ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
ตอนที่ ๖๗๓
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้ฟัง เรื่องความตาย ชาติที่แล้วดิฉันก็คงไม่อยากตาย แต่ก็ตายมา แล้วก็พอมาถึงตรงนี้ก็รู้สึกเห็นประโยชน์ ตอนที่ตายขณะนั้น เพราะว่าตายขณะนั้นต้อง เป็นจังหวะที่ดี ถ้าอย่างนั้นจะไม่ได้เกิดมาฟังธรรม ที่ถูกต้องขณะนี้
ท่านอาจารย์ ก็กุศลที่ได้กระทำแล้ว กุศลหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ แล้วก็เป็นแต่ละบุคคล ในขณะนี้ซึ่ง เลือกไม่ได้เลย แล้วก็รู้ไม่ได้ด้วยว่าเป็นผลของกรรมอะไร เพราะว่ากรรมนี้วิจิตรมาก ทำกรรมอย่างเดียวกันอย่างที่เรากำลังนั่งฟังธรรม แต่เวลาที่ปฏิสนธิจะเกิดเพราะกรรมนี้เป็นปัจจัย เราไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะว่าแกิดต่างกันทุกชาติ ไม่มีซ้ำกันเลย
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวว่า ถ้าพิจารณาอยู่เนืองๆ ว่า เกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดา โดยเฉพาะในเรื่องของคนเจ็บเป็นธรรมดา พิจารณาจนถึง ความเป็นธรรม จะทำให้เราละคลาย แล้วก็ไม่ยึด ท่านอาจารย์หมายถึงขณะ อย่างเช่น ขณะที่เราเจ็บ ขณะนั้นเราไม่ไปติดกับเวทนา ตรงนั้น ที่ว่าเจ็บ ใช่ไหม ที่จะทำให้เราพิจารณาตรงนั้น คือเป็นเพียงแค่สภาพธรรมที่กำลังเกิดดับอยู่ในขณะนี้ เมื่อเราไม่ติดกับตรงนั้นแล้ว เราเห็นว่าเป็นธรรมดา เห็นว่าเป็นธรรม อย่างนี้จะทำให้เราละคลายจากความเจ็บปวดตรงนั้นหรือว่า ละคลายจากความเป็นตัวเรา
ท่านอาจารย์ ถ้าอ่านพระสูตร หรือว่าธรรมข้อไหนก็ตาม โดยที่ไม่เข้าใจปรมัตถธรรม ไม่เข้าใจสภาพธรรม แล้วไม่เข้าใจหนทางที่จะรู้แจ้งสภาพธรรมนั้นด้วย ก็จะเข้าใจเพียงเท่านี้ อย่างที่คุณแอ๊วพูดเมื่อกี้นี้ ว่าพิจารณาอย่างนี้ แต่ว่าตามความเป็นจริงแล้ว เดี๋ยวนี้หรือว่าขณะที่กำลังเห็นความแก่ มีจิต มีเจตสิก มีรูป หรือเปล่า ขณะนั้นก็เป็นธรรมทั้งหมด เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจหนทางจริงๆ จะอ่านตอนไหนก็รู้ได้ว่า การอบรมเจริญปัญญา ต้องเป็นหนทางเดียว จะไม่ใช่เป็นแต่เพียงนั่งคิด หรือว่าพิจารณานึกไปเท่านั้น แล้วก็จะทำให้รู้สภาพธรรมได้
ผู้ฟัง ท่านใช้คำว่าเมื่อเสพอบรมทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ผมยังมองไม่เห็นมรรคตรงนี้เลย ที่ว่าเราจะมองเห็นความตาย หรือมองเห็นความป่วย มองเห็นว่าเรามีความเจ็บไข้ ทายาทห่งกรรม กรรมโดยกำเนิด กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ตรงนี้ ขอความกรุณา ช่วยเพิ่มเติมมันเชื่อมโยงกันอย่างไร การพิจารณา
ท่านอาจารย์ ทุกสิ่งทุกอย่าง ขณะนี้เป็นปกติ ถ้าจะมีการเจ็บ ถ้าเป็นเราเจ็บ ตามปกติ ย่อมไม่ใช่หนทาง เพราะเหตุว่าถึงแม้ว่าจะคิดวาความเจ็บนั้นเป็นธรรมดา สักเท่าไร ความเจ็บนั้นก็ยังเป็นเราเจ็บ แต่ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจหนทางจริงๆ แม้ว่าจะอ่านตรงนี้ ก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าเป็น ในขณะที่กำลังเจ็บ ก็จะมีความรู้สึกเป็นเราก่อนที่สติสัมปชัญญะ จะระลึกลักษณะสภาพที่เจ็บว่าเป็น ธรรมชนิดหนึ่ง
เพราะฉะนั้น จะมีการที่คิดเป็นเรื่องเป็นราว สลับกับสติสัมปชัญญะ ที่ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าเมื่อไร ไม่ว่าเมื่อขณะที่แก่ พิจารณาความแก่ พิจารณาความเจ็บก็ตามแต่ ขณะนั้นก็มีสภาพธรรม ที่ ถ้ามีความเข้าใจจริงๆ แล้วก็จะรู้ได้ว่า ไม่ใช่เรา แต่ว่าเป็นสภาพธรรม ที่มีในขณะนั้น เช่นในขณะนี้
ผู้ฟัง คงไม่ใช่ความคิด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ คิดได้ ไม่มีใครสามารถที่จะกั้นความคิดได้ ถ้าคิดเป็นไปในกุศล หรือว่าคิดเป็นไปในอกุศลก็ตาม ผู้นั้นก็รู้ว่า ไม่มีใครสามารถที่จะบังคับบัญชาได้ เพราะเหตุว่าขณะนั้น ไม่ใช่เรา ถ้าขณะนั้นไม่ใช่สติสัมปชัญญะ ที่เป็นสติปัฏฐาน ต้องเป็นเราแน่นอน เพราะความเป็นเราลึกมาก ก็เป็นเราเจ็บ แม้แต่ว่าเราพิจารณา ก็ยังเป็นเราอยู่ แต่ถ้าเป็นผู้ที่เข้าใจ ไม่ว่าตลอดพระสูตรนี้ก็เป็นสภาพธรรม ที่สติสัมปชัญญะ สามารถจะเกิดระลึกได้ ไม่ว่าจะกำลังเห็น กำลังพูด กำลังคิด เมื่อเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยมีจริง แล้วก็มีปัจจัยที่จะให้เกิดระลึกลักษณะ คือจริงๆ แล้ว จะต่างกันที่ว่าไม่เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมจึงเป็นเรา
ขณะนี้เป็นลักษณะของสภาพธรรม ทั้งหมดสิ่งที่ปรากฏทางตาก็เป็นลักษณะหนึ่ง เสียงก็เป็นลักษณะหนึ่ง แข็งก็เป็นลักษณะหนึ่ง คิดก็เป็นลักษณะหนึ่ง เจ็บก็เป็นลักษณะหนึ่ง เพราะฉะนั้น เป็นสภาพธรรมที่มีลักษณะ แต่ละอย่างๆ แต่เมื่อไม่เข้าใจลักษณะ ไม่พิจารณา ก็เป็นเราหมด
เพราะฉะนั้น สติสัมปชัญญะ ก็คือขณะที่เข้าใจว่าเป็นธรรม จากการฟัง แล้วก็กำลังรู้ลักษณะ ชั่วขณะนั้น คือสติสัมปชัญญะ ที่เป็นการอบรมทำให้มากซึ่งมรรค เมื่อเสพอบรม ทำให้มากขึ้นซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ หมายความว่า จำเป็นที่จะต้องมีปัญญารู้ ในระดับของว่า สติที่จะเกิดระลึกรู้สภาพธรรมนั้นเป็นอย่างไรด้วย
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมไม่แยกกันเลย ต้องเข้าใจสอดคล้องกันโดยตลอด จึงสามารถที่จะเข้าใจในทุกอย่างได้ เช่น ในขณะที่ฟังเรื่องนี้ หรืออ่านเรื่องนี้ ก็เป็นการพิจารณาเกิด แก่ เจ็บ ตาย ธรรมดาๆ ก็เหมือนกับคิดพิจารณาไป แต่ความจริงถ้าขณะนั้น สติสัมปชัญญะ ซึ่งเป็นมรรคระลึกลักษณะของสภาพธรรมก็คืออบรมทำให้มาก จนกว่าสามารถที่จะรู้ลักษณะที่ไม่ใช่ตัวตนได้
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น สติที่จะเกิดตรงนั้น เกิดระลึกรู้อะไร รู้ ความคิดหรือ
ท่านอาจารย์ ได้ทุกอย่าง ไม่จำกัดเลย เพราะเป็นเรื่องของสติ ไม่ใช่เรื่องของเรา มิฉะนั้นก็กลายเป็นเรากำหนด ว่าขณะนั้นเราจะพิจารณาอะไร เราจะรู้อะไร แต่สติสัมปชัญญะ เป็นอนัตตา เมื่อเกิดก็คือมีลักษณะของสภาพธรรมซึ่งปกติ เราไม่เคย สนใจเลย ผ่านไปทั้งวัน แข็งก็ผ่านไป แต่พอมีการรู้ลักษณะนั้นเมื่อไร ตรงนั้นก็คือสติสัมปชัญญะเกิด เป็นเรื่องปกติธรรมดา ซึ่งไม่มีการเจาะจง
เพราะฉะนั้น ทุกข์ก็มีทั้งทุกข์กาย ทุกข์ใจ ถึงแม้ว่ากายสบาย ไม่ได้ป่วยไข้ได้เจ็บเลย แต่พอได้ยินเสียงที่ทำให้ไม่ชอบ ก็เกิดความทุกข์หรือว่า ความโทมนัสขึ้น ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีปัญญาจริงๆ ขณะนั้นก็สามารถ ที่จะเห็นว่าเป็นธรรม ข้อสำคัญที่สุดคือเป็นธรรม แล้วก็เกิดแล้วดับแล้วทั้งนั้น แล้วจะเลือกเอาอย่างไหน บางคนทุกข์กายทนได้ แต่ทุกข์ใจทนยากมาก เขาเข้มแข็งเฉพาะกาย เจ็บเท่าไรไม่ว่าแต่ พอกระเทือนใจนิดหนึ่ง เขาทนไม่ได้ นั่นก็เป็นไปได้ บางคนทางใจทนได้ทุกอย่าง แต่ทางกายเข็มฉีดยาก็กลัว หรืออะไรอย่างนี้ ก็แสดงให้เห็นว่า แต่ละคนก็สะสมมาไม่เหมือนกัน
ผู้ฟัง อย่างที่ท่านอาจารย์ว่า เป็นความจริงที่ชีวิตประจำวัน ของเราก็คือเป็นเรื่องราวตลอด ถ้าไม่ใช่เรื่องราวแล้ว เราคงไปแปรงสีฟันหรือทานข้าว อะไรไม่ได้ แต่ว่าในเรื่องราว ผู้ที่เข้าใจ หรือผู้ที่มีปัญญาแล้วปรมัตถธรรมก็เกิดสลับ มีลักษณะสลับกัน สั้นแสนสั้น ถ้าหากว่าเป็นอย่างนี้แล้ว ท่านอาจารย์บอกก็นานแสนนาน บางทีก็ถ้าอย่างนี้ก็ท้อถอย
วิทยากร คุณประทีปอย่าเอาแสนกัปไปทิ้งที่ไหน
ผู้ฟัง แต่มองดูแล้ว หนทางที่มัน เกือบจะเป็นไปได้ น้อยมากทีเดียว
ท่านอาจารย์ ท้อใจ เพราะเหตุว่ามี ความเป็นเราเพิ่มเข้าไปอีก หวังเสียมากมายด้วยความเป็นเรา ที่ต้องการที่จะให้มีมากๆ แล้วก็หวัง โลภะเป็นสิ่งที่จะต้องละ เพราะฉะนั้น เราก็ไม่ได้ทำสิ่งที่ทรงสอนไว้เลย ใช่ไหม
ผู้ฟัง อันนี้ถูกต้อง
ท่านอาจารย์ ถ้าท้อเมื่อไร ให้ทราบว่านี่เรา ความรุนแรง การยึดมั่นในความเป็นเรา ถึงแค่นี้ที่ทำให้ท้อถอย จะเห็น ตัวชัดเลย ใช่ไหม ทั้งอวิชชา ทั้งทิฏฐิ ความเป็นตัวตน ความเป็นเราด้วยมานะ ด้วยทิฏฐิ
ผู้ฟัง ความละเอียดของ ปัญญาที่เริ่มอบรมเจริญขึ้นในขั้นการฟัง
ท่านอาจารย์ คุณประทีป เกิดมาแล้วได้นิดหนึ่งกับไม่ได้เลย เอาอย่างไหน
ผู้ฟัง ถ้าอย่างนี้เห็นด้วยกับท่านอาจารย์ แต่ถ้าหากว่าความเข้าใจในขั้นการฟัง แรกๆ คิดว่ามันเป็นแค่โลภะ ที่อยากได้ของคนโน้น คนนี้ หรือว่าโทสะที่กำลัง โกรธ อยากจะทำร้ายใคร แต่พอฟัง ฟังมากขึ้น ผมก็คิดว่า ความเข้าใจนี้ก็มากขึ้น ก็เริ่มรู้ว่าปัญญามันไม่ใช่ ละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แม้ทั้งโลภะ โทสะ โมหะ ก็มีความละเอียดตาม ปัญญาไปด้วย มันตามมาติดๆ เลย ซึ่งเรามองไม่เห็น แล้วก็คงจะอีกมาก ที่ผมคงจะต้องสะสมการฟัง ท่านอาจารย์ไปเรื่อยๆ
ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงเรื่อง ทุจริตที่เราอาจจะมีการกระทำทางกาย ทางวาจาด้วยอกุศล ในวันหนึ่งๆ ก็ยังน้อยกว่า การที่เรามีความเป็นห่วงใยเรื่องตัวของเราเอง มองไม่เห็นเลย ว่าเราห่วงใยในตัวเอง แค่ไหน วันนี้ทั้งวัน เราไม่ชอบตนอื่น ทำอย่างนั้นอย่างนี้มาก หรือว่าเราไม่ชอบเกี่ยวกับตัวเรามาก ไม่ชอบที่เราไม่มีปัญญา ไมชอบที่สติของเราเกิดน้อย ไม่ชอบที่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นี่เพียงไม่ชอบในกุศลซึ่งไม่เกิด แล้วยังในอกุศลที่เกิด แล้วเราก็ยังชอบในสิ่งนั้นสิ่งนี้อีก เพราะฉะนั้น วันหนึ่งๆ วนเวียน อยู่แต่เรื่องของตัวเอง แม้ว่าจะมองเห็นเป็นคนอื่น แต่ขณะนั้นก็คือทัศน หรือความเห็น หรือความรัก หรือความชังของเรา ที่มีต่อสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะฉะนั้น จริงๆ แล้วสิ่งที่ปรากฏทางตา เราจะห่วงใย หรือว่าจะรักจะชังอย่างไร ก็ไม่เท่ากับตัวเอง วันนี้คุณประทีปไม่ชอบตรงไหนของตัวเองบ้างไหม ตั้งแต่เช้ามา
ผู้ฟัง ก็มาก
ท่านอาจารย์ เห็น ไหม เรื่องตัวเองทั้งนั้น เรื่องของคนอื่นแม้ว่าจะกล่าวว่ามากก็ ยังน้อยกว่าเรื่องของตัวเอง แสดงว่าจุดรวมความสนใจของเราอยู่ที่ตัวเราเองทั้งนั้นเลย แต่เมื่อไรที่เราสามารถจะเข้าใจได้ ว่าเราไม่มี ใครก็ไม่มี มีแต่สภาพธรรม เมื่อนั้นก็จะทำให้เราคิดถึง ตัวเองน้อยลง จะโกรธตัวเองก็น้อยลง จะรักตัวเองก็น้อยลง ด้วย เพราะว่า รู้ว่า แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงสภาพธรรม แต่ละอย่าง
ผู้ฟัง เรียนถามอาจารย์ประเชิญว่า มัวเมาตัวนี้จะหมายถึงเฉพาะอวิชชา ซึ่งเป็นหัวหน้าของอกุศลธรรมทั้ง ๑๔ หรือจะรวมทั้งลูกน้องของอวิชชา คือ โลภะ ทิกฐิ มานะ ตรงนี้อาจารย์จะช่วย
วิทยากร สำหรับความมัวเมาในความเป็นหนุ่มเป็นสาวเป็นต้น ในวิภังค์ท่านได้กล่าวไปถึงความหมาย มัวเมาในความไม่มีโรค ในความเป็นหนุ่มเป็นสาว ความเมาในชีวิต ความเมาในลาภ ในสักการะ ในความเคารพ ในความเป็นหัวหน้า เป็นต้น มีตั้ง ๑๐ กว่าประการ ซึ่งในที่นั้นท่านก็กล่าวว่า มานะเกิดขึ้นด้วยอำนาจความเมาว่า เรายังเป็นหนุมเป็นสาว อัตภาพของสัตว์ที่เหลือ เลี้ยงเรา เป็นเช่นกับต้นไม้ ริมเงื้อมผา จนเราตั้งอยู่ในปฐมวัย อย่างนี้ชื่อว่า ความเมา ความเป็นหนุ่ม เป็นสาว เพราะฉะนั้น ก็คือลักษณะของมานะเกิดขึ้นร่วมกับโลภะ เป็นอกุศล
ผู้ฟัง ที่บอกว่าเทียบกับคนอื่นหมายความว่า ยังหนุ่มยังสาว แต่คนอื่นแก่แล้ว อย่างนี้หรือเปล่า
วิทยากร ในลักษณะนั้น
ท่านอาจารย์ พอจะมองเห็น ไหมว่า เป็นมานะ ความสำคัญตน หรือไม่เคยคิดมาก่อนเลย ว่าเพียงเท่านี้เป็นลักษณะหนึ่งของมานะ
ผู้ฟัง แน่นอน ต้องมานะแน่นอน ก็ตัวนี้ต้องอรหัตตมรรคจึงตัดมานะได้
ผู้ฟัง ความมัวเมา ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติทุจริต ทั้งกายวาจาใจ กราบท่านอาจารย์ อธิบายตรงนี้ด้วย ว่า ถ้าเราทั้ง ๕ ข้อ ถ้าเราไม่ศรัทธา เลื่อมใสแล้ว ทำไมจำทำให้ความประพฤติของเรา ไม่ดี
ท่านอาจารย์ วันนี้เราคงจะคิดว่าไม่ได้ กระทำอกุศลกรรมบถ อะไร ใช่ไหม ไม่ได้ฆ่าสัตว์ ไม่ได้ลักทรัพย์ ไม่ได้ประพฤติผิดในกาม กายวาจาไม่ได้ทำ แต่ใจเราเป็นอะไร ถ้าใจเราเป็นอกุศล ขณะนั้นกาย วาจาที่ไหวไปก็เป็นทุจริต เพราะเกิดจากอกุศลจิตเพียงแต่ว่าไม่ใช่อกุศลกรรมบถ
ผู้ฟัง เรื่องถึงความเจ็บนี้ ความรู้สึกเหมือนกับว่า คนมีอายุแล้ว ถึงจะเจ็บ แต่จริงๆ แล้ว ตรงนี้ไม่ใช่มีความหมายอย่างนั้น ใช่ไหม ไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ ก็ต้องเจ็บเป็นธรรมดาทั้งนั้น
ท่านอาจารย์ แล้วใครเจ็บบ่อยกว่ากัน
ผู้ฟัง ก็คนแก่
ท่านอาจารย์ ไม่ได้แยก ไม่ได้หมายความว่า เด็ก จะไม่เจ็บ เกิด แก่ เจ็บ ตาย สาธารณะทั่วไปกับทุกคน
ผู้ฟัง เรียนถามคุณประเชิญ จากย่อหน้าสุดท้าย ก็มีกล่าวบอกว่า สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ มีความรู้สึกเหมือนกับว่าการมาก็คือการอุบัติ การไปก็คือการจุติ เหมือนกับว่าความหมายเหมือนกันแต่ จริงๆ แล้วการมากับการไป ทั้ง ๒ การนี้จะเหมือน กันหรือเปล่า
วิทยการ เข้าใจว่าเหมือนกัน ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมาการไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา
ผู้ฟัง พลัดพรากจากของรักของชอบใจมัวเมาด้วยโลภะ หรือเปล่า
วิทยการ ก็อกุศลทั้งนั้นเลย ขณะที่ยินดีพอใจ ประมาทมัวเมา ที่นั้นก็ต้องไม่พ้นจาก โลภะ โทสะ โมหะ เพราะว่าถ้ายังยินดีพอใจ ในของรักทั้งหลาย ก็ติดในขณะที่ติดตรงนั้นก็เป็นโลภะ ก็คือประมาท ใช่ไหม พระองค์ทรงแสดงถึงการพิจารณาความแก่ เป็นต้น บางครั้ง ถ้าไม่มีปัญญา คิดถึงความแก่ ก็ยังเป็นผู้ที่ยังประมาทมัวเมาอยู่
ท่านอาจารย์ คิดแบบไหน เพราะว่าคิดถึงความแก่ คิดได้หลายแบบ แล้วถ้าเป็นผู้ที่ไม่มีปัญญา จะคิดแบบไหน
วิทยการ คิดว่าอีกหน่อยก็จะแก่ แล้วก็รีบหาเงินเก็บไว้ ไว้ใช้ตอนแก่ แต่ว่ากุศลกรรม ก็ยังไม่ได้เจริญ อกุศลกรรมก็ยังไม่ละ ก็ยังประมาทมัวเมาอยู่
ท่านอาจารย์ ที่จริงถ้าพูดถึงความประมาทหลายระดับ ถ้าจะถามว่าขณะนี้ มัวเมาหรือเปล่า เห็นไหม แล้วแต่ระดับ ทั้งๆ ที่กำลังนั่งฟังธรรมขณะนี้ มัวเมาหรือเปล่า ต้องเป็นผู้ที่ตรงตามความเป็นจริง ที่จะตอบ
วิทยการ ถ้าเป็นกุศล ไม่ประมาท ไม่มัวเมา
ท่านอาจารย์ แล้วก็กุศลจิตเกิดตลอดเวลา หรือเปล่า
วิทยการ ไม่ตลอด
ท่านอาจารย์ แล้วกุศลประเภทไหน ที่ยังชื่อว่ามัวเมาอยู่ มัวเมาในกุศลได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าเรื่องของการอบรมเจริญ ความเห็น ความเข้าใจให้ถูกต้องเป็นเรื่องที่ละเอียด แล้วต้องเป็นผู้ที่ตรง ขณะนี้มัวเมาอยู่หรือเปล่า แค่นี้ก็เตือนแล้วใช่ไหม ว่าถ้าไม่มัวเมาคือขณะเดียวที่ เป็นสติสัมปชัญญะที่เป็นสติปัฏฐาน ถ้าอย่างระดับสูงสุด เพราะเหตุว่าแม้กำลังนั่งอยู่ที่นี่ อกุศลจิตก็เกิดได้
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์ เห็นว่าเรื่องผลของกรรม สำคัญอย่างไรกับการที่จะเชื่อ ในระดับของพระพุทธศาสนา
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็นพระพุทธศาสนา ก็ต้องไม่พ้นจากสภาวธรรม เพราะฉะนั้น ถ้าเชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม ขณะนี้เชื่อไหมว่ากำลังเห็น เป็นผลของกรรม
ผู้ฟัง ที่เชื่อเพราะว่ามันไม่ยากเห็น มันก็ต้องเห็น จึงเชื่อว่าเป็นผลของกรรม
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ถ้ามีความเข้าใจถูกต้อง ว่าขณะนี้เป็นผลของกรรม เป็นเราหรือเปล่า
ผู้ฟัง ก็ไม่ใช่เรา
ท่านอาจารย์ ค่อยๆ ไปอย่างนี้
ผู้ฟัง ขณะที่สติปัฏฐานเกิดจึงชื่อว่าไม่มัวเมา เพราะฉะนั้น ถ้าเราพิจารณาในหลัก ๓๐ ภูมิ หรือ ๓๑ ถ้าไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน จะเป็นเทพ เป็นพรหม เป็นอะไรก็มัวเมาทั้งสิ้น
ท่านอาจารย์ สุงสุดคือขณะใดที่ไม่ใช่สติปัฏฐาน จะละความเมาไม่ได้
ผู้ฟัง อย่างนั้นกุศลขั้นต่างๆ ก็ยังมัวเมาอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะว่าเป็นเรา แล้วก็ยังติดอยู่ในกุศลนั้นด้วย
ผู้ฟัง กุศลของเรา เราทำกุศลก็จะไปเป็นเทพ ก็ยังมัวเมาอีก
วิทยกร เป็นวัฏฏะ อยู่ คุณดำรง
ผู้ฟัง ใช่
วิทยากร ไม่ใช่วิวัฏฏะ มีกุศล
ผู้ฟัง ใช่ ขอบพระคุณ
ท่านอาจารย์ เพราะว่าบางคนกุศล แค่นี้ก็พอแล้ว ใช่ไหม ไม่ได้คิดถึงที่จะบำเพ็ญกุศล ที่จะทำใหออกจากสังสารวัฏฏ์ เพราะคิดว่าทำกุศลขั้นทาน ขั้นศีลก็พอแล้ว
ผู้ฟัง ได้ยินมาก เท่านี้พอแล้ว เท่านี้พอแล้ว ในชีวิตนี้ไม่เบียดเบียนใครพอแล้ว ได้ยินมากเลย
วิทยากร เนื่องจากความเมา ในวิภังค์ท่านกล่าวไว้มากมาย รวมไปถึงมัวเมาในศีล ในฌาน ในฤทธิ์ เป็นต้น ก็สามารถจะมัวเมาได้ เพราะฉะนั้น เพียงกุศลทั้งหลายที่เป็นโลกียะทั้งหลาย ถ้าพอใจในกุศลนั้น ก็ถือว่า ประมาทมัวเมา เช่นเดียวกัน
ท่านอาจารย์ อันนี้พิจารณาฐานะ ๕ ใช่ไหม บ่อยๆ ที่ว่าไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ถ้าพิจารณาฐานะเหล่านี้แล้วบ่อยๆ เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น เป็นไปได้ไหม
ผู้ฟัง ได้
ท่านอาจารย์ สำหรับทุกคนหรือเปล่า
ผู้ฟัง ไม่สาธารณะ
ท่านอาจารย์ ถ้าเป็น เป็นอย่างไร พิจารณาความแก่ แล้วมรรคเกิด
ผู้ฟัง พิจารณาความแก่แล้วก็ คือเป็นการเตือนว่า แก่จะตายแล้ว สติปัฏฐานอาจจะระลึกได้ขึ้นมา
ท่านอาจารย์ ที่จริงใกล้ต่อความตาย ใกล้ต่อการที่จะจากโลกนี้ไป เพราะฉะนั้น ระหว่างที่ยังไม่ไป ก็ควรจะทำสิ่งที่สะสมไปสำหรับข้างหน้าที่มีประโยชน์สูงสุด คือการสามารถที่จะเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฟัง พระสูตรหรือพระวินัย พระอภิธรรม หรือข้อความในอรรถกถา ก็เพื่อความเข้าใจ สิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะว่าพระธรรมทั้งหมด นี่ก็จะเป็นเรื่องธรรม คือธรรมดา แต่ว่าถ้าเราฟังโดยที่สติสัมปชัญญะไม่เกิด เพราะไม่เข้าใจ แล้วถ้าเข้าใจแล้ว ก็ไม่ใช่เพราะบังคับ ให้สติสัมปชัญญะเกิด แต่เมื่อมีการพิจารณาบ่อยๆ ก็จะเห็นได้ ว่า ใกล้ต่อการที่จะจากโลกนี้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่มีค่าที่สุดก็คือการที่จะอบรมปัญญา ที่จะรู้ความจริง อย่างนี้มรรคก็เกิดได้
ผู้ฟัง ตรงนี้จะสอดคล้องกับที่ ว่าในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาค ตรัสวิปัสสนาด้วย ในฐานะ ๕ หนหลังไว้แล้ว แล้วก็ตรัส โลกุตตระในฐานะ ๕ เหล่านี้ หมายความว่าการที่จะพิจารณาถึง ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ของผู้ที่มีปัญญา ก็เป็นวิปัสสนาของผู้ที่มีปัญญา ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ หมายความว่าเป็นผู้ที่ไม่ประมาท เวลาที่ทุกคนมีชีวิตอยู่ ห้ามความคิดไม่ได้เลย แล้วความคิดส่วนใหญ่จะไม่คิดในเรื่องแก่ เจ็บ ตาย แต่ที่นี้ แม้แต่ในเรื่องของความคิดเรื่องแก่ เจ็บ ตาย ก็อย่าเพียงคิดเป็นเรื่อง เกิด แก่ เจ็บ ตาย เพราะว่าประโยชน์สูงสุด ที่ทรงเตือนก็คือว่า เพื่อให้รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ตรัสวิปัสสนาในฐานะทั้ง ๕ ในหนหลังแล้ว ที่แล้วมา ไม่มีการพ้นเลย
วิทยากร ท่านอาจารย์พูดตอนแรกแล้วบอกว่า อย่าฟังเผิน นี่แหละข้อความตรงนี้ มันจะมาสนับสนุน ก็ต้องเป็นเรื่องการพิจารณาสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง เวลาเราไปงานศพ ไปเผาคนตาย ทีนี้เรากลับบ้านกลับช่อง ตอนกลางคืนก็มาจารณาตัวเอง เราจะต้องตาย เหมือนเขานั่นแหละ ที่ไปเผามาแล้ว การพิจารณาอย่างนี้ ก็ไม่ใช่พิจารณา ไม่คิดพิจารณาความตาย มันเป็นการนึกถึงเรื่องความตาย นึกถึงเรื่องความตาย จากคนอื่นตายแล้วก็ น้อมมาหาว่าตนก็จะต้องตายเหมือนกัน แต่ไม่ได้นึก คือสภาพธรรม ในขณะนั้นไม่ได้นึกเลย ไม่ได้รู้ว่ามีสภาพธรรม อะไรปรากฏ คิดถึงคนตาย คิดก็เป็นสภาพธรรม เป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง เราก็ไม่ได้คิด อันนี้ก็ถือว่าประมาท ไม่ได้เจริญสติ คือสติปัฏฐาน ไม่ได้เกิดขณะนี้ เพราะฉะนั้น ที่ว่าไปเห็นคนตายแล้ว ท่านสามารถจะบรรลุมรรคผลได้ ละกิเลสได้ ท่านไม่ได้ไปเห็นอย่างที่เราเห็น หรืออย่างที่เราคิด ก็เห็นธรรม เห็นสภาพธรรมที่ปรากฏ ความคิดขณะนั้น ก็เป็นธรรม สิ่งที่เห็นด้วยตา ปรากฏทางตาก็เป็นธรรม อะไรต่ออะไร มันก็ธรรมทั้งนั้น อย่างที่คุณอดิศักดิ์พูด คือ อย่าเผิน
ผู้ฟัง ขอเรียนถาม คำว่าวิปัสสนา จะหมายถึง อนุปัสสนา หรือเปล่า เพราะว่า มีคำว่า บ่อยๆ ถ้าเป็นวิปัสสนาญาณจะไม่ได้เกิดบ่อยๆ
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720