ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
ตอนที่ ๖๘๓
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๗
ท่านอาจารย์ ขณะนี้มีสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แล้วติดข้องระดับไหน แค่ไหน ทันทีที่เห็น ไม่ไกลเลย แล้วจะละตรงนี้ ละได้อย่างไร ถ้าไม่ใช่ปัญญา ไม่ต้องไปถึงไหน เพราะเหตุว่าเพียงแค่เห็น โลภะก็เกิดแล้ว เพียงแค่ได้ยิน แล้วนี่ยังถูกพาไป ก็ยิ่งเพิ่มโลภะขึ้นแค่ไหน เพราะว่าระหว่างพาไปนั้น ก็ไม่เห็นโลภะ เพราะว่าไม่มีความรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ
ผู้ฟัง ที่กล่าวว่าการค้าขาย ก็จะขาดทุนอยู่เรื่อยๆ ซึ่งดิฉันก็เป็นอย่างนั้นอยู่ ทำอะไรก็ขาดทุนเขาอยู่เสมอ ก็เลยมาเจอตรงนี้ ที่บอกว่าเป็นผลของที่ว่า เขาไม่ยอมให้ปัจจัย ตามที่ปวารณาไว้ ตรงนี้คือไม่ใช่ว่าจะเฉพาะ เหตุผลอย่างนี้อย่างเดียว ใช่ไหม ที่ทำให้การค้าขายขาดทุน แล้วก็ทานอาหาร แม้แต่บุตรของตน ก็ไม่แบ่งให้ แล้วก็ไปแอบทาน ผลตรงนี้ทำให้ได้รับ ความนินทาตำหนิ อะไรต่างๆ ก็จะเรียนถามว่าเพราะเหตุอย่างนี้ หรือ ทำให้เกิดอย่างนี้ จะมีเหตุอย่างอื่นมากกว่าด้วยใช่ไหม ที่ได้รับผลอย่างนี้
วิทยากร คำถามของท่านพระสารีบุตร ที่ท่านได้ถามแทนคฤหัสถ์ทั้งหลาย ในเรื่องของบางคนที่เป็นพ่อค้า บางคนเขาก็ ค้าขายก็มีทั้ง ขาดทุนบ้าง เสมอตัวบ้าง กำไรบ้างซึ่ง เหตุในอดีตก็ได้ทำไว้ดีแล้ว ทำให้ทั้งขาดทุน แล้วก็เสมอตัว แล้วก็กำไร ตามที่ปรากฏในอรรถกถา ที่ท่านยกขึ้นมา ซึ่งก็ได้มาจากพระบาลี ใน อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ซึ่งอันนี้ก็เป็นเหตุผล ที่ว่าเคยไปปวารณากับพระสงฆ์ หรือสมณพราหมณ์แล้วก็ไม่ได้ทำตามปฏิญญา ซึ่งผู้ที่ทำตามปฏิญญานั้นก็ได้รับอานิสงส์ซึ่งก็ตรงตัว ตรงตัวว่าผู้ที่ให้ทาน ไปปวารณาแล้ว ก็ให้ทาน การให้ทานนั้นก็ทำให้เขา เป็นผู้ที่มีทรัพย์
ผู้ฟัง ก็คงจะทำดีได้ดี ประเภทนั้น ขอบพระคุณ
ผู้ฟัง อาจารย์ประเชิญ สามีจิกรรม หมายความว่าอย่างไร
วิทยากร สามีจิกรรม เป็นกรรมที่สมควร ซึ่งหมายถึง การเคารพ ทำการบูชา บางนัย อย่างเช่นในพระวินัย ท่านจะกล่าวว่า อันนี้เป็นสามีจิกรรม คือกระทำที่สมควร เช่น ผู้ที่ต้องอาบัติ แล้วมาสละของ ของนั้นต้องคืนให้กับผู้ที่ต้องอาบัตินั้น เป็นสามีจิกรรม
ผู้ฟัง อาจารย์อรรณพ จะไปรู้อย่างไร หรือว่าคนนั้นอสัตบุรุษ หรือสัตบุรุษ ต้องใช้เวลาที่จะดูหรืออย่างไร
วิทยากร ในอรรถกถา ข้อ ๑. ที่ท่านอธิบายว่า ผู้เจริญก็รู้ได้ง่าย ผู้เสื่อมก็รู้ไดง่าย ผู้เจริญคือผู้ที่เป็นไปด้วยธรรม ก็มีการฟังธรรม การเจริญกุศลต่างๆ ก็รู้ได้โดยการกระทำนั้นๆ เราก็สังเกตได้จากการกระทำของเขา แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะรู้ว่าผู้ใดเป็นผู้เจริญ หรือผู้เสื่อม หรือผู้ใดเป็นสัตบุรุษ อสัตบุรุษ ผู้ที่จะรู้ได้ ก็ต้องเป็นผู้ที่เจริญในทางกุศล ถ้าเป็นอกุศลด้วยกัน ก็ไม่รู้หรอก ต้องเป็นสัตบุรุษ แล้วก็เป็นสัตบุรุษในระดับไหน ก็รู้ได้ในระดับนั้น ถ้าไม่ใช่ถึงความเป็นพระอริยบุคคล ซึ่งเป็นสัตบุรุษจริงๆ จะไปรู้ความที่ผู้หนึ่ง ผู้ใด เป็นพระอริยเจ้า หรือไม่เป็นพระอริยเจ้า ก็เกินวิสัย
ท่านอาจารย์ ขอเพิ่มเติมนิดหน่อย คือว่าโดยมากก็จะพูดถึง คนที่ศึกษาธรรมแล้วก็เข้าใจว่าผู้นั้น คงจะเป็นสัตบุรุษ เพราะเหตุว่าได้ศึกษาธรรม แต่ความจริงศึกษาธรรม เพื่อประพฤติปฏิบัติตาม ถ้าเพียงแต่ศึกษาแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตาม เราจะกล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้เจริญ หรือว่าเป็นสัตบุรุษ ก็คงไม่ได้
เพราะฉะนั้น ถ้าได้เข้าใจว่าธรรมสำหรับประพฤติปฏิบัติ แล้วผู้ที่เข้าใจธรรมจริงๆ ก็เริ่ม ที่จะเห็น ตัวเอง อกุศลขณะใด แล้วก็กุศลขณะใด ปัญญานั้น ก็จะทำให้เป็นผู้ที่น้อมประพฤติปฏิบัติตาม พระธรรมยิ่งขึ้น ไม่เป็นผู้ประมาท ว่าเราได้ฟังธรรม แต่ต้องเป็นผู้ที่รู้จักตัวเองว่า เมื่อฟังแล้วประโยชน์เกิดขึ้นจริงๆ แล้วหรือยัง คือเป็นผู้ที่ประพฤติตามด้วย อันนี้อาจจะเป็นข้อหนึ่งซึ่ง บางท่านอาจจะไม่สนใจ แล้วก็ลืม เพราะฉะนั้น ตรงนี้จะไม่ได้ประโยชน์ ถ้าเพียงแต่ฟังแล้วไม่ประพฤติปฏิบัติตาม
ผู้ฟัง หมายถึง รู้สภาวะของตัวเอง ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ ถ้าเรียนเรื่องจิต เจตสิก รูป ไม่มีเรา ความประพฤติทางกายที่ดีเป็นอย่างไร วาจาที่ดีเป็นอย่างไร แล้วเราก็ วาจาที่ดี เราบอกได้ ไม่อย่างนั้น ไม่อย่างนี้ ในทางทุจริต วาจาที่ดีก็อย่างนั้น อย่างนี้ ในทางสุจริต แต่ไม่ทำ แล้วก็จะได้ประโยชน์ไหม
ผู้ฟัง แต่ไม่ทำ เน้น หน่อย แต่ไม่ทำ
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ประโยชน์ก็น้อยมากจากการเพียงรู้ แต่ไม่ได้ประโยชน์ รู้แต่ชื่อ รู้แต่เรื่อง แต่ไม่ได้ขัดกลาอะไรเลย
ผู้ฟัง อบรมเด็กรุ่นต่อๆ ไปอย่างไร และแม้กระทั่งคนที่ใกล้ชิดอะไรอย่างนี้ เป็นต้น
ท่านอาจารย์ ก็ให้เห็นว่าเราไม่ควรจะประมาท แม้สักข้อเดียว ในทางของคนเสื่อมที่เราได้ฟัง ไม่ว่าเราจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ เกิดอีกเป็นเด็กอีกก็อาจจะต้องฟังอีก จนกว่าจะเข้าใจ ในทางของคนเสื่อมแต่ละข้อ เช่น ผู้ที่เกลียดธรรมเป็นผู้เสื่อม หรือว่าผู้ที่พอใจธรรมของ อสุตบุรุษ ก็เป็นผู้เสื่อม คนที่ชอบนอน ชอบคุย ไม่หมั่น เกียจคร้าน โกรธง่าย นี้ก็ของแน่นอน ชอบนอนเสียแล้วก็จะเจริญในทางธรรมได้อย่างไร หรือแม้แต่คนใดสามารถแต่ไม่เลี้ยงมารดา หรือบิดา ผู้แก่เฒ่า ผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว ข้อนี้เป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุว่าไม่รู้คุณของมารดาบิดา ถ้าไม่รู้คุณ ของแม้มารดาบิดา จะรู้คุณของใคร แล้วเมื่อไม่รู้คุณ บางคนก็อาจจะทำ สิ่งที่เป็น อกตัญญูด้วย ก็แล้วแต่ว่าเป็นผู้ที่ได้สะสม ความคิดความเห็น และการกระทำที่ทำให้สามารถที่จะเป็นอย่างนั้นได้ แต่ให้รู้ว่าแม้ไม่เลี้ยง หรือว่าถ้าไม่สามารถที่จะเลี้ยงได้ แต่มีความเคารพ แล้วก็ทำสิ่งที่สามารถจะทำได้ต่อท่าน อันนั้นก็เป็นผู้ที่เจริญ แต่ว่าถ้าผู้ไม่เลี้ยง ไม่ทำประโยชน์อะไรเลย นั่นก็แสดงให้เห็นว่า จะเจริญได้อย่างไร ในเมื่อไม่เห็นคุณของผู้ที่มีคุณ เช่น มารดาบิดา ก็แต่ละข้อๆ ก็เป็นทางที่ จะต้องสังสารวัฏฏ์ อีกยาวนาน
ถ้าเริ่มที่จะเห็นทางเสื่อม แล้วก็อบรมทางที่จะทำให้เจริญ เพราะละทางเสื่อมด้วย ไม่ใช่บางคนก็มุ่งแสวงหาว่า ทางเจริญคืออะไร แล้วก็มุ่งหน้าที่จะทำแต่ทางเจริญ แต่ทางเสื่อมไม่ได้ละเลย ไม่ได้พิจารณาเลย ว่าในวันหนึ่งๆ เรามีอะไรที่เป็นทางเสื่อมบ้าง แต่ถ้าพิจารณาแล้ว ก็จะเป็นว่าเป็นสิ่งที่จะนำความเสื่อมมาให้ ก่อนที่จะไปถึงความเจริญ ถ้ายังไม่ละทางเสื่อมก็ไม่ต้องไปกล่าวถึง ทางที่จะเจริญได้
ผู้ฟัง ตรงนี้ที่อาจารย์กล่าวมานี้ มันก็ต้องเจริญในธรรม หรือความมุ่งหมายที่แท้จริง หรือเจริญคือรู้ธรรม
วิทยากร ผู้ใคร่ธรรม ใช่ไหม เป็นผู้เจริญ ก็หมายความว่า ก็ต้องพูดถึงว่า ธรรมนี่แหละ ใช่ไหม เพราะใคร่ธรรม ธรรมคืออะไร ใคร่คืออย่างไร ใคร่ในที่นี้ไม่ใช่รักใคร่ชอบพอ คือ ใคร่มีความฉันทะ พอใจในธรรม ในทางที่ถูกที่ต้อง ไม่ใช่ใคร่แบบราคะ ตัณหา ไม่ใช่ใคร่อย่างนั้น กาม ศัพท์ มันแปลได้หลายอย่าง แปลว่าใคร่ อย่างกิเลสกาม วัตถุกาม อะไรอย่างนี้ แต่ในที่นี้มันเป็น ธรรม กาม ใคร่คือในทางที่ถูกต้อง เป็นผู้ฝักใฝ่ยินดีในทางที่ถูกต้อง ธรรมเราก็รู้อยู่แล้วว่า คือสภาพที่ปรากฏตามความเป็นจริง ธรรม คือสิ่งที่มีอยู่ ตามความเป็นจริง แล้วเราก็ใคร่หรือเปล่า เราสนใจหรือเปล่า เราตั้งใจหรือเปล่า
ผู้ฟัง อาจารย์นิพัฒน์ รู้ได้ง่ายไหมว่า ใครเจริญในธรรม
วิทยากร รู้คนอื่น รู้ยาก แต่เรารู้ เราเองได้
ท่านอาจารย์ ขอสนทนากับคุณจำนง เพราะว่าจริงๆ แล้ว บางสิ่งก็ไม่ใช่ลึกลับ แต่ว่าพยัญชนะอาจจะทำให้เราคิดว่า ทำไมต้องกล่าวถึง ดูเหมือนกับว่า มีพิเศษต่างหาก แต่เข้าใจว่าคุณจำนง หรือใครๆ ก็คงทราบ ว่าใครเจริญ ใครเสื่อม จริงๆ แล้วมีเพื่อนฝูงมากมาย มีพี่น้องมาก หรือคนทั้งประเทศก็ได้ ผู้เสื่อมก็รู้ได้ง่าย ผู้เจริญก็รู้ได้ง่าย
ผู้ฟัง เสื่อมกับเจริญของท่านอาจารย์ หมายความถึงว่า วัตถุ
ท่านอาจารย์ ยังไม่ได้ขยาย ด้วยพยัญชนะต่อไป แต่หมายความว่าเพียงเท่านี้ เราก็สามารถ ที่จะดูการกระทำ หรือความประพฤติว่าคนนี้เสื่อม หรือว่าคนนี้เจริญ
ทั่วๆ ไป อย่างถ้าเป็นชั้นเรียน ครูก็อาจจะทราบได้ ว่าเด็กคนนี้อุปนิสัยอย่างไร ความประพฤติเป็นอย่างไร ไปในทางเสื่อม หรือไปในทางเจริญ ทั่วๆ ไป อย่างคุณจำนงพูดถึง ธรรม คนไม่สนใจเลย ชวนก็ไม่มา อย่างนั้นคุณจำนง ทราบไหม คนนั้นจะเสื่อมหรือว่า คนนั้นจะเจริญ เพราะว่าข้อความนี้จะขยายต่อไป ที่ว่าผู้เจริญก็รู้ได้ง่าย เราก็รู้ คนนี้ไม่สนใจเลย อยู่บ้านเดียวกัน ไม่ได้ฟังธรรมเลย แล้วเขาจะเจริญได้อย่างไร แต่คนที่สนใจธรรม เราก็รู้ ว่าเมื่อเขาศึกษาได้ฟัง ความเจริญย่อมมีแก่เขา
เพราะฉะนั้น นำด้วยประโยคที่ว่าผู้เจริญก็รู้ได้ง่าย ผู้เสื่อมก็รู้ได้ง่าย เพราะว่าเขาไม่มีความเห็นถูกเลย ไม่มีความเข้าใจเลย เกิดมาชาติหนึ่งก็คือเท่านี้แหละ มีเห็น มีได้ยิน มีกุศลวิบาก อกุศลวิบาก ถ้าใครมีกุศลวิบากมาก ก็เป็นผลของกุศลกรรม แต่เขาเจริญหรือเสื่อม ถ้าเราดูตามหน้าหนังสือพิมพ์ มีเหตุการณ์ต่างๆ คนต่างๆ เราก็พอจะบอกได้ ว่าคนนี้เจริญหรือเสื่อม ใช่ไหม บางคนอาจจะเป็นคนที่มีความรู้ มีความสามารถ ในทางโลกมาก มีตำแหน่งการงาน มีเกียรติยศ ชื่อเสียง แต่เรารู้ได้ไหมว่า คนนั้นเป็นผู้เจริญ หรือผู้เสื่อม
ผู้ฟัง ก็ต้องดู อัธยาศัยของเขา หรืออย่างไร
ท่านอาจารย์ เพียงที่เราอ่านเราก็รู้แล้ว ใช่ไหม เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะรู้ยาก ถ้าไม่มีธรรม ไม่สนใจธรรม เจริญไม่ได้ ไม่ว่าผู้นั้นจะมีลาภ มียศ มีสักการะ มีชื่อเสียง มีตำแหน่งการงาน บางคนก็อาจจะบอกว่า คนนี้รู้ทุกอย่าง นอกจากธรรม นี่ก็แสดงอยู่แล้ว ว่า เขาจะเจริญไหม ในเมื่อเขาก็มีชีวิตชาตินี้เป็นอย่างนี้ แล้วได้ความเจริญมาแต่ไหน ถ้าไม่มีความเข้าใจ หรือว่าไม่มีความเห็นถูกในธรรมเลย
เพราะฉะนั้น ไม่ใช่สิ่งที่จะรู้ยาก แต่หมายความว่าเพียงการกระทำหรือพฤติการต่างๆ แล้วก็คนที่สนใจธรรม ไม่สนใจธรรม คุณจำนงก็บอกได้ จากญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงมิตรสหาย และคนทั่วไป ว่าสนใจหรือไม่สนใจในธรรม จึงมีคำขยายต่อไปว่าผู้ใคร่ธรรม เป็นผู้เจริญแน่นอน ถ้ามีความเข้าใจ แล้วก็มีการศึกษาเพิ่มขึ้น ในแต่ละชาติ แต่ถ้าชาตินี้ ก็เหมือนชาติก่อน เท่าไรก็เท่านั้นคือไม่ได้มีความเห็นถูก ไม่ได้มีความเข้าใจถูกเพิ่มขึ้นเลย เจริญไหม
ผู้ฟัง ผู้ใคร่ธรรม เราก็เห็นทุกวันนี้ก็มากมายเลย
ท่านอาจารย์ อย่าเพิ่งไปไกล เพียงแต่ว่า การสะสมมาที่จะเป็นผู้ละเอียด ผู้เผิน หรือว่าผู้รอบคอบ นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างน้อยที่สุดกว้างๆ ทั่วๆ ไป เรามองเห็น แล้วเราก็รู้ได้ว่า คนนี้เป็นผู้เจริญ หรือผู้เสื่อม แต่ในที่นี้ ที่จะเจริญต้องเป็นธรรม ถึงแม้ว่าโลกจะเจริญไปไกลสักเท่าไรก็ตามแต่ คนแต่ละคนของโลกนั้นไม่ได้มีความเห็นถูก ไม่มีความเข้าใจถูกในแต่ละชาติ ก็ไม่ชื่อว่าเจริญก็เหมือนเดิมทุกชาติ ไม่มีอะไรเพิ่มขึ้น
ผู้ฟัง บุคคลผู้เกิดในตระกูลกษัตริย์ มีโภคทรัพย์น้อย มีความมักใหญ่ ปรารถนาราชสมบัติ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม ผมสงสัยตรงที่ว่า เราพูดถึงบุคคลทั่วๆ ไป ของคนเสื่อม ทำไมข้อนี้ถึงเจาะจงเฉพาะในสกุลกษัตริย์
ท่านอาจารย์ นี่เป็นข้อที่เราจะต้องพิจารณา เวลาที่ได้ฟังธรรม ว่าแก่นของธรรมตรงนั้นคืออะไร คือความมักใหญ่ ปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นสกุลกษัตริย์ หรือไม่ใช่สกุลกษัตริย์ก็ตาม ไม่อย่างนั้น ก็อย่างที่พูด เมื่อเช้านี้ ถ้าไม่ใช่สกุลกษัตริย์ ก็ปลอดภัย เพราะว่าไม่ได้เกิดในสกุลกษัตริย์ แต่จริงๆ แล้ว นี่ก็เป็นตัวอย่าง เพราะว่าโดยปรมัตถธรรม สกุลกษัตริย์ หรือไม่ใช่สกุลกษัตริย์ ก็ต้องเป็นสภาพธรรม
ผู้ฟัง ถ้าขีดฆ่า หรือวงเล็บบอกว่า ก็บุคคลมีโภคทรัพย์น้อย วงเล็บผู้เกิดในตระกูลกษัตริย์ออกไปเสีย จะเสียหายตรงไหน
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่พุทธพจน์ ทำไม่ได้เลย แต่ต้องพยายามเข้าถึง แม้เกิดในสกุลกษัตริย์ ถ้าเราจะเข้าใจอรรถนั้น เพราะฉะนั้น ก็มีความคิดได้หลายอย่าง คือจะคิดถึงความละเอียดว่าทำไม จึงต้องมีพยัญชนะนี้ สกุลกษัตริย์ หรือว่าคิดโดยทั่วไปว่า ความมักใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นสกุลกษัตริย์ หรือไม่ใช่สกุลกษัตริย์ ก็ต้องเป็นความเสื่อม แต่ที่ยกอันนี้ ที่จะว่ามีเหตุผลคืออะไร อันนี้เราก็ต้องพยายามเข้าใจด้วย ถึงแม้ว่าเป็นคนในสกุลกษัตริย์ก็ ยังมีความมักใหญ่ ที่จริงทั้งหมดที่เป็นทางของคนเสื่อม สำหรับพิจารณาตน ก็คงจะไม่มีใครคิดถึงว่า เราแอบรับประทานอาหารคนเดียวหรือเปล่า เป็นไปได้ไหม นี่ก็แสดงให้เห็นว่าแม้เรื่องนิดเดียว ก็ทรงแสดงให้เห็นความละเอียด เพื่อที่จะเตือนให้รู้ว่าขณะนั้น เป็นทางของคนเสื่อม
วิทยากร ได้ขนมอร่อยๆ ก็ รู้ว่ามันอร่อยแล้ว แอบเลย ซ่อนไว้ ไม่ยอมบอกคนอื่น คือคนแต่ก่อนนี้ นะ เวลาเขาชั่ว หรือเขาตระหนี่ เขาสุดๆ เลย เขาไม่ธรรมดาสุดๆ เลย เวลาเขาดีเขาก็สุดๆ เหมือนกัน คือเมื่อเขาเห็นทางที่ถูกที่ต้อง ที่แน่ที่นอนแล้ว เขาจะทุ่มสุดตัวเลย เขาไม่รีรอเลย เพราะฉะนั้น เขาทำอะไรเขาถึงเห็นมรรคเป็นผลอย่างไร พวกเรา ดีก็ดี แต่ว่า ไอ้โน่น ไอ้นี่ ไอ้โน้นยังติดยังขัดอยู่ ไม่ค่อยสะดวกอะไร อ้างเล่ห์อ้างนัย ต่างๆ นานา
ท่านอาจารย์ แต่บางคน พอได้ฟังก็ทำตาม ไม่ได้คำนึงถึงการสะสมว่า ต้องเป็นเรื่องของปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อปัญญายังไม่มี แล้วก็ไปทำตาม คนที่ได้สะสม หนทางที่ถูก การเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ จะเหมือนกันได้อย่างไร แต่ว่าเรื่องที่สำคัญที่สุด คือ คนละเลยโลภะ คือแล้วแต่โลภะจะนำพา จะเป็นอาจารย์ จะเป็นศิษย์ ให้ทำอย่างไรก็ได้ อ่านเจอตรงไหน ก็อยากจะทำตามทันที เข้าใจว่าเป็นเรื่องของการทำด้วยโลภะ แต่ความจริงเป็นเรื่อง ความรู้จากการฟัง การพิจารณาไตร่ตรอง จากพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จนกระทั่งความเข้าใจถูก ความเห็นถูก มีพอที่จะสละความไม่รู้ และความเป็นตัวตน ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ
เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่ว่าเราเข้าใจว่าเกือบแสนกัป หรืออาจจะอีกนิดหน่อย ซึ่งไม่ต้องคำนึงถึงเลย แต่ว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ นั่งฟังด้วยกันความเป็นถูก ความเข้าใจถูก ในสิ่งที่ได้ยินได้ฟัง มีแค่ไหน หรือแม้แต่ในสูตรที่ เทวดาท่านฟังแล้ว รู้แจ้งอริยสัจจธรรม ฟังธรรมดาปกติ เรื่องเดียวกัน แต่ทำไมรู้แจ้งอริยสัจจธรรมได้
เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องของการอบรมเจริญปัญญาจริงๆ ซึ่งไม่ใช่กระทำด้วยโลภะ แต่ถ้าเป็นเรื่องโลภะ จะมองไม่เห็นเลย เพราะว่าต้องเป็นปัญญาเท่านั้น จึงสามารถที่จะรู้ว่าเต็มไปด้วยโลภะ หรือเปล่า ไม่ว่าบางคนก็อาจจะคิดว่า ต้องทำอย่างนี้ก่อน ต้องไปที่โน่น ต้องมาที่นี่ ทั้งๆ ที่สภาพธรรมขณะนี้ก็มี แต่ว่าไม่ได้รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ไม่ได้อบรมความเข้าใจสภาพธรรมที่ปรากฏ หวังไป หวังรู้ หวังรอนั่นอะไร ถ้าไม่ใช่โลภะ ก็มองไม่เห็นโลภะเลย แล้วก็จะเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
วิทยากร ใน อิลลีสชาดก ท่านแสดง พระพุทธเจ้า ท่านรู้ว่า โกสิยเศรษฐี ทำไมพระพุทธเจ้า ไม่ไปทรมานเอง ต้องให้พระโมคคัลลานะไป เพราะว่าใน อิลลีสชาดก แสดงไว้เลย ว่าพระโมคคัลานะ เคยเป็นพ่อของโกสิยะเศรษฐี และทรัพย์สินเหล่านั้น ก็ตกทอด จากท่านพระโมคคัลลานะลงไป ท่านพระโมคคัลลานะ บอกว่าทรัพย์สินหล่านี้ เป็นของเราทั้งนั้น แล้วเล่าอดีตชาติให้ฟัง แล้วพระพุทธเจ้าท่านรู้ ถ้าเป็นหมากรุกหลายชั้น ต้องเอาพระโมคคัลลานะไปทรมาน แล้วก็บอกพระพุทธเจ้า จะฉันเช้าด้วยขนมเบื้อง ที่เชตวันจะไปไม่ได้เดี๋ยวก็ เนรมิตบันได ไปถึงหัวบันไดไปอยู่ที่ปราสาทชั้น ๗ ท้ายบันไดตีนบันไดจะไปอยู่ที่เชตวัน ก็พากันไปฉันเช้ากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็ในที่สุดเศรษฐีก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
ท่านอาจารย์ ไม่ต้องอาศัยทางด่วน ใช่ไหม
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าวถึงโลภะ ก็แสดงว่าในชีวิตประจำวัน เราจะต้องรู้โลภะ
ท่านอาจารย์ ถ้าไม่มีปัญญารู้ไม่ได้เลย
หนทางนี้เป็นหนทางละ ถ้าไม่ละไม่มีทางที่สภาพธรรมจะปรากฏได้เพราะมีอวิชชา จึงมีโลภะ มีความต้องการที่จะพาไป ทุกหนทุกแห่งที่จะไม่ให้ออกจากสังสารวัฏฏ์
ผู้ฟัง ต้องปัญญารู้โลภะ
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง ถ้าโลภะรู้โลภะไปกันใหญ่เลย
ท่านอาจารย์ ไม่มีทางที่รู้สัจจธรรม เพราะเดี๋ยวนี้ สภาพธรรมมี เพราะเกิดแล้วก็ดับ แล้วจะรู้จริงๆ ต้องเป็นเพราะความเข้าใจถูก ความเห็นถูกที่ค่อยๆ คลาย ความไม่รู้ สภาพธรรมจึงจะปรากฏตามความเป็นจริงได้ มิฉะนั้นก็ปิดบังอยู่ตลอดเวลา แล้วยิ่งเพิ่มความต้องการขึ้นอีก แล้วก็หลงทางไปอีก ก็มีทางที่จะรู้ว่า แท้ที่จริงต้องรู้สภาพธรรมเดี๋ยวนี้ที่ปรากฏ อะไรไม่เที่ยง อะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นอนัตตา ก็ต้องสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้
วิทยากร สภาพธรรม ต้องรู้ให้ตรง เพราะโลภะ เป็นอกุศล จะต้องมีโมหะเกิดร่วมด้วย ย่อมไม่รู้ธรรม ตามความเป็นจริง เพราะโลภะรู้อะไรไม่ได้ ต้องปัญญา โลภะรู้โลภะก็ไม่ได้
ผู้ฟัง กราบท่านอาจารย์ ทั้งนี้ และทั้งนั้น ท่านอาจารย์ เราเพียงแต่รู้ให้ตรงว่าเป็นอะไร แต่ไม่ต้องไปคร่ำเคร่งที่จะเจาะจงรู้ ใช่ไหม เพราะว่าถ้าขณะที่สติเกิด ตรงไหนก็คือศึกษาตรงนั้น
ท่านอาจารย์ คร่ำเคร่ง ปุ๊บ เป็นอะไรปั๊บ
ผู้ฟัง เป็นตัวตน
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ต้องเป็นผู้ที่ละเอียด ที่จะรู้ว่าเมื่อไร โลภะอยู่ตรงนั้น
ผู้ฟัง แต่ที่ดิฉันกล่าวมา มันแบบ คู่ๆ คู่ๆ มันเฉียดๆ กันทั้งนั้นเลย
ท่านอาจารย์ ไม่เป็นไร ไม่ใช่เราไปจัดการให้ไม่เฉียด สภาพธรรมเร็วยิ่งกว่านั้น
เพราะฉะนั้น เวลาที่สติสัมปชัญญะเกิด จะมีลักษณะของสภาพธรรมนิดเดียว แต่ความเป็นเราก็ยังไป คร่ำครวญคิดถึง เป็นคำๆ ด้วย แล้วก็มีความสงสัย เกิดแทรกมากมาย จนกว่าจะรู้ทั่ว ต้องทราบว่าเป็นเรื่องละ ขณะใดที่ปัญญาเกิด รู้ ขณะนั้นก็ละ แต่ถ้าไม่รู้ ก็จะมีอานุภาพของโลภะ หรือว่าการสะสมของโลภะ อย่างมาก ที่จะทำให้ ขณะนั้นผิด
ผู้ฟัง เพราะฉะนั้น จะกล่าวว่า ถ้าลักษณะของสติที่เกิดระลึกรู้ สบายๆ คือมันรู้ตรงลักษณะนั้น
ท่านอาจารย์ เป็นปกติ เป็นปกติแตกต่างกับปกติ เพราะ มีสติสัมปชัญญะ แล้วขณะนั้น ด้วยการที่มีสติสัมปชัญญะ ที่ไม่ใช่เรา ก็ลองคิดดู ว่าขณะนั้นจะเป็นอย่างไร เป็นความปลอดโปร่ง ที่ไม่ใช่ จงใจ เป็นความต้องการ เป็นความพยายาม ด้วยความเป็นตัวตน
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720