชวนะ
ท่านอาจารย์ เป็นสภาพธรรม เวลาที่ โลภะความติดข้องเกิดขึ้น ขอทวนอีกที พระผู้มีพระภาค ผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัส ไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ต่อไปอีกว่า ความกำหนัดที่เกิดด้วย สามารถห่งความดำริ ของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ไม่ชื่อว่ากาม มุ่งที่จะกล่าวถึงโลภะ ความกำหนัดที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ชื่อว่ากาม อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลกย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของตน ส่วนว่าธีรชนทั้งหลาย ย่อมกำจัดความพอใจในอารมณ์อันวิจิตรเหล่านั้น นี่ก็ชัดเจน อารมณ์ไม่ใช่สภาพรู้ อารมณ์ที่ดีก็เป็นลักษณะของสภาพนั้นของอารมณ์นั้น อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจก็เป็นลักษณะของอารมณ์นั้น สภาพนั้น อารมณ์ไม่ได้รู้อะไรเลย ว่าใครจะรัก ใครจะชัง เพราะฉะนั้น อารมณ์อันวิจิตรทั้งหลายในโลก ย่อมตั้งอยู่ตามสภาพของตน ส่วนว่าธีรชนทั้งหลายย่อมกำจัดความพอใจในอารมณ์ อันวิจิตรเหล่านั้น อารมณ์ก็เป็นอารมณ์จริงๆ แล้วก็ปรากฏน้อยมาก สั้นมาก ชั่วจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะแล้วก็ดับ เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง แม้แต่การกำจัด ความยินดีในอารมณ์นี่ ก็จะต้องอาศัยสติปัฏฐาน
ท่านอาจารย์ หนทางเดียว คงไม่ต้องกล่าวเลย เพราะว่า มีหนทางเดียวจริงๆ
ผู้ฟัง ท่านกล่าวถึงผู้ที่ยังมีความเกี่ยวข้อง คือมีกามราคะที่จะเป็นเครื่องผูกมัด แต่สำหรับของเราปุถุชน เรามีความกำหนัดอยู่ในกามคุณ เพราะฉะนั้น วันๆ ก็คือเป็นผู้ที่แสวงหากามคุณ ใช่ไหม โดยมาก
ท่านอาจารย์ ใช่
ผู้ฟัง ทีนี้อย่างพระภิกษุๆ ที่เป็นปุถุชน ถ้าท่านไปบิณฑบาตก็คือ จะกล่าวได้ไหมว่าไปแสวงหากาม
ท่านอาจารย์ ท่านแสวงหาอาหาร หรือแสวงหากาม
ผู้ฟัง อาหารก็เป็นกามด้วย
ท่านอาจารย์ แล้วอยู่ได้ไหม ถ้าไม่มีอาหาร
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องกำจัดอารมณ์ แต่เป็นเรื่องกำจัดกิเลส ความยินดีพอใจในสิ่งนั้น
ผู้ฟัง อย่างเช่น ถ้าปุถุชนไปหาอาหาร ถ้ากล่าวว่าเป็นการแสดงหากาม แต่ถ้าผู้ที่ไม่มีราคะแล้ว ลักษณะเดี่ยวกันคือไปแสวงหาอาหาร อย่างนั้นก็ไม่เรียกว่าไปแสวงหากาม
ท่านอาจารย์ เป็นผู้ตรง ธรรมต้องตรงจริงๆ ขณะใดที่อกุศลจิตเกิดต้องเป็นอกุศล จะศึกษาธรรมมากเท่าไร จะบอกว่าเป็นกุศลไม่ได้ ต้องตรงคือ อกุศลเป็นอกุศล เพราะฉะนั้น แม้พระภิกษุ ท่านก็เดินบิณฑบาต อกุศลจิตเกิดก็ต้องเป็นอกุศล ความยินดีในภัตตาหาร หรือในบิณฑบาตก็ต้องเป็นอกุศล เปลี่ยนแปลงสภาพธรรม ไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงกำจัดกามคือความยินดี ในอารมณ์อันวิจิตร
ผู้ฟัง น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ก็ต้องหมายถึงผู้ที่ยังมีราคะอยู่ที่จะทำให้น่ารัก น่าใคร่ ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด
ท่านอาจารย์ แล้วอารมณ์ เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เพราะว่าอารมณ์มี ๒ อย่าง คืออารมณ์ที่น่าพอใจ กับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ถ้าเป็นอารมณ์ที่น่าพอใจ อารมณ์ที่ดี เราจะไปเปลี่ยนลักษณะนั้นให้เป็นอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจไม่ได้ เพราะฉะนั้น แม้อารมณ์นั้นจะเป็นที่น่าพอใจ อารมณ์นั้นก็ยังคงเป็นอารมณ์ที่น่าพอใจ แต่แก่ใคร แก่ผู้ที่ยังมีความยินดีพอใจ ไม่ใช่กับผู้ที่หมดความยินดีพอใจแล้ว แต่อารมณ์นั้นเปลี่ยนไม่ได้
ผู้ฟัง ดิฉันก็กราบอนุโมทนากับท่านอาจารย์ ที่ท่านอาจารย์ได้กรุณาแสดงถึง การอบรมเจริญสติปัฏฐาน เพราะถ้าเผื่อไม่ได้เข้าใจตรงนี้ เมื่อสิ่งที่ดีเกิดขึ้น อกุศลมันก็เกิดอยู่ตลอด แต่ท่านอาจารย์แสดงให้ระลึกรู้สภาพธรรม ที่เกิดขึ้นตามความจริง ขณะนั้นก็มีกุศลเกิดแทรกขึ้นได้
ผู้ฟัง ขอทำความเข้าใจกับท่านอาจารย์อีกที ที่บอกว่า ธีรชน ไม่สามารถที่จะกำจัดอารมณ์ อันวิจิตรเหล่านั้นได้ พูดถึงอารมณ์อันวิจิตร อันนี้ก็หมายถึงอิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ดี เพราะจริงๆ แล้วโดยสภาพธรรม ก็คือการได้รับผลของกรรม ที่ว่าจะได้รับอารมณ์ที่ดี หรือไม่ดี เป็นวิบากจิต ซึ่งเป็นผลของกรรมอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น เราไม่สามารถที่จะกำจัดอารมณ์นั้นได้ แต่สิ่งที่เราควรจะต้องกำจัดคือ กิเลสหรือว่าอกุศลจิต ที่เกิดในจิตของเรา
ท่านอาจารย์ แล้วก็ต้องรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงว่ารูป ไม่มีใครไปทำอะไรได้เลย ไปเปลี่ยนแปลงลักษณะของรูป จากรูปที่น่าพอใจ ให้เป็นรูปที่ไม่น่าพอใจก็ไม่ได้ จากรูปที่ไม่น่าพอใจ ให้เป็นรูปที่น่าพอใจก็ไม่ได้ ลักษณะของรูปเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น แต่ว่าผู้ที่มีความยินดีติดข้อง ก็ละความยินดีติดข้อง
ผู้ฟัง แล้วที่ท่านอาจารย์ถามว่า ความดำริของบุรุษ ในประโยคที่บอกว่า ความกำหนัดที่เกิดด้วยสามารถแห่งความดำริของบุรุษ ความดำริในที่นี้ ก็คือ วิตกเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิต ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาพระอภิธรรม ก็จะทราบ ในขณะนั้นต้อง เป็นขณะที่มี ความดำริหรือวิตกเจตสิก เกิด
ผู้ฟัง ที่ท่านบอกว่า ผัสสะ เป็นเหตุเกิดแห่งกาม ซึ่งท่านก็บอกอยู่แล้วว่า กาม ในที่นี้ เป็นกิเลสกาม ก็คือโลภเจตสิก เพราะฉะนั้น อันนี้จะหมายถึงว่า ผัสสะที่กระทบอารมณ์ แล้วเป็นปัจจัยให้โลภมูลจิตเกิดขึ้น
ท่านอาจารย์ ในอารมณ์ต่างๆ เพราะว่ามีอารมณ์ต่างๆ ใช่ไหม แล้วความยินดีพอใจก็พอใจในอารมณ์ต่างๆ แต่ที่ความพอใจจะเกิดในอารมณ์ต่างๆ ได้ ก็เพราะ ผัสสเจตสิกกระทบอารมณ์ใดก็เป็นเหตุให้เกิดความพอใจในอารมณ์นั้น ขณะนี้กาม ความพอใจ กำลังพอใจอะไร เห็นไหม ว่าเป็นเรื่องที่เราพิสูจน์ได้ทุกขณะ ถ้าจะพิสูจน์ธรรม ทุกขณะได้เลย ขณะนี้กำลังพอใจในอะไร
ผู้ฟัง ในสิ่งที่ปรากฏทางตา
ท่านอาจารย์ ในสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะผัสสะกระทบสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น ไม่ว่าความพอใจจะเกิด เมื่อไร ขณะไหน เพราะผัสสเจตสิกกระทบอารมณ์นั้นในขณะนั้น ยังไม่ทันเปิดตู้เสื้อผ้า จะพอใจในเสื้อตัวหนึ่ง ตัวใดในตู้ได้ไหม ผัสสะยังไม่ได้กระทบ แต่ถ้ากระทบอารมณ์ใด หรือว่ามีความพอใจในขณะใดเกิดขึ้น ก็ให้ทราบว่าขณะนั้น เพราะผัสสะกระทบอารมณ์นั้น ก็เกิดความพอใจในอารมณ์นั้น แล้ววันนี้พอใจกี่ขณะ ก็คือผัสสะนั่นแหละกระทบอารมณ์นั้นๆ ขณะใด ก็เป็นปัจจัยให้เกิดความพอใจ ในสิ่งที่กำลังรู้ในขณะนั้น
ผู้ฟัง ผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา
ท่านอาจารย์ แล้วเวลาที่เวทนาเกิด มีกาม ความพอใจเกิดหรือเปล่า
ผู้ฟัง เวทนาเป็นปัจจัยให้เกิด
ท่านอาจารย์ เวทนาล้วนๆ ได้ไหม มีเวทนาอย่างเดียว ผัสสะกระทบแล้วมีแต่เวทนาอย่างเดียวเกิด
ผู้ฟัง อย่างนี้แสดงว่า ท่านละไว้ในฐานะที่เข้าใจ
ท่านอาจารย์ แน่นอน คือการศึกษาธรรมทั้งหมด ต้องเข้าใจธรรมมาก่อน โดยเฉพาะพระสูตร ที่จะเข้าใจได้ ก็ต้องรู้ว่า ในขณะนั้นรวมสภาพธรรมอื่นด้วย เมื่อกี้นี้คุณกุลวิไล พอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตาเมื่อกี้ เดี๋ยวนี้พอใจในอะไร
ผู้ฟัง ที่จริงสภาพธรรม ก็ปรากฏอยู่ ๕ ทาง ที่เป็นที่ติดข้อง
ท่านอาจารย์ ไม่รู้ เห็นไหม ทั้งๆ ที่พอใจอยู่ก็ไม่รู้ แต่ทั้ง ๕ ทางนี้ ส่วนใหญ่ก็เป็นโลภะ ถ้าขณะใดที่กุศลจิตไม่เกิด แม้อกุศลจิตเกิดก็ไม่รู้ อย่างเมื่อกี้นี้ถามว่าคุณกุลวิไล พอใจอะไร คุณกุลวิไล ตอบว่าพอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตา นั่นต่อไปก็จะเป็นการพอใจในเสียง จะเป็นความพอใจในอะไรก็ได้ คือผู้นั้นเป็นผู้ที่ตรง ที่จะรู้ตามความเป็นจริงได้ว่าขณะนั้นมีความติดข้องพอใจในอะไร แต่ว่าถ้าไม่ใช่สติสัมปชัญญะ ไม่มีทางจะรู้เลย เพราะว่ามี ๕ ทาง ที่ปรากฏแล้วเกิดดับ อย่างรวดเร็วได้ แต่ถ้าจะถามให้ตอบตามทฤษฏีตอบได้ ว่าพอใจในสิ่งที่ปรากฏทางตาในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ แต่ว่าตามความเป็นจริงก็คือว่า ขณะหนึ่งขณะใดก็ตามที่มีความพอใจเกิดขึ้น ตอนนี้ทราบว่าเพราะผัสสะเป็นเหตุทั้งนั้น ต่างขณะกัน นี่คือข้อความ ต่อไปที่ว่า ก็ความต่างกันแห่งกาม เป็นไฉน คือกามในรูปเป็นอย่างหนึ่ง กามในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง กามในกลิ่นเป็นอย่างหนึ่ง กามในรสเป็นอย่างหนึ่ง กามในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่าความต่างแห่งกาม
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660