ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
ตอนที่ ๖๐๖
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๕
อ.สมพร บารมีมี ๓ ขั้น ขั้นต้นก็เรียกว่า บารมี อุปบารมี บารมีที่มีกำลัง เรียกว่า เป็นขั้นกลาง แล้วปรมัตถบารมี บารมีที่มีประโยชน์สูงสุด ที่สุด ๓ อย่าง อย่างต่ำ อย่างกลาง อย่างสูง ปรมัตถบารมี ปกติถึงที่สุด เช่นสละชีวิต เช่นการให้ทาน เป็นได้ทั้ง ๓ อย่าง ให้วัตถุทาน ให้ของธรรมดา ก็เป็นทานบารมี สละบุตร ภรรยาก็มีกำลังมากขึ้นอีก ให้ชีวิตเป็นทาน เป็นปรมัตถบารมี
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์สมพร เมื่อกี้ที่บอกว่างูไปรัดใคร แล้วเขามีมีดแต่เขาทิ้งมีดเสีย ในขณะนั้นเขาเป็นทานปรัมตถบารมี หรือว่าเป็นศีลปรมัตถบารมี
วิทยากร. ต้องดูความหมาย การสละนั้น การให้นั้น ให้ชีวิตหรือเปล่า ถ้าให้ชีวิตเป็นทาน ก็เป็นปรมัตถบารมี ถ้าหากว่าไม่ถึงกับชีวิต เช่น ให้ของที่ยากอย่างยิ่ง ก็จัดว่าเป็นอุปบารมี อย่างกลาง ให้ของธรรมดาทั่วๆ ไปก็เป็นทานบารมี พอท่านกล่าวถึงว่าความยิ่ง และความยล ไม่เท่ากัน ปรมัตถ หมายความว่าเป็นที่สุดแล้ว การให้ เช่น การให้ชีวิตเป็นทาน เหมือนกับตาย โจนเข้ากองไฟเพื่อจะให้ ตัวของท่านเป็น อาหารของพราหมณ์ ที่ให้ชีวิต อย่างนี้จัดเป็นปรมัตถบารมี เป็นทานเหมือนกัน แต่เป็นปรมัตถบารมีสูงสุดแล้ว จนกระทั่งชีวิต งูรัดแล้วไม่ฆ่า ควรที่จะฆ่าได้สละชีวิตโยนมีดทิ้ง ยอมตาย ก็เป็นปรมัตถเหมือนกัน เพราะว่าสละชีวิต แต่บารมีของพระพุทธเจ้า ครบทั้ง ๓๐ อย่างเต็มบริบูรณ์ บริบูรณ์คือครบ ๓๐ อย่าง แต่ของเรานี่อาจจะไม่ครบ อย่างพระพุทธเจ้า ได้บางอย่าง
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนั้นขณะที่เป็นตรงนั้น เป็นทั้งศีลปรมัตถบารมี และเป็นทานปรมัตถบารมีทั้ง ๒ เลย ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คุณวีระ ถ้างูรัดแล้วก็ คุณวีระคิดว่าให้งูกินเราเถอะ อยากให้ทานให้ชีวิตเป็นทาน หรือว่าให้งูกินเราเพราะงูหิว อย่างนี้ จะเป็นทาน หรือเป็นศีล
ผู้ฟัง ถ้าไม่มีโลภะติดข้อง ก็อยากจะให้เป็นทั้ง ๒ สิ่ง
ท่านอาจารย์ ไม่ หมายความว่า อยากจะรู้ว่ามันเป็นทานหรือเป็นศีล ก็ขึ้นอยู่กับขณะนั้นจิตเป็นอะไร ถ้าจะให้งูกิน เพราะงูหิว อย่างนั้น เป็นทาน หรือเป็นศีล
ผู้ฟัง เป็นทาน
ท่านอาจารย์ แล้วถ้าไม่ฆ่า อย่างไรๆ ก็ไม่ฆ่างู เพราะว่าชีวิตเขากับชีวิตเรา ก็ไม่มีใครอยากจะ ไม่ให้หมดชีวิตไป ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ยิ่งเป็นการที่จะทำให้ชีวิตของคนอื่นตกล่วงไป เพราะว่าทุกคนไม่อยากตาย ขณะที่คิดจะไม่ฆ่า ขณะนั้นเป็นทาน หรือเป็นศีล
ผู้ฟัง ขณะนั้นก็เป็นศีลบารมี
ท่านอาจารย์ พอที่จะทราบ เจตนาของตัวเองได้ ใช่ไหม เพราะเหตุว่าใครจะไปตอบแทนใครได้ว่า ขณะนั้นเป็นอะไร ก็แล้วแต่ เจตนาของเขาในขณะนั้น
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวเหมือนว่า ผู้ที่จะศึกษาจนกระทั่งระลึกรู้สภาพได้ ก็ต้องระลึกรู้ว่าขณะนั้น จิตขณะนั้นเป็นศีล หรือเป็นทาน
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นบารมีทั้งหมด ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น นอกจากการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม หรือว่าการดับทุกข์ คือดับกิเลส ผู้นั้นก็ต้อง มีปัญญา ใช่ไหม ถ้าคนไม่มีปัญญา เขาอาจจะมีการสะสม ในเรื่องของทาน ในเรื่องของศีล แต่เขาไม่มีจุดมุ่งหมาย แต่ว่าผู้ที่มีปัญญา เมื่อมีปัญญาแล้วก็รู้ว่า อกุศลทั้งหลายเกิดเพราะอวิชชา ตราบใดที่ยังมีอวิชชาอยู่ ถึงแม้ว่ากุศลจะเกิดบ้าง แต่ก็ไม่ได้สมบูรณ์พรั่งพร้อมยิ่งขึ้น เพราะเหตุว่าขณะนั้น ขาดปัญญา แต่เมื่อมีปัญญาแล้วผู้นั้นก็ย่อมจะเจริญในกุศลทั้งปวงได้
ผู้ฟัง เขาบอกตรงที่ ลักขณาทิจตุกะของศีลบารมี มีคำพูดที่ว่าลักษณะ ของเขามีการงดเว้นๆ อันหนึ่ง แล้วพอมาถึงอาการ เหตุที่ทำให้ศีลบารมีเกิดขึ้นได้ คือ หิริ และโอตัปปะ เป็นเหตุให้เกิดขึ้น เรามองดูแล้ว เราจำเป็น ใช่ไหม ที่จะต้องศึกษาว่า งดมีลักษณะอย่างไร ในจิตนั้น ขณะนั้น แล้วหิริ โอตัปปะ มีลักษณะเป็นเหตุได้อย่างไร ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าคนที่พูดไม่จริงตลอดเวลา เราก็ทราบ ได้ว่าเขาไม่มีหิริโอตัปปะ เป็นของง่ายเหลือเกินที่จะพูดสิ่งที่ไม่จริง แต่ขณะใดที่จะเว้น ขณะนั้น เพราะหิริโอตัปปะ ไม่อย่างนั้นก็ไม่เว้น
ผู้ฟัง เมื่อจะศึกษาให้เข้าใจสภาพธรรม หรือตัวธรรมของแต่ละ ทาน ศีล หรือต่อไปนี้ ลักขณาทิจตุกะ นี่สอนเราอย่างไร
ท่านอาจารย์ สอนให้รู้ว่า สภาพธรรมที่เป็นกุศล มีลักษณะอาการต่างๆ กุศลที่เป็นไปในทาน กุศลที่เป็นไปในศีล ในเนกขัมมะ ในปัญญา ในวิริยะ ในขันติ ต่อไปก็เป็นเรื่องของกุศลทั้งนั้น ซึ่งก็ละเอียดขึ้น
ผู้ฟัง ส่วนพวกเราก็จะต้องรู้ ลักขณาทิจตุกกะ ในลักษณะของที่ว่า เป็นลักษณะอย่างนี้ นะ งดเป็นอย่างนี้ ไม่พร้อมที่จะฆ่าเขาเอามีด ขว้างทิ้งไปเสีย คือการงด
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วไม่มีเรา ที่จะทำเลย แต่ทั้งหมดนี้คือธรรม เพราะฉะนั้น ธรรมแต่ละอย่างซึ่งเกิดขึ้นเป็นไปในศีล ความจริงก็ต้องเป็นโสภณเจตสิกที่เกิด หิริก็ต้องมีในทุกขณะที่ กุศลจิตเกิด ทั้งหิริ ทั้งโอตัปปะ ทั้งสติ ทั้ง อโทสะ อโลภะ พวกนี้ก็ต้องเกิดพร้อมกันในขณะที่เป็นกุศล แต่กุศลมีหลายอย่าง เพราะฉะนั้น แต่ละอย่าง เหตุใกล้จริงๆ ของสิ่งนั้น คืออะไร เช่น เหตุใกล้ของทาน ก็ต้องมีวัตถุที่จะให้ ถ้าไม่มีวัตถุที่จะให้ แล้วให้อะไร ทานเกิดขึ้นได้ไหม หรือว่าต้องมีผู้รับด้วย แม้ว่ามีวัตถุ แต่ไม่มีผู้รับก็ได้ แต่ถึงมีผู้ที่เราควรจะให้ แต่เราไม่มีวัตถุ ก็ไม่มีเหตุใกล้ที่จะให้เกิดทาน พอถึงเรื่องของศีล เห็นชัดๆ ก็คือหิริโอตัปปะ มีความละอายที่จะประพฤติทุจริต ทางกาย ทางวาจา
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์พูดถึง หิริ และโอตัปปะ คือ ความเกรงกลัว เราเกรงกลัว ตอนนั้นเราเกรงกลัวสิ่งที่ จะเกิด ที่เราทำไม่ได้หรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ โดยมากคิดถึงเป็นเราหมดเลย แต่จริงๆ แล้วเป็นเจตสิก ซึ่งเกิดกับจิตทุกขณะ เวลาที่ให้ทานก็มีหิริ มีโอตัปปะด้วย เวลาที่วิรัติทุจริต ก็มีหิริมีโอตัปปะ แล้วไม่ใช่เราต้องไปคิดใคร่ครวญ ขณะใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นพร้อม อโลภะ อโทสะ หิริ โอตัปปะ สติ ตัตตรมัชฌัตตตา สภาพธรรมที่เป็นโสภณต้องเกิดพร้อมกัน โดยไม่มีเรา ต้องไปนั่งไตร่ตรอง เกิดความละอายหรือะไร แต่สภาพธรรมของธรรมที่ละอาย เกิดพร้อมกับจิตในขณะนั้น
ผู้ฟัง อย่างนั้นเราก็ไม่ห่วง เดี๋ยวมันก็เกิดของมันเอง
ท่านอาจารย์ เกิดเอง เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ก็ทราบ ใช่ไหม ถ้าขณะใดที่เป็นอกุศล ก็เป็น อหิริกะ อโนตัปปะ ถ้าขณะใดที่เป็นกุศล ขณะนั้นจึงเป็น หิริ กับ โอตัปปะ
ผู้ฟัง การงดเว้นเป็นลักษณะ ไม่ฆ่าสัตว์ จะช่วยให้เราเข้าใจคำว่า ศีล มีลักขณาทิจตุกะ อย่างไรมากขึ้น
ท่านอาจารย์ ก็คงทราบว่า เรื่องของศีล เป็น เรื่องของกายวาจา เรื่องของทานก็เป็นเรื่องของการให้วัตถุที่เป็นประโยชน์กับบุคคลอื่น แต่เรื่องของศีลเป็นเรื่องของกายาวาจา ซึ่งมีประจำอยู่ตลอดเพราะว่า ทุกคนมีกายมีวาจา เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่มีความละเอียดในเรื่องของศีล ก็ย่อมจะไม่ได้เพียงคิดแต่เพียงว่า เราได้ฆ่า สัตว์ เราไม่ได้เอาของๆ คนอื่นมาเป็นของเรา เราไม่ได้ประพฤติผิดในกาม เราไม่ได้กล่าววาจาที่ไม่จริง แต่ว่าศีลก็ยังละเอียดมากกว่านั้นอีก เช่น เป็นผู้ยินดี ในธรรมอันงาม เพราะเหตุว่ากายของเรามี วาจาของเรามี ถ้าเพียงแต่เราเว้น การพูดสิ่งที่ไม่ดี หรือว่าผรุสวาจา ก็ยังไม่พอ ต้องเป็นผู้ที่ไม่โอ้อวด ลองคิดดู ถ้าจะโอ้อวด โอ้อวดด้วยกาย หรือโอ้อวดด้วยวาจา ใจโอ้อวดนี้ก็อยู่ข้างใน ไม่มีใครรู้ แต่ว่าเวลาที่ออกมาทางกาย ออกมาทางวาจา คนนั้นรู้ได้เลย แต่คนที่กำลังโอ้อวดรู้ไหม ไม่รู้ ใช่ไหม
การที่จะศึกษาธรรม เป็นเรื่องที่ขัดเกลาอย่างยิ่งโดยละเอียด คือไม่ใช่เพียงแต่ให้มีปัญญา รู้ว่าสภาพธรรมไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา เป็นจิต เป็นเจตสิก แต่ยังรวมถึงใจที่ว่าละเอียดขึ้น ที่จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกายอย่างไร ที่ไม่สมควร หรือว่าวาจาที่ไม่สมควร เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีศีลงาม มีใจงาม จะไม่เป็นผู้ที่โอ้อวด แต่ทีนี้บางคนสะสมมา ที่จะโอ้อวด แล้วก็ไม่รู้เลยว่าขณะนั้นไม่สมควร แต่ว่าพระธรรมก็ทรงแสดงไว้ ว่าเรื่องของศีล ไม่ใช่แต่เฉพาะเรื่องของ การวิรัติทุจริต แต่ว่าแม้แต่คำพูดหรือกาย ก็จะต้องควรจะเป็นผู้ที่ มีศีลด้วย หมายความว่าไม่ประพฤติสิ่งซึ่งไม่สมควร คนที่อวดเก่งๆ ตอนนี้พอจะทราบไหม ว่าขณะใดที่อวด ขณะนั้นเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ถ้าไม่ทรงแสดงไว้เราก็ไม่เห็นโทษ แล้วเราก็อวดต่อไป อวดที่นี่ก็เป็นในสิ่งที่ดี อวดสิ่งที่ตนมีในสิ่งที่ตนคิดว่าดี หรือว่าเก่ง แต่ว่าถ้าไม่อวดเขาก็รู้ใช่ไหม แล้วต้องอวดไหม หรือว่าอวดเพราะกิเลสของเรา นี่ก็เป็นเรื่องของกายวาจา ซึ่งถ้าได้ศึกษาจริงๆ จะเป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน แล้วก็ไม่เปิดเผย คุณความดีของตัวเอง แล้วก็ทุกอย่างก็งามขึ้น ด้วยจิตที่เป็นกุศลที่ละเอียดขึ้น ไม่โอ้อวดไม่มีมายา
บางทีคำพูดบางคำ ฟังดูดีมาก แต่ไม่รู้เลยว่าแท้ที่จริงแล้ว คำพูดนั้นแสดงความดีของตนเอง แล้วก็ความไม่ดีของคนอื่นหรือเปล่า แฝงไว้ด้วยจิตประเภทไหน เพราะฉะนั้น เรื่องของจิตใจ เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แล้วใครจะละได้ นอกจากตัวเอง ที่จะต้องค่อยๆ เข้าใจตามความเป็นจริงว่าอะไร เป็นสิ่งที่สมควร อะไรเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เพราะฉะนั้น ลักษณะที่โอ้อวด มีมายา หรือไม่ซื่อตรง หรือว่ายาก พวกนี้ก็เป็นเรื่องของกายวาจาทั้งหมด ซึ่งมาจากใจด้วย ถ้าใจมีความเข้าใจธรรมอย่างถูกต้อง ก็จะค่อยๆ พิจารณา กาย และวาจาของตัวเองได้ ประกอบด้วยธรรม อันทำให้เป็นผู้ว่าง่าย บางคนก็ไม่อยากเป็นคนว่าง่ายเลย ใช่ไหม แล้วดีไหม เป็นคนว่ายาก กับการที่จะเริ่มเป็นคนว่าง่าย ต่อเหตุผล ต่อสิ่งที่ควร ก็รู้ว่าใครๆ ก็ไม่อยากทำสิ่งที่ไม่ดี แต่เพราะความว่ายาก ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่ดีก็ยังทำ แต่ถ้าเป็นผู้ที่อบรมจริงๆ เห็นประโยชน์ของพระธรรมจริงๆ ทำไมทรงแสดงไว้ละเอียดถึงอย่างนี้เพื่อใคร ก็ต้องเป็นพระมหากรุณาอย่างยิ่ง ที่จะแสดงให้ผู้ได้ศึกษาได้รู้จักตัวเอง แล้วก็ค่อยๆ เป็นผู้ที่ว่าง่าย สิ่งใดที่ไม่ดี ไม่เหมาะ ไม่ควร เป็นอกุศลก็เห็นโทษ แล้วก็ละ ซึ่งขณะที่เห็นโทษ ไม่ใช่เรา หิริ โอตัปปะนั่นเอง
เพราะฉะนั้น ธรรมที่เป็นสังขารขันธ์ก็จะปรุงแต่ง ถ้าเป็นธรรมที่เป็นสังขารขันธ์ ของฝ่ายดี จากการที่เป็นคนที่สังขารขันธ์ปรุงแต่ง ให้เป็นคนไม่ดีทั้งกาย วาจา สังขารขันธ์ก็จะค่อยๆ ปรุงแต่ง ให้ค่อยๆ ดีขึ้น ไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นท่าน ทั้งหมดเป็นสิ่งซึ่งผู้กระทำ ไม่รู้ว่าไม่ดี แต่ว่าถ้าผู้อื่นเห็นแล้ว ก็รู้ได้เป็นสิ่งที่ไม่ดี เพราะฉะนั้น การดูคนอื่น ได้อีกลักษณะหนึ่งคือเป็นบทเรียน สำหรับเราเองว่าสิ่งใดที่ไม่ควรก็ไม่ทำ
ผู้ฟัง ความเป็นผู้ว่ายาก ที่เรียกว่า ทุพโจ ต่างจาก สุวโจ สุวโจ เป็นผู้ว่าง่าย ที่ภาษาไทย เอามาตั้งชื่อกันว่า สุพจน์ คุณสุพจน์ แปลว่า คนว่าง่าย ทุพโจ ทุพจน์ แปลว่าคนว่ายาก เป็นองค์อัน ๑ ที่จะให้บรรลุสันตบท ถ้าคนว่ายาก แล้วไม่มีทางที่จะบรรลุสันตบท สันตัง ภคัง อภิส เมตตา คือ ไม่สามารถที่จะบรรลุสันตบทได้เลย
สันตบท คือ พระนิพพาน ไม่มีทางที่บรรลุพระนิพพานได้ ว่ายาก เป็นผู้กระด้าง เป็นผู้มีมานะเย่อหยิ่ง อวดดี อะไรพวกนี้ ทั้งหมดเป็นทางขัดขวางไปพระนิพพานทั้งหมดเลย ต้องเป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อ่อนโยน เป็นผู้ไม่เย่อหยิ่งไม่ถือตัว พวกนี้เป็นทางเป็นปัจจัย ที่จะให้ถึงสันตบท ใน กรณียเมตตสูตร ท่านบอกไว้
ผู้ฟัง ขออนุญาต พูดเป็นอรรถ พูดเป็นธรรม ในที่นี้ อรรถในที่นี้คือผล นันทนิจนี้ คือผล คือพูดเป็นเหตุ และเป็นผล เมื่อกี้นี้ท่านอาจารย์สุจินต์ท่านว่า ง่าย ง่ายต่อเหตุ ต่อผล อันนี้จะอันเดียวกันหรือเปล่า
ท่านอาจารย์ คนที่พูดมีเหตุมีผล จะทำให้คนอื่นเข้าใจถูกต้องได้ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ได้ คือความหมายของดิฉัน คำว่า อรรถ ในที่นี้คือผล ธรรมในที่นี้คือเหตุ ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ พูดในสิ่งที่มีประโยชน์ คือพูดในธรรมที่เป็นเหตุเป็นผล
ผู้ฟัง ส่วนมากจะเป็นลักษณะคล้ายๆ กับสั่งให้เราทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ไม่มีความอยากได้ ไม่มีใจพยาบาท ไม่มีความเห็น ไม่วิปริต หรือแม้กระทั่งประกอบความเพียรในกิจนั้นด้วยตน ครั้นทำสิ่งไม่ควรทำ ด้วยตนเอง รีบเว้นจากสิ่งนั้นทันที ในลักษณะอย่างนี้ ผู้ที่ไม่เข้าใจก็อาจจะคิดว่า นี่เขาสั่งให้ทำตามนี้ เราก็คิดว่า เอาตัวนี้มาเขียน แล้วก็วันๆ หนึ่ง ทำตามนี้ให้ได้ ก็แล้วกัน
ท่านอาจารย์ ถ้าสั่งได้ก็ดี ทุกคนที่นี่ดีวันนี้เลย เพราะสั่งได้ แต่กว่าจะเป็นอย่างนี้ได้ ขอให้คิดดูตามความเป็นจริง ต้องไตร่ตรอง ต้องใคร่ครวญ ต้องศึกษา เข้าใจในเหตุในผล ทุกอย่าง แล้วค่อยๆ อบรมจนกว่าจะเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่สั่งเลย แต่แสดงเหตุผลตามความเป็นจริง ถ้าสั่งได้ แค่สั่ง วันนี้ทุกคนกลับไปบ้าน สบายเลย ทำได้เลย แต่ว่าธรรมไม่ใช่อย่างนั้นเลย ทุกอย่างที่เป็นความจริง ทรงแสดงตามความเป็นจริง เช่น เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย การเบียดเบียนไม่ดีแน่ ฆ่ามด ฆ่ายุง อะไรก็ไม่ดีทั้งนั้น แต่กลับไป ทั้งที่ได้ยินอย่างนี้ เป็นอย่างไร หรือว่าความเป็นผู้ว่าง่ายอ่อนโยนไม่กระด้าง ไม่ดูหมิ่นท่าน ก็เป็นสิ่งที่ดีทั้งหมด แต่ถ้ามีอกุศลเกิดขึ้นเมื่อไรก็ต้องเป็นไปตามอกุศล
พระธรรมทั้งหมดแสดงเรื่อง ธรรมตามความเป็นจริงทั้งเหตุ และผล จนกระทั่งสังขารขันธ์ ค่อยๆ ปรุงแต่ง จนกระทั่งสามารถที่จะเป็นอย่างนั้นได้ จากความไม่รู้ จากความประพฤติทางกาย ทางวาจา ที่ไม่เหมาะไม่ควร จนกระทั่งเป็นการรู้ เห็นประโยชน์ เข้าใจขึ้น แล้วก็สภาพธรรม ทั้งหลายไม่ใช่เราจะไปสั่งหรือจะไปบังคับได้ แต่เกิดขึ้นเพราะปัจจัย คือความเข้าใจที่ถูก เช่น ครั้นทำสิ่งที่ไม่ควรทำด้วยตนเอง รีบเว้นจากสิ่งนั้นทันที ทันไหม หรือว่าไปตั้งยาวไกลกว่าจะนึกออก ก็เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลที่สะสม มาบางคนก็สติเกิด ยังไม่ทันจะพูดก็เว้นเลย ไม่พูด แต่บางคนพูดไปแล้วสัก ๒,๓ ประโยคก็หยุด เพราะว่าเกิดที่รู้ว่าการพูดนั้นไม่มีประโยชน์ แต่บางคน ยาวไปจนจบ ก็ไม่รู้ว่าไม่ควรจะพูด ก็เป็นเรื่องของการสะสม แต่ให้ทราบว่าสิ่งใดที่ไม่ควร และเกิดกระทำ ก็ควรจะหยุดทันที
วิทยากร. ไม่มีใครสั่งคุณทำได้ ถ้าความรู้ความเข้าใจเรามี มันก็เป็นเหตุ เป็นปัจจัยเกิดขึ้น สมมติว่าเราเห็นสัตว์ ที่ควรจะฆ่า เราก็ไม่ต้องไปสั่งไปอะไรทั้งนั้น แล้วเกิดขึ้นมาเองว่า นี้มันก็ชีวิตเขานะ อัตตานัง อุปมัง กัตวา ทำตัวเราให้เป็นประมาณสัตว์อื่นก็รักชีวิตเขา เราก็รักชีวิตเรา เพราะฉะนั้น มันเกิดขึ้นเองๆ เพราะเราสั่งสมไว้ เราเรียนเรารู้มาอย่างนี้ มันเจอเข้า พบเข้า มันก็งด ก็เว้นของมันเอง เป็นไปเองหมือนกับอย่างเป็นอัตโนมัติ แต่ว่ามันมีเหตุปัจจัยสั่งสมมา ไม่ใช่ว่าอยู่ๆ เราฟังแล้วเราไปบ้าน เหตุปัจจัยไม่มียุงกัด มันก็ตบทันที มันไม่มีอะไรยับยั้ง เจออะไรมันก็ทำได้ แต่ถ้าเหตุปัจจัยมี เราสั่งสมมา เกิดงดเว้นได้เพราะเหตุปัจจัย ที่เราสะสมมา
ผู้ฟัง จะขอความกรุณาท่านอาจารย์สุจินต์ช่วยขยายความว่า รู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน ด้วยกำหนดรู้อริยสัจ
ท่านอาจารย์ อริยสัจคือ สัจจธรรม คือ สภาพธรรม ที่มีจริง ที่จะทำให้ผู้รู้ เป็นพระอริยเจ้า คนที่จะเป็นพระอริยบุคคล โดยไม่รู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน ได้ไหม เพราะเหตุว่า ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน ใคร เช่นในขณะที่กำลังเห็น ใครเห็น หรือว่าเป็นสภาพธรรม ที่เป็นผลของกรรมที่เกิดขึ้น เวลาที่จิตได้ยินเกิดขึ้น ก็คือขณะที่ได้ยินเป็น ผลของกรรมที่ได้กระทำไว้ จึงได้ยินสิ่งนั้น สิ่งนี้
เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจจริงๆ ในเรื่องของกรรม และผลของกรรม ก็คือรู้ขณะจิต ที่กำลังเป็นปกติในขณะนี้ ว่าทางตาในขณะนี้ ไม่มีใครบันดาลเลย นอกจากกรรมทำให้จักขุปสาทรูปเกิด แล้วก็ทำให้แต่ละคนได้เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้าเป็นสิ่งที่ดี ก็เป็นผลของกรรมดี ถ้าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นผลของกรรมไม่ดี เพราะฉะนั้น การที่จะรู้อริยสัจจธรรม ไม่ใช่รู้อื่น แต่รู้สภาพธรรม ที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ซึ่งไม่เคยรู้ หรือว่าที่เคยเข้าใจว่าเป็นเราทั้งหมด เป็นเราเห็น เป็นเราได้ยิน แต่ตามความจริง สภาพธรรมนั้นเป็นผลของกรรม หรือว่าเป็นกรรม
ผู้ฟัง เป็นปัจจัยให้เกื้อกูล ให้มีศีลบารมี ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้ารู้แจ้งสภาพธรรม มีปัญญาเกิดขึ้น ปัญญาก็นำมาซึ่งกุศลทั้งหลาย อวิชชาก็นำมาซึ่งอกุศลทั้งหลาย วิชชาก็นำมาซึ่งกุศลทั้งหลาย
ผู้ฟัง แล้วที่ว่าศีลบารมี มีความงดเว้นเป็นลักษณะ อันนี้หมายความว่า ขณะนั้นจะต้องมีการวิรัติทางกาย ทางวาจา และก็ทางใจ
ท่านอาจารย์ ถ้าศึกษาต่อไป ศีล เรื่องของกาย วาจามีมาก แล้วก็ศีลในเรื่องของอินทริยสังวร ซึ่งเมื่ออบรมการสังวรณ์ทางใจ ทางกาย ทางวาจาก็ต้องสงบด้วย ถ้าใจสงบ กายวาจาก็สงบ
ผู้ฟัง แล้วทางใจจะต้องเป็นกุศลด้วย เพราะว่าอย่างกรณีที่ว่าไม่มีมายา ไม่โอ้อวด ในลักษณะนี้ก็ต้องมาจากสภาพจิต ที่เป็นกุศล
วิทยการ. โวหารอันนี้เป็นโวหารเทศนา ที่บอกว่าไม่มีความอยากได้ ไม่มีใจพยาบาท มีความเห็นไม่วิปริต รู้ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของๆ ตน ด้วยกำหนดรู้อริยสัจ จริงๆ ก็คือมาจากคำว่า อภิชชา โทมนัส มิจฉาทิฏฐิ ไม่เป็นวิปริต แต่ว่าในสมัยที่พระพุทธองค์ยังบำเพ็ญ ศีล บารมีอยู่ ท่านยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจ ๔ ได้ อันนั้นท่านก็อบรมไป แต่ว่าอบรมไปก็สะสมไป เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่ามาในชาตินั้นแล้วก็จะได้เห็นอริยสัจเลย แต่นี่เป็นโวหารเป็นเทศนา ที่เป็นอย่างนี้ อบรมไป สะสมไป รวมทั้งมีความกตัญญูกตเวที อ่อนน้อมต่อผู้เจริญ มีอาชีพบริสุทธิ์ทั้งหมดต้องสะสม สะสมไป ไม่ใช่ว่า เอาชาติเดียวให้ได้ อะไรอย่างนั้น
ท่านอาจารย์ บางคนก็อาจจะคิดว่าธรรมดาจังเลย แค่ศีลธรรม ธรรมดาทางกาย ทางวาจา ก็อยู่ในเรื่องของศีลธรรมตามโรงเรียนก็เป็นได้ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ซื่อตรง ว่าง่าย ดูเป็นของธรรมดา แต่จริงๆ แล้วยากหรือเปล่า เป็นเรื่องซึ่งถ้าไม่เข้าใจธรรมจริงๆ จะอบรมได้ไหม ถ้าไม่มีปัญญา เพราะฉะนั้น เรื่องความละเอียดทุกอย่างที่ดูเหมือนง่าย แต่ความจริงไม่ง่าย เพราะเหตุว่าไม่มีใครสามารถ ที่จะบังคับให้เป็นอย่างนั้นได้ แต่ต้องอาศัยปัญญาจริงๆ ที่ค่อยศึกษา ค่อยๆ เห็นประโยชน์ แล้วก็อบรมไป
วิทยการ. ที่อาจารย์ก็พูดเสมอ ต้องค่อยๆ อบรมไป สะสมไป อบรมไป แต่ว่าดูๆ แล้วมันก็เหมือนธรรมดา แต่ที่พระพุทธองค์ จะต้องสะสมๆ ๆ ไป จนกระทั่งบารมีเต็มเปี่ยม พวกนี้ก็จะไม่มีหมด เพราะเป็นอกุศลทั้งนั้น ไม่เย่อหยิ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หวาดสะดุ้ง มหาบุรุษก็จะต้อง รวมทั้งการปกปิดความดี เปิดเผยโทษ อะไรนี่ เป็นคุณสมบัติของสัตบุรุษทั้งนั้นเลย แต่ว่ามันก็มีขั้น ที่จะต้องอบรมเพิ่มไปๆ ไม่ใช่ว่าทำทีเดียวให้หมดเลย
ท่านอาจารย์ คนอื่นสงสัยไหม ทำไมต้องปกปิดความดี
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660