แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1851
ครั้งที่ ๑๘๕๑
สาระสำคัญ
นามธรรมและรูปธรรม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ตัวตน
โยนิโสมนสิการคืออะไร
โยนิโสมนสิการ ได้แก่จิตขณะไหน
มโนทวาราวัชชนจิตกระทำกิจ ๒ กิจ
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๓๑
ถ. ไม่ใช่ตัวตน หมายความว่าเป็นอนัตตา ใช่ไหม
สุ. เป็นนามธรรม เป็นรูปธรรม ก็ปฏิเสธอยู่แล้วว่า ไม่ใช่ตัวตน
ถ. เราบอกว่าตาเห็นรูป เราเห็นวัณณรูปจริงๆ หรือ เห็นไม่ได้หรอก เราไม่เคยเห็นเนื้อวัตถุจริงๆ สิ่งที่เราเห็นคือคลื่นแสงเท่านั้น คลื่นแสงไม่ใช่เนื้อของวัตถุ คลื่นแสงวิ่งไปแล้วสะท้อนเข้าตาเราจึงเห็นรูป เราเห็นคลื่นแสง เราไม่เห็นรูป เนื้อของวัตถุเราไม่เคยเห็น อาจารย์ลองดับไฟให้หมด ไม่มีคลื่นแสงเลย เราจะเห็นวัตถุไม่ได้ ทั้งๆ ที่มีวัณณรูปปรากฏอยู่ คลื่นแสงให้ความแตกต่างของสีและขอบเขตของรูปร่าง ... เพราะฉะนั้น เมื่อเราเห็นแต่คลื่นแสง เราไม่เคยเห็นวัตถุรูปที่เป็น วัณณรูปจริงๆ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเห็นรูปเกิดดับ
สุ. ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นคำตรัสของพระผู้มีพระภาค หรือเป็นคำของใคร
ถ. นายสุชาติพูดอยู่
สุ. เป็นความจริงในด้านไหน วิชาการไหน
ถ. ไม่ได้เกี่ยวกับวิชาการไหนเลย ถ้าเป็นความจริง ตาเห็นรูป คลื่นแสง ก็ไปสู่สายตาและขึ้นสู่คลื่นสมอง เราไม่ได้เห็นอะไรหรอก แต่ความจริงเราเห็น
ความจริงเรื่องเกิดดับ ผมเชื่อในพระสัพพัญญูของพระพุทธเจ้า และก็เป็น อย่างนั้นจริงๆ เพียงแต่กำลังทำความเข้าใจเท่านั้นว่า เราเข้าใจพระพุทธเจ้า กันอย่างไร
สุ. ขณะนี้คุณสุชาติเห็นอะไร
ถ. เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
สุ. ก็ตอบถูก ไม่ได้อ้างวิชาการเมื่อกี้เลยว่าคลื่นแสงอะไรมาจากไหน วิชาการไหน เพียงแต่ตอบอย่างที่ทุกคนสามารถจะเข้าใจได้ว่า คุณสุชาติกำลังเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา และรู้ชัดในลักษณะของสิ่งที่ปรากฏทางตาหรือยัง หรือต้องไปเอา คลื่นแสงมาอีก หรืออย่างไร
ถ. และรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตานั้น คือ ความแตกต่างที่วัณณรูปแสดงปรากฏผ่านทางคลื่นแสง
สุ. นี่เป็นความคิด ความเข้าใจของคุณสุชาติในขณะที่พูดเรื่องสิ่งที่ปรากฏ แต่เมื่อถามสั้นๆ ว่า คุณสุชาติเห็นอะไร ก็ตอบว่า เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตนหรือเปล่า
ถ. ไม่เป็น
สุ. เป็นอะไร
ถ. เป็นสิ่งที่ปรากฏทางตา
สุ. เป็นเพียงรูปธาตุชนิดหนึ่งซึ่งกระทบกับจักขุปสาท หาความเป็นสัตว์ เป็นบุคคลใดๆ ไม่ได้เลย นี่คือสิ่งที่ปัญญาจะต้องประจักษ์แจ้ง เพราะว่าการเห็น เกิดแล้วดับ สิ่งที่ปรากฏทางตาเกิดขึ้นจึงปรากฏและต้องดับ เพียงแต่ปัญญายังไม่ประจักษ์แจ้ง และยังไม่ได้พิจารณาหนทางที่จะประจักษ์แจ้งด้วยว่า หนทางจริงๆ ที่จะประจักษ์แจ้งนั้นคือความรู้อย่างไร
ที่คุณสุชาติบอกว่า เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏทางตา แต่เวลาที่หลงลืมสติ คุณสุชาติจะไม่พูดอย่างนี้ ใช่ไหม เวลาที่หลงลืมสติ คุณสุชาติจะตอบว่าอะไร ตามความเป็นจริง
ถ. เห็นอาจารย์เป็นอาจารย์อยู่
สุ. ขณะที่หลงลืมสติ เห็นเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เพราะฉะนั้น คุณสุชาติจะต้องรู้ว่า ขณะที่เห็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางตานั้น ไม่ใช่ขณะเดียวกับที่นึกถึงรูปร่างสัณฐานที่จะรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นเป็นอะไร
ถ. ผ่านมามากมาย
สุ. เห็นด้วยไหม
ถ. เห็นด้วย
สุ. ถ้าเป็นปัญญาจริงๆ จะสามารถรู้ชัดในความต่างกันของขณะที่ เพียงเห็น และเวลาที่เห็นแล้วรู้ว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอะไร คุณสุชาติจะต้องพิจารณารู้ว่า เพราะอะไรจึงได้เห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือเป็นบุคคลนั้นบุคคลนี้
ถ. เพราะว่ายังมีกิเลส ตอนนั้นหลงลืมสติ และสัญญาต่างๆ ก็เกิดขึ้น เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดมโนภาพและจินตนาภาพต่างๆ มากมาย
สุ. พระอรหันต์ท่านเห็นเป็นคนนั้นคนนี้ไหม
ถ. ความจริงท่านก็เห็นเป็นคนนั้นคนนี้ แต่มีสติรู้ว่า ที่เห็นนั้นเป็นสมมติ ไม่ใช่ปรมัตถ์ ผมกล่าวถึงอาจารย์ ผมก็รู้ว่าอาจารย์เป็นสมมติทั้งนั้น
สุ. เพราะฉะนั้น ความต่างกันระหว่างคนที่เห็นและรู้ว่าสิ่งที่เห็นเป็นอะไร หรือเป็นใคร ย่อมมี ใช่ไหม คือ คนที่เห็นและยึดถือสิ่งที่ปรากฏว่าเป็น บุคคลนั้นที่เที่ยงไม่เกิดดับ กับพระอรหันต์ที่รู้ว่า ขณะที่เห็นนั้นเป็นขณะหนึ่ง และขณะที่รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏเป็นอะไรนั่นก็อีกขณะหนึ่ง และไม่มีกิเลสที่จะยึดถือว่า สิ่งที่ปรากฏนั้นเที่ยง นี่คือความต่างกันของปัญญาของผู้ที่เห็นและรู้ชัดว่าสิ่งนั้นเกิดดับจนกระทั่งหมดกิเลส ซึ่งจะต้องอบรม
ถ. ความจริงที่ผมถามนั้น ผมไม่ได้มีความเห็นอย่างนั้น ผมเพียงแต่พูด ให้คิดเท่านั้นเอง นี่เป็นหลักการที่จะเค้นเอาความจริงออกมาให้ได้ ในเมื่อเขาค้านขึ้นมาอย่างนี้ เราก็ต้องอธิบายให้เขาโดยปรมัตถ์ได้ เรามีสัจจะ เรามีปัญญาแล้ว ต้องอธิบายให้ได้ อย่างตามแนวที่อาจารย์อธิบาย ผมเห็นด้วยทุกประการ เพียงแต่ว่าเราจะอธิบายสิ่งเหล่านี้กันได้อย่างไร แต่ผมไม่ได้มีความเห็นอย่างนั้น ผมเข้าใจ และที่อาจารย์ถามมา ผมก็ตอบได้ตามที่ผมเข้าใจนั่นแหละ ถ้าผมตอบไม่ได้ ผมก็บอกว่าไม่ได้ อย่างถามว่าเห็นไตรลักษณ์ไหม ผมก็บอกว่าไม่เห็น แต่ผมเข้าใจว่า อนัตตาเป็นอย่างไร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสิ่งที่ปรากฏเฉยๆ มีเหตุปัจจัยพร้อมก็เกิด ห้ามไม่ได้ ไม่มีใครไปกำหนดกฎเกณฑ์ได้ว่า ฉันเห็น ฉันรู้ ฉันเข้าใจ แต่ถ้าคิดและสรุปได้ โดยเอาหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ผมคิดว่าผู้นั้นสมบูรณ์แล้ว วันนี้ผมไม่ได้มาขัดแย้งอาจารย์ ผมเห็นด้วย ขอยืนยันว่าเกิดดับ และเกิดดับจริงๆ เสียด้วย แต่ถ้าจะอธิบายเกิดดับอย่างที่ผมคิดนั้น ไม่มีทางเป็นไปได้ แต่สิ่งเหล่านั้นเกิดดับจริงๆ
สุ. เพราะฉะนั้น ควรสนใจในเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาที่สามารถ ทำให้ประจักษ์แจ้งการเกิดดับ ซึ่งในขณะนี้ผู้ที่เป็นผู้ตรงก็จะต้องรู้ว่า ยังเห็นเป็นคน อยู่นั่นแหละ ไม่ว่าจะฟังมานานสักเท่าไร เห็นทีไรก็ยังเป็นคนทุกที เป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ทุกที แต่นี่เป็นเครื่องทดสอบปัญญาจากการฟังว่า เท่าที่ได้ฟังมาแล้วในชาตินี้หรือ ในชาติก่อนๆ ปัญญาอบรมมาพอที่สติจะระลึกและเริ่มค่อยๆ รู้ขึ้นบ้างไหมว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งแล้วคิด เพื่อที่จะได้เห็นว่า ความคิดนี่เองที่ทำให้เกิดสัญญา ความจำต่างๆ ในเรื่องของรูปร่างสัณฐานทางตาที่เห็น ในเรื่องของคำ ความหมายต่างๆ ของเสียงทางหูที่ได้ยิน และจะรู้ว่า ความคิดนั่นเองที่ทำให้ปิดบังลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ เพราะว่าในขณะนี้สภาพธรรมเกิดและดับทั้งทางตา ทางหู แต่เพราะคิดเกิดขึ้น แทรกคั่นจึงไม่ประจักษ์สักทีว่า ทางตา สภาพธรรมเกิดแล้วก็ดับ ทางหูขณะนี้ก็เป็นสภาพธรรมที่เกิดและดับ เพราะเหตุว่าความคิดต่อกันตลอด
ค่อยๆ ฟังไป ศึกษาไป พิจารณาไป เพื่อให้สติปัฏฐานเกิดระลึกตรงลักษณะของสภาพธรรม เป็นแนวทางที่จะทำให้ปัญญาค่อยๆ เจริญขึ้น และเป็นผู้ตรงที่จะรู้ว่าปัญญาขั้นฟังมีมาก เรื่องการเกิดดับของนามธรรมก็รู้ เรื่องจิตก็รู้ เรื่องเจตสิกก็รู้ แต่ปัญญาขั้นพิจารณาลักษณะของสภาพธรรมและค่อยๆ รู้ขึ้น ยังจะต้องอบรมเจริญต่อไปอีก
ในคราวก่อนมีท่านผู้ฟังถามเรื่องโยนิโสมนสิการว่าคืออะไร เพราะว่าท่านได้ยินได้ฟังบ่อยๆ
โยนิโสมนสิการ คือ การพิจารณาอารมณ์ที่ปรากฏโดยแยบคาย โดยฉลาด ซึ่งเป็นกุศล โยนิโสมนสิการเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แต่เกิดจากการได้ยินได้ฟังธรรมที่ถูกต้อง และเป็นผู้ที่สะสมการอบรมเจริญสติปัฏฐาน แม้ในชาติที่สติปัฏฐานไม่เกิด เพราะว่าในชาตินั้นอาจจะไม่ได้ยินได้ฟังพระธรรมเลย เช่น บางท่านแม้จะเป็นผู้ที่เคยฟังพระธรรมและเคยเจริญสติปัฏฐาน แต่ถ้าเกิดในประเทศที่ไม่สมควร คือ ไม่มีการศึกษา ไม่มีการฟังพระธรรม สติปัฏฐานก็ไม่เกิด ในชาตินั้นก็ผ่านไป หรืออาจจะเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานในบ้านที่มีการฟังพระธรรม หรือในวัดวาอารามต่างๆ ชาตินั้นสติปัฏฐานก็ไม่เกิด แต่ผลของการฟังพระธรรม การเจริญสติปัฏฐานไม่สูญหาย ยังคงสะสมสืบต่อ แม้ว่าสติขั้นสติปัฏฐานไม่เกิด ในชีวิตประจำวัน แต่บุคคลนั้นจะเป็นผู้ที่ละเอียดในการพิจารณาธรรม และในการเข้าใจพระธรรม เช่น คำสอนต่างๆ ของพระโพธิสัตว์ในชาติต่างๆ ผู้นั้นก็จะ เห็นคุณค่า และรู้ว่าเป็นคำสอนที่ละเอียดจริงๆ แม้ว่าจะเป็นเพียงคำสอน แนวจริยธรรมในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อเป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ และรู้ความละเอียดของธรรมนั้น ก็แสดงว่า ผู้ที่พิจารณาธรรมที่ละเอียดนั้น เป็นผู้ที่เคยสะสมสติอย่างละเอียดขั้นสติปัฏฐานมาด้วย เพราะฉะนั้น นี่คือโยนิโสมนสิการจากการฟัง และการพิจารณาเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้น
สำหรับผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมก็คงคิดว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่ จิตขณะไหน ในวิถีจิตวาระหนึ่งๆ จะเป็นในขณะที่เป็นกุศล หรือขณะที่เป็นมโนทวาราวัชชนะเพราะว่ามโนทวาราวัชชนจิตเกิดก่อนชวนวิถีจิต เป็นชวนปฏิปาทกมนสิการ ซึ่งคำว่า ปฏิ แปลว่า เฉพาะ ปาทกะ แปลว่า เป็นบาท เพราะฉะนั้น ชวนปฏิปาทกมนสิการ จึงเป็นมนสิการที่เป็นบาทโดยเฉพาะให้เกิดชวนจิต นี่คือมโนทวาราวัชชนจิตตามกิจ ซึ่งเกิดสืบต่อเมื่อเป็นวิถีจิตแต่ละวาระโดยอนันตรปัจจัย
เพราะฉะนั้น จะต้องพิจารณาว่า มโนทวาราวัชชนะเป็นโยนิโสมนสิการ หรือกุศลจิต กิริยาจิตที่เป็นโสภณ เป็นโยนิโสมนสิการ
ในวิถีจิตวาระหนึ่งๆ พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ก็พอที่จะทำให้พิจารณาได้ว่า มโนทวาราวัชชนจิตเป็นอเหตุกจิต ไม่มีโสภณเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น มโนทวาราวัชชนจิตโดยประเภทแล้วเป็นอโสภณจิต และมโนทวาราวัชชนจิตทำ อาวัชชนกิจทางมโนทวาร ทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร จึงเกิดก่อนชวนจิตทุกครั้ง แต่มโนทวาราวัชชนจิตก็เกิดขึ้นเพียงขณะเดียวเท่านั้นตามปกติ หลังจากนั้นชวนจิต ก็เกิดขึ้นเป็นกุศล หรือเป็นอกุศล และสำหรับผู้เป็นพระอรหันต์จะไม่มีกุศลจิต หรืออกุศลจิตเกิดต่อจากทางมโนทวาราวัชชนจิต แต่จะเป็นกิริยาจิต ซึ่งไม่ใช่กุศล และไม่ใช่อกุศล
เพราะฉะนั้น จะเห็นการสืบต่อจริงๆ จากจิตแต่ละวาระที่รู้อารมณ์จนกระทั่งถึงชวนะว่า ต้องกระทำกิจโดยอนันตรปัจจัย และเมื่อกระทำกิจนั้นแล้วแม้ว่า ผู้นั้นจะเป็นพระอรหันต์ มโนทวาราวัชชนจิตก็ยังทำกิจของมโนทวาราวัชชนะ คือ ทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวารและทำอาวัชชนกิจทางมโนทวาร เท่านั้นเอง ส่วนสภาพธรรมที่สะสมสืบต่อจนกระทั่งดับกิเลสเป็นสมุจเฉทนั้นเปลี่ยนแปลงจากกุศลและอกุศลเป็นกิริยาจิต แสดงให้เห็นว่า โยนิโสมนสิการจริงๆ ควรจะเป็นในขณะที่เป็นกุศล
ถ. ช่วยขยายความคำว่า อนันตรปัจจัย ด้วย
สุ. จิต เจตสิก ที่เกิดก่อนและดับไปเป็นปัจจัยให้จิตเจตสิกต่อไปเกิดขึ้น ตลอดไปในสังสารวัฏฏ์ จนกว่าจะถึงจุติจิตของพระอรหันต์ จึงจะไม่มีปัจจัยใดๆ เลย เพราะฉะนั้น เมื่อพระอรหันต์สิ้นชีวิตจึงเป็นปรินิพพาน หมายความว่าไม่มีสภาพธรรมเกิดสืบต่อจากนั้น
ยังมีข้อสงสัยในเรื่องของโยนิโสมนสิการไหม
ตามปกติธรรมดาเวลาที่กระทบอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ อกุศลจิตย่อมเกิด เป็นประเภทของโทสมูลจิต และถ้ากระทบกับอารมณ์ที่น่ายินดี น่าพอใจ โลภมูลจิต ก็เกิด เพราะฉะนั้น เวลาเป็นอารมณ์ที่น่าพอใจ แต่โลภะไม่เกิดก็ได้ ตามการสะสม ที่สะสมมาที่สติปัฏฐานจะเกิดหรือกุศลจิตจะเกิด หรือเวลาที่ประสบกับอารมณ์ ที่ไม่น่าพอใจ ซึ่งตามปกติโทสมูลจิตจะเกิดต่อ แต่กุศลจิตเกิดแทนโทสมูลจิตก็ได้ ตามการสะสม สภาพธรรมที่เป็นโสภณจะทำให้จิตเปลี่ยนแปลงสภาพจากที่เคย เป็นอกุศลให้เป็นกุศลได้
แต่บางท่านก็คิดว่า ขณะที่มโนทวาราวัชชนจิตทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร กระทบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ และกุศลจิตเกิดแทนอกุศล ก็น่าจะเป็นเพราะว่า มโนทวาราวัชชนจิตที่ทำโวฏฐัพพนกิจ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วต้องเป็นเพราะ การสะสมกุศลในอดีต เป็นปัจจัยทำให้กุศลจิตเกิดหลังจากนั้น
ถ. ถ้าอย่างนั้น โยนิโสมนสิการ องค์ธรรมก็ไม่ใช่มนสิการเจตสิก
สุ. มนสิการเจตสิก เป็นสัพพจิตตสาธารณเจตสิก ต้องเกิดกับจิตทุกดวง
ถ. อย่างผมฟังอาจารย์บรรยาย โยนิโสมนสิการดูเหมือนจะเป็นปัญญา ไม่ใช่มนสิการเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกดวง โยนิโสมนสิการเกิดกับจิตที่เป็นมหากุศลเท่านั้น
สุ. มนสิการมี ๓ คือ
มนสิการเจตสิก มนสิการอารมณ์ที่ปรากฏ
ปัญจทวาราวัชชนจิต เป็นวิถีปฏิปาทกมนสิการ เพราะว่าเป็นบาทหรือเป็น วิถีจิตแรกที่ทำให้วิถีจิตต่อๆ ไปเกิดขึ้น
มโนทวาราวัชชนจิต เป็นชวนปฏิปาทกมนสิการ เป็นจิตที่ทำกิจก่อนที่ ชวนจิตจะเกิด
เพราะฉะนั้น จะเห็นการสะสมทั้งฝ่ายกุศลและอกุศลที่จะทำให้ เมื่อมโนทวาราวัชชนจิตดับไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นทางปัญจทวารหรือทางมโนทวาร กุศลจิตหรืออกุศลจิตก็เกิด
ท่านที่กระทำอกุศลกรรมและคิดถึงเรื่องนั้น เพราะได้ทำแล้ว เพราะฉะนั้น การกระทำนั้นเอง เจตนาและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นปัจจัยทำให้นึกถึงเรื่องนั้น แต่ก่อนที่กุศลจิตหรืออกุศลจิตจะคิดถึงอดีตกรรมที่ได้ทำแล้ว จะเกิดกุศลจิตและอกุศลจิตทันทีทางใจไม่ได้ เพราะว่าในขณะนั้นเป็นภวังคจิต ก็จะต้องมีจิตขณะหนึ่งซึ่งทำอาวัชชนกิจนึกถึงอดีตกรรมที่ได้ทำแล้ว เพราะฉะนั้น การที่จะนึกถึง ก็ต้องเพราะได้ทำกรรมนั้นแล้ว เป็นกุศลหรืออกุศลก็ตาม และที่จะนึกถึงด้วยกุศลหรืออกุศลก็ตาม ก็ต้องแล้วแต่การสะสม แต่โดยสภาพการเกิดดับสืบต่อซึ่งเป็นจิตตนิยาม ชวนวิถีจิตจะเกิดขึ้นทันทีไม่ได้ ต้องมีมโนทวาราวัชชนจิตเกิดก่อน และถ้าจะกล่าว โดยชัดเจน ก็ต้องหมายความถึงชวนวิถีที่เป็นโยนิโสมนสิการหรืออโยนิโสมนสิการ แต่มโนทวาราวัชชนจิต เพียงแต่ทำกิจก่อนที่กุศลจิตหรืออกุศลจิตจะเกิด
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๘๖ ตอนที่ ๑๘๕๑ – ๑๘๖๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1818
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1819
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1820
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1821
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1822
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1823
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1824
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1825
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1826
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1827
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1828
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1829
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1830
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1831
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1832
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1833
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1834
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1835
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1836
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1837
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1838
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1839
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1840
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1841
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1842
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1843
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1844
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1845
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1846
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1847
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1848
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1849
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1850
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1851
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1852
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1853
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1854
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1855
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1856
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1857
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1858
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1859
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1860
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1861
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1862
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1863
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1864
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1865
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1866
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1867
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1868
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1869
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1870
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1871
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1872
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1873
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1874
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1875
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1876
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1877
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1878
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1879
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1880
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1881
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1882
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1883