ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
ตอนที่ ๖๐๘
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๕
ท่านอาจารย์ เช่นเราศึกษาว่า มีปรมัตถธรรม สภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน เดี๋ยวนี้มีจิตไหม ถ้าเดี๋ยวนี้ไม่มีจิต จะไปศึกษาเรื่องจิตที่ไหน บางคนก็คิดว่าไปศึกษาในตำราในคัมภีร์ แล้วเดี๋ยวนี้ จิตที่กล่าวไว้มีอะไร อย่างที่คุณนิพัฒน์บอกว่า คุณนิพัฒน์จะไม่สนใจที่จะจำหรือว่า ไม่คำนึงถึงว่า ขณะนี้ มีจิตกี่ดวงแล้วก็เจตสิกเท่าไร แต่ว่าขณะนี้ทุกคนมีจิต และจิตอะไร อันนี้เป็นสิ่งที่ต้องรู้ ไม่ใช่เพียงแต่กล่าวสั้นๆ แคบๆ ว่ามีจิต แล้วก็ไม่สามารถที่จะรู้ลักษณะของจิตได้ แต่เพราะเหตุว่า กว่าจะได้รู้ว่าจิตคืออย่างไร เพราะเหตุว่า ทุกคนเข้าใจเพียงว่า มีจิต แต่ผิวเผินมาก ไม่สามารถที่จะรู้ว่าจิต เป็นอะไร มีลักษณะอย่างไร เกิดขึ้นได้อย่างไร เขาก็ไม่สามารถที่จะรู้ว่าขณะนี้ มีสภาพรู้ หรือธาตุรู้ซึ่งจะใช้คำอะไรก็ได้ จะใช้คำว่า จิต จะใช้คำว่า หทัย จะใช้คำว่า มโน จะใช้คำว่า มนัส จะใช้คำว่า ปัณฑระ จะใช้คำว่าอะไรก็หมายถึง สภาพธรรม ที่ทุกคน มีในขณะนี้ แล้วทุกคนก็ใช้คำว่า จิต โดยที่ไม่รู้ว่าจิตนั้นขณะนี้ อยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร เช่นขณะนี้ที่เห็น พูดเรื่องจิต ทุกคนมีจิต แล้วก็ ขณะนี้ที่กำลังเห็นใครรู้บ้างว่าเป็นจิต
ผู้ฟัง ไม่เคยนึกเลย ไม่เคยคิดเลย
ท่านอาจารย์ โดยตำรา รู้ ใช่ไหม แต่ว่าขณะกำลังเห็น เดี๋ยวนี้ ถ้าศึกษารู้ว่าเป็นจิต เพียงคำที่ได้ยินได้ฟัง แล้วก็เวลานี้จิตกำลังมีด้วย แล้วอย่างไรจึงจะประจักษ์ความจริงของจิต โดยความเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น การศึกษาต้องละเอียด แล้วก็ไม่ใจร้อน ใจเย็น เป็นผู้ที่ตรงรู้ว่า ความรู้ของเราแค่ไหน แล้วเราต้องฟังอะไร เพื่อที่จะให้รู้ความจริงของสภาพธรรม ที่กำลังมีในขณะนี้ ถ้าจะฟังอย่างอื่นแล้วเราจะรู้ลักษณะของจิตที่กำลังเห็น จิตที่กำลังได้ยิน จิตที่กำลังคิดนึก ขณะนี้ไหม เวลาที่เกิดความยินดีชอบใจขึ้น อย่างเห็นดอกกุหลาบ ขณะนี้สวย มีความติดข้อง มีความพอใจ เป็นจิตประเภทหนึ่ง ถ้าไม่มีจิต ความยินดีพอใจเกิดไม่ได้เลย ไม่มีการที่จะเห็น ไม่มีการที่จะยินดีพอใจ เพราะฉะนั้น แม้แต่ที่จะแสดงโดยนัยของพระสูตร ซึ่งกล่าวเพียงย่อๆ ว่าหลังจากที่เห็นแล้ว เกิดความยินดี ยินร้าย ก็เป็นความจริงซึ่งแคบเข้ามาอีก ซึ่งก่อนนั้นก็จะไม่รู้เลย ว่าความยินดียินร้ายไม่ใช่จิต แต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดกับจิต
เพราะฉะนั้น การศึกษาทำให้เราเกิดความเข้าใจขึ้น เป็นปัญญาของเราที่ เริ่มเข้าใจทีละเล็กทีละน้อย ด้วยความอดทนที่จะรู้ว่า การที่จะได้ประจักษ์ความจริงของสภาพธรรม ที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสรู้ ทรงแสดง ผู้นั้นต้องอบรมด้วยปัญญาระดับไหน ขนาดไหน จึงสามารถที่จะประจักษ์ได้ กว่าจะเห็นความจริงที่ทรงแสดง เพราะเหตุว่าจากการเป็นปุถุชน สู่การเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญบารมีมากมาย แล้วเราจะบำเพ็ญอย่างนั้น หรือว่าจะเป็นเพียงสาวก ซึ่งอาศัยการฟัง การพิจารณาแล้วก็ค่อยๆ อบรมเจริญปัญญา จนกว่าจะสามารถที่เป็นผู้ที่ได้รู้ตามความเป็นจริง คือประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรม ผู้นั้นก็เป็นผู้ตรงจริงๆ ที่จะรู้ว่าปัญญาของผู้ที่ศึกษาพระศาสนา รู้อะไร ไม่ใช่รู้อย่างอื่น เข้าใจอะไร ก็ไม่ใช่เข้าใจอย่างอื่น นอกจากเข้าใจสภาพธรรม ที่กำลังมีในขณะนี้ ตามปกติตามความเป็นจริงเพิ่มขึ้น
ถ้าใครเข้าใจคำว่าพุทธศาสนา แล้วรู้ว่าพระผู้มีพระภาค ตรัสรู้อะไร ทรงแสดงธรรมคือสิ่งที่มีจริงในขณะนี้อย่างไร ก็คงจะอบรมความรู้ยิ่งขึ้น โดยการที่เป็นผู้ที่อดทน ที่จะค่อยๆ เข้าใจ แล้วก็เป็นความเข้าใจตัวธรรมด้วย ไม่ใช่เพียงแต่คำที่เป็นเรื่องราวของธรรม
ผู้ฟัง คำว่า ฟัง ของอาจารย์ หมายความว่าอะไร คำว่า เรียนรู้ ของอาจารย์หมายความว่าอะไร เรียนอย่างไร ทำอย่างไร คือพวกเราที่มานั่งในนี้ ไม่มีสิ่งเหล่านี้ มาโดยวิบากมากกว่า คือชาติก่อนคงได้ทำอะไรมาถึงได้มา แต่อยากจะเอาคนที่พอที่จะพอมีวิบากน้อยๆ ให้เขาอ่านแล้วให้เขาอยาก เรียนรู้มากขึ้น มีศรัทธามากขึ้น มากับเรามากขึ้นๆ อันนี้ แล้วก็ค่อยๆ สูงขึ้นๆ อย่างนี้ จะมีทางเป็นไปได้ไหม
ท่านอาจารย์ พระพุทธศาสนา กว้างขวางมาก แล้วก็มีหลายระดับ แล้วก็ประเทศไทยเป็นประเทศที่ศึกษาพระพุทธศาสนา แล้วก็เผยแพร่ธรรมกันมาก เพราะฉะนั้น จึงมีองค์กร และก็มีวัดอารามต่างๆ ซึ่งแต่ละท่านถนัดทางไหน ท่านก็ทำทางนั้น
แต่ตามความจริง ถ้าไม่มีปรมัตถธรรม คือ จิต เจตสิก รูป จะทรงบัญญัติพระวินัยไหม แล้วใครเป็นผู้ที่บัญญัติพระวินัย ต้องพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ท่านพระสารีบุตรก็ไม่สามารถที่จะบัญญัติพระวินัยได้ เพราะว่าทรงหยั่งรู้อัธยาศัยของบุคคล ทรงกันกิเลสซึ่งจะเกิดมีขึ้นได้ เพราะว่าจิตใจของมนุษย์ละเอียดมาก ไม่มีใครสามารถที่จะรู้ว่าวันหนึ่ง วันใดกิเลสประเภทใดจะเกิดขึ้น รุนแรงขนาดไหน แต่เมื่อทรงเห็นว่ามีทางใดที่จะกำจัดไม่ให้อกุศลประเภทนั้นๆ เกิดในเพศของบรรพชิต ที่สมควรที่จะเป็นเพศที่สะอาด แล้วก็บริสุทธิ์ และเป็นไปเพื่อการเจริญกุศล เป็นไปเพื่อการอบรมเจริญปัญญาในเพศบรรพชิต ก็ทรงบัญญัติไว้
แต่ถ้าคฤหัสถ์ท่านใด ศึกษาพระวินัย ประกอบกับการที่เป็นผู้ที่เข้าใจเรื่องจิต หรือปรมัตถธรรม ผู้นั้นจะเห็นประโยชน์มาก เห็นความละเอียดของจิตของตัวเอง เพราะว่าคฤหัสถ์วันหนึ่งๆ พูดมาก แล้วก็ทำมาก เพราะว่าทุกคนมีกาย และมีวาจา เป็นทางออกของจิต คำพูดแต่ละคำ มาจากจิตประเภทไหน คำพูดเรียบเคียง คำพูดประชดประชัน หรือแม้แต่คำย้อน พวกนี้ เราจะไม่รู้เลย ว่าจิตขณะนั้นเป็นอะไร แต่ถ้าศึกษาพระวินัย ทุภาษิต คำที่ไม่ดีมีอะไรบ้าง ทรงแสดงไว้เลย
เพราะฉะนั้น ถ้าเราศึกษาโดยละเอียด จะเห็นสภาพจิตของเรา ละเอียดขึ้น ถ้าเราศึกษาเพียงอภิธรรม อกุศลจิต ๑๒ ทางกาย ทางวาจาก็ทรงแสดงโดยประเภทที่ว่าล่วงเป็นอกุศลกรรมบถหรือเปล่า หรือว่าเป็นระดับของ นิวรณ์ หรือเป็นปริยุฏฐานกิเลส คือกิเลสเกิด ขึ้นทำกิจการงาน พวกนี้เราก็จะเห็นได้ ศึกษาทั้งหมด พระธรรมทุกพุทธพจน์มีคุณค่ามหาศาล ซึ่งผู้ฟังที่ศึกษาพระวินัย ได้ประโยชน์ หลายอย่าง คือได้ประโยชน์ ที่จะรู้กายวาจาของตัวเอง แม้ว่าเป็นเพศคฤหัสถ์ แต่ถ้าสามารถที่จะมีกาย วาจา งามอย่างที่ทรงแสดงในเรื่องพระวินัย ต้องเป็นประโยชน์ แล้วก็การที่เราจะมีความเข้าใจความต่างของเพศบรรชิตกับคฤหัสถ์ ก็ด้วยการที่ศึกษาพระวินัย จะทำให้รู้เลย ว่าการที่จะเป็นภิกษุในพระธรรมวินัย ไม่ใช่โดยผ้าที่ครอง แต่ต้องเป็นโดยพระวินัยที่ทรงบัญญัติ ขัดเกลาอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น คฤหัสถ์ก็สามารถที่จะประพฤติปฏิบัติ ต่อพระภิกษุ เพื่อเกื้อกูลให้ท่านไม่ผิดพระวินัย ไม่มีโอกาสหรือว่า แม้แต่เพียงว่า คิดว่าพระวินัยกล่าวอย่างนี้ ไม่ได้บัญญัติอย่างนี้ เราพอจะทำได้ แต่จะต้องมองไปถึงว่าสมควรหรือไม่ ที่จะกระทำอย่างนั้น เป็นช่องทางที่จะให้เกิดการครหา หรือว่าเป็นโอกาสต่อๆ ไป ที่จะให้มีการที่กิเลสกำเริบขึ้นหรือเปล่า
เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องซึ่งเป็นประโยชน์ ทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต แม้ว่าบรรพชิตบางท่าน ท่านก็อาจจะไม่ได้ศึกษาในส่วนที่ละเอียดมาก แต่ถ้าคฤหัสถ์มีความเข้าใจบ้าง ในส่วนที่ว่าความต่างของเพศบรรพชิตกับคฤหัสถ์ ก็จะทำให้เรามีความเคารพในความเป็นเพศบรรพชิต แล้วก็มีเมตตาจิตที่จะเกื้อกูล แทนที่จะไปคิดว่า พระภิกษุรูปนี้ ไม่ได้ศึกษาพระวินัย หรืออะไรต่างๆ ก็จะมีความพยายามที่จะเป็นประโยชน์ ในการกระทำของเราเอง ซึ่งเป็นไปตามสิ่งที่คฤหัสถ์ควรจะปฏิบัติ ต่างกับบรรพชิต
สำหรับพระสูตรก็มีประโยชน์มาก เพราะว่าแสดงถึงสภาพจิต โดยเป็นบุคคลต่างๆ แสดงให้เห็นความต่างของแต่ละบุคคล ที่สะสมมา ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านวิสาขานิคารมารดา หรือว่าพระภิกษุแต่ละรูป แม้ติดตามพระผู้มีพระภาคไปข้างหลัง ก้ยังเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาค ไม่ได้ทรงมีพระญาณที่ตรัสรู้สภาพธรรม เพียงแต่ไตร่ตรองแล้วก็คิดด้วยเหตุด้วยผล แม้เพียงการไตร่ตรอง ของพระองค์ก็เป็นประโยชน์แก่พระภิกษุรูปนั้น นี่คือความเข้าใจของคนในยุคสมัยต่างๆ กัน ซึ่งถ้าไม่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ก็จะคิดตามที่ข้อความในพระสูตรกล่าว แล้วก็คิดว่าเป็นเรื่องของตัวตนที่มี สติเป็นเราวิริยะเป็นเรา ทุกอย่างเป็นเรา นี่ก็เป็นเรื่องซึ่งแต่ละคน ควรจะเป็นผู้ที่ละเอียด แล้วก็ฟัง แล้วก็พิจารณาแล้วสอบถามจนกว่าจะได้ความเข้าใจที่ชัดเจนตรงตามพระไตรปิฎกด้วย ถ้าการศึกษาเป็นอย่างนี้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อพระศาสนาด้วย
ผู้ฟัง เท่าที่ผมฟังมาก็รู้สึกว่าการศึกษาพระพุทธศาสนา ตามที่เราต้องการเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้ฟังหรือประชาชนอย่างแท้จริง ก็ปรากฏว่าน้อยคนนักที่จะเข้ามาสนใจ การที่จะหลุดพ้น และเพื่อพระนิพพาน อันนี้ผมก็แปลกใจว่า พุทธศาสนาของเรา คงจะต้องเสื่อมลงแน่ ของเราก็อีก ๒ พันปี
ท่านอาจารย์ แต่ที่เราจะรู้ได้ว่าจะเสื่อมเมื่อไร คือ เสื่อมจากความเข้าใจ เสื่อมจากความเห็นถูกของแต่ละคน ถ้ายังคงมีความเห็นถูกต้อง พระศาสนาก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไปได้ แต่ถ้าแต่ละคนไม่เห็นถูกต้อง ก็ย่อมเสื่อม
ผู้ฟัง การศึกษาพระธรรมส่วนละเอียด คำว่า พระธรรมส่วนละเอียด ท่านอาจารย์ หมายถึงพระธรรมส่วนไหน
ท่านอาจารย์ ใน ๓ ปิฎก ส่วนไหนละเอียด
ผู้ฟัง พระอภิธรรมละเอียดกว่า
ท่านอาจารย์ แต่ว่าถ้าเราจะเข้าใจตามความเป็นจริง ใครก็ตามที่อ่านเรื่องในชาดกหรือว่า เรื่องในพระสูตร จะคิดเอาง่ายๆ ว่าเพียงฟังแล้วจบ หมายความว่าท่านไม่ได้มีการรู้ชัด หรือประจักษ์แจ้งในวิปัสสนาญาณ ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏเลย เพราะว่าข้อความนั้นไม่มี ไม่ได้แสดงวิปัสสนาญาณใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่เพียงใช้คำว่า รู้ชัด เพราะฉะนั้น บางคนเข้าใจว่าฟังอย่างนี้ เข้าใจมากขึ้นๆ ก็ความรู้มากขึ้น นั้นคือชัด แต่เขาไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น ก็เป็นตัว ตัวเขาที่กำลังฟัง กำลังพิจารณา กำลังเข้าใจว่ามีความรู้มากขึ้น แล้วก็เข้าใจว่าสามารถที่จะบรรลุได้ เพียงขั้นฟัง หรือว่าขั้นไตร่ตรอง แต่ไม่รู้ความจริงว่าในขณะนั้น พระอภิธรรมกล่าวไว้ว่าอย่างไร ทางทวารไหน จิตประเภทใด เกิดขึ้น มีอะไรเป็นอารมณ์ แล้วถ้าไม่รู้ว่าขณะนี้ เป็นสภาพธรรมที่กำลังคิด ก็เป็นธรรม ทางมโนทวารเป็นจิต และเจตสิกที่เกิดขึ้น ถ้าไม่เข้าใจตามความเป็นจริงอย่างนี้ ก็คิดว่าแค่คิด ก็สามารถที่จะรู้แจ้งอริยสัจธรรมได้ เพราะว่าไม่มีข้อความในพระสูตรที่กล่าวถึง เรื่องวิปัสสนาญาณต่างๆ กล่าวไว้แต่เพียงคำว่า รู้ชัด แต่รู้ชัดที่นั้นเป็นการประจักษ์แจ้ง ด้วยวิปัสสนาญาณ ทุกขั้น
ผู้ฟัง อันนี้ก็มาตรงกับ คำถามข้อที่ ๒ การอ่านพระไตรปิฎก อย่างไรจึงจะถูกต้อง ถ้าอ่านไม่ดี ก็อย่างที่ท่านอาจารย์ว่า ก็ไม่ได้แสดงไว้ เรื่องสติปัฏฐาน เรื่องสภาพธรรมที่กำลังปรากฏกับท่านพระโปฐิละแต่ว่าได้แสดงไว้ในที่อื่นมากมายแล้ว ก็ไม่ต้องมาพูดกันตรงนี้อีก สำหรับท่านพระโปฐิละซึ่งท่านก็ได้สะสมมา จนบารมีท่านก็จะเต็มเปี่ยมอยู่แล้ว แต่ว่าพระพุทธองค์ยกข้อที่ท่านพระโปฐิละ ท่านมีมานะ ถึงแม้ว่าท่านจะศึกษาเป็นอาจารย์ถึง ๑๘ คณะต่างๆ เหล่านี้ ก็ต้องมาเกื้อกูลตรงนี้ อย่างนี้ท่านเรียกว่า พุทธเวนัย แนะตรงนี้สักนิดหนึ่งแล้วท่านไปพบสามเณรซึ่งเป็นพระอรหันต์ ก็ได้บรรลุต่อมา
ท่านอาจารย์ ทุกคนก็ผ่านข้อความในพระสูตร ที่ว่าจักขุวิญญาณ เที่ยงไหม ไม่ใช่คำถามให้ตอบโดยคิด ใครตอบก็ตอบได้ว่า เวลานี้จากการศึกษาจักขุไม่เที่ยง ตาจักขุปสาทไม่เที่ยง จักขุวิญญาณเห็นไม่เที่ยง แค่นี้หรือเป็นปัญญาที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เพราะว่าขณะนี้จักขุกำลังเห็น ต้องไม่เที่ยง ต้องมีปัญญาที่สามารถประจักษ์ สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เพียงฟังแล้วตอบ แล้วก็สามารถที่จะรู้ชัดในสภาพธรรมนั้นได้ แต่ต้องมีการประจักษ์จริงๆ ด้วยเหตุนี้การอบรมเจริญปัญญา ในพระพุทธศาสนา ไม่ใช่มีแต่ขั้นปริยัติ มีปฏิบัติ และปฏิเวธด้วย
ผู้ฟัง แล้วเขายังแนะนำผมอีกด้วย เขาบอกว่าเรียนไปเถอะ อ่านไปเถอะ จำให้ได้มากๆ เดี๋ยวก็รู้สภาพธรรมเอง เรียนจำชื่อ จำจำนวนให้มากๆ หน่อย แต่อย่างไรเราก็ไม่เอา เพราะว่าเราไม่ทำ
ท่านอาจารย์ ขณะที่จำ ก็ไม่ใช่เรา เป็นจิต ไม่เที่ยงด้วย สัญญาเจตสิกเกิดกับจิต ทุกขณะแล้วก็ดับไป เพราะฉะนั้น ในขณะที่กำลังฟัง เดี๋ยวนี้ จิต เจตสิก เกิดดับ ใครรู้ แต่เข้าใจได้จากการฟังตอบได้ เพราะฉะนั้น เพียงความความรู้ ความเข้าใจจากฟัง ไม่ใช่เป็นการรู้แจ้งลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับจริงๆ เพราะฉะนั้น จึงไถ่ถอนความเป็นเราไม่ได้ เพียงโดยขั้นการฟังหรือโดยขั้นการคิด แต่จะมีการอบรมปัญญาอีกระดับหนึ่ง ซึ่งสามารถที่จะเข้าใจลักษณะของนามธาตุ และรูปธาตุ ซึ่งกำลังเกิดขึ้น ทำกิจการงาน และก็ไม่เที่ยงจริงๆ
ผู้ฟัง เรื่องวิบาก ว่าจะเกิดอย่างไรกับผู้ประกอบกรรม ขออาจารย์ ทวนสักนิดได้ไหม
ส. เมื่อเช้าก็เป็นคำถามของท่านที่ยังไม่ทราบ ความต่างของกรรมกับวิบาก คือท่านคิดว่ามีตัวเราซึ่งรับวิบาก ท่านไม่เข้าใจว่าแท้ที่จริงแล้ว เราไม่มี มีแต่จิต เจตสิก รูป เพราะฉะนั้น วิบากก็คือขณะเห็น ขณะนี้เป็นวิบาก ท่านคิดว่าต้องมีอีกคนไปรับวิบาก แต่ความจริงสภาพที่เป็นวิบากก็คือจิต และเจตสิกซึ่งเกิดขึ้นเพราะกรรมที่ได้กระทำแล้วเป็นปัจจัย เพราะว่าเราไม่สามารถที่จะเป็นตัวตน ที่จะให้จิตเห็นเกิดขึ้น เห็นสิ่งที่น่าพอใจที่เราต้องการ ไม่สามารถที่จะให้จิตได้ยินเกิดขึ้น ได้ยิน เสียงใดๆ ที่น่าพอใจ
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ทรงแสดงเรื่องของจิตที่เป็นเหตุ คือกรรม ได้แก่ เจตนาซึ่งเกิดกับจิต ที่เป็นกุศล และอกุศล แล้วแสดงจิตที่เป็นวิบาก ไม่มีเรา แต่เป็นจิตที่เป็นวิบากจิตเกิดขึ้นตั้งแต่ปฏิสนธิ ก็เป็นวิบาก ระหว่างที่ยังไม่ตาย ก็เป็นวิบาก ระหว่างที่ยังไม่ตายก็มีการเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส ก็รับรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย นี้เป็นจิตเจตสิกที่เป็นวิบาก
ผู้ฟัง ผมสรุปว่ากายนี้เป็นตัวกลางที่จะเป็นตัวรับกุศลวิบาก หรืออกุศลวิบากที่เคยทำมาแล้วในอดีต แล้วก็มาส่งผล ต่อตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเป็นไปได้ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงกายก็เผินมาก พระธรรมไม่เผินเลย จะพูดเรื่องสภาพธรรม ที่มีจริงทุกอย่าง อย่างละเอียด ถ้าพูดเรื่องจิตก็แสดงเรื่องจิตโดยละเอียด ถ้าพูดเรื่องเจตสิกก็โดยละเอียด ถ้าพูดเรื่องรูปก็โดยละเอียด เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงกาย ก็ไม่ละเอียดเผินไป ก็จะต้องรู้ด้วยว่ากาย
ผู้ฟัง กายหมายถึงรูป
ท่านอาจารย์ กายปสาท ที่ซึมซาบอยู่ทั่วตัว
ผู้ฟัง ซึ่งเป็นที่อาศัยอยู่ของจิตแต่ละประเภท
ท่านอาจารย์ ถ้าฟังอย่างนี้ เที่ยงมากเลย
ผู้ฟัง เราว่าจะทำ คุณวิจิตร จะทำตัวทำตน เอาตัวกลาง จะต้องมีตัวกลาง ไปรับวิบาก ไปอะไรต่ออะไร จริงๆ สภาพธรรมท้งหลายเกิดเพราะเหตุ เพราะปัจจัย ได้เหตุได้ปัจจัยก็เกิดขึ้น หมดเหตุ หมดปัจจัยก็ดับไป
ผู้ฟัง โดยธรรมชาติแล้วผมว่า รูปอันนี้ขึ้นมาเพื่อรับ
ท่านอาจารย์ มิได้ คือขอให้เราฟังธรรมละเอียดขึ้นๆ ถ้าเราพูดถึงกายกับใจ ก็ยังหยาบเผิน เราต้องละเอียดลงไปกว่านั้นอีก ว่ารูปทุกรูป เกิดแล้วดับ เร็วแค่ไหน ขอให้คิดถึงแค่นี้ก่อน ไม่ว่าจะศาสตร์ไหนก็ตาม รูปเขาจะแสดงว่าดับ แต่ว่า ของเขาจะช้ากว่าในทางพุทธศาสนา เพราะว่าไม่ใช่โดยการตรัสรู้ของสภาพธรรม ตามความเป็นจริง แต่ถ้ารู้ว่าจิตเกิดดับเร็วมาก จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะซึ่งแสนเร็ว ระหว่างเห็นกับได้ยินเกิน ๑๗ ขณะแล้ว รูป รูปหนึ่งที่เกิดแล้วดับ เมื่อจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ เพราะฉะนั้น ขณะใดที่รูปใดเกิดขึ้น เป็นปัจจัยให้เกิดจิตโดยสถานใด ทั้งจิต และรูปเกิดดับเร็วมาก ไม่ใช่ว่ามีอยู่ซึ่งเป็นที่อาศัยที่ถาวรเลย ทุกอย่างมีปัจจัยเกิดแล้วดับ ทั้งนามธรรม และรูปธรรม นี้จึงจะเห็นพระปัญญาคุณของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าทรงแสดงสภาพธรรม ตามความเป็นจริงคือสภาพธรรมที่สั้นมาก เร็วมาก เกิดดับเร็วจนไม่สามารถจะรู้ความจริงได้ ถ้าไม่ได้อบรมเจริญปัญญา เวลานี้มีตัวคุณวิจิตรไหม
ผู้ฟัง ที่จริงถ้าถามว่ามีไหม ก็ไม่มี มีแต่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องตรง คำใดที่ว่าจริง ต้องจริงตลอด ไม่ใช่ว่า เดี๋ยวไป เดี๋ยวมา เดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มี ขณะนี้ตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า มีรูปร่างท่าทางของคุณวิจิตร ที่เที่ยงไหม
ผู้ฟัง ไม่ มี
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น แต่ละรูปซึ่งมีอากาศธาตุแทรกขั้นอยู่โดยละเอียด แต่ละรูปซึ่งเกิดเพราะสมุฏฐานใดก็ตับเมื่อจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะนี้จึงจะเห็นความเป็นอนัตตา
ผู้ฟัง ผมคิดว่า การเกิดดับของจิต พอจิตดับ รูปก็ควรจะดับไปด้วย เพราะว่าในขณะที่
ท่านอาจารย์ มิได้ ไม่ใช่ว่าเวลาจิตดับ แล้วรูปดับด้วย เพราะรูปมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ต้อง ๑๗ ขณะของจิต
ผู้ฟัง เมื่อจิตเกิด ดับ ในขณะที่ ๑๗ นี้ หมายความว่ารูปก็ดับไปด้วย
ท่านอาจารย์ เร็วมาก
ผู้ฟัง เรื่องก็แสดงว่า นามดับ รูปถึงดับ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ สรุปอย่างนี้ได้อย่างไร จิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับๆ จะกล่าวว่าเมื่อจิตดับ แล้วรูปดับได้อย่างไร เพราะรูปจะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ
ผู้ฟัง รูปดับขณะที่จิตดับ ก็แปลว่า เพราะนามดับ รูปถึงดับ ผมเข้าใจอย่างนี้
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ รูปข้างนอก ที่สนามหญ้า มีรูปอะไรบ้าง มากมายแต่จะรู้ว่ารูปดับไหม ข้างนอก ไม่ว่าจะรูปไหนทั้งสิ้น รูปข้างนอก รูปข้างใน รูปที่ตัวหรือไม่ใช่รูปที่ตัวก็ตาม รูปทุกรูป ที่เป็นสภาวะรูป จะมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะ ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม วิธีที่จะนับอายุของรูปก็คือว่าไม่มีอะไร ที่จะนับได้ นอกจากสภาพที่เร็ว กว่านั้นคือจิต เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงว่า จิตเกิดดับ ๑๗ ขณะรูปๆ หนึ่งที่เกิด นี่ดับ ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตามแต่ เพราะฉะนั้น ขณะนี้ไม่ว่ารูปข้างนอกรูปข้างใน รูปไหนก็ตามแต่ ที่เกิดมีอายุเท่ากับจิตเกิดดับ ๑๗ ขณะรูปนั้นก็ดับไป เรื่องทาน เรื่องศีล ชาวพุทธก็เข้าใจกันอยู่แล้ว แต่ชาวพุทธไม่เข้าใจว่าไม่ใช่เราขณะที่กระทำทานหรือศีล หรือทุกๆ ขณะนี้ก็ไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้น จึงต้องศึกษาให้เข้าใจขึ้น ไม่ใช่เพียงแต่ระดับทาน หรือระดับศีล หรือระดับสมถเท่านั้น
ผู้ฟัง ที่อาจารย์เคยกล่าวถึงมรรค ๕ ซึ่งเว้น ๓ วิรัติ ๓ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างแต่ละองค์ คือ สัมมาทิฏฐิ กับสัมมาสังกัปปะเป็นปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะเป็นศีล สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิเทียบได้กับสมาธิ ถ้าหากว่าอาจารย์กล่าวว่ามีมรรค ๕ นี่ เพราะว่าศีลจะขาดได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ ขณะที่สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมเป็นศีล หรือเปล่า มีการก้าวล่วงทุจริตกรรมหรือเปล่า ไม่ใช่ศีล ๑ ศีล ๒ ศีล ๓ ศีล ๔ ศีล ๕ เป็น อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เป็นการเจริญอบรมความรู้ ที่จะสามารถรู้ความจริงของสภาพธรรม ในขณะนั้น เพราะว่าศีลมีหลายอย่าง อินทริยสังวรศีลก็มี ไม่ใช่แค่ ๑,๒,๓,๔,๕,๖,๗,๘,๒๒๗ ถ้ามีศีล ๕ แต่ไม่มีการที่จะระลึกลักษณะของสภาพธรรมไม่มีการสังวรตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อะไรจะเป็นศีลที่ละเอียดกว่ากัน ศีล ๕ เพียงต่ไม่มีการสังวรทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพียงแต่ว่า วิรัติจากทุจริตในอกุศลกรรมบถ นั้นคือศีล ๕ ใช่ไหม แต่ว่าขณะใดที่สามารถที่จะ สังวรทางตาสามารถจะมีการระลึกศึกษาเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตรงตามที่ได้เรียนทีละเล็กทีละน้อย ขณะนั้นเป็นศีล หรือเปล่า ยิ่งกว่าศีล ๑ ศีล ๒ ศีล ๓ ศีล ๔ ศีล ๕ หรือเปล่า
ผู้ฟัง ศีล คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ คือสิ่งที่ทุกคนปฏิบัติอยู่แล้ว
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีไหม
ผู้ฟัง ผมว่ามี มี
ท่านอาจารย์ หรือนั่งอยู่เฉยๆ พูดอะไรหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ต้องศึกษา นี่คือการศึกษา ที่จะรู้ความจริง ว่าขณะที่เจตสิกเกิด ทำกิจการงาน ต้องทำกิจวิรัติทุจริต ๓ อย่างนั้น
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 601
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 602
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 603
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 604
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 605
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 606
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 607
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 608
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 609
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 610
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 611
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 612
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 613
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 614
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 615
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 616
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 617
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 618
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 619
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 620
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 621
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 622
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 623
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 624
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 625
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 626
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 627
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 628
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 629
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 630
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 631
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 632
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 633
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 634
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 635
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 636
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 637
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 638
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 639
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 640
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 641
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 642
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 643
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 644
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 645
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 646
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 647
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 648
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 649
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 650
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 651
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 652
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 653
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 654
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 655
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 656
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 657
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 658
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 659
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 660