ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680


    ข้อความนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบแก้ไข

    ตอนที่ ๖๘๐

    สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑

    พ.ศ. ๒๕๔๗


    ท่านอาจารย์ นี่คือพระธรรมที่สมบูรณ์พร้อม คือไม่ใช่เพียงแต่ว่าให้กระทำเหตุ ที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพย์สมบัติ แต่เมื่อได้มาแล้ว ควรจะบริโภค หรือใช้สมบัตินั้นอย่างไรด้วย ที่จะเป็นประโยชน์ ไม่ทราบว่าทุกคนได้ใช้ตามที่ทรงแสดงไว้หรือเปล่า ถ้ายังก็จะได้พิจารณาว่าเมื่อมีทรัพย์แล้ว ใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ อย่างนี้หรือเปล่า คือประการที่ ๑ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เลี้ยงตน แน่นอนใช่ไหม เลี้ยงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าว ไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูง ให้เป็นสุข เอิบอิ่มสำราญด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มา ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยความหมั่นขยันที่สะสมขึ้น ด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรมนี้กรรมที่สมควร ข้อที่ ๑ ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้โภคทรัพย์ ในทางที่ควรใช้แล้ว อันนี้เราพิจารณาว่าขาดใครบ้าง เลี้ยงตน เลี้ยงมารดาบิดา บุตร ภริยา บ่าวไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูง ถ้ายังไม่ครบก็ยังไม่พอ หมายความว่า ควรจะใช้เงิน เพื่อประโยชน์อย่างนั้น เพราะว่าบางคนมีเงินแล้วก็ไม่ได้ใช่ที่เป็นประโยชน์ มาก แต่ก็อาจจะใช้เพื่อตัวเอง หรือว่าเพื่อครอบครัวเท่านั้น แต่ก็ยังต้องถึง บ่าวไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูงด้วย

    ผู้ฟัง อาจารย์ บอกเมื่อกี้ ใช้เพื่อตัวเอง ตรงนี้ก็น่าคิด บางทีจะใช้เพื่อตัวเอง ก็ไม่ได้ใช้ เหมือนกัน กรณีนี้ผมก็ พิจารณาตัวเอง

    ท่านอาจารย์ แต่ถ้าไม่ลำบากก็ไม่เป็นไร

    ผู้ฟัง ก็กลัวไม่พอ อีก

    ท่านอาจารย์ เป็นความพอใจของตัวเองแล้ว ไม่เดือดร้อน ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่ได้ทำ แล้วเกิดความทุกข์เดือดร้อน ก็อย่าให้เป็นทุกข์เดือดร้อน

    ผู้ฟัง กลัวว่าเกิดอายุยืนแล้วไม่พอ ก็เลยไม่ใช้

    ท่านอาจารย์ ก็ให้คนอื่นใช้หรือเปล่า หรือว่าใช้สำหรับตัวเอง เท่าที่สมควรจะใช้

    ผู้ฟัง อย่างที่คุณจำนง กล่าวว่าถึงมีอยู่ จะใช้ ก็ไม่ใช้ แต่เก็บเอาไว้ เพราะกลัวอายุยืน ก็คือเพื่อเลี้ยงตนเหมือนกัน ก็อยู่ในข้อนี้ ก็เก็บไว้เพื่อตัวเอง

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่สบายใจก็ใช้เสีย แต่ถ้าจะใช้แล้วไม่สบายใจ ก็อย่าใช้ เพราะอะไร ใช้ไปไม่สบายใจ จะมีประโยชน์อะไร ใช่ไหม ถ้ามีใช้ หมายความว่าได้ กระทำบุญไว้แล้ว ถ้าเกิดไม่มีใช้ก็หมายความว่า บุญที่ได้กระทำไว้ ยังไม่ได้ให้ผลในขณะนั้น ก็เป็นเรื่องที่เรามองเห็น แต่จริงๆ แล้วลองคิดอีกแง่หนึ่ง คือว่าเวลาที่เราเห็นคนอื่น มีความสุข แล้วเรามีความสุข กับการที่เราคิดถึงตัวเรา แล้วก็อยากจะให้ตัวเรามีความสุข คนอื่นทุกข์ก็ไม่เป็นไร นี่ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง ที่เราก็ควรจะพิจารณาว่า เราควรช่วยเหลือมากน้อยแค่ไหน อย่างไร ไม่ใช่ว่าให้ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟื้อจนกระทั่ง หมดเงินหมดทอง แต่ในขณะใดก็ตาม ที่มีพอที่จะให้คนอื่นมีความสุขด้วย ก็ได้

    วิทยากร คุณเริงชัยก็บอกว่า พูดอะไรก็ไม่รู้ ไม่เห็นพูด สติปัฏฐานสักหน่อย อยากจะให้พูดเรื่องสติปัฏฐาน นี่แหละคือสติปัฏฐาน นี่ที่คุณคิด คุณรู้ หรือเปล่าว่าคุณคิดอะไร คุณหงุดหงิด รู้หรือเปล่าว่าหงุดหงิดเป็นอะไร เป็นธรรม หรือเปล่า หงุดหงิด เป็นธรรมหรือเปล่า ขอถามก่อน หงุดหงิด จะเป็นอะไร

    ผู้ฟัง อยู่ที่สติ ถ้าสติที่อบรมไว้ดีแล้ว เกิดเขาก็ทำกิจของเขา เพราะว่า ธรรมเป็นอัตตา ก็ไปบังคับบัญชาไม่ได้

    วิทยากร ก็นั่นหนังสือ นะนั้น

    ผู้ฟัง ผมก็ต้องหนักไปทางนี้

    วิทยากร ไม่จำเป็นจะต้องใช้คำว่า สมถะ หรือ วิปัสสนา หรือ สติปัฏฐาน เป็นธรรมทั้งนั้นเลย คิดพูดกันมานี่นะ พูดกันนี้เป็นธรรมทั้งนั้น แต่เราศึกษา หรือฟังธรรม ตามตัวหนังสือ ก็เลยยังไม่เห็นธรรม คือผมจำคำท่านอาจารย์ไว้ อาจจะไม่ได้ ทุกตัวอักษร ว่าการศึกษาธรรมนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ศึกษาตามตัวหนังสือ หรือในตำราต่างๆ เท่านั้น จะต้องศึกษาในชีวิตประจำวันของตัวเองประกอบด้วย ว่าธรรมที่มีในหนังสือ จริงเพียงไร จริงไหม

    อย่างคุณเริงชัยหงุดหงิด จริงหรือเปล่า เป็นธรรมจริงหรือเปล่า เกิดได้ใช่ไหม มันมีเหตุเกิด มันก็เกิด แล้วหงุดหงิด เป็นเราหรือเปล่า ถ้ามัวไปหงุดหงิดๆ เป็นเราแล้วก็หัวเสียทั้งวันเลย นี่คือประโยชน์ ที่เราศึกษาธรรม ฟังธรรมก็น้อมมาสู่ตัวเราว่า ไอ้ที่หงุดหงิดก็เป็นธรรม ชนิดหนึ่งมันเกิดเดี๋ยวมันก็หาย มันไม่ได้เกิดทั้งวัน ถ้ายังยึดติดมันอยู่ มันเกิดอีก ยังคิดอยู่อีก มันก็เป็นไปทั้งวัน อย่างคุณจำนง เขาก็บอกว่า อยากจะใช้รถใหม่เหมือนอย่างลูกบ้าง แต่คิดบ่อยๆ ก็วุ่นวายอีก

    ท่านอาจารย์ แต่คงไม่ลืม ที่คุณนิพัฒน์ กล่าวเมื่อกี้นี้ ว่าทุกอย่างเป็นสติปัฏฐาน ทุกขณะเป็นธรรมที่สติสัมปชัญญะ สามารถที่จะ ระลึกรู้ได้ แต่ถ้าไม่มีจิตคิดนึก ก็ไม่มีคุณธิดารัตน์อภิปราย แล้วก็ไม่มีคุณนิพัฒน์ พูดให้สนุก ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ก็จะทราบว่า สิ่งที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ขึ้นอยู่กับว่าสติสัมปชัญญะ จะเกิดหรือไม่ แม้แต่ข้อความที่ทรงแสดงกับ ท่านอนาถบิณฑิกะ ท่านอนาถบิณฑิกะ ท่านก็เป็นผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานเป็นปกติ ท่านเป็นพระโสดาบัน ก็จะต้องระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏต่อไปอีก เพื่อที่จะถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เป็นพระสกทาคามี เพราะฉะนั้น ไม่ว่า ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ท่านจะได้ยินธรรมประการใด ตั้งแต่ข้อแรกที่ทรงแสดงจนจบ พระสูตร ขณะนั้นสติสัมปชัญญะก็เกิดได้

    เพราะฉะนั้น ทุกอย่างที่มีจริง แล้วก็ไม่ใช่เรา แล้วก็เป็นสภาพธรรมต่างๆ ปัญญาจะต้องอบรมจนกระทั่งเป็นปัญญามาก เป็นปัญญาหนา เป็นปัญญาร่าเริง ก็มีปัญญามากมาย ซึ่งก็เป็นสภาพธรรมที่เกิดขึ้น ตามเหตุตามปัจจัย ของแต่ละบุคคล

    ผู้ฟัง จะเรียนถาม ธรรม ๔ ประการที่บอกว่า โภคสมบัติ ยศ อายุยืน แล้วก็เมื่อตายแล้ว ขอเราจงไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ก็เป็นลักษณะของโลกธรรม ๘ ทำไมถึงกล่าวว่า เป็นธรรมที่หาได้ยากในโลก

    ท่านอาจารย์ ถ้าทุกคนปรารถนาแล้วได้หมด ก็คงไม่ยากใช่ไหม แต่ต้องมีเหตุที่สมควรที่ จะได้

    ผู้ฟัง เกี่ยวกับวัฏฏสงสาร ทำไมถึงบอกว่า เป็นธรรมที่หาได้ยาก

    ท่านอาจารย์ คุณชุมพร กล่าวถึงในวัฏฏสงสารเป็นธรรมดา ใช่ไหม เรื่องของโภคสมบัติ เรื่องของยศ เรื่องของต่างๆ แต่ให้ทราบว่า วัฏฏสงสาร อย่างในมนุษย์เรา อะไรมีมากกว่า ได้ลาภ ได้ยศ มากกว่า หรือว่าไม่ได้โภคสมบัติ ไม่ได้ยศมากกว่า เพราะฉะนั้น ก็ต้องเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ใช่ไหม แล้วก็ไม่ใช่หาได้ โดยที่ไม่มีอดีตกรรม ที่เป็นกุศลที่ได้กระทำแล้ว ถึงจะเพียรหาสักเท่าไรก็ตาม แต่ถ้าไม่ใช่ผลของกุศลกรรม ที่ได้กระทำแล้ว ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น จึงได้ทรงแสดงหนทางที่ ทั้ง ๔ ข้อ จะเป็นไปได้ตามความปรารถนา ก็ด้วยกุศลกรรมที่ได้กระทำแล้ว

    วิทยากร ในนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านว่า ตรัสกับอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ต้องละมานะอภิชฌาวิสมโลภะ อะไรต่ออะไร มันก็คือนิวรณ์ ๕ นั่นเอง ถ้าจะพูดแล้ว ๔ อย่างนี้มีพยาปาท อุทธัจจะ กุกกุจจะ วิจิกิจฉา สรุปแล้วมันก็คือ นิวรณ์ ๕ นั่นเอง นิวรณ์ ๕ เป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เพราะฉะนั้น มันเป็นกิเลส ที่มันมั่นคง มันมั่นคงเพราะมันเกิดบ่อยที่สุด เกิดบ่อยซ้ำๆ ซากๆ อยู่นั้น กางกั้นที่ไม่ให้กุศล มันเกิด

    ท่านอาจารย์ กิเลสธรรมดา มีหลายระดับ ถ้าระดับปกติ รู้ได้ไหม เดี๋ยวก็ต้องใช้คำเก่าว่าตื่น เช้ามาแล้วก็รับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งตัวทั้งหมด รู้ได้ไหมว่าเป็นกิเลส แต่ถ้าเป็นไปในอุปกิเลส ๑๖ ลบหลู่ ตีเสมอ ขยับหรือเปล่า ขึ้นมาให้ปรากฏว่ากิเลส ที่มีสามารถจะปรากฏลักษณะของเขาต่างๆ กัน ที่สามารถที่จะเห็นได้ ซึ่งปกติธรรมดาไม่เห็น ริษยา ปกติธรรมดา ถ้าเป็นการขุ่นใจ เล็กน้อยก็ไม่ปรากฏ เพราะเหตุว่าบางทีเราก็ไม่รู้สึกตัว ใช่ไหม เห็นฝุ่นหรือว่าแก้วน้ำไม่สะอาด หรืออะไรอย่างนี้ ก็นิดๆ หน่อยๆ เราก็ไม่รู้สึกตัวเลยว่า เป็นกิเลส แต่ว่าถ้ามีมากกว่านั้น ใกล้กว่านั้น มันคงกว่านั้น เราก็สามารถที่จะเห็นได้ว่า ใกล้ต่อการที่จะรู้ได้ หรือว่าใกล้ต่อการที่ขณะนั้น สามารถที่จะเข้าใจ ถึงลักษณะของกิเลสได้ ถ้าไม่ปรากฏอย่างนั้น ก็ไม่สามารถที่จะเห็น ในความเป็นกิเลสของสภาพธรรมนั้นๆ ได้

    ผู้ฟัง ทำให้เห็นชัดเลยว่าปกติทุกคน สำคัญตนว่าไม่มีกิเลส แต่ความจริงมันเกิดอยู่ตั้งแต่ตื่นนอนมา อยากจะไปล้างหน้า แปรงฟัน อะไรต่ออะไร มันมีเราก็ไม่รู้ว่าเป็นโลภะ ไม่รู้ว่าเป็นกิเลส แต่พอมันเกิดจริงๆ มันเป็นอุป เข้าไปแล้ว มันชัดเจนขึ้นมาเลย รู้ทันทีเลย

    วิทยากร ข้อความตรงนี้ก็มีใน มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาส พูดถึงตรงกันข้ามว่า คำว่า นอนเนื่อง คือยังละไม่ได้ เมื่อยังนอนเนื่องอยู่ยังละไม่ได้ ก็คือมาจากคำว่า อนุสัยกิเลส แล้วพอมันเป็นอุปกิเลส ขึ้นมา มันก็ นี่ในขณะที่คุณนิพัฒน์ กับท่านอาจารย์พูด เป็นอย่างนี้จริงๆ แต่เนื่องจากว่ายังละไม่ได้ ท่านใช้คำว่า นอนเนื่อง เท่ากับคำว่า ยังละไม่ได้ เพราะฉะนั้น ข้อความเหล่านี้จะสอดคล้องกัน ถ้าเราพบพยัญชนะเหล่านี้บ่อยๆ แล้วเทียบเคียงกัน จะทำให้เรา เข้าใจธรรมได้ดีขึ้น

    ท่านอาจารย์ จะกล่าวถึงอุปกิเลส ๑๖ ไหม เพื่อที่จะได้เห็นว่าขณะไหน ที่เกิดขึ้นแล้วเราสามารถที่จะเห็น ว่าเป็นกิเลส

    วิทยากร อภิชฌาวิสมโลภะ ก็เป็นความโลภที่ รุนแรง

    ท่านอาจารย์ พวกนี้ทั้งหมด พอจะรู้ได้

    วิทยากร พยาปาทความพยาบาท โกธะความโกรธ อุปนาหะผูกโกรธ มักขะลบหลู่ ปลาสะตีเสมอ พวกนี้มานะทั้งนั้น มานะตีเสมอ อิสสาก็ริษยา มัจฉริยะก็ความตระหนี่ มายาก็เจ้าเล่ห์ด้วย เจ้าเล่ห์หลอกลวง สาเถยยะโอ้อวด ถัมภะหัวดื้อ สารัมภะแข่งดี มานะถือตัว อติมานะยกตนดูหมิ่นท่าน อติมานะ มทะมัวเมา ความเมาก็ได้ ปมาทะความประมาท

    ท่านอาจารย์ เชิญคุณประเชิญ กล่าวถึงพระสูตรเมื่อกี้นี้ ที่แสดง ความละเอียด โดยนัยต่างๆ

    วิทยากร สำหรับอภิชฌาวิสมโลภะ ท่านกล่าวถึง อภิชฌาไว้หลายนัย อภิชฌา พร้อมทั้ง วิสมโลภะ ท่านกล่าวถึง ๓ นัย นัยแรกนั้นก็คือ แยกระหว่าง อภิชฌา กับ วิสมะ คือ อภิชฌา ความรักความพอใจในบรรดาของตน ส่วนวิสมะ คือความรัก ความพอใจในบรรดาคนอื่น แล้วก็อีกอย่างหนึ่ง ความพอใจในบรรดาของตน หรือของคนอื่น จงยกไว้ รักความพอใจในฐานะที่ควร ชื่อว่า อภิชฌา ความรักความพอใจที่ ไม่ถูกไม่ควรชื่อว่า วิสมะ

    ท่านกล่าวว่า มติของพระเถระ ท่านวินิจฉัยว่า โลภะทุกอย่างที่จะไม่ชื่อว่า วิสมะ ก็หามิได้ ท่านก็ยกพระบาลีว่า พวกเธอ จงแบ่งแยกไปทำไม จะเป็นอารมณ์ ที่เหมาะหรือไม่เหมาะก็ตาม ราคะก็เป็นวิสมะ โทสะก็เป็นวิสมะ โมหะก็เป็นวิสมะเหมือนกัน เพราะฉะนั้น โลภะนี้นั้นเอง ชื่อว่า อภิชฌา เพราะอันว่า เพ่งเล็ง ชื่อว่า วิสมะ เพราะว่าไม่เหมาะ คำว่า อภิชฌา และวิสมะนี้ มีความหมายอันเดียวกัน แตกต่างกันตรงพยัญชนะ เท่านั้น อันนี้เป็นอีก มติ ของพระเถระ

    ท่านอาจารย์ โดยมากจะได้ยินคำว่า แตกต่างโดยพยัญชนะ เท่านั้น แต่อรรถเดียวกัน แต่แสดงถึงสภาพธรรม หรือเปล่า เพราะเหตุว่า ความพอใจในสิ่งของของตนมี ความพอใจในสิ่งของของคนอื่นมี แล้ว ๒ อย่างนี้ จะมีความต่างไหม แม้ว่าเป็นโลภะด้วยกัน เพราะฉะนั้น เวลาที่ท่านพระเถระ ท่านแสดงมติ ท่านก็หมายความว่าก็คือตัว โลภะ นั่นแหละ แต่ว่าไม่ใช่ โลภะ โดยที่ไม่มีความต่างประการใดๆ เลยทั้งสิ้น เพราะว่าถ้าไม่มีความต่างโดยประการใดๆ ทั้งสิ้น โลภะของพระโสดาบัน กับโลภะของปุถุชน เหมือนกันหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เหมือน

    ท่านอาจารย์ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าแล้วแต่ ข้อความในที่ต่างๆ การศึกษาธรรม จึงจะต้องศึกษาให้ละเอียดรอบคอบ แล้วก็ไม่ผลีผลาม เพราะเหตุว่า ถ้ากล่าวถึงเรื่องของอภิชฌา ก็คือความเพ่งเล็งๆ ที่นี่แม้แต่พระโสดาบัน ก็ยังไม่ได้ละ แต่ท่านไม่ได้ไปเพ่งเล็งพอใจในทางทุจริต ที่จะให้ได้มา เพราะฉะนั้น เวลาที่ฟัง ต้องรู้ระดับต่างๆ ด้วย ของบุคคลต่างๆ ด้วย แม้จะกล่าวว่าต่างกันโดยพยัญชนะก็จริง แต่ก็ต้องรู้ว่าพยัญชนะ ที่ต่าง ต่างตาม สภาพของโลภะนั้นๆ ซึ่งเกิดขึ้นต่างๆ แต่ว่าก็คือลักษณะของโลภะนั่นเอง ไม่ใช่อย่างอื่น

    วิทยากร ท่านอธิบายเรื่องของ อภิชฌาวิสมโลภะ ลักษณะของสภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ท่านกล่าวว่า อภิชฌาวิสมโลภะ ฉันใด พยาปาท อันเกิดจาก อาฆาตวัตถุ ๑๐ ความโกรธอันเกิดจาก อาฆาตวัตถุ ความผูกโกรธ อันครอบงำจิตบ่อยๆ ก็ฉันนั้น คือเป็นสภาพธรรมเดียวกัน แต่ว่า มีการผูกโกรธขึ้นมา

    ท่านอาจารย์ ผูกโกรธ หลังจากที่โกรธแล้ว ไม่ลืม

    วิทยากร ท่านใช้คำว่า ความผูกโกรธ อันครอบคลุมจิตบ่อยๆ ไม่ยอมลืมอันนั้นก็เป็นการผูกโกรธ

    ท่านอาจารย์ ถ้าได้ยินได้ฟังว่า ใครโกรธใคร แล้วยังได้ยินซ้ำอีกบ่อยๆ หมายความว่าเป็นความผูกโกรธที่ ไม่ลืม แล้วบางคนอาจจะแช่ง นั่นก็หวังร้ายแน่ ซึ่งจะเป็นอย่างที่คิดเป็นไปไม่ได้เลย เพราะว่าขึ้นอยู่กับกรรมของเขาเอง ไม่ใช่คำแช่งของคนอื่น

    วิทยากร การลบหลู่ คือ อันกระทำสิ่งที่เขาทำดีให้พินาศไป ทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ท่านก็ยกตัวอย่ง สามเณรน้อย ที่อุปัชฌาย์อาจารย์ ได้อนุเคราะห์ด้วยปัจจัย ๔ ได้สอนธรรมมา และภายหลังพอได้สักการะจากพระราชา มหาอำมาตย์ เป็นต้น ก็ขาดความยำเกรงในอุปัชฌาย์อาจารย์ เที่ยวไป นี่ก็ตัวอย่างของการลบหลู่คุณท่าน

    ท่านอาจารย์ ลบหลู่ อันนี้ก็ ถ้าเกิดก็พอจะรู้ได้ ใช่ไหม แต่ถ้ายังไม่เกิดก็มองไม่เห็นว่า เป็นกิเลสประเภทไหน

    วิทยากร ปลาสะ ตีเสมอ คนที่เป็นพหูสูตร ทรงความรู้ ไปเทียบกับท่านว่า จะมีอะไรแตกต่างกันไป นี้คือตีเสมอ อิสสาได้แก่ความ นึกตำหนิ สักการะ เป็นต้นของคนอื่น คือไม่ยินดีในสักการะของคนอื่นนั่นเอง ต่อมา ตระหนี่ นี้คือ ทนไม่ได้ที่สมบัติของตนมีคนอื่น มาร่วมใช้สอย

    วิทยากร เขาจะเอากะละมังซักผ้าไป ซักเสียหน่อย บอกไม่ได้ เดี๋ยวมันจะบุบ กระเทาะ ต้องตัวเองใช้คนเดียว แต่ของผมมีบ่อย มายืนหน้าบ้าน ถ้าเขายืนตรงโทรศัพท์ไม่ยืนหน้าบ้านผม ผมก็ไม่มีความรู้สึก เพราะเขา มายืนหน้าบ้านผม มีความรู้สึกทุกที

    วิทยากร หวงจนกระทั่งหน้าบ้าน

    ผู้ฟัง ตระหนี่ในความหมายนี้คือ หวงสมบัติของเราเอง ใช่ไหม

    วิทยากร อาวาสะ

    ท่านอาจารย์ ไม่ต้องการที่จะให้คนอื่นร่วม ใช้สอยด้วย

    ผู้ฟัง หวงในสมบัติของตนเอง แต่ถ้าเป็นอิสสา สมบัติของคนอื่นๆ แต่ถ้ามัจฉริยะนี้ สมบัติของเราเอง มีความแตกต่าง มายา

    วิทยากร มายา ได้แก่ กิริยาที่เป็นการประพฤติหลอกลวง

    ผู้ฟัง หลอกลวง ความเจ้าเล่ห์ ใช่ไหม

    วิทยากร โอ้อวด ท่านก็กล่าวว่า เกิดขึ้นโดยเป็นคนคุยโต ท่านก็ยกตัวอย่าง ปลาอานนท์ชอบเอาหาง อวดปลาด้วยกัน ว่ามีเหมือนกัน เอาศีรษะอวดงู ให้ปลา และงูรู้ว่าเราเป็นเช่นกับพวกท่าน บุคคลผู้คุยโตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เข้าไปหานักพระสูตร หรือนักพระอภิธรรมใดๆ ก็กล่าวท่านเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ผมประพฤติประโยชน์ เพื่อพวกท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายต้องอนุเคราะห์ผม ผมจะไม่ทิ้งพวกท่านหรอก ดังนี้ อันนี้ก็เป็นตัวอย่างโอ้อวดที่ท่านยกขึ้นมา ทำพระหัวดื้อ ท่านกล่าวว่าคนหัวดื้อเป็นตัวการทำให้ไม่ประพฤติอ่อนน้อม เชิดศีรษะ เป็นผู้กระด้าง เป็นเช่นกับสูบที่เต็มด้วยลม นี่คือลักษณะของหัวดื้อ ไม่อ่อนน้อม ไม่ถ่อมตน เป็นผู้กระด้าง

    ส่วนแข่งดีๆ ก็คือมีการกระทำยิ่งกว่านั้น ทำความแข่งดี แยกออกเป็น ๒ ประเภทคือ ฝ่ายอกุศล และก็ฝ่ายกุศล สำหรับคฤหัสถ์ ถ้าแข่งดี คือถ้าเห็นผู้ที่ประดับด้วยเครื่องประดับ ที่คนอื่นประดับ ก็ประดับให้ทวีคูณยิ่งๆ ขึ้นไปยิ่งกว่านั้น อันนี้เป็นอกุศล สำหรับบรรพชิต ในขณะที่บรรพชิตเหล่าอื่นเรียนธรรม มีประมาณเท่าใดๆ ก็แข่งดี คือให้กระทำให้เป็นทวีคูณขึ้นยิ่งขึ้นไปกว่านั้น ด้วยอำนาจของมานะ อันนี้ก็เป็นอกุศลเหมือนกัน คือเรียนเพื่อที่จะเอาชนะเขา

    ผู้ฟัง คุณประเชิญ แล้วแข่งดีในด้านกุศล เป็นอย่างไร

    วิทยากร การแข็งดีที่จะเกิดขึ้น เพราะได้เห็นคนอื่นถวายสลากภัตที่ ๑ ตนเองก็จะถวาย ๒ ที่ หรือ ๓ ที่ มีใจเป็นกุศล แข่งกระทั่งกุศล ต้องการที่จะชนะคนอื่น ด้วยการทำความดี

    ผู้ฟัง แข่งที่จะทำกุศลให้มากกว่าคนอื่น ใช่ไหม

    วิทยากร ท่านกล่าวว่าสำหรับบรรพชิต เมื่อได้ทราบว่า ผู้อื่นเรียนได้ ๑ นิกาย ความแข่งดีเกิดขึ้น โดยไม่อาศัยมานะ แต่เพราะได้เห็นภิกษุอื่นนั้นเรียน ๑ นิกาย แล้วประสงค์จะครอบงำ ความเกียจคร้าน ของตนอย่างเดียว เรียนได้ ๒ นิกาย คือคนที่เรียนทีหลังเรียน ๒ นิกาย คือเรียนมากกว่า เพราะว่านิกายเป็นหมวดหมู่ของธรรม เพราะว่านิกายในที่นี้ก็คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย เป็นต้น

    ท่านอาจารย์ ก็คงจะเห็นคนอื่นเป็นตัวอย่างว่าเขาขยัน เขาเรียนได้ นิกายหนึ่งก็ เป็นตัวอย่างที่จะทำให้ขยัน ให้เรียนได้ บางคนก็ไม่กล้าเรียน คิดว่ายากใช่ไหม แต่พอเรียนแล้ว รู้ว่าไม่ยากเท่าไร ก็เรียน

    วิทยากร ต่อมา มานะ ถือตัว ความถือตัวนั้นเป็นไปด้วยอำนาจ ความพองตัวแห่งจิต เพราะอาศัยชาติ อาศัยโคตร อาศัยตระกูล มานะที่เต็มไปด้วยอำนาจ ความพองตัว เหย่อหยิ่งแห่งจิต การพองตัวแห่งจิต อันนี้เป็นมานะถือตัว แต่ถ้าอติมานะท่านใช้คำว่า พองตัวยิ่งแห่งจิต คือจะมีกำลังยิ่งกว่า ก็เป็นอติมานะ

    ส่วน มทะ ความเมา หรือความหลงระเริง อาการที่รับเอาด้วยความเมา ที่ชื่อว่า มทะ มทะที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจการปล่อยจิต ไปตามกามคุณทั้งหลาย ชื่อว่า ปมาทะ ก็เป็นอุปกิเลสข้อสุดท้าย จะต่อเนื่องกัน ขณะที่หลงระเริงเป็นมทะ แต่ว่าถ้าปล่อยจิตไปตามกามคุณทั้งหลายเป็นต้น เป็นปมาทะ

    ท่านอาจารย์ ขณะใดที่ไม่รู้ลักษณะของกิเลส ก็ไม่ได้ปรากฏ ให้รู้ว่าเป็นกิเลส

    ฟังธรรมจากหัวข้อย่อย

    หมายเลข 108
    25 มี.ค. 2567