ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
ตอนที่ ๖๘๒
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๗
ผู้ฟัง ขอเรียนถามท่านอาจารย์ว่า คำว่า มืด ในที่นี้ ในพระสูตรนี้ และสว่าง ในพระสูตรนี้ หมายถึงแค่นรกกับสวรรค์ เท่านั้น หรือไปถึงโลกุตตรด้วย
ท่านอาจารย์ เป็นต้น
ผู้ฟัง เป็นต้น ก็ต้องถึงโลกุตตรเลย
ท่านอาจารย์ ก็สว่างขึ้นๆ ได้ ไม่ใช่ว่าให้สว่างเพียงเท่านี้
ผู้ฟัง การที่ท่านบอกว่า มีกายสุจริต วทั้ง ๓ วจี หรือ มโนสุจริต แล้วจะไปสว่างได้ แต่ในหลักที่ท่านอาจารย์แสดงกรรม เรื่องของกรรม ก็ ท่านอาจารย์ก็ยังกล่าวว่า แม้ในชาตินี้เกิดมาแล้ว ทำกุศลกรรมบ้าง แต่ก็อย่าลืมว่า อปราปริยเวทนียกรรม ก็ยังกลัวอยู่ว่า จะเป็นกรรมที่มาเป็นโคแก่ ไม่มีกำลัง แล้วอยู่ปากคอก
ท่านอาจารย์ ก็เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ ทั้งๆ ที่ชาตินี้ก็ทำดีทุกอย่าง แต่ก็ยังมีกรรมที่สามารถที่จะให้ผลทำให้ปฏิสนธิจิตเกิดได้ก็ เป็นเรื่องของกรรม เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรประมาท แม้แต่กรรมไม่ดีเล็กๆ น้อยๆ ก็อย่าทำ เพราะว่าจะทำให้เกิดอีก ชาติไหนก็ไม่ทราบ ให้ปฏิสนธิในอบายภูมิได้
ผู้ฟัง อย่างนี้ในพระสูตรนี้ท่านก็กล่าวไว้โดยนัย ที่ถูกต้อง แต่เรื่องของกรรมอย่างนั้นก็ต้อง รับไปตามที่สะสมมาแล้วแต่กรรมไหน เขาจะเป็น อสัญกรรม มาให้ผลตอนใกล้ตาย
ท่านอาจารย์ เพราะถึงอย่างไร กรรมก็แยกเป็น ๒ ประเภท กุศลกรรม และอกุศลกรรม ถ้าจะไปสู่ที่มืดก็ไปด้วยอกุศลกรรม ถ้าจะมืดไป ถ้าไปสว่างก็ไปด้วยกุศลกรรม จะเมื่อไรอย่างไรก็ตามแต่
ผู้ฟัง ตามที่คุณบงกล่าวว่า มีกำไรๆ นั้นก็ กุศลกรรมทำครั้งเดียวกำไรก็มาก ลงทุนน้อย เมื่อเช้าได้ยินท่านอาจารย์ว่าลงทุกน้อย ลงทุนนิดเดียว ได้กลับมากมายเลย ได้กำไรมากมาย ทีนี้ตรงนี้ก็ ยังหวั่นไหวอยู่
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ทุกคนจึงควรอบรมเจริญปัญญา ถึงความเป็นพระโสดาบัน ทีนี้ไม่ต้องไปอบายเลย
ผู้ฟัง ยากแสนยาก
ท่านอาจารย์ มาโลกนี้ยังมาได้ ไม่ทราบมาได้อย่างไร ทานกุศล หรือศีลกุศล หรือว่าภาวนากุศล
ผู้ฟัง ผมก็ไม่ได้ตั้งใจมา ไม่ทราบว่ามาได้อย่างไร
ท่านอาจารย์ แต่ทราบว่ามาด้วยกุศลกรรม
ผู้ฟัง ใช่
ผู้ฟัง สงสัยกันตรงพระโสดาบัน สว่างแน่นอนแล้ว ใช่ไหม
วิทยากร.พระโสดาบันท่านปิดประตูอบายได้แล้ว ท่านก็ยังจะเกิดอีก อย่างมากไม่เกิน ๗ ชาติ อรรถธัมมานิยัติ ไม่ถือเอาอัตภาพที่ ๘ แค่ ๗ ชาติเท่านั้น สว่างไป สว่างไปตลอด
ท่านอาจารย์ อันนี้ก็เป็นชีวิตประจำวัน ซึ่งทุกคนก็กำลังอบรมเจริญปัญญา ที่จะรู้แจ้งอริยสัจจธรรม เริ่มตั้งแต่การฟังธรรมแล้ว ก็ประพฤติตามในทางกุศล เท่าที่เราได้ยินได้ฟัง สิ่งใดที่เป็นอุปกิเลส มีความเข้าใจขึ้น แล้วก็เจริญกุศล ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า การที่จะสว่างไป ก็ต้องเป็นเรื่องของกุศลทั้งหมด แล้วแต่ว่าจะแค่ไหน ซึ่งทุกคนที่ฟังก็พอจะทราบ ใช่ไหม แค่เป็นพระโสดาบันแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เป็นแค่กุศลกรรมที่ทำให้สว่างไป แล้วก็ไปต่อ ความสว่างไปเรื่อยๆ ได้ แต่ก็เป็นชีวิตจริงๆ ที่ประมาทไม่ได้เลย ไม่ได้มุ่งไปแต่เพียงที่ว่า จะเป็นพระโสดาบัน แต่ว่ายังไม่เป็น แล้วก็มีการเจริญกุศล มีกายสุจริต เป็นต้น ก็จะทำให้ ไปสว่างได้ เพราะไม่มีใครอยากไปมืด
ผู้ฟัง สังเวช ที่ประกอบด้วยปัญญา คือเห็น ความจริงว่านี่มันต้องเกิด มันต้องแก่ มันต้องเจ็บ มันต้องตาย อย่างเราไปที่สังเวชนียสถาน แม้พระพุทธเจ้า ก็ยังไม่พ้นไปจาก สิ่งเหล่านี้ เพราะฉะนั้น ดิฉันพอจะสรุปได้ว่า ปัญญาในที่นี้ ปัญญาที่เห็นความจริงของ สังขาร ในสังขาร ในทุกข์ที่เกิดจากสังขาร อันนี้พอจะไปได้หรือเปล่า
ท่านอาจารย์ ก่อนอื่นก็ต้องทราบว่า คำแปลที่แปลออกมา จะเห็นได้ว่า แปลไทย ให้เข้าใจว่าสังเวชในภาษาไทยเรา จริงๆ แล้ว มาจากคำบาลี ว่าสัง-เว-คะ แต่ว่าความที่เราสับสน เพราะเหตุว่าเราไม่ได้ศึกษาความหมายจริงๆ ของ สังเวคะ เราเอาคำ สัง-เว-คะ มาใช้เป็นคำว่า สังเวชในภาษาไทย เพราะฉะนั้น คนไทยก็ ใช้สังเวช แล้วก็ไม่รู้ จะแปลอย่างไร ก็ กลับไปหาคำแปลในภาษาไทยนั้นอีกว่าปั่นป่วน ว่าอะไรต่างๆ แต่ว่าตามความจริงแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะเหตุว่าสังเวคะ ต้องไม่ใช่เพียงแต่ ที่เราเข้าใจว่า สลดใจ เวลาที่ภาษาไทยเราใช้คำว่าสลดใจ หมายความว่าสิ่งนั้นไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่เป็นที่ติดข้อง ใช่ไหม รู้สึกสังเวช สลดใจ แต่ว่าความหมายแท้จริงของ สังเวคะ ต้องเป็นปัญญาที่ทำให้ ไม่ติดข้อง แล้วเมื่อไร จะถึงขณะที่เป็น สังเวคะ เป็นปัญญาที่ไม่ติดข้อง เพราะว่าอย่างสังเวชนียสถาน เป็นสถานที่ที่ควรแก่การเห็นด้วยปัญญา ด้วยความไม่ติดข้อง
วิทยการ เมื่อพูดถึงตรงนี้ สังเวชนิย เขา แปลว่า เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช
ท่านอาจารย์ เด็กๆ ที่ได้ยินคำว่า สังเวช เด็กก็ไม่รู้ว่าอะไร
วิทยการ นั้นคือไทยๆ
ท่านอาจารย์ ไทย ไทยจริงๆ แล้วพอโตขึ้นมา เด็กก็เริ่มจะเข้าใจสังเวช ในความหมายไทยอีก น่าสังเวชเหลือเกินอะไรอย่างนี้ แต่ จริงๆ ก็ไม่ใช่ สังเวคะ การที่เราจะเอาภาษาเดิมในภาษาบาลีมาใช้ ความหมายเพี้ยนไปทำให้เรา ไม่เข้าถึงความหมายของคำว่า สัง-เว-คะ จนกว่าเราจะได้ศึกษาจริงๆ ว่า สังเวคะ คืออะไร
วิทยการ บางนัย ท่านกล่าวว่า โอตตัปปะที่ประกอบด้วยญาณ การสลดหรือการสังเวช สังเวคะ เป็นโอตตัปปะ ที่ประกอบด้วยญาณ
ผู้ฟัง เรียนถามท่านอาจารย์ ชีวิตประจำวัน ที่จะไม่ปฏิบัติในทางเสื่อมนี้ รู้สึกมันจะเป็นอกุศลเจตสิก เกือบทั้งหมด ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ก็มี แต่ว่าไม่รู้ว่าเป็นทางเสื่อมก็ได้ เมื่อยังไม่ถึงความเจริญ กำลังอยู่ในทางของความเสื่อม หรือเปล่า นี่เป็นเหตุที่เราจะต้องอาศัยพระธรรมทั้ง ๓ ปิฎกเพราะว่าถ้าศึกษาพระอภิธรรม ก็จะทราบว่า มีสภาวธรรมที่เป็นจิต เป็นเจตสิก เป็นรูป แต่ความหลากหลาย ความละเอียดของทั้งจิต เจตสิก จะเห็นได้โดยพระสูตรต่างๆ ที่ทรงแสดงไว้โดยละเอียด เพราะฉะนั้น ก็ต้องประกอบกันด้วย อย่างถ้าเราไม่รู้ว่าอะไรเป็นความเสื่อม เราก็ศึกษาจากสูตรนี้ เราก็ทราบได้ ว่าอะไรเป็นความเสื่อมบ้าง
ผู้ฟัง เหมือนอย่างข้อที่บอกว่า คนใดชอบนอน ชอบคุย ไม่หมั่น แล้วก็เกียจคร้าน โกรธง่าย รู้สึกถ้าเราดูว่า มันก็คงเป็นโทสะเท่านั้น ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ชอบนอน นี้คงไม่ใช่โทสะ ใช่ไหม
ผู้ฟัง ไม่ใช่หรือ
ท่านอาจารย์ ชอบ ชอบนอน
ผู้ฟัง โลภะ หรือ
ท่านอาจารย์ โลภะ
ผู้ฟัง ชอบคุย ก็ต้องเป็นโลภะด้วย
ท่านอาจารย์ ชอบทั้งหมด เป็นโลภะ เพราะฉะนั้น ถ้าชอบนอน แล้วจะมานั่งฟังธรรม มาเปิดวิทยุ จะมาสนทนาธรรม คงเป็นไปไม่ได้ ใช่ไหม นอนดีกว่า ก็คงจะเป็นผู้ที่ไม่เห็นประโยชน์ของการที่จะตื่น แล้วก็ได้ประโยชน์จากความตื่น เพราะว่าเป็นผู้ที่ชอบนอน แต่บางคนก็อาจจะยังไม่รู้ตัว ก็ยังคงชอบต่อไปเพราะว่านอนหลับแล้วก็สบาย ใช่ไหม
แต่ว่าตามความเป็นจริง ถ้าจะพิจารณาถึงประโยชน์ ในการที่วันหนึ่งๆ ก็มีข้อความที่ทรงแสดง ไว้ว่าถ้าตื่นแล้วเป็นอกุศล นอนหลับดีกว่า แต่ว่าช่วยไม่ได้ ใช่ไหม ที่จะต้องตื่น เพราะฉะนั้น เมื่อตื่นแล้ว นี่ ลองคิดถึงสภาพของจิต เป็นภวังค์ ไม่มีอารมณ์อื่นใดๆ เลยทั้งสิ้น นอกจากอารมณ์เช่นเดียวกับปฏิสนธิ คือขณะที่ไม่รู้ ไม่ได้มีการถูกรบกวน ด้วยรูป ด้วยเสียง ด้วยกลิ่น ด้วยรส ด้วยโผฏฐัพพะ ด้วยความคิดนึกใดๆ เลยทั้งสิ้น แต่ว่าเมื่อมีการรู้อารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใด ให้เห็น ว่าต้องมี ไม่มีไม่ได้ จะหลับตลอดไปไม่ได้ แต่เมื่อมีแล้ว ขณะนั้นได้ประโยชน์อะไร จากการที่จากหลับสนิท ไม่มีอารมณ์ใดปรากฏเลย แล้วพอตื่นก็มีอารมณ์ปรากฏ ได้ประโยชน์อะไรจากอารมณ์ที่ปรากฏ หรือไม่ได้ คุณอรรณพได้ไหม
วิทยากร ตอนที่ตื่น ก็แล้วแต่จะเป็น กุศลหรือจะเป็นอกุศล
ท่านอาจารย์ แล้วใครจะรู้
วิทยากร สติ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น วันนี้ได้ประโยชน์ หรือไม่ได้ประโยชน์ จากการตื่นขึ้นมา
วิทยากร ขณะที่เป็นอกุศลก็หลับเสียดีกว่า
ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ตรงอย่างยิ่ง แล้วก็เห็นประโยชน์จริงๆ ว่าจากการไม่รู้อะไร แล้วก็มีการรู้ สิ่งหนึ่ง สิ่งใด เป็นประโยชน์ เพราะเป็นกุศล หรือไม่เป็นประโยชน์ เพราะว่าขณะนั้นเป็นอกุศล นี่คือทางเสื่อม ที่จะแสดงให้เห็นว่า ต้องเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก การฟังธรรมที่จะต้องประกอบกัน ทั้งพระสูตร พระวินัย พระอภิธรรม ให้ถึงลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ที่จะเริ่มเข้าใจ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่เพียงแต่ อากัปกิริยาภายนอก แต่ลึกลงไปนั้นก็คือ สภาพของจิต การกระทำอาจจะเหมือนกัน แต่ใจต่างกันก็ได้ นี้ก็เป็นเหตุ ผู้ที่ตรงต่อธรรม ก็จะได้สาระจริงๆ แล้วก็เห็นโทษภัยบ้างหรือยัง เห็นนิดหน่อย ต้องฟังมากๆ แล้วก็พิจารณามากๆ แล้วก็เป็นผู้ที่ตรงต่อ ธรรม เพราะฉะนั้น ก็ต้องรู้ด้วย ว่าแต่ละคนที่ยังอยู่ในโลกนี้ อยู่ในทางเสื่อมบ้างหรือเปล่า ถ้าอยู่ในทางเสื่อม ออกจากทางเสื่อม แล้วก็เจริญทางที่เจริญได้
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวเมื่อกี้ว่าไม่ใช่กลัวเพียงแก่ กลัวเกิด กลัวตาย อย่างเดียว ก็ต้องเห็นโทษ ที่นี้เทวดา เขาก็ไม่แก่
ท่านอาจารย์ สบายดี
ผู้ฟัง สบายดี อารมณ์เพลิดเพลิน ทุกอย่างก็เป็นทิพย์ ทำไมเขาถึงเป็นผู้ใคร่ธรรม ตรงนี้
ท่านอาจารย์ เทวดาที่ไม่ใคร่ธรรม มีไหม
ผู้ฟัง มี
ท่านอาจารย์ นี่ก็แสดงถึงความต่างของการสะสม
ผู้ฟัง แสดงว่าในอดีต เทวดาเหล่านี้ ท่านได้สั่งสม
ท่านอาจารย์ ทุกหนทุกแห่งในโลกนี้ หรือโลกไหน ก็มีทั้งผู้ที่ใคร่ในธรรม และผู้ที่ไม่ใคร่ในธรรม โลกนี้ก็มีคนที่ไม่ใคร่ในธรรมไปเกิด เป็นเทวดา ก็ไม่ใคร่ในธรรม แต่ถ้าเป็นผู้ที่ใคร่ในธรรมในโลกนี้ ไปเกิดต่อไปก็เป็นผู้ที่ใคร่ในธรรม
ผู้ฟัง ยิ่งเทวดา ยิ่งเพลิดเพลินมากนี้ ยิ่งไม่ใคร่ใหญ่เลย ถ้าไม่ได้สั่งสมไว้
ท่านอาจารย์ มากหรือน้อยก็ตามแต่ แต่ผู้ที่ได้สะสมการเห็นประโยชน์ แล้วก็ปัญญา ผู้นั้นจะเลือกอย่างไหน ถ้าเป็นผู้ที่เห็นคุณของปัญญา แล้วก็เป็นผู้ที่มีทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมแล้ว เพลิดเพลินก็จริง แต่ก็ยังเห็นประโยชน์ หรือเห็นคุณของปัญญา ผู้นั้นจะเลือกอย่างไหน
ผู้ฟัง กว่าจะเห็นโทษของอกุศลทั้งหลาย แล้วกว่า จะเป็นประโยชน์ของปัญญา ก็จะต้องเป็นผู้ใคร่ในธรรม
ท่านอาจารย์ เป็นผู้ที่ละเอียด และเป็นผู้ที่ตรงด้วย ถ้าเข้าใจถูก ว่านี่เป็นธรรม เป็นปรมัตถธรรม แล้วเมื่อได้เข้าใจความละเอียดของธรรมที่ทรงแสดงไว้โดยตลอด ในส่วนของพระอภิธรรม ก็คือสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ ทุกขณะ เป็นความหลากหลายที่ละเอียดยิ่ง
อย่างอารมณ์ที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ เราเคยระลึกได้ไหมว่า ที่มีสิ่งต่างๆ ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นอะไร จะเป็นคิดนึก จะเป็นเห็น จะเป็นการที่คนโน้น คนนี้ มีจิตอย่างนั้น อย่างนี้ เป็นเรื่องเป็นราวทั้งหมด ในวันหนึ่งๆ ก็เพราะจิตนั่นแหละเกิดขึ้น สิ่งนั้นๆ จึงปรากฏ เพียงเท่านี้เราก็ไม่ได้ระลึกแล้ว ทั้งๆ ที่เราเรียนเรื่องจิต จิตเป็นสภาพรู้ ถ้าไม่มีจิตที่รู้ อะไรๆ ก็ปรากฏไม่ได้ นี่เราเรียนมา จิต เป็นใหญ่เป็นประธาน ในการรู้ เรียนเรื่องจิต ลักษณะของจิต กิจของจิต อาการปรากฏของจิต เหตุใกล้ให้เกิดของจิต แต่ว่าในขณะนี้ลืม ว่าเพราะจิตนั่นเอง สิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ จึงปรากฏได้
เพราะฉะนั้น ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าเราเข้าใจตัวธรรม หรือสภาพธรรม แล้วเราได้ยินเรื่องราวของธรรมนั้น เราก็สามารถที่จะรู้ได้ ว่าขณะนี้เป็นจิตโดยขั้นการฟังซึ่งไม่พอ เพราะแม้ว่าจะรู้ว่าเพราะมีจิต สิ่งต่างๆ ปรากฏ แต่จิตก็เกิดดับเร็วมาก สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏเหมือน ไม่ได้ขาดตอนเลย เหมือนปรากฏสืบต่อกันทั้งวัน นี่ก็เป็นสิ่งซึ่ง แม้ว่าจะตั้งต้นแล้ว ตั้งต้นอีก พูดแล้วพูดอีกเรื่องจิต เรื่องเจตสิก เรื่องรูป ก็ยังไม่พอ จนกว่าสามารถที่จะเข้าใจถูกต้องค่อยๆ สะสม ความเห็นถูก ความเข้าใจถูก ที่กำลังมีอยู่ แล้วก็จะรู้ว่านั่นคือ ธรรม ปรมัตถธรรม และ อภิธรรมนั่นเอง ใครเข้าใจก็คือ สามารถเข้าใจความเป็นจริงของธรรม
ผู้ฟัง ในอดีตนั้น ท่านก็ต้องเรียนรู้สภาพธรรม คือ ปรมัตถธรรมทั้งหมดมาแล้ว พอมาฟังพระสูตรแค่นี้ ท่านบรรลุเลย ดูมันง่ายเหลือเกิน
วิทยากร คนที่ศึกษาอภิธรรมโดยยึดตำราเป็นหลัก ก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ มาไม่น้อย แนะนำคนผิดด้วย แล้วไม่กลัวบาป ดูถูกการให้ทานด้วย เพราะว่ามันต่ำ ดูถูกการรักษาศีลด้วย เพราะว่าอภิธรรมนี้สูง เรียนอภิธรรม นึกว่าเลิศไม่ติดดินมีมากมาย
เพราะฉะนั้น อย่าหยิ่งผยอง ว่าได้เรียนอภิธรรมแล้ว เพราะว่าอภิธรรม ท่านอาจารย์ก็เตือนพวกเราอยู่เสมอว่า ไม่ใช่อยู่ในหนังสือ เดี๋ยวนี้อภิธรรมมีอยู่ตลอดเลย ใครจะเรียนหรือเปล่า ใครจะศึกษาหรือเปล่า หรือจะมุ่งจ้องแต่ตำรานี้อย่างเดียว ถ้าอย่างนี้แล้ว เราก็จะเข้าใจอภิธรรมช้า ประโยชน์ที่จะได้ก็น้อย
ท่านอาจารย์ จุดประสงค์ก็คือเรียน ให้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏให้ถูกต้อง ถ้าเรียนแล้วไม่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ประโยชน์จะอยู่ที่ไหน
ผู้ฟัง ก็ไม่ได้อะไรเลย แต่ท่านอาจารย์ก็ว่า รู้ตัวแต่รู้หรือเปล่าว่ายังไม่รู้อะไร ตรงนี้ ตอนนี้ผมก็ยังไม่รู้อะไรเลย คือรู้เรื่องราว แล้วก็รู้สภาพธรรม ที่ท่านอาจารย์บรรยายนี้ ก็พอจะระลึกรู้ได้บ้าง
ท่านอาจารย์ แต่ถ้าจะพิจารณาถึงทางของคนเสื่อม ถ้าเราผ่านข้อที่ ๑ ไป ผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้เจริญ ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม อันนี้คร่าวมากใช่ไหม เพราะเหตุว่าใคร่ธรรม เหมือนกับทุกคนใคร่ธรรม แต่เข้าใจธรรมหรือเปล่า หรือว่าเพียงแต่ว่าเราใคร่ เราอยากฟัง ฟังแล้วก็ไม่ได้พิจารณาไตร่ตรองในเหตุในผล ในความเป็นจริง อย่างนั้นก็ไม่ได้ แต่ต้องเริ่มจากการเห็นประโยชน์ เมื่อเห็นประโยชน์แล้ว ต้องละเอียด ที่จะรู้ว่าธรรม ที่ได้ฟัง ถูกต้องอย่างไร ข้อไหนที่ผู้กล่าวยังเข้าไม่ถึง หรือว่ายังเข้าใจผิดอยู่ อันนั้นก็เป็นเรื่องของ แต่ละบุคคลซึ่งจะได้ประโยชน์ คือความเห็นถูกของตนเอง ซึ่งพึ่งใครไม่ได้เลย นอกจากตัวเองเท่านั้น มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นที่พึ่ง ก็คือมีปัญญาความเห็นถูกเป็นที่พึ่ง
แล้วก็จะไปถึงข้อต่อไปที่ว่า คนมีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ไม่กระทำสัตบุรุษให้เป็นที่รัก นี่แสดงให้เห็นแล้ว ใช่ไหม ว่าแม้ว่าจะเป็นผู้ใคร่ในธรรม แต่ว่ามีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ไม่กระทำสัตบุรุษให้เป็นที่รัก เพราะไม่ได้เห็นถูก ไม่เข้าใจถูก ก็อย่าประมาทเพียงแต่ว่าเรา จะเป็นผู้ใคร่ในธรรม แต่ใคร่ในธรรมอย่างเดียวไม่พอ ต้องรู้ว่า ธรรมคืออะไรแล้วก็พิจารณา ละเอียด รอบคอบ จึงจะเป็นผู้ที่ไม่มี อสัตบุรุษ เป็นที่รัก แต่ว่าถ้าใครก็ตามเป็นคนมี อสัตบุรุษเป็นที่รัก ไม่กระทำสัตบุรุษให้เป็นที่รัก ชอบใจธรรมของ อสัตบุรุษ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม
เพราะเหตุนี้แล เราจงทราบข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้น เป็นที่ ๒ นี่ทรงเตือนถึงความละเอียดจริงๆ เพราะว่าธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดมาก ถ้าไม่ละเอียดจะไม่มี ข้อความที่ทรงเทศนาไว้ ๔๕ พรรษาโดยประการทั้งปวง การเกิดขึ้น การปรุงแต่ง ของแต่ละขณะของจิต ตั้งแต่แสนโกฏิกัปป์ จนถึงเดี๋ยวนี้ แล้วต่อไปอีกข้างหน้า ก็จะเป็นความละเอียดซึ่งจะเห็นได้ว่า ประมาทไม่ได้เลย
เพราะเหตุว่าจะได้ยินการกล่าวธรรม มากมายหลายแห่ง แล้วก็แต่ละแห่งก็อาจจะบอกว่า มาจากพระไตรปิฎก แต่พระไตรปิฎก พูดเรื่องอะไร เรื่องความจริงของสภาพธรรมที่ละเอียดมาก ถ้าไม่ละเอียดเพียงผิวเผิน ใครก็แสดงได้ แต่ถ้าเป็นธรรมที่ถูกต้อง ที่จะไม่ละเอียดนั้นไม่มีเลย เช่น ในขณะนี้ เพียงแต่พูดถึงอย่างเดียวคืออารมณ์ แล้วจะใช้คำว่า อารัมมาณะปัจจัย ก็ตามแต่ แต่เราเข้าใจถึงหลากหลาย ถึงอารมณ์ในวันหนึ่งๆ ไหมว่า มีทั้งลักษณะของอารมณ์ทั่วๆ ไป อารัมมานาธิปติ อารัมมาณูปนิสสย ไม่ได้อยู่ที่อื่นเลย อยู่ในทุกขณะ
เพราะฉะนั้น การที่จะเข้าใจธรรมได้ ก็คือเมื่อฟัง แล้วเข้าใจถึงลักษณะของสภาพธรรมนั้นตรง ถ้าตรงแล้วก็ผิดไม่ได้ แต่ที่จะรู้ว่าตรง หรือไม่ตรงไม่ได้หมายความว่า ผู้นั้นต้องมีปัญญาระดับ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสาวกที่เป็นพระอรหันต์ทั้งหลาย ในกาลก่อน ซึ่งเมื่อท่านได้รู้แจ้งสภาพธรรมแล้ว ท่านก็มีความกรุณาที่จะสืบทอดพระธรรมให้ บุคคลรุ่นหลังๆ ได้เข้าใจ
แต่ปัญญาของคนรุ่นนี้สมัยนี้ ก็ลองคิดดูก็แล้วกัน ว่าเราสามารถจะถึงเสี้ยวที่เท่าไรของท่าน หรือเปล่า ก็คงจะไม่ต้องคิดเลย เพราะเหตุว่าพอเปิดหนังสือพระไตรปิฎก ขึ้นมา ลองอ่าน เข้าใจได้ไหม เข้าใจอย่างไร เหตุกับผลตรงกันหรือเปล่า แต่ถ้าเป็นผู้ที่ศึกษาโดยละเอียด โดยรอบคอบ รู้กำลังปัญญาของตัวเอง ว่าสามารถที่จะเข้าใจส่วนใดได้ แล้วส่วนใดที่ไม่สามารถที่จะเข้าใจ ได้ เพราะว่าแม้แต่อาจารย์รุ่นก่อนๆ ท่านก็กล่าวว่าอาจารย์ท่านหนึ่งกล่าว ว่าอย่างนี้ อาจารย์อีกท่านหนึ่งกล่าวว่าอย่างนั้น แสดงว่า ตั้งแต่นานกาลมาแล้ว ที่ไม่มีใครสามารถที่จะไปรู้ทั่วถึงในความละเอียดของพระธรรม นอกจากว่าสามารถที่จะเข้าใจ สิ่งที่กำลังมีในขณะนี้ เท่าที่จะละอวิชชาความไม่รู้ และการยึดถือสภาพธรรม ว่าป็นเรา
แต่ส่วนเรื่องความละเอียด เช่น ตทาลัมพนะ จะมีหนึ่งขณะ ๒ ขณะประโยชน์ อะไร อยู่ที่ไหน ก่อให้เกิดความสงสัย หรือว่าก่อให้เกิดความเห็นถูก ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เพราะแม้แต่สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ เข้าใจถูกหรือยัง
ผู้ที่ศึกษาด้วยความไม่ประมาท คือรู้กำลังปัญญาของเราเอง แล้วก็ศึกษาไปด้วยความรอบคอบ ที่จะไม่ใช้การคิดในทางที่ผิด แต่จะต้องสอดคล้องกันทั้งหมด ที่จะตอบได้ ว่าข้อความตอนนี้สอดคล้องกับข้อความตอนนั้น หรือว่าขัดกับข้อความตอนไหน ก็เป็นเรื่องที่เมื่อไม่สามารถที่จะรู้ได้อย่างนั้น ที่จะตัดสินหรืออะไรก็ตามแต่ แต่ก็มีกำลังปัญญาที่สามารถจะฟัง แล้วก็เข้าใจ แล้วก็ได้ประโยชน์จากการที่เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
ผู้ฟัง กำลังปัญญามันก็ ยังไม่มั่นคง ความหวั่นไหวมันมี
ท่านอาจารย์ แต่ที่คุณจำนง สามารถที่จะเข้าใจได้ ว่าอะไรถูก อะไรผิด เพราะการสั่งสม ในเหตุผล และในความเข้าใจถูก ซึ่งคนที่ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจถูกต้องได้ก็มีมากมาย
ผู้ฟัง ทางเดียว ทางเอก มันยากจริงๆ
ท่านอาจารย์ โลภะเป็นสิ่งที่ควร ละ แต่ไม่เห็นโลภะจะละได้อย่างไร ขณะนั้นไม่ใช่ปัญญาแน่เลย ที่กำลังต้องการอุบาย ปัญญาเป็นความรู้ถูก ความเห็นถูก ไม่ใช่ไปหาอุบาย ถ้าหาอุบายก็คือโลภะ ซึ่งทำให้อยู่ในสังสารวัฏฏ์ไปตลอด
ผู้ฟัง โลภะอยากได้ปัญญาก็เลย ไปเลย อยากจะมีปัญญามาก
ท่านอาจารย์ โลภะนี้ อันตรายมาก แต่ไม่เห็น เพราะฉะนั้น ถ้ามีคำพูดใด ที่ชี้แจ้งให้ห็นโลภะ เพื่อละโลภะ อันนั้นก็จะเป็นการสะสมที่ถูกต้อง ว่าขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วติดข้องระดับไหน แค่ไหน ทันทีที่เห็น ไม่ไกลเลย แล้วจะละตรงนี้ ละได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่ปัญญา ไม่ต้องไปถึงไหน เพราะเหตุว่าเพียงแค่เห็นโลภะก็เกิดแล้ว
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720