ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
ตอนที่ ๖๕๗
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๖
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็ยกเรื่องของกาม ซึ่งเป็นภพภูมิซึ่งจะ ต้องรู้ตามความเป็นจริง ต้องละความติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเสียก่อน ตามความเป็นจริง ถึงจะสามารถที่จะดับความยินดีพอใจในอย่างอื่น ซึ่งไม่ใช่เป็นชีวิตประจำวัน แต่สำหรับเป็นบางบุคคล เช่น เป็นพรหมภูมิ หรือว่าอะไรพวกนั้น แต่ถึงอย่างไรก็ต้องดับ กามาสวะ หรือว่ากามาราคานุสัย เพราะว่าอย่างไรๆ จะพ้นไม่ได้ในเมื่อมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย ก็จะต้องมีการเห็น การได้ยิน แล้วก็ต้องพอใจในสิ่งต่างๆ เหล่านี้แหละ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวถึงเรื่องนี้ให้เห็นตามความเป็นจริง
ผู้ฟัง แม้แต่โลภะของพระโสดาบันด้วย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ โลภะ แล้วไม่ต้องจำกัดเลย ต้องดับหมด แต่เมื่อยังไม่ใช่พระโสดาบัน ก็ต้องศึกษาเพื่อที่จะให้เข้าใจ เพื่อที่จะอบรม ให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน ถ้ายังไม่เห็นโทษ ยังไม่รู้ว่าเป็นเครื่องผูก ยังไม่รู้ว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเครื่องผูกมัด ก็จะไม่เห็นว่าเราควรที่จะละ หรือว่าคลาย ด้วยความรู้ ความเข้าใจ ที่ค่อยๆ อบรมไปทีละเล็ก ทีละน้อย เพราะเหตุว่าเราติดมานานแสนนาน นานจนกระทั่งแม้เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี ก็ยังมีความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยังไม่ได้ดับเป็นสมุจเฉท
ผู้ฟัง วิบากในที่นี้ ไม่ใช่วิบากเจตสิก
ท่านอาจารย์ เพื่อที่จะให้ชี้ถึงผล ซึ่งเกิดจากกาม ก็จะแสดงให้เห็นว่า ความยินดีพอใจ มีอะไรเป็นเหตุ
ผู้ฟัง มีผัสสะ
ท่านอาจารย์ ผัสสะเป็นเหตุ เมื่อมีผัสสะกระทบอารมณ์ใด ก็มีความติดข้องในอารมณ์นั้น นี่ตอนหนึ่ง แล้วก็มีความติดข้องแล้ว อะไรต่อไป การที่บุคคลผู้ใคร่อยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากความใคร่นั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญ หรือส่วนมิใช่บุญ นี้เรียกว่าวิบากแห่งกาม ต่อไปก็จะเป็นวิบากแห่งเวทนา วิบากแห่งสัญญาทั้งหมด นี่ก็แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีสภาพธรรม ที่ติดข้องแล้วก็จะมีการกระทำ เมื่อมีการกระทำแล้ว ผลของการกระทำนั้นมีไหม ก็จะติดตามมา เพราะฉะนั้น เราก็จะต้องเข้าใจความสืบเนื่องด้วย ว่าเพราะเหตุว่า มีความยินดีติดข้องในกาม ก็ทำให้มีการกระทำ ของอัตภาพแน่ๆ ใช่ไหม ทุกคนก็ทำมาแล้ววันนี้มากมาย แล้วเมื่อมีการกระทำแล้ว ผลก็คือวิบากซึ่งต้องเกิดขึ้น
ผู้ฟัง เวทนาที่เป็นวิบากในที่นี้
ท่านอาจารย์ คือการที่บุคคลผู้ใดเสวยเวทนาอยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากเวทนานั้นๆ ให้เกิดขึ้น ทุกคนต้องเสวยเวทนา ใช่ไหม แล้วแต่ว่าจะเป็นเวทนอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ไม่ใช่ว่ามีเวทนาแล้วก็จะไม่มีการกระทำใดๆ ทั้งสิ้น ทรงแสดงให้เห็นถึง เหตุที่จะให้เกิดการกระทำ ซึ่งเป็นบุญหรือบาป แล้วบุญหรือบาปนั้นก็ทำให้เกิดวิบาก ซึ่งเป็นผล
ผู้ฟัง คือผลของการกระทำ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ต้องโยงกันไปตลอด อย่างความติดข้องโลภะก็มีผัสสะเป็นเหตุ พอถึงเวทนา ก็มีผัสสะเป็นเหตุ เพราะฉะนั้น เราก็ต้องทราบว่า เมื่อมีผัสสะกระทบเวทนานั้นๆ เกิดขึ้นแล้ว ต่อไปคืออะไร ไม่ใช่ว่าหยุดอยู่เพียงแค่นั้น แต่ว่าวิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน เพียงแค่มีการที่เห็น แล้วก็มีการติดข้อง นั่นหรือจะเป็นเหตุให้เกิดวิบาก ที่เป็นวิบากแห่งเวทนาเป็นไฉน คือการที่บุคคลนั้นกำลังมีเวทนานั้นอยู่ ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากเวทนานั้นๆ ให้เกิดขึ้น เป็นส่วนบุญหรือเป็นส่วนมิใช่บุญ ต้องมีการกระทำด้วย ใช่ไหม เราทุกคนมีเวทนา เวลาที่มีผัสสะกระทบอารมณ์ใด ก็มีเวทนาในอารมณ์นั้น เท่านั้นหรือที่จะเป็นเหตุให้เกิดวิบาก หรือว่ามีการกระทำ คืออัตภาพที่มีอยู่ในขณะนั้น ที่มีเวทนานั้นก็เป็นเหตุให้กระทำกรรมนั้นๆ ซึ่งเป็นส่วนแห่งบุญหรือเปล่า แล้วก็จะทำให้เกิดผล ซึ่งเป็นวิบาก คุณวรศักดิ์ มีผัสสะใช่ไหม ถ้าไม่มีผัสสเจตสิกจะเห็นได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่ได้ เพราะฉะนั้น การฟังก็คือให้เกิดความเข้าใจขั้นปริยัติก่อน ว่าความจริง เป็นอย่างนี้ เมื่อเห็นว่าความจริงเป็นอย่างนี้ ก็เป็นความเข้าใจระดับ ๑ ซึ่งจะเป็นปัจจัยให้มีการอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่สติระลึก เพราะผัสสะอีก ใช่ไหม เพราะฉะนั้น เวลาที่ผัสสะกระทบแล้ว มีความยินดีติดข้อง ในสิ่งที่กำลังเป็นอารมณ์หรือเปล่า
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ มี เมื่อมีแล้วทำอะไรต่อไปอีกหรือเปล่า ในวันหนึ่งๆ นี่คือชีวิตประจำวัน ทุกคนเมื่อกี้นี้ ทำอะไรบ้าง เพราะความติดข้องหรือเปล่า
ผู้ฟัง ทำ ทำทั้งเป็นกุศล
ท่านอาจารย์ แล้วขณะนั้น มีเวทนาหรือเปล่า
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ แล้วก็เวทนาที่เกิดขึ้นก็ เพราะมีอัตภาพ ก็ทำให้มีการกระทำที่เป็นบุญเป็นบาปหรือเปล่า และบุญบาปนั้น ก็เป็นปัจจัยที่จะให้เกิดวิบาก ก็เป็นชีวิตประจำวันจริงๆ ที่เราศึกษามาแล้ว จะแสดงโดยนัยไหนก็ได้ ถ้าแสดงโดยนัยนี้ ก็คือชี้ไปที่เหตุ คือโลภะ
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ก็ไม่พ้นจากรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เราได้รับในชีวิตประจำวัน เช่น สุขทางกาย เราก็ชอบสุขเวทนาที่เกิด กายวิญญาณ เราก็ขวนขวาย ที่จะหาสุขเวทนาเช่นนี้อีก
ท่านอาจารย์ แต่เราไม่รู้เหตุ จึงได้ทรงแสดง ถึงได้แก่อะไร แล้วก็เหตุอะไร แล้วก็ผลอะไร หนทางที่จะดับ ดับอย่างไร ไม่อย่างนั้นจะเป็นชีวิตจริงๆ ได้ไหม ถ้าให้เป็นไปอย่างนี้ ไม่เป็นชีวิตจริงๆ เดี๋ยวนี้ จะเข้ากันได้ไหมกับพระธรรม
ผู้ฟัง ไม่ได้
ผู้ฟัง วิบากแห่งกรรม กับวิบากแห่งเวทนา โดยอรรถ แล้วก็คืออันเดียวกัน
ท่านอาจารย์ ต้องมีผล หมายความว่าเมื่อมีกาม ความติดข้อง ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะแล้ว ชีวิตประจำวัน จริงๆ เป็นอย่างไร เมื่อมีผัสสะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา เมื่อมีเวทนาแล้วชีวิตจริงๆ นี้คืออย่างไร นี้คือการที่ทรงแสดงถึงชีวิตจริงๆ โดยนัยนี้ ที่ว่าต้องมีการกระทำด้วย ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดวิบากด้วย
ผู้ฟัง อัตภาพในที่นี้ก็รวมทั้งนามธรรม รูปธรรมที่ได้จากการกระทำกรรมตรงนั้น
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ เอาชีวิตจริงๆ วันนี้เลย หรือเมื่อกี้นี้ก็ได้ หรือขณะนี้ก็ได้ อย่างเมื่อกี้นี้ ใครไม่มีอัตภาพ ไม่มี ทุกคนมี แล้วก็มีผัสสะไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ แล้วก็มีความติดข้องไหม แล้วทำอะไรหรือเปล่า เป็นบุญ หรือเป็นบาป ก็เป็นเหตุให้เกิดผลไหม
ผู้ฟัง เรื่องอามิส อย่างเช่นว่า สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสโดยอุกฤษฏ์แล้ว เวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส จะเป็นตอน ขณะจิตที่เป็นมรรคจิต ได้ไหม แล้วถ้าไม่เป็นมรรคจิต แล้วในชีวิตประจำวัน สุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิส ขอทราบสภาพธรรม
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีก็ไม่มี ไม่ใช่หมายความว่า เราจะต้องมี แต่ผู้ที่เห็นโทษของกาม แล้วก็อบรมเจริญความสงบของจิต มีเวทนาไหม
ผู้ฟัง มีเวทนา
ส.แล้วเวทนานั้น เจือด้วยอามิสหรือเปล่า
ผู้ฟัง ถ้าเป็นสมถะ นี่สำหรับของหนูเองเจือด้วยอามิสเพราะหนูมีความติดข้องยินดีติดใจ แต่ถ้าในขณะที่
ท่านอาจารย์ นั้นของเรา หรือความจริง
ผู้ฟัง ความจริง
ท่านอาจารย์ ความจริงต้องผู้ที่ไม่มีอามิส เพราะอะไร
ผู้ฟัง ถ้าไม่มีอามิส ก็จะต้องเป็นตอนที่สติปัฏฐานเกิด หรือว่าเป็นวิปัสสนาญาณ ระดับ
ท่านอาจารย์ แล้วพวกฌาน ถ้าไม่เห็นโทษของกาม ที่จะไปอบรมเจริญความสงบ
ผู้ฟัง เห็น
ท่านอาจารย์ เห็นโทษของกาม หรือเป็นไปเพราะกาม
ผู้ฟัง ทำไปเพราะว่าขณะที่นั่ง มีสุขเวทนา
ท่านอาจารย์ ก็ติดแล้วนั่นกามแล้ว เรียกว่าไม่เป็นกามได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สมถภาวนา
ผู้ฟัง ต้องเป็นวิปัสสนาภาวนา
ท่านอาจารย์ เรื่องของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะแล้วก็มีความยินดีติดข้อง ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ว่าสานิสา บทว่าตรงนี้ สัมปยุตตด้วยอามิส คือ กิเลส แต่กิเลสในอะไร
ผู้ฟัง ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้าไม่เข้าใจตอนนี้ เราก็จะไม่เข้าใจข้อความที่ว่า สุขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิส
ผู้ฟัง ตรงที่แสดงเรื่องสัญญากับ เรื่องกาม ถ้าจะต่างกันตรงที่ว่า เรื่องกามจะไม่มีธรรม แต่ว่าตรงนี้จะมีธรรมสัญญาด้วย
ท่านอาจารย์ แล้วธรรมสัญญา เป็นเรื่องที่ควรจะต้องรู้ด้วยหรือเปล่า
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ ที่จริงแล้วเวลาที่ มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ กระทบปรากฏ ยังไม่ดับ ใช่ไหม แต่สัญญาก็ยังสามารถ ที่จะจำแม้สิ่งที่ดับแล้ว หรือว่าสภาพธรรมอื่นที่ไม่ใช่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แต่เป็นธรรมารมณ์ ก็ไม่ใช่รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะฉะนั้น ถ้าจะรู้จักสัญญา ก็รู้จักถึงธรรมารมณ์ด้วย
ผู้ฟัง แต่ว่าในส่วนที่เป็นกามก็คือ ส่วนใหญ่ เราก็จะติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ท่านอาจารย์ กล่าวเฉพาะรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อีกอย่างหนึ่ง ก็คือว่า วันหนึ่งๆ โดยมากอาสวะ ก็จะเป็นไปในกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
ผู้ฟัง แต่ทีนี้อาสวะที่จะเป็น เหตุให้เกิดในเทวโลกด้วย ซึ่งก็น่าสงสัยหลายประการด้วยกัน ทำไมอวิชชาจึงเป็นเหตุให้เกิดอาสวะ
ท่านอาจารย์ อวิชชาเป็นเหตุให้เกิดอะไรบ้าง
ผู้ฟัง สังขาร
ท่านอาจารย์ หมดเลย
ผู้ฟัง รวมอยู่แล้ว ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ อวิชชาก็เป็นเหตุให้เกิดอาสวะ แล้วอาสวะก็เป็นเหตุให้เกิดอวิชชา
ผู้ฟัง แต่นัยอื่นที่เราได้สนทนามา ทั้งกามก็ดี เวทนา สัญญา ผัสสะเป็นแดนเกิด แล้วตรงนี้ถ้าจะกล่าวอย่างนี้ก็ ไม่ถูก ใช่ไหม อาสวะเกิดจากผัสสะ อะไรอย่างนี้
ท่านอาจารย์ เดี๋ยว หมายความว่า อาสวะ ไม่ได้เกิดจากผัสสะ
ผู้ฟัง ก็ด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น การศึกษาของเราต้องเข้าใจให้ละเอียดขึ้น ไม่ได้หมายความว่าเมื่อท่านไม่กล่าวอย่างนี้แล้วจะไม่มีผัสสะ แต่ที่กล่าวตรงนี้เพราะว่ากล่าวถึงอาสวะ ซึ่งเป็นกิเลสอีกระดับ ๑ ไม่ใช่เป็นการที่เหมือนกับการที่จะปรากฏลักษณะของความติดข้อง อย่างความติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ทั้งๆ ที่ก็เป็นความติดข้องนั่นแหละ แต่ความบางเบาของอาสวะกิเลส แทบจะเรียกว่าไม่รู้สึกตัวเลย อย่างวันนี้ ใครไม่มีอาสวะบ้าง คือถ้าพูดถึงชีวิตประจำวัน อาจจะทำให้เข้าใจได้ เช่นวันนี้มีใครไม่มีอาสวะ เมื่อกี้ถามว่าใครไม่มีโลภะ ทุกคน ก็บอกมีกันทั้งนั้นเลย ใช่ไหม แต่ตอนนี้ถามถึงว่า ใครไม่มีอาสวะ
ผู้ฟัง ก็ไม่มี
ท่านอาจารย์ ไม่มี เมื่อไร แทบจะไม่รู้เลย ว่าเป็นอาสวะ อย่างกามาสวะ นี่ทันทีที่เห็นจะรู้ได้อย่างไร ๑๗ ขณะที่รูปเกิดแล้วดับไป แล้วก็ชวนะเพียง ๗ ขณะ เกือบจะไม่รู้สึกตัวเลยว่าขณะนั้นมีความติดข้องแล้ว เพราะว่าไม่ปรากฏ ความพอใจที่แสดงให้เห็นว่า กำลังพอใจในอะไรอยู่ ใช่ไหม บอกไม่ได้ อย่างเมื่อกี้นี้ถามว่า ชอบอะไร ก็บอกไม่ได้ เพราะลักษณะของโลภะ ไม่ได้ปรากฏให้รู้ แต่ต้องเป็นกามาสวะ หลังจากที่เห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วก็ถึงมโนทวารวิถี แล้วกว่าจะรู้ว่าเป็นความติดข้องจริงๆ ลักษณะของโลภะจะปรากฏได้ เพราะฉะนั้น ความเจือจางของกิเลส ที่เป็นอาสวะ จะเห็นได้ว่าใช้คำว่า ขีณาสวะ สำหรับพระอรหันต์ ทั้งๆ ที่ดับ ดับอนุสัยกิเลส แต่อนุสัยกิเลสไม่ได้ปรากฏ ไม่ได้เกิดเลย ไม่มีทางที่จะรู้อนุสัยกิเลสเลย แต่แม้กระนั้นก็ยังพอเห็นความต่าง ของผู้ที่เป็นพระอรหันต์กับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ว่าพระอรหันต์ก็เห็นอย่างคนธรรมดา แต่ไม่มีแม้อาสวะ ซึ่งเรามีแต่ไม่รู้ ว่ามี จนกว่าจะมีความติดข้องอย่างมากในสิ่งหนึ่งสิ่งใด เราก็บอกว่าเรามีโลภะ แต่ขณะนั้นปรากฏลักษณะมาก กว่าความเป็นอาสวะแล้ว ใช่ไหม เพราะฉะนั้น จึงได้ทรงแสดง เพื่อให้เห็น ว่าถ้ายังมีอาสวะอยู่ ก็หมายความว่าต้องมีอวิชชา เป็นเหตุ แล้วเมื่อมีอาสวะแล้ว ถ้าเพิ่มมากขึ้นๆ ก็แน่นอน ก็จะต้องมีการ กระทำที่เป็นกรรม สุคติหรือทุกคติ เพราะเหตุว่าแล้วแต่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม อาสวะนั้นไม่ใช่กิเลสที่มีกำลังชั่วขณะจิตที่เกิด รู้อารมณ์แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว แทบจะไม่รู้เลย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ใช้คำว่า บางเบา ใช่ไหม แทบจะไม่รู้สึก
ท่านอาจารย์ ที่จะให้มีการกระทำ เมื่อมีการปรากฏของความติดข้อง ในกามอย่างในข้อแรก ก็เป็นเหตุที่เกิดการกระทำที่เป็นบุญหรือบาป และเมื่อเป็นบุญหรือบาปก็เป็นเหตุปัจจัย ที่จะให้เกิดวิบากขึ้น มีใครที่จำอนัตตสัญญาบ้าง
ผู้ฟัง ไม่มี
ท่านอาจารย์ ก็จำอัตตสัญญาทั้งนั้น นี่ก็แสดงให้เห็นว่ากว่าจะถึงการทรงจำอนัตตสัญญา ต้องเป็นปัญญา
ผู้ฟัง รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนัตตา อย่างนี้จะกล่าวได้ไหมว่า ความจำหรือความคิด อันนั้นเป็น อนัตตสัญญา
ท่านอาจารย์ ไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าจำคำ
ผู้ฟัง จำคำว่า อนัตตา
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่จำลักษณะ ของอนัตตา
ผู้ฟัง ต้องลักษณะ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ขอเรียนถามความต่างของอาสวะ ก็ทำให้ไปสู่นรก หรือว่าเป็นไปในภูมิต่างๆ แล้ววิบากในอาสวะ มันก็นัยเดียวกัน มันก็เหมือนกัน ๒ ข้อความนี้มันมีอะไร แตกต่างกันตรงไหน
ท่านอาจารย์ เวลาที่กล่าวถึงอาสวะ ก็เพื่อให้เข้าใจกิเลส ระดับที่เป็นอาสวะ เมื่อกิเลสที่เป็นอาสวะมี ก็จะเป็นเหตุให้ไปสู่นรก หรือว่าไปสู่มนุษย์ภูมิอะไรก็ตามกรรมที่ได้กระทำ เพราะฉะนั้น จึงมีข้อความต่อไปว่า ก็วิบากแห่งอาสวะ เป็นไฉน ไม่ใช่ว่าเมื่อมีอาสวะแล้วจะไม่มีผล แต่ผลของอาสวะ ก็คือว่าเมื่อมี ก็จะเป็นเหตุให้ มีการกระทำกรรมด้วย แล้วแต่ว่าจะเป็นบุญหรือบาป เพราะว่าอาสวะก็เป็นอวิชชาสวะ ภวาสวะ กามาสวะ ไม่ใช่มีกิเลสระดับที่เป็น อาสวะอย่างเดียว แต่เมื่อมีอาสวะแล้วก็ ย่อมจะเป็นเหตุที่จะให้มีการกระทำกรรม
ผู้ฟัง ตรงวิบาก คือกล่าวนัยที่หมายความว่า
ท่านอาจารย์ ผลของอาสวะ
ผู้ฟัง ซึ่งผลของอาสวะนั้น ไม่ใช่แสดงอยู่ในความต่างของอาสวะแล้ว หรือ
ท่านอาจารย์ ไม่ นั่นคือ อาสวะคืออะไร แล้วก็ความต่างของอาสวะ เห็นความยินดีในกาม ใช่ไหม ก็มีความต่าง ในรูปอย่างหนึ่ง ในเสียงอย่างหนึ่ง เป็นต้น
เพราะฉะนั้น อาสวะ ก็มี ที่เป็นกามาสวะก็มี ที่เป็นภวาสวะก็มี ที่เป็นอวิชชาสวะก็มี
ผู้ฟัง ในเรื่องความจำ ถ้ามีการศึกษาในเรื่องของธรรม แล้วเข้าใจแล้วก็จำว่าไม่เที่ยง คือในพระพุทธพจน์ที่แสดงในเรื่อง ความไม่เที่ยงต่างๆ แล้วก็ท่องจำ ว่ารูปก็ไม่เที่ยง เวทนา สัญญา สังขาร ไม่เที่ยงๆ อื่น ตลอดวัน จะเป็นอนิจจสัญญาได้หรือไม่ เหมือนกับว่าจะจำ ในสิ่งนั้นว่าไม่เที่ยงเหมือนกัน
ท่านอาจารย์ จำลักษณะที่ไม่เที่ยง หรือจำคำว่าไม่เที่ยง
ผู้ฟัง จำคำศัพท์มากกว่า
ท่านอาจารย์ เหตุก็ตรง ผลก็ต้องตรงตามเหตุ
ผู้ฟัง ทีนี้ถ้าเกิดคิดอยู่กับสิ่งหล่านี้ แล้วก็จำในสิ่งเหล่านี้ จะทำให้โอกาสที่ประจักษ์ความไม่เที่ยง ได้ไหม
ท่านอาจารย์ คิดอย่างไร ลองว่า คิดอย่างไร
ผู้ฟัง เห็นอะไรก็ว่าไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ อะไรเล่า เห็นอะไร
ผู้ฟัง อย่างโต๊ะนี้ก็ไม่เที่ยง บ้านก็ไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ แล้วที่เห็น และกำลังคิด
ผู้ฟัง ก็ไม่เที่ยง
ท่านอาจารย์ แล้วอย่างไรถึงจะรู้
ผู้ฟัง ก็เป็นเรื่องราว
ท่านอาจารย์ เหตุคือจำ ผลก็คือจำ คือจำคำนี้แหละ แต่ไม่สามารถที่จะมีสัญญา จริงๆ ที่จะประจักษ์แจ้งในความเป็นอนัตตา ในความเป็นทุกข์ในความไม่เที่ยงของสภาพธรรม ที่กำลังเป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ก็มีแต่สัญญา จำ จำคำด้วย
ผู้ฟัง จำคำ
ท่านอาจารย์ ขณะนี้ สัญญากำลังจำอะไร
ผู้ฟัง จำทุกอย่างที่ปรากฏ
ท่านอาจารย์ ไม่ได้จำว่าไม่เที่ยงเลย ถูกต้องไหม แล้วไม่ได้จำว่าไม่ใช่ตัวตนด้วย แล้วถามว่าจำอะไร ก็จำคน จำดอกไม้ จำโต๊ะ จำเก้าอี้ แล้วจะเป็นอนัตตสัญญาได้อย่างไร เพราะฉะนั้น ก็ต้องเข้าใจสัญญาเจตสิก เป็นสัพพจิตสาธารณเจตสิก เกิดกับจิตทุกขณะ เกิดกับโลกุตตรจิต หรือเปล่า ขณะนั้นที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ สัญญาจำอะไร
ผู้ฟัง พระนิพพาน
ท่านอาจารย์ ต้องมีลักษณะของนิพพานที่ปรากฏ สัญญาก็จำลักษณะที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น สัญญาก็จะมีระดับ แล้วแต่ว่าจะเกิดกับสภาพธรรมอะไร เช่นเกิดกับ อกุศล หรือเกิดกับกุศล หรือว่าปัญญาก็มีต่างขั้นด้วย ในขั้นที่เราได้ฟังเรื่องปรมัตถธรรม ขณะนั้นก็สัญญาเจตสิกก็ทำหน้าที่จำ แต่ว่านอกจากจำคำ รู้จักคำ แล้วก็ยังเข้าใจถึงความหมายของธรรมด้วย ขณะนั้นก็เป็นสัญญาที่จำ เรื่องราว จำลักษณะ โดยการฟัง แต่ว่ายังไม่ถึงระดับของ ปฏิปัตติ หรือว่ายังไม่ถึงระดับขั้นปฏิบัติ
เพราะเหตุว่าทุกอย่างในพระธรรมวินัยนี้ ต้องเป็นปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ แม้แต่สัญญาขั้นฟัง ก็จะต้องต่างกับสัญญาระดับอื่น สัญญาขั้นฟังจะเป็นสัญญาขั้นปฏิเวธ ไม่ได้ จะเป็นขั้นเกิดพร้อมสติปัฏฐาน ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมก็ไม่ได้
เพราะฉะนั้น แม้แต่คำว่า อนิจจสัญญา ก็ต้องเป็นผู้ตรง ว่าสัญญาที่จะมี อนิจจเป็นลักษณะต้องมาจากไหน เมื่อไร ถ้าสติปัฏฐานไม่เกิด ไม่ระลึกลักษณะของสภาพธรรม ไม่ประจักษ์การเกิดดับ สัญญาก็ยังไม่เป็นอนิจจสัญญา ยังไม่เป็นอนัตตสัญญาเป็นไม่ได้ ต่อเมื่อใดที่สภาพธรรมปรากฏ ลักษณะของสภาพธรรม จึงเป็นวิปัสสนาญาณแต่ละขั้น
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่หมายความว่าในพระพุทธศาสนา มีเพียงระดับขั้นฟังกับขั้นคิด แต่ต้องมีการที่สามารถประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วหนทางก็มีหนทางเดียว ไม่ใช่หนทางอื่น ทุกคนก็กล่าวถึง มรรคมีองค์ ๘ ซึ่งปกติก็เป็นมรรคมีองค์ ๕ ว่านอกจากนี้แล้ว จะไม่ใช่การที่จะรู้แจ้ง หรือว่าประจักษ์ หรือว่าเห็นความจริงของสภาพธรรม แต่ละลักษณะซึ่งกำลังเกิดดับ ในขณะนี้อย่างรวดเร็ว ไม่มีสภาพธรรมใดเลยซึ่งไม่ดับ เป็นของใหม่เกิดจากปัจจัยทันทีสืบต่อกันตลอดเวลา
เพราะฉะนั้น ต้องมีความเข้าใจถูก ความเห็นถูกโดยสติสัมปชัญญะเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรม มิฉะนั้นแล้วสภาพธรรม ก็เกิดแล้วดับแล้วทั้งหมด แล้วเราก็นั่งพร่ำพูดว่า รูปไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง นี้คือการ ไปพูดถึง แต่ว่าไม่มีการที่จะใส่ใจ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม
ซึ่งทุกคนตั้งตนด้วยคำว่า ธรรม หมายความว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แล้วธรรมก็มี ๒ อย่าง คือนามธรรม กับรูปธรรม ขั้นฟังเข้าใจว่ารูปธรรมก็คือสภาพธรรม เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ที่มีจริงๆ แต่ไม่สามารถจะรู้อะไรได้เลย นี่ขั้นฟัง แต่ก็มีรูปปรากฏ ให้เข้าใจด้วย ว่าจริงๆ แล้ว สิ่งที่ไม่เคยรู้เลย ความจริงลักษณะแท้ๆ นั้นเป็นรูปธรรม หรือเป็นนามธรรมเพื่อที่จะละความเห็นผิดที่เคยยึดถือว่าเป็นเรา ทุกอย่างที่มีถือว่าเป็นเราทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม เพราะฉะนั้น จะไม่ใช่อนัตตสัญญาแน่นอนโดยที่ว่าถ้า สติสัมปชัญญะไม่เกิด ไม่ระลึก ไม่รู้ ไม่เห็นความจริงของสภาพธรรมที่สติกำลังระลึก เพราะฉะนั้น สัญญาต่างๆ เหล่านี้ สัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นเรื่องของวิปัสสนาญาณ ถ้าไม่มีวิปัสสนาญาณ จะเห็นอนิจจสัญญา หรือจะเห็นอนิจจลักษณะได้อย่างไร
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660