แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1826
ครั้งที่ ๑๘๒๖
สาระสำคัญ
โยนิโสมนสิการต้องเจริญขึ้นและละเอียดขึ้น
การฟังพระธรรมมีอุปการะมาก
ขุ.ชา.อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑ - สะสมโยนิโสมนสิการ
ที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๓๑
บางท่านก็คิดว่า ถ้าได้สนทนากันและได้เข้าใจเหตุผลที่ละเอียดขึ้น จะช่วยให้มีศรัทธาเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้น ควรที่จะได้ทราบว่า โยนิโสมนสิการต้องละเอียด ขึ้นอีกๆ เมื่อได้ฟังพระธรรม เมื่อเข้าใจ และเมื่อสติปัฏฐานเกิดแล้ว เพราะว่าการที่จะเป็นผู้ที่มีปกติระลึกและรู้ลักษณะของสภาพธรรมในชีวิตประจำวันจริงๆ และละคลายความไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ในขณะที่กำลังเห็นเดี๋ยวนี้ ในขณะที่กำลังได้ยินเดี๋ยวนี้ ย่อมเป็นสิ่งที่ยากกว่าการที่บางครั้ง บางขณะ บางกาล สติปัฏฐานจะเกิดและระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมเพียงบางอย่างบางประการ เช่นเวลาก่อนนอน อาจจะไม่มีเรื่องธุรกิจการงาน ไม่มีความกังวลใจใดๆ ทั้งสิ้น แต่เวลาอื่นสติปัฏฐานอาจจะไม่เกิด แต่ให้ทราบว่า โยนิโสมนสิการ ต้องละเอียดที่จะรู้ว่า เพียงรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมบางอย่างในบางเวลา ไม่พอ
เพราะฉะนั้น เมื่อมีเห็นขณะใด ได้ยินในขณะใด ในสถานที่ใดก็ตาม คิดนึกเรื่องใดก็ตาม สุขทุกข์เรื่องใดก็ตาม เพลิดเพลินหรือกังวลขุ่นเคืองใจขณะใดก็ตาม เป็นสภาพธรรมที่สติจะต้องระลึกเพื่อรู้ว่า ขณะนั้นไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพื่อละคลายอนุสัยกิเลสที่ยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเราโดยละเอียด มิฉะนั้นแล้ว ไม่มีทางดับอนุสัยกิเลส ถ้าเพียงแต่รู้ลักษณะของบางนามบางรูปเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้โยนิโสมนสิการจึงต้องเจริญขึ้น และละเอียดขึ้นด้วย ในขณะที่กำลังมีชีวิตปกติประจำวันและสติปัฏฐานก็ไม่เกิด โยนิโสมนสิการ ก็คือ รู้ว่ามีสภาพธรรมกำลังปรากฏ สติควรระลึกเพื่อที่จะได้ศึกษาลักษณะนั้นว่า เป็นนามธรรมหรือรูปธรรม
เพราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญาต้องประกอบด้วยโยนิโสมนสิการที่จะรู้ว่า ถ้าดูเหมือนละคลายความเพียร ก็เพราะว่าในขณะนั้นการสะสมของอกุศลทำให้เพลิดเพลินและหลงลืมสติ แต่เมื่อสติเกิดขณะใด ขณะนั้นก็โยนิโสมนสิการ คือ ค่อยๆ ระลึก ค่อยๆ พิจารณา ค่อยๆ รู้ไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต เป็นชาติๆ ไป จนกว่าปัญญาจะสามารถประจักษ์แจ้งลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ แม้ว่า ดูเหมือนน้อยกว่าที่เคยเป็น แต่ก็ละเอียดกว่า เพราะว่าบางครั้งบางเวลาสติปัฏฐานอาจจะเกิดจนรู้สึกว่านานหรือมาก แต่ไม่ละเอียด เพราะว่าไม่รู้สภาพธรรมที่เป็นปกติในชีวิตประจำวันจริงๆ
ถ้าเข้าใจอย่างนี้ ก็คือโยนิโสมนสิการที่เจริญขึ้น โดยไม่ใช่ถามว่า จะปฏิบัติอย่างไร เพราะว่าไม่ใช่เรื่องจะทำ แต่เป็นเรื่องของการฟังพระธรรมให้เข้าใจและอบรมความเข้าใจให้ละเอียดขึ้น
ผู้ฟัง ไม่ใช่เป็นข้อสงสัย แต่จากประสบการณ์ในการเจริญสติปัฏฐาน ในชีวิตประจำวันมาหลายปี ที่อาจารย์พูดว่า ดูเหมือนความเพียรจะย่อหย่อน หลังจากที่เกิดปัญหานี้แล้ว ผมก็พิจารณาตัวเองว่า เป็นอย่างนั้นด้วยหรือเปล่า ก็ เป็นบ้าง แต่อย่างที่อาจารย์พูดไว้ข้อหนึ่งซึ่งน่าฟังมาก คือ อกุศลที่สะสมมา ไม่ใช่น้อย และถ้าเปรียบเทียบกับสติที่เริ่มระลึกรู้บ้างนิดๆ หน่อยๆ ในขณะนั้นก็เกิดความคิดว่า เดี๋ยวนี้รู้สึกว่าน้อย ไม่เหมือนตอนใหม่ๆ ซึ่งความจริงแล้วเราไม่รู้เองว่า ความคิดนั้นเป็นความคิดของปุถุชน และการเจริญสติปัฏฐานก็ยังไม่เป็นพละ ยังไม่เป็นปัญญาที่ถึงขั้นประหานได้ เพิ่งเริ่มระลึกเล็กๆ น้อยๆ แต่เราจะไปเอาผลมาก หลังจากนั้นแล้ว ผมก็นำเทปของอาจารย์มาฟัง จากเมื่อก่อนนี้เปิดฟัง ตอนหลัง ก็เฉื่อยๆ ไม่ฟัง ก็เปิดเทปฟังเรื่องการเจริญสติปัฏฐาน สติก็มาอีก แสดงว่าการฟัง ของเรายังไม่พอ
สุ. การฟังพระธรรมมีอุปการะมาก ไม่ควรประมาทคิดว่ารู้แล้ว และก็ ไม่ฟัง แต่จะเห็นได้ว่า ขณะใดที่ไม่ฟัง เพราะอะไร ขณะนั้นต้องเป็นเพราะอกุศลจิต ที่เกิด แต่ขณะที่ฟัง ขณะนั้นเป็นกุศล และเมื่อฟังแล้วเข้าใจ ก็ยิ่งเห็นประโยชน์ว่า ไม่ควรขาดการฟังเลย ตราบใดที่ยังไม่ประจักษ์ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง และหนทางเดียวที่จะเกื้อกูลให้โยนิโสมนสิการเจริญได้จริงๆ ก็คือฟังพระธรรมให้เข้าใจละเอียดขึ้น
พระ อาตมาสังเกตลักษณะของโยนิโสมนสิการ เช่น ในเรื่องของเมตตา หรือให้อภัย อาตมาสังเกตในชีวิตประจำวัน เรื่องของโทสะ เป็นธรรมดามากที่จะต้องเกิด ยกตัวอย่างเพื่อนสหธรรมิกที่อยู่ด้วยคลุกคลีกัน บางครั้งมีการกล่าวเพื่อจะอนุเคราะห์ในการทำสิ่งที่ไม่สมควรบางอย่าง ในขณะนั้นรู้สึกว่ามีโทสะเกิดขึ้นเนื่องจากมีความ ถือตัวเกิดขึ้นอย่างมากว่า ทำไมต้องว่าเราด้วย เช่น การเปิดเทปวิทยุดังๆ ด้วยเจตนาที่อยากจะให้ท่านร่วมฟังด้วย ซึ่งท่านกำลังอ่านตำรับตำราอยู่ หรือบางครั้งท่านอาจจะสนใจเรื่องอื่น ก็กล่าวติกันบ้าง ในขณะนั้นอาตมารู้สึกว่าโทสะเกิดขึ้นเป็นธรรมดามาก เริ่มพิจารณาถึงเรื่องการมีเมตตาต่อกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง … พิจารณาหลายอย่าง ดูเหมือนโยนิโสมากเหลือเกินในขณะนั้น แต่โทสะไม่ได้คลายอย่างรวดเร็วเลย ชี้ให้เห็นถึงกำลังของโยนิโสมนสิการที่ไม่ได้อบรม
สุ. ในขณะนั้นพระคุณเจ้าไม่ได้ถามตัวเองว่า จะโยนิโสอย่างไร ใช่ไหม
พระ ไม่ได้ถาม
สุ. เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะมาถามว่า เวลาโกรธแล้วจะโยนิโสอย่างไร แต่เป็นเรื่องที่เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้ว ขณะที่กำลังคิดถึงพระธรรม พิจารณาพระธรรมว่า ธรรมใดเป็นกุศล ธรรมใดเป็นอกุศล และเข้าใจถูก ขณะนั้นเป็น โยนิโสมนสิการ แต่ไม่ใช่แบบที่ว่า จะโยนิโสอย่างไร จะปฏิบัติอย่างไร จะทำอย่างไร ซึ่งเป็นตัวตนที่คิดว่าจะทำ ไม่ใช่เป็นการรู้ว่า ธรรมคืออย่างไร
พระ ได้ยินการบรรยายเรื่องของท่านราหุลสามเณร ท่านไปเยี่ยมพระภิกษุ ในอาวาสหนึ่ง พระภิกษุเห็นท่านมาก็รีบวางไม้กวาดไว้ในที่ไม่สมควรวาง รีบไป ต้อนรับท่าน พระภิกษุบางรูปกลับมาในอาวาสนั้นเห็นเข้า ยังไม่ทันรู้เลยว่าใครวาง แต่เห็นท่านราหุลสามเณรมาแล้ว กล่าวติเตียนท่านทันที ท่านราหุลสามเณรไม่ได้กล่าวว่า ท่านไม่ได้ทำ หรืออะไรทั้งสิ้น ในขณะนั้นชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ท่านรู้ว่า การที่จะกล่าวอะไรในขณะนั้นไม่เกิดประโยชน์ แม้ตนเองไม่ได้ทำ เมื่ออาตมาฟังแล้ว นึกถึงธรรมเหล่านี้ ซึ่งเราได้เห็นประโยชน์ ในขณะนั้นมีการเปลี่ยนทันที ชี้ให้เห็นว่า ไม่มีการทำโยนิโสล่วงหน้าเลย รู้สึกว่าการเข้าใจธรรมในขณะนั้น เป็นอนัตตาจริงๆ ที่เปลี่ยนจิตในขณะนั้นจากโทสะเป็นเห็นโทษที่เราไม่พอใจ ซึ่งเราก็ผิดจริงๆ ท่านราหุลสามเณรท่านไม่ผิดเลย แต่ท่านก็ไม่ได้กล่าวโต้ตอบหรือมีอารมณ์ที่ไม่พอใจ
สุ. นี่ก็เป็นชาติสุดท้ายของท่านพระราหุล ซึ่งจะเห็นความเจริญของ โยนิโสมนสิการที่เป็นปัจจัยให้ท่านนิ่ง แม้ว่าผู้อื่นจะกล่าวโทษท่าน เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า กว่าจะมีโยนิโสมนสิการในชีวิตประจำวันอย่างละเอียด แม้ในเรื่องของกุศล และในเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน ก็ต้องเป็นผู้ที่ฟังพระธรรม เข้าใจพระธรรม และเห็นประโยชน์จริงๆ มิฉะนั้นแล้วโยนิโสมนสิการในขณะนั้นจะเกิดขึ้นนิ่งไม่ได้
พระ ใช่ เพราะสังเกตว่า จะท่องบ่นว่าเป็นกรรมของเขาตั้งเยอะแยะมากมาย ก็ไม่ได้ลดลงเลย เพราะกำลังของโยนิโสมนสิการยังไม่มีจริงๆ แม้กระทั่งเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน ใหม่ๆ รู้สึกว่าสติเกิดขึ้นเล็กน้อย ความเข้าใจเล็กน้อย รู้สึกจะ ท่องว่า ทางตาเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล หรือได้ยินถ้อยคำมาก็พิจารณาอยู่นานว่า เสมอกันด้วยสิ่งที่ปรากฏทางตาก็ดี หรือทางหูเสมอกันด้วยเสียง ก็ดี ซึ่งจริงๆ แล้วโยนิโสยังไม่มีกำลัง แต่ขณะใดสติระลึกที่ลักษณะจริงๆ ตามที่ได้เข้าใจแล้ว ขณะนั้นความสงสัยที่ตามมารู้สึกว่าน้อยลง อาตมาเชื่อว่า กำลังของโยนิโสจะเจริญได้โดยความเป็นอนัตตา ตามที่อบรมทีละเล็กทีละน้อยจริงๆ
สุ. โยนิโสมนสิการเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งทุกท่านคงจะเข้าใจแล้วว่า คือ ขณะใดที่โสภณธรรมเกิดขึ้น ขณะนั้นเป็นโยนิโสมนสิการ ซึ่งต้องเกิดจากความเข้าใจพระธรรมที่สะสมไปแต่ละชาติๆ ในชีวิตประจำวันจริงๆ คือ ต้องค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ทุกๆ ชาติ จนกว่าจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้
ขอกล่าวถึงการสะสมโยนิโสมนสิการของพระผู้มีพระภาคและของท่าน พระอานนท์ในครั้งที่พระผู้มีพระภาคยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ ในพระชาติที่ทรงเป็น พระเจ้าคันธาระ
ขุททกนิกาย คันธารวรรคที่ ๒ อรรถกถาคันธารชาดกที่ ๑ มีข้อความว่า
ที่พระนครราชคฤห์ สมัยนั้น เมื่อคนทั้งหลายพากันเลื่อมใสในท่าน พระปิลินทวัจฉะ ชาวพระนครราชคฤห์ได้ส่งเภสัชทั้ง ๕ ไปถวายท่านพระปิลินทวัจฉะ ท่านได้แจกจ่ายเภสัชเหล่านั้นแด่บริษัทของท่าน ซึ่งภิกษุเหล่านั้นเก็บของที่ได้มาไว้ เต็มกระถางบ้าง หม้อบ้าง ถลกบาตรบ้าง เมื่อคนทั้งหลายเห็นเข้าพากันยกโทษว่า สมณะเหล่านี้มักมาก เป็นผู้รักษาคลังภายใน (คือ เป็นผู้สะสมสิ่งของ)
เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงทรงบัญญัติสิกขาบทว่าด้วยการสะสมเภสัช และได้ตรัสว่า ในอดีตกาลเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติ บัณฑิตสมัยก่อนบวชเป็นนักบวชในลัทธิภายนอก แม้รักษาเพียงศีล ๕ ก็ไม่เก็บก้อนเกลือไว้เพื่อประโยชน์ ในวันรุ่งขึ้น ส่วนภิกษุทั้งหลายบวชในศาสนาที่นำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ เมื่อพากันสะสมอาหารไว้เพื่อประโยชน์แก่วันที่ ๒ วันที่ ๓ ชื่อว่าทำสิ่งที่ไม่สมควร และ พระผู้มีพระภาคตรัสเล่าเรื่องในอดีต พระองค์ตรัสว่า
ในอดีตกาล พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าคันธาระในคันธารรัฐ ในครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เป็นพระเจ้าวิเทหะในวิเทหรัฐ พระราชาทั้ง ๒ พระองค์นั้นทรงเป็น พระสหายที่ไม่เคยเห็นกัน แต่ทรงมีความคุ้นเคยกันอย่างมั่นคง
ในวันอุโบสถกลางเดือน พระเจ้าคันธาระทรงสมาทานศีลเป็นครั้งคราว แล้วเสด็จไปประทับบนพระแท่นภายใน ตรัสถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรมแก่ เหล่าอำมาตย์ทั้งหลาย ขณะนั้นพระเจ้าคันธาระทรงทอดพระเนตรท้องฟ้าทาง พระบัญชร ทรงเห็นพระราหูบดบังดวงจันทร์เต็มดวง ทำให้แสงจันทร์หายไป พระองค์ทรงพระดำริว่า พระจันทร์นี้เศร้าหมองอับแสงไปเพราะสิ่งเศร้าหมองที่จรมา แม้ข้าราชบริพารนี้ก็เป็นเครื่องเศร้าหมองสำหรับเราเหมือนกัน
พระองค์ทรงพระดำริว่า เราจักละราชสมบัติออกบวช เหมือนดวงพระจันทร์สัญจรไปในท้องฟ้าที่บริสุทธิ์ฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยผู้อื่นที่เราตักเตือนแล้ว เราจักเป็นเสมือนผู้ไม่ข้องอยู่ด้วยตระกูลและหมู่คณะ ตักเตือนตัวเองเท่านั้นเที่ยวไป
การสะสมในครั้งที่เป็นพระโพธิสัตว์ พิจารณาถึงโยนิโสมนสิการที่เจริญขึ้น คือ มองเห็นว่า แม้การจะตักเตือนผู้อื่นก็เป็นภาระ เพราะว่าประโยชน์ก็แล้วแต่ว่าจะ ได้มากหรือได้น้อยสำหรับผู้ได้รับการตักเตือน แต่สำหรับประโยชน์ของตนเองก็ มองเห็นว่า การมีบริวารหรือมีผู้ที่จะต้องตักเตือนนั้นยังเป็นภาระอยู่
พระองค์ทรงมอบราชสมบัติให้แก่เหล่าอำมาตย์ แล้วให้แต่งตั้งอำมาตย์ที่อำมาตย์ทั้งหลายเห็นสมควรให้เป็นพระราชา
เมื่อพระเจ้าวิเทหะทรงทราบว่า พระเจ้าคันธาระทรงออกผนวชแล้ว ก็ทรง สละราชสมบัติ ทรงผนวช แล้วประทับที่ดินแดนหิมพานต์เช่นเดียวกัน
ภายหลังดาบสทั้งสองได้มาพบกัน ไม่รู้จักกัน แต่กระนั้นทั้งสองต่างก็ชื่นชมกันประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอกัน
ครั้งนั้น วิเทหดาบสทำการอุปัฏฐากท่านคันธารดาบส และในวันเพ็ญคืนหนึ่ง เมื่อท่านทั้ง ๒ นั่งกล่าวกถาที่ประกอบด้วยธรรมกัน ณ โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง พระราหู บดบังดวงจันทร์อีก ท่านคันธารดาบสก็กล่าวว่า ราหูเป็นเครื่องเศร้าหมองอย่างหนึ่งของพระจันทร์ ไม่ให้พระจันทร์ส่องแสงสว่าง เมื่อท่านเห็นดวงจันทร์ถูกราหูบังก็คิดว่า ราชสมบัตินี้เป็นเครื่องเศร้าหมอง จึงละราชสมบัติแล้วออกบวช
เมื่อท่านวิเทหดาบสได้ฟัง ก็ได้ถามว่า
ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านเป็นพระเจ้าคันธาระหรือ
คันธารดาบสก็ตอบว่า
ถูกแล้ว ผมเป็นพระเจ้าคันธาระ
วิเทหดาบสก็กล่าวว่า ท่านเองก็เป็นพระเจ้าวิเทหะ ซึ่งเป็นสหายที่ยังไม่เคยเห็นกัน คันธารดาบสก็ได้ถามว่า เพราะเหตุใดท่านวิเทหดาบสจึงออกบวช วิเทหดาบสก็กล่าวว่า เมื่อได้ทราบว่าท่านคันธาระออกบวชก็บวชตาม เพราะคิดว่า ท่านคันธารดาบสคงได้เห็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงของการบวชแน่นอนแล้ว
ตั้งแต่นั้นมา ดาบสทั้ง ๒ นั้นก็สนิทสนมในธรรมกันยิ่งขึ้น ท่านทั้งสองอยู่ในดินแดนหิมพานต์นั้นเป็นเวลานาน และได้ออกจากป่าหิมพานต์เพื่อต้องการลิ้มรสเค็ม รสเปรี้ยว ได้ไปสู่แดนตำบลหนึ่ง
เมื่อคนทั้งหลายเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน ได้ถวายภิกษา แล้วพากันสร้าง ที่พักกลางคืนให้ท่านอยู่ในป่า แม้ในระหว่างทางบิณฑบาต ก็ได้สร้างบรรณศาลาไว้ ในที่ที่มีน้ำสะดวก เพื่อต้องการให้ท่านทำภัตกิจในที่นั้น
เมื่อท่านเที่ยวภิกขาจารที่บ้านชายแดนนั้นแล้ว นั่งฉันที่บรรณศาลาหลังนั้นแล้ว ก็ได้ไปที่อยู่ของตน
คนที่เลื่อมใสศรัทธาเหล่านั้น เมื่อถวายอาหารท่าน บางครั้งก็ถวายเกลือ ใส่ลงในบาตร บางคราวก็ห่อใบตองถวาย บางคราวก็ถวายอาหารที่มีรสไม่เค็มเลย
แนวทางเจริญวิปัสสนา เล่ม ๑๘๓ ตอนที่ ๑๘๒๑ – ๑๘๓๐
เรียบเรียงอักษรให้อยู่ในรูปแบบหนังสือ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญครบถ้วน
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1818
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1819
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1820
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1821
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1822
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1823
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1824
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1825
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1826
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1827
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1828
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1829
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1830
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1831
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1832
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1833
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1834
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1835
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1836
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1837
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1838
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1839
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1840
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1841
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1842
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1843
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1844
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1845
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1846
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1847
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1848
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1849
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1850
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1851
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1852
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1853
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1854
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1855
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1856
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1857
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1858
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1859
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1860
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1861
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1862
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1863
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1864
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1865
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1866
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1867
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1868
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1869
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1870
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1871
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1872
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1873
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1874
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1875
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1876
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1877
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1878
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1879
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1880
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1881
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1882
- แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1883