ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
ตอนที่ ๖๘๗
สนทนาธรรม ที่ หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑
พ.ศ. ๒๕๔๗
ท่านอาจารย์ ก็จักขุคือตาเดี๋ยวนี้แหละ เป็นธาตุ ให้เข้าใจความจริงอย่างนี้ นี่คือฉลาดในธาตุ เพราะเหตุว่า จักขุเป็นธาตุ ก็ต้องเข้าใจว่าขณะนี้ จักขุที่มีขณะนี้เป็นธาตุ ใช่หรือไม่ใช่ ก็ไปเรื่อยๆ ทุกอย่างเป็นธาตุหมด จนกระทั่งถึงรูปที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้ ก็มีจริงๆ เมื่อมีจริงๆ แล้วก็ไม่ใช่ของใครด้วย ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ก็เป็นธาตุ
เพราะฉะนั้น ถ้าเข้าใจคำว่า ธรรม เข้าใจคำว่า ธาตุ ตรงกันหมดเลย สิ่งใดที่เป็นธรรม สิ่งนั้นก็เป็นธาตุ สิ่งใดที่เป็นธาตุสิ่งนั้นก็เป็นธรรม รูปศัพท์เหมือนกัน มาจากธาตุเดียวกัน แต่ว่าความหมายแท้ๆ คือตัวธาตุ สภาพธรรมที่มีจริงๆ ต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าเป็นธาตุ เริ่มมีความเห็นถูก เพื่อที่จะฉลาดในธาตุทั้งหมดที่มี โลภะ ก็เป็นธาตุ โทสะก็เป็นธาตุ โมหะก็เป็นธาตุ ได้ยินก็เป็นธาตุ คิดนึกก็เป็นธาตุ เมื่อทุกอย่างเป็นธาตุ ก็จะได้เข้าใจในความเป็นธาตุ ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่สับสน
ผู้ฟัง แล้วมีอะไร ไหมที่ไม่ใช่ธาตุ
ท่านอาจารย์ ไม่มี ถ้าเป็นสิ่งที่มีจริงๆ เพราะว่าธาตุคือ เป็นสิ่งที่มีจริง แล้วก็ไม่ใช่ของใครด้วย เพื่อเข้าถึงความเป็นอนัตตา ให้เข้าใจสิ่งที่มีจริง
เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงเรื่องธาตุ ตามลำดับ เช่น ธาตุคือจักขุ ธาตุคือรูป ธาตุคือจักขุวิญญาณ แม้ที่กำลังเห็นขณะนี้ ก็เป็นธาตุชนิดหนึ่ง เป็นธาตุรู้ซึ่งต่างกับรูปธาตุ ซึ่งไมใช่สภาพรู้ แล้วก็ธาตุคือจักขุ จักขุก็เป็นรูปซึ่งไม่ใช่จิตเห็น นี่คือให้เข้าใจสภาพธรรมที่มีจริง จะได้ไม่ไปสับสนกับคำที่เราอาจจะไม่คุ้นเคย แต่ถ้าเรามีความเข้าใจว่าธาตุ คือสิ่งที่มีจริงทุกขณะที่ปรากฏก็เป็นธาตุแต่ละอย่าง ก็จะเข้าใจข้อความนี้ได้
ผู้ฟัง แล้วธาตุจะมีแค่ ๑๘ เท่านั้นหรือ
ท่านอาจารย์ ธาตุมีมาก ทุกอย่างเป็นธาตุ ประมวลเป็น ๑๘ ตามทวาร ที่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะว่าถ้าในขณะที่เป็นภวังคจิต เช่น นอนหลับสนิท จะรู้ธาตุไหม
ผู้ฟัง เป็นภวังคธาตุ
ท่านอาจารย์ จะรู้ไหม
ผู้ฟัง ไม่รู้
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น จะรู้ ก็ต่อเมื่อ มีทางทั้ง ๖ ที่จะทำให้สามารถรู้ ลักษณะของสภาพธรรมที่เป็นธาตุ ว่าเป็นธาตุได้ แต่ละทาง แต่ละทางก็เป็นธาตุ ถ้ามีความเข้าใจอย่างนี้ แล้วได้ยินคำอธิบายในพระไตรปิฎก และในอรรถกถา ก็จะเข้าใจได้ยิ่งขึ้น เข้าใจได้ถูกต้องตามสภาพที่เป็นจริง
ผู้ฟัง ท่านอาจารย์กล่าว พระพุทธองค์ได้จำแนก ธาตุในหัวข้อธาตุ ๑๘ นี้ ที่ได้ตรัสกับท่านพระอานนท์ ว่า ดูกรอานนท์ ธาตุนี้ มี ๑๘ ก็ทรงจำแนกว่า ธาตุ คือ จักขุเป็นต้น ตลอดจนถึงธาตุ คือ ธรรมธาตุ ธาตุ คือ มโนวิญญาณ แล้วก็ได้สรุปตอนท้ายว่า ดูกร อานนท์ ธาตุ ๑๘ เหล่านี้แล ด้วยเหตุที่ภิกษุ รู้อยู่ เห็นอยู่ จึงเรียกว่าเป็นผู้ฉลาดในธาตุ พระพุทธองค์ท่านใช้คำว่า รู้อยู่ เห็นอยู่ เพราะฉะนั้น ก็จะต้องเป็นการไม่ใช่รู้เพียงพยัญชนะ รู้เพียงชื่อเท่านั้น ก็ต้องรู้จริงๆ ด้วยญาณ แล้วก็เห็นจริงๆ ด้วยญาณ จึงจะเป็นผู้ทีฉลาดในธาตุจริงๆ
ท่านอาจารย์ จะเห็นได้ว่า ถ้าเราศึกษา แต่พระสูตรโดยไม่ที่ไม่ศึกษาพระอภิธรรม เราก็จะไม่เข้าใจ เช่น ธาตุคือ มโน๑ พูดอย่างนี้ ธาตุคือธรรมธาตุ๑ ธาตุคือมโนวิญญาณ๑ ถ้าไม่ศึกษาพระอภิธรรม จะทราบไหมว่าหมายความถึงปรมัตถธรรมอะไร จะเห็นได้ว่าต้องศึกษาทั้งอภิธรรม และพระสูตร แล้วที่จะเข้าใจพระสูตรได้ถูกต้องนั้น ก็ต้องมีความเข้าใจพระอภิธรรมก่อน มิฉะนั้นแล้ว ก็จะไม่สามารถ เข้าใจได้ว่า ธาตุคือมโน๑ นั้นได้แก่อะไร ธาตุคือธรรมธาตุ๑ ได้แก่อะไร ธาตุคือมโนวิญญาณธาตุ๑ ได้แก่อะไร ก็จะเพียงตามกัน แล้วก็จำไว้เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง ท่านพูดเรื่องธาตุ อายตนะ ปฏิจจ แล้วก็ ฐานะ อฐานะ ท่านเว้น ขันธ์ เพราะฉะนั้น การที่ท่านเว้นขันธ์เราลองมาค้นสิว่า ขันธ์มันอยู่ที่ท่านแสดงอยู่ตรงไหนหรือเปล่า ขอให้อาจารย์ช่วยชี้ด้วย
ท่านอาจารย์ เราศึกษาธรรมเพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมี อันนี้ลืมไม่ได้ ถ้าเราศึกษาไม่ใช่ เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ในขณะนี้ เราจะเข้าใจอะไร เราก็เข้าใจคำ อาจจะคำโน้น คำนี้ต่างๆ แต่จิรงๆ แล้วจุดประสงค์ก็คือว่า เมื่อศึกษาธรรมก็คือ ให้เข้าใจจริงๆ ว่า ธรรมคือขณะนี้เดี๋ยวนี้เป็นธรรมทั้งหมด หรือจะใช้คำว่า ขณะนี้เดี๋ยวนี้เป็นธาตุทั้งหมด ถ้าเข้าใจอย่างนี้ไม่มีสงสัยเลย ใช่ไหมว่าจะทรงแสดงโดยธาตุ ๑๘ โดยธาตุ ๖ โดยธาตุ ๓ โดยธาตุ ๒ ไม่สงสัยเลย แล้วแต่ว่าจะกล่าว นัยไหน ได้ทั้งหมด เพราะว่าทั้งหมดก็คือ ธาตุ
เพราะฉะนั้น เราก็ ตรงนี้ มีความเข้าใจเรื่องธาตุก่อน เราก็มีความเข้าใจได้ภายหลัง ว่าขันธ์ก็ไม่พ้นจากธาตุนั่นเอง แต่ก่อนที่จะคิดอย่างนั้น ก็ควรที่จะเข้าใจจริงๆ ว่า เวลาที่ท่านแสดงธาตุโดยนัยประการต่างๆ ก็เพื่อที่จะให้ผู้ฉลาด ไม่ใช่ฉลาดในพยัญชนะ แต่ฉลาดที่จะเข้าถึง ลักษณะของธาตุนั้นๆ เพราะเหตุว่าการที่ทรงแสดงธาตุ ๑๘ ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าไม่มีความรู้จริงๆ สักธาตุเดียวก็ไม่ได้ประจักษ์ หรือว่าไม่ได้ปรากฏเลย เพียงแต่ว่าธาตุ คือ จักขุ จักขุปสาท เป็นธาตุ ใครฉลาดที่จะประจักษ์ธาตุนี้ เพียงอ่าน เพียงเข้าใจ
แต่จุดประสงค์ไม่ใช่เพียงเท่านั้น เพียงให้เป็นผู้ฉลาด คือ เข้าถึงลักษณะอรรถแท้ๆ ของธาตุนั้น โดยที่ว่าไม่ใช่จำจากคำแปล แล้ว ไม่ใช่จำจากอรรถ ที่เป็นคำบ่งถึงลักษณะนั้น แต่การที่ได้เข้าใจจากคำ แล้วก็อรรถต่างๆ จะช่วยให้สามารถเข้าใจ ในความเป็นธาตุได้ โดยประการต่างๆ เช่น โดยธาตุ ๑๘ รู้หรือยัง ถ้ารู้ ก็คือเป็นผู้ฉลาดที่เป็น พระอริยะบุคคล ย่อลงมาอีก แค่ธาตุ ๖ รู้หรือยัง ธาตุ ๑๘ นี้ก็มาก ใช่ไหม พอมาถึงธาตุ ๖ รู้หรือยังในแต่ละธาตุนั้น พอถึงธาตุ ๖ อีกชนิด ๑ คือ เวทนาต่างๆ รู้หรือยัง
นี่ก็เป็นเรื่องที่ทำให้เราได้พิจารณา ตัวเอง แล้วไม่ลืมว่า เรากำลังศึกษาอะไร แล้วเราจะต้องเข้าใจอะไร คุณวิจิตร ก็จะเห็นได้ว่า ขณะนี้คุณวิจิตรมีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีใจ เป็นธาตุ ใช่ไหม ถ้าเป็นผู้ฉลาดในธาตุ คือรู้จริงทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในขณะนี้
ผู้ฟัง ผมกำลังนึกว่า ถ้ามีความเป็น ธาตุ ตั้งหลายประเภท ถ้าหากจะนับ รวมกันทั้งหมดไม่ได้หรือ
ท่านอาจารย์ นั่นเป็นเรื่องเรา แต่เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธาตุ แล้วพระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแต่ละธาตุ ๑๘ บ้าง ธาตุ ๖ บ้าง เพื่อจุดประสงค์อะไร ใช่ไหม ถ้าธาตุ ๑๘ ยังไม่รู้ ธาตุ ๖ รู้ไหม ธาตุ ๖ อีกนัย ๑ รู้ไหม ถ้ายังไม่รู้ก็คือให้รู้ในสิ่งที่มีทั้งหมด
ผู้ฟัง เดี่ยวนี้ ก็หมายความว่า ต้องพยายามแยกให้ออกในแต่ละกลุ่ม
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ แม้ว่าจะทรงแสดงอย่างไร สิ่งนั้นกำลังมี รู้หรือยัง ให้เข้าใจตัวเอง ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่ใช่ไปติดที่คำ แต่ให้เขาถึงความหมายว่าจุดประสงค์คือ ไม่ใช่ฟังเรื่องคำ แต่ให้เข้าใจอรรถซึ่งมี
ผู้ฟัง ขอบคุณ
ผู้ฟัง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย มีทั้งรูปทั้งนาม ส่วนทางใจนี่ มีแต่นามธรรมล้วนๆ ขอให้อาจารย์ กรุณาจำแนกด้วย ทวารที่เกิด แล้วก็อารมณ์
ท่านอาจารย์ ก็คงจะต้องศึกษารายละเอียดโดยพระอภิธรรม ตอนนี้ก็กำลังจะเข้าถึง ว่าธาตุทั้งหมดเป็นธาตุ แล้วก็เราจะได้รู้ธาตุไหนบ้างแล้ว ถ้ายังไม่รู้ เราก็จะได้พิจารณาว่าทรงแสดงไว้เพื่อ เกื้อกูลให้เราพิจารณา แต่ว่าถ้าไม่อาศัยพระอภิธรรม ไม่สามารถ ที่จะเข้าใจความหมายของ ธาตุคือมโน๑ ธาตุคือธรรมธาตุ๑ และธาตุคือมโนวิญญาณธาตุ ๑ อันนี้ก็ต้องเก็บไว้สำหรับผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรม เพราะว่าถ้ากล่าวถึงในที่นี้ก็คง จะต้องย้อนไปตั้งต้นกันใหม่อีก
ผู้ฟัง อาจารย์ช่วยอบรม ให้เกิดสติที่ระลึก ถึง มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุซึ่งมันเบาบางมาก แล้วก็ธรรมธาตุ
ท่านอาจารย์ มุ่งไปที่สติ แต่ที่จริงแล้ว ธรรมที่เป็นอนัตตา แม้สติจะเกิดได้เพราะอะไร ต้องทราบด้วย ไม่ใช่ว่าอยากให้มีสติ แล้วก็คุณสุกิจก็คงจะต้องบอกว่า ก็เพราะอย่างนั้น ถึงต้องถาม หรือว่าถึงต้องอยากฟัง อยากให้ชี้แจง แต่จริงๆ แล้วควรจะคิดถึงความเข้าใจ ของเราแทนที่จะคิดถึงเรื่องสติ เพราะว่าขณะนี้ที่กำลังฟัง มีสติเจตสิกเกิดแล้ว ในขณะที่เข้าใจ เราไปทำหรือเราอยากให้สตินั้นเกิดหรือเปล่า หรือว่าแม้แต่การมาด้วยศรัทธาที่จะได้ฟัง ได้เข้าใจ ขณะนั้นกุศลจิตก็มีสติเจตสิกเกิดร่วมด้วย เพียงแต่ว่าไม่รู้ แล้วทั้งหมดก็เป็นเราทั้งนั้นเลย เพราะฉะนั้น แม้ว่าสภาพธรรมทั้งหลายมี แล้วทรงแสดงไว้โดยละเอียด แต่การที่ความเข้าใจจะเกิดขึ้น ต้องอาศัยการฟังการไตร่ตรอง เพราะว่าขณะใดที่เข้าใจเพราะได้ฟัง และไตร่ตรอง ขณะนั้นก็เป็นสติอีกระดับหนึ่ง แล้วโดยที่เราไม่ต้องไปคิด พยายามไปสร้างให้มีอีก คือมีความเป็นตัวตน อยากจะให้สิ่งที่ยังไม่เกิด เกิดแต่ว่าจริงๆ แล้ว ควรจะเป็นการเข้าใจสิ่งที่กำลังมีในขณะนี้
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเราจะเคยหวัง เคยคิดว่าเราอยากจะให้มีสติสัมปชัญญะ เป็นสติปัฏฐาน รู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมโดยละเอียด นั้นเป็นเรื่องคิดนึก ในเมื่อสภาพธรรมขณะนี้มี เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรม ก็คือฟังให้เข้าใจ ลักษณะของสิ่งที่กำลังมี เป็นอย่างนี้หรือเปล่า หรือว่าฟังไปก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็คิดไปเรื่องอื่น แต่ไม่ได้เข้าใจ ลักษณะของสิ่งที่กำลังมี และกำลังได้ฟังเรื่องนั้นด้วย เช่น ในขณะนี้ มีเห็น นี่ขณะนี้เห็นก็มี แล้วก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏ ถ้ามีการเข้าใจว่าจริง สิ่งที่กำลังปรากฏไม่ใช่เห็น ถ้าค่อยๆ มีความเข้าใจอย่างนี้ ก็สามารถที่จะรู้ได้ เข้าใจได้ ว่าต้อง มีสภาพนามธรรม และไมใช่เราแน่นอน เพราะเหตุว่าสิ่งที่มีทั้งหลายเกิดปรากฏ แล้วทำหน้าที่ของสิ่งนั้นๆ แต่ความไม่รู้มากมายเหลือเกิน เพราะฉะนั้น แทนที่จะไปคิดเรื่องสติปัฏฐาน แล้วอยากจะเข้าใจทุกพยัญชนะที่ทรงแสดง เช่น มโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ แทนที่จะคิดอย่างนั้น แม้สิ่งที่กำลังมีอยู่ในขณะนี้ แล้วก็ได้ฟังเรื่องสิ่งนี้แหละ แล้วก็ความเข้าใจในเรื่องสิ่งที่กำลังมีของเรา มีเมื่อไร นั่น คือสติปัฏฐาน นั่นคือสติสัมปชัญญะ ไม่ใช่ไปเข้าใจเรื่องอื่นเลย แต่กำลังค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏ จะใช้ชื่อว่าอะไร เพราะว่าขณะนั้นมีสิ่งที่กำลังปรากฏ แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจ เพราะฉะนั้น ก็ไม่ไปติดที่ชื่อ ว่าอยากจะให้สติปัฏฐานเกิดมากๆ โดยที่ว่ากำลังฟังเรื่องธรรมใด ว่ามีความเข้าใจเรื่องสภาพลักษณะที่เป็นธรรมนั้นๆ ในขณะที่มีสภาพธรรมนั้นๆ กำลังปรากฏ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐาน ก็คือตรงนี้ ไม่ใช่ตรงอื่น อย่าไปคอยข้างหน้า
วิทยากร. ท่านอาจารย์ ก็เน้นย้ำอย่างนี้ อยู่เสมอ ธรรมในขณะนี้ สิ่งที่ปรากฏทางตาก็มี เป็นรูปธาตุ แล้ว ก็ต้องมีเห็น คือจักขุวิญญาณ ซึ่งเป็นจักขุวิญญาณธาตุ ในขณะที่เป็นจักขุวิญญาณธาตุ เราสังเกตเดี๋ยวนี้เลย ว่าเห็น เป็นธรรมไม่ใช่เรา เป็นธาตุ เป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง คุณวิจิตรไม่ต้องห่วงเลย ขณะนั้นมีทั้งมโนธาตุ มีทั้งมโนวิญญาณธาตุ เสร็จเรียบร้อยอยู่ในนั้น
ผู้ฟัง สิ่งที่กำลังปรากฏ ส่วนใหญ่เป็นบัญญัติ แล้วก็เป็นธรรมธาตุ ปรากฏในพยัญชนะ ไม่ได้ปรากฏสิ่งที่เป็นจริงตามความเป็นจริง
ท่านอาจารย์ ตัวตนต้องการถึง นี่แน่นอน
ผู้ฟัง ใช่
ท่านอาจารย์ แต่จริงๆ ถ้าเป็นปัญญาก็จะรู้ว่า ขณะใดที่มีความเข้าใจถูก นั่นคือหนทาง เพราะฉะนั้น จะไม่ให้ความเป็นเราที่อยากจะถึง แต่รู้เลย ว่าขณะนี้ แม้ขั้น การฟัง ที่เริ่มเข้าใจ นี่คือหนทางที่จะทำให้ เข้าใจยิ่งขึ้น แล้วก็สิ่งที่เราจะเข้าใจก็มีอยู่ตลอดชีวิต ขณะใดที่ปรากฏ ก็ปรากฏด้วยความไม่รู้ จนกว่าขณะที่ฟัง แล้วก็เข้าใจ ก็เริ่มที่จะพิจารณาจริงๆ เช่น ในขณะนี้ ก็ขอทบทวนอีกว่าในขณะนี้ก็มีธรรม ธรรมนั้นก็คือธาตุด้วย ขณะนี้ก็มีสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ ถ้าไม่มีเรา มีสิ่งที่ปรากฏ เพราะว่าสิ่งที่ปรากฏเป็น สีสันวัณณะต่างๆ จะไม่ใช่เรา ก็เข้าใจตามความเป็นจริง ว่าความที่เคยมีเรา ที่เห็น มีเราที่คิดถึง เรื่องนั้น เรื่องนี้ แต่ตามความจริงก็คือว่า สภาพธรรม ต่างหากที่มี เพราะเกิดขึ้น แล้วก็จัดแจงตามหน้าที่ของสภาพธรรมนั้นๆ ไม่มีใครไปจัดแจงทำอะไรได้สักอย่าง เดียว เราอาจจะคิดว่าเราจัดแจง แต่ความจริง แต่ละธาตุ ก็มีลักษณะ แล้วก็มีกิจของธาตุนั้นๆ
เพราะฉะนั้น ขณะนี้ สิ่งที่ปรากฏทางตาเกิดแล้วกระทบแล้ว ปรากฏแล้ว ด้วยจิตที่เห็นแล้ว ใครจัดแจงได้ ใครทำอะไรได้ นี้คือการที่จะเข้าถึงความหมายของธาตุ เพราะว่าเราจะไม่พ้นจากตา หู จมูก ลิ้น กาย ทุกวัน แต่ว่าไม่ได้เข้าใจความจริง ของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เลย ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการฟัง แล้วฟังอีก ให้เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ เพิ่มขึ้น ขณะนั้นก็เป็นสติขั้นฟัง เป็นสติขั้นพิจารณา และขณะใดที่มีการเข้าใจแม้เพียงเล็กน้อย ในสิ่งที่กำลังปรากฏ นั่นก็คือสติปัฏฐาน สติสัมปชัญญะ พร้อมที่เห็นถูกว่า ลักษณะของสิ่งที่กำลังมีจริงๆ ขณะนี้ ก็เป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่ง ยาก ที่จะมีความรู้ ว่าต่างจากความคิดเรื่องลักษณะสัณฐาน ชื่อต่างๆ ของสิ่งที่กำลังปรากฏ เพราะว่าความรวดเร็วของการเกิดดับของจิต กับการไม่คุ้นในลักษณะที่เป็นปรมัตถธรรม เพราะว่าสิ่งที่มีจริง ไม่ต้องเรียกชื่อเลย มีแล้วเป็นปรมัตถธรรม เราไม่คุ้นกับสภาพที่เป็นปรมัตถธรรม เราเพียงแต่คุ้นชื่อว่ามี ธรรม แล้วก็กำลังปรากฏ แล้วก็เป็นปรมัตถธรรม ใครก็เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ชื่อนี้คุ้นมาก พูดได้ คิดได้ นึกได้ แต่ลักษณะจริงๆ ของสภาพธรรม ก็ไม่ผิด จากที่พูดนั่นแหละ แต่ว่ายังไม่ได้เข้าใจถูกต้อง ตามความเป็นจริงในสิ่งที่กำลังปรากฏว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ จนกว่าจะค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ เข้าใจ ค่อยๆ ซึม เหมือนกับอวิชชาซึ่งซึมไปทั่วตัว ทั่วใจ ไม่ว่าชาติไหน ภพไหน ก็ไม่รู้ทั้งนั้นมานานแสนนาน แล้วก็ยังมีการยึดถือว่าเป็นเราซึมอยู่ในจิต ยากที่จะขจัดออกไปได้ ถ้าไม่มีการฟังให้เข้าใจตามลำดับ และเป็นผู้ที่อดทน ขันติ เป็นตบะอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีขันติ ใครสามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริงได้ เป็นไปไม่ได้เลย ก็ขั้นฟัง แต่ว่าถ้ามีขันติก็จะรู้ได้ว่า กว่าจะรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ แม้ฟังแล้ว ก็ต้องมีสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะที่กำลังฟังด้วย แล้วก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ทีละเล็กทีละน้อย จนกว่าจะเมื่อเห็นเมื่อไร ก็ชินคุ้นเคยกับความเป็นปรมัตถธรรม ก็อดทนได้ ไหม
ผู้ฟัง สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ยกตัวอย่างเช่น โลภะ โดยไม่ต้องพูดออกมา เป็นสิ่งที่ติดข้อง อย่างนี้ใช่ไหม
ท่านอาจารย์ เลือกไม่ได้เลย ว่าจะเข้าใจอะไร ขณะไหน ในเมื่อสภาพธรรมก็ มีอย่างนี้เป็นจริงอย่างนี้ ได้ฟังอย่างนี้ ค่อยๆ เข้าใจอย่างนี้ มาเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ก็แล้วแต่ว่าในขณะนี้เอง จะเข้าใจลักษณะของสภาพธรรมใด ขณะนั้นก็ไม่มีเราไปจัดแจง อย่าลืมว่า ไม่มีใครจัดแจงอะไรได้เลย เป็นลักษณะของธาตุ เป็นลักษณะของธรรมนั้นๆ
เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าใจ แม้นิดเดียวถูกต้อง ก็รู้ว่าสิ่งที่เข้าใจก็คือว่า เข้าใจสิ่งที่กำลังปรากฏนั่นเอง ไม่ใช่สิ่งอื่น ถ้าเราไปคิดถึงโลภะ โลภะปรากฏหรือเปล่า ขณะนี้อะไรปรากฏ ก็รู้ว่าไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่ปรากฏ จึงต้องฟัง จนกว่าจะเข้าใจ แล้วก็เป็นปกติอย่างนี้ ไม่ได้ผิดปกติเลย ค่อยๆ เข้าใจขึ้นจะดีกว่าหวัง ว่าเป็นสติปัฏฐานเมื่อไร มากๆ ดีไหม คุณธิดารัตน์ ธรรมธาตุ คืออะไร
วิทยากร. ธรรมธาตุ ก็จะมีปรมัตถธรรม ซึ่งมีทั้งเจตสิก ๕๒ แล้วก็มีรูปด้วยซึ่งเป็น สุขุมรูป ๑๖ แล้วก็นิพพาน
ท่านอาจารย์ สำหรับผู้ที่ยังไม่คุ้นเคย กับคำ ที่เป็นปรมัตถธรรม หรืออภิธรรม ก็ฟังอย่างนี้ก็พอที่จะคิดได้ พิจารณาได้ว่า ในเมื่อทุกอย่างเป็นธาตุแล้ว เวลาที่พูดถึงจักขุ รูป จักขุวิญญาณก็พอรู้ ใช่ไหม เช่น จักขุ ก็ได้แก่จักขุปสาทรูป คือตา ที่สามารถกระทบกับสิ่งที่กำลังปรากฏในขณะนี้ และรูปทางตา ก็คือสิ่งที่กำลังปรากฏ ในขณะนี้แหละ แล้วก็ที่รูปปรากฏ ในขณะนี้ ก็เพราะมีจิตเห็นคือจักขุวิญญาณ เพราะฉะนั้น ก็สามารถจะเข้าใจในความเป็นธาตุ ของ ๓ อย่าง ทางตานี้ได้
พอถึงทางหูก็ต้องมีโสต คือโสตปสาทรูป เป็นธาตุชนิดหนึ่ง แล้วก็มีเสียงเป็นสัททธาตุ แล้วก็มีโสตวิญญาณธาตุ คือจิตได้ยิน นี่ก็เข้าใจได้ แต่ไม่ประจักษ์ ยังไม่ละความเป็นตัวตน แต่เริ่มที่จะเข้าใจความเป็นธาตุ ของสิ่งที่มีจริงๆ เพราะว่าโดยมาก พอเห็น เราก็ลืมแล้ว ใช่ไหม ว่าถ้าไม่มีหู ไม่มีโสตปสาทรูปซึ่ งเป็นโสตธาตุ ได้ยิน นี้ก็มีไม่ได้ หรือขณะที่ที่กำลังมีรูปปรากฏ ก็ลืมไปอีกว่า ถ้าไม่มีจิต ที่สามารถเห็น เพราะเป็นธาตุรู้ สิ่งที่กำลังปรากฏทางตาในขณะนี้จะปรากฏได้ไหม ก็ปรากฏไม่ได้
เพราะฉะนั้น เราก็หลงลืมอยู่เสมอ แม้ว่าจะได้ยินคำว่าจักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ หรือโสตธาตุ เสียง คือสัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ก็ลืม ทางจมูกจะลืมไหม ถ้าเป็นอย่างนี้ ประจำวัน ทางตา ทางหู พอมีการได้กลิ่นก็ลืม กลิ่นที่ปรากฏก็เป็นธาตุชนิด ๑ ซึ่งต้องกระทบกับฆานปสาทรูป ซึ่งเป็นฆานะธาตุ เป็นธาตุชนิดหนึ่ง แล้วก็ที่กลิ่นกำลังปรากฏ ก็เพราะมีจิตที่กำลังได้กลิ่น กลิ่นนั้นจึงปรากฏได้ นี้คือความจริงแต่ละขณะ ซึ่งพอที่จะเห็นได้ เข้าใจได้
ทางลิ้นในขณะที่บริโภคอาหาร รสกำลังปรากฏ แต่ก็หลงลืม ก็ยากที่จะให้ไม่หลงลืมได้ แต่ว่าต้องเริ่มจากความเข้าใจจริงๆ ก่อน ในสิ่งที่มีจริงๆ แต่พอถึงธาตุอื่นๆ มาจากไหน ไปอย่างไหน แยกเป็น มโนธาตุ ๑ ธรรมธาตุ ๑ มโนวิญญาณธาตุ ๑ ก็จะเข้าใจได้ว่า เป็นเรื่องของนามธรรม และรูปธรรมที่เหลือ ซึ่งไม่ได้ปรากฏ แต่ผู้ที่ได้ประจักษ์ความจริง สามารถที่จะรู้ลักษณะของจิตอย่างละเอียด จนกระทั่งแสดงความต่างของ มโนธาตุ กับ มโนวิญญาณธาตุ และธรรมธาตุ เพราะฉะนั้น ก็เป็นเรื่องของท่านผู้รู้ แต่ว่าสำหรับผู้ที่พิจารณา ถ้าเข้าใจว่าทั้งหมดเป็น ธาตุ แล้วก็เป็น นามธาตุ กับ รูปธาตุ ก็พอที่จะเข้าใจได้ว่า ถ้าพูดถึงมโนธาตุไม่ใช่ รูป แน่ และถ้าพูดถึง มโนวิญญาณธาตุ ก็ไม่ใช่รูปแน่ เพราะฉะนั้น ยังมีอื่นอีก ใช่ไหม ที่เหลือก็คือธรรมธาตุ เพราะว่าธรรมธาตุนี้ไม่ใช่จิต ต้องเป็นเจตสิก และรูป
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 661
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 662
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 663
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 664
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 665
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 666
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 667
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 668
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 669
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 670
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 671
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 672
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 673
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 674
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 675
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 676
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 677
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 678
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 679
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 680
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 681
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 682
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 683
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 684
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 685
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 686
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 687
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 688
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 689
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 690
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 691
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 692
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 693
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 694
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 695
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 696
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 697
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 698
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 699
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 700
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 701
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 702
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 703
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 704
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 705
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 706
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 707
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 708
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 709
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 710
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 711
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 712
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 713
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 714
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 715
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 716
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 717
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 718
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 719
- ปกิณณกธรรม ตอนที่ 720