ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๗๐

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ ความรู้ของเรายังไม่ละเอียดพอ ถึงขณะจิตหนึ่ง มีเจตสิกอะไรเกิดร่วมด้วย เราเพียงแต่ฟัง พิจารณา จากพระธรรมที่ทรงแสดงโดยละเอียด ให้เห็นความเป็นอนัตตาว่า สภาพธรรมที่จะเกิดได้ ซึ่งเป็นนามธรรม เป็นจิต ต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ขณะไหนมีเจตสิกอะไร นั่นก็คือจากการฟัง แต่ปัญญาของเราจะละเอียดถึงกับที่จะรู้ไหม ว่าขณะที่เห็นจะมีเจตสิก ๗ ดวงหรือว่าหลังจากที่เห็นแล้ว มีจิตอะไรเกิดสืบต่อ ทางปัญจทวาร และทางมโนทวาร

    แต่ถ้าในขณะนี้ ทุกคนคิดหรือเปล่า ลองค่อยๆ พิจารณา ว่าคิดหรือปล่า จะได้รู้จักวิตก สภาพที่ตรึก หรือนึกเท่าที่ปัญญาสามารถจะเข้าใจได้ ไม่ต้องไปคิดถึงวิตกเจตสิก เกิดกับสัมปฏิจฉันนจิต สันตีรณจิต เหล่านั้น นั่นไม่ใช่วิสัย แต่วิสัยก็คือว่า ค่อยๆ อบรมความรู้ความเข้าใจ จากสิ่งที่มีจริงในขณะนี้ ถ้าถามว่าขณะนี้ คิดหรือเปล่า ต้องใช้ภาษาบาลีหรือเปล่า ถ้าไปถามคนอื่นว่า วิตกหรือเปล่า เขาจะเข้าใจไหม แต่ขณะนี้ที่กำลังเห็น คิดหรือเปล่า จะตอบว่าอย่างไร

    ผู้ฟัง คิดแต่ไม่รู้ว่าอยู่ทวาร

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องไปนั่งคิด ทำไมทางปัญจทวาร เพียงแค่ มีหรือเปล่า ขณะนี้ ที่จะรู้ จักตัวสภาพคิด ว่า มี คิดมี ไม่มีรูปร่างหน้าตาเลย เพราะเหตุว่าเป็นนามธรรม ก็จะเห็นความต่างของรูปธรรม กับ นามธรรม ว่าสภาพธรรม ใดที่เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างหน้าตาที่จะให้เห็น เป็นภาพเลย ไม่ต้องไปคิดถึงชวนะ ๗ ขณะทางปัญจทวาร มีภวังค์คั่นแล้วก็มีมโนทวารวิถี ไม่ใช่อย่างนั้น แต่กำลังเข้าใจสิ่งที่มี คิด ซึ่งไม่ใช่เข้าใจง่าย แต่ทุกคนก็คิด แล้วก็ตอบได้ว่าคิด คิดเป็นธรรมหรือเปล่า เป็น คิดเรื่องอะไร กามวิตก เป็นไหม ชื่อมาแล้ว ถึงแม้ว่าเรา จะไม่ใช่ชื่อนี้ หรือว่าต้องไปนั่งท่อง แต่ถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าระหว่างที่เป็นกามบุคคล อยู่ในกามภูมิ ความคิดของเราไม่พ้น จากเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ซึ่งปรากฏเป็นประจำทุกวัน ทางตาเห็นแล้วคิดตาม ทางหูได้ยินก็คิดตาม ทางจมูกได้กลิ่นก็คิด ทางลิ้นลิ้มรสคิด ทางกายที่กระทบสัมผัสก็คิด นี่คือเริ่มเข้าใจความละเอียด ซึ่งทุกคนมีจริงๆ แล้วก็เป็นธรรมจริงๆ ที่ทรงแสดงเพื่อที่จะให้ เราสามารถเข้าถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้น โดยใช้คำว่า กามวิตก เพราะว่าวิตกมี แต่เมื่อวิตกในเรื่องของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็เป็นกามวิตก

    แต่ให้รู้ว่าคิด คิดเรื่องอะไร คิดเรื่องกาม เพราะฉะนั้น ขณะที่คิดก็เป็นกามวิตก เพราะมีกามสัญญา นี่ก็ เป็นเรื่องธรรมที่เราเริ่มจะใช้คำ ซึ่งเราอาจจะเข้าใจ อย่างหนึ่งมาก่อน แต่ว่าตามความเป็นจริงก็คือค่อยๆ เข้าใจลักษณะของสภาพธรรม จนกระทั่งถึง แม้ไม่ใช่วิตกในความหมายของคิด ก็เป็นลักษณะของวิตกเจตสิก แต่การเรียนของเราต้องจากสิ่งที่สามารถจะพอเข้าใจได้ เช่น คิดทุกคนก็รู้ว่าทุกคนคิด ใช่ไหม แล้วถ้าไม่จำ จะคิดได้ไหม แล้วคิดเรื่องอะไร ก็คิดเรื่องกาม ก็เป็นกามสัญญา ที่ทำให้เกิดกามวิตก

    ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น เวลาสนทนากัน ตัวผมเองก็จะต้องเข้าใจว่า ถึงแม้ว่าจะสนทนาชื่อ เรื่องราวต่างๆ ในพระสูตรนี้ ซึ่งเป็นเหตุ เป็นผลมาก เราสามารถเข้าใจจากพระสูตรนี้ได้ โดยเหตุผลที่พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ แต่ถ้าสภาพธรรมนั้น เช่น เหตุปัจจัย หรือว่า ปัจจัยต่างๆ หรืออะไรต่างๆ ไม่ปรากฏกับ ในชีวิตประจำวัน หรือในขณะที่กำลังศึกษานั้นเลย ผมก็เข้าใจว่า นี่เป็นพียงการศึกษาชื่อของธรรมเท่านั้นเอง ซึ่งมีจริง

    ท่านอาจารย์ แต่เราจะค่อยๆ เข้าใจปัจจัยได้ จนครบ ๒๔ ปัจจัย จะมากหรือจะน้อยอีกเรื่องหนึ่ง เช่น เวลาที่เกิดความติดข้อง ขณะนั้นก็คือลักษณะของ โลภะ จะใช้คำว่า โลภะ ไม่ใช่คำว่า โลภะ ลักษณะนั้นก็เป็นสภาพที่ติดข้อง ซึ่งทุกคนมี มีใครไม่มีโลภะบ้าง ไม่มี ใช่ไหม โลภะเป็นเหตุในสภาพธรรมทั้งหมด จิต และเจตสิก โลภะเป็นเหตุ เหตุ ๑ เพราะฉะนั้น โดยความเป็นปัจจัย ตัวโลภะเป็นเหตุปัจจัย เราค่อยๆ เพิ่มชื่อ ทีละเล็กทีละน้อย และเราก็จะค่อยๆ เข้าใจขึ้น แต่เข้าใจความหมาย ว่าขณะนั้นมีโลภะเป็นเหตุหรือเปล่า มีโทสะเป็นเหตุหรือเปล่า มีโมหะเป็นเหตุหรือเปล่า เข้าถึงความเป็นเหตุ ของสภาพของโลภะ ของโทสะ ของโมหะ

    ผู้ฟัง อยากให้ท่านอาจารย์ ขยายความว่า ฟังด้วยดี เพราะว่าเวลานี้กำลังเรียนพระสูตรซึ่งก็เป็นพระพุทธพจน์ด้วย อันนี้เราก็เรียนไปตามพระสูตรนี้ว่า ท่านแสดงอย่างไร ทุกคนคิดว่าตั้งใจฟัง ด้วยดี คำถามของดิฉันก็คือว่า จากการเรียนพระสูตรนี้ เราฟังด้วยดี มันจะเป็นเหตุปัจจัยให้สติเกิดอย่างไร และเมื่อไร

    ท่านอาจารย์ วันนี้เราก็ไม่ได้ไปไหน น่าจะอยู่ที่กามสัญญา กามวิตก ตอนนี้แค่นี้ ต่อไปก็จะมีกามฉันทะ หรือว่าความเร่าร้อนซึ่งเกิด เพราะฉันทะ และการแสวงหา แต่ว่าจริงๆ แล้วก็คือชีวิตปกติประจำวัน แต่ว่าสิ่งที่เรากล่าวถึง ถ้าถามว่าเราเข้าใจจริงๆ แค่ไหน หรือว่าขั้นไหน เพราะเมื่อทุกคนกำลังฟัง มีกามสัญญา มีกามวิตก แต่เวลาพูดถึงหนังสือเรารู้ หมายความว่าอย่างไร แต่เวลาที่สภาพธรรม เกิดจริงๆ เป็นจริงๆ ในขณะนี้ คือเป็นธรรม เป็นธาตุ แล้วเป็นธาตุระดับ กามธาตุด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็กำลังเห็น กำลังได้ยินด้วย แล้วก็จำด้วย ไม่มีใครไม่รู้ว่าในห้องนี้ มีอะไร ใช่ไหม จำไว้หมดเลย นี่พวงมาลัย นี่แว่นตา นี่กระดาษ นั่นคือสัญญาเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่จำ แม้ว่าเราจะไม่รู้สึกเลย ว่าเราจำ แต่ขณะนั้นสัญญาเจตสิกก็เกิดขึ้นทำกิจการงาน เพียงก้าวเข้ามาในห้องนี้ จำได้ไหม โต๊ะ เก้าอี้ที่นั่งทุกอย่าง ต้องจำ

    เพราะฉะนั้น จะปราศจากความจำไม่ได้ แต่ความจำของเราก็จำกัดอยู่ในเรื่องของกาม เพราะว่าไม่พ้นจากกามไปได้ คือจริงๆ แล้วไม่ว่า จะเป็นคำเดียว ๒ คำ ๓ คำอย่างไร ก็ขอให้เข้าใจ แล้วก็ให้รู้ว่า ที่เราเข้าใจ ขั้นเรื่องของสัญญา ขั้นฟัง แต่ขณะนี้สัญญาเป็นอย่างไร วิตกที่คิดเป็นอย่างไร ที่ไม่ใช่เรา ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลย ถ้าไม่มีความเข้าใจเพิ่มขึ้น จนกระทั่งสามารถที่จะเข้าใจ ขณะที่สติสัมปชัญญะ เกิด จากการที่ไม่เกิดมาก่อน แล้วสติสัมปชัญญะก็เกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมหนึ่ง ซึ่งไม่มีการเลือกเลย ว่าจะไประลึกสัญญา ไประลึกวิตกใครทำได้ หรือใครมีปัจจัยที่จะระลึกถึงสัญญาเจตสิก หรือว่าวิตกเจตสิก ในเมื่อยังไม่รู้ว่าสภาพของนามธรรม เป็นอย่างไร

    เพราะขณะนี้ขั้นฟัง แยกได้ รูปธรรมเป็นสภาพที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่สามารถจะรู้อะไรเลยทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น นอกจากรูปธรรมแล้ว นอกจากสี นอกจากเสียง นอกจากกลิ่น นอกจากรส นอกจากเย็นร้อน อ่อนแข็ง ซึ่งปรากฏเป็นปกติในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้แล้วเป็นนามธรรม คิดนึกเป็นนามธรรม เห็นก็เป็นนามธรรม ไม่อ่อน ไม่ร้อน ไม่หวาน ไม่เปรี้ยว เป็นสภาพที่เป็นธาตุรู้ สภาพรู้ นี่คือสิ่งทีเราเริ่มที่จะเข้าใจ ก่อนอื่นไม่ใช่ไปรู้วิตกเจตสิก หรือว่าสัญญาเจตสิก แต่ขั้นฟัง สามารถที่จะเข้าใจได้ แต่การเข้าถึงลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม แต่ละอย่าง จะเป็นไปไม่ได้ ถ้าสติสัมปชัญญะไม่เกิด ขณะนี้มีสติขั้นฟังแน่นอน เพราะว่าขณะใดที่เป็นกุศลจิต ขณะนั้นต้องมีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย แต่ขณะที่กำลังฟังนี้เอง ถ้ามีลักษณะของสภาพธรรมปรากฏ ขณะนั้นไม่ใช่เพียงปรากฏแล้วหมดไป แต่ว่าสามารถที่จะมีลักษณะนั้นปรากฏให้รู้ให้เข้าใจในความเป็นธรรมนั้นๆ นั่นคือสติสัมปชัญญะ ซึ่งเกิดแล้วก็ดับ เป็นปกติ แล้วก็หลงลืมสติ แล้วก็เกิดอีก แล้วก็ดับอีก เป็นธรรมดานี่ก็คือการที่เราเริ่ม ที่จะรู้ความต่างของ ขณะที่หลงลืมสติ กับขณะที่สติเกิด แล้วก็จะรู้ว่าการที่เราอาศัยการฟัง มีความเข้าใจในเรื่อง ธรรมโดยชื่อประการต่างๆ ก็ทำให้สามารถรู้ความจริงว่า มีสภาพธรรม ๒ อย่าง ซึ่งมีลักษณะตรงทุกอย่าง ตามที่ได้ฟังมาแล้ว เช่น ลักษณะที่จำ ก็มีจริงๆ เวลานี้กำลังจำ แต่ไม่ได้ระลึกที่จะรู้ลักษณะซึ่งเป็นนามธาตุที่จำ เพียงแต่รู้ว่า มีความจำมีสภาพที่จำ เป็นลักษณะที่จำ ไม่ใช่ลักษณะอื่น เพราะฉะนั้น นี่ก็ตรงกับที่คุณสุรีย์ ถาม ว่าจะเกื้อกูลต่อการที่มีสติสัมปชัญญะจะเกิด เมื่อมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น

    ผู้ฟัง ถ้าจะสรุปก็หมายความว่า ฟังแล้วก็เข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง แต่ไม่เข้าถึง

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง

    ผู้ฟัง การที่เราจะเข้าใจ แล้วแต่เขาสะสมด้วย

    ผู้ฟัง กล่าวกับเรื่องวิตก ที่ท่านอาจารย์แสดงถึง บอกว่าขั้นเข้าใจ การตรึก ดิฉันว่า เข้าใจได้บ่อยกว่า เจตสิกอื่นๆ เพราะอะไร เพราะว่ามันมีนึกคิดอยู่ได้ตลอด สำหรับตัวดิฉัน เดี๋ยวก็คิด เรื่องโน้น เรื่องนี้ เดี๋ยวก็คิดคนนี้เป็นลูกคนนั้น จริงหรือเปล่า เมื่อไรเขาจะแต่งงานกัน ไม่ทราบว่าคิดอะไร ประสาทอย่างนี้อยู่เรื่อย ก็พอดี เมื่อกี้ท่านอาจารย์ก็บอก เรารู้จักคนอื่นมากกว่า จริงๆ แล้วถ้าเรารู้จักตัวเอง แล้วก็ ทราบว่าขณะนั้น เราศึกษาตัวเอง รู้สึกมันจะได้ผลกว่า

    ท่านอาจารย์ เพราะขณะนั้น ต้องทราบว่า เป็นแค่คิด ต่างจากขณะเห็น ขณะเห็นไม่ได้คิด ขณะได้ยินก็ไม่ได้คิด แต่เห็นแล้ว ได้ยินแล้วคิด เพราะฉะนั้น วันหนึ่งเต็มไปด้วย โลกของความคิด ทุกคนทราบ ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นได้ต้องมีปัจจัย ถ้าไม่มีปัจจัยก็เกิดไม่ได้เลย เราไม่พูดถึงขณะอื่น เดี๋ยวนี้ ปัจจัยอะไร

    ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้มีแต่ อารัมมาณะปัจจัย เต็มไปหมด

    ท่านอาจารย์ เห็นไหม แค่นี้ เท่านั้นเอง อารัมมาณะปัจจัย ขาดเมื่อไร ไม่มีเลย ตราบใดที่มีจิตต้องมีอารัมมาณะปัจจัย เพราะว่าจิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ เราไม่ต้องไปคิดถึงปัจจัยที่ยังไม่ได้ปรากฏ ยังไม่สามารถที่จะรู้ได้ แต่ขณะนี้มีสิ่งที่กำลังเป็นอารัมมาณะปัจจัยของจิต ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไรก็ตาม ก็เป็นอารัมมาณะปัจจัย

    เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าใจปัจจัยจริงๆ ก็คือเดี๋ยวนี้ ขณะนี้ ทีละปัจจัยด้วย ถ้าขณะนี้รู้เลย จิตที่เห็นขณะนี้ มีสิ่งที่ปรากฏ ไม่ว่าสิ่งนั้นคืออะไร นั้นก็เพราะสิ่งนั้นเป็น อารัมมาณะปัจจัยของจิตนั้น

    ผู้ฟัง ตอบแค่อารัมมาณะปัจจัย จะสมบูรณ์หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้รู้เลยด้วยซ้ำ ในความเป็นอารัมมาณะปัจจัย แต่รู้ชื่อเท่านั้นเอง ถ้ารู้จริงต้องมีสติสัมปชัญญะ ที่จะรู้ลักษณะของอารมณ์ จึงจะกล่าวได้ว่า สิ่งนั้นเป็นอารัมมาณะปัจจัย เพราะว่าสิ่งนั้นเป็นนามธรรมก็ได้ เป็นรูปธรรมก็ได้ แต่เมื่อไม่รู้ ลักษณะของสิ่งนั้น กล่าวว่าสิ่งนั้นเป็นอารัมมาณะปัจจัยไม่ได้ เรื่องราวก็เป็นอารัมมาณะปัจจัยได้ เพราะฉะนั้น ก็เป็นสิ่งที่มีจริงๆ ที่เราสามารถจะเข้าใจความเป็นปัจจัย ตามธรรมดาไปเรื่อยๆ จนกว่าปัญญาของเราจะเพิ่มขึ้น

    เวลาที่จิตขณะ ๑ ดับไป เป็นปัจจัยให้จิต ขณะต่อไปเกิดขึ้น ถูกต้องไหม เพราะฉะนั้น อุปนิสสย ปัจจัยมี ๓ อย่าง คือ อารัมมาณูปนิสสยปัจจัย ๑ อนันตรูปนิสสยปัจจัย ๑ ปกตูปนิสสยปัจจัย ๑ ถ้ากล่าวย่อๆ ก็จะเป็น ที่อาศัยที่มีกำลัง จิตที่เกิดต่อ อาศัยการดับไปของจิตขณะก่อน เป็นที่อาศัยที่มีกำลัง ที่ทำให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นได้ อันนี้ก็คือ อนันตรูปนิสสยปัจจัย

    เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องที่เราต้องมาดูวาระของจิต ใช่ไหม ผัสสเจตสิกที่เกิดกับ จักขุวิญญาณดับแล้ว เป็น อนันตรูปนิสสยปัจจัย ให้จิต และเจตสิกขณะต่อไปเกิดขึ้น เพราะว่าสืบต่อโดยไม่มีระหว่างคั่นเลย แต่ถ้าเป็นขณะต่อๆ จากนั้นไปก็เป็นโดยปกตูปนิสสยปัจจัย อันนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะ ต้องไปคิดถึงมากมายเพราะเหตุว่าขณะนี้เอง สิ่งที่กำลังปรากฏ เป็นอารัมมาณะปัจจัย ก็ยังไม่รู้ ใช่ไหม เพียงสิ่งที่มี ปรากฏชัดๆ เลย แต่ว่ารู้จริงๆ หรือเปล่า ว่าเป็นอารัมมาณะปัจจัย ไม่ต้องใช้ชื่อ เพราะเหตุว่าจะปราศจากอารมณ์ จิตจะเกิดขึ้นโดยไม่มีอารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใดไม่ได้ เพราะฉะนั้น อารมณ์ใดปรากฏต้องทราบเลย ว่าปราศจากอารมณ์นั้นไม่ได้ เพราะฉะนั้น อารมณ์นั้นจึงเป็นปัจจัย ๑ เป็นอารัมมาณะปัจจัย แต่ที่จะรู้อย่างนี้ ปัจจัยปริคหญาณ

    เพราะฉะนั้น การเรียนของเรา เรื่องปัจจัย โดยชื่อต่างๆ เรียนชื่อแล้วก็เรียนเข้าใจความหมาย แล้วก็ความเป็นเหตุเป็นปัจจัย แต่สภาพธรรมที่ปรากฏกับปัญญาที่จะหมดความสงสัย ต้องมีสภาพธรรมที่เป็นนามธรรม และรูปธรรม เกิดปรากฏในขณะนั้น แล้วก็ขณะนั้นมี ความเป็นปัจจัยโดยที่ไม่มีชื่อ แต่รู้ว่าสภาพธรรมแต่ละอย่างต่างกันไป ตามปัจจัยที่ทำให้สภาพนั้นๆ เกิด นี่ก็เป็นความเข้าใจถูกในลักษณะของสภาพธรรมนั้น โดยไม่ต้องมาเรียงปัจจัย หรือว่าไม่ต้องมารู้ปัจจัย หรือแม้แต่สภาพธรรมเกิด เช่น โลภะ ขณะที่เป็นโลภะ กับขณะที่ไม่ใช่โลภะ ก็จะเห็นว่าขณะที่โลภะเกิด มีเหตุ คือตัวโลภะนั่นแหละ เป็นเหตุที่ให้เกิดไม่ต้องมานั่งใส่ชื่อว่าเหตุปัจจัย

    เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ปัจจัยจริงๆ ต้องรู้ลักษณะของสภาพธรรมตามลำดับ ถ้านามรูปปริจเฉทญาณ ไม่เกิด ไม่รู้ลักษณะที่เป็นธาตุ ของนามธาตุ และรูปธาตุ โดยไม่มีเรา ไม่ใช่เรา แล้วจะรู้ถึงความเป็นปัจจัยในขณะนั้น ไม่ได้ แต่การที่จะรู้ ถึงความเป็นปัจจัยได้ ก็เพราะเหตุว่าลักษณะของสภาพธรรมนั้น ปรากฏโดยความต่างกัน ก็จะรู้ได้ว่าที่ต่างกันไป ก็เพราะเหตุว่ามีสภาพธรรมที่ต่างๆ กัน เพราะปัจจัยนั้นเอง ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เราจะคิด ว่าเราจะต้องไปรู้ชื่อนั้นชื่อนี้ เวลาที่สภาพธรรมปรากฏจริงๆ จะไม่มีชื่อเลย แต่ว่าความรู้จะเพิ่มขึ้นโดยสามารถที่จะเข้าถึงความเป็นอนัตตายิ่งขึ้น ของสภาพธรรมนั้น

    ผู้ฟัง ขณะนี้สภาพธรรมอะไรเกิดก็ระลึก เช่น ลักษณะไหวก็มี เย็นก็มี แข็งก็มี มันเป็นอย่างนี้หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ อารัมมาณะปัจจัย เห็นไหม แล้วเราก็ลืม แต่ว่าความจริงสิ่งนั้นจะปรากฏไม่ได้เลย ถ้าจิตไม่รู้สิ่งนั้น เพราะฉะนั้น มีสภาพรู้โดยอาศัยสิ่งนั้น เป็นอารมณ์ ที่ทำให้จิตรู้ แข็งหรืออ่อน เย็นหรือร้อน ตึงหรือไหวเกิดขึ้น ไม่ใช่ จิตอื่น แต่ต้องเป็นจิตนั้น ก็จะเข้าถึงความเป็นวิญญาณธาตุ ที่เป็นกายวิญญาณธาตุ ซึ่งจะต้องต่างกับจักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ โดยนัยของวิญญาณธาตุ ก็เป็นเรื่องที่ ถ้าเข้าใจพื้นฐานที่มั่นคง แล้วก็มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะมีความเข้าใจยิ่งขึ้น

    ผู้ฟัง จิตเห็น เห็นแล้วก็คิดนึก เป็นกุศล เป็นอกุศล ตรงนี้เป็นอุปนิสสยปัจจัยหรือเปล่า จิตเห็นเป็นอัพพยากตธรรม เห็นแล้วมาคิดนึก ก็เป็นกุศล หรืออกุศล ตรงนี้จะใช่หรือเปล่า

    ท่านอาจารย์ ปกตูนิสสยปัจจัย คลุมหมดกว้างขวางหมด แล้วเราก็ไม่ต้องมานั่ง เรียกชื่อใหม่ อัพพยากตมาแล้ว คนก็จะงง อัพพยากตอะไรบ้าง นี่เป็นอัพพยากตหรือเปล่า อัพพยากตที่เป็นนาม หรืออัพพยากตที่เป็นรูป หรืออะไรมากมาย เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นสภาพธรรมจริงๆ มีลักษณะซึ่งเป็นธาตุ หรือเป็นธรรมที่ไม่ใช่เรา อันนี้จะต้องเข้าถึงก่อน

    ผู้ฟัง ทีนี้ความเข้าใจก็ มีหลายระดับ ถ้าเข้าใจในระดับขั้นปริยัติ ขั้นศึกษา ก็ยังมีโอกาสที่จะปฏิบัติผิดได้ เช่นเดียวกัน

    ท่านอาจารย์ ต้องรู้ว่าคนนั้นเข้าใจจริงๆ หรือเปล่า ถ้าเข้าใจริงๆ แล้วจะผิดไหม หรือว่าคิดว่าเข้าใจ แต่ความจริงไม่ได้เข้าใจเพียงแต่จำ ชื่อ

    ผู้ฟัง เข้าใจตามพยัญชนะ แต่ก็ยังไม่พอ ใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ จำชื่อได้ เข้าใจหรือเปล่า

    ผู้ฟัง จำชื่อได้

    ท่านอาจารย์ อย่างสัญญาเจตสิก จำชื่อได้ เรียกว่าเข้าใจหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ก็ได้แค่จำ ยังไม่ถึงเข้าใจ

    ท่านอาจารย์ ถ้าขณะนี้เป็นสภาพธรรม แล้วปัญญาก็คือรู้ สิ่งที่มีจริงๆ ในขณะนี้ ที่กำลังปรากฏ ฟังอย่างนี้เข้าใจจริงๆ หรือเปล่า ถ้าไม่มีสิ่งใดปรากฏ แล้วจะมีปัญญาไปรู้ สิ่งที่ไม่ปรากฏ ถูกไหม แต่สิ่งใดที่กำลังปรากฏ ขณะนี้ แล้วปัญญาไม่เกิดขึ้นรู้ ขณะนั้นก็เป็นอวิชชา

    เพราะฉะนั้น ที่จะเป็นปัญญาก็จะต้องรู้สิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่รู้อย่างอื่น ถ้าฟังอย่างนี้เข้าใจ จะไปปฏิบัติผิดไหม หรือจะเข้าใจว่าปัญญาเป็นอย่างอื่น ไม่ใช่การรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ก็ชื่อว่า คนนั้นไม่เข้าใจ

    เพราะฉะนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเข้าใจที่ถูกต้องจริงๆ ขณะนี้เป็นธรรม แล้วก็เกิดแล้วก็ดับอย่างรวดเร็ว มาก ขณะใดก็ตามที่สติสัมปชัญญะไม่ได้เกิด ไม่ได้ระลึกลักษณะของสภาพธรรมใด สภาพธรรมนั้นเกิดแล้วดับแล้ว ขณะนี้เอง เห็นก็ดับ คิดนึกก็ดับ ทุกอย่างที่สติสัมปชัญญะไม่ได้ระลึกสภาพธรรมนั้น เกิดแล้วดับแล้ว เมื่อสติสัมปชัญญะ ไม่ได้ระลึกปัญญาจะรู้ถูก เห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดดับนั้นได้อย่างไร ถ้าฟังอย่างนี้เข้าใจถูก ก็จะทำให้การปฏิบัติก็ถูก แต่ถ้าฟังเรื่องราว เป็นชื่อแต่ว่าไม่ได้เข้าใจสภาพธรรม เหตุผลตามความเป็นจริง ก็ชื่อว่าไม่เข้าใจ เพียงแต่จำชื่อได้ อย่างอริยสัจ ๔ ท่องได้ จำได้ กล่าวได้ แต่ไม่รู้ว่าขณะนี้เองเป็นทุกขสัจ

    ผู้ฟัง นี่ก็เรียกว่าเข้าใจยาก ที่จะรู้ได้ว่าแค่ไหน ที่จะเป็นการเข้าใจจริงๆ

    วิทยากร ธรรมต้องกำลังปรากฏ ถ้าอยู่ในตำราแล้วไม่ใช่

    ผู้ฟัง กว่าปัญญาสมบูรณ์ ขั้นเป็นพระอริย อย่างน้อยๆ ก็พระสาวกก็ แสนกัป

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ต้องไปนับ เวลานี้ก็ไม่มีใครนับอยู่แล้ว แต่ว่าความเข้าใจขณะนี้ อารัมมาณะปัจจัย แค่นี้ สิ่งที่มี ที่กำลังปรากฏ ต้องเดี๋ยวนี้ ที่จิตกำลังรู้สิ่งนั้น แล้วถ้าจะกล่าวโดยปัจจัย ถ้าไม่มีสิ่งนั้นจิตจะรู้สิ่งนั้นได้อย่างไร เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นจึงเป็นอารัมมาณะปัจจัย คือต้องเป็นอารมณ์ของจิต ที่กำลังรู้สิ่งนั้น นี่คือความเข้าใจ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้นๆ

    ผู้ฟัง ความวิตกเกิดขึ้น โดยมีเหตุ ขอทราบเรื่องราวก่อน ก่อนจะถึงเรื่องของศีล

    ท่านอาจารย์ กามธาตุ มีไหม

    ผู้ฟัง มี

    ท่านอาจารย์ เมื่อกามธาตุปรากฏ แล้วคุณจำนง จำอะไร

    ผู้ฟัง จำกามธาตุนั้น

    ท่านอาจารย์ ต้องจำกามธาตุ จะไปจำอย่างอื่นได้ไหม สิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะปรากฏจำอะไร

    ผู้ฟัง จำสี

    ท่านอาจารย์ ขณะที่สิ่งปรากฏทางตา ไปจำเสียงได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ จำกลิ่นได้ไหม

    ผู้ฟัง ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก็จะเข้าใจ เพราะสิ่งนั้นมี ที่กล่าวว่ามี ต้องยืนยันว่ามี เพราะปรากฏ เมื่อปรากฏแล้วสัญญาก็จำในสิ่งที่ปรากฏ คิดถึงอะไร

    ผู้ฟัง คิดถึง สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ

    ท่านอาจารย์ คิดถึงสิ่งที่ปรากฏ คิดถึงสิ่งที่ไม่ปรากฏได้ไหม

    ผู้ฟัง สิ่งที่ไม่ปรากฏได้ไหม คิดถึงได้ไหม

    ท่านอาจารย์ ทำไมคิดยาก สิ่งที่ไม่ปรากฏ ไปคิดถึงสิ่งที่ไม่ปรากฏ คิดได้ไหม

    ผู้ฟัง ถ้าไม่ปรากฏแล้วจะคิดถึงได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ นั่นสิถึงได้ถาม

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567