แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1882
ครั้งที่ ๑๘๘๒
สาระสำคัญ
อเหตุกจิต ๑๖ ดวง ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วม
ชวนปฏิปาทกมนสิการ
มโนทวาราวัชชนจิตและหสิตตุปปาท อเหตุกจิตมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๒
สำหรับอกุศลวิบากจิต ๗ ดวง ได้แก่ จักขุวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ โสตวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ ฆานวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ ชิวหาวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ กายวิญญาณอกุศลวิบาก ๑ เป็นปัญจวิญญาณอกุศลวิบาก ๕ และ สัมปฏิจฉันนจิต ๑ กับสันตีรณอกุศลวิบากจิต ๑ ที่เป็นอกุศลวิบากเกิดร่วมกับ อุเบกขาเวทนา
อกุศลกรรมจะทำมากสักเท่าไรก็ตาม กี่ภพกี่ชาติมาแล้วก็ตาม แต่ผลของอกุศลกรรมมีเพียง ๗ ดวงเท่านั้น น้อยจริงๆ ดูเหมือนกับว่าไม่สมกับอกุศลกรรม หนักๆ ที่ได้กระทำมาแล้ว แต่ ๗ ดวงนี้ก็ไม่มีใครต้องการเลย ทางตาไม่อยากจะเห็นสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ทางหูไม่อยากได้ยินเสียงที่ไม่น่าพอใจ ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทั้งหมดไม่อยากกระทบสิ่งที่ไม่น่าพอใจ แต่ต้องเป็นไปตามกรรม เพราะฉะนั้น วิบากเหล่านี้ไม่ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
และสำหรับอกุศลวิบากจิตซึ่งมี ๗ ดวง ๖ ดวงทำปฏิสนธิกิจไม่ได้ คือ จักขุวิญญาณทำกิจเห็นอย่างเดียว โสตวิญญาณทำกิจได้ยินอย่างเดียว ฆานวิญญาณทำกิจได้กลิ่นอย่างเดียว ชิวหาวิญญาณทำกิจลิ้มรสอย่างเดียว กายวิญญาณทำกิจรู้โผฏฐัพพะอย่างเดียว สัมปฏิจฉันนจิตทำกิจรับอารมณ์ต่อจากจักขุวิญญาณ หรือโสตวิญญาณ หรือฆานวิญญาณ หรือชิวหาวิญญาณ หรือกายวิญญาณอย่างเดียว สำหรับอุเบกขาสันตีรณอกุศลวิบาก ๑ ดวงเท่านั้น ทำปฏิสนธิกิจในอบายภูมิ ไม่ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ถ. กรณีที่ปฏิสนธิจิตเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก เกิดมาเป็นคน ไม่สมประกอบ ที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียดที่เกิดมาบ้า ใบ้ บอด หนวกที่อาการไม่ครบ ๓๒ ท่านอาจารย์กรุณายกตัวอย่าง
สุ. คนที่พิการตั้งแต่กำเนิด โดยที่อกุศลกรรมทำให้จักขุปสาทรูปไม่เกิดก็ดี หรือโสตปสาทรูปไม่เกิดก็ดี หรือทำให้เป็นผู้ที่ปัญญาอ่อนก็ดี ต้องเป็นผลของ กุศลอย่างอ่อน เพราะว่ากุศลมีหลายระดับ กุศลธรรมดาๆ ที่เป็นอุเบกขา และเล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ ช่วยใครยกของเป็นกุศลไหม เป็น บางครั้งโสมนัส บางครั้ง ก็อุเบกขา ซึ่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งของ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกระทำ แต่ขึ้นอยู่กับสภาพของ กุศลจิตแต่ละครั้งที่เกิดขึ้น
เมื่อเป็นกุศลนิดๆ หน่อยๆ เล็กๆ น้อยๆ และให้ผล ซึ่งก็ต้องให้ผล แต่ให้ผลไม่มาก ไม่เหมือนกับกุศลที่ประณีตกว่านั้น ที่มีกำลังมากกว่านั้น เพราะฉะนั้น เวลา ที่ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้นเป็นผลของกุศลกรรมนั้น จึงเป็นอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ไม่ทำให้ไปเกิดในอบายภูมิ รอดมาได้จากอบายซึ่งแสนที่จะทรมานในนรก ในภูมิเปรต หรือในภูมิของอสุรกาย ภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน เป็นมนุษย์ แต่ต่างจากมนุษย์อื่น เพราะว่าปฏิสนธิจิตนั่นเองที่จำแนกให้ต่างกัน และในขณะนั้นพระผู้มีพระภาคก็ทรงแสดงว่า ปฏิสนธิจิตของพวกที่เป็นสุคติแต่ปฏิสนธิด้วยอุเบกขาสันตีรณกุศลวิบาก ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
ถ. ผมฟังแล้วรู้สึกว่า ตัวเองคงมีปฏิสนธิจิตในลักษณะนั้น เพราะไม่มี วิริยะเลย เช่น พยายามศึกษาบาลี หรือพระอภิธรรม เวลาฟังท่านอาจารย์ก็พอจะเข้าใจ แต่เมื่อออกมาแล้ว รู้สึกว่าตัวเองไม่รู้อะไรเลย ฟังพอรู้เรื่อง แต่ให้มาพูด เป็นขั้นเป็นตอนไม่ได้ ก็เข้าใจว่า คงไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย อีกประการหนึ่ง แม้ศึกษาเรื่องของโทสะว่า จะทำให้สะสมในจิตหรือมีวิบากที่ไม่ดีอย่างไร แต่เวลาที่โทสะเกิด ก็ไม่ได้ประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสอนเลย ก็ยังต้องโกรธ อย่างตัวอย่างเมื่อครู่นี้ที่ท่านอาจารย์สมพรบอกว่า ถ้าหากผู้ใดละโลภะได้จะอุดม ด้วยโภคะ แค่นี้ก็เกิดโลภะแล้วว่า เราอยากละโลภะ จะได้มีโภคะมากๆ คือ รู้สึกว่าได้ศึกษาพระธรรม แต่สภาพธรรมที่ปรากฏขึ้นในขณะนั้น ตัวเองไม่ได้ปฏิบัติตาม พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงคิดว่าคงจะมีวิริยเจตสิกน้อยมาก
สุ. แต่ก็ได้ผลจากการฟัง คือ รู้ทันทีว่ามีโลภะเกิด ซึ่งแต่ก่อนนี้อาจจะ ไม่เคยรู้เลยว่า ขณะนั้นเป็นโลภะแล้ว ทันทีที่ได้ฟังก็เกิดโลภะ แสดงว่าเป็นผลของการศึกษา ไม่ใช่ว่าการศึกษาไม่มีผล แต่ผลของการศึกษาก็ในขั้นของการศึกษา เพราะยังไม่ใช่พระอนาคามีบุคคล จะไม่ให้มีโลภะ เป็นไปไม่ได้ แต่เมื่อมีโลภะแล้ว และรู้ว่ามี ก็ดีกว่ามีโลภะแล้วไม่รู้ว่ามี
ถ. คงต้องฟังท่านอาจารย์ไปเรื่อยๆ
สุ. ต้องฟังพระธรรมมากทีเดียว เพื่อที่จะทดสอบตัวเองว่า วิริยะเพิ่มขึ้นหรือลดลง เพราะว่าเรื่องของกุศลธรรม บางครั้งก็เป็นเรื่องลุ่มๆ ดอนๆ คือ บางวาระก็มาก บางวาระก็น้อย เพราะฉะนั้น จะเห็นวิริยะของตัวเองได้ในทุกวัน แม้แต่การ ที่จะเป็นไปในกุศลแต่ละครั้งก็พอที่จะระลึกได้ว่า มีวิริยะหรือขาดวิริยะ และถ้า ในขณะนั้นขาดวิริยะทางกุศล ก็มีวิริยะทางอกุศล ไม่ใช่ว่าไม่มีวิริยะเลย เพราะว่า จิตที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยมีเพียงอเหตุกจิต ๑๖ ดวง
ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะที่เห็นอย่างนี้ ไม่มีวิริยะเลย เป็นผลของกรรมที่จะต้องเกิดขึ้น มีเจตสิกเกิดร่วมด้วยเพียง ๗ ดวง และทำกิจแค่เห็น ทำกิจอื่นไม่ได้เลย นี่คือชั่วขณะจิตหนึ่ง
สัมปฏิจฉันนจิตซึ่งเกิดต่อ ๒ ดวง เป็นกุศลวิบาก ๑ ดวง เป็นอกุศลวิบาก ๑ ดวง ก็ไม่มีวิริยะ ไม่ต้องทำอะไร รับต่อมาเฉยๆ โดยปัจจัยที่ว่า เมื่อเห็นดับลง ก็เป็นอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัยให้จิตดวงนี้เกิดขึ้นรับอารมณ์นั้นต่อ เพราะว่าอารมณ์นั้นยังไม่ดับ เมื่ออารมณ์นั้นยังไม่ดับก็ต้องมีจิตที่รับรู้อารมณ์นั้นต่อ ซึ่งเป็นสัมปฏิจฉันนจิต ๒ ดวง ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
สำหรับสันตีรณจิต ๓ ดวงก็ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะว่าพิจารณาอารมณ์ต่อจากสัมปฏิจฉันนะ เป็นวิบากที่จะต้องเกิด
รวมทั้งหมดก็เป็นวิบากจิต ๑๕ ดวง ที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งใน อเหตุกจิต ๑๘ ดวง มีจิต ๑๖ ดวงที่ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะฉะนั้น อีก ๑ ดวง คือ กิริยาจิต ได้แก่ ปัญจทวาราวัชชนจิต ไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
เมื่อกรรมจะให้ผล คือ ต้องเห็นสิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งที่ดีแล้วแต่กรรม ต้องได้ยินเสียงที่ดีหรือเสียงที่ไม่ดีแล้วแต่กรรม จะเป็นภวังค์อยู่ตลอดไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น ปัญจทวาราวัชชนจิต วิถีจิตขณะแรก ไม่ต้องมีวิริยะเลย เมื่ออารมณ์กระทบ ก็เป็นปัจจัยทำให้ปัญจทวาราวัชชนจิตซึ่งเป็นกิริยาจิตเป็นวิถีจิตแรกเกิดขึ้น
เมื่อปัญจทวาราวัชชนจิตดับแล้ว ปัญจวิญญาณดวงหนึ่งดวงใดจึงเกิดได้ และสัมปฏิจฉันนจิตจึงเกิดต่อ สันตีรณจิตจึงเกิดต่อ ต่อเมื่อมโนทวาราวัชชนจิต โดยชื่อ ถ้าทางปัญจทวารก็ทำโวฏฐัพพนกิจ เพราะฉะนั้น จะเปลี่ยนชื่อไม่ให้งงก็ได้ เปลี่ยนเป็นโวฏฐัพพนจิตก็ได้ เพราะบางคนสงสัยว่า เมื่อเป็นมโนทวาราวัชชนจิต ก็ต้องไม่ใช่วิถีทางปัญจทวาร แต่ความจริงแล้วรูปมีอายุ ๑๗ ขณะจิต และรูปที่เกิดพร้อมกับอตีตภวังค์ คือ เกิดแล้วกระทบภวังค์ทันที และภวังค์ไหวทันที จะมีอายุ ๑๗ ขณะซึ่งยังไม่ดับไป เพราะฉะนั้น มโนทวาราวัชชนจิตโดยชื่อที่ทำโวฏฐัพพนกิจ แต่จะเปลี่ยนชื่อเป็นโวฏฐัพพนจิตก็ได้ ขณะนั้นเป็นชวนปฏิปาทกมนสิการที่กุศลจิตหรืออกุศลจิตจะเกิดต่อ จึงมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพราะว่าเรื่องของกุศลและอกุศลเป็นเรื่องสำคัญกว่าเรื่องของวิบาก
เรื่องของวิบาก ถ้าจะพิจารณาแล้วเพียงชั่วขณะเดียว สั้นมาก ขณะนี้ไม่ใช่ มีแต่จักขุวิญญาณ เพราะว่าจักขุวิญญาณเพียงขณะเดียวที่เห็น แต่ชวนะที่เกิดหลังจากโวฏฐัพพนจิตถึง ๗ ขณะ ที่กำลังมีสิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า ขณะสั้นๆ เพียงขณะเดียวที่เป็นจักขุวิญญาณ สั้นมาก เล็กน้อยมาก สัมปฏิจฉันนจิตก็ขณะเดียว สันตีรณจิตก็ขณะเดียว โวฏฐัพพนจิต ก็ขณะเดียว แต่ชวนะที่จะเป็นกุศลหรืออกุศลถึง ๗ ขณะ เพราะฉะนั้น มโนทวาราวัชชนจิตซึ่งทำโวฏฐัพพนกิจทางปัญจทวาร และทำอาวัชชนกิจทาง มโนทวาร จึงมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
นี่เป็นเหตุผลที่จะทำให้ไม่ลืมว่า เพราะเหตุใดในอเหตุกจิต ๑๘ ดวง ๒ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิตและหสิตุปปาทจิต จึงมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
สำหรับหสิตุปปาทจิต เป็นจิตที่ทำให้เกิดการแย้มหรือยิ้มของพระอรหันต์ เพราะว่าเป็นกิริยาจิต ถ้าปุถุชนหรือคนที่ไม่ใช่พระอรหันต์ยิ้ม ก็จะยิ้มด้วย โสมนัสเวทนาที่เกิดกับอกุศลจิตที่เป็นโลภมูลจิต หรือเกิดกับกุศลจิตที่เป็นมหากุศลจิต แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ หสิตุปปาทจิตเป็นอเหตุกจิตที่ทำให้พระอรหันต์ยิ้มหรือแย้ม นอกจากหสิตุปปาทจิตแล้ว พระอรหันต์ยังแย้มหรือยิ้มด้วยมหากิริยาจิตที่เป็น โสมนัสเวทนาด้วย และเมื่อกระทำชวนกิจก็ต้องมีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วย
แสดงให้เห็นว่า เพียงชั่วขณะที่ทุกคนนั่งอยู่ที่นี่ ก็มีทั้งจิตที่มีวิริยเจตสิกเกิด ร่วมด้วยและไม่มีวิริยเจตสิกเกิดร่วมด้วยสลับกันไปเรื่อยๆ ถ้าได้รู้ได้เข้าใจละเอียดขึ้น ก็จะเห็นว่า ไม่ใช่เราจริงๆ เพราะว่าเป็นจิตแต่ละขณะซึ่งเกิดดับสืบต่อกัน
สำหรับชวนะย่อมสำคัญกว่า เพราะว่า ๗ ขณะกับแต่ละ ๑ ขณะ ๗ ขณะ ก็ต้องสำคัญกว่า
สำหรับวิปริณามทุกข์ สัตว์ดิรัจฉานมีไหม หรือจะมีแต่เฉพาะมนุษย์
ผู้ที่เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานเต็มไปด้วยความเขลา ความหลง ความงมงาย ความไม่รู้ และไม่สามารถอบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะของสภาพธรรมด้วย เพราะฉะนั้น สัตว์ดิรัจฉาน วันหนึ่งๆ จะมีอะไรบ้าง ถ้าเป็นสัตว์เลี้ยง ก็รักนาย หรือ มีลูกก็รักลูก และเวลาที่ลูกของสัตว์ดิรัจฉานพลัดพรากจากไป สัตว์ที่มีลูกนั้นก็มีทุกข์เพราะฉะนั้น สำหรับการเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานกับการเกิดเป็นมนุษย์ อย่างไหนจะดีกว่ากัน
สัตว์ดิรัจฉานไม่มีทางที่จะคลายความรัก แต่มนุษย์ยังมีโอกาสได้ฟังพระธรรม และอบรมเจริญปัญญาที่จะค่อยๆ คลายความผูกพันหรือคลายโลภะได้ และมี กุศลธรรมแทนโลภะ คือ เปลี่ยนจากโลภะเป็นเมตตาได้ หรือแม้แต่ในขณะที่เป็น ทุกข์กาย กำลังเจ็บ กำลังปวด สัตว์ดิรัจฉานก็ไม่มีปัญญาพอที่จะพิจารณาลักษณะสภาพที่เป็นนามธรรม ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นแต่เพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งปวดและเจ็บ เป็นของจริง ซึ่งมีจริงๆ
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉานดีหรือว่าเกิดเป็นมนุษย์ดี ขณะที่มนุษย์ปวดเจ็บ สติปัฏฐานก็ยังจะเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมในขณะนั้น และสามารถรู้แจ้งอริยสัจจธรรมก็ได้ เมื่อเหตุสมควรแก่ผล แต่สำหรับสัตว์ดิรัจฉาน ไม่มีการที่จะคลายความรัก ความหลง เพราะว่าไม่สามารถเข้าใจสภาพธรรม ตามความเป็นจริงได้
ทุกข์ประการที่ ๓ คือ สังขารทุกข์ ทุกข์ คือ การเกิดดับของสภาพธรรมในขณะนี้ พูดสั้นๆ อย่างนี้ ท่านที่ได้อบรมปัญญามาพร้อม สามารถจะรู้แจ้ง อริยสัจจธรรมได้จริงๆ เพราะว่าในขณะนี้เอง สังขารทุกข์ทั้งนั้น เห็นขณะหนึ่ง ได้ยินอีกขณะหนึ่ง แต่ผู้ที่ยังไม่ได้อบรมเจริญปัญญาพร้อมที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ดูเป็นธรรมดา ไม่เดือดร้อน ก็รู้อยู่ว่า เห็นดับ และได้ยินเกิด ไม่เห็นจะเป็นทุกข์ได้อย่างไร
ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเหตุว่า แม้ว่าสังขารทุกข์มีจริง และกำลังเป็นสังขารทุกข์ คือ กำลังเกิดดับ แต่เพราะปัญญาไม่ได้รู้ว่า ปัญญาจะเจริญขึ้นก็เพราะรู้สังขารทุกข์นั่นเอง รู้ไม่ใช่รู้เพียงฟังว่าขณะนี้เป็นสังขารทุกข์ที่เกิดดับ แต่รู้ด้วยสติที่กำลังพิจารณาลักษณะของสังขารทุกข์ที่กำลังเกิดดับจริงๆ
แม้ว่าสังขารทุกข์มี ก็ต้องมีการศึกษาให้เข้าใจลักษณะของสังขารทุกข์ จนกระทั่งเป็นปัจจัยให้สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมซึ่งเกิดและดับ เพียงคำว่า เกิด ก็ดับแล้ว
แสดงให้เห็นว่า ปัญญาต้องรู้จริงๆ ตรงนั้น ตรงสภาพธรรมที่เกิดดับ แต่ต้องเริ่มรู้โดยเข้าใจก่อนว่า เป็นธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน พร้อม ที่จะเป็นฐานให้มีการระลึกรู้ได้ เพราะถ้าไม่มีการฟังจนกระทั่งเข้าใจจริงๆ และหวังรอว่าเมื่อไรสติจะเกิดมากๆ เป็นไปไม่ได้เลย
วันนี้ใครจะคิดเรื่องอะไร ก็เป็นเพราะรู้เรื่องนั้นมากๆ ก็คิดเรื่องนั้นได้มากๆ แต่ถ้าไม่รู้เรื่องนั้นเลย ก็คิดเรื่องนั้นไม่ได้
ถ้าดิฉันจะให้ผู้ฟังคนหนึ่งมาคิดเรื่องบ้านของดิฉัน ไม่มีทางที่จะคิดได้เลย ฉันใด การที่จะให้คนที่ไม่ได้ยินไม่ได้ฟังเรื่องลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมจนกระทั่งซึมซาบจริงๆ และบอกให้คนนั้นระลึกลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ก็ย่อมระลึกไม่ได้ เพราะแม้แต่เพียงวิตกเจตสิกซึ่งเป็นสภาพที่คิด ก็ยังคิดเรื่องที่ไม่รู้ไม่ได้
สติเป็นโสภณเจตสิก เป็นสภาพที่ระลึกเป็นไปในกุศล และถ้าเป็นสติปัฏฐาน ก็ต้องระลึกตรงลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม แต่ถ้าไม่มีความเข้าใจซึมซาบ ในลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมจริงๆ ที่จะบอกให้ใครเจริญสติปัฏฐาน ให้สติเกิด ให้ระลึกลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม ก็เป็นไปไม่ได้
เพราะฉะนั้น การฟังเท่านั้น ที่จะต้องฟังไป เข้าใจไป และสติจะค่อยๆ เกิดระลึกรู้ไปทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งรู้ว่า สังขารทุกข์ คือ ในขณะนี้เอง ปัญญาที่จะ รู้เพิ่มขึ้นก็รู้ลักษณะของสังขารทุกข์ที่กำลังเกิดดับ ปัญญาที่จะประจักษ์แจ้งแทงตลอดในการเกิดดับ ก็ประจักษ์แจ้งแทงตลอดลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังเกิดดับ ในขณะนี้เอง สัตว์เดรัจฉานไม่มีโอกาสจะรู้จักสังขารทุกข์เลย
มีท่านผู้ฟังท่านหนึ่ง ท่านเล่าให้ฟังเพื่อให้เห็นวิปริณามทุกข์และสังขารทุกข์ ท่านเล่าว่า เวลาที่ท่านใส่บาตร ท่านชอบฟังพระภิกษุที่รับบิณฑบาตสวดให้พร ขณะนั้นกุศลจิตเกิด แต่วันนั้นท่านใส่บาตรพระหลายรูป มีพระรูปหนึ่งสวดให้พร เสียยาว ไม่จบ ท่านผู้นั้นก็เห็นความแปรปรวนของจิต ความผันแปรของจิตว่า กุศลจิตเกิดเมื่อกี้เอง แต่เมื่อยาวไปหน่อย อกุศลจิตก็เกิดแล้วว่าเมื่อไรจะจบ เพราะ ในขณะนั้นก็มีหลายคนที่ยืนคอย ซึ่งธรรมดาเวลาที่ฟังพระสวดให้พรกุศลจิตเกิด แต่เมื่อยาวไปนิดหนึ่ง สภาพของจิตก็แปรปรวนเปลี่ยนจากกุศลเป็นอกุศล ซึ่งขณะนั้น ถ้าปัญญาพร้อมที่จะประจักษ์ลักษณะของการเกิดดับ ย่อมสามารถแทงตลอดและ เห็นโทษภัยของสภาพธรรมที่ดับไปจริงๆ
แสดงให้เห็นว่า การที่จะฟังพระธรรมและเข้าใจพระธรรม อบรมเจริญปัญญา ลับปัญญาให้คมขึ้นด้วยการพิจารณาธรรม ต้องเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ซึ่งนอกจากจะฟังแล้ว ก็ยังสังเกต พิจารณา ในขณะที่สภาพธรรมอย่างหนึ่งอย่างใดกำลังเป็นไปในชีวิตประจำวันของตนเองจริงๆ ซึ่งแต่ก่อนนั้นท่านผู้นั้นอาจจะไม่ได้สังเกตถึง สภาพความปรวนแปรอย่างรวดเร็วของจิต แม้เพียงชั่วขณะที่พระกำลังสวดให้พรก็มี ทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตได้
มีข้อสงสัยอะไรบ้างไหมในเรื่องนี้ หรือท่านผู้ฟังมีประสบการณ์อะไรที่จะให้ ท่านผู้ฟังท่านอื่นได้เห็นความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ซึ่งในชั่วขณะหนึ่งๆ ก็ยังสามารถเห็นความปรวนแปรของจิตได้
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๘๙ ตอนที่ ๑๘๘๑ – ๑๘๙๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1818
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1819
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1820
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1821
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1822
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1823
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1824
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1825
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1826
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1827
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1828
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1829
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1830
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1831
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1832
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1833
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1834
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1835
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1836
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1837
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1838
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1839
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1840
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1841
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1842
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1843
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1844
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1845
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1846
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1847
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1848
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1849
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1850
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1851
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1852
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1853
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1854
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1855
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1856
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1857
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1858
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1859
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1860
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1861
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1862
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1863
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1864
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1865
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1866
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1867
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1868
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1869
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1870
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1871
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1872
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1873
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1874
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1875
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1876
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1877
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1878
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1879
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1880
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1881
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1882
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1883